ข่าวประชาสัมพันธ์

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา

                  สำนัก งานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด มีชื่อย่อว่า สคช. เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด  มีอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี เป็นหัวหน้าหน่วยงาน ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๗ ตามประกาศคณะกรรมการอัยการ  เรื่อง  การแบ่งหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการ สูงสุด(ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ.๒๕๕๖ ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๖ เดิมชื่อว่า สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน  ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๒๕ ปัจจุบันในส่วนภูมิภาคมีสำนักงาน สคช.ประจำจังหวัด ๗๕ แห่ง และมี สคช.จังหวัดสาขา จำนวน ๓๐ แห่ง

การให้บริการ
                    ๑.งานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน
                    ๒.งานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายด้านอรรถคดีแก่ประชาชน
                    ๓.งานไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาท
                    ๔.งานการบังคับคดีของหน่วยงานของรัฐ
                    สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิประชาชน (สคช.) จังหวัดนครปฐมจัดตั้งขึ้นตามคำสั่งกรมอัยการที่๑๗๔/๒๕๒๕ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๒๕ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความ    คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนเพื่อลดปัญหาข้อขัดแย้ง ลดช่องว่างระหว่างประชาชน  ผู้ยากไร้และกำหนดให้ตั้งสำนักงานคุ้มครองสิทธิฯดังกล่าวขึ้น ณ สำนักงานอัยการสูงสุด กรุงเทพมหานคร และที่สำนักงานอัยการทั่วราชอาณาจักรสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้ม ครองสิทธิมนุษยชนการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนการให้ความ ช่วยเหลือทางกฎหมายการเผยแพร่ความรู้ทางด้านสิทธิมนุษยชนและความรู้ทาง กฎหมายแก่ประชาชนศึกษาวิจัยและพัฒนารูปแบบวิธีการและแนวทางปฏิบัติในการ ดำเนินการดังกล่าวสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) มีฐานะเป็นกองในสังกัดราชการบริหารส่วนกลางของสำนักงานอัยการสูงสุด
          ต่อมาวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๖ คณะกรรมการอัยการได้ออกประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงานและการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงาน อัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖ กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการ บังคับคดีจังหวัดขึ้นทุกจังหวัด โดยสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี จังหวัดมีอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (ก)  รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน  การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย การเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนภายในเขต ท้องที่จังหวัดนั้น  ๆ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
          (ข)  รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและการให้ความช่วยเหลือทาง กฎหมายด้านอรรถคดีแก่ประชาชนภายในเขตท้องที่จังหวัดนั้น ๆ รวมถึงการดำเนินคดีทั้งปวงในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงาน อัยการสูงสุดเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายซึ่งอยู่ใน อำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัด ศาลจังหวัดสาขา หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นในศาลจังหวัดแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งว่าด้วยการนั้น
          (ค)  รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอรรถคดี การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย การเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ประชาชนภายใน เขตท้องที่จังหวัดนั้น ๆ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
          (ง)  รับผิดชอบงานศูนย์กลางระบบฐานข้อมูลลูกหนี้ตามคำพิพากษาของหน่วยงานของรัฐ และจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา  งานสำรวจตรวจสอบข้อมูลทรัพย์สินและสถานะของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของหน่วยงาน ของรัฐและจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาและงานการบังคับคดี แพ่ง คดีปกครอง และคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาตามที่ กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูง สุดภายในเขตท้องที่จังหวัดนั้น ๆ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
          (จ)  รับผิดชอบการดำเนินคดีทั้งปวงอันเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง คดีปกครอง และคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาตามที่ กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูง สุดภายในเขตท้องที่จังหวัดนั้น ๆ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
          (ฉ)  ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
          สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด ได้เริ่มให้บริการประชาชนและหน่วยราชการ   อื่น ๆ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน  ๒๕๕๗  พร้อมกันทั่วประเทศ


อำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
๑.การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก
๒.การร้องขอให้ศาลสั่งให้คนวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถ
๓.การร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ที่ไปจากภูมิลำเนา  หรือถิ่นที่อยู่เป็นคนสาบสูญ
๔.การร้องขอให้ศาลตั้งผู้อื่นนอกจากสามีหรือภริยาเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์
๕.การร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ
๖.ยกคดีขึ้นว่ากล่าวปฏิเสธความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
๗.การร้องให้ศาลสั่งถอนอำนาจปกครอง
๘.การร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครอง
๙.การร้องขอให้ศาลถอนผู้ปกครอง
๑๐.การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้รับบุตรบุญธรรม
๑๑.เป็นโจทก์ฟ้องคดีที่กฎหมายห้ามมิให้ราษฎรฟ้อง(คดีอุทลุม) เช่น ห้ามมิให้ฟ้องบุพการี
๑๒.การร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชี กรณีที่มีการเลิกสมาคมและไม่มีผู้ชำระบัญชี

งานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย
                สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครปฐม ได้ประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เพื่อให้บริการด้านคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน

งานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายด้านอรรถคดีแก่ประชาชน
                  สำนัก งานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดชัยภูมิ           จัดทนายความอาสาให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายด้านอรรถคดีเฉพาะคดีแพ่ง แก่ประชาชนที่ยากจนและไม่ได้รับความเป็นธรรม(กรณีประชาชนมีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน)

งานไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาท
                   วิถี ทางที่สามารถแก้ไขความขัดแย้งหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นกับคู่กรณีผู้พิพาท แทนการนำคดีขึ้นสู่ศาลคือการใช้กระบวนการยุติข้อพิพาททางเลือก  ด้วยวิธีการประนอมข้อพิพาทนอกศาล  โดยใช้
๑.คณะกรรมการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทหมู่บ้าน
๒.คณะ กรรมการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทตามกฎกระทรวงว่าด้วยการดำเนินการไกล่ เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่ง พ.ศ.๒๕๕๓ (ระดับอำเภอหรือจังหวัด)
สำนัก งานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดชัยภูมิ ช่วยไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทแก่คู่กรณีผู้พิพาททั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา และจัดอบรมให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่คณะกรรมการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท ทั้งในระดับหมู่บ้าน ระดับอำเภอ และจังหวัด

งานบังคับคดีของหน่วยงานของรัฐสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดชัยภูมิ รับผิดชอบ ดังนี้
๑.งานศูนย์กลางระบบฐานข้อมูลลูกหนี้ตามคำพิพากษาของหน่วยงานของรัฐและจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์ใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา
๒.งานสำรวจตรวจข้อมูลทรัพย์สินและสถานะของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของหน่วยงานของรัฐและจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา
๓.งาน การบังคับคดีแพ่ง คดีปกครอง และคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงาน อัยการสูงสุด
๔.การ ดำเนินคดีทั้งปวง อันเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง คดีปกครองและคดีอาญา เฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา  ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงาน อัยการสูงสุด

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร

 นายเล็ก หอมลมัย
อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย
และการบังคับคดีจังหวัดชัยภูมิ
นายกำรัฐ ศรีโชติ
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
นายภราดร จรดำ
รองอัยการจังหวัด
นางยุวดี ปิตะบุตร

นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการ
สำนักอำนวยการ
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดชัยภูมิ
นางสาวศรีสุดา มงคลพันธ์ 
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
นายอนิรุธ วุ้นชีลอง
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
นางสาวอลิษา นุชพิเรนทร์
นิติกรชำนาญการ

นายภาณุพัฒน์ เยี่ยมอ่อน
  นิติกรปฏิบัติการ   
นางสาวอภิรักษ์ พิมพ์ศร
นิติกร

นายสุรัยันต์ ศรีธรณ์
พนักงานขับรถยนต์
นางสาวสุภารัตน์  ประภาสโนบล   
   ทนายความอาสา    
นายวีระศักดิ์  แดงสกุล  
 ทนายความอาสา  

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิ์และช่วยทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดชัยภูมิ
โทรศัพท์ 044-811877 โทรสาร  044-811877
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิ์และช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดชัยภูมิ สาขาภูเขียว
โทรศัพท์ 044-862100