วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์

ด้วยวันที่ 6 เมษายนของทุกปี เป็นวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบรมราชวงศ์จักรี จังหวัดระยองจึงได้จัดพิธีถวายสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในวันเสาร์ที่ 6 เมษายน 2567 เวลา 08.00 น. ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดระยอง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ในการนี้ นายปิติพัฒน์ ฉัฐนันท์โกเศส อัยการจังหวัดระยอง ได้เข้าร่วมพิธีดังกล่าวด้วย


มหกรรมเล่าขานตำนานเมืองระยอง เฉลิมพระเกียรติ 69 พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2567

อัยการจังหวัดระยองเข้าร่วมมหกรรมเล่าขานตำนานเมืองระยอง เฉลิมพระเกียรติ 69 พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2567 ที่จัดขึ้น โดยร่วมพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสาร -อาหารแห้งแด่พระสงฆ์ จำนวน 70 รูป และปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในวันที่ 2 เมษายน 2567 เวลา 07.00 และร่วมพิธีถวายสักการะ วางพานพุ่มเงิน-พุ่มทอง เวลา 18.00 น. ณ เวทีกลาง ถนนริมน้ำ (ฝั่งโรงเรียนอนุบาลระยอง) ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง


ต้อนรับผู้ตรวจการอัยการและคณะ

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 นายยุทธการ สุทธิพงศ์ ผู้ตรวจการอัยการ และคณะได้มาตรวจราชการครั้งที่ 1/2567 ณ สำนักงานอัยการจังหวัดระยอง โดยมีนายคำนึง วงษ์ทวีทรัพย์ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีปราบปรามการทุจริตภาค 2, นายโอภาษ วโรภาษ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีปกครองระยอง, นางสาวณมณฑ์ กาญธีรานนท์ อัยการจังหวัดระยอง, นายปิติพัฒน์ ฉัฐนันท์โกเศส อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดระยอง, นายศราวุธ พูลสุข อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงระยอง, นางสาวมณีวรรณ ธรรมปรา อัยการจังหวัดเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระยอง และข้าราชการฝ่ายอัยการ ร่วมต้อนรับและเข้าร่วมประชุมรายงานความเป็นไปของสำนักงาน รวมถึงปัญหาและอุปสรรคของแต่ละสำนักงาน


กิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ

ด้วยวันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ จังหวัดระยองได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ ณ สนามสวนศรีเมือง
ในการนี้ นางสาววิรงรอง ไวโรจนกุล อัยการจังหวัดผู้ช่วย และข้าราชการฝ่ายอัยการเข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล พระสงฆ์และสามเณร จำนวน 89 รูป และได้เข้าร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้และพิธีถวายบังคม ด้วย


กิจกรรมเนื่องในวันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า

ด้วยวันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย เพื่อให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ บุคลากรทางการลูกเสือ ลูกเสือ เนตรนารี และประชาชนจากทุกภาคส่วน ได้ร่วมกันน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงประกอบพระกรณียกิจสำคัญนานัปการอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ จึงได้กำหนดจัดพิธีสวดพระพุทธมนต์และพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน ณ พระอุโบสถ วัดป่าประดู่ พระอารามหลวง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง

ในการนี้ นายเฉลิมพงษ์ ถือดียิ่ง รองอัยการจังหวัด และข้าราชการฝ่ายอัยการเข้าร่วมพิธีสวดพระพุทธมนต์ และพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล ด้วย


พิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะเนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง 2566

ด้วยวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง เพื่อจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ให้ประชาชนและอนุชนรุ่นหลังได้มีโอกาสแสดงความจงรักภักดี และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนารถพิตร จึงได้จัดพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะฯ ในวันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน 2566 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์ราชการจังหวัดระยอง

ในการนี้ นางสาวรัตนสรณ์ วสุธาดา อัยการจังหวัดผู้ช่วย และข้าราชการฝ่ายอัยการเข้าร่วมวางพวงมาลา พิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะฯ ด้วย


พิธีน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ด้วยวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จังหวัดระยองได้จัดพิธีน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นในวันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม 2566 เวลา 08.300 น. ณ บริเวณลานด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ศูนย์ราชการจังหวัดระยอง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง

ในการนี้ ร้อยตำรวจโทหญิง ศิริจรรยา เจียงทองเลื่อน รองอัยการจังหวัด และข้าราชการฝ่ายอัยการเข้าร่วมวางพวงมาลา ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วย


กิจกรรมเนื่องในวันนวมินทรมหาราช


เนื่องด้วยวันที่ 13 ตุลาคม 2566 เป็นวันแห่งการสวรรคตครบ 7 ปี หรือเรียกว่า “สัตตมวรรษ” เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยเป็นล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กำหนดชื่อวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ว่า “วันนวมินทรมหาราช”
ในการนี้ นางสาวณมณฑ์ กาญธีรานนท์ อัยการจังหวัดระยอง ได้นำข้าราชการฝ่ายอัยการของสำนักงานอัยการจังหวัดระยอง เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในวันนวมินทรมหาราชดังกล่าวในวันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม 2566 ณ บริเวณสนามสวนศรีเมือง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง


วันพระราชทานธงชาติไทย

เนื่องใน 28 กันยายน ของทุกปีเป็นวันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day) ข้าราชการของสำนักงานอัยการจังหวัดระยอง นำโดย นางสาวณมณฑ์ กาญธีรานนท์ อัยการจังหวัดระยอง ได้ร่วมเข้าแถวเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย ณ บริเวณสนามหน้าเสาธง สำนักงานอัยการจังหวัดระยอง เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย


กิจกรรมวันรพี

ด้วยในวันที่ 7 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย เพื่อเป็นการน้อมระลึกถึงพระองค์ท่าน หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมจังหวัดระยองจึงได้จัดงานวันรพีขึ้น ในวันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2566 ในการนี้ นางสาวณมณฑ์ กาญธีรานนท์ อัยการจังหวัดระยอง นำคณะข้าราชการฝ่ายอัยการเข้าร่วมพิธีสงฆ์ พิธีวางพวงมาลา ณ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระยอง


กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

จังหวัดระยองได้กำหนดให้มีกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566 ในการนี้ นางสาวณมณฑ์ กาญธีรานนท์ อัยการจังหวัดระยองนำคณะข้าราชการฝ่ายอัยการเข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ โดยทำพิธีทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล เวลา 07.00 น., พิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม เวลา 17.30 น. และพิธีจุเทียนถวายพระพรชัยมงคล เวลา 19.19 น. ณ บริเวณพิธี สนามสวนศรีเมือง


จัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณฯ และลงนามถวายสัตย์ฯ เพื่อเป็นข้าราชการที่ดี

สำนักงานอัยการจังหวัดระยอง จัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณฯ และลงนามถวายสัตย์ฯ เพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ปฏิบัติหน้าที่ตามรอยพระยุคลบาทในฐานะข้าของแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนและประเทศชาติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566


พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระกุศล งานฉลองพระชนมายุ 8 รอบ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชฯ

จังหวัดระยองได้จัดพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระกุศล งานฉลองพระชนมายุ 8 รอบ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในวันที่ 26 มิถุนายน 2566 เวลา 07.30 น. ณ พระอุโบสถ วัดป่าประดู่ พระอารามหลวง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง

ในการนี้ นายไมล์ตรี อุ่นวงค์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และข้าราชการฝ่ายอัยการได้เป็นตัวแทนเข้าร่วมพิธีดังกล่าว


พิธีเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 100 ปี วันประสูติสมเด็จพระพี่นางเธอฯ

จังหวัดระยองได้จัดพิธีเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 100 ปี วันประสูติสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในวันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม 2566 ณ พระอุโบสถ วัดป่าประดู่ พระอารามหลวง โดยมีการจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย เนื่องในวันประสูติครบรอบ 100 ปี สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประกอบด้วย พิธีเจริญพระพุทธมนต์และพิธีทำบุญตักบาตร และการจัดพิธีวางพานพุ่นดอกไม้

ในการนี้ นางสาวรัตนสรณ์ วสุธาดา อัยการจังหวัดผู้ช่วย และข้าราชการฝ่ายอัยการได้เป็นตัวแทนเข้าร่วมพิธีดังกล่าว


วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

เนื่องด้วยวันที่ 25 เมษายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดระยองจึงได้จัดงานวางพวงมาลาถวายราชสักการะ ในวันอังคารที่ 25 เมษายน 2566 เวลา 08.30 น. ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดระยอง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง

ในการนี้ นายปิยะ ฉ่ำพิพัฒน์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เป็นตัวแทนสำนักงานอัยการจังหวัดระยองเข้าร่วมพิธีดังกล่าว


วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์

เนื่องด้วยวันที่ 6 เมษายน ของทุกปี เป็น “วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์” เพื่อแสดงความจงรักภักดี และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ในการนี้ ท่านณมณฑ์ กาญธีรานนท์ อัยการจังหวัดระยอง และข้าราชการฝ่ายอัยการ ได้นำพานพุ่มดอกไม้ร่วมพิธีถวายราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดระยอง


มหกรรมเล่าขานตำนานเมืองระยอง เฉลิมพระเกียรติ 68 พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2566

เนื่องด้วยวันที่ 2 เมษายน เป็นคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดระยองได้จัดงาน “มหกรรมเล่าขานตำนานเมืองระยอง เฉลิมพระเกียรติ 68 พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2566”
ในการนี้ นางสาวณมณฑ์ กาญธีรานนท์ อัยการจังหวัดระยอง และข้าราชการฝ่ายอัยการเข้าร่วมงาน พิธีทำบยุญตักบาตรข้าวสาร-อาหารแห้ง แด่พระสงฆ์ จำนวน 69 รูป พิธีปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำและสักการะเจ้าแม่ทับทิม ในวันที่ 2 เมษายน 2566 ณ บริเวณศาลเจ้าแม่ทับทิม ถนนยมจินดา และวางพานพุ่มทอง-พุ่มเงิน ถวายราชสักการะ ในช่วงเวลา 18.00 น. อีกด้วย


วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า และวันข้าราชการพลเรือน

เนื่องด้วยวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า และวันข้าราชการพลเรือน นางสาวดาวรดา ถิรโรจนโยธา อัยการจังหวัดผู้ช่วย ได้เป็นตัวแทนสำนักงานอัยการจังหวัดระยอง วางพานพุ่มและถวายราชสักการะ ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดระยอง


ภาพกิจกรรมมอบเงินบริจาคให้โรงพยาบาลระยอง เพื่อถวายเป็นพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ

สำนักงานอัยการจังหวัดระยอง ได้มอบเงินบริจาคให้แก่โรงพยาบาลระยอง เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี และร่วมบำเพ็ญกุศลถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ในวันที่ 27 ธันวาคม 2565


สำนักงานอัยการจังหวัดระยอง ขอน้อมถวายพระพร

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี

กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

ขอพระองค์ทรงมีพระพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง

หายจากพระอาการประชวรโดยเร็ววัน

เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดไป

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากร

สำนักงานอัยการจังหวัดระยอง


กิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ

ด้วยวันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ จังหวัดระยองได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ ณ สนามสวนศรีเมือง
ในการนี้ นายเปาว์รุจ รัตนเหลี่ยม อัยการจังหวัดผู้ช่วย และข้าราชการฝ่ายอัยการเข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล พระสงฆ์และสามเณร จำนวน 89 รูป และได้เข้าร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้และพิธีถวายบังคม ด้วย

พิธีน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ด้วยในวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จังหวัดระยองได้จัดงานพิธีน้อมรำลึก ณ บริเวณด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 ศูนย์ราชการจังหวัดระยอง


ในการนี้ นางสาวดารดา ถิรโรจนโยธา อัยการจังหวัดผู้ช่วย และข้าราชการฝ่ายอัยการเข้าร่วมวางพวงมาลา ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วย


กิจกรรมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ 13 ตุลาคม

เนื่องในวันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทางจังหวัดระยองจึงได้จัดกิจกรรมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สวนศรีเมือง จังหวัดระยอง

ในการนี้ นายปูชิต วรานุตระกูล และ นายเฉลิงพงษ์ ถือดียิ่ง ได้เป็นตัวแทนนำคณะข้าราชการฝ่ายอัยการเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสองช่วงเวลานี้ด้วย


อธิบดีอัยการ สพอ.นำข้าราชการบรรจุใหม่เข้าเยี่ยมชมสำนักงานอัยการจังหวัดระยอง

เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 ท่านศิริมาศ ตัญจพัฒน์กุล อธิบดีอัยการ สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการและคณะ นำข้าราชการบรรจุใหม่เข้าเยี่ยมชมสำนักงานอัยการจังหวัดระยอง โดยมีนางสาวนิชาภา ภูกานดาวงศ์ อัยการจังหวัดระยอง และข้าราชการฝ่ายอัยการของสำนักงานอัยการจังหวัดระยองต้อนรับ


วันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day)

เนื่องใน 28 กันยายน ของทุกปีเป็นวันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day) ข้าราชการของสำนักงานอัยการจังหวัดระยองได้ร่วมเข้าแถวเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย ณ บริเวณสนามหน้าเสาธง สำนักงานอัยการจังหวัดระยอง เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย


กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ในวันที่ 12 สิงหาคม 2565 จังหวัดระยองได้จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 ประกอบด้วย พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล พระสงฆ์ สามเณร และพิธีทางศาสนามหามงคล ณ บริเวณสนามสวนศรีเมือง เวลา 06.30 น. และพิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีถวายพระพรชัยมงคล และจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล ณ บริเวณสนามสวนศรีเมือง เวลา 17.30 น. ในการนี้ นางสาวนิชาภา ภูกานดาวงศ์ อัยการจังหวัดระยอง ข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากรของสำนักงานอัยการจังหวัดระยอง เข้าร่วมพิธีดังกล่าวด้วย


โครงการอัยการอาสา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

วันที่ 9 สิงหาคม 2565 สำนักงานคดีปกครองระยองและสำนักงานอัยการจังหวัดระยองได้จัดโครงการอัยการอาสา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 โดยมีนายพิสิทธิ์ นิมิตพงษ์ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีปกครองระยอง และ นางสาวนิชาภา ภูกานดาวงศ์ อัยการจังหวัดระยอง ข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากรของทั้งสองสำนักงาน ร่วมทำการบริจาคเครื่องอุปโภค บริโภคให้แก่บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดระยอง


กิจกรรมวันรพี

เนื่องจากวันที่ 7 สิงหาคม ของทุกปี เป็น “วันรพี” เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ จึงมีการจัดงานบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายเป็นประจำทุกปี ในปีนี้ วันที่ 4 สิงหาคม 2565 นางสาวนิชาภา ภูกานดาวงศ์ อัยการจังหวัดระยอง ข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากรของสำนักงานอัยการจังหวัดระยอง ได้เข้าร่วมพิธีสงฆ์ พิธีวางพวงมาลาหน้าพระรูปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ณ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระยอง


กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 จังหวัดระยองได้จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประกอบด้วย พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล พระสงฆ์ สามเณร จำนวน 27 รูป และพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังแผ่นดิน ณ บริเวณสนามสวนศรีเมือง เวลา 06.30 น. และพิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล ณ บริเวณสนามสวนศรีเมือง เวลา 17.30 น. ในการนี้ นางสาวนิชาภา ภูกานดาวงศ์ อัยการจังหวัดระยอง ข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากรของสำนักงานอัยการจังหวัดระยอง เข้าร่วมพิธีดังกล่าวด้วย


กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 สำนักงานอัยการจังหวัดระยองได้จัดพิธีทำบุญถวายสังฆทานถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ วัดหนองสนม ตำบลเนินพระ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง โดยมี นางสาวนิชาภา ภูกานดาวงศ์ อัยการจังหวัดระยอง ข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากรของสำนักงานอัยการจังหวัดระยอง เข้าร่วมพิธีดังกล่าวด้วย


กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 สำนักงานอัยการจังหวัดระยอง ได้จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2565 เพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ โดยมีนายพิสิทธิ์ นิมิตพงษ์ อธิบดีอัยการสำนักงานปกครองระยอง เป็นประธานในพิธี นายพิจิตร จูฑะประชากุล อธิบดีอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริตภาค 2 นางสาวนิชาภา ภูกานดาวงศ์ อัยการจังหวัดระยอง นางสาวณมณฑ์ กาญธีรานนท์ อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงระยอง ร้อยตำรวจโทหญิง จิตติมา กำธรวิวรรธน์ ผู้แทนอัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระยอง นายอานนท์ พลสงคราม ผู้แทนอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดระยอง และข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากรของสำนักงานอัยการในจังหวัดระยอง เข้าร่วมพิธีดังกล่าวด้วย


กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี

           เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน 2565 จังหวัดระยองได้จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2565 โดยแบ่งพิธีเป็น 4 ช่วงเวลา ดังนี้ พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล พระสงฆ์และสามเณร จำนวน 45 รูป ณ บริเวณสนามสวนศรีเมือง, พิธีเจริญพระพุทธมนต์สมโภชพระพุทะรูปสำคคัญประจำจังหวัด ณ พระอุโบสถ วัดป่าประดู่ พระอารามหลวง, พิธีถวายราชสักการะและวางพานพุ่ม ณ บริเวณสนามสวนศรีเมือง, พิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล ณ บริเวณสนามสวนศรีเมือง                      
            ในการนี้ นางสาวสุพรรณา ลิ้มถาวรวงศ์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และนายสถาพร นิภาวงศ์ รองอัยการจังหวัด ได้เป็นตัวแทนอัยการจังหวัดระยองเข้าร่วมพิธีการดังกล่าว


วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ.๒๕๖๔

คณะรัฐมนตรีประกาศให้วันที่ ๒๑ ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเป็นวันบำรุงรักษาต้นไม้ประจำปีของชาติ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ใช้ชื่อว่า วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ เพื่อน้อมรำลึกและแสดงความกตัญญูกตเวทิตาถวายเป็นราชสักการะ แด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกด้านหการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          สำนักงานอัยการจังหวัดระยองได้เข้าร่วมกิจกรรม “วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ.๒๕๖๔” กับจังหวัดระยอง ณ บริเวณหน้าหอประชุมศาลากลางจังหวัดระยอง ในวันพุธที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๔


กิจกรรมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคตฯ

  เนื่องด้วยวันที่ ๑๓ ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบตร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สำนักงานอัยการจังหวัดระยองได้จัดกิจกรรมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคต
          ในการนี้ นายสมศักดิ์ ลีวงศ์เจริญ อัยการจังหวัดระยอง พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ ได้ร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ โอกาสนี้ด้วย ทั้งนี้ ได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID-19) อย่างเคร่งครัด


เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา

             พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระปฐมบรมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ทรงวางรากฐานระบบกฎหมาย และกระบวนยุติธรรมแก่ชาติไทย และทรงเคยปฏิบัติพระราชกรณียกิจอำนวยความยุติธรรมแก่ไพร่ฟ้าประชาชน ในยกกระบัตร เป็น อัยการ
อัยการไทยได้ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในระยะเริ่มแรกมีลักษณะคล้ายคลึงกับระบบอัยการในประเทศภาคพื้นยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน ต่อมาได้เปลี่ยนไปใช้ตามระบอบอัยการอังกฤษ มีอัยการเป็นโจทก์ฟ้องผู้กระทำผิดต่อศาล จำเลยมีสิทธิสู้คดี โดยศาลวางตัวเป็นกลาง เป็นผู้ตัดสินคดี

             เดิมเมื่อตั้งกระทรวงยุติธรรมในปี ร.ศ.110 ยังไม่มีกรมอัยการ คงมีแต่กรมรับฟ้องและรับเรื่องราว ทั้งแพ่งและอาญา ต่อมาวันที่ 1 เมษายน ร.ศ.112 หรือ พ.ศ.2436 จึงได้ตั้งกรมอัยการขึ้น เป็นกรมหนึ่งในกระทรวงยุติธรรม มีหลวงรัตนาญัปติ ต่อมาเป็น “ขุนหลวงพระยาไกรสี” เป็นอธิบดีคนแรก มีหน้าที่ราชการเป็นทนายหลวง ว่าความแผ่นดินในศาลทั้งปวง ณ สนามสถิตยุติธรรม และศาลกงสุลต่างประเทศ อัยการรุ่นแรกมี นายมี นายจัน นายโหมด นายสอน นายเขียว เป็นต้น

             ในการตั้งกรมอัยการครั้งแรกนี้ อัยการถือเป็นข้าราชการตุลาการ สามารถปรับเปลี่ยนหน้าที่กันได้ ดังเช่นเมื่อวันที่ 5 เมษายน ร.ศ.116 กระทรวงยุติธรรม ได้สั่งย้ายขุนหลวงพระยาไกรสี อธิบดีกรมอัยการ เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ต่อมาย้ายพระยาเทพวิทูร (บุญช่วย วณิกกุล) อธิบดีกรมอัยการไปเป็นประธานศาลฎีกา พระยามานวราชเสวี จากอธิบดีผู้พิพากษาศาลคดีต่างประเทศมาเป็นอธิบดีกรมอัยการ

             ต่อมาเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2465 กรมอัยการได้โอนจากกระทรวงยุติธรรมมาสังกัดกระทรวงมหาดไทย จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 กรมอัยการจึงได้แยกออกจากกระทรวงมหาดไทย ไปเป็นหน่วยงานไม่สังกัดกระทรวง ทบวงใด อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรีโดยตรง เปลี่ยนชื่อจากกรมอัยการเป็นสำนักงานอัยการสูงสุด ปัจจุบันสำนักงานอัยการสูงสุดไม่สังกัดกระทรวง ทบวง กรม แต่เป็นองค์กรอื่นตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
สำนักงานอัยการจังหวัดระยองเป็นสำนักงานอัยการในส่วนภูมิภาคสังกัดสำนักงานอัยการ ภาค 2 สำนักงานอัยการสูงสุด ตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2499 โดยมีนายชวาล อภิรัตน์เป็นอัยการจังหวัดระยองคนแรก อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดระยองหลังใหม่ สร้างด้วยเงินงบประมาณแผ่นดิน ทำพิธีเปิดโดยศาสตราจารย์ คณิต ณ นคร เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2540


อำนาจหน้าที่

สำนักงานอัยการจังหวัดระยอง 

            (ก) รับผิดชอบการปฏิบัติงานในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดภายในเขตท้อง ที่ของสำนักงานอัยการจังหวัดระยอง ทั้งนี้ ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งของสำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานอธิบดีอัยการภาค 2 กล่าวคือ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่ง และให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่หน่วยงานของรัฐตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจ หน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด การรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน รวมทั้งให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย เผยแพร่ความรู้ทางด้านสิทธิมนุษยชน และความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
           (ข) ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

สถานีตำรวจในความรับผิดชอบสำนวนการสอบสวนของสำนักงานอัยการจังหวัดระยอง

1.  สถานีตำรวจภูธรเมืองระยอง
2.  สถานีตำรวจภูธรแกลง
3.  สถานีตำรวจภูธรวังจันทร์
4.  สถานีตำรวจภูธรบ้านค่าย
5.  สถานีตำรวจภูธรบ้านฉาง
6.  สถานีตำรวจภูธรปลวกแดง
7.  สถานีตำรวจภูธรนิคมพัฒนา
8.  สถานีตำรวจภูธรเขาชะเมา
9.  สถานีตำรวจภูธรเพ
10.สถานีตำรวจภูธรบ้านกร่ำ
11.สถานีตำรวจภูธรปากน้ำประแสร์
12.สถานีตำรวจภูธรมาบตาพุด
13.สถานีตำรวจภูธรห้วยโป่ง
14.สถานีตำรวจภูธรสำนักทอง
15.สถานีตำรวจภูธรน้ำเป็น

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

สารและนโยบายของอัยการสูงสุด

บุคลากร

ข้าราชการอัยการ

ข้าราชการธุรการ

ทำเนียบผู้บริหารสำนักงานอัยการจังหวัดระยอง

1.  นายชวาลอภิรัตน์ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2499
2.  นายสุเมธ  กาญจนอักษรดำรงตำแหน่ง 2500 – 2503
3.  นายส่งวิบูลย์สวัสดิ์ดำรงตำแหน่ง 2503 – 2505
4.  นายถมสุดแสวงดำรงตำแหน่ง 2505 – 23 มีนาคม 2513
5.  นายจำรูญบางสมบูญดำรงตำแหน่ง 23 มีนาคม 2513 – 1 กุมภาพันธ์ 2518
6.  นายยุทธจันทรภูมิดำรงตำแหน่ง 18 กุมภาพันธ์ 2518 – 25 มีนาคม 2520
7.  นายประคองรังศาสตร์ดำรงตำแหน่ง 28 มีนาคม 2520 – 27 มีนาคม 2521
8.  นายอุทัยสุทธิรัตน์ดำรงตำแหน่ง 27 มีนาคม 2521 – 31 มีนาคม 2523
9.  นายเธียรธีระสุนทรวงศ์ดำรงตำแหน่ง 14 เมษายน 2523 – 15 เมษายน 2524
10. นายศักดิ์ชัยศักดิ์กุลวงษ์ดำรงตำแหน่ง 20 เมษายน 2524 – 2 พฤษภาคม 2526
11. นายกมลบุญวานิชดำรงตำแหน่ง 2 พฤษภาคม 2526 – 16 เมษายน 2527
12. นายธงชัยทุมโฆษิตดำรงตำแหน่ง 16 เมษายน 2527 – 15 เมษายน 2528
13. นายวิราชสุทธิรัตน์ดำรงตำแหน่ง 15 เมษายน 2528 – 3 พฤศจิกายน 2529
14. นายมนัสสุขสวัสดิ์ดำรงตำแหน่ง 3 พฤศจิกายน 2529 – 4 พฤษภาคม 2532
15. นายวันชัยสร้อยทองดำรงตำแหน่ง 8 พฤษภาคม 2532 – 8 พฤษภาคม 2533
16. นายวิชิตแก่นกำจรดำรงตำแหน่ง 9 พฤษภาคม 2533 – 9 พฤษภาคม 2534
17. นายพรศักดิ์เทพาพรสุวรรณ์ดำรงตำแหน่ง 13 พฤษภาคม 2534 – 30 เมษายน 2536
18. นายมานิตย์เอื้อนรการกิจดำรงตำแหน่ง 3 พฤษภาคม 2536 – 28 เมษายน 2538
19. นายสมชายงามวงศ์ชนดำรงตำแหน่ง 1 พฤษภาคม 2538 – 3 ตุลาคม 2539
20. นายวิชัยเตชะเกิดกมลดำรงตำแหน่ง 4 ตุลาคม 2539 – 30 เมษายน 2541
21. นายเลิศชัยเจริญสมบัติอมรดำรงตำแหน่ง 1 พฤษภาคม 2541 – 30 เมษายน 2542
22. นายวิภาสสระรักษ์ดำรงตำแหน่ง 3 พฤษภาคม 2542 – 1 พฤษภาคม 2544
23. นายสำรวยวราวรรณดำรงตำแหน่ง 1 พฤษภาคม 2544 – 7 พฤษภาคม 2545
24. ร้อยโทวิเชียรสอาดดำรงตำแหน่ง 7 พฤษภาคม 2545 – 30 กันยายน 2546
25. นายประยุทธป.สัตยารักษ์ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2546 – 31 มีนาคม 2548
26. นายอัศวินวรธรรมพินิจดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน 2548 – 28 เมษายน 2549
27. นายวิทยาแดงประดับดำรงตำแหน่ง 1 พฤษภาคม 2549 – 31 มีนาคม 2550
28. นายทรงเดชทองบัณฑิตดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน 2550 – 31 มีนาคม 2551
29. นายสุขุมโกมาสถิตย์ดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน 2551 – 31 มีนาคม 2553
30. นายวัชรากรเปรมประเสริฐดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน 2553 – 31 มีนาคม 2554
31. นายโอภาษวโรภาษดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน   2554 – 31 มีนาคม 2555
32. นายมานะวีระอาชากุลดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน 2555 – 31 มีนาคม 2556
33. นายเอกคม    ด้วงชะเอมดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน 2556 – 31 มีนาคม 2557
34. นางสาววาทินีวงษ์วิฑิตดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน 2557 – 31 มีนาคม 2558
35. นายไพบูลย์อาชวานันทกุลดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน 2558 – 31 มีนาคม 2559
36. นายปัญญาบูรพาดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน 2559 – 31 มีนาคม 2560
37. นายสราวุธปิตุเตชะดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน 2560 – 30 มีนาคม 2561
38. นายสุรพงศ์ทองพันธุ์ดำรงตำแหน่ง 2 เมษายน 2561 – 31 มีนาคม 2562
39. นายไกรพันธ์ พรหมานุกูลดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน 2562 – 31 มีนาคม 2563
40. นายสมคะเน แสงทองดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน 2563 – 31 มีนาคม 2564
41. นายสมศักดิ์ลีวงศ์เจริญดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน 2564 – 31 มีนาคม 2565
42. นางสาวนิชาภา ภูกานดาวงศ์ดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน 2565 – 31 มีนาคม 2566
43. นางสาวณมณฑ์กาญธีรานนท์ดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน 2566 – 31 มีนาคม 2566
44. นายปิติพัฒน์ฉัฐนันท์โกเศสดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน 2567 – ปัจจุบัน

สถิติคดี

เอกสารเผยแพร่

1. กรณีใช้โฉนดที่ดิน
 – หนังสือประเมินจากสำนักงานที่ดิน
– สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของโฉนดที่ดิน
– ถ้าเจ้าของที่ดินจดทะเบียนสมรส ต้องมีหนังสือยินยอมจากคู่สมรส และสำเนาทะเบียนสมรส พร้อมทั้งสำเนาทะเบียนบ้าน,สำเนาบัตรประชาชนของคู่สมรสมาด้วย
– ในกรณีเจ้าของโฉนดที่ดินไม่สามารถมาเองได้ ต้องมีหนังสือมอบอำนาจที่ติดอากรแสตมป์ครบถ้วน (30 บาท) พร้อมทั้งสำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของโฉนดที่ดินและของผู้รับมอบอำนาจมาด้วย
– กรณีเปลี่ยนชื่อ-สกุล ต้องมีสำเนาเอกสารในการเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี)

2. กรณีใช้สมุดเงินฝาก
– สมุดเงินฝากประจำ จำนวนเงินตามที่สำนักงานอัยการกำหนด พร้อมหนังสืออายัดจากธนาคารเจ้าของบัญชี
(เรียน อัยการจังหวัดระยอง)
– สำเนาทะเบียนบ้าน,สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของบัญชี
– ไม่สามารถมอบอำนาจใช้สมุดเงินฝากมาประกันตัวผู้ต้องหาแทนกันได้

3. กรณีใช้ตำแหน่ง
– หนังสือรับรองจากหน่วยงานต้นสังกัด
– สำเนาทะเบียนบ้าน,สำเนาบัตรข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐของนายประกัน.

มีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ สำนักงานอัยการจังหวัดระยอง โทร.038-611048

บทความน่าสนใจ

1. กรณีใช้โฉนดที่ดิน

– หนังสือประเมินจากสำนักงานที่ดิน
– สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของโฉนดที่ดิน
– ถ้าเจ้าของที่ดินจดทะเบียนสมรส ต้องมีหนังสือยินยอมจากคู่สมรส และสำเนาทะเบียนสมรส พร้อมทั้งสำเนาทะเบียนบ้าน,สำเนาบัตรประชาชนของคู่สมรสมาด้วย
– ในกรณีเจ้าของโฉนดที่ดินไม่สามารถมาเองได้ ต้องมีหนังสือมอบอำนาจที่ติดอากรแสตมป์ครบถ้วน (30 บาท) พร้อมทั้งสำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของโฉนดที่ดินและของผู้รับมอบอำนาจมาด้วย
– กรณีเปลี่ยนชื่อ-สกุล ต้องมีสำเนาเอกสารในการเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี)

2. กรณีใช้สมุดเงินฝาก
– สมุดเงินฝากประจำ จำนวนเงินตามที่สำนักงานอัยการกำหนด พร้อมหนังสืออายัดจากธนาคารเจ้าของบัญชี(เรียน อัยการจังหวัดระยอง)
– สำเนาทะเบียนบ้าน,สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของบัญชี
– ไม่สามารถมอบอำนาจใช้สมุดเงินฝากมาประกันตัวผู้ต้องหาแทนกันได้

3. กรณีใช้ตำแหน่ง
– หนังสือรับรองจากหน่วยงานต้นสังกัด
– สำเนาทะเบียนบ้าน,สำเนาบัตรข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐของนายประกัน.

มีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ สำนักงานอัยการจังหวัดระยอง โทร.038-611048

พยานศาลหรือพยานหมาย คือ ผู้ที่พนักงานอัยการ โจทก์ หรือ จำเลย ขอให้ศาลมีหมายเรียกให้ไปศาล เพื่อเป็นพยานโจทก์ หรือพยานจำเลย และเบิกความในเรื่องที่ได้รู้ได้เห็น และเป็นข้อเท็จจริงในคดี

การส่งหมายเรียกพยาน

– คู่ความฝ่ายที่อ้างท่านเป็นพยานนำไปส่ง
– เจ้าพนักงานศาลนำไปส่ง

เมื่อท่านได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาลควรทำอย่างไร

– ควรตรวจรายละเอียดในหมายเรียกเพื่อให้ทราบว่า ศาลไหนเรียกให้ท่านไปเป็นพยาน และท่านต้องไปเป็นพยานโจทก์หรือพยานจำเลย ในวัน เวลา ใด
– หากมีข้อสงสัย กรุณาโทรสอบถามตามหมายเลขโทรศัพท์ของศาลที่ปรากฏอยู่ในหมายเรียก
– ควรเก็บหมายเรียกไว้ และนำไปศาล ในวันที่ศาลนัดสืบ พยาน

การเตรียมตัวก่อนไปเป็นพยานศาล

– ควรทบทวนเหตุการณ์ ที่ท่านได้รู้ ได้เห็น เกี่ยวกับคดี เพื่อจัดลำดับเรื่องราวต่าง ๆ จะได้เกิดความมั่นใจเมื่อไปเบิกความต่อศาล และหากเป็นคดีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเอกสาร ท่านควรติดต่อไปยังฝ่ายโจทก์ หรือจำเลย ที่อ้างท่านเป็นพยาน เพื่อขอตรวจสอบเอกสาร

การปฏิบัติตัวเมื่อไปศาลในวันนัดสืบพยาน

– นำหมายเรียกไปด้วย เพราะในหมายเรียกจะปรากฏหมายเลขคดี ชื่อโจทก์ ชื่อจำเลย ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลในการติดต่อราชการศาลได้เป็นอย่างดี
– กรุณาแต่งกายสุภาพ ไม่ควรสวมรองเท้าแตะ
– ไปศาลก่อนเวลานัดสืบ พยานจะทำให้ท่านมีเวลาพอที่จะติดต่อกับเจ้าหน้าที่งานประชาสัมพันธ์เพื่อสอบ ถามว่าคดีตามหมายเรียกของท่านจะมีการสืบพยานที่ห้องพิจารณาใดหรืออาจตรวจหา ห้องพิจารณาจากป้ายประกาศนัดความของศาลเองก็ได้
– เมื่อทราบห้องพิจารณาแล้วกรุณาแจ้งกับเจ้าหน้าที่งานหน้าบัลลังก์ประจำห้องพิจารณานั้น ๆ ว่า ท่านมาถึงศาลแล้ว และนั่งรอในที่พักพยานที่ศาลจัดไว้
– หากต้องรอเพื่อเบิกความเป็นเวลานานเกินไป กรุณาสอบถามเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ประจำห้องพิจารณานั้นๆ

การปฏิบัติตัว เมื่อเข้าห้องพิจารณาในฐานะพยานศาล

– เจ้าหน้าที่งานหน้าบัลลังก์ประจำห้องพิจารณาจะเรียกเข้าห้องพิจารณาเมื่อฝ่ายโจทก์ ฝ่ายจำเลยและพยานมาพร้อมกันแล้ว และเมื่อผู้พิพากษาปรากฏตัวบนบัลลังก์ขอให้ทุกคนในห้องพิจารณายืนขึ้นเพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อศาล
– ก่อนที่จะเบิกความ เจ้าหน้าที่ฯจะนำท่านเข้าประจำที่ที่เรียกว่า” คอกพยาน” จากนั้น ท่านจะต้องสาบานตนตามลัทธิศาลนาของท่านว่า จะให้การด้วยความสัตย์จริง โดยเจ้าหน้าที่ฯจะเป็นผู้นำสาบานและท่านต้องกล่าวตาม
– เมื่อสาบานตนเรียบร้อยแล้ว ขอให้ท่านนั่งลง และตอบคำถามที่ ผู้พิพากษา ทนายโจทก์ หรือทนายจำเลย ถามท่านด้วยความสัตย์จริงและใช้วาจาสุภาพ ควรใช้สรรพนามแทนตัวท่านเองว่า กระผม หรือผม หรือดิฉัน หรือฉัน หากกล่าวถึงผู้พิพากษา ให้ใช้สรรพนามแทนผู้พิพากษาว่า “ศาล” หรือ “ท่าน”
– ขอให้ท่านเบิกความเฉพาะเรื่องที่ท่าน ได้รู้ ได้เห็น ด้วยตัวท่านเอง อย่าเบิกความในเรื่องที่ได้รับการบอกเล่าจากผู้อื่น เว้นแต่ศาลจะสั่ง
– ขอให้เบิกความด้วยวาจา อย่าใช้วิธีการอ่านข้อความตามที่เขียนมา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษา หากไม่แน่ใจหรือจำไม่ได้ ให้ตอบไปตรง ๆ ว่าไม่แน่ใจ หรือจำไม่ได้
– อย่าเบิกความโดยการคาดคะเนหรือวิพากษ์วิจารณ์ เพราะท่านอาจมีความผิดในข้อหาเบิกความเท็จได้
– หากฟังคำถามไม่ชัดเจนท่านสามารถขอให้มีการทวนคำถามซ้ำอีกครั้งได้
– เมื่อเบิกความเสร็จ ศาลจะอ่านคำเบิกความของท่าน หากเห็นว่าคำเบิกความไม่ถูกต้องตรงกับที่ท่านเบิกความไว้หรือไม่ครบถ้วน ขอให้แจ้งศาลทราบทันที เพื่อจะได้แก้ไขให้ถูกต้องก่อนที่ท่านจะลงชื่อในคำเบิกความ

จะทำอย่างไรเมื่อมีการเลื่อนนัดสืบพยาน

– หากศาลไม่สามารถสืบพยานในวันนัดได้ เจ้าหน้าที่งานหน้าบัลลังก์ประจำห้องพิจารณาจะให้ท่านลงชื่อรับทราบ วัน เวลานัดครั้งต่อไป โดยจะไม่มีการส่งหมายเรียกไปอีก ขอให้ท่านจำวัน เวลานัดดังกล่าว และกรุณาไปตามนัดด้วย

สิทธิในการรับค่ายานพาหนะและค่าป่วยการพยาน

– หากเป็นพยานในคดีแพ่ง ท่านจะได้รับค่าพาหนะและค่าป่วยการตามที่ศาลกำหนด โดยฝ่ายโจทก์หรือจำเลยที่อ้างท่านเป็นพยาน ต้องเป็นผู้จ่าย
– หากเป็นพยานโจทก์ ในคดีอาญาที่ราษฏรเป็นโจทก์ท่านจะได้รับค่าพาหนะเท่าที่จ่ายไปจริงตามสมควรโดยโจทก์ ต้องเป็นผู้จ่าย
จะทำอย่างไรหากไม่สามารถมาเป็นพยานศาลได้
– หากเจ็บป่วย หรือมีเหตุขัดข้องจำเป็น ไม่สามารถไปเป็นพยานศาล ในวันนัดสืบพยานได้ขอให้ท่านทำหนังสือแจ้ง อธิบดี ผู้พิพากษา หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล เพื่อชี้แจงถึงเหตุผลความจำเป็น โดยที่ท่านอาจนำหนังสือไปยื่นที่ศาลด้วยตัวเอง หรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นนำไปยื่นแทนท่านก็ได้ แต่ต้องยื่นก่อนวันที่ศาลนัดสืบพยาน
– ในระหว่างเดินทางไปศาล หากมีอุบัติเหตุหรือข้อขัดข้องเกิดขึ้น ขอให้ท่านโทรศัพท์ ที่ปรากฏอยู่ในหมายเรียก

จะเกิดอะไรขึ้น หากไม่ไปศาลตามหมายเรียก

– การไม่ยอมไปศาลตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุผลอันควร ศาลอาจออกหมายจับและกักขังท่านไว้ จนกว่าจะเบิกความเสร็จ และท่านอาจถูกฟ้องให้ต้องรับโทษทางอาญาจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

Credit www.thailaws.com

ปัญหาข้อกฎหมายของชื่อบุคคล
เขียนโดย   นายธรรมรัตน์ ลิ่มกุลพงษ์ รองอัยการจังหวัดระยอง (สคช.)

1. ความเป็นมา
                เดิมคนไทยไม่ได้มี ”ชื่อ สกุล” หรือ “นามสกุล” ใช้ต่างจากปัจจุบันนี้ จะมีแต่เพียงชื่อเรียกประจำตัวเท่านั้น เช่น นายแดง , นายเขียว ,.. เป็นต้น โดยคำว่า “นามสกุล” บางครั้งเรียกว่า “ชื่อสกุล” หรือ ”สกุล” เฉยๆ ก็มี ทั้งนี้โดยมีความหมายเดียวกันคำว่า “นามสกุล” (1) คือชื่อบอกตระกูล (หรือสกุล) เพื่อแสดงที่มาของบุคคลนั้นว่ามาจากครอบครัวใด , ตระกูลใด โดยทั่วไปบุตรจะใช้นามสกุลตามบิดาผู้ให้กำเนิด แต่บางครั้งก็ใช้ตามมารดาโดยสามารถแจ้งขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยได้รับความ ยินยอมจากเจ้าของนามสกุลด้วย

2. สภาพปัญหา
                ก่อนหน้านี้ ตามกฎหมายไทยกำหนดบังคับให้ผู้หญิงไทยที่แต่งงานแล้ว จะต้องเปลี่ยนมาใช้นามสกุลของสามีเท่านั้น ผู้หญิงจะยืนยันขอใช้นามสกุลเดิมก่อนแต่งงานหาได้ไม่
                ปัจจุบันศาลรัฐธรรมนูญได้ชี้ขาดให้ผู้หญิงไทยที่แต่งงานแล้วมีสิทธิในการ เลือกใช้นามสกุลของตัวเองหรือของสามีก็ได้ ซึ่งถือว่าเป็นการให้สิทธิแก่สตรีไทยทุกคนให้ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย อย่างเสมอกันและเท่าเทียมกัน โดยชายและหญิงมีสิทธิเสมอภาคเท่าเทียมกัน (2) สังเกตว่าชายไทยไม่นิยมเปลี่ยนไปใช้นามสกุลของผู้หญิงคู่สมรสของตน แต่มีชายไทยบางรายขอเปลี่ยนไปใช้นามสกุลของมารดาตนด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น เป็นลูกคนเดียวของมารดาและเป็นคนสุดท้องของวงศ์สกุล ถ้าไม่เปลี่ยนอาจทำให้วงศ์สกุลของมารดาไม่มีใครสืบทอดใช้นามสกุลอีกเลย อีกทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ฉบับปัจจุบัน ก็ยังยืนยันสิทธิเสมอภาคชายและหญิงเท่าเทียมกันมาโดยตลอด

3. ปัญหาทางกฎหมาย
                คนไทยในสมัยก่อนมีเพียงแต่ชื่อเรียกเท่านั้นคือเป็นชื่อประจำตัวบุคคล เช่น นายแดง, นายเขียว ,.. เป็นต้น ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี (3) พระองค์ได้โปรดให้มีการตั้งนามสกุลให้คนไทยมีชื่อสกุลใช้เฉกเช่นชาวต่าง ประเทศที่เจริญแล้ว โดยทรงให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ.2455 ขึ้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2455 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2456 แต่ได้เลื่อนเวลาบังคับใช้ออกไปอีก 2 คราว และบังคับใช้เป็นกฎหมายโดยสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2458 ทั้งนี้พระองค์ได้โปรดพระราชทานนามสกุลให้แก่คนไทยหลายครอบครัวที่เรียกว่า “นามสกุลพระราชทาน” มีทั้งสิ้นจำนวน 6,432 นามสกุล โดยทรงตั้งตามชื่อผู้นำวงศ์ตระกูลหรือถิ่นที่อยู่อาศัยครอบครัวนั้นๆ และนามสกุลพระราชทานนามสกุลแรกของประเทศไทยคือนามสกุล “สุขุม” พระราชทานให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เสนาบดีกระทรวงนครบาล
            3.1 การตั้งนามสกุลในสมัยรัชกาลที่ 6 : ได้มีพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ.2455 กำหนดให้ราษฎรไทยต้องตั้งนามสกุลขึ้นมาสำหรับใช้ในครอบครัวหรือตระกูลของตน เอง โดยมีหลักความนิยมในการตั้งนามสกุลหลายอย่างด้วยกัน ดังนี้
                    1. การตั้งนามสกุลตามชื่อของบรรพบุรุษ (ปู่ , ย่า , ตา , ยาย)
                    2. ข้าราชการที่มีราชทินนาม มักนำราชทินนามมาตั้งเป็นนามสกุลของตนเอง เช่น หลวงพิบูลสงคราม (แปลก) ใช้นามสกุล “พิบูลสงคราม”
                    3. การตั้งนามสกุลตามสถานที่ชื่อตำบลจังหวัดที่ตนอาศัยอยู่ เช่น ณ นคร มาจากจังหวัดนครศรีธรรมราช, ณ ถลาง มาจากอำเภอจังหวัดภูเก็ต
                    4. ชาวไทยเชื้อสายจีน มักนำ “แซ่” ของคนจีนมาตั้งเป็นนามสกุลหรือบางรายอาจแปลความหมาย “แซ่ตน” หรือใช้คำว่า “แซ่” มานำหน้าชื่อสกุล เช่น แซ่ตั้ง, แซ่ลี้,.. หรือบางรายใช้แซ่สอดแทรกไว้ในนามสกุล เช่น นายสยุมพร ลิ่มไทย (ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองคนปัจจุบัน),.. เป็นต้น
                    5. ในกลุ่มเชื้อพระวงศ์ (หม่อมเจ้า, หม่อมราชวงศ์, หม่อมหลวง) นิยมใช้นามราชสกุลของตนเป็นนามสกุลของครอบครัว แต่ลูกของหม่อมหลวงและต่อๆไปเป็นหลาน, เหลน จะใช้นามสกุลโดยลำพังไม่ได้ ต้องมีคำว่า “ณ อยุธยา” มาต่อท้ายเชื้อพระวงศ์
            3.2 พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ.2505 : ได้วางข้อกำหนดตามกฎหมายหลักเกณฑ์การตั้งชื่อสกุล ไว้ว่า
                    1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี
                    2. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่เป็นราชทินนามของตน ของบุพการี หรือผู้สืบสันดาน
                    3. ต้องไม่ซ้ำกับชื่อสกุลพระราชทานของพระมหากษัตริย์หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
                    4. ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
                    5. มีพยัญชนะไม่เกิน 10 พยัญชนะ เว้นแต่กรณีเป็นราชทินนาม
                    6. ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานชื่อสกุล ห้ามใช้คำว่า “ณ” นำหน้าชื่อสกุล
                    7. ห้ามเอานามพระมหานคร หรือศัพท์ที่ใช้เป็นพระปรมาภิไธยมาใช้เป็นชื่อสกุล
            3.3 การใช้นามสกุลในประเทศอื่นๆ
                    1. กลุ่มประเทศที่เขียนชื่อสกุลนำหน้าชื่อตัว ได้แก่ประเทศจีน ญี่ปุ่น เวียดนาม สหรัฐอเมริกา เช่น นายเจ้าจื่อหยาง (จีน), บารัค ฮุลเซน โอบามา (สหรัฐอเมริกา), คิมยองปัก (เกาหลี)
                    2. กลุ่มที่ใช้สองนามสกุลคือ ใช้ทั้งนามสกุลของพ่อและนามสกุลของแม่ ได้แก่ ประเทศเวเนซูเอล่า

4. บทวิเคราะห์
                การที่แรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านของประเทศไทย ได้รับการนำพา ชักพาโดยนายหน้าเก็บเงินค่าพาหลบหนีข้ามชายแดนเข้ามาคนละหลายพันบาท แล้วนายหน้าจะพาแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายเหล่านี้ไปส่งต่อ ให้นายทุนเจ้าของโรงงานหลายๆทอด กว่าจะถึงจุดหมายปลายทางที่นายทุนต้องการแรงงานราคาถูกหลบเลี่ยงข้อบังคับ กฎหมายสวัสดิการแรงงาน อันเป็นการลดต้นทุนการผลิตสินค้าโดยใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายราคาถูก แม้เหยื่อแรงงานต่างด้าวจะเต็มใจจ่ายค่านายหน้าให้พาหนีข้ามชายแดนมาฝั่งไทย แต่สาเหตุเนื่องจากเหยื่อหลงเชื่อการหลอกลวงของนายหน้าค้ามนุษย์ที่ต้องการ แสวงประโยชน์ ทั้งค่าพาหนีข้ามชายแดนมาฝั่งไทยและเงินค่าจ้างหาแรงงานต่างด้าวด้วยราคาถูก จากนายทุนโรงงานที่เป็นจุดหมายปลายทาง ซึ่งเหยื่อไม่สามารถเลือกนายจ้างหรือเรียกร้องว่าต้องการไปอยู่หรือทำงานที่ ใดๆ และเหยื่อไม่มีวัตถุประสงค์เพียงให้พาข้ามแดนไปเท่านั้น แต่เพราะเหยื่อหลงเชื่อคำหลอกลวงของนายหน้าขบวนการค้ามนุษย์ที่หลอกว่าจะพา ไปแสวงหาที่ทำงานที่ดีมีค่าจ้างสูง กินอิ่มนอนหลับ ไม่ลำบากเหมือนอดตายที่บ้านเกิดของตน เหยื่อถูกอุบายหลอกล่อ ชักจูงโน้มน้าวจึงขวนขวายหาเงินจ่ายค่านายหน้าและเหยื่อตกเป็นทาสแรงงานมีคน ดูแลบังคับให้อยู่หลบๆ ซ่อนๆ หนีเอื้อมมือกฎหมายไทย ได้รับค่าจ้างรายวันราคาต่ำๆ กินอยู่แร้นแค้นลำบาก ถอยหลังไปไม่ได้แล้ว จนต้องออกขโมยผลไม้ชาวบ้านที่อยู่รายรอบโรงงานผลิตปลากระป๋องดังกล่าว จนชาวบ้านเดือดร้อนไปร้องเรียนแจ้งความตำรวจให้มาจับกุมเป็นคดีนี้
                พิจารณาแล้วเห็นว่า แรงงานต่างด้าวตกเป็นเหยื่อของนายหน้าขบวนการค้ามนุษย์ที่หาคนงานราคาถูกจาก ประเทศเพื่อนบ้าน โดยแนะนำชักชวนใช้อุบายหลอกลวง มุ่งหวังแสวงหาประโยชน์จากเหยื่อแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย ต้องหลบหนีเงื้อมมือกฎหมายไทยและรับค่าจ้างแรงงานราคาถูกหมดทางเลือก ต้องตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์กลายเป็นสินค้ามีชีวิตที่ถูกส่งผ่าน หรือถูกขายจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง โดยเหยื่อไม่มีอำนาจอิสระในการตัดสินใจ เลือก หรือต่อรองเรื่องใดๆทั้งสิ้น ซึ่งแตกต่างกับการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน ที่ผู้ประสงค์จ่ายค่าตอบแทนเพื่อให้เดินทางข้ามชายแดนตามประสงค์ของผู้เดิน ทางเอง ตัดสินใจเอง หรือจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใดๆก็ได้ ทั้งนี้ผู้รับจ้างจะมีอำนาจเด็ดขาดในการควบคุมสถานการณ์เฉพาะในช่วงพาข้าม ชายแดนเท่านั้น เพื่อบริการตามที่ผู้ประสงค์จ่ายค่าจ้างให้ผู้รับจ้างพาข้ามชายแดน ซึ่งสมประสงค์ตามการตัดสินใจของผู้ประสงค์จะข้ามชายแดนเอง และเมื่อผู้รับจ้างพาผู้ประสงค์เดินทางมาถึงที่หมายปลายทางตามที่ตกลงกันไว้ แล้ว ทั้งสองฝ่ายก็ไม่มีพันธะผูกพันใดๆ ต่อกันอีกต่อไป

บรรณานุกรม

(1) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย , http://thai.tourismthailand.org/destination – guild/rayong – 21 – 1 – 1.html
(2) เอกสารประกอบการประชุม “ผังเมืองแกลงจังหวัดระยอง (ปรับปรุงครั้งที่ 2) หน้าที่ 1 – 8    จัดเมื่อวันที่   27 เมษายน 2552”
(3) หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2552 , หัวข้อเรื่อง “ปดส.รวบแรงงานเถื่อนในโรงงานผลิตปลากระป๋อง” , จาก http ://www..notfersale.in.th, วันที่ 3 มิถุนายน 2552
(4) เอกสารทางกฎหมายเรื่อง การค้ามนุษย์และการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน ของศูนย์ต่อต้านการค้ามนุษย์ระหว่างประเทศ (ศตม.) สำนักงานอัยการสูงสุด , กทม.
(5) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551

ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ในจังหวัดระยอง(ศึกษากรณีแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย)
เขียนโดย  นายธรรมรัตน์ ลิ่มกุลพงษ์ รองอัยการจังหวัดระยอง (สคช.)

1. บทนำ
ระยอง เป็นจังหวัดตั้งอยู่ชายทะเลฝั่งตะวันออกห่างจากกรุงเทพฯ 179 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 3,552 ตารางกิโลเมตร เป็นเมืองแห่งผลไม้ เมืองท่องเที่ยวชายทะเล และนิคมอุตสาหกรรม ปิโตรเคมีที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ จังหวัดระยองมีคำขวัญว่า “ผลไม้รส ล้ำ – อุตสาหกรรมก้าวหน้า – น้ำปลารสเด็ด – เกาะเสม็ดสวยหรู – สุนทรภู่กวีเอก” และแบ่งการปกครองเป็น 8 อำเภอ คือ อำเภอเมืองระยอง อำเภอแกลง อำเภอบ้านค่าย อำเภอปลวกแดง อำเภอวังจันทร์ อำเภอเขาชะเมา และอำเภอนิคมพัฒนา(1) โดยจังหวัดระยองมีประชากรตามทะเบียนบ้านรวมทั้งสิ้น 583,470 คน ในปีพ.ศ.2550(2) และยังมีประชากรแอบแฝงที่เป็นแรงงานคนไทยและแรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านมาอยู่ระยองอีกจำนวนมากหลายเท่าตัว

2. สภาพปัญหา
                ปัญหาแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านของไทย ที่ลักลอบหนีเข้ามารับจ้างทำงานโดยมีนายหน้าช่วยเหลือพาหนีเข้าเมืองโดยผิด กฎหมายเพื่อมารับจ้างเป็นแรงงานราคาถูกในโรงงานบริษัทต่างๆ ซึ่งเป็นการแย่งอาชีพแรงงานคนไทย และก่อให้เกิดปัญหาเดือดร้อนรำคาญ ก่อคดีอาญาต่างๆ และเป็นพาหะนำโรคติดต่อมายังประชาชนชาวไทยด้วย เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการบุกเข้าตรวจพบจับกุมแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้า เมืองผิดกฎหมายโดยไม่ได้รับอนุญาต นำตัวส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย ทั้งเหยื่อแรงงานต่างด้าว และนายหน้าที่ชักนำพาเหยื่อเหล่านั้นอยู่เรื่อยมา ล่าสุดเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2552 ที่ผ่านมา(3) เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปดส. ซึ่งมีหน้าที่ปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็กและสตรี ได้เข้าตรวจพบและจับกุมแรงงานต่างด้าวลักลอบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย ได้ที่โรงงานผลิตปลากระป๋องแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ตำบลสำนักทอง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง พบว่ามีแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายจากประเทศเพื่อนบ้านจำนวนชายหญิงรวม 31 คน และมีแรงงานต่างด้าวที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี อีกจำนวน 22 คน รวมเป็น 53 คน จึงเข้าจับกุมส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
                เมื่อพิจารณาจากสภาพปัญหาข้อเท็จจริงนี้ ขอถามว่าแรงงานต่างด้าวเหล่านั้นเป็นผู้กระทำผิดฐานลักลอบหลบหนีเข้าเมือง โดยผิดกฎหมาย โดยว่าจ้างนายหน้าให้พาลักลอบโยกย้ายถิ่นฐานข้ามชายแดนระหว่างประเทศ หรือว่าเป็นเหยื่อของนายหน้าขบวนการค้ามนุษย์หรือไม่ อย่างไร ?

3. ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการค้ามนุษย์
                ตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยลงนามเป็นภาคีตั้งแต่ พ.ศ.2544 คือ พิธีสารเพื่อป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะหญิงและเด็ก (Protocol to Prevention, Suppress and Punish Trafficking in Persons Especially Women and Children)(4) ในข้อ 3. ได้นิยามการค้ามนุษย์ ไว้ดังนี้
                “การ ค้ามนุษย์” (Trafficking in Persons) หมายถึง การจัดหา การขนส่ง การส่งต่อ การจัดให้อยู่อาศัย หรือการรับไว้ ซึ่งบุคคลด้วยวิธีการขู่เข็ญและใช้กำลัง หรือการบีบบังคับรูปแบบอื่นใด ด้วยการลักพาตัว ฉ้อโกง หลอกลวง การใช้อำนาจโดยมิชอบ หรือใช้สถานะความเสี่ยงภัยจากการค้ามนุษย์โดยมิชอบ หรือมีการให้ หรือรับเงิน หรือผลประโยชน์ เพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมของบุคคล/ผู้มีอำนาจควบคุมบุคคลอื่น เพื่อมุ่งประสงค์แสวงหาประโยชน์ ซึ่งอย่างน้อยที่สุดให้รวมถึงการแสวงประโยชน์จากการค้าประเวณี หรือแสวงประโยชน์ทางเพศรูปแบบอื่น การบังคับใช้แรงงาน หรือบริการ การเอาคนลงเป็นทาส หรือการกระทำอื่นเสมือนการเอาคนลงเป็นทาส การทำให้ตกอยู่ใต้บังคับ หรือการตัดอวัยวะออกจากร่างกาย”
                และตามกฎหมายไทยฉบับล่าสุดคือพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้า มนุษย์ พ.ศ.2551 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2551(5) โดยให้ยกเลิกพระราชบัญญัติมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ.2540 และได้บัญญัติความผิดฐานค้ามนุษย์ขึ้นมาเป็นครั้งแรกในประเทศไทยให้สอดคล้อง กับพิธีสารดังกล่าวในวรรคก่อน ในมาตรา 6 บัญญัติความผิดฐานค้ามนุษย์ไว้ดังนี้
                (1) เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจากและส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งบุคคลใด โดยข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้อำนาจโดยมิชอบ   หรือโดยให้เงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลบุคคลนั้น เพื่อให้ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลให้ความยินยอมแก่ผู้กระทำความผิดในการแสวงหาประโยชน์จากบุคคลที่ ตนดูแลหรือ
                (2) เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจาก หรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ ซึ่งเด็กผู้นั้นกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์
                และมาตรา 4 ให้นิยามของ “แสวง หาประโยชน์โดยมิชอบ” หมายความว่าการแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก การแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การเอาคนลงเป็นทาส การนำคนมาขอทาน การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ การบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า หรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
                “การ บังคับใช้แรงงานหรือบริการ” หมายความว่า การข่มขืนใจให้ทำงานหรือให้บริการ โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของบุคคลนั้นเอง หรือของผู้อื่น โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยทำให้บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้
                นอกจากนี้ ก็มีความผิดตามความหมายการค้ามนุษย์ อยู่ในกฎหมายอื่นๆ เช่น ประมวลกฎหมายอาญาหมวดความผิดเกี่ยวกับเพศและเสรีภาพ, พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 เป็นต้น

4. บทวิเคราะห์
                การที่แรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านของประเทศไทย ได้รับการนำพา ชักพาโดยนายหน้าเก็บเงินค่าพาหลบหนีข้ามชายแดนเข้ามาคนละหลายพันบาท แล้วนายหน้าจะพาแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายเหล่านี้ไปส่งต่อ ให้นายทุนเจ้าของโรงงานหลายๆทอด กว่าจะถึงจุดหมายปลายทางที่นายทุนต้องการแรงงานราคาถูกหลบเลี่ยงข้อบังคับ กฎหมายสวัสดิการแรงงาน อันเป็นการลดต้นทุนการผลิตสินค้าโดยใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายราคาถูก แม้เหยื่อแรงงานต่างด้าวจะเต็มใจจ่ายค่านายหน้าให้พาหนีข้ามชายแดนมาฝั่งไทย แต่สาเหตุเนื่องจากเหยื่อหลงเชื่อการหลอกลวงของนายหน้าค้ามนุษย์ที่ต้องการ แสวงประโยชน์ ทั้งค่าพาหนีข้ามชายแดนมาฝั่งไทยและเงินค่าจ้างหาแรงงานต่างด้าวด้วยราคาถูก จากนายทุนโรงงานที่เป็นจุดหมายปลายทาง ซึ่งเหยื่อไม่สามารถเลือกนายจ้างหรือเรียกร้องว่าต้องการไปอยู่หรือทำงานที่ ใดๆ และเหยื่อไม่มีวัตถุประสงค์เพียงให้พาข้ามแดนไปเท่านั้น แต่เพราะเหยื่อหลงเชื่อคำหลอกลวงของนายหน้าขบวนการค้ามนุษย์ที่หลอกว่าจะพา ไปแสวงหาที่ทำงานที่ดีมีค่าจ้างสูง กินอิ่มนอนหลับ ไม่ลำบากเหมือนอดตายที่บ้านเกิดของตน เหยื่อถูกอุบายหลอกล่อ ชักจูงโน้มน้าวจึงขวนขวายหาเงินจ่ายค่านายหน้าและเหยื่อตกเป็นทาสแรงงานมีคน ดูแลบังคับให้อยู่หลบๆ ซ่อนๆ หนีเอื้อมมือกฎหมายไทย ได้รับค่าจ้างรายวันราคาต่ำๆ กินอยู่แร้นแค้นลำบาก ถอยหลังไปไม่ได้แล้ว จนต้องออกขโมยผลไม้ชาวบ้านที่อยู่รายรอบโรงงานผลิตปลากระป๋องดังกล่าว จนชาวบ้านเดือดร้อนไปร้องเรียนแจ้งความตำรวจให้มาจับกุมเป็นคดีนี้
                พิจารณาแล้วเห็นว่า แรงงานต่างด้าวตกเป็นเหยื่อของนายหน้าขบวนการค้ามนุษย์ที่หาคนงานราคาถูกจาก ประเทศเพื่อนบ้าน โดยแนะนำชักชวนใช้อุบายหลอกลวง มุ่งหวังแสวงหาประโยชน์จากเหยื่อแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย ต้องหลบหนีเงื้อมมือกฎหมายไทยและรับค่าจ้างแรงงานราคาถูกหมดทางเลือก ต้องตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์กลายเป็นสินค้ามีชีวิตที่ถูกส่งผ่าน หรือถูกขายจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง โดยเหยื่อไม่มีอำนาจอิสระในการตัดสินใจ เลือก หรือต่อรองเรื่องใดๆทั้งสิ้น ซึ่งแตกต่างกับการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน ที่ผู้ประสงค์จ่ายค่าตอบแทนเพื่อให้เดินทางข้ามชายแดนตามประสงค์ของผู้เดิน ทางเอง ตัดสินใจเอง หรือจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใดๆ ก็ได้ ทั้งนี้ผู้รับจ้างจะมีอำนาจเด็ดขาดในการควบคุมสถานการณ์เฉพาะในช่วงพาข้าม ชายแดนเท่านั้นเพื่อบริการตามที่ผู้ประสงค์จ่ายค่าจ้างให้ผู้รับจ้างพาข้าม ชายแดน ซึ่งสมประสงค์ตามการตัดสินใจของผู้ประสงค์จะข้ามชายแดนเอง และเมื่อผู้รับจ้างพาผู้ประสงค์เดินทางมาถึงที่หมายปลายทางตามที่ตกลงกันไว้ แล้ว ทั้งสองฝ่ายก็ไม่มีพันธะผูกพันใดๆ ต่อกันอีกต่อไป

บรรณานุกรม
(1) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย , http://thai.tourismthailand.org/destination – guild/rayong – 21 – 1 – 1.html
(2) เอกสารประกอบการประชุม “ผังเมืองแกลงจังหวัดระยอง (ปรับปรุงครั้งที่ 2) หน้าที่ 1 – 8     จัดเมื่อวันที่   27 เมษายน 2552”
(3) หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2552, หัวข้อเรื่อง “ปดส.รวบแรงงานเถื่อนในโรงงานผลิตปลากระป๋อง”, จาก http ://www.notfersale.in.th, วันที่ 3 มิถุนายน 2552
(4) เอกสารทางกฎหมายเรื่อง การค้ามนุษย์และการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน ของศูนย์ต่อต้านการค้ามนุษย์ระหว่างประเทศ (ศตม.) สำนักงานอัยการสูงสุด , กทม.
(5) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการจังหวัดระยอง
ถ.สุขุมวิท ต.เนินพระ อ.เมืองระยอง จ.ระยอง 21000
โทรศัพท์ : 038-611048, 622913
โทรสาร : 038-622913 ต่อ 1777
อีเมล์ : rayong@ago.go.th