
เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2565 : สำนักงานอัยการจังหวัดชัยบาดาล ร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
วันที่ 10 สิงหาคม 2565 : อัยการจังหวัดชัยบาดาล พร้อมด้วยคณะอัยการ ธุรการ และเจ้าหน้าที่ ร่วมกันทำกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ณ. วัดหนองมนต์น้อย ต.ห้วยหิน อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี
3 มิถุนายน 2565 : ข้าราชการอัยการสำนักงานอัยการจังหวัดชัยบาดาล และข้าราชการธุรการ เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลา เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เวลา 18.00 นาฬิกา ณ บริเวณโดมโรงเรียนอนุบาล อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี

เกี่ยวกับสำนักงาน
ประวัติความเป็นมา
สำนักงานอัยการจังหวัดชัยบาดาลได้เปิดทำการ เมื่อ วันที่ 8 มกราคม 2550
ประวัติอัยการไทย
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระปฐมบรมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ทรงวางรากฐานระบบกฎหมาย และกระบวนยุติธรรมแก่ชาติไทย และทรงเคยปฏิบัติพระราชกรณียกิจอำนวยความยุติธรรมแก่ไพร่ฟ้าประชาชน ในตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี ซึ่งต่อมาได้มีการเปลี่ยนเรียกตำแหน่งยกกระบัตร เป็น อัยการ อัยการไทยได้ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในระยะเริ่มแรกมีลักษณะคล้ายคลึงกับ ระบอบอัยการในประเทศภาคพื้นยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน ต่อมาได้เปลี่ยนไปใช้ตามระบอบอัยการอังกฤษ มีอัยการเป็นโจทก์ฟ้องผู้กระทำผิดต่อศาล จำเลยมีสิทธิสู้คดี โดยศาลวางตัวเป็นกลาง เป็นผู้ตัดสินคดี เดิมเมื่อตั้งกระทรวงยุติธรรมในปี ร.ศ. 110 ยังไม่มีกรมอัยการ คงมีแต่กรมรับฟ้อง และรับเรื่องราว ทั้งแพ่งและอาญา ต่อมาวันที่ 1 เมษายน ร.ศ. 112 หรือ พ.ศ. 2436 จึงได้ตั้งกรมอัยการขึ้น เป็นกรมหนึ่งในกระทรวงยุติธรรม มีหลวงรัตนาญัปติ ต่อมาเป็น “ขุนหลวงพระยาไกรสี” เป็นอธิบดีคนแรก มีหน้าที่ราชการเป็นทนายหลวง ว่าความแผ่นดินในศาลทั้งปวง ณ สนามสถิตยุติธรรม และศาลกงสุลต่างประเทศ อัยการรุ่นแรกมี นายมี นายจัน นายโหมด นายสอน นายเขียว เป็นต้น ในการตั้งกรมอัยการครั้งแรกนี้ อัยการถือเป็นข้าราชการตุลาการ สามารถปรับเปลี่ยนหน้าที่กันได้ ดังเช่น เมื่อวันที่ 5 เมษายน ร.ศ. 116 กระทรวงยุติธรรมได้สั่งย้ายขุนหลวงพระยาไกรสี อธิบดีกรมอัยการ เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ต่อมาย้ายพระยาเทพวิทูร (บุญช่วย วณิกกุล) อธิบดีกรมอัยการไปเป็นประธานศาลฎีกา พระยามานวราชเสวี จากอธิบดีผู้พิพากษาศาลคดีต่างประเทศมาเป็นอธิบดีกรมอัยการ ต่อมาเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2465 กรมอัยการได้โอนจากกระทรวงยุติธรรม มาสังกัดกระทรวงมหาดไทย จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 กรมอัยการจึงได้แยกออกจากกระทรวงมหาดไทย ไปเป็นหน่วยงานไม่สังกัดกระทรวง ทบวงใด อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรีโดยตรง เปลี่ยนชื่อจากกรมอัยการเป็นสำนักงานอัยการสูงสุด ปัจจุบันสำนักงานอัยการสูงสุดไม่สังกัดกระทรวง ทบวง กรม แต่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ถือว่าอัยการเป็นข้าราชการฝ่ายบริหาร ในฐานะที่ปรึกษากฎหมายของรัฐ และทนายแผ่นดิน
อำนาจหน้าที่



ตราสัญลักษณ์

รูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่น พระสุริยกานต์
และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์
สำนักงานอัยการสูงสุด แต่เดิมเป็นกรมอัยการ สังกัดกระทรวงมหาดไทย เครื่องหมายราชการและเครื่องหมายแสดงสังกัดจึงเป็นรูปตราราชสีห์ ต่อมาพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 ได้บัญญัติให้สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี จึงได้มี การกำหนดเครื่องหมายราชการและเครื่องหมายแสดงสังกัดขึ้นใหม่ สำหรับใช้เป็นเครื่องหมายราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดและเป็นเครื่องหมายแสดงสังกัด ใช้กับเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายอัยการ ประกอบกับกฎหมายว่าด้วย
ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ได้บัญญัติให้นำกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน มาใช้บังคับกับข้าราชการธุรการของสำนักงานอัยการสูงสุด และกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ได้บัญญัติให้เครื่องหมายแบบข้าราชการพลเรือน เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน และโดยที่กฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน ได้บัญญัติให้ การกำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัด สำหรับใช้กับเครื่องแบบข้าราชการพลเรือน ต้องออกเป็นกฎสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักนายกรัฐมนตรี จึงออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการกำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 129) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 เล่ม 109 ตอนที่ 40 หน้า 104-105 และออกกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 79 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2535 เล่ม 109 ตอนที่ 51 หน้า 4-5 กำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักอัยการสูงสุด เป็นรูปตราพระมหาพิชัยมงกุฎ ประดิษฐานเหนือพระแว่น สุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์
เครื่องหมายราชการ และเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักงานอัยการสูงสุด จึงเปลี่ยนจากรูปตราราชสีห์เป็น รูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่น พระสุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ มีความหมายถึงอำนาจหน้าที่ในการเป็นทนายแผ่นดิน การใช้กฎหมายด้วยความรอบคอบ เป็นธรรม และเด็ดขาด มีชัยชนะเหนืออธรรม
วิสัยทัศน์ (Vision)
“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”
พันธกิจ (Missions)
1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โครงสร้าง (Structure)

วัฒนธรรมองค์กร

พื้นที่รับผิดชอบ
โดยมีอำนาจดำเนินคดีอาญาและแพ่ง ซึ่งเกิดขึ้นในเขตท้องที่ 6 อำเภอ ของจังหวัดลพบุรี คือ

และแบ่งเป็นเขตสถานีตำรวจ ได้แก่
- สถานีตำรวจภูธรอำเภอชัยบาดาล
- สถานีตำรวจภูธรอำเภอท่าหลวง
- สถานีตำรวจภูธรอำเภอลำสนธิ
- สถานีตำรวจภูธรอำเภอโคกเจริญ
- สถานีตำรวจภูธรอำเภอสระโบสถ์
- สถานีตำรวจภูธรตำบลม่วงค่อม
บุคลากร


อัยการจังหวัดชัยบาดาล
![]() |
ร้อยตำรวจเอกสมศักดิ์ นะธะศิริ อัยการจังหวัดประจำ อส. (กลั่นกรอง) |
![]() |
นางสาวสุนิดา พงษ์ไพจิต อัยการจังหวัดประจำ อส. (กลั่นกรอง) |

รองอัยการจังหวัดชัยบาดาล

อัยการจังหวัดผู้ช่วย

อัยการจังหวัดผู้ช่วย

อัยการจังหวัดผู้ช่วย

อัยการจังหวัดผู้ช่วย


สำนักงานอัยการจังหวัดชัยบาดาล

นิติกรชำนาญการ

นิติกรชำนาญการ

นิติกรชำนาญการ

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นักจัดการงานทั่วไปปฎิบัติการ

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน


นิติกรปฏิบัติการ

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน


พนักงานขับรถยนต์

แม่บ้าน

แม่บ้าน

คนสวน

คนสวน
ทำเนียบผู้บริหาร

สถิติคดี
ผังกระบวนการทำงาน
ติดต่อหน่วยงาน
สำนักงานอัยการจังหวัดชัยบาดาล
119 หมู่ 4 ตำบลห้วยหิน อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี 15130
โทรศัพท์ 036-792049-050
โทรสาร 036-792049 ต่อ 203,214
