วันที่ 23 ตุลาคม 2566 สำนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมวางพวงมาลาถวายบังคม พระบรมราชานุสรณ์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันปิยมหาราช

วันที่ 13 ตุลาคม 2566 สำนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมกิจกรรมน้อมลำรึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ในวันคล้ายวันสวรรคต สมเด็จพระบรมมหาชนกฯ


วันที่ 28 กันยายน 2566 สำนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมกิจกรรมเคารพธงชาติ เนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย



วันที่ 17 สิงหาคม 2566 สำนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมกิจกรรมปล่อยปลา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลฯ

วันที่ 12 สิงหาคม 2566 สำนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม
และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัย

สำนักงานอัยการภายในจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมกันจัดกิจกรรมสืบสานประเพณีไทย ทำบุญสำนักงาน รดน้ำขอพร
ผู้บังคับบัญชา
เนื่องในโอกาสประเพณีสงกรานต์ วันที่ 10 เมษายน 2566

สำนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมพิธีวันระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์
วันที่ 6 เมษายน 2566


สำนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมกิจกรรม ทำความสะอาดสำนักงาน เนื่องในโอกาศ ครบรอบ 130 ปี
สำนักงานอัยการสูงสุด วันที่ 1 เมษายน 2566

สำนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมพิธีถวายราชสักการะเนื่องในวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ วันที่ 31 มีนาคม 2566


สำนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมวางพวงมาลา สดุดี และเชิดชูเกียรติทหารผ่านศึกทุกสมรภูมิ
ณ มณฑลทหารบกที่ 12 ค่ายจักรพงษ์ จังหวัดปราจีนบุรี วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566


สำนักงานอัยการจังหวัดปราจีบุรี ร่วมพิธีถวายสักการะพระบรมราชาอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ณ วัดบางคาง ต.รอบเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี 28 ธันวาคม 2565


สำนักงานอัยการจังหวัดปราจีบุรี ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล
เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2565

14 พฤศจิกายน วันพระบิดาแห่งฝนหลวง น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9

สำนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมวางพวงมาลา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เนื่องในวันปิยมหาราช 23 ตุลาคม 2565

สำนักงานอัยกาจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมกิจกรรมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ
เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
13 ตุลาคม 2565


เกี่ยวกับสำนักงาน

ระบบกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยได้มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว ดังจะเห็นได้ว่า จากข้อความที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกซึ่งมีความว่า “ไพร่ฟ้า ลูกเจ้าลูกขุนผิแลผิดแผก แสกว้างกันสวนดูแท้แล้ว จึงแล่งแก่ข้าด้วยชื่อ บ่เข้าผู้ลัก มักผู้ซ่อน เห็นข้าวท่านบ่ใคร่พิน เห็นสินท่านบ่ใคร่เดือด ” ซึ่งหมายความว่า ราษฎรสามัญหรือขุนนาง ข้าราชการมียศศักดิ์ก็ตาม พิพาทเป็นความกัน ท่านให้ไต่สวนดูให้แน่นอนแล้วตัดสินโดยซื่อ ไม่เข้ากับคนผิด และจะต้องไม่พิพากษาอรรถคดีโดยเห็นแก่สินจ้างรางวัลใด ๆ ซึ่งในสมัยสุโขทัยพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจชี้ขาดให้เป็นไปตามความยุติธรรม ทั้งนี้ เป็นเพราะในสมัยสุโขทัยบ้านเมืองยังไม่มีผู้คนคับคั่งเหมือนทุกวันนี้ และทั้งพระราชภารกิจของพระมหากษัตริย์ก็ยังมีไม่มากนัก การพิจารณาพิพากษาคดีจึงตกอยู่ที่พระมหากษัตริย์โดยตรง แต่ในสมัยปัจจุบันปรากฏว่า ความเจริญของบ้านเมืองได้มีมากขึ้น ระบบกระบวนการยุติธรรม จึงได้กระจายไปสู่องค์กรต่าง ๆ ที่จะเข้ามาผดุงความยุติธรรมไม่ว่าจะเป็น เจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ ทนายความ ผู้พิพากษา หรือราชทัณฑ์ อัยการเป็นองค์กรหนึ่งในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งคำว่า “ อัยการ” นั้น ได้ปรากฏขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งตราไว้ เมื่อวันเสาร์ เดือนห้า ขึ้นหกค่ำ ปีชวด ในกฎมณเฑียรบาล ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จุลศักราช ๗๒๐     (พ.ศ.๑๙๐๑) ความตอนหนึ่งว่า “ จึ่งตั้งพระราชอาญาไอยการ ทหาร พ่อเรือน ชายหญิง สมณพรหมณ์จารย์……”

                    ศัพท์ “ ไอยการ” ที่พบได้มีการเขียนแตกต่างกันออกไป จนกระทั่งมาคงอยู่ในรูปศัพท์ “ อัยการ” ในปัจจุบัน เมื่อแยกศัพท์ คำว่า “อัยการ” คำว่า “อัย” หรือ “อัยย” ซึ่งเป็นคำภาษาบาลี แปลว่า ผู้เป็นเจ้าผู้เป็นใหญ่ นาย คำว่า “การ” หรืองานหรือหน้าที่ ฉะนั้น คำว่า “อัยการ” ตามความหมายของการแยกศัพท์ หมายถึง งานของผู้เป็นเจ้านาย หรือ งานของผู้เป็นใหญ่ในปัจจุบัน อัยการ หรือพนักงานอัยการ เป็น ข้าราชการ ซึ่งรับราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณ หมวดเงินเดือนในสำนักงานอัยการสูงสุด

                    กรมอัยการ    ได้จัดตั้งขึ้นเป็นกรม เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ร.ศ๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖) โดยสังกัดกระทรวงยุติธรรม ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว    ได้มีพระบรมราชโองการให้โอนกรมอัยการจากกระทรวงยุติธรรม ไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๔๖๕ ตามประกาศรวมการปกครองท้องที่ และแบ่งหน้าที่ราชการระหว่างกระทรวงมหาดไทย กับกระทรวงยุติธรรม     จนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ กรมอัยการจึงได้แยกออกจากกระทรวงมหาดไทย ไปเป็นหน่วยงานไม่สังกัดกระทรวง ทบวงใด โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี  และได้เปลี่ยนชื่อจาก  “กรมอัยการ”  มาเป็น  “สำนักงานอัยการสูงสุด” ปัจจุบัน สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๕ มีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และตามกฎหมายว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ และกฎหมายอื่น

                     กรมอัยการ (สำนักงานอัยการสูงสุด) ได้จัดตั้ง  สำนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรี   ขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มีที่ทำการอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรี มี นายอุทัย กัปปิยบุตรเป็น   อัยการจังหวัดคนแรก   ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๔ ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ได้ย้ายส่วนราชการต่าง ๆ ไปอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรีหลังใหม่  สำนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรี ไม่ได้ย้ายไปอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรีหลังใหม่ด้วย เนื่องจากศาลจังหวัดปราจีนบุรียังอยู่ที่เดิม สำนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรี จึงได้ขอใช้อาคารสำนักงานที่ดินจังหวัดปราจีนบุรีเป็นที่ทำการเนื่องจากสำนักงานที่ดินจังหวัดปราจีนบุรีมีที่ตั้งอยู่ห่างจากศาลจังหวัดปราจีนบุรี ประมาณ ๔๐๐ เมตร เพื่อความสะดวกของพนักงานอัยการได้การเดินทางไปว่าความที่ศาลและเพื่อความสะดวกของเจ้าหน้าที่และประชาชนในการติดต่อประสานงาน ระหว่างสำนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรี และศาลจังหวัดปราจีนบุรี โดยได้ย้ายสำนักงานาจากศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรี มาอยู่สำนักงานที่ดินจังหวัดปราจีนบุรี  ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๔   ปัจจุบัน สำนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรี   ได้ย้ายมาอยู่สำนักงานใหม่บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดปราจีนบุรี  เลขที่ ๙๑ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลไม้เค็ด    อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี  มีผู้ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัด มาแล้ว  จำนวน   ๔๙   ท่าน  ปัจจุบัน มี นายสุทน สุขเม่า ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัด

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด มีดังนี้

          (มาตรา ๒๓) สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชากร เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 

          (๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน 
          (๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ 
          (๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
          (๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้ 
          (๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
          (๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้ารการฝ่ายอัยการ
          (๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
          (๘) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
          (๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด 
          ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ


อำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด มีดังนี้

          (มาตรา ๒๗)  ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด
          (๒) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ
          (๓) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสุดของสำนักงานอัยการสูงสุด 
          ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้
          ให้อัยการสูงสุดโอยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด 

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ มีดังนี้

          มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำจานและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
          (๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
          (๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
          (๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนี่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
          (๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
          (๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
          (๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาก ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
          (๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
          (๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
          (๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
          (๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
          ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้ 
          พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

สถิติคดี

ลำดับที่ประเภทพ.ศ.2558พ.ศ.2559พ.ศ.2560พ.ศ.2561พ.ศ.2562พ.ศ.2563พ.ศ.2564
1 สำนวนปรากฎตัวที่ส่งมาตัวมา ส.11459 1562  17021618149112551171
2 สำนวนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ส.1 ฟ. 567632  105772196412021054
3 สารบบรับความอาญาปรากฎผู้ต้องหาที่ไม่ส่งตัวมา ส.2 218238  218156217156176
4 สารบบปรับความอาญาปรากฎผู้ต้องหาที่ไม่ส่งตัวมา (เฉพาะคดีเปรียบเทียบ) ส.2ก2920 40  65402712
5 สารบบความอาญาไม่ปรากฏตัวผู้กระทำผิด ส.3 83150  10349484737
6 สารบบฟ้องความอาญา ส.4 14231512  16551569142812041091
7 สารบบฟ้องความอาญาด้วยวาจา ส.4ก 696664  586872798752587
8 สาบบความอาญาที่แก้ต่าง ส.5– –  –
9 สารบบอุทธรณ์ส.6 123 101 115145128272106
10 สารบบฏีกา ส.72625  1916351514
11 สารบบรับสำนวนชันสูตรพลิกศพ ส.12 2 22541

บุคลากร

ทำเนียบอัยการจังหวัดปราจีนบุรี

1. นายพิจิตร   จูฑะประชากูล

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 ถึง 2552

2. นายกมล  เมฆรักษากิจ

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 ถึง 2554

3. นายสมศักดิ์  ชินอรุณชัย

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 ถึง 2555

4. นางสุวรรณา  เรวัฒนานนท์   

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 ถึง 2557

5. นายชูศักดิ์   พิทักษ์ตระกูล 

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 ถึง 2558

6. นายเจษฎินทร์  สมจิตร์

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 ถึง 2559

7. ว่าที่ร้อยโทประเวช  รุ่งเจริญทอง

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 ถึง 2560

8. นายสมภพ  ทิมฤกษ์

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 ถึง 2561

9. นายเกรียงศักดิ์  สินทวีเพิ่มพูน

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 ถึง 2562

10.นายอุดมศักดิ์   โหมดม่วง

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 ถึง 2563

11.นายนิทน  เกตุลุนสงค์

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2563 ถึง 2564

12.นายศักดิ์ชัย  รังสิวรารักษ์

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2564 ถึง 2565

13.นายพินิจ นิติวิทยาเทพ

ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 ถึง 7 ตุลาคม 2565

14.นายวิชิต เอื้อกมลชาญ

ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2565 ถึงปัจจุบัน

ข้าราชการอัยการ

นายสุทน สุขเม่า
อัยการจังหวัดปราจีนบุรี

เรือตรีวีระ โหระโช
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

นายชาญชัย ประทุมมณี
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

นางสาวศิรินาถ ศรีสุทธิกุล
รองอัยการจังหวัด

นายสรพล วิชชุรังษี
รองอัยการจังหวัด

นายอภินันท์ พูลพร
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นางสาวอัญชลี พันธ์เฉลิมชัย
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นายนวพล แย้มภิรมย์ศรี
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นายอดุล ชินรัตนพิสิทธิ์
อัยการจังหวัดผู้ช่วย
ข้าราชการธุรการ

นางสาวชัญญานุช ชูจันทร์
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ สำนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรี

นางนฤชยา ศรีกรองทอง
นิติกรชำนาญการพิเศษ

นางจรัสเนตร ศรีบัวบาน
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นางสาวดวงชีวัน หินผา
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

นายสนอง โพธิตะนิมิต
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวจันทร์จิราภรณ์ มีชนะ
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวณัฐรินีย์ เหลืองห่อ
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นายจิรายุ สุขวิลัย
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวเมชญา เศรฐภักดี
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวกนกวรรณ บัณฑุเจษฎา
นักวิชาการพัสดุปฏิบัตการ

นางสาวสรินทร์ญา ยวงคัจฉา
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

นางสาวนิรัตน์ ไชยสน
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวขนิษฐา บุญมี
เจ้าพนักงานปฏิบัติงาน

นางสาวสายทิพย์ ชื่นเจริญ
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นายกฤติเดช พุทธิสังฆ์
เจ้าพนักงานปฏิบัติงาน

ส่วนสนับสนุนงานศาลสูง

นายสมชาย  ธรรมสุวินัย

นายอรรณพ  สีขาบ
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวอรร์อรดีธิ์ แสงสว่าง
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

เอกสารเผยแพร่

ข่าวประชาสัมพันธ์

รณรงค์ ไม่รับของขวัญ ส่งความปราถนาดีด้วยบัตรอวยพรแทนการให้ของขวัญ

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรี
91 หมู่ 11 ถนนราษฎรพัฒนา ตำบลไม้เค็ด อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี 25230
เบอร์โทร 037-482401-3
เบอรโทรสาร 037-482402
อีเมลล์  prachin@ago.go.th