ประกาศเจตนารมณ์

เรื่อง ไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ของสำนักงานอัยการสูงสุด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567

ข่าวประชาสัมพันธ์

ภาพกิจกรรม

วันที่ 25 เมษายน 2567 เวลา 08.15 น. นายศิริชัย ด่านพัฒนามงคล อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงลพบุรี พร้อมคณะ เข้าร่วมพิธีวันคล้ายวันสวรรคต
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี


วันที่ 19 เมษายน 2567 เวลา 7.00 น. นายศิริชัย ด่านพัฒนามงคล อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงลพบุรี พร้อมคณะ เข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันสถาปนา
ศาลยุติธรรม ครบรอบ 142 ปี ณ ศาลแขวงลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี


วันที่ 6 เมษายน 2567 เวลา 08.15 น. นายศิริชัย ด่านพัฒนามงคล อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงลพบุรี มอบหมายให้ นายพรหมมาศ อุกะโชติ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมคณะ เข้าร่วมพิธีวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ ณ หอประชุมที่ว่าการ
อำเภอเมืองลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี


วันที่ 2 เมษายน 2567 เวลา 07.00 น. นายศิริชัย ด่านพัฒนามงคล อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงลพบุรี พร้อมคณะ เข้าร่วมงานกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันคล้าย
วันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ วัดเชิงท่า ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี


วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 08.45 น. นายภีศเดช วรกุล อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงลพบุรี พร้อมคณะ เข้าร่วมงานรัฐพิธีวันที่ระลึก
“พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย” ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี


วันที่ 18 มกราคม 2567 เวลา 08.15 น. นายภีศเดช วรกุล อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงลพบุรี พร้อมคณะ เข้าร่วมพิธีวันยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี


วันที่ 17 มกราคม 2567 เวลา 08.15 น. นายภีศเดช วรกุล อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงลพบุรี พร้อมคณะ เข้าร่วมพิธีถวายราชสักการะ
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี


วันที่ 8 มกราคม 2567 เวลา 07.00 น. นายภีศเดช วรกุล อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงลพบุรี มอบหมายให้ นางภัชลี พิมพัฒน์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงลพบุรี พร้อมคณะ เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 8 มกราคม 2567
ณ วัดมณีชลขันฑ์ ตำบลพรหมมาสตร์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี


วันที่ 7 ธันวาคม 2566 เวลา 07.00 น. นายภีศเดช วรกุล อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงลพบุรี พร้อมคณะ เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรและทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ วัดสิงห์ทอง ตำบลบางขันหมาก อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี


วันที่ 5 ธันวาคม 2566 เวลา 07.00 น. นายภีศเดช วรกุล อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงลพบุรี พร้อมคณะ เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2566 ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี


วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 เวลา 08.00 น. นายภีศเดช วรกุล อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงลพบุรี พร้อมคณะ เข้าร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดมมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2566 ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี


วันที่ 23 ตุลาคม 2566 เวลา 07.15 น. นายภีศเดช วรกุล อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงลพบุรี พร้อมคณะ เข้าร่วมพิธีถวายพวงมาลาสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2566 ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้าศาลากลางจังหวัดลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี


วันที่ 13 ตุลาคม 2566 เวลา 07.00 น. นายภีศเดช วรกุล อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงลพบุรี พร้อมคณะ เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และพิธีวางพวงมาลา เนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2566 ณ บริเวณลานพญานาค เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตำบลหนองบัว
อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี


วันที่ 1 ตุลาคม 2566 เวลา 07.45 น. นายภีศเดช วรกุล อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงลพบุรี มอบหมายให้นายมานะพันธ์ หอมจันทร์ อัยการอาวุโส สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงลพบุรี พร้อมคณะ เข้าร่วมพิธี “วันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ประจำปี 2566 ณ หอประชุมโรงเรียนเมืองใหม่ (ชลอราษฎร์รังสฤษฏ์) อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี



เกี่ยวกับสำนักงาน

“สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงลพบุรี” เดิมใช้ชื่อว่า “สำนักงานอัยการประจำศาลแขวงลพบุรี” เปิดทำการเมื่อ พ.ศ. 2518 โดยใช้พื้นที่ ศาลากลางจังหวัดลพบุรี (หลังเก่าชั้น 2) ต่อมา พ.ศ. 2542 ได้ย้ายมาอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดลพบุรี (หลังใหม่ชั้น 2) มีพื้นที่ใช้สอย 157.5 ตารางเมตร ต่อมาเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ได้ใช้ชื่อว่า “สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงลพบุรี” 

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด มีดังนี้

(มาตรา 23) สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชากร เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
(2) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
(3) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
(4) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
(5) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
(6) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้ารการฝ่ายอัยการ
(7) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
(8) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
(9) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด
ในการตรวจร่างสัญญาตาม (2) และ (3) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (2) หรือนิติบุคคลตาม (3) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

อำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด มีดังนี้

(มาตรา 27) ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด
(2) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ

(3) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสุดของสำนักงานอัยการสูงสุด
ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้ให้อัยการสูงสุดโอยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ มีดังนี้

มาตรา 14 พนักงานอัยการมีอำจานและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
(2) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
(3) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
(4) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนี่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
(5) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (3) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
(6) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
(7) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาก ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
(8) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
(9) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
(10) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
(11) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา 14 (3) (4) และ (5) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.

:: กฎหมายองค์กรอัยการตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550

อำนาจหน้าที่
การดำเนินคดีในศาลแขวง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเสร็จสิ้่นไปโดยเร็ว และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ผู้ต้องหาจึงได้รับความคุ้มครอง กล่าวคือ เมื่อมีการจับกุมตัวผู้ต้องหาได้ พนักงานสอบสวนต้องส่งตัวผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการเพื่อยื่นฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ภายใน ๔๘ ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ

สถานตำรวจที่อยู่ในเขตอำนาจ
    1. สภ.เมืองลพบุรี
    2. สภ.โคกตูม
    3. สภ.พัฒนานิคม
    4. สภ.โคกสำโรง
    5. สภ.บ้านเบิก
    6. สภ.บ้านข่อย
    7. สภ.บ้านกุ่ม
    8. สภ.โคกสลุง
    9. สภ.เพนียด
    10. สภ.ท่าโขลง
    11.สภ.ท่าหิน
    12. สภ.บ้านหมี่
    13. สภ.ท่าวุ้ง
    14. สภ.มะนาวหวาน
    15. สภ.หนองม่วง

คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวง
    คดีอาญา คือ คดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเช่น ลักทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหน้า ยักยอก ทำให้เสียทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย เสพยาเสพติดให้โทษประเภท 1(ยาบ้า)ความผิดลหุโทษ พ.ร.บ.การพนัน พ.ร.บ.จราจรทางบก เป็นต้น
    คดีแพ่ง คือ คดีที่มีทุนทรัพย์พิพาทไม่เกิน 300,000 บาท

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)

บุคลากร

ข้าราชการอัยการ

ข้าราชการธุรการ

จ้างเหมาบริการ

ทำเนียบผู้บริหาร
ลำดับที่ชื่อสกุล  ปีที่ดำรงตำแหน่ง
1นายอภิชัยไผทพฤกษ์2518-2519
2นายถิรวัฒน์พรหมสวาสดิ์2519-2520
3นายจักรวาลกาญจธีรานนท์2521-2522
4นายสุพลเหงี่ยมวิจาวัฒ2522-2523
5นายเชื้อสุขอารีย์2523-2524
6นายลิขิตเพชรสว่าง2524-2525
7นายพรชัยสุวรรณชื่น2525-2526
8ร.ต.สุวิชสาวนายน2526-2528
9นายศิโรฒน์สวัสดิพงษ์2528-2529
10นายสุรพงศ์ศรีกุลธนากิจ2530-2531
11นายสมชายจันทร์ประเสริฐ2531-2532
12นายชาญวุฒิภัทราคม2532-2533
13นายวิฑูรย์โททนุคามิน2533-2535-
14นายคณิตขวัญจันทร์2535-2536
15นายพงษ์ศักดิ์แก้วกมล2536-2537
16นายเดชาศรีธัญรัตน์2537-2538
17นายวิสูตรพ่วงใส2539-2539
18นางสาวมาริษาชินประทีป2539-2540
19นายชานนท์สุศรีวรพฤฒิ2541-2542
20นายการุณบุญยอุดมศาสตร์2542-2543
21นายสมเกียรติเลี่ยมสมบูรณ์2543-2544
22นายชาญชัยกมลเทพา2544-2545
23นายบุญเกียรติอุดมแสวงโชค2545-2546
24นายประพฤทธิ์จารุนิธิ2546-2547
25นางพัทธนันท์ชาญกิจ2547-2548
26นายณัฎฐพงศ์สุวรรณพาณิชย์2548-2548
27นายบุญสืบศิริ2549-2550
28นายศิริพงษ์พงศ์พันธุ์สุข2550-2551
29นายอรัญทั่งทองแท้2551-2553
30นายสมศักดิ์ชินอรุณชัย2553-2554
31ว่าที่ พ.ต.ต.พลณัฏฐ์เสียมทอง2554-2555
32ว่าที่ ร.ต.อภิสัคค์พรหมสวาสดิ์2555-2557
33 นายมานะงามวัชรสกุล  2557-2558 
34 นายอุดมชินวงศ์ 2558-2559 
35ว่าที่ พ.ต.ต.ณรงค์ฤทธิ์เสมอเหมือน2559-2560
36นางสิตางศุ์ ตั้งศิริ2560-2561
37ว่าที่ พ.ต.ต.ไพฑูรย์พันธุ์เจริญ2561-2562
38นายวราวุฒิกรณ์ด้วงตุ่น2562-2563
39นายรุ่งวิทย์ ประนิธิ2563-2564
40นายทิฆัมพร นิวรณุสิต2564-2565
41นายศุภกิจกลั่นกล้า2565 – ปัจจุบัน

เอกสารเผยแพร่

คำชี้ขาดความเห็นแย้งความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม (ชี้ขาดความเห็นแย้งที่ 201/2552)

ป.อ.  ปลอมเอกสารสิทธิ  ใช้เอกสารสิทธิปลอม (มาตรา 264,  265,  268,  83,  91)

     แม้ทางคดีจะไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าผู้ใดเป็นผู้ปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายลงในใบคำขอถอนเงินดังกล่าว แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ต้องหาที่ 2 มีอำนาจในการบริหารกิจการทั้งหมดของบริษัทผู้ต้องหาที่ 1 แต่เพียงผู้เดียว และเป็นผู้ได้รับเงินที่เบิกถอนจากธนาคาร ทั้งได้หลบหนีไปภายหลังเกิดเหตุ ตามพฤติการณ์จึงมีเหตุผลให้รับฟังน่าเชื่อว่าผู้ต้องหาที่ 2 เป็นผู้ปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายหรือ มีส่วนรู้เห็นในการปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายลงในใบคำขอถอนเงินของกลางทั้ง 3 ฉบับ ส่วนผู้ต้องหา ที่ 3 มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารกิจการของบริษัทผู้ต้องหาที่ 1 และไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีส่วนได้เสียหรือได้รับประโยชน์จากการถอนเงินทั้ง 3 ครั้ง ดังกล่าว ประกอบกับผู้ต้องหาที่ 3 ได้ให้การปฏิเสธมาโดยตลอด อีกทั้งลายมือชื่อปลอมของผู้เสียหายในใบคำขอถอนเงินของกลางทั้ง 3 ฉบับ มีลักษณะคล้ายกับลายมือชื่อตัวอย่างของผู้เสียหายที่ให้ไว้กับธนาคาร จนธนาคารได้อนุมัติให้ถอนเงินไป พยานหลักฐานจึงฟังได้ว่าผู้ต้องหาที่ 3 มิได้เป็นผู้ปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายลงในใบคำขอถอนเงินของกลางทั้ง 3 ฉบับ และได้นำใบคำขอถอนเงินของกลางไปถอนเงินจากธนาคารโดยผู้ต้องหาที่ 3 ไม่รู้ว่าลายมือชื่อของผู้เสียหายในใบคำขอถอนเงินของกลางเป็นลายมือชื่อปลอม การกระทำของผู้ต้องหาที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม

ข้อเท็จจริงได้ความว่า เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2547 บริษัท ม. จำกัด ขอเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์กับธนาคาร ธ. จำกัด (มหาชน) สาขาบางพลัด โดยมีเงื่อนไขในการถอน กำหนดให้นาย ป. ผู้เสียหาย และนาย ว. ผู้ต้องหาที่ 3 ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัทฯ โดยไม่มีการใช้บัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิต ต่อมาในวันเกิดเหตุ คือวันที่ 7 พฤษภาคม 2547 ผู้ต้องหาที่ 3ได้นำใบถอนเงินที่มีลายมือชื่อและตราประทับตามเงื่อนไขดังกล่าวไปถอนเงินจากธนาคารจำนวน 500,000 บาท และในวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 ผู้ต้องหาที่ 3 ได้นำใบถอนเงินในลักษณะเดียวกันไปถอนเงินจากธนาคารอีก 500,000 บาท และครั้งสุดท้ายในวันที่ 14 พฤษภาคม 2547 ผู้ต้องหาที่ 3 ได้ถอนเงินจากธนาคารในลักษณะเดียวกันอีก 2,000,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,000,000 บาท ต่อมาวันที่ 13 พฤษภาคม 2548 ผู้เสียหายซึ่งเป็นบุตรของ นาวาอากาศตรี ย. (ผู้ร่วมลงทุนในบริษัทฯ ผู้ต้องหาที่ 2) เกิดความสงสัยในฐานะการเงินของบริษัทฯ จึงขอตรวจสอบหลักฐานการเบิกเงินกับธนาคารฯ จึงทราบว่าได้มีการถอนเงินจากธนาคารดังกล่าว ผู้เสียหายเห็นว่าลายมือชื่อในใบถอนเงินทั้ง 3 ฉบับ มิใช่ลายมือที่ตนลงชื่อและไม่เคยมอบอำนาจให้ผู้ใดถอนเงินจากธนาคารฯ ลายมือดังกล่าวจึงเป็นลายมือชื่อปลอม เชื่อว่าผู้ต้องหา ที่ 2 ในฐานะกรรมการผู้จัดการของบริษัทฯ และผู้ต้องหาที่ 3 ต้องมีส่วนรู้เห็นเพื่อประโยชน์ของบริษัท ฯ จึงร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาที่ 1,2 และ 3 เป็นคดีนี้

          พนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหา ที่ 1,  ที่ 2 และที่ 3 ฐานร่วมกันปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264,  265,  268 ประกอบ มาตรา 83,  91

          พนักงานอัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหาที่ 1 และผู้ต้องหาที่ 2 ฐานใช้หรืออ้างเอกสารสิทธิปลอม และสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาที่ 1 และผู้ต้องหาที่ 2 ฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิ  ส่วนผู้ต้องหาที่ 3 สั่งไม่ฟ้อง ทุกข้อกล่าวหา

            ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีความเห็นแย้งคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาที่ 2 และผู้ต้องหาที่ 3

           อัยการสูงสุดพิจารณาแล้ว เห็นว่า บริษัท ม. จำกัด ผู้ต้องหาที่ 1 เปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคาร ก. จำกัด (มหาชน) สาขาบางพลัด โดยมีเงื่อนไขในการเบิกถอนเงินกำหนดให้นาย ป. ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นบุตรของผู้ร่วมลงทุนในบริษัทผู้ต้องหาที่ 1 และนาย ว. ผู้ต้องหาที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัท มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัทผู้ต้องหาที่ 1 เบิกถอนเงินจากธนาคารได้ การที่นาง ส. หรือ ศ. ผู้ต้องหาที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทผู้ต้องหาที่ 1 นำใบคำขอถอนเงินของกลางที่มีลายมือชื่อปลอมของผู้เสียหายและรอยตราประทับของบริษัทผู้ต้องหาที่ 1 ไปมอบให้ผู้ต้องหาที่ 3 ลงลายมือชื่อแล้วให้นำไปถอนเงินจากธนาคารรวม 3 ครั้ง เป็นเงินทั้งสิ้น 3,000,000 บาท และให้ผู้ต้องหาที่ 3 นำเงินที่ถอนมามอบให้ผู้ต้องหาที่ 2 นั้น แม้ทางคดีจะไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าผู้ใดเป็นผู้ปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายลงในใบคำขอถอนเงินดังกล่าว แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ต้องหาที่ 2 มีอำนาจในการบริหารกิจการทั้งหมดของบริษัทผู้ต้องหาที่ 1 แต่เพียงผู้เดียว และเป็นผู้ได้รับเงินที่เบิกถอนจากธนาคาร ทั้งได้หลบหนีไปภายหลังเกิดเหตุ ตามพฤติการณ์จึงมีเหตุผลให้รับฟังน่าเชื่อว่าผู้ต้องหาที่ 2 เป็นผู้ปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายหรือมีส่วนรู้เห็นในการปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายลงในใบคำขอถอนเงินของกลางทั้ง 3 ฉบับ ส่วนผู้ต้องหาที่ 3 มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารกิจการของบริษัทผู้ต้องหาที่ 1 และไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีส่วนได้เสียหรือได้รับประโยชน์จากการถอนเงินทั้ง 3 ครั้ง ดังกล่าว ประกอบกับผู้ต้องหาที่ 3 ได้ให้การปฏิเสธมาโดยตลอด อีกทั้งลายมือชื่อปลอมของผู้เสียหายในใบคำขอถอนเงินของกลางทั้ง 3 ฉบับ มีลักษณะคล้ายกับลายมือชื่อตัวอย่างของผู้เสียหายที่ให้ไว้กับธนาคาร จนธนาคารได้อนุมัติให้ถอนเงินไป พยานหลักฐานจึงฟังได้ว่าผู้ต้องหาที่ 3 มิได้เป็นผู้ปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายลงในใบคำขอถอนเงินของกลางทั้ง 3 ฉบับ และได้นำใบคำขอถอนเงินของกลางไปถอนเงินจากธนาคารโดยผู้ต้องหาที่ 3 ไม่รู้ว่าลายมือชื่อของผู้เสียหายในใบคำขอถอนเงินของกลางเป็นลายมือชื่อปลอม การกระทำของผู้ต้องหาที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม

          จึงชี้ขาดให้ฟ้อง นาง ส. หรือ ศ. ผู้ต้องหาที่ 2 ฐานปลอมเอกสารสิทธิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264,  265 และชี้ขาดไม่ฟ้อง นาย ว. ผู้ต้องหาที่ 3 ฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264,  265,  268,  83,  91

ผังกระบวนงาน

ผังกระบวนการในการดำเนินคดี
ผังกระบวนงานขอประกันตัวผู้ต้องหา

***กระบวนการดังกล่าวนับตั้งแต่เจ้าหน้าที่รับคำร้อง/ตรวจสอบหลักฐานจนกระทั่ง แจ้งผลการพิจารณาและทำสัญญาประกันแล้วเสร็จ ใช้ระยะเวลาไม่เกิน 20 นาที เว้นแต่ในกรณีมีเหตุอันควรไม่อาจดำเนินการได้ในระยะเวลาให้ขยายระยะเวลาไม่เกิน 30 นาที

หลักประกัน

การใช้หลักทรัพย์เป็นประกัน

    1. ที่ดินมีโฉนด หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ซึ่งมีหนังสือรับรองราคาประเมินของสำนักงานที่ดิน
    2. ห้องชุดมีโฉนดที่ดินและมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด
    3. หลักทรัพย์อื่นที่กำหนดราคามูลค่าที่แน่นอนได้ เช่น
        – พันธบัตรรัฐบาล
        – สลากออมสิน
        – สลากออมทรัพย์ทวีสิน ของ ธกส.
        – สมุดเงินฝากธนาคาร

การใช้บุคคลเป็นประกัน

    เป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่การงานหรือมีรายได้แน่นอน เช่น
    1. ข้าราชการ ข้าราชการบำนาญ
    2. สมาชิรัฐสภา
    3. ผู้บริหารราชการส่วนท้องถิ่น
    4. สมาชิกสภาท้องถิ่น
    5. พนักงานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
    6. พนักงานรัฐวิสาหกิจ
    7. พนักงานของรัฐประเภทอื่น เช่น ลูกจ้างของทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
    8. ผู้บริหารพรรคการเมือง

หลักฐานที่ต้องนำมาแสดงในการใช้หลักทรัพย์ประกันตัว

    1. สำเนาบัตรประชาชน บัตรข้าราชการ
    2. สำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยและผู้ประกัน
    3. หลักทรัพย์ เช่น โฉนด หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก)
    4. หนังสือรับรองราคาประเมินจากสำนักงานที่ดิน
    5. หนังสืออายัดจากธนาคาร (กรณีใช้สมุดหรือสลากฯ)

หลักฐานที่ต้องนำมาแสดงในการใช้บุคคลประกันตัว

    1. สำเนาบัตรประชาชน บัตรข้าราชการ หรือบัตรแสดงตำแหน่งหน้าที่การทำงาน
    2. สำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยและผู้ประกัน
    3. หนังสือรับรองจากต้นสังกัดหรือนายจ้าง (ตัวจริง)
    4. หลักฐานการยินยอมของคู่สมรส (กรณีผู้ประกันมีคู่สมรส)

อัตราหลักประกัน

    ทำสัญญาประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 10 เท่าของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

ผังกระบวนงานขอคืนหลักประกันตัวผู้ต้องหา

***กระบวนดังกล่าวนับตั้งแต่เจ้าหน้าที่รับคำร้อง/ตรวจสอบหลักฐานจนกระทั่ง แจ้งผลการพิจารณาและนำหลักทรัพย์คืนให้ผู้ขอหลักประกันแล้วเสร็จใช้ระยะเวลาไม่เกิน 15 นาที

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงลพบุรี
ศาลากลางจังหวัดลพบุรี ชั้น 2
ถนนนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร
อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15000
โทร. 036-770151 โทรสาร 036-770140
E-mail : lob-sum@ago.go.gh