ข่าวประชาสัมพันธ์

วันเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร
เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 29 เมษายน 2567
เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2567 นายเศรษฐา ซูซูกิ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และคณะ
เป็นผู้แทนสำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศลฯ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ
ณ โดมเอนกประสงค์วัดพนัญเชิง วรวิหาร อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

รัฐพิธีวันที่ระลึกคล้ายวันสวรรคต “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ประจำปี พ.ศ.2567
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 นายอารยะ ธีระภัทรานันท์ อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
ถวายพวงมาลาบริเวณฐานด้านบนพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช บริเวณทุ่งภูเขาทอง
ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พิธีวันที่ระลึก “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” ประจำปี พ.ศ.2567
เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2567 นายพันธกิตติ์ ลิ้มพัธยาเนตร์ รองอัยการจังหวัด และคณะ
เป็นผู้แทนสำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ณ หอประชุมพระพิรุณระลึกโปรดเกล้าฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา
อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พิธีวันคล้ายวันสถาปนากรุงศรีอยุธยา ประจำปี พ.ศ.2567
เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 นายธีรยุทธ นุ่มนวล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และคณะ
เป็นผู้แทนสำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะ และพิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทานอุทิศถวายพระราชกุศล
ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พิธีถวายราชสักการะวัน “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” ประจำปี พ.ศ.2567
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567 นายศุภกิจ กลั่นกล้า อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
ร่วมพิธีถวายราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เนื่องในวัน “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” เนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ
ณ หอประชุมพระพิรุณระลึกโปรดเกล้าฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา
อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พิธีถวายราชสักการะวันที่ระลึก “พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย” ประจำปี พ.ศ.2567
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 นางสาวสวิตตา อุราสุข อัยการจังหวัดผู้ช่วย และคณะ
เป็นผู้แทนสำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะ
เนื่องในรัฐพิธีวันที่ระลึก “พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย” ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคาร 3 (อาคารหลังใหม่)
ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พิธีถวายราชสักการะ “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ประจำปี พ.ศ.2567
เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567 นายศุภกิจ กลั่นกล้า อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะ เนื่องในวันพ่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช บริเวณทุ่งภูเขาทอง
ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พิธีถวายราชสักการะ “พ่อขุนรามคำแหงมหาราช” ประจำปี พ.ศ.2567
เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 นายพันธกิตติ์ ลิ้มพัธยาเนตร์ รองอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
เป็นผู้แทนสำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะ เนื่องในวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ณ หอประชุมพระพิรุณระลึกโปรดเกล้าฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 8 มกราคม 2567
เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567 นายปรเมศร์ แสงวงษ์งาม รองอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
เป็นผู้แทนสำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ
ณ หอประชุมสงฆ์วัดพนัญเชิง วรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วันฉลองชัยชนะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประจำปี พ.ศ.2567
เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2567 พันตำรวจโทสายัน ใยสำลี รองอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
เป็นผู้แทนสำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ร่วมพิธีถวายราชสักการะ พิธีบวงสรวง พิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทาน
เนื่องในวัน “ฉลองชัยชนะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” ประจำปี พ.ศ.2567
ณ บริเวณอนุสรณ์สถานบ้านพรานนก วัดพรานนก ตำบลโพสาวหาญ อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วันคล้ายวันประสูติ 7 ธันวาคม 2566
พิธีเจริญพระพุทธมนต์ ทำบุญตักบาตร และปล่อยพันธุ์ปลาน้ำจืด เฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2566 นายศุภกิจ กลั่นกล้า อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ทำบุญตักบาตร และปล่อยพันธุ์ปลาน้ำจืด เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ
ณ วัดโตนดเตี้ย อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

  กิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2566
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2566 นายศุภกิจ กลั่นกล้า อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะ
ณ หอประชุมพระพิรุณระลึกโปรดเกล้าฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กิจกรรมวันพระมหาธีรราชเจ้า ประจำปี พ.ศ. 2566
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 นายศุภกิจ กลั่นกล้า อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
ร่วมพิธีสวดพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล ณ โดมอเนกประสงค์ วัดพนัญเชิง วรวิหาร
อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กิจกรรมวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี พ.ศ. 2566
เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 นายศุภกิจ กลั่นกล้า อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
ร่วมพิธีวางพุ่มพวงมาลาถวายสักการะ ณ หอประชุมพระพิรุณระลึกโปรดเกล้าฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พิธีเนื่องในคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “วันปิยมหาราช” ประจำปี พ.ศ. 2566
เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2566 นายศุภกิจ กลั่นกล้า อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
ร่วมพิธีวางพุ่มพวงมาลาถวายสักการะ ณ หอประชุมพระพิรุณระลึกโปรดเกล้าฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กิจกรรมเทิดพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ครบ 123 ปี ประจำปี พ.ศ. 2566
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2566 นายศุภกิจ กลั่นกล้า อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
ร่วมพิธีวางพุ่มถวายสักการะ, กิจกรรมปลูกต้นไม้, กิจกรรมปล่อยพันธ์ุปลา และสันทนาการอื่นๆ
ณ บริเวณพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กิจกรรมเนื่องในวัน “วันนวมินทรมหาราช” 13 ตุลาคม 2566
เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2566 นางสาวดวงรุ่ง รัตนภิรมย์ อัยการจังหวัดผู้ช่วย และคณะ
เป็นผู้แทนสำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ร่วมกิจกรรมเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช” วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยมีพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และพิธีวางพวงมาลา
ณ หอประชุมพระพิรุณระลึกโปรดเกล้าฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


วันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน (Thai national Flag Day) ประจำปี 2566
เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 นายศุภกิจ กลั่นกล้า อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน 2566
ณ บริเวณหน้าเสาธง อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อัยการสูงสุดตรวจเยี่ยมการปฏิบัติราชการ และให้กำลังใจข้าราชการฝ่ายอัยการ และบุคลากรในพื้นที่สำนักงานอัยการภาค 1
(จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566 ท่านนารี ตันฑเสถียร อัยการสูงสุด และคณะ
เดินทางตรวจเยี่ยมการปฏิบัติราชการในพื้นที่สำนักงานอัยการภาค 1 (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
โดยตรวจเยี่ยม สำนักงานอัยการภาค 1, สำนักงานคดีศาลสูงภาค 1, สำนักงานคดีแรงงานภาค 1,
สำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา,
สำนักงานคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
และสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2566
เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2566 นายศุภกิจ กลั่นกล้า อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
เข้าร่วมกิจกรรม พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และพิธีทางศาสนามหามงคล (ช่วงเช้า)
พิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล (ช่วงเย็น)
ณ หอประชุมพระพิรุณระลึกโปรดเกล้าฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุวรรณภูมิ
ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กิจกรรม “วันรพี ประจำปี พ.ศ.2566”
เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2566 นายศุภกิจ กลั่นกล้า อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
เข้าร่วมกิจกรรม “วันรพี ประจำปี พ.ศ.2566” พิธีเทิดพระเกียติพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
พิธีสดุดีเทิดพระเกียรติและวางพวงมาลา
ณ พระอนุสาวรีย์ฯ บริเวณหน้าอาคารศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พิธีทำบุญตักบาตร ถือบวชปฏิบัติธรรมและเวียนเทียน เนื่องในโอกาสวันอาสาหฬบูชา และวันเข้าพรรษา 1 – 2 สิงหาคม 2566
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2566 นายศุภกิจ กลั่นกล้า อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
ร่วมทำบุญตักบาตรเนื่องในโอกาสวันอาสาหฬบูชา และวันเข้าพรรษา
ณ วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กิจกรรมเฉลิมพระเกีรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2566 นายศุภกิจ กลั่นกล้า อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
(ช่วงเช้า) ร่วมทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศลฯ
(ช่วงเย็น) พิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล
ณ หอประชุมพระพิรุณระลึกโปรดเกล้าฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พิธีบำเพ็ญพระราชกุศลไถ่ชีวิตโค กระบือ ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เพื่อพระราชทานแด่
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2565 นายธนัญชัย ประสพดำเกิง อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และคณะ
ร่วมพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลไถ่ชีวิตโค กระบือถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เพื่อพระราชทานแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
โดยมีรองเลขาธิการพระราชวัง (พลอากาศตรี สุพิชัย สุนทรบุระ) เป็นประธานในพิธี
ณ วัดพนัญเชิงวรวิหาร อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


กิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2565
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2565 นายเจษฎา อินทุเศรษฐ อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
ร่วมกิจกรรมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล พระสงฆ์และสามเณร จำนวน 89 รูป
พิธีวางพานพุ่มดอกไม้และพิธีถวายบังคัม (ต่อเนื่องจากพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล)
เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ
ณ หอประชุมพระพิรุณระลึกโปรดเกล้าฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา
อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พิธีวางพวงมาลาถวายสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2565 นางศุภราศี นิยมวานิช อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และคณะ
ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต “วันปิยมหาราช”
ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กิจกรรมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 13 ตุลาคม 2565
เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2565 นายเจษฎา อินทุเศรษฐ อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
เข้าร่วมกิจกรรมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 13 ตุลาคม 2565
ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สนามกีฬากลางฯ)
อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
(ช่วงเช้า) พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล
(ช่วงเย็น) พิธีวางพวงมาลา

กิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน (Thai National Flag Day) ประจำปี 2565
เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2565 นายอภิชาต รัตนภักดี อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และคณะ
เป็นผู้แทนสำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย เวลา 08.00 น.
ณ บริเวณหน้าเสาธงอาคารสำนักงานอัยการภาค 1 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565
เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2565 นายเจษฎา อินทุเศรษฐ อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล พระสงฆ์ จำนวน 91 รูป และพิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม
และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล
ณ บริเวณลานหน้าศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


กิจกรรมรดน้ำดำหัวเนื่องในวันสงกรานต์ หรือปีใหม่ไทย ประจำปี 2567
เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 นายอารยะ ธีระภัทรานันท์ อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
ทำพิธีรดน้ำดำหัวเนื่องในวันสงกรานต์ ประจำปี 2567 ณ หน้าห้องสำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กิจกรรมไหว้สักการะศาลหลักเมือง และพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
เมื่อวันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567 นายอารยะ ธีระภัทรานันท์ อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
เดินทางไปไหว้สักการะศาลหลักเมือง และพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) 
ณ ศาลหลักเมือง และหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอู่ทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กิจกรรมรดน้ำดำหัวคณะผู้บริหารสำนักงานอัยการภาค 1
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 2567 นายอารยะ ธีระภัทรานันท์ อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
ร่วมกิจกรรมรดน้ำดำหัวคณะผู้บริหารสำนักงานอัยการภาค 1 เนื่องในวันสงกรานต์ วันปีใหม่ไทย (สืบสานวัฒนธรรมไทย)
ณ หน้าห้องแรงงาน อาคารสำนักงานอัยการภาค 1 อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กิจกรรมหัวหน้าผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อวันพุธที่ 11 เมษายน 2567 นายอารยะ ธีระภัทรานันท์ อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
เข้าพบผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องในโอกาสที่เดินทางมารับตำแหน่งใหม่
ณ ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กิจกรรมเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อวันพุธที่ 10 เมษายน 2567 นายอารยะ ธีระภัทรานันท์ อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องในโอกาสที่เดินทางมารับตำแหน่งใหม่
ณ ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กิจกรรมโครงการ “131 ปี องค์กรอัยการ ที่พึ่งด้านกฎหมายของรัฐและประชาชน” ประจำปี 2567
เมื่อวันพุธที่ 3 เมษายน 2567 เวลา 09.00 นาฬิกา นายอารยะ ธีระภัทรานันท์ อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
โครงการ “131 ปี องค์กรอัยการ ที่พึ่งด้านกฎหมายของรัฐและประชาชน” โดยจัดพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง และถวายภัตตาหาร
ณ บริเวณหน้า สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา

กิจกรรมพบคณะผู้บริหารสำนักงานอัยการภาค 1 ประจำปี 2567
เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2567 นายอารยะ ธีระภัทรานันท์ อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
เข้าพบคณะผู้บริหารสำนักงานอัยการภาค 1 ในคราวที่มารับตำแหน่งใหม่
ณ ตึกสำนักงานอัยการภาค 1 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กิจกรรมรดน้ำดำหัวเนื่องในวันสงกรานต์ หรือปีใหม่ไทย ประจำปี 2566
เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2566 นายศุภกิจ กลั่นกล้า อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
ทำพิธีรดน้ำดำหัวเนื่องในวันสงกรานต์ ประจำปี 2566 ณ หน้าห้องสำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กิจกรรมทำบุญวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566 ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566 นายเจษฎา อินทุเศรษฐ อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ
ทำบุญวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566 ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

การตรวจราชการของอธิบดีอัยการภาค 1
เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2565 นายธีระนนท์ ไหวดี อธิบดีอัยการภาค 1 และคณะ เดินทางตรวจราชการเกี่ยวกับงานด้านคดี
ของสำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ณ ห้องสมุดสำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

การตรวจราชการของอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีแรงงานภาค 1 (ครั้งที่ 1/2565)
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2564 นายวิรัช ธัญญะกิจ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีแรงงานภาค 1 และคณะ เดินทางตรวจราชการเกี่ยวกับงานด้านคดีแพ่ง (ครั้งที่ 1/2565) ของสำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ณ ห้องสมุดสำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา


แสดงความยินดีท่านปรีชา พงษ์นิกร
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 นายเกียรติศักดิ์ ศรีเจริญ อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะข้าราชการอัยการ ร่วมแสดงความยินดีกับนายปรีชา พงษ์นิกร รองอธิบดีอัยการภาค 1 ได้ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีปราบปรามการทุจริตภาค 3


เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา

             สำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นหน่วยงานภายในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุดและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานอัยการภาค 1 เดิมมีที่ทำการอยู่ในศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ท่านสุชาติ ไตรประสิทธิ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองอัยการสูงสุด ได้ปรารภกับท่านบรรจง กันตวิรุต ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในขณะนั้น ขอที่ดินเพื่อจัดสร้างอาคารสำนักงานอัยการในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้รับความกรุณาจัดที่ดินให้ 4 ไร่ 1 งาน 18 ตารางวา รวมทั้งได้ขอที่ดินเพิ่มอีก 2 งาน 72 ตารางวา จากนายจตุรงค์ นางขวัญลักษณ์ ด่านชัยวิโรจน์ และนายวรพจน์ นายสมพิศ ด่านชัยวิจิตร ผู้บริจาคที่ดินให้จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อสร้างศูนย์ราชการ และได้เริ่มทำการก่อสร้างอาคารสำนักงานอัยการภาค ๑ แห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลคลองสวนพลูอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2539 งานแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2542  ลักษณะตัวอาคารสำนักงานอัยการเขต 1 เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ตามแบบของกรมโยธาธิการหลังคาสีน้ำเงินจำนวน 2 หลัง ต่อเชื่อมกัน

      ต่อมาเดือนมกราคม 2543 สำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงย้ายที่ทำการจากศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาอยู่ที่อาคาร 1 ชั้น 2 สำนักงานอัยการภาค ๑ 

ประวัติความเป็นมา

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด มีดังนี้

          (มาตรา ๒๓) สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชากร เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

          (๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครอง ป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
          (๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
          (๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
          (๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
          (๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
          (๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้ารการฝ่ายอัยการ
          (๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
          (๘) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
          (๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด
          ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ


อำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด มีดังนี้

          (มาตรา ๒๗)  ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด
          (๒) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ
          (๓) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสุดของสำนักงานอัยการสูงสุด
          ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้
          ให้อัยการสูงสุดโอยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด


อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ มีดังนี้

          มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำจานและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
          (๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือพนักงานอัยการ
          (๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของ สำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
          (๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนี่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้ กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
          (๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
          (๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
          (๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึด ทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาก ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
          (๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
          (๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
          (๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
          (๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
          ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
          พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไป ตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.


:: กฎหมายองค์กรอัยการตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550

……………………………………………………

ตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2546 กำหนดว่า

สำนักงานอัยการจังหวัด มีอำนาจหน้าที่

(ก) รับผิดชอบการดำเนินคดีทั้งปวงในอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุดภายในเขตท้องที่ของสำนักงานอัยการจังหวัดนั้นๆซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัด ศาลจังหวัดสาขา หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นในศาลจังหวัดแล้วแต่กรณีทั้งนี้ตามกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งว่าด้วยการนั้น

(ข) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

ส่วนราชการในสำนักงานอัยการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
             (ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป มีอำนาจหน้าที่

       1) รับผิดชอบงานธุรการ งานสารบบคดี งานบริหารงานบุคคล งานเลขานุการ นักบริหาร        งานงบประมาณ งานการเงินและบัญชี และงานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ พัสดุ และยานพาหนะของสำนักงานอัยการจังหวัด

       2) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาตามกฎหมาย มีดังนี้

       1.อำนวยความยุติธรรม
             1.1 ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และตามกฎหมายอื่น ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจ และหน้าที่ของพนักงานอัยการ (พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(1)) เช่น

(1) ฟ้องคดีอาญาต่อศาลชั้นต้น (ป.วิ.อ. ม. 28) ตลอดจนฟ้องอุทธรณ์ ฟ้องฎีกา และแก้ฟ้องอุทธรณ์ แก้ฟ้องฎีกาด้วย (ป.วิ.อ. ม. 193, 200, 216)


          (2) ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์คดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว ซึ่งผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้ว (ป.วิ.อ.ม.31)


          (3) ร้องต่อศาลให้สั่งผู้เสียหายกระทำ หรือละเว้นกระทำการ ที่ผู้เสียหายจะกระทำให้คดีของพนักงานอัยการเสียหาย ในกรณีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ
(ป.วิ.อ. ม.32)

(4) ยื่นฟ้องคดีที่ผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องคดีไว้แล้วได้ถอนฟ้องคดีนั้นเสีย เว้นแต่คดีซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว (ป.วิ.อ. ม. 36(3))

(5) ฟ้องเรียกทรัพย์สิน หรือราคาแทนผู้เสียหาย ในคดีลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์    โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอก หรือรับของโจร (ป.วิ.อ. ม. 43,44)

(6) ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายขังผู้ต้องหาตามความในมาตรา 87 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ป.วิ.อ.ม.71วรรค2)


            (7) พิจารณาแถลง ในกรณีที่ผู้ต้องหา หรือจำเลยต้องหา ได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างสอบสวน หรือระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น (ป.วิ.อ. ม. 109)

(8) ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล เมื่อศาลสั่งบังคับตามสัญญาประกันเป็นประการใดแล้ว พนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ (ป.วิ.อ. ม. 119)

(9) สั่งให้งด หรือให้ทำการสอบสวนต่อไป ในคดีที่ไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำผิด (ป.วิ.อ. ม. 140)

(10) ในกรณีที่พนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง และพนักงานอัยการเห็นชอบด้วย ให้ออกคำสั่งไม่ฟ้อง และแจ้งคำสั่งนี้ให้พนักงานสอบสวนทราบ แต่ถ้าไม่เห็นชอบด้วยก็ให้สั่งฟ้อง และแจ้งให้พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้ต้องหามาเพื่อฟ้อง ถ้าผู้ต้องหาอยู่ต่างประเทศพนักงานอัยการจะต้องจัดการเพื่อขอให้ส่งตัวข้ามแดน (ป.วิ.อ. ม. 141, 143)

(11) ในกรณีที่พนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้อง และพนักงานอัยการเห็นชอบด้วย ให้ออกคำสั่งฟ้องและฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล แต่ถ้าไม่เห็นชอบด้วยก็ให้สั่งไม่ฟ้อง และปล่อยตัวผู้ต้องหาไป และแจ้งคำสั่งให้พนักงานสอบสวนทราบ (ป.วิ.อ. ม. 141, 143)

(12) สั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติม หรือส่งพยานคนใดมาให้ซักถามเพื่อสั่งต่อไป (ป.วิ.อ. ม. 143 (ก))

(13) สั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบคดี แทนการที่จะส่งตัวผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการในกรณีที่มีคำสั่งฟ้อง แต่ถ้าผู้ต้องหาถูกส่งตัวมาแล้ว ให้ส่งผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนกลับไปยังพนักงานสอบสวนให้พยายามเปรียบเทียบคดี (ป.วิ.อ. ม. 144)

(14) ในกรณีที่มีคำสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา ถอนฟ้อง ถอนฟ้องอุทธรณ์ ถอนฟ้องฎีกา และคำสั่งนั้นไม่ใช่ของอัยการสูงสุด ถ้าในกรุงเทพมหานครให้รีบส่งสำนวนการสอบสวน พร้อมกับคำสั่งไปเสนอ         ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ถ้าใน         จังหวัดอื่น ให้เสนอผู้ว่าราชการจังหวัด (ป.วิ.อ. ม. 145)

(15) แจ้งคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องให้ผู้ต้องหา และผู้ร้องทุกข์ทราบ ถ้าผู้ต้องหาถูกควบคุมหรือขังอยู่ให้ปล่อยตัวไป หรือขอให้ศาลปล่อยแล้วแต่กรณี (ป.วิ.อ. ม. 146)

(16) เข้าร่วมชันสูตรพลิกศพในกรณีที่ความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ และเมื่อได้รับสำนวนชันสูตรพลิกศพจากพนักงานสอบสวนแล้ว ให้ทำคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ ให้ทำการไต่สวน และทำคำสั่ง (ป.วิ.อ. ม. 150 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2542 มาตรา 4)


           (17) ยื่นคำร้องต่อศาลขอแก้ หรือเพิ่มเติมฟ้องก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น (ป.วิ.อ. ม. 163)


           (18) คดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเอง และศาลยกฟ้องไป โดยโจทก์ไม่มาตามกำหนดนัด พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีนั้นอีกได้ เว้นแต่จะเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว (ป.วิ.อ. ม. 166)

(19) ยื่นคำร้องต่อศาลขอสืบพยานก่อนฟ้อง หากกรณีผู้ต้องหายื่นคำร้องต่อศาลขอสืบพยานก่อนฟ้อง ซึ่งศาลอนุญาตและแจ้งให้พนักงานอัยการทราบแล้ว พนักงานอัยการมีสิทธิที่จะซักค้านพยานของผู้ต้องหาได้ (ป.วิ.อ. ม. มาตรา 237 ทวิ )


            (20) ร้องขอให้ศาลกำหนดโทษผู้กระทำผิดเสียใหม่ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดยังไม่ได้รับโทษ หรือกำลังรับโทษอยู่ และโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง (ป.อ.ม. 3)

(21) ร้องขอให้ศาลสั่งระงับการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัย ในกรณีที่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ได้ยกเลิกวิธีการเพื่อความปลอดภัยนั้น (ป.อ.ม. 13)

(22) ร้องขอให้ศาลสั่งยกเลิกการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัย หรือสั่งให้ได้รับผลดีตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ซึ่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข หรือมีเงื่อนไขอันไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่กรณีของผู้นั้นได้ (ป.อ.ม. 14, 15)

(23) เสนอให้ศาลทราบถึงความเปลี่ยนแปลงของพฤติการณ์ เกี่ยวกับการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัย เพื่อให้ศาลสั่งเพิกถอน หรืองดการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยไว้ชั่วคราว (ป.อ.ม. 16)

(24) แถลงให้ศาลทราบถึงพฤติการณ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เพื่อให้ศาลพิจารณาเปลี่ยนโทษกักขังเป็นโทษจำคุก (ป.อ.ม. 27)

(25) ฟ้องขอให้กักกันจำเลย (ป.อ.ม. 43)

(26) เสนอให้ศาลสั่งเรียกประกันทัณฑ์บนจากผู้ที่จะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่น (ป.อ.ม. 46)

(27) ขอให้ศาลแก้ไขเพิ่มเติม เพิกถอน หรือกำหนดเงื่อนไข เพื่อคุมความประพฤติใหม่ (ป.อ.ม. 56)

(28) แถลงให้ศาลทราบถึงการที่ผู้กระทำผิดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข เพื่อคุมความประพฤติ (ป.อ.ม. 57)

(29) เสนอให้ศาลทราบถึงความเปลี่ยนแปลงในพฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่ง ซึ่งศาลได้สั่งให้กรณีที่เด็กอายุกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่เกินสิบสี่ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด (ป.อ.ม. 74)

(30) ฟ้องขอให้ริบสรรพเรือน้อยใหญ่ และสินค้าของลงระวางเรือ ที่นายทหาร พลทหารราชนาวีจับมาได้จากเชลยศึก (พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทรัพย์เชลยศึก พ.ศ. 2460 มาตรา 14)

(31) ฟ้องผู้จับ ฆ่า ทำร้ายช้างป่า โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า พ.ศ. 2464

(32) ฟ้องผู้ทำ สั่ง ขาย ซ่อม ปลอมแปลง เครื่องชั่ง เครื่องตวง เครื่องวัด โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466

(33) ฟ้องผู้ทำการประมงโดยใช้เรือในเขตการประมงไทย โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ ว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย พ.ศ. 2482

(34) ร้องขอให้ศาลสั่งจ่ายสินบนแก่ผู้นำจับการพนัน เฉพาะในกรณีที่มีผู้นำจับผู้กระทำผิด (พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 15)

(35) ร้องขอให้ศาลสั่งจ่ายสินบนแก่ผู้นำ หรือปล่อยสัตว์พาหนะลงไปในทางน้ำชลประทาน ประเภท 1 และประเภท 2 หรือเหยียบย่ำคันคลอง ชานคลอง หรือบริเวณสิ่งก่อสร้างอันเกี่ยวกับการชลประทาน(พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ. 2485 มาตรา 39)

(36) ร้องขอให้ศาลสั่งจ่ายสินบนแก่ผู้นำจับ และรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งจับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคและของอื่นๆ ในภาวะคับขัน การศุลกากร และการสำรวจและกักกันข้าว (พ.ร.บ. ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 9)

(37) ร้องขอให้ศาลสั่งจ่ายเงินบำเหน็จแก่ผู้นำจับผู้กระทำผิดตาม พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490                                        

(38) ร้องขอให้ศาลสั่งจ่ายเงินสินบนแก่ผู้นำจับ และเงินรางวัลแก่ผู้จับกุมกระทำผิด ตามพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอก และการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522

(39) ร้องขอให้ศาลสั่งจ่ายเงินสินบนแก้ผู้นำจับ และเงินรางวัลแก่ผู้จับกุมผู้กระทำความผิด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศก. 2542 มาตรา 33

(40) ร้องขอให้ศาลสั่งจ่ายเงินสินบนนำจับ แก่ผู้นำจับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484

(41) มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ (พ.ร.บ.รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 5,6,7)

(42) ในการฟ้องคดีความผิดเรื่องกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ถ้าผู้ให้กู้ยืมเงินร้องขอ พนักงานอัยการมีอำนาจเรียกต้นเงินคืน และเรียกผลประโยชน์ตอบแทนที่เป็นสิทธิอันชอบด้วยกฎหมาย ให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน และมีอำนาจฟ้องผู้กู้ยืมเงินเป็นบุคคลล้มละลายได้ (พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน        พ.ศ. 2527 มาตรา 9,10)

(43) ในการฟ้องคดีผู้กระทำความผิดที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับทางหลวง หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับรถนั้นๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่สัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำ หรือติดตั้งไว้ ให้พนักงานอัยการเรียกราคา หรือค่าเสียหายสำหรับสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจรดังกล่าวด้วย (พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 163)

(44) เข้าร่วมสอบสวนในการถามปากคำเด็ก ในฐานะเป็นผู้เสียหาย หรือพยาน หรือเป็นผู้ต้องหา      (ป.วิ.อ.ม.124,133ทวิ,133ตรี,134ตรี)

1.2 ในคดีอาญา ซึ่งเจ้าพนักงานถูกฟ้อง ในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้อง ในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน ซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมกับเจ้าพนักงานกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างก็ได้ (พ.ร.บ.พนักงานอัยการพ.ศ.2498มาตรา11(3))


           1.3 ในคดีศาลชั้นต้นลงโทษบุคคลใดโดยลำพัง ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ปล่อยผู้นั้น เมื่อพนักงานอัยการเห็นสมควรจะฎีกาก็ได้ (พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(7))

2. รักษาผลประโยชน์ของรัฐ
                         2.1 ในคดีแพ่ง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ (พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(2) เช่น

(1) ว่าต่าง หรือแก้ต่างแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างทนายความ

(2) ร้องขอให้ศาลสั่งขายทอดตลาดเรือไทยที่จดทะเบียนแล้ว แต่ตกเป็นของบุคคลผู้ไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะถือกรรมสิทธิ์เรือไทยได้ หรือในกรณีที่เจ้าของเรือขาดคุณสมบัติที่จะเป็นเจ้าของ และไม่จัดการแก้ไขให้ถูกต้อง และร้องขอให้ศาลสั่งขายทอดตลาดหุ้นในบริษัทจำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของเรือไทย ซึ่งจำนวนหุ้นบกพร่องจนทำให้บริษัทนั้นขาดลักษณะที่จะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เรือไทยได้ (พ.ร.บ. เรือไทย พ.ศ. 2481 มาตรา 31,34)

(3) ดำเนินงานคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใดมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ เพื่อให้ทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกตินั้นตกเป็นของแผ่นดิน(พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 38)

(4) ร้องขอให้ศาลสั่งถอนสัญชาติไทยของบุคคล ซึ่งได้มาโดยการเกิดในราชอาณาจักร แต่บิดาเป็นคนต่างด้าว และได้กระทำการใดๆ อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคง หรือขัดต่อประโยชน์ของรัฐ หรือเป็นการเหยียบหยามประเทศชาติ (พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 17)

(5) มีสิทธิโต้แย้งคัดค้านการขอพิสูจน์สัญชาติ ของผู้ที่อ้างว่าเป็นคนมีสัญชาติไทย (พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 57)

(6) ว่าความในศาลพลเรือนชั้นยึดทรัพย์ของคดี ที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร (พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 52)

(7) รับดำเนินคดีตามสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรืออันเกิดจากความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของบุคคลใดๆ (พ.ร.บ.การกักเรือ พ.ศ. 2534 มาตรา 30)

                        2.2 ในคดีแพ่ง ซึ่งเจ้าพนักงานถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใด ถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน ซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมกับเจ้าพนักงานกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับ   แก้ต่างก็ได้ (พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(3))

2.3 ในคดีแพ่งที่เทศบาล หรือสุขาภิบาลเป็นโจทก์หรือเป็นจำเลย ซึ่งมิใช่เป็นคดีที่พิพาทกับรัฐบาล เมื่อพนักงานอัยการเห็นสมควรจะรับว่าต่าง หรือแก้ต่างก็ได้ (พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(4)

2.4 ในคดีแพ่งที่นิติบุคคล ซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นเป็นโจทก์ หรือเป็นจำเลย และมิใช่เป็นคดีที่พิพาทกับรัฐบาล เมื่อพนักงานอัยการเห็นสมควรจะรับว่าต่าง หรือแก้ต่างก็ได้ (พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 (5))

2.5 ในกรณีที่ผิดสัญญาประกันจำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับ (พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(8)) ความมุ่งหมายในข้อนี้ หมายถึงการผิดสัญญาประกันในชั้นศาล ไม่ใช่ผิดสัญญาประกันในชั้นพนักงานสอบสวน หรือชั้นพนักงานอัยการ

2.6 เป็นที่ปรึกษากฎหมายของรัฐ โดยให้คำปรึกษา หรือความเห็นทางกฎหมาย หรือตรวจร่างสัญญาต่าง ๆ ก่อนลงนาม เช่น

(1) ตรวจร่างสัญญาที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือราชการส่วนท้องถิ่นให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ (เว้นแต่การให้สัมปทานตามกฎหมาย ว่าด้วยปิโตรเลียม และการให้ประทานบัตรตามกฎหมายว่าด้วยแร่) โดยเฉพาะในโครงการที่มีการลงทุน หรือมีทรัพย์สินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป (พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 มาตรา 3, 5, 20)

(2) ตรวจร่างสัญญาที่ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจส่งมา (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 1 กันยายน 2535 ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร.0205/ว 138 ลงวันที่ 9 กันยายน 2535)

(3) ตรวจร่างเอกสารประกวดราคา และร่างสัญญาที่หัวหน้าส่วนราชการส่งมา (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ข้อ 6,44,132)

(4) ตรวจร่างสัญญาที่หัวหน้าฝ่ายบริหาร ของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นส่งมา (ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ข้อ 125)

(5) ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นกรรมการตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 มาตรา 13)

(6) ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ.2535ข้อ11)

2.7 ฟ้องคดี หรือดำเนินคดีปกครองในศาลปกครองแทนส่วนราชการ หรือหน่วยงานทางปกครอง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ (พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔๕)

3.คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
                           สำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้การคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนดังนี้
                         3.1ดำเนินการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เช่น
                         (1)   ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายปล่อยผู้ต้องหาเมื่อเห็นว่าไม่จำเป็นต้องขังไว้ระหว่างสอบสวน (ป.วิ.อ. ม. 72 (2) )

(2) ยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อยบุคคล ที่ถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือถูกจำคุกผิดจากคำพิพากษาของศาล (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2540 มาตรา 240 ป.วิ.อ.ม. 90)

(3)   เป็นผู้แทนผู้ไร้ความสามารถที่ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนโดยชอบธรรม       ทำหน้าที่ไม่ได้ตามคำสั่งศาล (ป.วิ.พ.ม. 56)

(4) เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค ตามที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคแต่งตั้ง (พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 39)

(5) ในคดีที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการ มีอำนาจเป็นโจทก์ได้ (พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(6)

(6) ร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถ และร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ให้เป็นคนไร้ความสามารถนั้น (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28, 31)

(7) ร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลซึ่งมีกายพิการ หรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา จนไม่สามารถจะจัดทำการงานโดยตนเองได้ ให้เป็นคนเสมือน   ไร้ความสามารถ และร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ (ป.พ.พ. ม. 32, 36)

(8) ในคดีที่มีการร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนไร้ความสามารถเพราะวิกลจริต ถ้าทางพิจารณาได้ความว่าบุคคลนั้นไม่วิกลจริต แต่มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ก็ร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถได้ หรือในคดีที่มีการร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ เพราะมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ถ้าทางพิจารณาได้ความว่าบุคคลนั้นวิกลจริต ก็ร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนไร้ความสามารถได้ (ป.พ.พ.ม. 33)

(9) ร้องขอให้ศาลสั่งให้ทำการไปพลางก่อนตามที่จำเป็น เพื่อจัดการทรัพย์สินของบุคคลผู้ไม่อยู่หรือไปเสียจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ และร้องขอให้ศาลสั่งตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ (ป.พ.พ.ม. 48)

(10) ในกรณีที่ผู้ไม่อยู่ได้ตั้งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปไว้ และสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไป หรือปรากฏว่าตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปจัดการทรัพย์สิน ในลักษณะที่อาจเสียหายแก่ผู้ไม่อยู่ ก็ร้องขอให้ศาลสั่งได้เช่นเดียวกับข้อ (9) (ป.พ.พ.ม. 49)

(11) ร้องขอให้ศาลสั่งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไป จัดทำบัญชีทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ (ป.พ.พ.ม. 50) หรือขอให้ศาลสั่งให้ผู้จัดการทรัพย์สินหาประกัน หรือแจ้งรายการทรัพย์สิน หรือถอดถอนผู้จัดการทรัพย์สิน และตั้งผู้อื่นให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินแทน (ป.พ.พ.ม. 56) หรือขอให้ศาลสั่งกำหนดบำเหน็จ งด ลด เพิ่ม หรือกลับให้บำเหน็จแก่ผู้จัดการทรัพย์สิน (ป.พ.พ.ม. 57)

(12) ร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลเป็นคนสาบสูญ (ป.พ.พ.ม. 61)

(13) ร้องขอให้ศาลสั่งถอนคำสั่งให้เป็นคน (ป.พ.พ.ม. 63)

(14) ร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้แทนของนิติบุคคลชั่วคราว ในกรณีที่มีตำแหน่งว่างลงในจำนวนผู้แทนของนิติบุคคล (ป.พ.พ.ม. 73)

(15) ร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้แทนเฉพาะการ ในกรณีผู้จัดการนิติบุคคลมีผลประโยชน์ได้เสียหรือเป็นปฏิปักษ์กับนิติบุคคล (ป.พ.พ.ม. 75)

(16)   ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติของสมาคมที่ได้มีการนัดประชุมหรือการลงมติโดยไม่ปฏิบัติตาม หรือฝ่าฝืนข้อบังคับหรือกฎหมาย (ป.พ.พ.ม. 100)

(17) ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชี ในกรณีที่มีการเลิกสมาคม และไม่มีผู้ชำระบัญชี (ป.พ.พ.ม. 106, 1251)

(18)  เป็นผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิ ในกรณีผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิถึงแก่ความตายก่อนนายทะเบียนรับจดทะเบียน และทายาทหรือผู้จัดการมรดก หรือผู้ซึ่งผู้ตายมอบหมายไม่ดำเนินการขอตั้งมูลนิธิต่อไป ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด (ป.พ.พ.ม. 117 วรรคแรก)

(19) ร้องขอให้ศาลจัดสรรทรัพย์สินให้แก่นิติบุคคลอื่นซึ่งมีวัตถุประสงค์ใกล้ชิดที่สุดกับความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรม ในกรณีที่ไม่สามารถจัดตั้งมูลนิธิขึ้นได้ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้ตายกำหนด (ป.พ.พ.ม. 117 วรรคสอง, 1679 วรรคสอง)

(20) ขอจดทะเบียนมูลนิธิ เมื่อทายาทหรือผู้จัดการมรดกมิได้ขอจดทะเบียนก่อตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด (ป.พ.พ.ม. 118 วรรคสอง, 1677)

(21) ขอจดทะเบียนมูลนิธิ เมื่อผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนมูลนิธิตามพินัยกรรมไม่ดำเนินการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามคำสั่งของนายทะเบียน (ป.พ.พ.ม. 118 วรรคสาม)

(22) ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอดถอนกรรมการมูลนิธิบางคน หรือคณะกรรมการของมูลนิธิ    (ป.พ.พ.ม. 129)

(23) ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเลิกมูลนิธิ (ป.พ.พ.ม. 131)

(24) ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีของมูลนิธิกรณีเลิกมูลนิธิ (ป.พ.พ.ม. 133, 1251)

(25) ร้องขอให้ศาลจัดสรรทรัพย์สินของมูลนิธิที่สิ้นสุดลงให้แก่นิติบุคคลอื่นที่มีวัตถุประสงค์ใกล้ชิดที่สุดกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธินั้น (ป.พ.พ.ม. 134)

(26) ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนบริษัทที่เลิกกันเพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลาย โดยไม่มีผู้ชำระบัญชีตามข้อสัญญา หรือข้อบังคับของห้างหุ้นส่วนบริษัทนั้น (ป.พ.พ.ม. 1251)

(27) ร้องขอให้ศาลตั้งผู้อื่นนอกจากภริยาหรือสามี เป็นผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์(ป.พ.พ.ม. 1463)

(28) ร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ (ป.พ.พ.ม. 1496)

(29) ดำเนินคดีแทนเด็กซึ่งไม่มีชีวิตอยู่แล้ว ในกรณีที่ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีของมารดาเด็กนั้น ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้แสดงว่าเด็กนั้นไม่ได้เป็นบุตรของตน (ป.พ.พ.ม. 1539)

(30) ฟ้องคดีแทนเด็กปฏิเสธความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของชาย (ป.พ.พ.ม. 1545)

(31) ร้องขอให้ศาลตั้งผู้แทนเฉพาะคดี เพื่อทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนเด็ก ในคดีฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตร ในกรณีเด็กไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือมีแต่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถทำหน้าที่ได้ (ป.พ.พ.ม. 1556)

(32)ร้องขอให้ศาลสั่งถอนอำนาจปกครองจากคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่หรือสั่งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดทำบัญชีทรัพย์สินและลงชื่อบุตรของคู่สมรสนั้นเป็นเจ้าของรวมในเอกสารสำคัญแทน(ป.พ.พ.ม. 1556)(33) ร้องขอให้ศาลสั่งถอนอำนาจปกครอง หรืออำนาจจัดการทรัพย์สิน (ป.พ.พ.ม. 1582)

(34) ร้องขอให้ศาลสั่งตั้งผู้ปกครองในกรณีที่บุคคลยังไม่บรรลุนิติภาวะ และไม่มีบิดามารดา หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1585, 1586) และร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ปกครอง และมีคำสั่งเกี่ยวกับผู้ปกครองต่อไป ตามที่เห็นสมควร (ป.พ.พ.ม. 1588)

(35) ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ปกครองหาประกันอันสมควร ในการจัดการทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครอง (ป.พ.พ.ม. 1597)

(36) ร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ปกครอง ในกรณีที่ละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในหน้าที่ หรือใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบฯ(ป.พ.พ.ม. 1598/8, 1598/9)

(37) ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรม (ป.พ.พ.ม. 1598/21, 1598/22, 1598/23) การเลิกรับบุตรบุญธรรม (ป.พ.พ.ม. 1598/31)

(38) ฟ้องคดีแทนบุตรบุญธรรม เกี่ยวกับการขอเลิกรับบุตรบุญธรรม (ป.พ.พ.ม. 1598/35)

(39) ร้องขอให้ศาลสั่งตั้งผู้ปกครอง ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ ในกรณีที่มรดกตกทอดแก่ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลผู้ไม่สามารถจะจัดการงานของตนเองได้ และบุคคลนั้นยังไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ (ป.พ.พ.ม. 1610)

(40) ร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก ในกรณีที่เจ้าของมรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรือเป็นผู้เยาว์หรือผู้จัดการมรดก หรือทายาทไม่สามารถ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือข้อกำหนดพินัยกรรมตั้งผู้จัดการมรดกไม่มีผลบังคับ(ป.พ.พ.ม.1713)

3.2 ให้บริการช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน เช่น การให้คำปรึกษาหารือทางกฎหมาย การจัดทำนิติธรรมและสัญญาการประนอมข้อพิพาท และการให้ความช่วยเหลือในทางอรรถคดี

3.3 เผยแพร่ความรู้ทางด้านสิทธิมนุษยชน และความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนทั่วไป ทั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศโดยผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ รวมทั้งการออกไปพบประชาชนในท้องถิ่น


                       4.หน้าที่อื่นๆตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
                         (1) อัยการจังหวัดเป็นกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัด (พ.ร.บ. จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 มาตรา 6, 7, 8)

(2) อัยการจังหวัด หรือผู้แทนเป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีอากร ที่อำเภอไม่มีหน้าที่ประเมิน (ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 ซึ่งแก้ไขโดย (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาตรา 9)

(3) อัยการจังหวัดเป็นกรรมการการเช่าที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด (พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 7)

(4) อัยการจังหวัด เป็นกรรมการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น (พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 53)

(5) อัยการจังหวัด เป็นกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด (พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 17)

(6) อัยการจังหวัด เป็นกรรมการควบคุมสินค้าตามชายแดน (พ.ร.บ. ควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ. 2524 มาตรา 9)

(7) อัยการจังหวัด หรือผู้แทนเป็นอนุกรรมการข้าราชการตำรวจประจำจังหวัด (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการดำรวจ พ.ศ. 2521 มาตรา 39 ทวิ ซึ่งแก้ไขโดยข้อ 9 แห่งประกาศคณะ รสช. ฉบับที่ 38)

(8) อัยการจังหวัด หรือผู้แทนเป็นกรรมการคุ้มครอง และพัฒนาอาชีพประจำจังหวัด (พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มาตรา 16)

(9) เป็นกรรมการเรือนจำ เพื่อตรวจพิจารณากิจการเรือนจำ และให้คำแนะนำแก่พนักงานเรือนจำ (พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 มาตรา 44)

(10) เป็นอัยการทหารตามคำสั่งของผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการ ตามความในมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 (พ.ร.บ. ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 37)

(11) ให้คำแนะนำปรึกษาในการสอบสวนคดีเกี่ยวกับป่าไม้ หรือทรัพยากรของชาติ (หนังสือที่ มท 1201/ว 686 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2527 และหนังสือที่ มท 1201/ว 472 ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2528)

(12) ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่ง ให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำผิดฐานฟอกเงินตกเป็นของแผ่นดิน (พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 49)

(13) ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ยึด หรืออายัดทรัพย์สิน ที่เกี่ยวกับการกระทำผิดฐาน     ฟอกเงินไว้ชั่วคราว (พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 55)

(14) ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ขังจำเลยไว้ เพื่อส่งตัวข้ามแดนต่อไป ในกรณีมี     คำร้องขอจากรัฐบาลต่างประเทศ ให้ส่งบุคคลใดผู้หนึ่งข้ามแดน (พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 มาตรา 6,8,15)

วิสัยทัศน์ (Vision)

“เป็นองค์กรแห่งความยุติธรรมของสังคมเพื่อความมั่นคงของชาติและความผาสุกของประชาชน”

พันธกิจ (Missions)

1. อำนวยความยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส พึ่งพิงได้บนพื้นฐานของความเสมอภาค
2. รักษาผลประโยชน์ของรัฐ เพื่อประโยชน์สาธารณะและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
3. รับรู้ ดูแล แก้ไขปัญหาในการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และเป็นที่พึ่งของประชาชนในด้านกฎหมาย
4. พัฒนาศักยภาพองค์กรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกบนฐานความเชี่ยวชาญ

โครงสร้าง (Structure)
ค่านิยมร่วม “PLUBLIC”

P : People First = ประชาชนมาที่หนึ่ง
U : Uprightness = เป็นที่พึ่งความยุติธรรม
B : Betterment = คิดและทำเพื่อพัฒนา
L : Lawfulness = รักษากฎหมายด้วยเหตุผล
I : Integrity = ประชาชนมาที่หนึ่ง


บุคลากร

นายอารยะ ธีระภัทรานันท์
อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

นายธีรยุทธ นุ่มนวล
อัยการจังหวัดประจำ
สำนักงานอัยการสูงสุด

นางสาวนัยนา ปันธิโป
อัยการจังหวัดประจำ
สำนักงานอัยการสูงสุด

นายเศรษฐา ซูซูกิ
อัยการจังหวัดประจำ
สำนักงานอัยการสูงสุด

นางสาววันวิสาข์ เพชรกวินกุล
อัยการจังหวัดประจำ
สำนักงานอัยการสูงสุด

พ.ต.ท.สายัน ใยสำลี
รองอัยการจังหวัด

นายพันธกิตติ์ ลิ้มพัธยาเนตร์
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นางสาวชญานุช ธัญยนพพรรองอัยการจังหวัด

นายปรเมศร์ แสงวงษ์งาม
รองอัยการจังหวัด

างสาวดวงรุ่ง รัตนภิรมย์
รองอัยการจังหวัด

างสาวกัญญาณัฐ จันทรจรูญ
รองอัยการจังหวัด

นางสาวมนตวัน พงษ์สุวรรณ
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นางสาวสวิตตา อุราสุข
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นายนิธิสรัณย์ จุลมนต์
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นางสาวอมรรัช ศรีบุญขำ
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นางวีณา อินทับ
อัยการอาวุโส

นางจินตนา เตียวติ
ผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการ
สำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 นางสาวปราณี  ยืนนาน
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นางสาวดาริน ทุเรียนงาม
นิติกรชำนาญการ

นางสาวสุธิศา พันธ์พยัคฆ์
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นางสาวชโลทร อุ่นจันทร์
นิติกรชำนาญการ

นายวุฒิพงศ์ คำจูมจัง
นิติกรชำนาญการ

นายประกฤษฎิ์ ชุ่มบัว
นิติกรปฏิบัติการ

นางกฤติมา พูดเพราะ
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวสุพรรณี ไฝเนียม
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางหฤทัย กิจจาพูล
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นายณพัฏฐากร สมประสงค์
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

นางบัญจรัตน์ ศรีทองเขียว
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

นางสาวทัศนีย์ สุระดม
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

นางสาวชลธิชา เรืองศิริ
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

นายฐิระพลัฏศฐ์ ฐิตะสุด
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวสุดาวรรณ นิยมวัน
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นางสาวธัญญ์นลิน วีระพันธุ์
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นางสาวกัญญ์ณณัฎฐ์ ธนาดลธัญพร
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นางสาววัณธนา บัณฑิต
พนักงานพิมพ์ ระดับ ส 3


นางสาวกนกพร  น้ำทรง
บรรณารักษ์

นายวานิช จิตตสวัสดิ์ไทย
พนักงานขับรถยนต์

นายศิริพงษ์ พงศ์พันธุ์สุข
อัยการอาวุโส
ปฏิบัติราชการในหน้าที่
อัยการศาลสูงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

นายสุรศักดิ์ ศรีสวัสดิ์
อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
ปฏิบัติราชการในหน้าที่
อัยการศาลสูงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

นางสริตา  เจริญทัศน์
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
(ศาลสูงจังหวัดฯ)

นายยิ่งยศ   เทือกสุบรรณ
นิติกรปฏิบัติการ
(ศาลสูงจังหวัดฯ)

นายกฤตเมธ ทองประไพ
นิติกรปฏิบัติการ
(ศาลสูงจังหวัดฯ)

นางสาจิรานุช สะตะ
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
(ศาลสูงจังหวัดฯ)

 ลำดับที่ชื่อนามสกุล ระยะเวลาการปฏิบัติราชการ
1หลวงอรรถวาทประวิธ(ประวิธ บริสุทธิ์)2471 – 2479
2หลวงอรรถจารีวรานุวัตร(มาก รัชตะวรรณ)2479 – 2488
3หลวงอรรถปกรณ์โกศล 2488 – 2490
4หลวงอรรถนาทเนติธร(เถียร พลจันทร์)2490 – 2492
5นายปุ่นภูอภิรมย์2492 – 2497
6นายประกอบวรพิทยุต2497 – 2498
7นายสนั่นรังควร2498 – 2499
8นายประชุมอนมาน2499 – 2504
9นายถวิลกระตืองาน2504 – 2505
10นายจุ้ยประเสริฐวณิช2505 – 2508
11นายจิตต์ทรัพย์ศิริ2508 – 2511
12นายปริญญาแดงประดับ2511 – 2518
13นายนพรโภคาปกรณ์2518 – 2520
14นายณรงค์พุฒิบูรณวัฒน์2520 – 2521
15นายธวัชวิสุทธิกุล2521 – 2521
16นายบุญเที่ยงม้าไว2521 – 2525
17นายอำพนธ์ธีระวัฒน์2525 – 2526
18นายวิชาญราชรักษา2526 – 2527
19นายมานิตย์รัตนบิณฑะ2527 – 2528
20นายศิลป์ทังปริยานนท์2528 – 2529
21นายดำริห์สุตเตมีย์2529 – 2530
22นายประนามเพชรกาฬ2530 – 2531
23นายกายสิทธิ์พิศวงปราการ2531 – 2534
24นายอุดรพันธุ์อุไร2534 – 2535
25นายอำนวยเปลี่ยนจิตรดี2535 – 2536
26นายชุติชัยสาขากร2536 – 2537
27นายบัณฑิตปรัชญชรินกร2537 – 2538
28นายทัศนัยปลอดเปลี่ยว2538 – 2539
29นายบุญธรรมถาใจ2539 – 2541
30นายยงยุทธสิทธิธัญกิจ2541 – 2542
31ร.ท.ประพันธ์อรรถกมล2542 – 2543
32นางสาวกัลยาสินวิสูตร2543 – 2544
33นายณรงค์ชโลปถัมภ์2544 – 2545
34นายรุ่งโรจน์ลิ้มวงษ์ทอง2545 – 2547
35นายสุชาติหล่อโลหการ2547 – 2548
36นายนิพนธ์บุรัสการ2548 – 2549
37นายชัยพรเกริกกุลธร2549 – 2550
38นายธัญญนิตย์เศรษฐบุตร2550 – 2551
39นายศิริพงษ์พงศ์พันธุ์สุข2551 – 2552
40นายปรีชาพงษ์พานิช2552 – 2553
41นายเทอดศักดิ์พาหุสัจจะลักษณ์2553 – 2554
42นายพุทธิชัยสิงห์บุระอุดม2554 – 2555
43นายสุรพงศ์ศันติวิชยะ2555 – 2556
44นายปฏิพงษ์สละสวัสดิ์2556 – 2557
45นางสาวบงกชทิพเสรีเลิศวิวัฒน์2557 – 2558
46นายวราชัย เกษเมธีการุณ2558 – 2559
47นายกฤษดา    โรจนสุวรรณ2559 – 2560
48นายจรินทร์ ตันชัชวาล2560 – 2561
49เรือโท พลัฏฐ์ทัพพ์พัฒนะ2561 – 2562
50นายวรวิทย์  จันทร2562 – 2563
51นายวัชรินทร์สังสีแก้ว2563 – 2564
52นายเกียรติศักดิ์ศรีเจริญ2564 – 2565
53นายเจษฎา อินทุเศรษฐ2565 – 2566
54นายศุภกิจกลั่นกล้าปัจจุบัน

สถิติคดี

สถิติคดีปี 2561 – 2566

สถิติคดีปี 2567

ประเภทคดีมกราคมกุมภาพันธ์มีนาคมเมษายนพฤษภาคมมิถุนายนกรกฎาคมสิงหาคมกันยายนตุลาคม พฤศจิกายนธันวาคมรวม
ส.1 ความอาญาปรากฏตัวผู้ต้องหาที่ส่งตัวมา266315317266
ส.2 ความอาญาปรากฏตัวผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมา (เว้นแต่คดีเปรียบเทียบ)15131310
ส.3 ความอาญาที่ไม่ปรากฏผู้กระทำผิด11
ส.4 สารบบฟ้องความอาญา274294329234
ส.5 ความอาญาที่แก้ต่าง
ส.5ก.(แพ่ง) (ว่าต่างแก้ต่าง)153
ส.6 ความอาญาอุทธรณ์31212418
ส.7 ความอาญาฎีกา3123
ส.12 คดีร้องขอให้ศาลไต่สวนการชันสูตรพลิกศพ (ส.12)
ส.12ก คดีชันสูตรพลิกศพกรณีความตายมิได้เป็นผลแห่งการกระทำความผิดทางอาญา1
ส.มาตราการริบทรัพย์ คดีมาตรการริบทรัพย์ 1
ส.13 คดีมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรงฯ2421
ส.13ก คดีมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ (เฝ้าระวัง)
เข้าร่วมสอบเด็ก31423625
เข้าร่วมชันสูตรพลิกศพ2111
รวมทั้งสิ้น627697728588

ประจำเดือนมกราคม 2567
ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567
ประจำเดือนมีนาคม 2567
ประจำเดือนเมษายน 2567
ประจำเดือนพฤษภาคม 2567
ประจำเดือนมิถุนายน 2567
ประจำเดือนกรกฎาคม 2567
ประจำเดือนสิงหาคม 2567
ประจำเดือนกันยายน 2567
ประจำเดือนตุลาคม 2567
ประจำเดือนพฤศจิกายน 2567
ประจำเดือนธันวาคม 2567

สถิติคดีปี 2561- 2565

สถิติคดีปี 2566

ประเภทคดีมกราคมกุมภาพันธ์มีนาคมเมษายนพฤษภาคมมิถุนายนกรกฎาคมสิงหาคมกันยายนตุลาคม พฤศจิกายนธันวาคมรวม
ส.1 ความอาญาปรากฏตัวผู้ต้องหาที่ส่งตัวมา1941642202022562781831812121992011912,481
ส.2 ความอาญาปรากฏตัวผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมา (เว้นแต่คดีเปรียบเทียบ)99112110181575121010137
ส.3 ความอาญาที่ไม่ปรากฏผู้กระทำผิด1112219
ส.4 สารบบฟ้องความอาญา1521752131752452911881622051602001942,360
ส.5 ความอาญาที่แก้ต่าง11
ส.5ก.(แพ่ง) (ว่าต่างแก้ต่าง)1214825124
ส.6 ความอาญาอุทธรณ์151149171433212023441627290
ส.7 ความอาญาฎีกา1231411231322
ส.12 คดีร้องขอให้ศาลไต่สวนการชันสูตรพลิกศพ (ส.12)1113
ส.12ก คดีชันสูตรพลิกศพกรณีความตายมิได้เป็นผลแห่งการกระทำความผิดทางอาญา11111229
ส.มาตราการริบทรัพย์ คดีมาตรการริบทรัพย์ 521142112120
ส.13 คดีมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรงฯ21517541146340
ส.13ก คดีมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ (เฝ้าระวัง)
เข้าร่วมสอบเด็ก16151212152629332042 4127288
เข้าร่วมชันสูตรพลิกศพ121432231423
รวมทั้งสิ้น3973845174395576624564094714744784625,706

ประจำเดือนมกราคม 2566
ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
ประจำเดือนมีนาคม 2566
ประจำเดือนเมษายน 2566
ประจำเดือนพฤษภาคม 2566
ประจำเดือนมิถุนายน 2566
ประจำเดือนกรกฎาคม 2566
ประจำเดือนสิงหาคม 2566
ประจำเดือนกันยายน 2566
ประจำเดือนตุลาคม 2566
ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566
ประจำเดือนธันวาคม 2566

สถิติคดีปี 2561- 2565

ประเภทคดีปี 2561ปี 2562ปี 2563ปี 2564ปี 2565หมายเหตุ
ส.1 ความอาญาปรากฏตัวผู้ต้องหาที่ส่งตัวมา4,4963,9863,3943,0152,325
ส.2 ความอาญาปรากฏตัวผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมา (เว้นแต่คดีเปรียบเทียบ)242167159160146
ส.3 ความอาญาที่ไม่ปรากฏผู้กระทำผิด10323181111
ส.4 สารบบฟ้องความอาญา4,3213,8893,2882,9202,242
ส.5 ความอาญาที่แก้ต่าง232
ส.5ก.(แพ่ง)26128512
ส.6 ความอาญาอุทธรณ์363360448260293
ส.7 ความอาญาฎีกา3034432618
ส.12 คดีร้องขอให้ศาลไต่สวนการชันสูตรพลิกศพ (ส.12)1222
ส.12ก คดีชันสูตรพลิกศพกรณีความตายมิได้เป็นผลแห่งการกระทำความผิดทางอาญา105542
ส.1 ฟื้นฟู คดีฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด 31031443841033
ส.มาตราการริบทรัพย์ คดีมาตรการริบทรัพย์4223251812
เข้าร่วมสอบเด็ก1541221128998
เข้าร่วมชันสูตรพลิกศพ3524162930
ประเด็น1
รวมทั้งสิ้น10,1368,9647,9586,9495,223

ประจำเดือนมกราคม 2565
ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
ประจำเดือนมีนาคม 2565
ประจำเดือนเมษายน 2565
ประจำเดือนพฤษภาคม 2565
ประจำเดือนมิถุนายน
ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
ประจำเดือนสิงหาคม 2565
ประจำเดือนกันยายน 2565
ประจำเดือนตุลาคม 2565
ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
ประจำเดือนธันวาคม 2565

สถิติคดีปี 2560- 2564

ประเภทคดีปี 2560ปี 2561ปี 2562ปี 2563ปี 2564หมายเหตุ
ส.1 ความอาญาปรากฏตัวผู้ต้องหาที่ส่งตัวมา4,4654,4963,9863,3943,015
ส.2 ความอาญาปรากฏตัวผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมา (เว้นแต่คดีเปรียบเทียบ)262242167159160
ส.3 ความอาญาที่ไม่ปรากฏผู้กระทำผิด194103231811
ส.4 สารบบฟ้องความอาญา4,3334,3213,8893,2882,920
ส.5 ความอาญาที่แก้ต่าง2232
ส.5ก.(แพ่ง)28261285
ส.6 ความอาญาอุทธรณ์388363360448260
ส.7 ความอาญาฎีกา4230344326
ส.12 คดีร้องขอให้ศาลไต่สวนการชันสูตรพลิกศพ (ส.12)31222
ส.12ก คดีชันสูตรพลิกศพกรณีความตายมิได้เป็นผลแห่งการกระทำความผิดทางอาญา2710554
ส.1 ฟื้นฟู คดีฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด 247310314438410
ส.มาตราการริบทรัพย์ คดีมาตรการริบทรัพย์2742232518
เข้าร่วมสอบเด็ก17415412211289
เข้าร่วมชันสูตรพลิกศพ1935241629
ประเด็น1
รวมทั้งสิ้น10,21110,1368,9647,9586,949

ประจำเดือนมกราคม 2564
ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
ประจำเดือนมีนาคม 2564
ประจำเดือนเมษายน 2564
ประจำเดือนพฤษภาคม 2564
ประจำเดือนมิถุนายน 2564
ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
ประจำเดือนสิงหาคม 2564
ประจำเดือนกันยายน 2564
ประจำเดือนตุลาคม 2564
ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
ประจำเดือนธันวาคม 2564

ขั้นตอนควรรู้

ประกาศสำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เรื่อง ประกวดราคาจ้างก่อสร้างปรับปรุงอาคารชุดพักอาศัยข้าราชการอัยการ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) คลิกที่นี่

ขั้นตอนควรรู้

หลักเกณฑ์การขอประกันตัวผู้ต้องหาในคดีอาญา

  1. ผู้มีสิทธิยื่นขอประกันตัวผู้ต้องหา ได้แก่ ตัวผู้ต้องหาหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง
  2. กรณีการใช้บุคคลเป็นหลักประกัน ในการปล่อยตัวชั่วคราว ไม่จำกัดเฉพาะข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และข้าราชการการเมือง เพียงเท่านั้น บุคคลอื่น ๆ ที่มีความน่าเชื่อถือ สามารถใช้สิทธินี้ได้เช่นกัน
  3. การร้องขอประกันตัว ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าคำร้อง ค่าสัญญาประกัน ค่าเขียนหรือพิมพ์คำร้อง เขียนสัญญาหรือพิมพ์สัญญาประกัน รวมทั้งการพิจารณาการสั่งอนุญาตให้ประกันตัว
  4. การเขียนหรือพิมพ์คำร้องขอประกันตัว และสัญญาประกันตัวให้เขียนหรือพิมพ์ตามตัวอย่างที่สำนักงานได้จัดทำไว้เป็นตัวอย่างให้ดู หากผู้ขอประกันเขียนหรือพิมพ์ไม่ได้ สำนักงานได้จัดให้มีผู้เขียนหรือพิมพ์ให้และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเขียนหรือพิมพ์แต่อย่างใด
  5. เมื่อรับคำร้องขอประกันตัวแล้ว เจ้าหน้าที่ผู้รับคำร้องจะตรวจสอบความถูกต้องของคำร้องสัญญาประกันตัว และหลักประกัน พร้อมกับลงเวลาการรับคำร้องไว้ที่บนหัวกระดาษคำร้อง กรณีผู้ร้องขอประกันมากราย จะจัดบัตรคิวและให้บริการตามลำดับ
  6. การพิจารณาคำขอประกันตัว ปกติพนักงานอัยการจะอนุญาตให้ประกันตัวตามขอ ฉะนั้น อย่าหลงเชื่อคำแอบอ้างหรือการเรียกเงินเพื่อตอบแทนการอนุญาตให้ประกันตัวดังกล่าว
  7. พนักงานอัยการจะพิจารณาสั่งคำร้องขอประกันตัวภายในระยะเวลา ๒๐นาที นับแต่รับคำร้อง เว้นแต่ในบางกรณีที่มีเหตุสมควรที่ไม่อาจดำเนินการได้แล้วเสร็จตามเวลาดังกล่าว ให้ขยายระยะเวลาเป็นไม่เกิน ๓๐ นาที นับแต่รับคำร้อง โดยพนักงานอัยการหรือเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอประกันตัวทราบเหตุดังกล่าว
  8. จะไม่มีข้ออ้างจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าผู้รับคำร้องไม่อยู่ ไม่มีเจ้าหน้าที่เขียนหรือพิมพ์คำร้อง รวมทั้งพนักงานอัยการผู้สั่งอนุญาตคำร้องไม่อยู่ เพราะเป็นหน้าที่ของสำนักงานที่จะต้องจัดเจ้าหน้าที่ทดแทนไว้บริการประชาชนเสมอ

กระบวนงานดังกล่าว ตั้งแต่เจ้าหน้าที่รับคำร้อง/ตรวจสอบหลักฐานจนกระทั่งแจ้งผลการพิจารณา และทำสัญญาประกันแล้วเสร็จ ใช้ระยะเวลาไม่เกิน ๒๐ นาทีเว้นแต่ในกรณีมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจดำเนินการได้ภายในระยะเวลาดังกล่าวให้ขยายระยะเวลาเป็นไม่เกิน ๓๐ นาที นับแต่รับคำร้อง โดยพนักงานอัยการหรือเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอประกันตัวให้ทราบเหตุดังกล่าว

เครดิต:สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา

ตัวอย่างการกรอก รายละเอียดใน สัญญาประกัน

ตัวอย่างหนังสือรับรองยอดเงินฝาก เพื่อใช่เป็นหลักฐานในการประกันตัวผู้ต้องหา ซึ่งต้องเป็น บัญชีเงินฝาก แบบฝากประจำ เท่านั้น

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อาคารสำนักงานอัยการภาค 1 ชั้นที่ 2
ถนนสายเอเชีย ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000
โทรศัพท์ 035-335200, 035-346332, 035-336552 โทรสาร (Fax) 035-336553
E- mail : ayuthya@ago.go.th

ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โทรศัพท์ 035-252410
E- mail : ptd.ayuthya@ago.go.th