ข่าวประชาสัมพันธ์

ขอความร่วมมือตัวความส่งสำนวนคดีปกครอง
ปัญหาการรับสำนวนกับตัวความ

กรณีว่าต่างคดี
– ให้ระบุวันครบอายุความคดี (วันขาดอายุความ) มาในหนังสือนำส่งด้วย
– คดีอนุญาโตตุลาการให้ระบุวันที่หน่วยงานรับสำนวนมาในหนังสือนำส่ง เพื่อป้องกันการขาดอายุความ

กรณีแก้ต่าง
-ตัวความหากส่งสำนวนในวันที่ 28 – 31 ของเดือน นิติกรผู้รับสำนวนจะตรวจในเบื้องต้นเมื่อเอกสารครบจะรับสำนวนคดีไว้ แต่พนักงานอัยการอาจมีความเห็นไม่ทันภายในเดือนที่รับสำนวนได้ จะเป็นสำนวนค้างภายในเดือนนั้น

– สำนวนคดีที่ส่งมา ตัวความได้ขอขยายการยื่นคำให้การไว้แล้ว แต่หากส่งสำนวนให้พนักงานอัยการ เมื่อจะครบกำหนดวันที่ศาลอนุญาตให้ขยาย น้อยกว่า 5 วัน เห็นควรให้ตัวความยื่นขอขยายไว้ก่อน แล้วจึงส่งสำนวนให้พนักงานอัยการพิจารณา

– หากนิติกรตรวจสอบพบว่ายังขาดเอกสารหลักฐานสำคัญไม่ครบถ้วน ตัวความยืนยันจะขอส่งสำนวนและจะส่งเอกสารเพิ่มเติมมาให้ภายหลัง อาจเป็นปัญหาให้พนักงานอัยการไม่สามารถมี

คำสั่งในคดีดังกล่าวได้ ต้องรอเอกสารดังกล่าว จะทำให้เป็นสำนวนค้างอยู่ระหว่างพิจารณาของพนักงานอัยการเจ้าของสำนวน ควรให้ตัวความหรือผู้ส่งสำนวนรับสำนวนนั้นกลับไปแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน แต่หากตัวความหรือผู้ส่งสำนวนไม่ยอมรับกลับไปและอ้างว่าผู้บังคับบัญชา ลงนามในหนังสือส่งสำนวนแล้ว ควรให้นิติกรผู้รับสำนวนหรือพนักงานอัยการให้ตัวความหรือผู้ส่งสำนวนประสานผู้บังคับบัญชาเพื่อแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่อาจรับสำนวนไว้พิจารณาได้

กิจกรรมเนื่องในว้นคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2566
สำนักงานคดีปกครองนครราชสีมา สำนักงานอัยการสูงสุด

วันที่ 5 ธันวาคม 2566 เวลาประมาณ 06.00 น. ว่าที่ร้อยตรี ชาญณรงค์ เนื้อนุ่ม อัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองนครราชสีมา 1 พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ณ ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และหอประชุมเปรมติณสูลานนท์ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา

           ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 276 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติให้มีและจัดตั้งศาลปกครอง ซึ่งในปัจจุบันศาลปกครองได้เปิดทำการแล้วปรากฎว่ามีคดีปกครองจำนวนมากที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐมอบอำนาจให้พนักงานอัยการฟ้องคดีหรือดำเนินคดีปกครองแทนกอปรกับระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยองค์คณะการจ่ายสำนวนการโอนคืน การปฏิบัติหน้าที่ของตุลาการในคดีปกครอง การคัดค้านตุลาการศาลปกครอง การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานคดีปกครอง และการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีปกครองแทน พ.ศ. 2544 ข้อ 20 กำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมอบอำนาจให้พนักงานอัยการฟ้องคดีหรือดำเนินคดีปกครองแทนได้
            ดังนั้น สำนักงานอัยการสูงสุดจึงได้จัดให้มีพนักงานอัยการไว้ปฏิบัติราชการดำเนินคดีแทนหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวเป็นการเฉพาะโดยได้มีคำสั่งที่ 214/2544 แก้ไขเพิ่มเติมการจัดระเบียบบริหารราชการและแบ่งส่วนราชการภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อจัดตั้งสำนักงานคดีปกครองให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองขึ้นแล้วโดยที่มีการจัดตั้งศาลปกครองชั้นต้นในกรุงเทพมหานครและในภูมิภาคตามความในมาตรา 7 และ มาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542ประกอบกับได้มีประกาศประธานศาลปกครองสูงสุด เรื่องสถานที่ตั้งและวันเปิดทำการของศาลปกครองเชียงใหม่โดยศาลมีเขตอำนาจรับผิดชอบ 5 จังหวัด คือ ่
จังหวัดเชียงใหม จังหวัดเชียงราย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน เปิดทำการตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2544โดยมีอธิบดีศาลปกครองเชียงใหม่ เป็นผู้บังคับบัญชา และจะได้เปิดทำการศาลปกครองในภูมิภาคซึ่งเป็นศาลชั้นต้นอีกหลายแห่งดังนั้น เพื่อจัดให้มีพนักงานอัยการไว้ปฏิบัติราชการดำเนินคดีแทนหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในภูมิภาคเป็นการเฉพาะ จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมการจัดระเบียบบริหารราชการและแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อจัดตั้งสำนักงานคดีปกครองในภูมิภาคให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองภูมิภาค
            อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.2498 และมาตรา 31 วรรคสาม มาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 จึงจัดระเบียบบริหารราชการและแบ่งส่วนราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดเพิ่มเติมขึ้นไว้ดังต่อไปนี้
           ข้อ 1 ให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุดเพิ่มเติมจากคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ 423/2539 เรื่อง การจัดระเบียบบริหารราชการและแบ่งส่วนราชการ -คำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ 313/2540 เรื่องการจัดระเบียบบริหารราชการและการแบ่งส่วนราชการ (ฉบับที่ 2)
-คำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ 442/2540 เรื่องการจัดระเบียบบริหารราชการและการแบ่งส่วนราชการ (ฉบับที่ 3)
-คำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ 143/2542 เรื่องการจัดระเบียบบริหารราชการและการแบ่งส่วนราชการ (ฉบับที่ 4)
-คำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ 214/2544 เรื่องการจัดระเบียบบริหารราชการและการแบ่งส่วนราชการ (ฉบับที่ 5) ดังนี้

(1) สำนักงานคดีปกครองขอนแก่น
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองขอนแก่น 1-2

(2) สำนักงานคดีปกครองชุมพร
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองชุมพร 1-2

(3) สำนักงานคดีปกครองเชียงใหม่
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองเชียงใหม่ 1-2

(4) สำนักงานคดีปกครองนครราชสีมา (เปิดทำการเมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๔)
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองนครราชสีมา 1-2

(5) สำนักงานคดีปกครองนครศรีธรรมราช
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองนครศรีธรรมราช 1-2

(6) สำนักงานคดีปกครองบุรีรัมย์
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองบุรีรัมย์ 1-2

(7) สำนักงานคดีปกครองพิษณุโลก
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองพิษณุโลก 1-2

(8) สำนักงานคดีปกครองแพร่
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองแพร่ 1-2

(9) สำนักงานคดีปกครองยะลา
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองยะลา 1-2

(10) สำนักงานคดีปกครองระยอง
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองพิษณุโลก 1-2

(11) สำนักงานคดีปกครองลพบุรี
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองลพบุรี 1-2

(12) สำนักงานคดีปกครองสกลนคร
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองสกลนคร 1-2

(13) สำนักงานคดีปกครองสงขลา
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองสงขลา 1-2

(14) สำนักงานคดีปกครองสุพรรณบุรี
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองสุพรรณบุรี 1-2

(15) สำนักงานคดีปกครองอุดรธานี
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองอุดรธานี 1-2

(16) สำนักงานคดีปกครองอุบลราชธานี (เปิดทำการเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔)
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองอุบลราชธานี 1-2

ข้อ 2 ให้สำนักงานคดีปกครองตามข้อ 1. มีอำนาจหน้าที่
(ก) รับผิดชอบการดำเนินคดีทั้งปวงตามที่กฎหมายหรือระเบียบกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ข) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมายให้ส่วนราชการในสำนักงานคดีปกครองตามข้อ 1. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป มีอำนาจหน้าที่
1) รับผิดชอบงานธุรการ งานสารบบคดี งานบริหารงานบุคคล งานเลขานุการนักบริหารงานงบประมาณ งานการเงินและบัญชี งานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ พัสดุ และ ยานพาหนะของสำนักงาน
ง2) ปฏิบัติงานร่วมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครอง มีอำนาจหน้าที่
1) รับผิดชอบงานสำนักงานคดีปกครองตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
2) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

อำนาจหน้าที่

         พนักงานอัยการมีหน้าที่รับว่าต่าง แก้ต่างคดีปกครองให้แก่หน่วยงานทางปกครอง  หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองนครราชสีมา   ซึ่งเป็นคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาล กับเอกชน หรือระหว่างหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น  หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชา  หรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ   รัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งนี้ ตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 บัญญัติไว้ กล่าวคือ
        1. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากการกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น  หรือโดยไม่สุจริตหรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม  หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลยพินิจ
        2.คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
        3.คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
        4.คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
        5.คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด
        6.คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง  

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร

ข้าราชการอัยการ

นางสาวรวีวรรณ อัศวกุล
อธิบดีอัยการ
สำนักงานคดีปกครองนครราชสีมา
นางมาเรียม พรรณพงาพันธุ์
รองอธิบดีอัยการ
สำนักงานคดีปกครองนครราชสีมา
ว่าที่ร้อยตรี ชาญณรงค์ เนื้อนุ่ม
อัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองนครราชสีมา 1

นายบัญชา ใจสอาด
อัยการผู้เชี่ยวชาญ

นายพศุุตม์ แวววุฒินันท์
อัยการผู้เชี่ยวชาญ
นายพิทักษ์  บูรพาชีพ
อัยการอาวุโส

นายธำรงศักดิ์  หงษ์ขุนทด
อัยการอาวุโส

ข้าราชการธุรการ

นายณภัทรกฤช  เอียดแก้ว
นิติกรชำนาญการพิเศษ รักษาการ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ สำนักงานคดีปกครองนครราชสีมา

นางพิชญ์สินี จันทร์แดง
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ 
นางสาววรวรรณ  แย้มโคกสูง
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ 
นางสาวทิชากร  บุญชื่น
เจ้าพนักงานคดีชำนาญการ
 นางสาวกฤฏิฎีกา  ทองเพ็ชร
เจ้าพนักงานคดีชำนาญการ
นายธงชัย ตุแก้ว
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นายตุลยวัต  จิรศิริเลิศ
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาววชิราวรรณ  คำจริง
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นายสมนึก จีนสระน้อย
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวชาลินี  คงสตรี
นิติกรปฏิบัติการ
 

นางสาวกชพร สมรฤทธิ์
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นายชัยวัฒน์  รัตนสุวรรณ
พนักงานขับรถยนต์

ทำเนียบผู้บริหาร

รายนามอธิบดีอัยการสำนักงานคดีปกครองนครราชสีมา

ลำดับที่ชื่อ-สกุลระยะเวลา
1.นายบรม ศรีสุข17 ธ.ค. 2544 – 10 พ.ย. 2545
2.นายเรืองนนท์ เรืองวุฒิ11 พ.ย. 2545 – 30 ก.ย. 2546
3.นายภราดร ศรีศุภรางค์กุล  1 ต.ค. 2546 – 30 พ.ย. 2547
4.นายทวีป คนบุญ  1 ธ.ค. 2547 – 31 ต.ค. 2548
5.นายบุญชม จันทรเสนา  1 พ.ย. 2548 – 30 พ.ย. 2548
6.นายไพศาล หิรัญสาลี  1 ธ.ค. 2548 – 15 ต.ค. 2549
7.นายวิชิต แก่นกำจร16 ต.ค. 2549 – 31 ต.ค. 2550
8.นายไชยยงค์ เปรื่องเวทย์  1 พ.ย. 2550 – 30 ก.ย. 2552
9.นายพรศักดิ์ ศรีณรงค์  1 ต.ค. 2552 – 30 ก.ย. 2554
10นายวิชญะ ปุตระเศรณี  1 ต.ค. 2554 – 13 ต.ค. 2556
11นายศิลป์ชัย  คณาวุฒิ14 ต.ค. 2556 – 30 ก.ย. 2558
12นายชาญชัย  โชติเวทธำรง  1 ต.ค. 2558 – 30 ก.ย. 2560
13นายอนันต์  สินธุรักษ์  1 ต.ค. 2560 – 30 ก.ย. 2562
14นายเกียรติประวัติ  เงินเกิด1 ต.ค.2562-30 ก.ย. 2563
15 นางพวงรัตน์  วิเชียรสรรค์1 ต.ค. 2563 – 30 ก.ย.2564
16นายวิโรจน์ ชัชวาลวงศ์1 ต.ค. 2564 – 30 ก.ย.2565
17นายวิเศษ ศิริเดช1 ต.ค.2565 – 30 ก.ย.2566
18นางสาวรวีวรรณ อัศวกุล1 ต.ค.2566 – ปัจจุบัน

สถิติคดี

ติดต่อหน่วยงาน

     สำนักงานคดีปกครองนครราชสีมา
อาคารสำนักงานอัยการภาค ๓  ชั้น ๓
     ถนนราชดำเนิน   ตำบลในเมือง อำเภอเมือง    จังหวัดนครราชสีมา ๓๐๐๐๐
     หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๔๔ – ๒๕ ๓๘๐๘ 
     E-Mail : Korat-admin@ago.go.th