ข่าวประชาสัมพันธ์

การรับการตรวจราชการอัยการ ท่านจิระศักดิ์ ปาลีคุปต์ ผู้ตรวจการอัยการและคณะท่านธัญนิตย์ เศรษฐบุตร อธิบดีอัยการภาค 3 และคณะ ที่เดินทางมาตรวจราชการกรณีปกติ ครั้งที่ 1/2565 ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 เวลา 08.30 – 12.00 น.

สำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดม โดยนายรุ่งโรจน์ เที่ยงนิล อัยการจังหวัดเดชอุดม และคณะบุคลากรข้าราชการฝ่ายอัยการที่ปฏิบัติราชการ ณ อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดม จำนวน ๓ สำนักงาน ร่วมกันต้อนรับท่านผู้ตรวจการอัยการ ท่านจิระศักดิ์ ปาลีคุปต์และคณะ ท่านอธิบดีอัยการภาค 3 ท่านธัญนิตย์ เศรษฐบุตรและคณะ ที่เดินทางมาตรวจราชการกรณีปกติ ครั้งที่ 1/2565 ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 เพื่อตรวจเยี่ยมถ่ายทอดนโยบายของสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมทั้งสอบถามข้อปัญหา อุปสรรคและข้อหารือต่างๆ และรับฟังการนำเสนอผลงานของสำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดม สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิฯจ.อุบลฯ สาขาเดชอุดม และกลุ่มเครือข่ายภาคประชาชนสำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดมได้เข้าร่วมประชุมเพื่อแนะนำตัวในครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้ท่านผู้ตรวจการอัยการได้กล่าวคำชื่นชมท่านอัยการจังหวัดเดชอุดมและบุคลากรข้าราชการฝ่ายอัยการทุกคนทั้ง 3 สำนักงาน ที่ร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถ มีความรัก ความสามัคคี เอื้ออารีต่อกันซึ่งเป็นบรรยากาศที่อบอุ่นมาก และท่านผู้ตรวจการอัยการได้กรุณาลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมความเป็นอยู่ ดูความเรียบร้อยของอาคารสำนักงาน บ้านพักข้าราชการฝ่ายอัยการเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้ข้าราชการฝ่ายอัยการทั้ง 3 สำนักงาน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม -> https://www1.ago.go.th/region3/wp-content/uploads/2022/08/detudom-05-07-2022.pdf

การรับการตรวจราชการอัยการ สำนักงานอัยการภาค 3 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565(กรณีปกติ) ช่วงที่ 4 เมื่อวันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2565 เวลา 08.30 – 12.00 น. โดยมีท่านธัญญนิตย์ เศรษฐบุตร อธิบดีอัยการภาค 3 และคณะ

ท่านอธิบดีอัยการภาค 3  ท่านธัญญนิตย์ เศรษฐบุตร ได้กล่าวถึงนโยบายของสำนักงานอัยการสูงสุด  และการปฏิบัติตามตัวชี้วัดประจำปี 2565  เพื่อให้สำนักงานอัยการเดชอุดมทราบและเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ โดยท่านได้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อสำนักอัยการภาค 3 จะได้รวบรวมปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะต่าง ๆ  เสนอให้สำนักงานอัยการสูงสุดทราบต่อไป พร้อมนี้ท่านอธิบดีอัยการภาค 3 ได้มอบแนวนโยบายในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับสำนวนคดีอาญา โดยมุ่งเน้นความสำคัญในส่วนของการรายงานคดีสำคัญ คดีร้องขอความเป็นธรรม การให้บริการประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียด้วยความเป็นธรรม โดยกำชับให้พนักงานอัยการ และข้าราชการผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องปฏิบัติงานด้วยความละเอียดรอบคอบ เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ปฏิบัติของสำนักงานอัยการสูงสุดอย่างเคร่งครัด

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม -> https://www1.ago.go.th/region3/wp-content/uploads/2022/08/detudom-25-03-2022.pdf

นางสาวภัททิยา หมทอง ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ สำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดม เข้ารับมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณพร้อมเข็มกลัดทองคำตราสัญลักษณ์สำนักงานอัยการสูงสุด เนื่องจากได้รับคัดเลือกให้เป็นบุคลากรดีเด่นด้านคุณธรรมของสำนักงานอัยการสูงสุด ประจำปี 2564

วันที่ 14 มกราคม 2565 นางสาวภัททิยา หมทอง ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ สำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดม เข้ารับมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณพร้อมเข็มกลัดทองคำตราสัญลักษณ์สำนักงานอัยการสูงสุด เนื่องจากได้รับคัดเลือกให้เป็นบุคลากรดีเด่นด้านคุณธรรมของสำนักงานอัยการสูงสุด ประจำปี 2564 จาก นายสิงห์ชัย ทนินช้อน อัยการสูงสุด ณ ห้องรับรอง ชั้น 9 สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

นายทรงวิทย์ อนันตธนวิทย์ อัยการจังหวัดเดชอุดม และคณะพนักงานอัยการ จัดกิจกรรมแบ่งปันความสุขแก่หน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้ร่วมปฏิบัติงานกันมาตลอดปี 2564 และได้มอบกระเช้าสวัสดีปีใหม่ 2565 ท่านรุ่งทิพย์ เจริญพงศ์อนันต์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเดชอุดม เพื่อสร

วันที่ 5 มกราคม 2565 นายทรงวิทย์ อนันตธนวิทย์ อัยการจังหวัดเดชอุดม และคณะพนักงานอัยการ จัดกิจกรรมแบ่งปันความสุขแก่หน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้ร่วมปฏิบัติงานกันมาตลอดปี 2564 และได้มอบกระเช้าสวัสดีปีใหม่ 2565 ท่านรุ่งทิพย์ เจริญพงศ์อนันต์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเดชอุดม เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน

นางสาวภัททิยา หมทอง ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ สำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดม นำคณะเจ้าหน้าที่สวัสดีปีใหม่ 2565 และขอพรจากผู้บังคับบัญชาภายในสำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดม

วันที่ 3 มกราคม 2565 นางสาวภัททิยา หมทอง ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ สำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดม นำคณะเจ้าหน้าที่สวัสดีปีใหม่ 2565 และขอพรจากผู้บังคับบัญชาภายในสำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดม

นายทรงวิทย์ อนันตธนวิทย์ อัยการจังหวัดเดชอุดม และคณะพนักงานอัยการ ร่วมมอบกระเช้าสวัสดีปีใหม่ 2565 แก่ผู้บังคับบัญชา ณ สำนักงานอัยการภาค 3 และสำนักงานอัยการในจังหวัดอุบลราชธานี

วันที่ 30 ธันวาคม 2564 นายทรงวิทย์ อนันตธนวิทย์ อัยการจังหวัดเดชอุดม และคณะพนักงานอัยการ ร่วมมอบกระเช้าสวัสดีปีใหม่ 2565 แก่ผู้บังคับบัญชา ณ สำนักงานอัยการภาค 3 และสำนักงานอัยการในจังหวัดอุบลราชธานี

นายทรงวิทย์ อนันตธนวิทย์ อัยการจังหวัดเดชอุดม และบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดม ร่วมกันจัดกิจกรรมทำบุญตักบาตรเนื่องในโอกาสร่วมส่งท้ายปีเก่า 2564 เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดม

วันที่ 23 ธันวาคม 2564 นายทรงวิทย์ อนันตธนวิทย์ อัยการจังหวัดเดชอุดม และบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดม ร่วมกันจัดกิจกรรมทำบุญตักบาตรเนื่องในโอกาสร่วมส่งท้ายปีเก่า 2564 เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดม

นายทรงวิทย์ อนันตธนวิทย์ อัยการจังหวัดเดชอุดม และบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดม ร่วมต้อนรับและแสดงความยินดีกับนายกิตติพงศ์ ศุภอักษร นิติกรชำนาญการพิเศษ ในโอกาสย้ายมารับราชการ ณ สำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดม

วันที่ 13 ธันวาคม 2564 นายทรงวิทย์ อนันตธนวิทย์ อัยการจังหวัดเดชอุดม และบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดม ร่วมต้อนรับและแสดงความยินดีกับนายกิตติพงศ์ ศุภอักษร นิติกรชำนาญการพิเศษ ในโอกาสย้ายมารับราชการ ณ สำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดม

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติสำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดม

สำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดมเดิมเปิดทำการในนาม “สำนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานีสาขาเดชอุดม” เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ ประชาชนในพื้นที่ห่างไกล โดยมีพนักงานอัยการและข้าราชการจาก สำนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานีหมุนเวียนกันมาปฏิบัติหน้าที่ต่อมา ในว้นที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๕ มีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดทำการศาลจังหวัดเดชอุดม ในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๕ สำนักงานอัยการสูงสุดจึงมีคำสั่งให้สำนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานี สาขาเดชอุดมเปิดทำการในนาม “สำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดม” เพื่อรองรับอรรถคดีต่าง ๆในเขตอำนาจศาลจังหวัดเดชอุดม โดยมี นายชาตรี ศรีวิเศษ  ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดประจำศาลจังหวัดเดชอุดม  ต่อมาสำนักงานอัยการสูงสุด ได้มีการแบ่งส่วนราชการใหม่จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก “สำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดเดชอุดม” เป็น”สำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดม”โดยใช้อาคารของกองกำกับการตำรวจภูธร เขต ๔ อุบลราชธานี เป็นอาคารสำนักงานที่ทำการชั่วคราว

      เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๗ สำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดมได้รับจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดม และบ้านพักข้าราชการอัยการและพนักงานเจ้าหน้าที่ วงเงิน ๙๔,๖๘๑,๐๐๐ บาท และได้ทำการก่อสร้างเรื่อยมา
      ในระหว่างปี พ.ศ.๒๕๖๑ – พ.ศ.๒๕๖๓ ขณะ นายวิเชียร พัชรธรรมพันธ์ุ ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดเดชอุดม ได้ร่วมควบคุมการก่อสร้างจนแล้วเสร็จจึงได้ย้ายสำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดมมาใช้อาคารหลังปัจจุบันนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๒ เป็นต้นมา

โดย นายวิเชียร  พัชรธรรมพันธุ์ อัยการจังหวัดเดชอุดม เป็นประธานดำเนินการสร้างศาลท่านท้าวมหาพรหมเมืองเดชอุดม โดยได้รับอนุญาตจาก อัยการสูงสุด ประดิษฐานบริเวณด้านหน้าอาคารสำนักงานเป็นศาลพระพรหม ประจำเมืองเดชอุดม โดยร่วมกับข้าราชการอัยการ พนักงานเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการ คหบดี พ่อค้า ประชาชนทุกภาคส่วนจนแล้วเสร็จปีเดียวกันและประกอบพิธีบวงสรวงในวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๓

สถานีตำรวจที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานอัยการ จังหวัดเดชอุดม

  •           ๑.) สถานีตำรวจภูธรเดชอุดม
  •           ๒.) สถานีตำรวจภูธรนาจะหลวย
  •           ๓.) สถานีตำรวจภูธรน้ำยืน
  •           ๔.) สถานีตำรวจภูธรบุณฑริก
  •           ๕.) สถานีตำรวจภูธรทุ่งศรีอุดม
  •           ๖.) สถานีตำรวจภูธรนาเยีย
  •           ๗.) สถานีตำรวจภูธรน้ำขุ่น
  •           ๘.) สถานีตำรวจภูธรห้วยข่า
  •           ๙.) สถานีตำรวจภูธรนาโพธิ์

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดมีดังนี้

     (มาตรา ๒๓) สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชาการ

     เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 

          (๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครอง

                ป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน 

          (๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ 

          (๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงาน

                ของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร

          (๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ

                ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้ 

          (๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่

                หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ

          (๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้ารการฝ่ายอัยการ

          (๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม

                การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน

          (๘) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ใน

                อำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด

          (๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ

                หรือสำนักงานอัยการสูงสุด 

        ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ

  ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือ หน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคล

  ตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือ

  ข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ


อำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุดมีดังนี้

          (มาตรา ๒๗)  ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

          (๑) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดให้เกิดผลสัมฤทธิ์

               และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด

          (๒) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงาน

               อัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ

          (๓) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสุดของสำนักงานอัยการสูงสุด

 
              ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุง หรือข้าราชการ

   ฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้ให้อัยการสูงสุดโอยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบ

   เกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด 

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการมีดังนี้

          มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          

          (๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ

          (๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่น

                ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ

          (๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐ

                ที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือ

                ในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติ

                ว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ

          (๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตาม

                หน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนี่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตาม

                คำสั่งของเจ้าที่ของรัฐ ซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่

                ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้

          (๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงาน

                ของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติ

                ด้วยกันเองเมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้

          (๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจ

                เป็นโจทก์ได้

          (๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สิน

                ใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาก ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ

          (๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมาย

                วิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น

                ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ

          (๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย

                หรือมติคณะรัฐมนตรี

          (๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ

          (๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับ

                 มอบหมายจากอัยการสูงสุด


          ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่ง

   เรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้น

   ไม่ยินยอมไม่ได้. 

          พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบ

   ที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.


:: กฎหมายองค์กรอัยการตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550

วิสัยทัศน์ (Vision)

“เป็นองค์กรแห่งความยุติธรรมของสังคมเพื่อความมั่นคงของชาติและความผาสุกของประชาชน”

พันธกิจ (Missions)
  1. อำนวยความยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส พึ่งพิงได้บนพื้นฐานของความเสมอภาค
  2. รักษาผลประโยชน์ของรัฐ เพื่อประโยชน์สาธารณะและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
  3. รับรู้ ดูแล แก้ปัญหาในการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และเป็นที่พึ่งของประชาชนในด้านกฎหมาย
  4. พัฒนาศักยภาพองค์กรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกบนฐานความเชี่ยวชาญ
โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร

นายปพน ศรศิริ
อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการภาค 4
ช่วยราชการสำนักงานอัยการภาค 3 รักษาการในตำแหน่ง
อัยการจังหวัดเดชอุดม

นายกิตติพงค์ พิมพา
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
(ผู้กลั่นกรองงาน)

นายมะลัยทอง ชาติมนตรี
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
(ผู้กลั่นกรองงาน)

นายเสรี สีหลิ่ง
รองอัยการจังหวัด

นายนุประการ จันแปงเงิน
รองอัยการจังหวัด

นายชัชตะวัน อัมพร
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นายสมพร เสมอสุข
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นายชนะชัย อ๊อดทรัพย์
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นางสาวนัชฑมณ  ภมรภูวนนต์
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นายบุญจิตติ เสงี่ยมงาม
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นางสาวภัททิยา หมทอง
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

นายกิตติพงศ์ ศุภอักษร
นิติกรชำนาญการพิเศษ

นายชาญชัย คำพันชนะ
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นายปรเมษ ทาทอง
นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ

นายสุวิช แก้วกาญจน์
เจ้าพนักงานธุรการชำนานงาน

นางสาวศิริพร ทาทอง
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวสุดาภรณ์ ดีสี
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นายธนินทร์ ภูวานคำ
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวอรวรรณ สุรเดช
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวเขมณัชชา วงษ์โท
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวอมรพันธ์ หาญธงไชย
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นางกัญจน์อมล ยาดี
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นางสาวอุบลวรรณ เชื้อแก้ว
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

นางสาวแววตา จันทร์ทอง
เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล

นายอาทิตย์ ทางาม
พนักงานขับรถ

นางสาวยุพิน เนตรสุวรรณ
แม่บ้าน

นายนิกร บุญเทียม
คนสวน

สถิติคดี

เอกสารเผยแพร่

แบบฟอร์มสัญญาทั่วไป
หลักกฎหมายน่ารู้

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดม
979 หมู่ 19 ถนนสถลมาร์ค ตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี 34160
โทรศัพท์ 045-959995 โทรสาร 045-959996

ผู้ดูแลระบบ นายชาญชัย  คำพันชนะ
ตำแหน่ง นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
โทร. 0804655782
E-mail : detudom@ago.go.th