ภาพกิจกรรม

วันที่ 29 เมษายน 2567
นางสุวธิดา แผ้วลุ่มแฝก อัยการจังหวัดผู้ช่วย ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศาล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร
ณ วัดมงคลชัยพัฒนา (พระอารามหลวง) ตําบลห้วยบง อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี


วันที่ 25 เมษายน 2567
นายเจษฎา ธนาสิทธิ์พันธ์กุล อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงสระบุรี ร่วมพิธีวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประจำปี 2567 ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช กรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์


วันที่ 6 เมษายน 2567
นางสาวทิพย์สุดา เจริญพานิชสันติ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมงานพิธี “วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์” ประจำปี 2567 ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี


วันที่ 2 เมษายน 2567
นายเจษฎา ธนาสิทธิ์พันธ์กุล อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงสระบุรี ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2567 ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี


วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567
นายอภิรักษ์ ศรีคชา อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงสระบุรี ร่วมงานพิธี ” วันที่ระลึก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประจำปี 2567 “
ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี


วันที่ 18 มกราคม 2567
นายอภิรักษ์ ศรีคชา อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงสระบุรี ร่วมงานพิธี ” วันยุทธหัตถี” ประจำปี 2567 ” วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2567
ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี


วันที่ 17 มกราคม 2567
นายอภิรักษ์ ศรีคชา อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงสระบุรี ร่วมงานรัฐพิธี ” วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช” ประจำปี 2567 วันพุธที่ 17 มกราคม 2567
ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี


วันที่ 8 มกราคม 2567
นางสาวอัยยรัตน์ ลังกาพินธุ์ อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงสระบุรี ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และพิธีทําบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา วันจันทร์ที่ 8 มกราคม 2567
ณ วัดมงคลชัยพัฒนา (พระอารามหลวง) ตําบลห้วยบง อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี


วันที่ 7 ธันวาคม 2566
นางสาวกาญจนาภา ลำดับวงศ์ อัยการจังหวัดผู้ช่วย สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงสระบุรี ร่วมพิธีทําบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม 2566 เวลา 08.00 น.
ณ วัดมงคลชัยพัฒนา (พระอารามหลวง) ตําบลห้วยบง อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี


วันที่ 5 ธันวาคม 2566
นายกษิดิศ มธุรส อัยการจังหวัดผู้ช่วย และเจ้าหน้าที่ ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และวางพานพุ่ม เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2566 ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี


วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566
พ.ต.ท.ปรมัตถ์ วิโสธเย อัยการจังหวัดผู้ช่วย ร่วมพิธีสวดพระพุทธมนต์และพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในวันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี


วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566
นางสาวอัยยรัตน์ ลังกาพินธ์ุ อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะ เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2566 ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี


วันที่ 23 ตุลาคม 2566
พ.ต.ท.ประสงค์ สุขเกษม อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และเจ้าหน้าที่ ร่วมพิธีน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ 23 ตุลาคม 2566 ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้าที่ว่าการอำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี


วันที่ 13 ตุลาคม 2566
นายอภิรักษ์ ศรีคชา อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงสระบุรี และเจ้าหน้าที่ ร่วมพิธีวางพวงมาลาและพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนนาถบพิตร 13 ตุลาคม 2566 ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี


วันที่ 28 กันยายน 2566
สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงสระบุรี จัดกิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน (Thai Nation Flag Day) ประจำปี 2566


วันที่ 12 สิงหาคม 2566
นายอภิรักษ์ ศรีคชา อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงสระบุรี ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พรพบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี

นายกษิดิศ มธุรส อัยการจังหวัดผู้ช่วย ร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พรพบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี


วันที่ 28 กรกฎาคม 2566
นายอภิรักษ์ ศรีคชา อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงสระบุรี ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 28 กรกฎาคม 2566 ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี

นายปรมัตถ์ วิโสธเย อัยการจังหวัดผู้ช่วย ร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 28 กรกฎาคม 2566 ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี


วันที่ 26 มิถุนายน 2566
นายอภิรักษ์ ศรีคชา อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงสระบุรี ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล งานฉลองพระชนมายุ 8 รอบ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก 26 มิถุนายน 2566 ณ วัดมงคลชัยพัฒนา ตำบลห้วยบง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี


วันที่ 3 มิถุนายน 2566
นายอภิรักษ์ ศรีคชา อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงสระบุรี ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน 2566 ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี

นางสาวอัยยรัตน์ ลังกาพินธุ์ อัยกาประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน 2566 ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี


วันที่ 6 พฤษภาคม 2566
พ.ต.ท.ประสงค์ สุขเกษม อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงสระบุรี ร่วมงานพิธีเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 100 ปี วันประสูติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี


ประกาศเจตนารมณ์ เรื่อง ไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (Not Gift Policy) ของสำนักงานอัยการสูงสุด

เกี่ยวกับสำนักงาน

วิสัยทัศน์ (Vision)

“เป็นองค์กรแห่งความยุติธรรมของสังคมเพื่อความมั่นคงของชาติและความผาสุกของประชาชน”

พันธกิจ (Missions)
  1. อำนวยความยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส พึ่งพิงได้บนพื้นฐานของความเสมอภาค
  2. รักษาผลประโยชน์ของรัฐ เพื่อประโยชน์สาธารณะและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
  3. รับรู้ ดูแล แก้ปัญหาในการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และเป็นที่พึ่งของประชาชนในด้านกฎหมาย
  4. พัฒนาศักยภาพองค์กรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกบนฐานความเชี่ยวชาญ
ค่านิยมร่วม “PUBLIC”
  • P : People First      ประชาชนมาที่หนึ่ง
  • U : Uprightness      เป็นที่พึ่งความยุติธรรม
  • B : Betterment      คิดและทำเพื่อพัฒนา
  • L : Lawfulness      รักษากฎหมายด้วยเหตุผล
  • I : Integrity      ประพฤติตนซื่อสัตย์และโปร่งใส
  • C : Collaboration      ร่วมมือร่วมใจสู่เป้าหมาย

รูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่น พระสุริยกานต์
และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ

            สำนักงานอัยการสูงสุด แต่เดิมเป็นกรมอัยการ สังกัดกระทรวงมหาดไทย เครื่องหมายราชการและเครื่องหมายแสดงสังกัดจึงเป็นรูปตราราชสีห์ ต่อมาพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม พ.ศ.2534ได้บัญญัติให้สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีกระทรวง หรือทบวง อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี จึงได้มี การกำหนดเครื่องหมายราชการและเครื่องหมายแสดงสังกัดขึ้นใหม่ สำหรับใช้เป็นเครื่องหมายราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดและเป็นเครื่องหมายแสดงสังกัด ใช้กับเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายอัยการ ประกอบกับกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ได้บัญญัติให้นำกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน มาใช้บังคับกับข้าราชการธุรการของสำนักงานอัยการสูงสุดและกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ได้บัญญัติให้เครื่องหมายแบบข้าราชการพลเรือน เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน และโดยที่กฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน ได้บัญญัติให้ การกำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัด สำหรับใช้กับเครื่องแบบข้าราชการพลเรือน               

           สำนักนายกรัฐมนตรี จึงออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการกำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช2482 (ฉบับที่129)ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่7เมษายน พ.ศ.2535เล่ม109ตอนที่40หน้า104-105และออกกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่79 (พ.ศ.2535)ออกตามความในพระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช2478ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่17เมษายน พ.ศ.2535เล่ม109 ตอนที่51หน้า4-5กำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักอัยการสูงสุด เป็นรูปตราพระมหาพิชัยมงกุฎ ประดิษฐานเหนือพระแว่น สุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์

             เครื่องหมายราชการ และเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักงานอัยการสูงสุด จึงเปลี่ยนจากรูปตราราชสีห์เป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่น พระสุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ มีความหมายถึงอำนาจหน้าที่ในการเป็นทนายแผ่นดิน การใช้กฎหมายด้วยความรอบคอบ เป็นธรรม และเด็ดขาด มีชัยชนะเหนืออธรรม

อำนาจและหน้าที่ตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 23

          กำหนดให้สำนักงานอัยการสูงสุดนอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชาการเพื่อสนับสนุน และอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด

           1. ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
           2. ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
           3. ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
           4. ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
           5. ดำเนินการตามที่รัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
           6.  ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ
           7. ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
           8. ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
           9. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
           ในการตรวจร่างสัญญาตาม (2) และ (3) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้ สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (2) หรือนิติบุคคลตาม (3) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 14 มีดังนี้

           1. อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
           2.ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
           3. ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโคตุลาการทั้งปวงกับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
           4. ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดีหรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
           5. ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (3) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นเป็นคู่กรณีและมิใช่กรณีที่พิพาทกับรัฐบาลหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
           6. ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
           7. ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
           8. ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
           9. อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
           10. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
           11. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่สำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
           ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตาร 14 (3) (4) และ (5) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำโดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
           พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.

บุคลากร

ทำเนียบผู้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดคดีศาลแขวงสระบุรี
 ลำดับที่   ชื่อ – สกุล   ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง  
 ๑.นายสมเกียรติ  นกหมุด ๑ เมษายน ๒๕๕๘ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙
 ๒. นายสุริยะ  ถมยา ๑ เมษายน ๒๕๕๙ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐
๓.นายสรรเสริญ  ไชยบาง๑ เมษายน ๒๕๖๐ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑
๔.น.ต.ศรัณย์  ปานพวงแก้ว๑ เมษายน ๒๕๖๑ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๒
๕.นายจันทคราม  เทียมทัน๑ เมษายน ๒๕๖๒ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓
๖.นายจิรวิชย์  ไวเวหา๑ เมษายน ๒๕๖๓ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔
๗.นายสมบัติ  ฤทธิเดช๑ เมษายน ๒๕๖๔ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕
๘.นายศุภชัย คงประพันธ์๑ เมษายน ๒๕๖๕ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖
๙.นายอภิรักษ์ ศรีคชา๑ เมษายน ๒๕๖๖ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๗
๑๐.นายเจษฎา ธนาสิทธิ์พันธ์กุล๑ เมษายน ๒๕๖๗ – ปัจจุบัน
ข้าราชการอัยการ

นายเจษฎา ธนาสิทธิ์พันธ์กุล
อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงสระบุรี

นายชัยพร เกริกกุลธร
อัยการอาวุโส

นางสาวทิพย์สุดา เจริญพานิชสันติ
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

นางสาวอัยยรัตน์ ลังกาพินธุ์
รองอัยการจังหวัด

นายภูตะวัน กัณฑ์นิล
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นางสุวธิดา แผ้วลุ่มแฝก
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นางสาวชญาณี สุขะปุณพันธ์
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นางสาวมนัสนันท์ ยางงาม
อัยการประจำกอง

นายชัยบดินทร์ สุวรรณา
อัยการประจำกอง

ข้าราชการธุรการ

นางรัชนี เขาแก้ว
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

นางสาวกุลรดา เงินอ่อน
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นางสาวชลดา จันทเกตุ
นักจัดการงานทั่วไปปฎิบัติการ

นางสาววิภารัตน์ อุทุมพิรัตน์
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นายปฐมพร พานแก้ว
นิติกรปฏิบัติการ

นายมด สายสอาด
นิติกรปฏิบัติการ

นายธนา กุลสุทธิ์
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวกรรณิกา แย้มแก้ว
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นางสาวฐานิตารัศมิ์ ประทับศักดิ์
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นางสาวเยาวลักษณ์ พูลเพิ่ม
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

พนักงานจ้างเหมาบริการ

นายนรัฐ คาแพง
พนักงานขับรถยนต์

สถิติคดี

 ลำดับ  ประเภทสำนวน   ปี  2558   ปี 2559  ปี 2560 ปี 2561 ปี 2562 ปี 2563
 1ความอาญาปรากฎตัวผู้ต้องหาที่ส่งตัวมา  (ส.1) 307 397393393278229
 2ความอาญาปรากฎตัวผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมา  (ส.2)1,003 1,667 851255468277
 3ความอาญาปรากฎผู้ต้องหาที่ไม้ได้ส่งตัวมา (เฉพาะคดีเปรียบเทีบ) (ส.2 ก)13,321 8,044 8,0709,4255,5201,517
4ความอาญาไม่ปรากฎผู้ต้องหา (ส.3)28 51 362062
5ส.4 อาญา234337327348251181
6ส.4 ฟ้องวาจา1,2611,5841,6862,4641,6302,123
7ส.5 ก251917304475
8คดีฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด (ส.1 ฟ)239 122 217375594528

ติดต่อหน่วยงาน

ผู้ติดต่อ ผู้รับบริการ และประชาชน
สามารถร้องเรียนและแจ้งเบาะแสการทุจริต
ของเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุดได้ที่

สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงสระบุรี
ถนนพิชัยรณรงค์สงคราม ตำบลปากเพรียว อำเภอเมือง
จังหวัดสระบุรี รหัสไปรษณีย์ 18000
โทรศัพท์ : 0 3622 3398
โทรสาร : 0 3622 3397
E-mail : sburi-sum@ago.go.th

หรือ

สำนักงานคณะกรรมการอัยการ
สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ
แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 0 2142 1840 โทรสาร 0 2143 9481
E-mail: cmiss@ago.go.th

เอกสารเผยแพร่

การประกันตัวผู้ต้องหา

การขอปล่อยตัวผู้ต้องหาโดยใช้บุคคลเป็นหลักประกัน

  1. พิจารณาให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาตามความหนักเบาของข้อหา และความน่าเชื่อถือของนายประกันมากกว่าวงเงินประกันที่กำหนดไว้
  2. วงเงินประกันที่ผู้มีตำแหน่งอาจใช้ประกันผู้ต้องหา มีดังนี้
    1. ข้าราชการประจำ
      • ระดับ 3 – 5 ประกันได้ไม่เกิน 60,000 บาท
      • ระดับ 6 – 8 ประกันได้ไม่เกิน 200,000 บาท
      • ระดับ 9 – 10 ประกันได้ไม่เกิน 800,000 บาท
      • ระดับ 11 ประกันได้ไม่เกิน 1,000,000 บาท
    2. พนักงานรัฐวิสาหกิจ
      • ระดับ 3 – 6 ประกันได้ไม่เกิน 60,000 บาท
      • ระดับ 7 – 9 ประกันได้ไม่เกิน 200,000 บาท
      • ระดับ 10 -11 ประกันได้ไม่เกิน 800,000 บาท
      • ระดับ 12 ประกันได้ไม่เกิน 1,000,000 บาท
    3. ข้าราชการการเมือง
      • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประกันได้ไม่เกิน 1,000,000 บาท
      • นายกเทศมนตรี , เทศมนตรี ประกันได้ไม่เกิน 200,000 บาท
      • สมาชิกสภาจังหวัด , สมาชิกสภาเทศบาล ประกันได้ไม่เกิน 60,000 บาท
    4. ข้าราชการทหาร ตำรวจ
      • จ . ส . ต ., ด . ต ., หรือตำแหน่งเทียบเท่า ประกันได้ไม่เกิน 30,000 บาท
      • ระดับนายร้อย ประกันได้ไม่เกิน 60,000 บาท
      • ระดับนายพัน ประกันได้ไม่เกิน 200,000 บาท
      • ระดับนายพลตรี , นายพลโท ประกันได้ไม่เกิน 800,000 บาท
      • ระดับนายพลเอก ประกันได้ไม่เกิน 1,000,000 บาท
      • กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประกันได้ไม่เกิน 30,000 บาท
  3. ข้อหาที่ผู้ขอประกันด้วยตำแหน่ง อาจใช้ประกันได้ มีดังนี้
    1. ประกันได้ไม่เกิน 30,000 บาท ประกันได้เฉพาะข้อหาความผิดที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงพิจารณาพิพากษา และข้อหามีกัญชาจำนวนเล็กน้อยไว้ในครอบครอง หรือเสพกัญชา
    2. ประกันได้ไม่เกิน 60,000 บาท ประกันได้เฉพาะความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
    3. ประกันได้ไม่เกิน 200,000 บาท ประกันได้เฉพาะความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี

หาก ต้องการประกันเกินไปกว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นผู้ขอประกันจะต้อนนำหลัก ทรัพย์อื่นมาร่วมประกันด้วย จะใช้เฉพาะตำแหน่งเป็นหลักประกันอย่างเดียวไม่ได้

  หลักฐานที่ใช้ในการประกัน ดังนี้   

1. กรณีใช้บุคคลเป็นประกัน เอกสารที่นำมาประกอบ มีดังนี้

  • หนังสือรับรองจากต้นสังกัด
  • สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ , คู่สมรส
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • ในกรณีที่ผู้ขอประกันมีคู่สมรส จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสด้วย

  2.  กรณีใช้โฉนดที่ดิน , น . ส .3 ก , หรือ ส . น .3 เงินฝากประจำ เอกสารที่นำมาประกอบ มีดังนี้    

  • หนังสือรับรองการประเมินราคาที่ดิน ซึ่งเป็นราคาปัจจุบัน
  • หนังสือรับรองยอดเงินฝากจากธนาคาร
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของหลักประกัน และคู่สมรส
  • สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของหลักทรัพย์
  • ในกรณีที่เจ้าของหลักทรัพย์หย่าจากคู่สมสร ให้นำสำเนาใบสำคัญการหย่ามาด้วย
  • ในกรณีที่คู่สมรสของเจ้าของหลักทรัพย์ถึงแก่ความตาย ให้นำสำเนาใบมรณบัตรมาด้วย
  • ในกรณีที่ชื่อตัวหรือชื่อสกุลเจ้าของหลักทรัพย์ไม่ตรงกัน ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล มาด้วย

3. กรณีใช้หลักทรัพย์อื่น เช่น เงินสด สลากออมสิน แคชเชียรเช็ค พันธบัตรรัฐบาล ใช้เฉพาะ
บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ

ประเภทคดีราคาประเมิน
ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ100,000บาทขึ้นไป
แจ้งความเท็จ50,000บาทขึ้นไป
ฟ้องเท็จ80,000บาทขึ้นไป
เบิกความเท็จ50,000บาทขึ้นไป
ทำให้เกิดเพลิงไหม้100,000บาทขึ้นไป
ทำลายเอกสาร ปลอมแปลงเอกสาร100,000บาทขึ้นไป
ปลอมแปลงเอกสารราชการ100,000บาทขึ้นไป
ข่มขืนกระทำชำเรา100,000บาทขึ้นไป
โทรมหญิง , ธุระจัดหาหญิง200,000บาทขึ้นไป
อนาจาร50,000บาทขึ้นไป
พรากผู้เยาว์100,000บาทขึ้นไป
ฆ่าผู้อื่น300,000บาทขึ้นไป
ฆ่ามีเหตุฉกรรจ์350,000บาทขึ้นไป
พยายามฆ่า200,000บาทขึ้นไป
ขับรถประมาท คนตาย100,000บาทขึ้นไป
ขับรถรับจ้างประมาท คนตาย150,000บาทขึ้นไป
ทำร้ายร่างการสาหัส , ฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา100,000บาทขึ้นไป
ลักทรัพย์50,000บาทขึ้นไป
ลักทรัพย์มีเหตุฉกรรจ์100,000บาทขึ้นไป
วิ่งราวทรัพย์ , กรรโชกทรัพย์100,000บาทขึ้นไป
ยักยอกทรัพย์100,000บาทขึ้นไป
ชิงทรัพย์150,000บาทขึ้นไป
ฉ้อโกง100,000บาทขึ้นไป
ปล้นทรัพย์200,000บาทขึ้นไป
รับของโจร80,000บาทขึ้นไป
ทำให้เสียทรัพย์ , บุกรุก50,000บาทขึ้นไป
ซ่องโจรไม่มีของกลาง10,000บาทขึ้นไป
ซ่องโจรมีของกลาง50,000บาทขึ้นไป
มีกัญชาไว้ในครอบครอง30,000บาทขึ้นไป
จำหน่ายกัญชาเล็กน้อย50,000บาทขึ้นไป
จำหน่ายกัญชามาก100,000บาทขึ้นไป
มีเฮโรอีนไม่เกิน 10 กรัม100,000บาทขึ้นไป
จำหน่ายเฮโรอีนไม่เกิน 1 กรัม100,000บาทขึ้นไป
จำหน่ายเฮโรอีนไม่เกิน 5 กรัม150,000บาทขึ้นไป
จำหน่ายเฮโรอีน เกิน 5 กรัม400,000บาทขึ้นไป
พ . ร . บ . ป่าไม้ , ศุลกากร แร่ , โรงงาน100,000บาทขึ้นไป
พ . ร . บ . ลิขสิทธิ์ , ยา , คนต่างด้าว50,000บาทขึ้นไป
พ . ร . บ . อาคาร80,000บาทขึ้นไป
เจ้าสำนัก20,000บาทขึ้นไป
ค้าประเวณี5,000บาทขึ้นไป
ขับรถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกิน100,000บาทขึ้นไป
อาวุธปืนไม่มีทะเบียน30,000บาทขึ้นไป
อาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่น30,000บาทขึ้นไป
กระสุนปืนเล็กน้อย30,000บาทขึ้นไป
พกพาอาวุธปืนไม่มีทะเบียน30,000บาทขึ้นไป
พกพาอาวุธปืนมีทะเบียน10,000บาทขึ้นไป
พ . ร . บ . ป่าสงวน วรรคแรก50,000บาทขึ้นไป
พ . ร . บ . ป่าสงวน วรรคสอง100,000บาทขึ้นไป
พ . ร . บ . ว่าด้วยความผิดอันเกิดจาการใช้เช็คหนึ่งในสาม แต่ไม่เกิน 50,000 บาทขึ้นไป