ข่าวประชาสัมพันธ

เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ นายทวี เรืองฤทธิ์เดช อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดศรีสะเกษ
นำข้าราชการธุรการ
เข้าร่วมพิธีว่างพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะ น้อมลำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนการธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง
ณ อาคารหอประชุมใหย่ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๒๙ จังหวัดศรีสะเกษ

เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ นายทวี เรืองฤทธิ์เดช อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดศรีสะเกษ
นำข้าราชการธุรการ
เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรและร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่มและพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี เนื่องในโอกาส
วันเฉลิมพระชนมพรรษา ๓ มิถุนายน ๒๕๖๕
ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๕ นายภีศเดชวรกุล อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดศรีสะเกษ
นำข้าราชการธุรการ
เข้าร่วมถวายราชสักการะเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติสำนักงาน

สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน มีชื่อย่อว่า สคช. ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2525ในสังกัดสำนักงานอัยการสุงสุด(กรมอัยการ) ตามคำสั่งของกรมอัยการที่ 174/2525 ลงวันที่ 15 กันยายน 2525

     วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ผลประโยชน์และให้ความช่วยเหลือประชาชนทางด้านกฎหมาย

     ต่อมาเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2526 คระรัฐมนตรีได้มีมติโอนโครงการให้ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนในชนบทเขตยากจน ซึ่งขณะนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักนโยบายและแผน มหาดไทยมาให้สำนักงานอัยการสุงสุดรับผิดชอบดำเนินงานสืบมา

     วันที่ 27 สิงหาคม 2527 คณะรัฐมนตรีได้มีมติโอนงานช่วยเหลือทางกฎหมายแก่เกษตรกรและผู้ยากจน ซึ่งขณะนั่นอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมาให้ สคช. สำนักงานอัยการสูงสุดรับผิดชอบดำเนินการตามแนวนโยบายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การพิจารณาพื้นที่เป้าหมายดำเนินงานโดยนำเอาปัญหาที่แท้จริงของคนในท้องถิ่นที่แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคและแต่ละพื้นที่เป็นตัวกำหนดพื้นที่ปฏิบัติการ โดยสำนักงานอัยการสูงสุดได้มีคำสั่งจัดตั้งสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนประจำจังหวัดขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศเป้นการบริการฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายยกเว้นค่าธรรมเนียมในชั้นศาลที่ต้องเสียตามกฎหมาย

     ต่อมาวันที่ 1 เมษายน 2557 สำนักงานอัยการสุงสุด ได้มีประกาศคณะกรรมการอัยการสำนักงานอัยการสุงสุดเรื่อง การแบ่งหน่วยงานและการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสุงสุด(ฉบับที่ 10)ให้จัดตั้ง”สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดศรีสะเกษ” มีที่ตั้งอยู่ ณ อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดศรีสะเกษ ชั้น 1 ถนนกสิกรรม ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

อำนาจหน้าที่

ภารกิจและหน้าที่ความรับผิดชอบของ สคช.จังหวัดศรีสะเกษ
      สคช.ศรีสะเกษ ได้ดำเนินงานการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน โดยกำหนดกิจกรรมที่เป้นงานหลัก ได้แก่

1. การคุ้มครองสิทธิทางศาลตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ เช่น 
     1.1 ร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก
     1.2 ร้องต่อศาลขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
     1.3 ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครอง
     1.4 ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรม
     1.5 ร้องขอให้เป็นคนสาบสูญ
2. การให้คำปรึกษาปัญหาทางกฎหมาย ช่วยเหลือจัดทำนิติกรรมสัญญา และประนอมข้อพิพาท
3. การช่วยเหลือทางอรรถคดีแก่ผู้ยากจนและไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยการจัดทนายความอาสาดำเนินการในชั้นศาล
4. สนับสนุนการประนอมข้อพิพาทระดับท้องถิ่น โดยฝึกอบรมคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ในการประนอมข้อพิพาท
5. เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายต่างๆ แก่ประชาชน เช่น ออกหน่วยเคลื่อนที่ไปตามหมู่บ้านต่างๆ ร่วมกับจังหวัดเคลื่อนที่ ร่วมกับหน่วยงานอื่นในการออกเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย
6. ฝึกอบรมความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนกลุ่มต่างๆ เช่น นักเรียน นักศึกษา ประชาชน
7. การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอรรถคดี โดยให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ประชาชน

     นอกจากนี้ สคชจ.ศรีสะเกษ ยังมีภารกิจด้านบังคับคดี โดยรับผิดชอบการดำเนินคดีเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง คดีปกครอง และคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสุงสุด ภายในเขตท้องที่จังหวัดศรีสะเกษ

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

ตราสัญลักษณ์

โลโก้สำนักงาน

รูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่น พระสุริยกานต์
และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์

     สำนักงานอัยการสูงสุด แต่เดิมเป็นกรมอัยการ สังกัดกระทรวงมหาดไทย เครื่องหมายราชการและเครื่องหมายแสดงสังกัดจึงเป็นรูปตราราชสีห์ ต่อมาพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 ได้บัญญัติให้สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี จึงได้มี การกำหนดเครื่องหมายราชการและเครื่องหมายแสดงสังกัดขึ้นใหม่ สำหรับใช้เป็นเครื่องหมายราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดและเป็นเครื่องหมายแสดงสังกัด ใช้กับเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายอัยการ ประกอบกับกฎหมายว่าด้วย
ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ได้บัญญัติให้นำกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน มาใช้บังคับกับข้าราชการธุรการของสำนักงานอัยการสูงสุด และกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ได้บัญญัติให้เครื่องหมายแบบข้าราชการพลเรือน เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน และโดยที่กฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน ได้บัญญัติให้ การกำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัด สำหรับใช้กับเครื่องแบบข้าราชการพลเรือน ต้องออกเป็นกฎสำนักนายกรัฐมนตรี

     สำนักนายกรัฐมนตรี จึงออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการกำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 129) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 เล่ม 109 ตอนที่ 40 หน้า 104-105 และออกกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 79 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2535 เล่ม 109 ตอนที่ 51 หน้า 4-5 กำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักอัยการสูงสุด เป็นรูปตราพระมหาพิชัยมงกุฎ ประดิษฐานเหนือพระแว่น สุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์

     เครื่องหมายราชการ และเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักงานอัยการสูงสุด จึงเปลี่ยนจากรูปตราราชสีห์เป็น รูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่น พระสุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ มีความหมายถึงอำนาจหน้าที่ในการเป็นทนายแผ่นดิน การใช้กฎหมายด้วยความรอบคอบ เป็นธรรม และเด็ดขาด มีชัยชนะเหนืออธรรม

บุคลากร

ข้าราชการอัยการ

นายเทพพงค์ ยงกุล
อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย
และการบังคับคดีจังหวัดศรีสะเกษ
นางสาวมานิดา สิงหกุล
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้กลั่นกรองงาน
นางสาวธนกาญจน์ สมพันธ์
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้กลั่นกรองงาน
(สาขากันทรลักษ์)
นางสาวกรกาญจน์ แก้วคำมูล
รองอัยการจังหวัด สคชจ.ศรีสะเกษ
นายภาณุทัตต์ กิตติสารวัณโณ
รองอัยการจังหวัด สคชจ.ศรีสะเกษ

(สาขากันทรลักษ์)

ข้าราชการธุรการ

สคชจ.ศรีสะเกษ

นางสาวปรียา คำทอง
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดศรีสะเกษ

นายเกียรติศักดิ์  โคษา
นิติกรชำนาญการ
นายปราโมทย์ บุญโย
เจ้าพนักงานคดีปฏิบัติการ

นางสาวเปมิกา  ศรีกุล
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
 
นางสาวนิรชา สาระชาติ
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
นางสาวนันธิดา โคตรทอง
นิติกรปฏิบัติการ

สาขากันทรลักษ์

นายอัยการ ชัยหัง
นิติกรปฏิบัติการ
นายกฤตณัฐ ศรีชวนชื่นสกุล
นิติกรปฏิบัติการ
นางสาววลัยพรรณ กนกเฉลิมวงษ์
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
(สาขากันทรลักษ์)
นางสาวนีลุบล เดชพละ
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
(สาขากันทรลักษ์)

ทนายความอาสา

นางสาวสุดารัตน์ พาโพธิ์
ทนายความอาสา
ทค.อาสา

จ้างเหมาบริการ

นางสาวจิณห์วรา เอราวัณโพธิ์ศรี
นิติกร
นางสาวรัตน์ตวรรณ ชาภักดี
นิติกร (สาขากันทรลักษ์)
นายปัญญา พรมพิลา
พนักงานขับรถยนต์
นายวิทยา เขียวสอาด
พนักงานขับรถยนต์ (สาขากันทรลักษ์)

ทำเนียบผู้บริหาร

๑.  นางเกษณี  อมราภรณ์  ฤชุโรจน์
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่   ๑  เมษายน  ๒๕๕๗  ถึง  วันที่  ๓๑  มีนาคม   ๒๕๕๘

๒.  นาวาอากาศตรีวิจิตร  บำรุงกิจ
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่  ๑  เมษายน  ๒๕๕๘  ถึง วันที่   ๓๑  มีนาคม  ๒๕๕๙

๓.  ร้อยตำรวจเอกคณิต  อินทกรณ์
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที  ๑  เมษายน  ๒๕๕๙  ถึง  วันที่  ๓๑  มีนาคม  ๒๕๖๐

๔. นายวิเชียร  พัชรธรรมพันธ์ุ
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่  ๓  เมษายน  ๒๕๖๐  ถึง  วันที่  ๓๑  มีนาคม  ๒๕๖๑

๕.  นายสกล  กมลรัตนกุล
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่  ๒  เมษายน  ๒๕๖๑  ถึงวันที่  ๓๑  มีนาคม  ๒๕๖๒

๖.  นางสาวศศินันท์  สันนิธิลาวัณย์
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่  ๑  เมษายน  ๒๕๖๒  ถึง ๓๑  มีนาคม  ๒๕๖๓

๗.    นายวิจารณ์  แก้วจาระนัย   
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่    ๑  เมษายน   ๒๕๖๓  ถึง  ๓๑    มีนาคม    ๒๕๖๔

๘.  ว่าที่ร้อยตรีธีรรักษ์  วนศิริกุล
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่  ๑  เมษายน  ๒๕๖๔  ถึง ๓๑  มีนาคม  ๒๕๖๕

 ๙.  นายภีศเดช  วรกุล
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่  ๑  เมษายน  ๒๕๖๕  ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖

๑๐. นายเทพพงค์ ยงกุล
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๖ ถึง ปัจจุบัน

ประเภทสำนวน/งานปี พ.ศ. 2563 ปี พ.ศ. 2564
ปี พ.ศ.2565

ปี พ.ศ. 2566
ปี พ.ศ. 2567
1. การคุ้มครองสิทธิประชาชนที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ201 สำนวน 200 สำนวน255 สำนวน242 สำนวน
2. การช่วยเหลือทางอรรถคดีโดยจัดหาทนายความอาสาให้แก่ประชาชน17 สำนวน5 สำนวน11 สำนวน9 สำนวน
3. การให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่ประชาชน781 ราย757 ราย927 ราย1,259 ราย
4. การไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาททางแพ่ง40 สำนวน42 สำนวน23 สำนวน22 สำนวน
5. สำนวนการบังคับคดี24 สำนวน14 สำนวน66 สำนวน298 สำนวน
6. งานโครงการฝึกอบรมไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท81 หมู่บ้าน
261 ราย
234 หมู่บ้าน
290 ราย
141 หมู่บ้าน
266 ราย
7. งานโครงการฝึกอบรมความรู้ทางกฎหมายทั่วไป563 ราย700 ราย141 หมู่บ้าน
658 ราย
8. งานออกเผยแพร่กฎหมายทั่วไป396 หมู่บ้าน
651 ราย
303 หมู่บ้าน
498 ราย
1,896 หมู่บ้าน
4,766 ราย
2,130 หมู่บ้าน
5,887 ราย

เอกสารดาวน์โหลด

ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์

ศูนย์ร้องเรียน
ช่องทางติดต่อ
ติดต่อ

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดศรีสะเกษ
อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดศรีสะเกษ ชั้น 1 ถนนกสิกรรม ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมือง
จังหวัดศรีสะเกษ 33000 โทรศัพท์ 045-616738 โทรสาร 045-616738
E-mail  sisaket-lawaid@ago.go.th