เกี่ยวกับสำนักงาน
ประวัติสำนักงาน
สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน มีชื่อย่อว่า สคช. ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2525ในสังกัดสำนักงานอัยการสุงสุด(กรมอัยการ) ตามคำสั่งของกรมอัยการที่ 174/2525 ลงวันที่ 15 กันยายน 2525
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ผลประโยชน์และให้ความช่วยเหลือประชาชนทางด้านกฎหมาย
ต่อมาเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2526 คระรัฐมนตรีได้มีมติโอนโครงการให้ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนในชนบทเขตยากจน ซึ่งขณะนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักนโยบายและแผน มหาดไทยมาให้สำนักงานอัยการสุงสุดรับผิดชอบดำเนินงานสืบมา
วันที่ 27 สิงหาคม 2527 คณะรัฐมนตรีได้มีมติโอนงานช่วยเหลือทางกฎหมายแก่เกษตรกรและผู้ยากจน ซึ่งขณะนั่นอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมาให้ สคช. สำนักงานอัยการสูงสุดรับผิดชอบดำเนินการตามแนวนโยบายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การพิจารณาพื้นที่เป้าหมายดำเนินงานโดยนำเอาปัญหาที่แท้จริงของคนในท้องถิ่นที่แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคและแต่ละพื้นที่เป็นตัวกำหนดพื้นที่ปฏิบัติการ โดยสำนักงานอัยการสูงสุดได้มีคำสั่งจัดตั้งสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนประจำจังหวัดขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศเป้นการบริการฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายยกเว้นค่าธรรมเนียมในชั้นศาลที่ต้องเสียตามกฎหมาย
ต่อมาวันที่ 1 เมษายน 2557 สำนักงานอัยการสุงสุด ได้มีประกาศคณะกรรมการอัยการสำนักงานอัยการสุงสุดเรื่อง การแบ่งหน่วยงานและการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสุงสุด(ฉบับที่ 10)ให้จัดตั้ง”สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดศรีสะเกษ” มีที่ตั้งอยู่ ณ อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดศรีสะเกษ ชั้น 1 ถนนกสิกรรม ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
อำนาจหน้าที่
ภารกิจและหน้าที่ความรับผิดชอบของ สคช.จังหวัดศรีสะเกษ
สคช.ศรีสะเกษ ได้ดำเนินงานการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน โดยกำหนดกิจกรรมที่เป้นงานหลัก ได้แก่
1. การคุ้มครองสิทธิทางศาลตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ เช่น
1.1 ร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก
1.2 ร้องต่อศาลขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
1.3 ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครอง
1.4 ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรม
1.5 ร้องขอให้เป็นคนสาบสูญ
2. การให้คำปรึกษาปัญหาทางกฎหมาย ช่วยเหลือจัดทำนิติกรรมสัญญา และประนอมข้อพิพาท
3. การช่วยเหลือทางอรรถคดีแก่ผู้ยากจนและไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยการจัดทนายความอาสาดำเนินการในชั้นศาล
4. สนับสนุนการประนอมข้อพิพาทระดับท้องถิ่น โดยฝึกอบรมคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ในการประนอมข้อพิพาท
5. เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายต่างๆ แก่ประชาชน เช่น ออกหน่วยเคลื่อนที่ไปตามหมู่บ้านต่างๆ ร่วมกับจังหวัดเคลื่อนที่ ร่วมกับหน่วยงานอื่นในการออกเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย
6. ฝึกอบรมความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนกลุ่มต่างๆ เช่น นักเรียน นักศึกษา ประชาชน
7. การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอรรถคดี โดยให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ประชาชน
นอกจากนี้ สคชจ.ศรีสะเกษ ยังมีภารกิจด้านบังคับคดี โดยรับผิดชอบการดำเนินคดีเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง คดีปกครอง และคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสุงสุด ภายในเขตท้องที่จังหวัดศรีสะเกษ
วิสัยทัศน์ (Vision)
“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”
พันธกิจ (Missions)
1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โครงสร้าง (Structure)

วัฒนธรรมองค์กร

ตราสัญลักษณ์

รูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่น พระสุริยกานต์
และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์
สำนักงานอัยการสูงสุด แต่เดิมเป็นกรมอัยการ สังกัดกระทรวงมหาดไทย เครื่องหมายราชการและเครื่องหมายแสดงสังกัดจึงเป็นรูปตราราชสีห์ ต่อมาพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 ได้บัญญัติให้สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี จึงได้มี การกำหนดเครื่องหมายราชการและเครื่องหมายแสดงสังกัดขึ้นใหม่ สำหรับใช้เป็นเครื่องหมายราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดและเป็นเครื่องหมายแสดงสังกัด ใช้กับเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายอัยการ ประกอบกับกฎหมายว่าด้วย
ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ได้บัญญัติให้นำกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน มาใช้บังคับกับข้าราชการธุรการของสำนักงานอัยการสูงสุด และกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ได้บัญญัติให้เครื่องหมายแบบข้าราชการพลเรือน เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน และโดยที่กฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน ได้บัญญัติให้ การกำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัด สำหรับใช้กับเครื่องแบบข้าราชการพลเรือน ต้องออกเป็นกฎสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักนายกรัฐมนตรี จึงออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการกำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 129) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 เล่ม 109 ตอนที่ 40 หน้า 104-105 และออกกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 79 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2535 เล่ม 109 ตอนที่ 51 หน้า 4-5 กำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักอัยการสูงสุด เป็นรูปตราพระมหาพิชัยมงกุฎ ประดิษฐานเหนือพระแว่น สุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์
เครื่องหมายราชการ และเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักงานอัยการสูงสุด จึงเปลี่ยนจากรูปตราราชสีห์เป็น รูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่น พระสุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ มีความหมายถึงอำนาจหน้าที่ในการเป็นทนายแผ่นดิน การใช้กฎหมายด้วยความรอบคอบ เป็นธรรม และเด็ดขาด มีชัยชนะเหนืออธรรม
บุคลากร
ข้าราชการอัยการ

อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
รักษาการในตำเหน่ง อัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดศรีสะเกษ

อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสด
(สาขากันทรลักษ์)

รองอัยการจังหวัด

รองอัยการจังหวัด (สาขากันทรลักษ์)
ข้าราชการธุรการ
สคชจ.ศรีสะเกษ

นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดศรีสะเกษ

นิติกรชำนาญการ

เจ้าพนักงานคดีปฏิบัติการ

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นิติกรปฏิบัติการ
สาขากันทรลักษ์

นิติกรปฏิบัติการ

นิติกรปฏิบัติการ

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
(สาขากันทรลักษ์)

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
(สาขากันทรลักษ์)
ทนายความอาสา

ทนายความอาสา

จ้างเหมาบริการ

นิติกร

นิติกร (สาขากันทรลักษ์)

พนักงานขับรถยนต์

พนักงานขับรถยนต์ (สาขากันทรลักษ์)
ทำเนียบผู้บริหาร

๑. นางเกษณี อมราภรณ์ ฤชุโรจน์
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๗ ถึง วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘

๒. นาวาอากาศตรีวิจิตร บำรุงกิจ
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๘ ถึง วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙

๓. ร้อยตำรวจเอกคณิต อินทกรณ์
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที ๑ เมษายน ๒๕๕๙ ถึง วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐

๔. นายวิเชียร พัชรธรรมพันธ์ุ
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๐ ถึง วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑

๕. นายสกล กมลรัตนกุล
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๑ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๓๕๖๒

๖. นางสาวศศินันท์ สันนิธิลาวัณย์
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๒ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓

๗. นายวิจารณ์ แก้วจาระนัย
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๓ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔

๘. ว่าที่ร้อยตรีธีรรักษ์ วนศิริกุล
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕

๙. นายภีศเดช วรกุล
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๕ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖

๑๐. นายเทพพงค์ ยงกุล
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๖ ถึง ปัจจุบัน

ประเภทสำนวน/งาน | ปี พ.ศ. 2563 | ปี พ.ศ. 2564 | ปี พ.ศ.2565 (ม.ค.- ธ.ค) | ปี พ.ศ. 2566 (ม.ค.-พ.ค.) |
1. การคุ้มครองสิทธิประชาชนที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ | 201 สำนวน | 200 สำนวน | 255 สำนวน | 107 สำนวน |
2. การช่วยเหลือทางอรรถคดีโดยจัดหาทนายความอาสาให้แก่ประชาชน | 17 สำนวน | 5 สำนวน | 11 สำนวน | – |
3. การให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่ประชาชน | 781 ราย | 757 ราย | 927 ราย | 520 ราย |
4. การไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาททางแพ่ง | 40 สำนวน | 42 สำนวน | 23 สำนวน | 2 สำนวน |
5. สำนวนการบังคับคดี | 24 สำนวน | 14 สำนวน | 66 สำนวน | 60 สำนวน |
6. งานโครงการฝึกอบรมไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท | 81 หมู่บ้าน 261 ราย | – | 234 หมู่บ้าน 290 ราย | 141 หมู่บ้าน 266 ราย |
7. งานโครงการฝึกอบรมความรู้ทางกฎหมายทั่วไป | 563 ราย | – | 700 ราย | – |
8. งานออกเผยแพร่กฎหมายทั่วไป | 396 หมู่บ้าน 651 ราย | 303 หมู่บ้าน 498 ราย | 1,896 หมู่บ้าน 4,766 ราย | 523 หมู่บ้าน 1,364 ราย |
เอกสารดาวน์โหลด
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์



ติดต่อหน่วยงาน
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดศรีสะเกษ
อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดศรีสะเกษ ชั้น 1 ถนนกสิกรรม ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมือง
จังหวัดศรีสะเกษ 33000 โทรศัพท์ 045-616738 โทรสาร 045-616738
E-mail sisaket-lawaid@ago.go.th