ข่าวประชาสัมพันธ์

เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๔
ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้า ถวายพระพรชัยมงคล ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการฝ่ายอัยการ และบุคคลากร
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากร
สำนักงานคดีปกครองนครราชสีมา สำนักงานอัยการสูงสุด
เกี่ยวกับสำนักงาน
ประวัติความเป็นมา
ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 276 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติให้มีและจัดตั้งศาลปกครอง ซึ่งในปัจจุบันศาลปกครองได้เปิดทำการแล้วปรากฎว่ามีคดีปกครองจำนวนมากที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐมอบอำนาจให้พนักงานอัยการฟ้องคดีหรือดำเนินคดีปกครองแทนกอปรกับระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยองค์คณะการจ่ายสำนวนการโอนคืน การปฏิบัติหน้าที่ของตุลาการในคดีปกครอง การคัดค้านตุลาการศาลปกครอง การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานคดีปกครอง และการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีปกครองแทน พ.ศ. 2544 ข้อ 20 กำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมอบอำนาจให้พนักงานอัยการฟ้องคดีหรือดำเนินคดีปกครองแทนได้
ดังนั้น สำนักงานอัยการสูงสุดจึงได้จัดให้มีพนักงานอัยการไว้ปฏิบัติราชการดำเนินคดีแทนหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวเป็นการเฉพาะโดยได้มีคำสั่งที่ 214/2544 แก้ไขเพิ่มเติมการจัดระเบียบบริหารราชการและแบ่งส่วนราชการภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อจัดตั้งสำนักงานคดีปกครองให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองขึ้นแล้วโดยที่มีการจัดตั้งศาลปกครองชั้นต้นในกรุงเทพมหานครและในภูมิภาคตามความในมาตรา 7 และ มาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542ประกอบกับได้มีประกาศประธานศาลปกครองสูงสุด เรื่องสถานที่ตั้งและวันเปิดทำการของศาลปกครองเชียงใหม่โดยศาลมีเขตอำนาจรับผิดชอบ 5 จังหวัด คือ ่
จังหวัดเชียงใหม จังหวัดเชียงราย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน เปิดทำการตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2544โดยมีอธิบดีศาลปกครองเชียงใหม่ เป็นผู้บังคับบัญชา และจะได้เปิดทำการศาลปกครองในภูมิภาคซึ่งเป็นศาลชั้นต้นอีกหลายแห่งดังนั้น เพื่อจัดให้มีพนักงานอัยการไว้ปฏิบัติราชการดำเนินคดีแทนหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในภูมิภาคเป็นการเฉพาะ จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมการจัดระเบียบบริหารราชการและแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อจัดตั้งสำนักงานคดีปกครองในภูมิภาคให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองภูมิภาค
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.2498 และมาตรา 31 วรรคสาม มาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 จึงจัดระเบียบบริหารราชการและแบ่งส่วนราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดเพิ่มเติมขึ้นไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุดเพิ่มเติมจากคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ 423/2539 เรื่อง การจัดระเบียบบริหารราชการและแบ่งส่วนราชการ -คำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ 313/2540 เรื่องการจัดระเบียบบริหารราชการและการแบ่งส่วนราชการ (ฉบับที่ 2)
-คำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ 442/2540 เรื่องการจัดระเบียบบริหารราชการและการแบ่งส่วนราชการ (ฉบับที่ 3)
-คำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ 143/2542 เรื่องการจัดระเบียบบริหารราชการและการแบ่งส่วนราชการ (ฉบับที่ 4)
-คำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ 214/2544 เรื่องการจัดระเบียบบริหารราชการและการแบ่งส่วนราชการ (ฉบับที่ 5) ดังนี้
(1) สำนักงานคดีปกครองขอนแก่น
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองขอนแก่น 1-2
(2) สำนักงานคดีปกครองชุมพร
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองชุมพร 1-2
(3) สำนักงานคดีปกครองเชียงใหม่
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองเชียงใหม่ 1-2
(4) สำนักงานคดีปกครองนครราชสีมา (เปิดทำการเมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๔)
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองนครราชสีมา 1-2
(5) สำนักงานคดีปกครองนครศรีธรรมราช
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองนครศรีธรรมราช 1-2
(6) สำนักงานคดีปกครองบุรีรัมย์
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองบุรีรัมย์ 1-2
(7) สำนักงานคดีปกครองพิษณุโลก
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองพิษณุโลก 1-2
(8) สำนักงานคดีปกครองแพร่
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองแพร่ 1-2
(9) สำนักงานคดีปกครองยะลา
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองยะลา 1-2
(10) สำนักงานคดีปกครองระยอง
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองพิษณุโลก 1-2
(11) สำนักงานคดีปกครองลพบุรี
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองลพบุรี 1-2
(12) สำนักงานคดีปกครองสกลนคร
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองสกลนคร 1-2
(13) สำนักงานคดีปกครองสงขลา
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองสงขลา 1-2
(14) สำนักงานคดีปกครองสุพรรณบุรี
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองสุพรรณบุรี 1-2
(15) สำนักงานคดีปกครองอุดรธานี
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองอุดรธานี 1-2
(16) สำนักงานคดีปกครองอุบลราชธานี (เปิดทำการเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔)
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองอุบลราชธานี 1-2
ข้อ 2 ให้สำนักงานคดีปกครองตามข้อ 1. มีอำนาจหน้าที่
(ก) รับผิดชอบการดำเนินคดีทั้งปวงตามที่กฎหมายหรือระเบียบกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ข) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมายให้ส่วนราชการในสำนักงานคดีปกครองตามข้อ 1. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป มีอำนาจหน้าที่
1) รับผิดชอบงานธุรการ งานสารบบคดี งานบริหารงานบุคคล งานเลขานุการนักบริหารงานงบประมาณ งานการเงินและบัญชี งานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ พัสดุ และ ยานพาหนะของสำนักงาน
ง2) ปฏิบัติงานร่วมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครอง มีอำนาจหน้าที่
1) รับผิดชอบงานสำนักงานคดีปกครองตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
2) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
อำนาจหน้าที่
พนักงานอัยการมีหน้าที่รับว่าต่าง แก้ต่างคดีปกครองให้แก่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองนครราชสีมา ซึ่งเป็นคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาล กับเอกชน หรือระหว่างหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชา หรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งนี้ ตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 บัญญัติไว้ กล่าวคือ
1. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากการกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริตหรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลยพินิจ
2.คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
3.คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
4.คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
5.คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด
6.คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง
วิสัยทัศน์ (Vision)
“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”
พันธกิจ (Missions)
1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โครงสร้าง (Structure)

วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร
ข้าราชการอัยการ

อธิบดีอัยการ
สำนักงานคดีปกครองนครราชสีมา

รองอธิบดีอัยการ
สำนักงานคดีปกครองนครราชสีมา

อัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองนครราชสีมา 1

อัยการผู้เชี่ยวชาญ

อัยการผู้เชี่ยวชาญ

อัยการอาวุโส

อัยการอาวุโส
ข้าราชการธุรการ

นิติกรชำนาญการพิเศษ รักษาการ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ สำนักงานคดีปกครองนครราชสีมา

นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

เจ้าพนักงานคดีชำนาญการ

เจ้าพนักงานคดีชำนาญการ

นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นิติกรปฏิบัติการ

นิติกรปฏิบัติการ

นิติกรปฏิบัติการ

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

พนักงานขับรถยนต์
ทำเนียบผู้บริหาร
รายนามอธิบดีอัยการสำนักงานคดีปกครองนครราชสีมา
ลำดับที่ | ชื่อ-สกุล | ระยะเวลา |
1. | นายบรม ศรีสุข | 17 ธ.ค. 2544 – 10 พ.ย. 2545 |
2. | นายเรืองนนท์ เรืองวุฒิ | 11 พ.ย. 2545 – 30 ก.ย. 2546 |
3. | นายภราดร ศรีศุภรางค์กุล | 1 ต.ค. 2546 – 30 พ.ย. 2547 |
4. | นายทวีป คนบุญ | 1 ธ.ค. 2547 – 31 ต.ค. 2548 |
5. | นายบุญชม จันทรเสนา | 1 พ.ย. 2548 – 30 พ.ย. 2548 |
6. | นายไพศาล หิรัญสาลี | 1 ธ.ค. 2548 – 15 ต.ค. 2549 |
7. | นายวิชิต แก่นกำจร | 16 ต.ค. 2549 – 31 ต.ค. 2550 |
8. | นายไชยยงค์ เปรื่องเวทย์ | 1 พ.ย. 2550 – 30 ก.ย. 2552 |
9. | นายพรศักดิ์ ศรีณรงค์ | 1 ต.ค. 2552 – 30 ก.ย. 2554 |
10 | นายวิชญะ ปุตระเศรณี | 1 ต.ค. 2554 – 13 ต.ค. 2556 |
11 | นายศิลป์ชัย คณาวุฒิ | 14 ต.ค. 2556 – 30 ก.ย. 2558 |
12 | นายชาญชัย โชติเวทธำรง | 1 ต.ค. 2558 – 30 ก.ย. 2560 |
13 | นายอนันต์ สินธุรักษ์ | 1 ต.ค. 2560 – 30 ก.ย. 2562 |
14 | นายเกียรติประวัติ เงินเกิด | 1 ต.ค.2562-30 ก.ย. 2563 |
15 | นางพวงรัตน์ วิเชียรสรรค์ | 1 ต.ค. 2563 – 30 ก.ย.2564 |
16 | นายวิโรจน์ ชัชวาลวงศ์ | 1 ต.ค. 2564 – 30 ก.ย.2565 |
17 | นายวิเศษ ศิริเดช | 1 ต.ค.2565 – 30 ก.ย.2566 |
18 | นางสาวรวีวรรณ อัศวกุล | 1 ต.ค.2566 – ปัจจุบัน |
สถิติคดี

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานคดีปกครองนครราชสีมา
อาคารสำนักงานอัยการภาค ๓ ชั้น ๓
ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ๓๐๐๐๐
หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๔๔ – ๒๕ ๓๘๐๘
E-Mail : Korat-admin@ago.go.th