วันที่ 29 เมษายน 2567 นายสนั่น สมสวย อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุรินทร์ และบุคลากรของสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุรินทร์ เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ”ประจำปี 2567

วันธงชาติไทย

วันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราชฯ นางสาวอุษณีย์ ไพรสนต์ อัยจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุรินทร์เข้าร่วมกิจกรรมฯ

(นายประจักรชัย แพงงาม) อัยจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุรินทร์ เข้าร่วมกิจกรรมฯ

วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เกี่ยวกับสำนักงาน

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุรินทร์ตั้งอยู่ชั้น ๗ ณ อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดสุรินทร์ ถนนจิตรบำรุง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๗

ปัจจุบัน นางสาวอุษณีย์ ไพรสนต์
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคุ็มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน 
รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุรินทร์

การดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ

การดำเนินคดีอาญาในศาลเยาวชนและครบครัวมีข้อแตกต่างจากการดำเนินคดีในศาลจังหวัดหรือศาลแขวงมากมายหลายประการ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
๑. บุคคลที่ต้องขึ้นศาลเยาวชนและครอบครัว คือ เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดกฎหมายต่างๆ
   เด็ก หมายถึง บุคคลที่มีอายุเกิน ๗ ปี แต่ไม่เกิน ๑๔ ปี
   เยาวชน หมายถึง บุคคลที่มีอายุ ๑๔ ปี แต่ไม่ถึง ๑๘ ปี
   บุคคลใดที่กระทำความผิดต่อเด็กและเยาวชนตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ เช่น กระทำทารุณกรรมเด็กส่งเสริมหรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร (เที่ยวเตร่กลางคืน, แข่งรถซิ่ง, ร่วมวงดื่มสุรา, ให้เข้าในสถานบริการในยามค่ำคืน) ยินยอมให้เด็กเล่นการพนันหรือเข้าไปในสถานที่เล่นการพนัน จำหน่ายหรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก หรือยุยงส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาฝ่าฝืนระเบียบของสถานศึกษา ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท

๒. การดำเนินการหลังการจับกุมเด็กหรือเยาวชน พนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการตาม มาตรา ๕๐ กล่าวคือ
    ๒.๑     ถ้าคดีอาญานั้นเจ้าพนักงานมีอำนาจเปรียบเทียบปรับ ก็สามารถเปรียบเทียบปรับไปได้เลย คดีเป็นอันเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
    ๒.๒     ถ้าคดีอาญานั้นไม่สามารถเปรียบเทียบปรับได้พนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
    ๒.๒.๑ แจ้งการจับกุมหรือควบคุมไปยังผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอำนาจ
    ๒.๒.๒ แจ้งการจับกุมหรือควบคุมไปยังบิดา มารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอำนาจ
    ๒.๒.๓ พนักงานสอบสวนจะต้องถามปากคำเด็กหรือเยาวชนให้เสร็จภายในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่เด็กหรือเยาวชนนั้นมาถึงสถานที่ทำการของพนักงานสอบสวน
    ๒.๒.๔ เมื่อสอบปากคำแล้วพนักงานสอบสวนต้องส่งตัวเด็กหรือเยาวชนนั้นไปยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กหรือเยาวชน

๓. การดำเนินการหลังจากสถานพินิจได้รับตัวเด็กหรือเยาวชนไว้แล้วเป็นหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานพินิจที่จะต้อง ดำเนินการเกี่ยวกับตัวเด็กหรือเยาวชน ดังต่อไปนี้
    ๓.๑ ผู้อำนวยการสถานพินิจมีอำนาจควบคุมเด็กหรือ เยาวชนนั้นไว้ยังสถานพินิจหรือจะปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันหรือไม่มีประกันหรือมีประกันและหลักประกัน ถ้าจะปล่อยชั่วคราวผู้อำนวยการสถานพินิจสั่งได้เลย แต่ถ้าเห็นว่าไม่สมควรปล่อยชั่วคราวให้ส่งคำร้องไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวแล้วแต่กรณี        เพื่อพิจารณาสั่งคำสั่งดังกล่าวให้เป็นที่สุด แต่ยื่นคำร้องขอใหม่ได้อีก ผู้อำนวยการสถานพินิจมีอำนาจสั่งงดการสืบเสาะแล้วทำรายงานการสืบเสาะส่งไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี ผู้อำนวยการสถานพินิจมีอำนาจสั่งงดการสืบเสาะข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงจำนวน ไม่เกิน ๓ ปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ พิจารณาอนุญาตให้ผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาซึ่งมีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดต่อศาลเยาวชนและครอบครัว พิจารณาแจ้งความเห็นสั่งไม่ฟ้องเด็กหรือเยาวชนไปยังพนักงานอัยการ ในกรณีที่เห็นว่าเด็กหรือเยาวชนอาจกลับตนเป็นคนดีได้โดยไม่ต้องฟ้อง

๔. กำหนดระยะเวลาฟ้องและระยะเวลาผัดฟ้องผู้ต้องหา
    กรณีพนักงานสอบสวนอยู่ในเขตอำนาจศาล มีหลักดังนี้คือ
    – โทษอย่างสูงจำคุกไม่เกิน ๖ เดือนหรือโทษปรับ ต้องฟ้องภายใน ๓๐ วันนับแต่วันจับกุม
    – โทษอย่างสูงจำคุกเกิน ๖ เดือน แต่ไม่เกิน ๕ ปี  ผัดฟ้องได้ไม่เกิน ๒ ครั้ง ๆ ละไม่เกิน ๑๕ วัน
    – โทษอย่างสูงจำคุกเกิน ๕ ปีขึ้นไป ผัดฟ้องได้ไม่เกิน ๔ ครั้ง ๆ ละ ไม่เกิน ๑๕ วัน แต่ในการยื่นคำร้อง ผัดฟ้องครั้งที่ ๓ และ ๔ ศาลต้องไต่สวนคำร้องก่อนอนุญาต ถ้าฟ้องไม่ทันภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว กฎหมายห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด

อำนาจหน้าที่รับผิดชอบทั้งหมด ๓๔ สถานี

๑. สถานีตำรวจภูธรเมืองสุรินทร์๒. สถานีตำรวจภูธรเขวาสินรินทร์
๓. สถานีตำรวจภูธรศีขรภูมิ๔. สถานีตำรวจภูธรท่าตูม 
๕. สถานีตำรวจภูธรรัตนบุรี๖. สถานีตำรวจภูธรโนนนารายณ์
๗. สถานีตำรวจภูธรปราสาท๘. สถานีตำรวจภูธรพนมดงรัก
๙. สถานีตำรวจภูธรสังขะ๑๐. สถานีตำรวจภูธรศรีณรงค์
๑๑. สถานีตำรวจภูธรสนม๑๒. สถานีตำรวจภูธรสำโรงทาบ
๑๓. สถานีตำรวจภูธรจอมพระ๑๔. สถานีตำรวจภูธรชุมพลบุรี
๑๕. สถานีตำรวจภูธรกาบเชิง๑๖. สถานีตำรวจภูธรลำดวน
๑๗. สถานีตำรวจภูธรบัวเชด๑๘. สถานีตำรวจภูธรเมืองที
๑๙. สถานีตำรวจภูธรแนงมุด๒๐. สถานีตำรวจภูธรตากูก
๒๑. สถานีตำรวจภูธรดม๒๒. สถานีตำรวจภูธรสะเดา
๒๓. สถานีตำรวจภูธรทุ่งมน๒๔. สถานีตำรวจภูธรเทนมีย์
๒๕. สถานีตำรวจภูธรสวาย๒๖. สถานีตำรวจภูธรโชคนาสาม
๒๗. สถานีตำรวจภูธรทมอ๒๘. สถานีตำรวจภูธรหนองจอก
๒๙. สถานีตำรวจภูธรเมืองลีง๓๐. สถานีตำรวจภูธรเพี้ยราม
๓๑. สถานีตำรวจภูธรดอนแรด๓๒. สถานีตำรวจภูธรเมืองบัว
๓๓. สถานีตำรวจภูธรกระโพ ๓๔. สถานีตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์
วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร

ลำดับที่รายนามระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1นายจีระศักดิ์   ปาลีคุปต์1 เมษายน 2547  ถึง 3 เมษายน 2548
2นายพิทักษ์ บูรพาชีพ4 เมษายน 2548  ถึง   30 เมษายน 2549
3นายพินิจ ชุมแวงวาปี1 พฤษภาคม 2549 ถึง   1 เมษายน 2550
4นางสุธีรา พาหุสัจจะลักษณ์ 2 เมษายน 2550  ถึง   31 มีนาคม 2551
5นางสาวกิจนา ตรีอนุรักษ์ 1 เมษายน 2551   ถึง 31 มีนาคม 2552
6นายวัฒนา ชั้นบุญ 1 เมษายน 2552   ถึง   31 มีนาคม 2553 
7นายประเสริฐ  กาญจนอุทัย   1 เมษายน 2553   ถึง 31 มีนาคม 2554 
8นายนุกูล บุญรอด 1 เมษายน 2554   ถึง 31 มีนาคม 2555 
9นายวิโรจน์  ศรีดุษฎี   1 เมษายน 2555   ถึง   31 มีนาคม 2556  
10นายปัญญา  บูรพา   1 เมษายาน 2556  ถึง 31 มีนาคม 2557
11นายสุวีระ ลูกรักษ์1 เมษายน 2557  ถึง 31   มีนาคม  2558
12นางสาวรสริน หงษ์วิบูลผล1 เมษายน 2558   ถึง 31 มีนาคม 2559
13นายสุกรี เกษอมรวัฒนา1 เมษายน 2559   ถึง 2 เมษายน 2560
14นายปรีชา ปิ่นอำพล3 เมษายน 2560 ถึง 1 เมษายน 2561
15นางสาววณี  เกษตรธรรม2 เมษายน 2561    ถึง 31 มีนาคม 2562
16นาวาอากาศโทปัญญา  นิลแจ้ง1 เมษายน 2562 ถึง 31 มีนาคม 2563
17นายวิจิตร  ศรีมะเรือง1 เมษายน 2563 ถึง 31 มีนาคม 2564
18 นายสนชัย ประสพมั่น 1 เมษายน 2564 ถึง 31 มีนาคม 2565
19นายชิติพัทธ์ คงมาก1 เมษายน 2565 ถึง 31 มีนาคม 2566
20นางสาวอุษณีย์ ไพรสนต์1 เมษายน 2566 ถึง 31 มีนาคม 2567
21นายสนั่น สมสวย1 เมษายน 2567 ถึง ปัจจุบัน

นายสนั่น สมสวย
อัยการจังหวัด

นางสาวเพ็ญนาเรศ  ศุภโชคเกษมสันต์
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้กลั่นกรองงาน


สถิติงาน

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุรินทร์
เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ.2560 – 2564

ปี พ.ศ. /สำนวน25622563256425652566
ส.1 455 427  366341  400
ส.2 19  10 11 7 21
ส.2 ก 13  –  2
ส.4398369319 281 339
ส.4 วาจา 1  1 5
ส.5 ก 
ส.6 1   2
ส.7 1    –
ส.1 ฟ.704 266 275  40   1
ส.1 ม.  –  –
ส.1มพ. 6061 47  60  62
ส.1 คด.    –
ส.1 ค.ร.ร  5 7
รวม16531136 1024   735 839

หมายเหตุ  : 

  • ส.1     สารบบรับความอาญา ปรากฏผู้ต้องหาที่ส่งตัวมา 
  • ส.2     สารบบรับความอาญา ปรากฏผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมา
  • ส.5 ก  สารบบฟ้องความอาญาที่แก่ต่างแพ่ง
  • บ.8    บัญชีประเด็น
  • ส.6    สารบบอุทธรณ์
  • ส.2 ก  สารบบรับความอาญา ปรากฏผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมา (เฉพาะคดีเปรียบเทียบปรับ)
  • ส.1 ฟ สารบบฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
  • ค.ด.   คดีคุ้มครองเด็ก
  • ค.ร.ร. คดีคุ้มครองผู้ถูกระทำด้วยความรุนแรง
  • ม.ย.  คดีมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
  • ส.7   สารบบฎีกา
  • ส.4 วาจา  สารบบฟ้องความอาญาด้วยวาจา 

ติดต่อหน่วยงาน

สถานที่ตั้งสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุรินทร์
ตั้งอยู่ชั้นที่ ๗ ณ อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดสุรินทร์
ถนนจิตรบำรุง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ๓๒๐๐๐
เบอร์โทรศัพท์ ๐๔๔-๗๑๓๙๓๔ เบอร์โทรสาร. ๐๔๔-๗๑๓๙๓๖