ข่าวประชาสัมพันธ์

  • ภาพกิจกรรมการร่วมงานพิธีและงานวันสำคัญต่างๆ

กิจกรรมกีฬาสัมพันธ์ภายในองค์กร เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566
โดยสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับสำนักงานอัยการจังหวัดศรีสะเกษ
และสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดศรีสะเกษ

กิจกรรม 5ส. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566
โดยสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับสำนักงานอัยการจังหวัดศรีสะเกษ
และสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดศรีสะเกษ

วันที่ 15 ธันวาคม 2566 ร่วมบริจาคสิ่งของให้กับร้านธารากาชาด ประจำปี 2567 ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ

งานวันคนพิการสากล วันที่ 8 ธันวาคม 2566 ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดศรีสะเกษ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

พิธีเจิรญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ
เนื่องในวันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเราทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา 7 ธันวาคม 2566
ณ พระวิหารหลวงพ่อโต วัดมหาพุทธาราม พระอารามหลวง อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

วันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2566
พิธีทำบุญตักบาตร ณ บริเวณลานข้างศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ อาคาร 3 อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
พิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะ ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
งานจิตอาสา ณ วัดพระธาตุเรืองรอง อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

พิธีทำบุญตักบาตร วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2566
ณ บริเวณลานข้างศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ อาคาร 3 อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

งานเฉลิมฉลอง 241 ปี จังหวัดศรีสะเกษ วันที่ 18 – 19 พฤศจิกายน 2566
พิธีทำบุญตักบาตร ณ บริเวณสวนสาธารณะลานออดหลอด อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
พิธีเปิดงานเฉลิมฉลอง 241 ปี จังหวัดศรีสะเกษ ณ บริเวณลานโคปุระ (เกาะห้วยน้ำคำ)
อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

วันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2566 วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน 2566 ณ อาคารหอประชุมใหญ่ โรงเรียนประชานุเคราะห์ 29 จังหวัดศรีสะเกษ


เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาในการจัดตั้งสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษ

                   ด้วยกระทรวงยุติธรรมได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนของแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา ศาลจังหวัดเพชรบุรี  ศาลจังหวัดเพชรบูรณ์ ศาลจังหวัดยะลา ศาลจังหวัดลำพูน สำนักอัยการสูงสุดจึงจำเป็นต้องจัดตั้งสำนักอัยการจังหวัด (แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว)ขึ้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีด้านคุ้มครองเด็กและเยาวชนสำนักงานอัยการจังหวัดศรีสะเกษ (แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว) ได้เปิดทำการเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2545 เป็นต้นมา และมีเขตอำนาจตลอดจังหวัดศรีสะเกษ ต่อมาได้มีกฎกระทรวงแบ่ง ส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2546 ข้อ 39 ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 120 ตอน 117 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2546 เปลี่ยนแปลงชื่อสำนักงานอัยการในภูมิภาคใหม่ จากเดิม คือ สำนักงานอัยการจังหวัดศรีสะเกษ(แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษ)เป็นสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษ

อำนาจหน้าที่

1. พิจารณาคดีเด็กและเยาวชน(อายุไม่เกิน 18 ปี) กระทำความผิดทางอาญาหรือความผิดที่มี โทษทางอาญา
2. ยื่นคำร้องขอต่อศาลในคดีเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของผู้เยาว์ เช่น การถอนอำนาจปกครอง การขอศาลตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอคำสั่งศาลแทนคำยินยอมบิดามารดา ในการขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ฯลฯ

เขตอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษ ครอบคลุมพื้นที่การให้บริการทั้งหมด จำนวน 23 อำเภอ   9 ตำบล

1สถานีตำรวจภูธรเมืองศรีสะเกษ2สถานีตำรวจภูธรกันทรารมย์
3สถานีตำรวจภูธรขุขันธ์4สถานีตำรวจภูธรราษีไศล
5สถานีตำรวจภูธรยางชุมน้อย6สถานีตำรวจภูธรปรางค์กู่
7สถานีตำรวจภูธรห้วยทับทัน8สถานีตำรวจภูธรน้ำเกลี้ยง
9สถานีตำรวจภูธรบึงบุรพ์10สถานีตำรวจภูธรวังหิน
11สถานีตำรวจภูธรพยุห์12สถานีตำรวจภูธรเมืองจันทร์
13สถานีตำรวจภูธรภูสิงห์14สถานีตำรวจภูธรโพธิ์ศรีสุวรรณ
15สถานีตำรวจภูธรปรือใหญ่16สถานีตำรวจภูธรศิลาลาด
17สถานีตำรวจภูธรเบญจลักษ์18สถานีตำรวจภูธรกันทรลักษ์
19สถานีตำรวจภูธรศรีรัตนะ20สถานีตำรวจภูธรไพรบึง
21สถานีตำรวจภูธรโนนคูณ22สถานีตำรวจภูธรขุนหาญ
23สถานีตำรวจภูธรอุทุมพรพิสัย24สถานีตำรวจภูธรโดนเอาว์
25สถานีตำรวจภูธรกันทรอม26สถานีตำรวจภูธรบึงละมูล
27สถานีตำรวจภูธรจะกง28สถานีตำรวจภูธรหนองไฮ
29สถานีตำรวจภูธรโพนเขวา30สถานีตำรวจภูธรกุดเสลา
31สถานีตำรวจภูธรไพร32สถานีตำรวจภูธรตูม
วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร

ข้าราชการอัยการ

นายมนัสวี เปาอินทร์
อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัว

จังหวัดศรีสะเกษ

นายชาติชาย อ่อนจันทร์
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้กลั่นกรองงาน

นายเอกอนันต์ สินธุพุฒิพงศ์
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นางสาวพิชยา หน่อแก้ว
อัยการประจำกอง

นางสาวพิมพ์รัก พลคณา
อัยการประจำกอง

ข้าราชการธุรการ

นางสุลัดดา จำปาใด
เจ้าพนักงานธุรการอาวุโส รักษาการในตำแหน่ง
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษ

ฝ่ายนิติการ ฝ่ายบริหารทั่วไป ฝ่ายบริหารงานคดี

นายประชาวิทย์ จันดาปราบ
นิติกรชำนาญการ
นางสาวณภัชนันท์ ผลบุญวิวัธน์
นักจัดการงานทั้่วไปปฏิบัติการ
นางสาวสุกัญญา คำเรืองศรี
   เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

จ้างเหมาบริการ


นายวิชัย   วิริยะตระกูลทอง
พนักงานขับรถยนต์

ทำเนียบผู้บริหาร

ลำดับ             ชื่อ – สกุล                                    ดำรงตำแหน่ง

1.       นายทวีชัย  สุวรรณาวัชร์                 1 เมษายน 2545 – 28 เมษายน 2546

2.        นายวิรัช  สุวัชนะเชาว์                   28 เมษายน 2546 – 3 พฤษภาคม 2547

3.        นายสมชาย  นรัตถรักษา                 3 พฤษภาคม 2547 – 4 เมษายน 2548

4.        นายสุรพงษ์  ทรงประโคน             4 เมษายน 2548 – 3 พฤษภาคม 2549

5.        นายนรินทร์  เนตรสุนีย์                   3 พฤษภาคม 2549 – 28 เมษายน 2550

6.        นายคำนึง  วงษ์ทวีทรัพย์               2 เมษายน 2550 – 31 มีนาคม 2551

7.        นางอุมา  ทองรอด                        1 เมษายน 2551 – 31 มีนาคม 2552

8.        นายชวลิตร  บรรณเกียรติ              1 เมษายน 2552 – 31 มีนาคม 2553

9.        นายอินตา  บุระคำ                       1 เมษายน 2553 – 31 มีนาคม 2554

10.      ว่าที่เรือตรีนิคม  แสงสว่าง          1 เมษายน 2554 – 31 มีนาคม 2555

11.      ร้อยเอกวิทย์  ชะนะภัย               2 เมษายน 2555 – 31 มีนาคม 2557

12.      นายธีระวุฒิ  เกตุพันธุ์                1 เมษายน 2557 – 31 มีนาคม 2558

13.     นายชูเกียรติ กลมเกลา            1 เมษายน 2558 – 31 มีนาคม 2559

14.     นายเชาวฤทธิ์ จันทร์สนาม          1 เมษายน 2559 – 31 มีนาคม 2560

15.       นายสำเร็จ  หงษ์พันธ์                     1 เมษายน 2560 – 31 มีนาคม 2561

16.        นายจุมพล สุโขยะชัย                     1 เมษายน 2561 – 31 มีนาคม 2562

17.       นายสกล กมลรัตนกุล                    1 เมษายน 2562 – 31 มีนาคม 2563

18.       นายประเสริฐศักดิ์  นาคนาวา       1 เมษายน  2563 – 31 มีนาคม 2564

19.       นายสุนทร  ปราศจาก                    1 เมษายน 2564 – 31 มีนาคม 2566

20. นายนพงศ์ ประเสริฐชัย 1 เมษายน 2566 – 31 มีนาคม 2567

21. นายมนัสวี เปาอินทร์ 1 เมษายน 2567 – ปัจจุบัน

หลักการและระเบียบในการดำเนินคดีเด็กและเยาวชน              

หลักการและระเบียบในการดำเนินคดีเด็กและเยาวชน
หลักการดำเนินคดีอาญา

การดำเนินคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนมีส่วนเกี่ยวข้องนั้น พนักงานอัยการต้องคำนึงถึงการคุ้มครองสวัสดิภาพและอนาคตของเด็กหรือเยาวชนเป็นสำคัญ ตามนัยระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ ข้อ 175

ระเบียบและคำสั่งที่ใช้ในการดำเนินคดีอาญา                                                                                                                  
 ระเบียบและคำสั่งที่ใช้ในการดำเนินคดีอาญาเด็กหรือเยาวชนเป็นไปตามระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 หมวดที่ 8 และตามคำสั่งหรือหนังสือเวียนสำนักงานอัยการสูงสุดที่ออกเป็นคราว ๆ

ผู้ต้องหาเป็นเด็กหรือเยาวชน
            “เด็ก” หมายความว่า บุคคลอายุยังไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์
            “เยาวชน” หมายความว่า บุคคลอายุเกิน 15 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ ( พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนฯ มาตรา 4)

ข้อสังเกต
             1. กรณีเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี กระทำความผิดอาญา ไม่ต้องรับโทษ
                 2. กรณีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ไม่ถือว่าเป็นเยาวชน

การนับอายุของเด็กหรือเยาวชน
             การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด ในกรณีที่รู้ว่าเกิดเดือนใด แต่ไม่รู้วันเกิดให้นับวันที่ 1 แห่งเดือนนั้น เป็นวันเกิด แต่ถ้าพ้นวิสัยที่จะหยั่งรู้เดือน และวันเกิดของบุคคลใด ให้นับอายุบุคคลนั้น ตั้งแต่วันต้นปีปฏิทิน ( วันที่ 1 มกราคม ) ซึ่งเป็นปีที่บุคคลนั้นเกิด (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 16)

การสอบสวนเด็กหรือเยาวชน
             การสอบสวนในคดีที่ผู้ต้องหาเป็นเด็กหรือเยาวชนให้ถืออายุไม่เกิน 18 ปี ในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา (ไม่ใช่เจ้าพนักงานจับกุมแจ้งข้อหา)ส่วนการที่เด็กหรือเยาวชนกระทำผิดขณะอายุไม่เกิน 18 ปีแต่วันที่แจ้งข้อหาเด็กมีอายุเกิน 18 ปี การสอบสวนก็ไม่ต้องดำเนินการตามมาตรา 134/2 และ มาตรา 133 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาการสอบสวนพยานซึ่งเป็นเด็กและเยาวชนจะต้องดำเนินการตามมาตรา 133 ทวิการสอบสวนผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็กและเยาวชน จะต้องดำเนินการตามมาตรา 134/2 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 133 ทวิ
ในคดีความผิด

              -เกี่ยวกับเพศ
              -เกี่ยวกับชีวิตและร่างกายอันมิใช่ความผิดที่เกิดจากการชุลมุนต่อสู้
              -เกี่ยวกับเสรีภาพ
              -กรรโชก ชิงทรัพย์ปล้นทรัพย์
              -ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี
              -ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก
              -ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
              -ความผิดอื่นๆที่มีอัตราโทษจำคุก ซึ่งผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปีร้องขอ

การถามปากคำผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี
              -พนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการโดยแยกกระทำเป็นส่วนสัดในสภาพที่เหมาะสม และมีบุคคลที่เด็กร้องขอนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ พนักงานอัยการ เข้าร่วมในการถามปากคำ
              -พนักงานสอบสวนต้องแจ้งให้ผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปีทราบถึงสิทธิดังกล่าวด้วย
              -ต้องมีการบันทึกภาพและเสียงที่สามารถนำออกถ่ายทอดได้อย่างต่อเนื่องไว้ด้วย
              -ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งซึ่งเป็นเหตุอันควรไม่อาจรอนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำ พร้อมกันได้ พนักงานสอบสวนต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 133 ทวิ วรรคท้าย

การสอบสวนผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี

            มาตรา 134/2 ให้นำบทบัญญัติใน มาตรา 133 ทวิมาใช้บังคับโดยอนุโลมนอกจากนี้ ในคดีที่ผู้ต้องหาเป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก่อนเริ่มถามคำให้การ พนักงานสอบสวนต้องถามผู้ต้องหาก่อนว่ามีทนายหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้ (มาตรา 134/1)

สถิติคดี

  สถิติคดีรายปี (ย้อนหลัง 5 ปี)

ประเภทคดีความปี2562ปี2563ปี2564ปี2565ปี2566
1. สำนวนปรากฎตัวผู้ต้องหาที่ส่งตัวมา (ส.1) 591 625567329288
2. สำนวนปรากฎตัวผู้ต้องที่ไม่ได้ส่งตัวมา (ส.2) 19 15192025
3. สำนวนปรากฎตัวผู้ต้องที่ไม่ได้ส่งตัวมา(เฉพาะคดีเปรียบเทียบปรับ ส.2ก) 3,384 1,8711,3237661115
4. สำนวนฟ้องคดีอาญา (ส.4) 554 633557307269
5. สำนวนฟ้องคดีอาญา (ส.4วาจา) 12
6. สำนวนคดีแพ่ง (ส.5ก) – –
7. สำนวนคดีอุทธรณ์(ส.6) 5 3318
8. สำนวนคดีฎีกา(ส.7)  –1
9. สำนวนฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด (ส.1ฟ)451 24624120
10. สำนวนคดีมาตราการพิเศษแทนการดำเนินทางอาญา (มพ.) 61 4931631

สถิติคดีรายเดือน ปี พ.ศ.2567   

ประเภทคดีความม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.
1.สำนวนปรากฎตัวผู้ต้องหาที่ส่งตัวมา (ส.1) 27 15 22        
2.สำนวนปรากฎตัวผู้ต้องที่ไม่ได้ส่งตัวมา (ส.2) 4  1 1         
3.สำนวนปรากฎตัวผู้ต้องที่ไม่ได้ส่งตัวมา (เฉพาะคดีเปรียบเทียบปรับ ส.2ก)1 3  1       
4.สำนวนฟ้องคดีอาญา (ส.4)   –          
5.สำนวนฟ้องคดีอาญา (ส.4วาจา)    –       
6.สำนวนความแพ่ง(ส.5ก) –   –         
7. สำนวนคดีอุทธรณ์ (ส.6)      –         
8. สำนวนคดีฎีกา (ส.7)    –          
9. สำนวนฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด (ส.1ฟ)   –         
10.สำนวนคดีมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา (มพ.)5  4  1      

       สถิติคดีรายเดือน ปี พ.ศ.2566

ประเภทคดีความม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.
1.สำนวนปรากฎตัวผู้ต้องหาที่ส่งตัวมา (ส.1) 12 14 16 26 37 27 25 31 28 24 22 26
2.สำนวนปรากฎตัวผู้ต้องที่ไม่ได้ส่งตัวมา (ส.2)  – 1 – 2 6 2 4 2 2 3 – 3
3.สำนวนปรากฎตัวผู้ต้องที่ไม่ได้ส่งตัวมา (เฉพาะคดีเปรียบเทียบปรับ ส.2ก)18 14 2 11 7 11 30 744 104 97 74 3
4.สำนวนฟ้องคดีอาญา (ส.4) 8 15 16 19 33 3129  23 30 20 1233 
5.สำนวนฟ้องคดีอาญา (ส.4วาจา)   – – – – – – – –   
6.สำนวนความแพ่ง(ส.5ก)    – – – – – – –  – –
7. สำนวนคดีอุทธรณ์ (ส.6)  11 – – – – – 2–   – 4
8. สำนวนคดีฎีกา (ส.7)    – – – – ––  – – – –
9. สำนวนฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด (ส.1ฟ)    – – – – –  – – –
10.สำนวนคดีมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา (มพ.)2 42 – 4 – 2 1 101 1 4

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษ
อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดศรีสะเกษ ชั้น 1 ถนนกสิกรรม ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
เบอร์โทรศัพท์ 045-613214 , โทรสาร 045-613214

 E–mail : sisaket-ju@ago.go.th