ข่าวประชาสัมพันธ์
5 ธันวาคม วันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
สำนักงานอัยการสูงสุดร่วมรำลึกและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เปี่ยมด้วยพระอัจฉริยภาพและความสามารถ พระองค์ทรงอุทิศพระวรกายในการประกอบ
พระราชกรณียกิจ ตลอด 70 ปีที่ทรงครองราชสมบัติ ซึ่งพระราชกรณียกิจที่โดดเด่นของพระองค์ มีดังต่อไปนี้
โครงการแกล้งดิน

แกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรด โดยมีการขังน้ำไว้ในพื้นที่ จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้ดินเปรี้ยวจัด จนถึงที่สุด แล้วจึงระบายน้ำออกและปรับสภาพฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้
กังหันน้ำชัยพัฒนา



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำริให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการวิจัย และพัฒนากังหันน้ำชัยพัฒนาขึ้น เพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ ทำให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี และสามารถประยุกต์ใช้ในการอุปโภคบริโภคของประชาชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และเพิ่มออกซิเจนให้บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร
โครงการปลูกหญ้าแฝก



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้ทรงศึกษาเรื่องการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำจากเอกสารของธนาคารโลก ที่นาย Richard Grimshaw ได้ทูลเกล้าฯ ถวายและพระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับหญ้าแฝก โดยให้ทรงทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน จนปัจจุบันมีหน่วยงานกว่า 50 หน่วยงานดำเนินงานสนองพระราชดำริการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก ส่งผลให้การดำเนินงานก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ
โครงการฝนหลวง



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริส่วนพระองค์ในเรื่องการจัดทำฝนหลวงเพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตร โดยมีการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนหลวงขึ้น ซึ่งจะใช้สารเคมีโปรยในท้องฟ้าจนกระทั่งไอน้ำอิ่มตัวและกลั่นตัวออกมากลายเป็นเม็ดฝน
โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระราชทานโครงการแพทย์หลวงพระราชทาน เมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยที่มีการจัดเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล เครื่องมือเครื่องใช้เพื่อตรวจรักษาราษฎรในถิ่นทุรกันดารโดยไม่คิดมูลค่า และอบรมหมอหมู่บ้านเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน
เกี่ยวกับสำนักงาน
ประวัติความเป็นมา
สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา
สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพระนครศรีอยุธยาเป็นหน่วยงานภายในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุดและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานอัยการภาค 1 เดิมมีที่ทำการอยู่ในศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.ท่านสุชาติ ไตรประสิทธิ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองอัยการสูงสุด ได้ปรารภกับท่านบรรจง กันตวิรุต ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในขณะนั้น ขอที่ดินเพื่อจัดสร้างอาคารสำนักงานอัยการในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้รับความกรุณาจัดที่ดินให้ 4 ไร่ 1 งาน 18 ตารางวา รวมทั้งได้ขอที่ดินเพิ่มอีก 2 งาน 72 ตารางวา จากนายจตุรงค์นางขวัญลักษณ์ ด่านชัยวิโรจน์ และนายวรพจน์ นายสมพิศ ด่านชัยวิจิตร ผู้บริจาคที่ดินให้จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อสร้างศูนย์ราชการ และได้เริ่มทำการก่อสร้างอาคารสำนักงานอัยการภาค 1 แห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2539 งานแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2542 ลักษณะตัวอาคารสำนักงานอัยการภาค 1 เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ตามแบบของกรมโยธาธิการหลังคาสีน้ำเงินจำนวน 2 หลัง ต่อเชื่อมกัน ต่อมาเดือนมกราคม 2543 สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา จึงย้ายที่ทำการจากศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาอยู่ที่อาคาร 1 ชั้น 1 สำนักงานอัยการภาค 1 โดยมี นายบุญฉลอง มีการุณ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการภาค 1 รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดคดีศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา
ข้อมูลอัพเดท ล่าสุด วันที่ 3 เมษายน 2566
อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด มีดังนี้
(มาตรา ๒๓) สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชากร เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครอง ป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
(๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
(๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
(๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
(๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
(๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ
(๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
(๘) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
(๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด
ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐอำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด มีดังนี้
(มาตรา ๒๗) ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด
(๒) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ
(๓) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด
ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้
ให้อัยการสูงสุดโอยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด
อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ มีดังนี้
มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำจานและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
(๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือพนักงานอัยการ
(๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของ สำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
(๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้ กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
(๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
(๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
(๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึด ทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
(๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
(๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
(๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
(๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไป ตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.
วิสัยทัศน์ (Vision)
“เป็นองค์กรแห่งความยุติธรรมของสังคมเพื่อความมั่นคงของชาติและความผาสุกของประชาชน”
พันธกิจ (Missions)
- อำนวยความยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส พึ่งพิงได้บนพื้นฐานของความเสมอภาค
- รักษาผลประโยชน์ของรัฐ เพื่อประโยชน์สาธารณะและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
- รับรู้ ดูแล แก้ปัญหาในการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และเป็นที่พึ่งของประชาชนในด้านกฎหมาย
- พัฒนาศักยภาพองค์กรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกบนฐานความเชี่ยวชาญ
โครงสร้าง (Structure)



นโยบายการบริหารงานของอัยการสูงสุด
“PUBLIC TRUST”
นโยบายที่ 1 สังคม ประชาชน เชื่อมั่น
สร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ด้วยการพัฒนาคุณภาพงานสอบสวนคดีอาญาของพนักงานอัยการ ผลักดันให้กระบวนการบังคับคดีและการประนีประนอมยอมความระหว่างคู่พิพาทในชั้นพนักงานอัยการมีประสิทธิภาพ โดยยึดมั่น และยืนหยัดทําในสิ่งที่ถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม โปร่งใส และไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของสังคมและประชาชน
นโยบายที่ 2 บริหารทันสมัย
เพิ่มกลไกการบริหารงานของสํานักงานอัยการสูงสุดให้มีความทันสมัย สร้างทัศนคติการทํางานเชิงรุกเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ ปรับปรุงรูปแบบการทํางานของสํานักงานอัยการสูงสุดให้มีความสะดวก รวดเร็ว ทันต่อการเปลี่ยนแปลงพร้อมทั้งพัฒนาทักษะความรู้ ศักยภาพของบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญเป็นมืออาชีพ มีความพร้อมทํางานในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของสังคมได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
นโยบายที่ 3 บุคลากรมีคุณธรรม
พัฒนาและส่งเสริมให้ข้าราชการฝ่ายอัยการ และบุคลากรเป็นคนดีและคนเก่ง โดยยึดมั่นในหลักคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติหน้าที่ด้วยจิตสํานึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และไม่เลือกปฏิบัติ รวมทั้งมีความมั่นคงและความก้าวหน้าในอาชีพ มีคุณภาพชีวิตและขวัญกําลังใจที่ดีในการปฏิบัติงาน
บุคลากร
ข้าราชการอัยการ

นายบุญฉลอง มีการุณ
อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการภาค ๑
รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดคดีศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา

นายชัยปรมัตถ์ จิตมหาวงศ์
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

นางลักขณา อินทราเวียง
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

นางสาวฝนทิพย์ แจ่มจำรัส
รองอัยการจังหวัด

นายภาณุพงศ์ ประดิษฐ์ผล
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นางสาวภัทริน รินทร์ธราศรี
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นางสาววรา อ่อนศรี
นักจัดการงานทั่วไปชํานาญการ
รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการ

นางสาวรัตนา ยิ้มเทพ
นักจัดการงานทั่วไปชํานาญการ

นางเกศินี ล้ําเลิศ
เจ้าพนักงานธุรการชํานาญงาน

นางสาวณฑิชา นากสุวรรณชาติ
นิติกรปฏิบัติการ

น.ส.อรพรรณ พาทีทิน
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นายชลพัฒน์ ดวงภักดี
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาววรรณวิมล สุดสวาท
พนักงานธุรการ

น.ส.ขนิษฐา ชาวอบทม
นักการภารโรง

นางมาลี ญาณสมบัติ
นิติกรชํานาญการ
.

นางชลิตา พิชัย
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นางสาวเหมวรรณ เสถียรรูป
นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ

นายวิฑูร รัมมะสังข์
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นายอภิภู จอมแก้ว
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวลธิตา เงินมูล
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นางสาววรรณวิมล สุดสวาท
พนักงานธุรการ

นายพิริยะ กลั่นใสสุข
พนักงานขับรถยนต์
1. นายสมมาท อินทโรดม | พ.ศ. 2518 – 2520 |
2. นายสกล วินชชานนท์ | พ.ศ. 2520 – 2521 |
3. นายไพศาล แจ่มเหมือน | พ.ศ. 2521 – 2522 |
4. นายอภิชาต อาสภวิริยะ | พ.ศ. 2522 – 2523 |
5. นายคณิต มีรักษา | พ.ศ. 2523 – 2525 |
6. นายสุทัศน์ ม่วงศิริ | พ.ศ. 2525 – 2526 |
7. นายวัฒนา อารีรัชกุล | พ.ศ. 2526 – 2527 |
8. นายปฏิภาณ จินารัตน์ | พ.ศ. 2527 – 2529 |
9. นายสมบูรณ์ บริสุทธิ์ | พ.ศ. 2529 – 2530 |
10. นายสมภพ กิติสุธาธรรม | พ.ศ. 2530 – 2532 |
11. นายนพดล วิลาวรรณ | พ.ศ. 2532 – 3534 |
12. ร.ท.สถิตย์ นิมิตรศิลป์ | พ.ศ. 2534 – 2536 |
13. นางศรีนิดา พรหมหิตาธร | พ.ศ. 2536 – 2538 |
14. นายทัศนัย ปลอดเปลี่ยว | พ.ศ. 2538 – 2539 |
15. นายเดชอุดม วีระวานิช | พ.ศ. 2539 – 2540 |
16. นายดําริ เฉลิมวงศ์ | พ.ศ. 2540 – 2541 |
17. นายชัยโรจน์ เกิดวิบูลย์เวช | พ.ศ. 2541 – 2542 |
18. นางสาวภิญทพ บุนนาค | พ.ศ. 2542 – 2543 |
19. นางสาวบุญทอง เอี่ยมอร่ามศักดิ์ | พ.ศ. 2543 – 2544 |
20. นางกุลวดี ฤกษ์สมบูรณ์ดี | พ.ศ. 2544 – 2545 |
21. นายสุชาติ หล่อโลหการ | พ.ศ. 2545 – 2546 |
22. นายนิพนธ์ บุรัสการ | พ.ศ. 2546 – 2547 |
23. นายภควัต สุวรรณวงศ์ | พ.ศ. 2547 – 2548 |
24. นายพันธุ์โชติ บุญศิริ | พ.ศ. 2548 – 2549 |
25. นายนิพนธ์ ผังสุวรรณดํารง | พ.ศ. 2549 – 2550 |
26. นางสิริญา อินทามระ | พ.ศ. 2550 – 2551 |
27. นายเทอดศักดิ์ พาหุสัจจะลักษณ์ | พ.ศ. 2551 – 2553 |
28. นายเสนีย์ ประภัสสรางกูร | 1 เม.ย. 2553 – 31 มี.ค. 2554 |
29. นางศศิเพ็ญ นุชนารถ | 1 เม.ย. 2554 – 31 มี.ค. 2555 |
30. นางสาวบงกชทพ เสรีเลิศวิวัฒน์ | 2 เม.ย. 2555 – 31 มี.ค. 2557 |
31. นางประไพ จิระพรวัชรานนท์ | 1 เม.ย. 2557 – 31 มี.ค. 2558 |
32. นายวีรพล โมระกรานต์ | 1 เม.ย. 2558 – 31 มี.ค. 2559 |
33. นางจุไรรัตน์ สายเจริญ | 1 เม.ย. 2559 – 31 มี.ค. 2560 |
34. นายสันติ พงษ์โต | 1 เม.ย. 2560 – 31 มี.ค. 2561 |
35. นายสุกรี เกษอมรวัฒนา | 1 เม.ย. 2561 – 31 มี.ค. 2562 |
36. นางสาวพรพิชชา สองสี | 1 เม.ย. 2562 – 31 มี.ค. 2563 |
37. นางนารีรัตน์ ไพศาลธนวัฒน์ | 1 เม.ย. 2563 – 31 มี.ค. 2564 |
38. นางสาวกัลยกร เทียนสวัสดิ์ | 1 เม.ย. 2564 – 31 มี.ค. 2565 |
39. นายณฐกร นวลทอง | 1 เม.ย. 2565 – 31 มี.ค. 2566 |
40. นายบุญฉลอง มีการุณ | 1 เม.ย. 2566 – ปัจจุบัน |
สถิติงาน
ประเภทสำนวน | ปี พ.ศ. 2558 | ปี พ.ศ. 2559 | ปี พ.ศ. 2560 | ปี พ.ศ. 2561 | ปี พ.ศ. 2562 | ปี พ.ศ. 2563 | ปี พ.ศ. 2564 | ปี พ.ศ. 2565 |
ส.๑ | 503 | 864 | 645 | 535 | 490 | 411 | 394 | 534 |
ส.1 ฟื้นฟู | 173 | 105 | 289 | 630 | 1,558 | 1,381 | 1,124 | 101 |
ส.2 | 296 | 364 | 275 | 234 | 178 | 154 | 154 | 134 |
ส.2 ก | 15,221 | 14,248 | 40,592 | 11,104 | 2,423 | 5,791 | 939 | 1,168 |
ส.3 | 77 | 84 | 34 | 22 | 2 | 2 | 7 | 3 |
ส.4(ฟ้องวาจา) | 2,691 | 2,509 | 2,171 | 2,697 | 2,415 | 1,927 | 2,683 | 4,911 |
ส.5 ก(คดีแพ่ง) | 43 | 46 | 33 | 169 | 85 | 88 | 53 | 58 |
เอกสารเผยแพร่
จัดซื้อจัดจ้างประจำปีงบประมาณ
ติดต่อหน่วยงาน
สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา
อาคารสำนักงานอัยการภาค 1 ตึก 1 ชั้น 1
ถนนสายเอเชีย ตำบลคลองสวนพลู
อำเภอพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000
โทรศัพท์ 035-336600 Fax. 035-336578
e-mail : ayuthya-sum@ago.go.th