ข่าวประชาสัมพันธ์

กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันฉัตรมงคล วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖


ร่วมงานรัฐพิธี “วันที่ระลึกคล้ายวันสวรรตคสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ประจำปี ๒๕๖๗ วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๗


ร่วมงานรัฐพิธี “วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์” ประจำปี ๒๕๖๗ วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๗


ร่วมงานพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรเพื่อถวายเป็นพระราชกุศาลแก่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายพระราชสมภพ ๒ เมษายน ๒๕๖๗ จังหวัดนครนายก


ร่วมงานรัฐพิธี “วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า” ประจำปี ๒๕๖๗ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๗


ร่วมงานรัฐพิธีวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๗ วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๗


ประชุมคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดนครนายก ประจำ ๒๕๖๗ วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๗


อธิบดีอัยการภาค ๒ และคณะ เข้าตรวจราชการสำนักงานอัยการในพื้นที่จังหวัดนครนายก วันที่ ๑๙ กุมภาพันธุ์ ๒๕๖๗


พิธีถวายราชสักการะสมเด็จพระนเรศวรมหาราช “วันยุทธหัตถี” วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๗


พิธีถวายราชสักการะเนื่องใน “วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช” วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๗


ร่วมงานรัฐพิธี “วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๖


กิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

วันที่ ๗ ธันาวคม ๒๕๖๖


กิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร

วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๖


กิจกรรมเนื่องในวันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า  วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖


ท่านยุทธการ สุทธิพงศ์ ผู้ตรวจการอัยการ และคณะ ลงพื้นที่ตรวจติดตามการปฏิบัติราชการครั้งที่ ๑ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗

ในพื้นที่จังหวัดนครนายก ในวันพุธที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖


พิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะเนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี ๒๕๖๖  วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖


กิจกรรมน้อมรำลึกเนื่องใน “วันคล้ายวันวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ประจำปี ๒๕๖๖  วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖


ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาเนื่องในวันนวมินทรมหาราช ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๖


วันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๖ ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาเนื่องในวันนวมินทรมหาราช ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๖


ร่วมงานรัฐพิธี “วันที่ระลึกคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ประจำปี ๒๕๖๖  วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖


กิจกรรมเนื่องในวนพระราชทานธงชาติไทย ๒๘ กันยายน (Thai National Flag Day) ประจำปี ๑๕๖๖


วันเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๖ วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๖


กิจกรรมเฉลิมพระเกียวันเยาวชนแห่ชาติ ประจำปี ๒๕๖๕ วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๕ระบรมราชินีนารถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๖


พิธีวางพวงมาลาถวายเป็นราชสักการะ พิธีถวายสดุดีน้อมรำลึกถึงประเกียรติคุณพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

พระบิดาแห่งกฎหมายไทย ๗ สิงหาคมของทุกปี “วันรพี ประจำปี ๒๕๖๖


กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖

พิธีเจริญพระพุทธมนต์สมโภชพระพุทธวราชบพิตรและทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล

และพิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล


พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน และพิธีลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖

ณ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครนายก วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖


ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ ๔ กรกฎาคม จังหวัดนครนายก วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๖


โครงการส่งเสริมการประสานความร่วมมือด้านการยุติธรรมของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖

ศาลจังหวัดนครนายก วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๖


โครงการเสวนาเพื่อพัฒนาระบบงานประสานหน่วยงายุติธรรม ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครนายก วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๖


งานรัฐพิธี “วันที่ระลึกคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๖


กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๖


งานรัฐพิธี “วันพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว” ประจำปี ๒๕๖๖ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๖


เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา

ด้วยได้มีพระราชกฤษฎีกา ซึ่งได้ประกาศเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม  2548 ลงในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 123 ตอนที่ 79 ก  กำหนดวันเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในศาลจังหวัดนครนายก  พร้อมกับศาลอื่นอีก 13 ศาล เพื่อแยกอำนาจการพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวออกจากศาลจังหวัดนครนายก โดยให้นำมาพิจารณาพิพากษาในศาลจังหวัดนครนายก  แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว  ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการคุ้มครองเด็กและเยาวชนยิ่งขึ้น โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่  7 สิงหาคม  2549  เป็นต้นไป

 ดังนั้น  เพื่อให้ความเป็นไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2532  มาตรา 66 อัยการสูงสุดจึงได้จัดตั้งสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครนายกขึ้น เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2549 เพื่อแต่งตั้งพนักงายอัยการให้มาปฏิบัติหน้าที่ประจำที่ทำการ  และทำหน้าที่ดำเนินคดีที่มีข้อหาว่าเด็ก หรือเยาวชนกระทำความผิด และจะต้องฟ้องต่อศาลจังหวัดนครนายก แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว โดยการเช่าอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น 1 คูหา เลขที่ 161/5 ถนนรังสิต – นครนายก ตำบลท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เป็นที่ทำการ ซึ่งเป็นอาคารเดียวกันกับศาลจังหวัดนครนายก แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวนั่นเอง  โดยมีนายยุทธการ  สุทธิพงษ์  เป็นอัยการจังหวัดท่านแรกของสำนักงาน

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครนายก มีเขตท้องที่รับผิดชอบอยู่ 4 อำเภอ  ได้แก่
1.  อำเภอเมืองนครนายก
2.  อำเภอบ้านนา
3.  อำเภอองครักษ์
4.  อำเภอปากพลี

วิสัยทัศน์ (Vision)

“เป็นองค์กรแห่งความยุติธรรมของสังคมเพื่อความมั่นคงของชาติและความผาสุกของประชาชน”

พันธกิจ (Missions)
  1. อำนวยความยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส พึ่งพิงได้บนพื้นฐานของความเสมอภาค
  2. รักษาผลประโยชน์ของรัฐ เพื่อประโยชน์สาธารณะและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
  3. รับรู้ ดูแล แก้ปัญหาในการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และเป็นที่พึ่งของประชาชนในด้านกฎหมาย
  4. พัฒนาศักยภาพองค์กรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกบนฐานความเชี่ยวชาญ
โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

นโยบายอัยการสูงสุด

อำนาจหน้าที่

รับผิดชอบดำเนินคดีทั้งปวงภายในเขตท้องที่ของสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครนายกตามกฎหมาย  ดังต่อไปนี้

๑. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๓๔
คดีอาญา ที่เด็กหรือเยาวชนอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ ต้องหาว่ากระทำความผิดโดยให้ถืออายุเด็กหรือเยาวชนในวันที่การกระทำความผิดได้เกิดขึ้น
คดีครอบครัว ได้แก่คดีแพ่งที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกระทำการใดๆ ในทางศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์หรือครอบครัวซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่นการฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตร การทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ การขอตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ เป็นต้น

๒. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ รับผิดชอบในการดำเนินคดีอาญาที่เป็นความผิดตามกฎหมายนี้ โดยไม่คำนึงถึงอายุผู้กระทำความผิดแม้กระทำความผิดจะมีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งพ้นเกณฑ์การเป็นเยาวชนแล้วก็ตาม

๓. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๐ รับผิดชอบในการดำเนินคดีอาญาที่เป็นความผิดตามกฎหมายนี้ โดยไม่คำนึงถึงอายุผู้กระทำผิด เช่นเดียวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครนายก

พิจารณาคดีเด็กและเยาวชน (อายุไม่เกิน ๑๘ ปี) กระทำความผิดทางอาญาหรือความผิดที่มีโทษทางอาญา ซึ่งในการดำเนินคดีทั้งปวงของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดภายในเขตท้องที่ของสำนักงานอัยการและครอบครัวจังหวัดนั้นๆ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครนายก แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งว่าด้วยการนั้น

หลักการและระเบียบในการดำเนินคดีเด็กและเยาวชน

หลักการดำเนินคดีอาญา
การดำเนินคดีอาญาเด็กหรือเยาวชนนั้น พนักงานอัยการต้องคำนึงถึงการคุ้มครองเด็ก สวัสดิภาพของเด็กหรือเยาวชน โดยการแก้ไข บำบัด และฟื้นฟู ยิ่งกว่าการลงโทษ ตามนัยระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ ข้อ ๑๑๑

ระเบียบและคำสั่งที่ใช้ในการดำเนินคดีอาญา
ระเบียบและคำสั่งที่ใช้ในการดำเนินคดีอาญาเด็กหรือเยาวชน เป็นไปตามระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๒๘ ข้อ ๑๑๒ และตามคำสั่งหรือหนังสือเวียนสำนักงานอัยการสูงสุดที่ออกเป็นคราวๆ

ผู้ต้องหาเป็นเด็กหรือเยาวชน
“เด็ก” หมายความว่า บุคคลอายุยังไม่เกิน ๑๕ ปีบริบูรณ์

“เยาวชน” หมายความว่า บุคคลอายุเกิน ๑๕ ปี บริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์ (พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๔)

ข้อสังเกต

๑. กรณีเด็กอายุไม่เกิน ๑๐ ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.๒๕๕๑ มาตรา ๗๓ ไม่ต้องรับโทษ

การนับอายุของเด็กหรือเยาวชน
การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด ในกรณีที่รู้ว่าเกิดเดือนใด แต่ไม่รู้วันเกิดให้นับวันที่ ๑ แห่งเดือนนั้นเป็นวันเกิด แต่ถ้าพ้นวิสัยที่จะหยั่งรู้เดือนและวันเกิดของบุคคลใดให้นับอายุบุคคลนั้น ตั้งแต่วันต้นปีปฏิทิน (วันที่ ๑ มกราคม) ซึ่งเป็นปีที่บุคคลนั้นเกิด (ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ มาตรา ๑๖)

การสอบสวนเด็กหรือเยาวชน
การสอบสวนในคดีที่ผู้ต้องหาเป็นเด็กหรือเยาวชนให้ถืออายุไม่เกิน ๑๘ ปี ในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหา (ไม่ใช่เจ้าพนักงานจับกุมแจ้งข้อหา) ส่วนการที่เด็กหรือเยาวชนกระทำผิดขณะอายุไม่เกิน ๑๘ ปี แต่วันที่แจ้งข้อหาเด็กมีอายุเกิน ๑๘ ปี การสอบสวนก็ไม่ต้องดำเนินการตามมาตรา ๑๓๓ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยการสอบสวนเด็กหรือเยาวชนต้องอาศัยหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนี้

มาตรา ๑๓๓ ทวิ ในคดีความผิดเกี่ยวกัยเพศ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายอันมิใช่ความผิดที่เกิดจากการชุลมุนต่อสู้ ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ ความผิดฐานกรรโชกชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ หรือคดีความผิดอื่น ที่มีอัตราโทษจำคุก ซึ่งผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีร้องขอ การถามปากคำผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ให้พนักงานสอบสวนแยกกระทำเป็นส่วนสัดในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วยในการถามปากคำเด็กนั้น และในกรณีที่นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ เห็นว่าการถามปากคำเด็กคนใดหรือคำถามใด อาจจะมีผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจเด็กอย่างรุนแรง ให้พนักงานสอบสวนถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์เป็นเฉพาะตามประเด็น คำถามของพนักงานสอบสวน โดยมิให้เด็กได้ยินคำถามของพนักงานสอบสวน และห้ามมิให้ถามเด็กซ้ำซ้อนหลายครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องแจ้งให้นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการทราบ รวมทั้งแจ้งให้ผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กทราบถึงสิทธิตามวรรคหนึ่งด้วย นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ หรือพนักงานอัยการที่เข้าร่วมในการถามปากคำอาจถูกผู้เสียหายหรือพยาน ซึ่งเป็นเด็กรังเกียจได้ หากมีกรณีดังกล่าวให้เปลี่ยนตัวผู้นั้นภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๑๓๙ การถามปากคำเด็กตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการบันทึกภาพและเสียงการถามปากคำดังกล่าว ซึ่งสามารถนำออกถ่ายทอดได้อย่างต่อเนื่องไว้เป็นพยาน ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่ง ซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำพร้อมกันได้ ให้พนักงานสอบสวนถามปากคำเด็กโดยมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งตามวรรคหนึ่งอยู่ร่วมด้วยก็ได้ แต่ต้องบันทึกเหตุที่ไม่อาจรอบุคคลอื่นไว้ในสำนวนการสอบสวน และมิให้ถือว่าการถามปากคำผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็กในกรณีดังกล่าวที่ได้กระทำไปแล้วไม่ชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา ๑๓๔/๑ ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก่อนเริ่มถามคำให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐหาทนายความให้

มาตรา ๑๓๔/๒ ให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๑๓๓ ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่การสอบสวนผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ทั้งนี้ การดำเนินการของพนักงานสอบสวนดังกล่าว พนักงานอัยการจะต้องปฏิบัติตามระเบียบอัยการสูงสุดว่าด้วยการคุ้มครองเด็กในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๓ ข้อ ๑๑ – ๑๔

พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
ต้องเป็นพนักงานสอบสวนและมีเขตอำนาจสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๘ – ๒๑
การดำเนินคดีของพนักงานอัยการ

การพิจารณาและสั่งคดี
การพิจารณาสั่งคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนเป็นผู้ต้องหานั้น จะต้องตรวจพิจารณาสั่งสำนวนโดยละเอียดรอบคอบ

๑. จะต้องพิจารณาสั่งคดีให้ทันภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๕ หากเป็นคดีความผิดอันยอมความได้ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายในสามเดือนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๙๖
๒. จะต้องนำรายงานการสืบเสาะของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มาประกอบการพิจารณา
๓. จะต้องคำนึงถึงการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนยิ่งกว่าการลงโทษ
๔. ต้องพิจารณาของกลางและขอให้ผู้ต้องหาคืนหรือชดใช้ราคาทรัพย์แทนผู้เสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๓
๔.พิจารณาประวัติการเคยกระทำความผิดและเคยต้องโทษของผู้ต้องหาว่ามีหรือไม่    ถ้ามีก็ให้คำสั่งและขอให้ศาลสั่ง

เขตพื้นที่รับผิดชอบ


กระบวนการดำเนินคดีเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว
และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553

บุคลากร

ข้าราชการอัยการ

นายเทพประทาน กิจวรรณ
อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการภาค ๖ ช่วยราชการสำนักงานอัยการภาค ๒ รักษาการในตำแหน่ง
  อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครนายก

นายภาณุพันธ์ โอปอ เปรมมานะดี
อัยการจังหวัด
ประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ปฏิบัติราชการในหน้าที่
ผู้กลั่นกรองงาน
นางสาวสุดารัตน์ พรวัฒนาเจริญ
รองอัยการจังหวัด
คดีเยาวชนและครอบครัว
จังหวัดนครนายก 

ข้าราชการธุรการ

นางสายฝน  เขตแวงควง
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ รักษาการในตำแหน่ง
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ สอย.นครนายก
 นายปรเมศร์  โป๊บุญมา
นิติกรปฏิบัติการ
นางเสาวนีย์  บุญสมบัติ
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

 จ้างเหมาบริการ 

นายสุพจน์ วรรณเจริญ พนักงานขับรถยนต์  

นางศิรินธร  รอดประชา  
พนักงานรักษาความสะอาด

ทำเนียบผู้บริหาร

อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครนายก

 ลำดับ รายชื่อ  ดำรงตำแหน่ง
นายยุทธการ  สุทธิพงษ์ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๙ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๑
๒ นายกมล   เมฆรักษากิจ  ๑ เมษายน ๒๕๕๑   – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒
๓ นายฉกรรจ์   พานิชยิ่ง  ๑ เมษายน ๒๕๕๒   – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔
นายฉกาจ   แก้วมี ๑ เมษายน ๒๕๕๔   –  ๑  เมษายน ๒๕๕๕
นายเลิศพงษ์    กลัดอ่ำ ๒ เมษายน ๒๕๕๕   – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
นางสาวนันทวรรณ   ธนาวณิช ๑ เมษายน ๒๕๕๗  – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘
นางจุไรรัตน์  สายเจริญ ๑ เมษายน ๒๕๕๘   – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙
นาวาเอกธนา  จินตณวิชญ์ ๑ เมษายน ๒๕๕๙   –  ๑  เมษายน ๒๕๖๑
นางสาวอัธยา  พลกนิษฐ์ ๒ เมษายน ๒๕๖๑   –  ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๒
๑๐นายหิรัญ  สกุลแก้ว๑ เมษายน ๒๕๖๒ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔
๑๑นายธนานนท์ รัตนาเดชาชัย๑ เมษายน ๒๕๖๔ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕
๑๒นางศรัญญา เอกศิริ ๑ เมษายน ๒๕๖๕ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖
๑๓นางสุพร สุขใจ๑ เมษายน ๒๕๖๖ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖
๑๔นายเทพประทาน กิจวรรณ๑ เมษายน ๒๕๖๗ – ปัจจุบัน

การจัดซื้อจัดจ้าง

ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา

ประกาศขายพัสดุชำรุดเสื่อมสภาพ

สรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง

ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานอัยการสูงสุด

ต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ
และให้บริการประชาชนและหน่วยงานของรัฐ
ด้วยความเสมอภาค
โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
และไม่รับสินน้ำใจ

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครนายก
เลขที่ ๑๖๑/๕ หมู่ที่ ๑๓  ถนนรังสิต – นครนายก  ตำบลท่าช้าง  
อำเภอเมืองนครนายก  จังหวัดนครนายก  ๒๖๐๐๐
โทร. ๐ ๓๗๓๑ ๔๕๙๓ – ๔  โทรสาร  ๐ ๓๗๓๑ ๔๕๙๓
E-mail :  nkny-ju@ago.go.th

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครนายก

ประกาศเจตนารมณ์ เรื่อง ไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ของสำนักงานอัยการสูงสุด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗