สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสระบุรี ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ณ วัดมงคลชัยพัฒนา (พระอารามหลวง) ตําบลห้วยบง อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี

อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสระบุรี เข้าร่วมพิธีถวายราชสักการะเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประจำปี 2566 ณ กรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ ตำบลปากข้าวสาร อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี

วันที่ 7 ธันวาคม 2566 นายวิศรุต ราชรักษ์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสระบุรี และข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศลเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ วัดมงคลชัยพัฒนา (พระอารามหลวง) ตำบลห้วยบง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี

วันที่ 5 ธันวาคม 2566 พันตรีประพล อยู่ปาน อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และข้าราชการฝ่ายอัยการเข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และวันพ่อแห่งชาติ ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี

วันที่ 28 กันยายน 2566 วันพระราชทานธงชาติไทย ประจำปี 2566 ข้าราชการสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสระบุรี เข้าร่วมกิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย ณ บริเวณหน้าเสาธงอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดสระบุรี

วันที่ 7 สิงหาคม 2566 นายวิศรุต ราชรักษ์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสระบุรี พร้อมด้วยข้าราชการ เข้าร่วมงาน “วันรพี ประจำปี 2566” วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย ณ อาคารศาลจังหวัดสระบุรี

วันที่ 28 กรกฏาคม 2566 นายวิศรุต ราชรักษ์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนฯ พร้อมด้วยข้าราชการ เข้าร่วมกิจกรรมวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรฏาคม 2566 ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี


วันที่ 11 กรกฎาคม 2566 นายวิศรุต ราชรักษ์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสระบุรี พร้อมด้วยข้าราชการ เข้าร่วมพิธี วันสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประจำปี พ.ศ.2566   ณ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี


26 มิถุนายน 2566 นายวิศรุต ราชรักษ์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสระบุรี พร้อมด้วยข้าราชการ ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระกุศล งานฉลองพระชนมายุ 8 รอบ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ วัดมงคลชัยพัฒนา (พระอารามหลวง) อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี




สำนักงานอัยการสูงสุด เรื่อง เจตนารมณ์ขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม

สำนักงานอัยการสูงสุด ประกาศเจตนารมณ์ เรื่อง ไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ของสำนักงานอัยการสูงสุด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ 

ประวัติความเป็นมา

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสระบุรี

                                 เนื่องจากจังหวัดสระบุรีมีสถิติการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนและคดีครอบครัวในแต่ละปีเพิ่มมากขึ้น แต่จังหวัดสระบุรียังไม่มีการจัดตั้งศาลที่่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นโดยเฉพาะ การดำเนินคดีเกี่ยวกับการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนและครอบครัวจึงต้องกระทำในศาลจังหวัด ซึ่งทำให้เด็ก เยาวชน ผู้ถูกดำเนินคดีมิได้รับประโยชน์จากการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ กระทรวงยุติธรรมจึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนของแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดสระบุรีขึ้น โดยร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้เสนอให้มีการจัดตั้งสถานพินืจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนของแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในอีก ๕ จังหวัดด้วย คือ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดลำปาง และจังหวัดสุพรรณบุรี
                  ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดจันทบุรี ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ ศาลจังหวัดภูเก็ต ศาลจังหวัดลำปาง ศาลจังหวัดสระบุรี และศาลจังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยให้เปิดทำการตั้งแต่วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๐ เป็นต้นไป สำนักงานอัยการสูงสุดจึงได้จัดให้ตั้งสำนักงานอัยการจังหวัด ( แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว) ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีด้านคุ้มครองเด็กและเยาวชน เพื่อให้ทำหน้าที่พิจารณาอรรคดีในส่วนที่เป็นคดีเยาวชนและคดีครอบครัว
             สำนักงานอัยการจังหวัดสระบุรี (แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว) ได้เปิดทำการ เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๐ เป็นต้นมา และมีเขตอำนาจตลอดทั้งจังหวัดสระบุรี
           ต่อมาได้มีกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๔๖ ข้อ ๓๙ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๒๐ ตอน ๑๑๗ ลงวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖ สำนักงานอัยการสูงสุดจึงได้เปลี่ยนแปลงชือสำนักงานอัยการในภูมิภาคใหม่จากเดิม คือ สำนักงานอัยการสจังหวัดสระบุรี (แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสระบุรี) เป็นสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสระบุรี ตั้งแต่วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๖ เป็นต้นมา (ตามหนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ อส(สฝคก.) ๐๐๓/ว.๔๘๕ เรื่องซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับชื่อสำนักงานอัยการจังหวัดตามกฎกระทรวงฉบับใหม่ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๖) 
                  สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสระบุรีได้รับอนุญาตจากสำนักงานอัยการจังหวัดสระบุรีให้ใช้พื้นที่ของอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดสระบุรี ชั้น ๓ เป็นที่ทำการของสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสระบุรี


ตราสัญลักษณ์

โลโก้สำนักงาน

รูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่น พระสุริยกานต์
และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์

     สำนักงานอัยการสูงสุด แต่เดิมเป็นกรมอัยการ สังกัดกระทรวงมหาดไทย เครื่องหมายราชการและเครื่องหมายแสดงสังกัดจึงเป็นรูปตราราชสีห์ ต่อมาพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 ได้บัญญัติให้สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี จึงได้มี การกำหนดเครื่องหมายราชการและเครื่องหมายแสดงสังกัดขึ้นใหม่ สำหรับใช้เป็นเครื่องหมายราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดและเป็นเครื่องหมายแสดงสังกัด ใช้กับเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายอัยการ ประกอบกับกฎหมายว่าด้วย
ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ได้บัญญัติให้นำกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน มาใช้บังคับกับข้าราชการธุรการของสำนักงานอัยการสูงสุด และกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ได้บัญญัติให้เครื่องหมายแบบข้าราชการพลเรือน เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน และโดยที่กฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน ได้บัญญัติให้ การกำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัด สำหรับใช้กับเครื่องแบบข้าราชการพลเรือน ต้องออกเป็นกฎสำนักนายกรัฐมนตรี

     สำนักนายกรัฐมนตรี จึงออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการกำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 129) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 เล่ม 109 ตอนที่ 40 หน้า 104-105 และออกกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 79 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2535 เล่ม 109 ตอนที่ 51 หน้า 4-5 กำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักอัยการสูงสุด เป็นรูปตราพระมหาพิชัยมงกุฎ ประดิษฐานเหนือพระแว่น สุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์

     เครื่องหมายราชการ และเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักงานอัยการสูงสุด จึงเปลี่ยนจากรูปตราราชสีห์เป็น รูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่น พระสุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ มีความหมายถึงอำนาจหน้าที่ในการเป็นทนายแผ่นดิน การใช้กฎหมายด้วยความรอบคอบ เป็นธรรม และเด็ดขาด มีชัยชนะเหนืออธรรม

นโยบายอัยการสูงสุด

นโยบายการบริหาร

” ยกระดับ ปรับเปลี่ยน วางรากฐาน สานต่ออนาคต “

  1. ยกระดับการอำนวยความยุติธรรม รักษาผลประโยชน์ของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และช่วยเหลือประชาชนด้านกฎหมาย บนพื้นฐานของความร่วมมือและเทคโนโลยี
  2. ปรับเปลี่ยนและพัฒนางานขององค์กรอัยการให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกและความหลากหลายทางสังคม เพื่อให้เกิดความยุติธรรมสำหรับทุกฝ่ายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  3. วางรากฐานเพื่อสร้างระบบและกลไกในการเข้าถึงความยุติธรรมสำหรับทุกคน วางระบบนิเวศองค์กร (Eco-System) ที่เหมาะสมกับการทำงาน และสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะทางวิชาชีพ
  4. สานต่ออนาคตโดยสร้างกลไก เครื่องมือ และแนวทางการพัฒนาบนพื้นฐานการบริหารอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งต่อองค์ความรู้ที่จะนำสำนักงานอัยการสูงสุดสู่การเป็นองค์กรของนักกฎหมายเพื่อสังคม และสร้างความยุติธรรมที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน (Better Justice)
วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

อำนาจหน้าที่

                          ด้วยระเบียบของสำนักงานอัยการสูงสุดได้กำหนดให้สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัว รับผิดชอบการดำเนินคดีทั้งปวงในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือ สำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัว มีหน่วยงานราชการภายใน คือ สำนักอำนวยการ มีอำนาจหน้าและหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการ และงานสารบบคดี 
                           สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสระบุรี จึงมีดำเนินคดีทั้งปวงในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสระบุรี ซึ่งมีเขตอำนาจครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสระบุรีทั้งจังหวัด ได้แก่

          – อำเภอเมืองสระบุรี   -อำเภอบ้านหมอ – อำเภอพระพุทธบาท – อำเภอวิหารแดง – อำเภอวังม่วง
          – อำเภอแก่งคอย – อำเภอมวกเหล็ก- อำเภอเฉลิมพระเกียรติ – อำเภอหนองแซง
          – อำเภอหนองแค – อำเภอเสาไห้ – อำเภอดอนพุด -อำเภอหนองโดน

โดยมีอำนาจพิจารณาสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน โดยให้ความเห็นหรือมีคำสั่งตามระเบียบว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๔๓ และปฏิบัติตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ ดังนี้

1.คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดโดย “เด็ก” หรือ “เยาวชน” หมายถึงบุคคลดังต่อไปนี้
          “เด็ก”หมายความว่า บุคคลที่มีอายุไม่เกิน 15 ปี บริบูรณ์
          “เยาวชน”หมายความว่า บุคคลที่มีอายุเกินกว่า 15 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์
          ความผิดอาญา ได้แก่ คดีลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ พรากผู้เยาว์ กระทำอนาจาร ข่มขืนกระทำชำเรา ทำร้ายร่างกายฆ่า หรือพยายามฆ่าผู้อื่น ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ความผิดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจราจรทางบกพระราชบัญญัติรถยนต์ หรือความผิดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติอาวุธปืน เป็นต้น

2.คดีอาญาที่บุคคลอายุยังไม่เกิน 20 ปี บริบูรณ์ กระทำความผิดและเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดา ถ้าศาลนั้นพิจารณาโดยคำนึงถึงสภาพร่างกาย สภาพจิตใจ สติปัญญา และนิสัยแล้ว เห็นว่าบุคคลนั้นยังมีสภาพเช่นเดียวกับเด็กหรือเยาวชน ให้ศาลนั้นมีอำนาจโอนคดีดังกล่าวไปพิจารณาในศาลเยาวชนและครอบครัวที่มีอำนาจได้ และให้ถือว่าบุคคลนั้นเป็นเด็กหรือเยาวชน ทั้งนี้ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๙๗ วรรคหนึ่ง 

3.คดีครอบครัว หมายถึง คดีแพ่งที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกระทำการใดๆ ในทางศาลเกี่ยวกับผู้เยาวว์หรือครอบครัว ซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 มาตรา 21-28,32,43 และ 44 บรรพ 5 ทั้งหมด และบรรพ 6 มาตรา 1610,1611,1687 และ 1692 กฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับครอบครัวเช่น คดีฟ้องอย่า แบ่งสินสมรส หรือเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นหรือจากชายอื่น คดีฟ้องเกี่ยวกับอำนาจปกครองหรือค่าอุปการะเลี้ยงดู คดีร้องขอรับรองบุตร ขอรับบุตรบุญธรรม หรือขอทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ หรือคดีที่เกี่ยวด้วยสถานะหรือความสามารถของบุคคลอันเกี่ยวกับครอบครัวหรือคดีที่ผู้เยาว์มีส่วนได้เสีย เช่น คดีร้องขอให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือคดีร้องขอให้เป็นคนสาบสูญ เป็นต้น

4.คดีคุ้มครองสวัสดิภาพ หมายถึง คดีที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกระทำการใดๆ ในทางศาลเกี่ยวกับการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กหรือบุคคลในครอบครัวซึ่งจะต้องบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กหรือบุคคลในครอบครัว

5.คดีอื่นๆ ที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลเยาวชนและครอบครัว


ทำเนียบอัยการจังหวัด

๑.นายจิรพล   วชิรไพศาล ๒ เม.ย.๒๕๔๐-๑ พ.ค.๒๕๔๑

๒.นายสมโภชน์   ลิ้มประยูร ๒ พ.ค.๒๕๔๑-๒๕๔๒

๓.นายเริงฤทธิ์   สิทธิไตรย์ ๒ พ.ค.๒๕๔๒-๑ พ.ค.๒๕๔๓

๔.นายวันยุทธ   วัฒนธรรม ๒ พ.ค.๒๕๔๓-๑ พ.ค.๒๕๕๔

๕.นายบุญเกียรติ   อุดมแสวงโชค ๒ พ.ค.๒๕๔๔-๑ พ.ค.๒๕๔๕

๖.นายเกียรติประวัติ   เงินเกิด ๒ พ.ค.๒๕๔๕-๒๘ เม.ย.๒๕๔๖

๗.นายพรชัย   ชลวาณิชกุล ๒๙ เม.ย.๒๕๔๖-๓๐ เม.ย.๒๕๔๗

๘.นายณัฏฐพงศ์   สุวรรณพาณิชย์ ๓ พ.ค.๒๕๔๗-๓ เม.ย.๒๕๔๘

๙.นายกุลวัฒน์   นพคุณ ๔ เม.ย.๒๕๔๘-๓๐ เม.ย.๒๕๔๙

๑๐.นายสุรสิทธิ์   ม่วงศิริ ๑ พ.ค.๒๕๔๙-๑ เม.ย.๒๕๕๐

๑๑.นายกฤษณะ   กสิโสภา  ๒ เม.ย.๒๕๕๐-๓๑ มี.ค.๒๕๕๑

๑๒.นางสุธีรา   พาหุสัจจะลักษณ์ ๑ เม.ย.๒๕๕๑ -๓๑ มี.ค.๒๕๕๓

๑๓.นางวราภรณ์   จันทนากูล ๑ เม.ย.๒๕๕๓-๓๑ มี.ค.๒๕๕๔

๑๔.นายธงชัย   ธรรมวิชิต ๑ เม.ย.๒๕๕๔-๓๑ มี.ค.๒๕๕๕

๑๕.นางประไพ   จิระพรวัชรานนท์ ๑ เม.ย.๒๕๕๕-๓๑ มี.ค.๒๕๕๗

๑๖.นางศิรินาถ   ฉัตรชุติมากร ๑ เม.ย.๒๕๕๗-๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘

๑๗.นายนรินทร์   ทองธิว ๑ เม.ย.๒๕๕๘-๓๑ มี.ค.๒๕๕๙

๑๘.นายภาณุ   เวียงสงค์ ๑ เม.ย.๒๕๕๙-๓๑ มี.ค.๒๕๖๑

๑๙.นายวิวัฒน์   ศิริชัยสุทธิกร ๑ เม.ย.๒๕๖๑- 31 มี.ค.2563

20.นายวีระศักดิ์   งามจตุรวรรณ 1 เม.ย.2563-31 ก.ย.2563

21.นางสาวศิริรัตน์ เจริญสุทธิธรรม 1 ต.ต.2563-31 มี.ค.2564

22. นายปกรณ์ ธรรมโรจน์ 1 เม.ย.2564-31 มี.ค.2565

21.นายมานพ  เสือเหลือง 1 เม.ย.2565-31 มี.ค.2566

22.นายวิศรุต ราชรักษ์ 1 เม.ย.2566-ปัจจุบัน

ทำเนียบรายชื่อข้าราชการฝ่ายอัยการ

สถิติคดี

สถิติคดีย้อนหลัง 9 ปี – ปัจจุบัน

ประเภทคดพ.ศ 2555พ.ศ.2556พ.ศ.2557พ.ศ.2558พ.ศ.2559พ.ศ.2560พ.ศ.2561พ.ศ.2562
ส.1 333372263224182181151114
ส.2222126191819147
ส.5 ก. (คดีแพ่ง)993****** **         **
ส.มาตราการพิเศษ(ม.86)220666
ส.ฟื้นฟูยาเสพติด30525752211
 หมายเหตุ

 

** สคช.รับเรื่องดำเนินการ

ประเภทคดีพ.ศ 2563 พ.ศ 2564 พ.ศ.2565พ.ศ 2566พ.ศ 2567   
ส.1 102 774359 12   
ส.27 57 5 –   
ส.ฟื้นฟูยาเสพติด6 31 – –   
ส.มาตราการพิเศษ (ม.86)8 52 2   

หมายเหตุ ข้อมูล ณ วันที่ 21 มีนาคม 2567

 

ผังกระบวนงาน

ขั้นตอนและรอบระยะเวลามาตรฐาน

รายชื่อระยะเวลามาตรฐาน
1.การขอประกันตัวผู้ต้องหา 10 นาที
2.การคืนหลักประกันตัวผู้ต้องหา10 นาที
3.การช่วยเหลือให้คำปรึกษากฎหมาย5 นาที
4.การรวบรวม ตรวจสอบและดำเนินการยื่น   คำร้องของขอตั้งผู้ปกครอง(ปัจจุบัน เป็นอำนาจหน้าที่ สำนักงานอัยการช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดสระบุรี)20 นาที

แผนที่การเดินทาง

ตั้งอยู่ บริเวณชั้น 3 อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดสระบุรี

 หมายเลขโทรศัพท์.036-220290 โทรสาร หมายเลข 036-220291 (อัตโนมัติ)
งานคดี ต่อ 101
งานการเงินและพัสดุ ต่อ 102
ผู้อำนวยการฯ ต่อ 104