Read more: สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง

ข่าวประชาสัมพันธ์

ประกาศเจตนารมณ์
วันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร

เมื่อวันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2567 เวลา 07.30 นาฬิกา สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง ร่วมกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ณ หอประชุมสงฆ์ วัดอ่างทองวรวิหาร อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง


วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 เวลา 06.30 นาฬิกา สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทองร่วมพิธีวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช วัดป่าโมกวรวิหาร อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง


พิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลแด่ พระบาทสมเด็จพะรเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 เวลา 14.00 นาฬิกา สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทองร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ ศาลาการเปรียญวัดไชโยวรวิหาร ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง


พิธีเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 เวลา 13.00 นาฬิกา สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง ร่วมพิธีเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ วัดจันทร์ ตำบลทางพระ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง


โครงการรวมใจภักดิ์ รักษ์วัด พัฒนาแม่น้ำน้อย เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 จังหวัดอ่างทอง

วันที่ 23 เมษายน 2567 เวลา 07.15 นาฬิกา สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง ร่วมโครงการรวมใจภักดิ์ รักษ์วัด พัฒนาแม่น้ำน้อย เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 จังหวัดอ่างทอง ทำบุญตักบาตร และปล่อยพันธุ์ปลา ณ วัดท่าโขลงกิตติยาราม ตำบลบ่อแร่ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง


วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์

เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2567 สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง ร่วมงานวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง


วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง ร่วมงานรัฐพิธีเนื่องใน “วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ณ หอประชุมสงฆ์ วัดอ่างทองวรวิหาร อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง


วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า” และการจัดงาน “วันข้าราชการพลเรือน ประจำปี พ.ศ.2567

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2567 สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง ร่วมงานรัฐพิธีเนื่องใน “วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า” และการจัดงาน “วันข้าราชการพลเรือน” ประจำปี พ.ศ.2567 ณ หอประชุมสงฆ์ วัดอ่างทองวรวิหาร อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง


กิจกรรมเนื่องในวันนวมินทรมหาราช

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2566 สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง ร่วมทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในวันนวมินทรมหาราช ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดอ่างทอง (หลังเก่า)


งานวันรพีประจำปี 2566

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2566 สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง ร่วมพิธีสดุดีเทิดพระเกียรติพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย ณ ศาลจังหวัดอ่างทอง


กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566 และพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ประจำปี 2566

เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2566 สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566 และพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ประจำปี 2566 ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดอ่างทอง


ร่วมพิธีเปิดงานเกษตรและของดีเมืองอ่างทอง

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง ร่วมพิธีเปิดงานเกษตรและของดีเมืองอ่างทอง ณ หน้าองค์พระพุทธไสยาสน์ วัดขุนอินทประมูล ตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง


กิจกรรมเปิด “สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติฯ บึงสำเภาลอย” ต้นแบบของการแก้ไขและพัฒนาแหล่งน้ำจังหวัดอ่างทอง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2566 สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทองร่วมกิจกรรมเปิด “สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติฯ บึงสำเภาลอย” ต้นแบบของการแก้ไขและพัฒนาแหล่งน้ำจังหวัดอ่างทอง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566 ณ บึงสำเภาลอย ตำบลโรงช้าง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง


การจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2566

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2566 สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2566 ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดอ่างทอง



ประกาศเจตนารมณ์

ร่วมพิธีลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2565 สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง ร่วมพิธีลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ บริเวณห้องโถงศาลากลางจังหวัดอ่างทอง (หลังใหม่)


กิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2565

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2565 สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2565


กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2565 เวลา 14.00 นาฬิกา อัยการจังหวัดอ่างทอง ร่วมเฝ้ารับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2565 ณ วัดไชโยวรวิหาร อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง


กิจกรรมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 13 ตุลาคม 2565

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2565 สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง ร่วมกิจกรรมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 13 ตุลาคม 2565 ณ อาคารสำนึกรักบ้านเกิด องค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง


กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2565

สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง ร่วมพิธีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2565


จัดกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และบำเพ็ญสาธารณกุศลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2565

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง จัดกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และบำเพ็ญสาธารณกุศลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2565 ณ วัดจุฬามุณี อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง


กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี
กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

วันที่ 7 ธันวาคม 2564 สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
ณ วัดนางในธัมมิการาม ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง


กิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบามสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2564 สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง ร่วมกิจกรรม เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ
พระบามสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564
ณ หอประชุมอำเภอเมืองอ่างทอง


วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2564 อัยการจังหวัดอ่างทองพร้อมคณะ จัดกิจกรรมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง


กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ 2 เมษายน 2564




เกี่ยวกับสำนักงาน

ประว้ติความเป็นมา

การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยได้เริ่มมีการเคลื่อนไหวเพื่อปรัปปรุงปฏิรูประบบกฎหมายและการ ปกครองประเทศ ให้มีมาตรฐานคล้ายกับประเทศตะวันตก ทั้งนี้ เนื่องจากได้เกิดลัทธิล่าอาณานิคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสได้ล่าประเทศทางเอเซียเป็น อาณานิคมของตนเกือบทุกประเทศ ยกเว้นญี่ปุ่นและไทย (สำหรับจีนนั้นบางส่วนได้ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษและโปรตุเกส เช่น ฮ่องกงและมาเก๊า)
สำหรับประเทศไทยนั้นได้ถูกบีบคั้นจากทั้งอังกฤษและ ฝรั่งเศสอย่างหนัก โดยหาเหตุต่าง ๆ นานา เพื่อจะใช้เป็นข้ออ้างในการเข้ายึดครองดังเช่นที่ใช้กับ ประเทศอื่น ๆ มาแล้ว แต่ประเทศไทยก็ได้พยายามใช้นโยบายผ่อนหนัก ผ่อนเบาและอดกลั้นอย่างถึงที่สุด ดังจะเห็นได้ว่าสมัยรัชกาลที่ 4 อังกฤษ ได้บังคับให้ประเทศไทยทำสนธิสัญญาเบาริ่ง เมื่อ ค.ศ. 1855 ซึ่งทำให้ประเทศไทยต้องเสียเปรียบอย่างยิ่ง กล่าวคือ ต้องยอมรับว่าอังกฤษมี “สิทธิสภาพ นอกอาณาเขต” เหนือดินแดนไทย โดยคนในบังคับของอังกฤษเมื่อกระทำผิด ไม่ต้องขึ้นศาลไทย แต่ต้องขึ้นศาลกงสุลแทน นับว่าเป็นการเสียอำนาจอธิปไตยทางศาลอันเป็นความขมขื่นใจของชาวไทยที่ต้องตก อยู่ในภาวะจำยอม เช่นนั้น
ต่อมาอีกหลายประเทศก็ได้อ้างสิทธิขอทำสนธิ สัญญาเพื่อมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต เหนือดินแดนไทยเช่นเดียวกับอังกฤษ เช่น สหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1856), ฝรั่งเศส (ค.ศ.1856), เดนมาร์ก (ค.ศ.1858),โปรตุเกส(ค.ศ.1859), เนเธอร์แลนด์(ค.ศ.1860), เยอรมันนี (ค.ศ.1862), สวีเดน (ค.ศ.1868), นอร์เว (ค.ศ.1868), เบลเยี่ยม (ค.ศ1868) อิตาลี (ค.ศ.1868), ออสเตรีย-ฮังการี (ค.ศ.1869), สเปน (ค.ศ.1870), ญี่ปุ่น (ค.ศ1898), รัสเซีย (ค.ศ.1899) ประเทศต่าง ๆ ดังกล่าวนั้นบังคับให้ประเทศไทยยอมรับว่า มีคนในบังคับ (SUBJECT ซึ่งคนไทยสมัยนั้น เรียกว่า “สัปเยกต์”) การกระทำผิดในประเทศไทยไม่ต้องขึ้นศาลไทย แต่ขึ้นศาลกงศุลของตนแทน โดยอ้างว่ากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยล้าหลังและป่าเถื่อนซึ่ง ต่อมาประเทศไทยได้เรียกร้องร้องให้มีการยกเลิกสนธิสัญญาที่ทำให้ประเทศ ไทยเสียเปรียบดังกล่าว ขณะเดียวกันต่างชาติที่มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเหนือดินแดนไทยก็ได้เรียกร้อง ให้ประเทศไทยจัดทำประมวลกฎหมาย และปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมของไทยให้เข้ามาตรฐานสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งของกลุ่มประเทศตะวันตก
จากผลเสียหายที่เกิดจากสนธิ สัญญาดังกล่าวข้างต้น ทำให้ประเทศไทยต้องเริ่มทบทวนและยอมรับว่ากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของ ประเทศ ไทยในขณะนั้น ยังขาดความเป็นสากล มีมาตรฐานที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับของ กลุ่มประเทศตะวันตกจึงได้มีการพัฒนาระบบกฎหมายทั้งกฎหมายสาระบัญญัติและกฎ หมายสบัญญัติที่ใช้มาช้านานให้เป็นมาตรฐาน ส่วนประเทศไทยระบบกฎหมายอันได้แก่ กฎหมายตราสามดวง และระบบวิธีพิจารณาความซึ่งปะปนกันทั้งคดีแพ่งคดีอาญาหาหลักเกณฑ์แน่นอนไม่ ใคร่ได้ โดย เฉพาะอย่างยิ่งยังมีการนำกฎจารีตนครบาลมาใช้ในการพิจารณาคดีซึ่งชาวตะวันตก มีความรังเกียจอย่างยิ่ง รวมทั้งระบบศาลยุติธรรมของประเทศไทยก็ยังไม่ได้มาตรฐาน เพราะมีศาลกระจัดกระจายไปตามหน่วยราชการต่าง ๆ และ ลักษณะของศาลไทยในขณะนั้น แม้จะเรียกชื่อว่า “ศาล” แต่ก็ไม่อาจยอมรับ ว่าเป็นศาลตามความหมายของกลุ่มประเทศตะวันตก เพราะมีความสับสนทั้งชื่อของศาล คุณภาพของผู้ที่ทำหน้าที่ชำระคดี รวมทั้งวิธีการพิจารณาคดีในศาลเอง เช่น ไม่มีขั้นตอนการสอบสวนคดีอาญา ขั้นตอนการพิจารณาคดีว่าต้องมีโจทก์-จำเลย-ทนายความและศาลผู้ชำระคดี และศาลไทยในขณะนั้นจะทำหน้าที่เป็นทั้งโจทก์ทั้งทนายจำเลยและผู้ตัดสินคดี รวมกัน โดยนำกฎจารีตนครบาลมาเป็นหลัก
เหตุผลที่ต้องมีการปฏิรูปกระบวน การยุติธรรมครั้งยิ่งใหญ่ นอกจากจะมี เหตุผลมาจากการที่ต่างชาติที่มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเหนือดินแดนไทย จนทำให้ประเทศไทยต้องเร่งปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมให้ทัดเทียมกับประเทศ เหล่านั้น เพื่อใช้เป็นข้อต่อรองขอยกเลิกในโอกาสต่อไปแล้ว เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ความบกพร่องของวิธีพิจารณาคดีที่ล้าสมัยไม่เป็นธรรมของศาลไทยในขณะนั้น ทำให้ประชาชนผู้เกี่ยวข้องกับคดีความมักไม่พอใจผลคำชี้ขาดของศาล และใช้วิธีถวายฎีกาต่อพระเจ้าแผ่นดินคือรัชกาลที่ 5 เป็น จำนวนมากเกือบจะประมาณ 120-130 ฉบับรัชกาลที่ 5 ทรงแจกให้ตรวจชำระ ตามวิธีการโบราณที่เรียกว่า “ศาลรับสั่ง” ขึ้นมาช่วยชำระ แต่ก็ยังไม่ดีขึ้น เพราะคู่ความมักไม่พอใจในการตัดสินและถวายฎีกาต่อพระองค์อีก ทำให้มีผลเท่ากับพระองค์ต้องทรงตรวจชำระคดีความทั้งประเทศด้วยพระองค์เอง อันเป็นภาระอันหนักยิ่ง และทำให้พระองค์ได้ทรงทราบถึงความล้าสมัยและความล่าช้าของกระบวนวิธีพิจารณา คดีแบบโบราณที่ใช้อยู่ในขณะนั้น จึงได้ทรงมีพระบรมรา ชาธิบาย เหตุผลในการแก้ไขการปกครองแผ่นดินใน ร.ศ.103 ว่า “การตำแหน่งยุติธรรม ในเมืองไทยนี้เปรียบเหมือนเรือกำปั่นที่ถูกเพลี้ยและ ปลวกกัดผุโทรมทั้งลำ แต่ก่อนทำมานั้นเหมือนรั่วแห่งใดก็เข้าไม้ตามอุดยาแต่เฉพาะตรงที่รั่วนั้น ที่อื่นก็โทรมลงไปอีก ครั้นช้านานเข้าก็ยิ่งชำรุดหนักลงทั้งลำเป็นเวลานานสมควรที่ต้องตั้งกงขึ้น กระดานใหม่ ให้เป็นของมั่นคงถาวรสืบไปและเป็นการสำคัญยิ่งใหญ่ที่จะต้องรีบจัดการโดย เร็วหาไม่ต้องจบลงหมดต้องยุบยับไปเหมือนกำปั่น ที่ชำรุดเหลือที่จะเยียวยาจนต้องจมลงฉะนั้น”
จากเหตุผลดังกล่าวมาข้าง ต้น รัชกาลที่ 5 จึงได้มีพระราชดำริให้จัดการ แก้ไขประเพณีการชำระความในปี ร.ศ.103 เป็นต้นมา โดยทรงมอบหมายให้ พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณเป็นผู้ทรงวางโครงร่างการจัดตั้ง กระทรวงยุติธรรมเมื่อ ร.ศ.109
ในที่สุดก็ได้มีการจัดตั้งกระทรวง ยุติธรรมขึ้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม ร.ศ.110 โดยนำศาลที่กระจัดกระจายในกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ มาไว้ในที่เดียวกัน มีการจัดระบบงานศาลทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค การสรรหาบุคลากร ที่จะมาดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาซึ่งต้องเป็นผู้มีความรู้ทางด้านกฎหมาย ความชำนาญด้านการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
นอกจากนั้นได้มีการประกาศใช้ กฎหมายสำคัญหลายฉบับอาทิ”กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127″ ซึ่งถือเป็นประมวลกฎหมายอาญาฉบับแรกของ ประเทศไทย มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติลักษณะพยาน ร.ศ.113” นำหลักการพิจารณาคดีและการสืบพยานในศาลของต่างประเทศ โดยเฉพาะ ของอังกฤษมาใช้โดยกำหนดให้ผู้พิจารณาและผู้ที่จะพิพากษาต้องเป็นบุคคล คนเดียวกัน โดยผู้พิพากษาจะต้องควบคุมการสืบพยาน และรับฟังพยานด้วยตนเองไม่ให้ใช้วีธีแยกผู้พิจารณาไต่สวนคนหนึ่งและผู้ชี้ ขาดปรับบทอีกคนหนึ่งเหมือนสมัยก่อน และมีผลเป็นการยกเลิกวิธีพิจารณาคดีโดยใช้กฎจารีตนครบาลที่ชาวต่างประเทศ รังเกียจอย่างยิ่งไปด้วย
การจัดตั้งกรมอัยการ
การปฏิรูปกระบวน การยุติธรรมโดยการจัดตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้นนั้น ในโครงร่างการจัดตั้งกระทรวงยุติธรรมที่พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าสวัสดิ โสภณที่ปรากฏในหนังสือกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงวันที่ 3 สิงหาคม ร.ศ.109 มีข้อความตอนหนึ่งที่เกี่ยวกับกรมอัยการว่า
“ข้อ 6 กรมอัยการ เป็นเจ้าพนักงานสำหรับเป็นโจทก์เป็นทนาย ในคดีความแผ่นดินคือความนครบาลซึ่งมีโทษในลักษณะอาญาหลวงอันเป็นอุกฤษโทษ มหันตโทษ และเป็นเจ้าพนักงานที่ปรึกษากฎหมาย ของข้าราชการมีตำแหน่งเจ้ากรม 1 เนติบัณฑิตย์ 4 เสมียร เอก โท สามัญ” อย่างไรก็ดีเมื่อจัดตั้งกระทรวงยุติธรรมเมื่อปี ร.ศ.110 ขึ้นแล้วปรากฎว่า ยังไม่มีการแต่งตั้งใครเข้ารับตำแหน่งในกรมอัยการและยังไม่มีอัยการทำ หน้าที่ฟ้องคดีอาญาในนามของแผ่นดินอยู่เช่นเดิม ทั้งนี้ อาจจะมีเหตุผลอยู่หลาย ประการ เช่น

1.1 ขณะนั้นประเทศไทยกำลังมุ่งที่จะปรับปรุงกระทรวงยุติธรรมและระบบงานศาลให้ เจริญก้าวหน้า อันเป็นปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้า ทั้งนี้เพื่อให้ต่างชาติยอมรับในกระบวนยุติธรรมของไทย ดังนั้นสำหรับองค์กรอัยการ จึงถือเป็นปัญหาที่มีความสำคัญเร่งด่วนรองลงไป
1.2 เมื่อเริ่มก่อตั้งกระทรวงยุติธรรมและปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม ประเทศไทยยังขาดแคลนผู้มีความรู้ทางกฎหมาย เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาจึงต้องมีการจัดสอนกฎหมายโดยกระทรวงยุติธรรม โดยกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมในขณะนั้น ซึ่งทรงเป็นผู้วางรากฐานของกระทรวงยุติธรรมให้แก่ประเทศไทย และทรงเป็นผู้สอนวิชากฎหมายด้วยพระองค์เอง แต่กระนั้นประเทศไทยก็ยังขาดแคลนผู้มีความรู้เหมาะสมจะเป็นผู้พิพากษาอยู่ เช่นเดิม จึงทำให้การสรรหาบุคคลที่จะมาเป็นอัยการพลอยกระทบกระเทือนไปด้วย
1.3 การดำเนินคดีอาญาในขณะนั้นมุ่งที่จะปรับปรุงการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลเป็น หลักใหญ่ ส่วนผู้ที่จะนำคดีมาสู่ศาลนั้นยังเห็นว่าไม่ใช่ปัญหาสำคัญเร่งด่วน และใช้วิธีให้ราษฎรผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาด้วยตนเองแบบโบราณไปก่อน โดยจัดตั้ง “กรมรับฟ้อง” เพื่อตรวจ รับคำฟ้องของเอกชนตามวิธีการดั้งเดิม และมีการตรา “พระราชบัญญัติว่าด้วยบังคับโจทก์ให้สาบานก่อนฟ้องความอาญา ลงวันที่ 3 มิถุนายน ร.ศ.111” กรมรับฟ้องนี้ตั้งขึ้นมาได้ประมาณ 1 ปี ก็ยุบเลิกไปเพราะมีความไม่เหมาะสมบางประการ
1.4 สำหรับกรณีที่มีการจัดตั้งกรมอัยการและที่อัยการได้ทำหน้าที่เป็น โจทก์ฟ้องคดีในนามของแผ่นดินนั้น เหตุผลที่แท้จริงมาจากผลกระทบของการดำเนินคดีอาญาในศาลต่างประเทศซึ่งมี สิทธิภาพนอกอาณาเขตเหนือ ดินแดนไทยนั่นเอง ดังปรากฏจากรับสั่งของพระเจ้ายาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เรื่อง “บุคคลตามนิติสมมตในเมืองไทย” มีความตอนหนึ่งว่า
“มีสาเหตุอีกอย่าง หนึ่งที่กระทำให้ความรู้ของไทยในเรื่องบุคคล โดย นิติสมมตสว่างขึ้นดังนี้คือ เมื่อก่อน ร.ศ.112 เมื่อครั้ง ร.ศ.112 และเมื่อภายหลัง ร.ศ.112 ไทยกับฝรั่งเศสมีข้อวิวาทกันมาก ฝรั่งเศส มีสัปเยกในเมืองไทยมากสัปเยกมากนี้มีข้อวิวาทกับคนไทย เมื่อใดราชการก็รู้สึกติดขัด เปนกับว่าใครทำร้ายสัปเยกถึงตายฝรั่งเศสก็ตั้งข้อวิวาทกับราชการไทย จับจำเลยได้ก็จับมาชำระทำให้โทษให้ ถ้าเห็นว่าจำเลยไม่มีความผิด ฝรั่งเศสสงสัยในวิธีชำระประการใดแล้วก็พูดในทางกระทรวงต่างประเทศ ให้เปนเรื่องวิวาทกันในทางราชการไป จึงได้สร้างวิธีขึ้นเอาอย่างฝรั่ง ให้มีอัยการไทยฟ้องร้องจำเลยในศาล อัยการนี้แทนแผ่นดิน ถ่อมยศแผ่นดินลงไปเปนโจทก์เหมือนหนึ่งราษฎร เช่นเดียวกันกับเมื่อสัปเยกเปนจำเลย ศาลกงศุลชำระรัฐบาลไทยต้องแต่งคนลงไปเปนโจทก์ฟ้องถ่อมตัวเปนราษฎรไปเปนโจทก์ ในศาลเขา ทั้งนี้ แปลว่ารัฐบาลสมมติตัวเองว่าเป็นราษฎรผู้ 1 ให้ศาลไทยและศาลกงศุลเปนกลางชำระ…
“การมีเจ้าพนักงานของแผ่นดินทำการฟ้องคดีอาญาในฐานะเป็นโจทก์ หรือเป็นทนายแผ่นดิน ซึ่งเรียกว่า ” ระบบพนักงานอัยการ” (Syetem of Public Prosecutor) นั้น ตามหลักฐานเท่าที่ค้นพบ ปรากฏว่าได้เริ่มมีขึ้นในปี ร.ศ.111 (พ.ศ.2435) คือปรากฎตามกฎกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยคนอนาถายากจนฟ้องความลงวันที่ 9 มีนาคม ร.ศ.111 ข้อ 12 ว่า เจ้าพนักงานกรมอัยการ อาจขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้โจทก์ว่าความอย่างคนอนาถาได้ ถ้าปรากฎว่าโจทก์มิได้เป็น คนอนาถาจริง
และมิได้มี พ.ร.บ. จัดการในสนามสถิตยุติธรรม ร.ศ.111 ข้อ 12 ว่า ฟ้องที่ กล่าวหากันเป็นอาญา โจทก์ต้องสาบานตัวก่อน เว้นแต่อาญาซึ่งเป็นหน้าที่ของ กรมอัยการฟ้องเป็นโจทก์เท่านั้น เจ้าพนักงานกรมอัยการผู้ฟ้องไม่จำเป็นต้องสาบาน
แต่ตาม พ.ร.บ.ตั้งศาลโปรีสภา เป็นศาลกองตระเวนสำหรับกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 31 มีนาคม ร.ศ.111 ไม่มีอัยการว่าคดีในศาลนี้ ดั่งปรากฎตามข้อ 4 ว่า “พลตระเวนจับผู้ผิดมาส่งก็ดี หรือมีโจทก์ให้พลตะเวนจับตัวมาส่งก็ดี ให้ศาลโปรีสภาบังคับให้พลตระเวนซึ่งจับผู้ผิดมา หรือโจทก์ผู้ฟ้อง สาบานตัวเสียก่อน แล้วบังคับให้ ๆ การเป็นคำฟ้องกล่าวความแต่โดยสัจจริง แล้วจึงบังคับถามผู้ต้องจับมาฯ”
ในข้อ 8 มีความว่า “ถ้ากองตระเวนในกระทรวงนครบาลจับคนร้าย ซึ่งกระทำผิดล่วงละเมิดพระราชอาญาเป็นข้อฉกรรจ์มหันตโทษ ที่ศาล โปรีสภาไม่มีอำนาจจะพิจารณาพิพากษาได้เด็ดขาดตามกฎหมายแล้ว ก็ให้ศาลสืบสวนพยานเสียชั้นหนึ่งก่อนฯ ถ้าในคดีเรื่องนั้นมีโจทก์ด้วย ก็ให้โจทก์ไปฟ้องหากล่าวโทษตามกระทรวง ถ้าไม่มีโจทก์ให้แจ้งความ ให้กรมอัยการทราบและให้ส่งสำนวนกับคำพยานที่สืบไว้แล้วนั้นไปด้วย เมื่อกรมอัยการเห็นสมควร จะฟ้องได้ก็จะได้กล่าวโทษคนร้ายนั้นให้ศาลเจ้ากระทรวงพิจารณา”
อย่าง ไรก็ตาม ประวัติการที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาในนามแผ่นดิน ได้ปรากฎหลักฐานที่พบชิ้นแรก คือตามหนังสือธรรมสาตรวินิจฉัยเล่ม 1 ในบท ข่าวชำระความศาลสถิตยุติธรรม เรื่อง พระยาสีหราชเดโชชัย ต้องหาว่าเฆี่ยนนายโตตายว่าคดีนี้ได้มีการพิจารณาโดยกรมอัยการเป็นโจทก์ มีข้อความดั่งต่อ ไปนี้ “
ด้วย เจ้าพนักงานกองกลางกระทรวงยุติธรรมซึ่งทำการในหน้าที่ของกรมอัยการได้ไต่สวน อำแดงเป้า ได้ความว่าอำแดงเป้าเป็นภริยา ของนายโตผู้ตายแน่นอนแล้ว จึงพาอำแดงเป้าไปสาบานตัวแล้วยื่นฟ้องต่อกรมรับฟ้องกล่าวโทษพระยาสีหราชเดโช ชัย หาว่าเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ร.ศ.111 พระยาสีหราชเดโชชัย กับพรรคพวกบ่าวทาษกลุ้มรุมจับเอานายโตสามีอำแดงเป้าโจทก์ผูกมัดทุบตี จนวันที่ 30 พฤษภาคม ร.ศ.111 นายโตทนบาดเจ็บไม่ได้ได้ขาดใจตาย บั ดนี้กองไต่สวนโทษหลวงกระทรวงนครบาลกำลังไต่สวนสืบพยานอยู่ ถ้ากองไต่สวนโทษ หลวงส่งพยานมายังกระทรวงยุติธรรมเมื่อใด เจ้าพนักงานซึ่งทำหน้าที่ของกรมอัยการจะได้เตรียมการว่าความเรื่องนี้ซึ่ง เป็นความแผ่นดิน ให้อำแดงเป้าโจทก์ต่อไปตามกฎหมาย
คดีเรื่องนี้พิจารณาเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ร.ศ.111 โดยหลวงรัตนาญัปติอัยการเป็นผู้ว่าคดี “
แสดง ให้เห็นว่าในวันที่ 20 มิถุนายน ร.ศ.111 ดังกล่าวนี้อย่างน้อยจะต้อง มีการแต่งตั้งพนักงานอัยการขึ้นแล้วพนักงานอัยการคนนี้ คือ หลวงรัตนาญัปติ ซึ่งต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น ขุนหลวงพระยาไกรและดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการคนแรกของไทยเป็นผู้ว่าคดีและ ในครั้งแรกเจ้าพนักงานซึ่งทำหน้าที่ ของกรมอัยการสังกัดกองกลางกระทรวงยุติธรรม ส่วนกรมอัยการนั้นยังไม่ได้ จัดตั้งขึ้น
ต่อมาได้ปรากฎตั้งตำแหน่งผู้พิพากษาในหนังสือธรรมสาตรวิ นิจฉัย เล่ม 2 ลงวันที่ 30 เมษายน ร.ศ.112 มีความว่า “ในปี ร.ศ.112 โปรดเกล้า ให้ตั้งกรมอัยการขึ้นอีกกรมหนึ่งในกระทรวงยุติธรรมให้หลวงรัตนาญัปติเป็น อธิบดีกรมอัยการ ซึ่งทรงกรุณาโปรดเกล้าให้ตั้งขึ้นใหม่นี้มีหน้าที่ราชการเป็นทนายหลวงว่า ความแผ่นดินในศาลทั้งปวง ณ สนาม สถิตยุติธรรม และศาลกงศุลต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องมีทนายหลวง หลาย ๆ คนไว้ในกรมอัยการ กระทรวงยุติธรรมจึงตั้งให้ นาย มี 1 นายจัน 1 นายโหมด 1 นายสอน 1 นายแสง 1 นายเขียน 1 เป็นเนติ-บัณฑิต (หรือหมอกฎหมาย) ให้เป็นทนายความหลวงรับราชการอยู่ ในกรมอัยการ แต่นายมีเนติบัณฑิตนั้นโปรดให้ว่าที่ “ราชมนตรี” (หรือ หมอกฎหมายชั้นสูง) ด้วย”
ตามรายงานการประชุมสโมสรของกระทรวงยุติธรรม วันที่ 16 ธันวาคม ร.ศ.112 พระยางำเมืองอธิบดีผู้พิพากษาโปรีสภาได้กล่าวตอบขอบใจแทน ผู้พิพากษาทั้งปวงว่า “กรมอัยการซึ่งหลวงรัตนาญัปติเป็นอธิบดีอยู่นั้น ได้ทำการตามหน้าที่โดยเรียบร้อยเสมอมาตั้งแต่แรกตั้งขึ้นในต้นปี ร.ศ. 112 นี้เอง “
ทั้งนี้แสดงว่ากรมอัยการได้ตั้งขึ้นเป็นรูปกรม สังกัดกระทรวงยุติธรรมในต้นปี ร.ศ.112 และตามกฎเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมอันเป็นข้อบังคับสำหรับราชการในกรมอัยการ ลงวันที่ 1 เมษายน ร.ศ.112 มีความว่า “อธิบดีและเจ้าพนักงานในกรมอัยการต้องฟังบังคับบัญชาของเสนาบดีกระทรวง ยุติธรรม ในทางปฏิบัติหน้าที่ราชการอธิบดีมีอำนาจเลือกผู้รู้พระราช กำหนดกฎหมายชำนิชำนาญแม่นยำดีมาตั้งเป็นราชมนตรี และเนติ- บัณฑิต ห้เป็นที่ปรึกษา และผู้ช่วยราชการกรมอัยการมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของกระทรวง หรือกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของราชาธิปไตยเป็นผู้รักษาผลประโยชน์ของราชาธิปไตย เป็นทนายความในนามของราชาธิปไตย เป็นพนักงานร่างแต่งประกาศพระราชบัญญัติต่าง ๆ แปลกฎหมายนานาประเทศออกเป็นภาษาไทย ฟ้องกล่าวโทษผู้กระทำผิดล่วงพระราชอาญา ฯลฯ “
ตามหลักฐานดังกล่าวมานี้ จึงเป็นที่เห็นได้ว่ากรมอัยการน่าจะได้ตั้งขึ้นเป็นรูปกรม เมื่อวันที่ 1 เมษายน ร.ศ.112 (พ.ศ.2436)
ภาย หลังจากที่ออกกฎเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมฉบับข้างต้นแล้ว ในวันที่ 30 กรกฎาคม ร.ศ.112 จึงได้มีประกาศเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมอย่างเป็นทางราชการ แต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในกรมอัยการเป็นครั้งแรก ตามประกาศนั้นหลวงรัตนาญัปติเป็นอธิบดีกรมอัยการ พระภิรมย์ราชาเป็นปลัดกรมอัยการ นายมีเป็นเนติบัณฑิตย์ นายเกดเป็นเนติบัณฑิตย์ นายจันเป็นเนติบัณฑิตย์ นายสอนเป็นเนติบัณฑิตย์ นายแสงเป็นเนติบัณฑิตย์ว่าที่ “ราชมนตรี” ผู้ช่วย ชั้นที่ 2 และนายเสม เป็นนายเวรชั้นที่ 3
ในการตั้งกรมอัยการขึ้นนี้ ทางราชการถือว่าอัยการเป็นข้าราชการตุลาการ และสับเปลี่ยนหน้าที่กันได้ ดังจะเห็นได้จากคดีพระยาสีหราชเดโชชัยว่าผู้ทำหน้าที่อัยการ คือ เจ้าพนักงานกองกลางกระทรวงยุติธรรม และจากกฎเสนาบดี กระทรวงยุติธรรม ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ร.ศ.112 ว่าด้วยการประชุมผู้พิพากษา ปรึกษาข้อปัญหาขัดข้องมีความว่า “ในศาลกระทรวงยุติธรรมทุกวันนี้มีข้อปัญหาข้อขัดข้องในกฎหมายมักเกิดขึ้น เสมอมิได้ขาด เป็นเหตุให้ต้อง ประชุมอธิบดีผู้พิพากษา และอธิบดีกรมอัยการปรึกษาชี้แจงความเห็น อยู่เนือง ๆ ย่อมทำให้เกิดคุณประโยชน์แก่การพิพากษาอรรถคดีเป็นเอนกประการ ให้ไต่ถามบรรทัดอันเที่ยงตรงคนแก่ยุติธรรมตามพระราช กำหนดกฎหมาย โดยอาศัยความเห็นของที่ประชุมผู้พิพากษามากด้วยกัน และในการที่อธิบดีผู้พิพากษาจะประชุมกันนี้ให้ปลัดกรมอัยการ หรือราชบัณฑิต หรือเนติบัณฑิตกรมอัยการนายหนึ่งเป็น (เคลิก) สำหรับจดหมายถ้อยคำในการที่ประชุมกันด้วยนายหนึ่ง “
เมื่อวันที่ 5 เมษายน ร.ศ.116 กระทรวงยุติธรรมสั่งย้ายขุนหลวงพระยาไกรสีอธิบดีกรมอัยการเป็นอธิบดีผู้ พิพากษาศาลอาญา และต่อมาได้สับเปลี่ยนกันเช่นนี้อีกหลายท่าน เช่น นายบุญช่วย วนิกกุล (พระยาเทพวิทูรฯ) อธิบดีกรมอัยการย้ายไปเป็นประธานศาลฎีกา นายปลอดวิเชียร ณ สงขลา (พระยามานวราชเสวี) ย้ายจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลคดีต่างประเทศไปเป็นอธิบดีกรมอัยการ นายพิน สารการประสิทธิ คุณะเกษม (พระสารการประสิทธิ์)ย้ายจากผู้พิพากษาไปเป็นอัยการเป็นต้น
สำนักงาน อัยการสูงสุดได้มีการจัดตั้งและกำหนดท้องที่ของภาคภายในสำนักงานอัยการสูง สุด โดยได้ก่อตั้งสำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง เมื่อปี ค.ศ.2460 เป็นต้นมา

สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง ตั้งอยู่ที่ ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง (หลังเก่า)
ถนนเทศบาล ๑ ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง ๑๔๐๐๐
สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทองได้ใช้อาคารของศาลากลางอ่างทองเป็นที่ทำการ

อำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด มีดังนี้

          (มาตรา ๒๓) สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชากร เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 
          (๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครอง ป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน 
          (๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ 
          (๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
          (๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้ 
          (๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
          (๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ
          (๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
          (๘) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
          (๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด 
          ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ


อำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด มีดังนี้

          (มาตรา ๒๗)  ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด
          (๒) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ
          (๓) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด 
          ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้
          ให้อัยการสูงสุดโอยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด 

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ มีดังนี้

          มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำจานและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
          (๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือพนักงานอัยการ
          (๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของ สำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
          (๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้ กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
          (๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
          (๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
          (๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึด ทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
          (๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
          (๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
          (๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
          (๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
          ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้ 
          พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไป ตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)

บุคลากร

ลำดับที่ชื่อ – สกุลปี พ.ศ.
1รองอำมาตย์โท อู๋– 2460
2รองอำมาตย์โท ฮง เกียรติบุตร์2460 –
3รองอำมาตย์โท ตี๋ พานิชอัตรา– 2471
4นายกระจ่าง  สินธุรงค์2471 – 2474
5รองอำมาตย์เอก ฮกเส่ง ช่องสว่าง2474 – 2477
6นายบุ่น  ภูอภิรมณ์2477 – 2480
7หลวงอรรถโสภณภารดี21 ม.ค.2482 – 31 มี.ค.2482
8นายกมล  วรรณประภา1 เม.ย.2482 – 2483
9นายสะอาด  นาควิโรจน์2483 – 2489
10นายจำนง  ยุกตะนันทน์2489 – 2493
11นายปาน ระวีวงศ์9 เม.ย.2493 – 28 พ.ค.2497
12นายจำลอง  บุษปวนิช29 พ.ค.2497 – 13 มี.ค.2503
13นายสวัสดิ์  โสภณวสุ2503 – 2505
14นายพิชัย  สังขพิชัย16 พ.ค.2505 – 30 เม.ย.2507
15นายเวศน์  มิตรกุล27 พ.ค.2507 – 30 ก.ย.2513
16นายแถม  นิ่มพินิช30 พ.ค.2513 – 10 ม.ค.2515
17นายสม  ดูภิรมย์10 ม.ค.2515 – 2 เม.ย.2519
18นายณรงค์  พุฒิบูรณวัฒน์19 เม.ย.2519 – 14 มี.ค.2520
19นายสมพร  พรหมหิตาธร25 มี.ค.2520 – 9 มี.ค.2521
20นายณรงค์  วีระศิริ20 มี.ค.2521 – 1 เม.ย.2524
21นายอำพน  ธีระวัฒน์7 มิ.ย.2524 – 22 มี.ค.2525
22นายอ้วน  เลขานุกิจ7 เม.ย.2525 – 2 พ.ค.2526
23นายลิขิต  เพชรสว่าง2 พ.ค.2526 – 4 เม.ย.2527
24นายวิรัตน์  นิสสระ16 เม.ย.2527 – 2 พ.ค.2528
25นายอุดม  สมคะเน15 เม.ย.2528 – 2 พ.ค.2530
26นายปฏิภาณ  วินารัตน์4 พ.ย.2530 – 2 พ.ค.2531
27นายพินิจ  ถาวร2 พ.ค.2531 – 9 พ.ค.2534
28นายมณเฑียร  รัตนปรีดากุล13 พ.ค.2534 – 1 พ.ค.2535
29นายนภดล  เวชประสิทธ์4 พ.ค.2535 – 3 พ.ค.2536
30นายวิษณุ  บุณยสมิต3 พ.ค.2536 – 2 พ.ค.2538
31นางมาเรียม  มณีรัตน์2 พ.ค.2538 – 29 ก.ย.2538
32นายนภดล  อเนกบุณย์2 ก.ย.2538 – 1 พ.ค.2539
33นายสงวน  จับใจ1 พ.ค.2539 – 30 เม.ย.2541
34นายธีระ  หงส์เจริญ1 พ.ค.2541 – 30 เม.ย.2542
35นายสิริวัฒน์  แสงธรรมธร1 พ.ค.2542 – 31 เม.ย.2543
36นางสาวภิญทิพ  บุนนาค1 พ.ค.2543 – 1 พ.ค.2544
37นางอรทัย  อำพันแสง1 พ.ค.2544 – 7 พ.ค.2545
38นายปชัญญ์  มนุญปิจุ7 พ.ค.2545 – 28 เม.ย.2546
39นางเยาวลักษณ์  ศรีเผด็จ28 เม.ย.2546 – 3 พ.ค.2547
40นายธีรเดช  อินใหญ่3 พ.ค.2547 – 4 พ.ค.2548
41นางสาววลัย  ชิตานนท์4 เม.ย.2548 – 30 เม.ย.2549
42นายอภิชาต  ธนัญชยะ1 พ.ค.2549 – 2 เม.ย.2550
43นายวิรัช  ธัญญะกิจ2 เม.ย.2550 – 31 มี.ค.2551
44นายสุรพันธ์  กิจพ่อค้า1 เม.ย.2551 – 31 มี.ค.2552
45นายบุญชัย  ปรีชาพันธ์1 เม.ย.2552 – 31 มี.ค.2553
46นางจารุวัณณ์  จารุภูมิ1 เม.ย.2553 – 31 มี.ค.2554
47นางวลัยรัตน์  บุญประสงค์1 เม.ย.2554 – 31 มี.ค.2555
48นางสาวรัตนา  เล็กสมบูรณ์ไชย2 เม.ย.2555 – 31 มี.ค.2557
49นางกรรณิกา  พลเยี่ยม1 เม.ย.2557 – 31 มี.ค.2558
50นางสาวอุทัยวรรณ  แจ่มสุธี1 เม.ย.2558 – 31 มี.ค.2559
51นายชวนนท์ อิสสระวิทย์1 เม.ย.2559 – 31 มี.ค.2560
52นางดวงเดือน  มั่นธรรม1 เม.ย.2560 – 1 เม.ย.2561
53นายฉัชทิชย์ วิชญสมบูรณ์2 เม.ย.๒๕๖๑ – 31 มี.ค.2562
54นายสุกรี เกษอมรวัฒนา1 เม.ย.2562 – 31 มี.ค.2563
55นายรัฐกานต์ สุขสว่าง1 เม.ย.2563- 31 มี.ค 2564
56นายเจษฎา รักวนิชย์1 เม.ย.2564 – 31 มี.ค.2565
57นายนธี ชุ่มเกษร1 เม.ย.2565 – 31 มี.ค.2566
58นางศิริกาญจณ์ เกิดพยัคฆ์1 เม.ย.2566 – 31 มี.ค.2567
59นายวิศรุต ราชรักษ์1 เม.ย.2567- ถึงปัจจุบัน

นายวิศรุต ราชรักษ์
อัยการจังหวัดอ่างทอง

นายสุนัยต์ คงแสงดาว
อัยการจังหวัดประจำสำนักงาน อัยการสูงสุด

นางสายรุ้ง วรรณแสงแก้ว
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

นายเกียรติกิตติ ธูปบูชา
รองอัยการจังหวัด

นางสาวฉัตรสุดา วงศ์ธนะบูรณ์
รองอัยการจังหวัด

นางสาวธัญญาภรณ์ นิ่มกุล
รองอัยการจังหวัด

นางสาววิธิดา มานิตย์กุล
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นายนิติพล หารประชุม
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นางสาวพรภวิษย์ ประทีปโชติพร อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นายจาตุรงค์ บุญทรง
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นางยุวดี สิงห์โตน้อย
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการ
สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง

นางสาวทิพวดี  กล่อมตระกูล
นิติกรชำนาญการ

นายธัชวุฒิ  พาขุนทด
นิติกรชำนาญการ

นางสาววรรณพร มาตราช
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นางมนทกานต์ พรหมเมศร์
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นางสาวสุจารี  มานิจธรรมพงษ์
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวกัญญ์ณณัฏฐ์ อยู่เจริญ
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวกนกวรรณ วงศ์เศรษฐี
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

นายภาสกร แตงเผือก
นิติกรปฏิบัติการ

นางกณิการ์ บุญอำพร
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวสาวิตรี ขำวิลัย
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

นางอาระดา ทองน้อย
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

นางสาวตรีรัตน์ เจิดดีสกุล
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวชัชฎาภรณ์ นิ่มนวน
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นางสาวสมาภรณ์ ศรีหะวัต
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นายประทีป  เพ็ญบำรุง
พนักงานขับรถยนต์

นางสาวนราทิพย์ พงษ์ภู่
เจ้าพนักงานธุรการ

นายสังเวียน  ศักดิ์ศรีสูงส่ง
นักการภารโรง

นางสาวสมสวาท เทพนำโสมนัสส์
อัยการศาลสูงจังหวัดอ่างทอง

นางธฤติณัช แจ่มสุวรรณ
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นายธนวัฒน์ บุญวงศ์
นิติกรชำนาญการ

นางสาวธัญพร แจ้งน้ำใจ เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

สถิติงาน

ประเภทสำนวนคดี จำนวน (เรื่อง)
ส.๑ (ปรากฎตัวผู้ต้องหา) ๘๔๓
ส.๑ (ฟื้นฟูยาเสพติดฯ)
ส.๒ (ไม่ปรากฎตัวผู้ต้องหา)๑๔๐
ส.๒ก (ปรากฏผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมา)๑๑๒๔
ส.๓ (ไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด)
ส.๑๒ (ชันสูตรพลิกศพ)
ส.๑๒ก ชันสูตรพลิกศพ (ตายโดยผิดธรรมชาติ)๑๔
ส.๔ (สารบบฟ้องอาญา)๘๐๓
ส.๔ (สารบบฟ้องวาจา)๙๘๑
ส.๕ก (คดีแพ่ง)๒๖
ประเภทสำนวนคดี    จำนวน (เรื่อง)
ส.๑ (ปรากฎตัวผู้ต้องหา)๙๒๐
ส.๑ (ฟื้นฟูยาเสพติดฯ)๖๑
ส.๒ (ไม่ปรากฎตัวผู้ต้องหา)๑๒๐
ส.๒ก (ปรากฏผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมา) ๔๘๕
ส.๓ (ไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด)
ส.๑๒ (ชันสูตรพลิกศพ)
ส.๑๒ก ชันสูตรพลิกศพ (ตายโดยผิดธรรมชาติ)๑๘
ส.๔ (สารบบฟ้องอาญา)๘๙๑
ส.๔ (สารบบฟ้องวาจา)๑,๓๔๙
ส.๕ก (คดีแพ่ง)๔๘
    ประเภทสำนวนคดี       จำนวน (เรื่อง)
   ส.๑ (ปรากฎตัวผู้ต้องหา)            ๑,๕๗๗
   ส.๑ (ฟื้นฟูยาเสพติดฯ)            ๕๔๐
   ส.๒ (ไม่ปรากฎตัวผู้ต้องหา)            ๑๑๗
ส.๒ก (ปรากฏผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมา) ๖๓๙
   ส.๓ (ไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด)             ๑๐
   ส.๑๒ (ชันสูตรพลิกศพ)             ๓
ส.๑๒ก (ชันสูตรพลิกศพ (ตายโดยผิดธรรมชาติ)) ๑๘
ส.๔ (สารบบฟ้องอาญา) ๑,๕๖๗
   ส.๔ (สารบบฟ้องวาจา)            ๖๑๘
   ส.๕ก (คดีแพ่ง)             ๖
   ประเภทสำนวนคดี       จำนวน (เรื่อง)
   ส.๑ (ปรากฎตัวผู้ต้องหา)           ๑,๖๐๑
   ส.๑ (ฟื้นฟูยาเสพติดฯ)            ๔๐๒
   ส.๒ (ไม่ปรากฎตัวผู้ต้องหา)            ๑๓๒
ส.๒ก (ปรากฏผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมา) ๗๓๓
   ส.๓ (ไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด)              ๑๔
   ส.๑๒ (ชันสูตรพลิกศพ)              ๒
ส.๑๒ก (ชันสูตรพลิกศพ (ตายโดยผิดธรรมชาติ)) ๒๒
ส.๔ (สารบบฟ้องอาญา) ๑,๕๘๔
   ส.๔ (สารบบฟ้องวาจา)            ๓๓๗
   ส.๕ก (คดีแพ่ง)              ๔๓
     ประเภทสำนวนคดี       จำนวน (เรื่อง)
   ส.๑ (ปรากฎตัวผู้ต้องหา)           ๒,๔๐๗
   ส.๑ (ฟื้นฟูยาเสพติดฯ)            ๔๗๒ 
   ส.๒ (ไม่ปรากฎตัวผู้ต้องหา)            ๑๖๘
   ส.๓ (ไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด)             ๑๗
   ส.๑๒ (ชันสูตรพลิกศพ)              ๓
   ส.๔ (สารบบฟ้องวาจา)            ๓๖๒
   ส.๕ก (คดีแพ่ง)             ๑๗
 ประเภทสำนวนคดี       จำนวน (เรื่อง)
   ส.๑ (ปรากฎตัวผู้ต้องหา)           ๒,๐๑๕
   ส.๑ (ฟื้นฟูยาเสพติดฯ)            ๓๓๒ 
   ส.๒ (ไม่ปรากฎตัวผู้ต้องหา)            ๑๙๖
   ส.๓ (ไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด)             ๘๐
   ส.๑๒ (ชันสูตรพลิกศพ)             ๕
   ส.๔ (สารบบฟ้องวาจา)           ๔๓๑
   ส.๕ก (คดีแพ่ง)             ๓๖
  ประเภทสำนวนคดี       จำนวน (เรื่อง)
   ส.๑ (ปรากฎตัวผู้ต้องหา)           ๒,๒๕๑
   ส.๑ (ฟื้นฟูยาเสพติดฯ)            ๑๗๑ 
   ส.๒ (ไม่ปรากฎตัวผู้ต้องหา)            ๒๔๒
   ส.๓ (ไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด)            ๑๑๔
   ส.๑๒ (ชันสูตรพลิกศพ)              ๓
   ส.๔ (สารบบฟ้องวาจา)            ๓๒๒
   ส.๕ก (คดีแพ่ง)             ๒๓
ประเภทสำนวนคดี       จำนวน (เรื่อง)
   ส.๑ (ปรากฎตัวผู้ต้องหา)           ๑,๐๑๗
   ส.๑ (ฟื้นฟูยาเสพติดฯ)            ๖๑ 
   ส.๒ (ไม่ปรากฎตัวผู้ต้องหา)           ๑๒๑
   ส.๓ (ไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด)            ๕๓
   ส.๑๒ (ชันสูตรพลิกศพ)            ๔๙
   ส.๔ (สารบบฟ้องวาจา)           ๑๘๗
   ส.๕ก (คดีแพ่ง)             ๗
   ส.๖ (อุทธรณ์)            ๗๒
   ส.๗ (ฎีกา)            ๙
ประเภทสำนวนคดี       จำนวน (เรื่อง)
   ส.๑ (ปรากฎตัวผู้ต้องหา)            ๑๘๓๑
   ส.๑ (ฟื้นฟูยาเสพติดฯ)            ๑๖๘๙
   ส.๒ (ไม่ปรากฎตัวผู้ต้องหา)            ๒๗๓
   ส.๓ (ไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด)            ๑๒๒
   ส.๑๒ (ชันสูตรพลิกศพ)             ๒
   ส.๔ (สารบบฟ้องวาจา)            ๕๙๕
   ส.๕ก (คดีแพ่ง)            ๔
   ส.๖ (อุทธรณ์)            ๑๔๗
   ส.๗ (ฎีกา)            ๓๙
 ประเภทสำนวนคดี       จำนวน (เรื่อง)
   ส.๑ (ปรากฎตัวผู้ต้องหา)           ๑,๔๙๕
   ส.๑ (ฟื้นฟูยาเสพติดฯ)            ๗๘ 
   ส.๒ (ไม่ปรากฎตัวผู้ต้องหา)           ๒๘๗
   ส.๓ (ไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด)           ๒๑๗
   ส.๑๒ (ชันสูตรพลิกศพ)             ๔๐
   ส.๔ (สารบบฟ้องวาจา)           ๔๗๐
   ส.๕ก (คดีแพ่ง)             ๖
   ส.๖ (อุทธรณ์)            ๖๘
   ส.๗ (ฎีกา)            ๑๕
ประเภทสำนวนคดี       จำนวน (เรื่อง)
   ส.๑ (ปรากฎตัวผู้ต้องหา)            ๑,๖๐๑
   ส.๑ (ฟื้นฟูยาเสพติดฯ)            ๓๔๗ 
   ส.๒ (ไม่ปรากฎตัวผู้ต้องหา)            ๒๖๒
   ส.๓ (ไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด)            ๑๔๔
   ส.๑๒ (ชันสูตรพลิกศพ)             ๖
   ส.๔ (สารบบฟ้องวาจา)            ๕๘๑
   ส.๕ก (คดีแพ่ง)            ๑๑
   ส.๖ (อุทธรณ์)            ๓๑
   ส.๗ (ฎีกา)            ๑๑
 ประเภทสำนวนคดี       จำนวน (เรื่อง)
   ส.๑ (ปรากฎตัวผู้ต้องหา)            ๒,๓๖๕
   ส.๑ (ฟื้นฟูยาเสพติดฯ)            ๒,๒๗๒
   ส.๒ (ไม่ปรากฎตัวผู้ต้องหา)            ๑๙๙
   ส.๓ (ไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด)            ๑๓๗
   ส.๑๒ (ชันสูตรพลิกศพ)            ๒
   ส.๔ (สารบบฟ้องวาจา)            ๘๑๕
   ส.๕ก (คดีแพ่ง)            ๑๒
   ส.๖ (อุทธรณ์)            ๑๙๓
   ส.๗ (ฎีกา)            ๒๔
    ประเภทสำนวนคดี       จำนวน (เรื่อง)
   ส.๑ (ปรากฎตัวผู้ต้องหา)            ๒,๒๗๘
   ส.๑ (ฟื้นฟูยาเสพติดฯ)            ๑,๕๑๒
   ส.๒ (ไม่ปรากฎตัวผู้ต้องหา)            ๒๓๖
   ส.๓ (ไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด)            ๑๒๘
   ส.๑๒ (ชันสูตรพลิกศพ)            ๔
   ส.๔ (สารบบฟ้องวาจา)            ๕๖๕
   ส.๕ก (คดีแพ่ง)            ๒๖
   ส.๖ (อุทธรณ์)            ๑๒๑
   ส.๗ (ฎีกา)            ๑๕

เอกสารเผยแพร่

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง
ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง หลังเก่า ชั้น 1
ถนนเทศบาล 1 ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง
จังหวัดอ่างทอง 14000
โทร . 035-611162
โทรสาร 035 – 611162 ต่อ 21
ผู้ดูแลเว็บไซต์ นางนราทิพย์ เรืองศรี E-mail. at@ago.go.th