การปรับปรุงอาคารสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตราด

เกี่ยวกับสำนักงาน

อำนาจและหน้าที่ตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 23

          กำหนดให้สำนักงานอัยการสูงสุดนอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชาการเพื่อสนับสนุน และอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด

           1. ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
           2. ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
           3. ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
           4. ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
           5. ดำเนินการตามที่รัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
           6.  ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ
           7. ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
           8. ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
           9. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
           ในการตรวจร่างสัญญาตาม (2) และ (3) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้ สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (2) หรือนิติบุคคลตาม (3) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 14 มีดังนี้

           1. อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
           2.ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
           3. ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโคตุลาการทั้งปวงกับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
           4. ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดีหรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
           5. ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (3) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นเป็นคู่กรณีและมิใช่กรณีที่พิพาทกับรัฐบาลหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
           6. ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
           7. ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
           8. ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
           9. อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
           10. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
           11. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่สำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
           ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตาร 14 (3) (4) และ (5) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำโดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
           พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.

เขตอำนาจการดำเนินคดี

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตราด มีเขตอำนาจตามเขตอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตราด ในการดำเนินคดีเด็กและเยาวชน โดยมีเขตอำนาจครอบคลุมพื้นที่จังหวัดตราด ๗ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองตราด อำเภอคลองใหญ่ อำเภอเขาสมิง อำเภอบ่อไร่ อำเภอแหลมงอบ อำเภอเกาะช้าง และอำเภอเกาะกูด มีสถานีตำรวจในความรับผิดชอบตามเขตอำนาจการสอบสวน รวม ๑๒ แห่ง ได้แก่

เขตอำนาจการปกครองเขตอำนาจการสอบสวน
๑. อำเภอเมืองตราด๑. สถานีตำรวจภูธรเมืองตราด
๒. สถานีตำรวจภูธรบ้านท่าเลื่อน
๓. สถานีตำรวจภูธรอ่าวช่อ
๒. อำเภอคลองใหญ่๔. สถานีตำรวจภูธรคลองใหญ่
๕. สถานีตำรวจภูธรไม้รูด
๓. อำเภอเขาสมิง๖. สถานีตำรวจภูธรเขาสมิง
๔. อำเภอบ่อไร่๗. สถานีตำรวจภูธรบ่อไร่
๘. สถานีตำรวจภูธรด่านชุมพล
๙. สถานีตำรวจภูธรหนองบอน
๕. อำเภอแหลมงอบ๑๐. สถานีตำรวจภูธรแหลมงอบ
๖. อำเภอเกาะช้าง๑๑. สถานีตำรวจภูธรเกาะช้าง
๗. อำเภอเกาะกูด๑๒. สถานีตำรวจภูธรเกาะกูด

วิสัยทัศน์

“เป็นองค์กรแห่งความยุติธรรมของสังคมเพื่อความมั่นคงของชาติและความผาสุกของประชาชน”

พันธกิจ
  1. อำนวยความยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส พึ่งพิงได้บนพื้นฐานของความเสมอภาค
  2. รักษาผลประโยชน์ของรัฐ เพื่อประโยชน์สาธารณะและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
  3. รับรู้ ดูแล แก้ปัญหาในการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และเป็นที่พึ่งของประชาชนในด้านกฎหมาย
  4. พัฒนาศักยภาพองค์กรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกบนฐานความเชี่ยวชาญ
ค่านิยมร่วม “PUBLIC”
  • P : People First      ประชาชนมาที่หนึ่ง
  • U : Uprightness      เป็นที่พึ่งความยุติธรรม
  • B : Betterment      คิดและทำเพื่อพัฒนา
  • L : Lawfulness      รักษากฎหมายด้วยเหตุผล
  • I : Integrity      ประพฤติตนซื่อสัตย์และโปร่งใส
  • C : Collaboration      ร่วมมือร่วมใจสู่เป้าหมาย
โครงสร้าง (Structure)

ข้าราชการอัยการ

นายทวีชัย สิริวัฒน์กุล
อัยการจังหวัดคดีเยาวชนฯ

นายสุรชัย ดีสุขแสง
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

นายธนพันธ์ พานทอง
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

ข้าราชการธุรการ

นางมาริสา วาสุกรี
เจ้าพนักงานธุรการอาวุโส

นายชินโชติ วสุวัต
นิติกรชำนาญการ

นางสรียา บินลอย
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นางสาวรุจีรา เจริญสุข
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

จ้างเหมาบริการ

นายพรศักดิ์ ทศทิศ
พนักงานขับรถยนต์

นางสาวยุพิน หอยสังข์
นักการภารโรง

ทำเนียบผู้บริหาร

นายโอฬาร เกษตรสาระ 
4 เม.ย. 2548 – 31 มี.ค. 2550

นางจารุวัณณ์ เวชสุวรรณรักษ์
1 เม.ย. 2550 – 31 มี.ค. 2551

 นายสุรศักดิ์ ปรานศิลป์
 1 เม.ย. 2551- 31 มี.ค. 2553

นายสรรพสิทธิ์ เบญจาทิกุล
1 เม.ย. 2553 – 31 มี.ค. 2554

นายกิตติ  เรืองรัตนตรัย
1 เม.ย. 2554 – 31 มี.ค. 2556

นางสาวนันทวรรณ  ธนาวณิช 
1 เม.ย. 2556 – 31 มี.ค. 2557

นายวิชาญ ฤทธิกุล
1 เม.ย. 2557 – 31  มี.ค. 2559

นายสุวิทย์  เทพรินทร์
1 เม.ย. 2559 – 2 เม.ย. 2560

นายสุกรี  เกษอมรวัฒนา
3 เม.ย. 2560 – 1 เม.ย. 2561

นายสมคะเน  แสงทอง
2 เม.ย. 2561 – 31  มี.ค. 2562

นายสุทัศน์  วัฒนกูล
1 เม.ย. 2562 – 31  มี.ค.2563

ว่าที่ร้อยตรี สมคิด  ตุ้มวารี
1 เม.ย. 2563 – 31 มี.ค. 2564

นายพินิจ  นิติวิทยาเทพ
1 เม.ย. 2564 – 31 มี.ค. 2565

นายสุทน สุขเม่า
1 เม.ย. 2565 – 31 มี.ค. 2566

นายพิศาล ปัสนานนท์
1 เม.ย. 2566 – 31 มี.ค. 2567

นายทวีชัย สิริวัฒน์กุล
1 เม.ย. 2566 – 31 มี.ค. 2567

 

ติดต่อหน่วยงาน

อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตราด
ที่ตั้ง 329/10 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดตราด 23000
โทรศัพท์ 0-3951-1744 โทรสาร 0-3951-1711

พบเห็นเจ้าหน้าที่ทุจริตสามารถร้องเรียนและแจ้งเบาะแสการทุจริตได้ที่

1.   อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตราด  สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตราด
โทร. 0-3951-1711, 0-3951-1744       E-mail : trat-ju@ago.go.th

2.   สำนักงานคณะกรรมการอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ฯ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทร.0 2143 9523 โทรสาร 0-2143-9520       E-mail : Cmiss@ago.go.th