เกี่ยวกับสำนักงาน
สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุรินทร์ตั้งอยู่ชั้น ๗ ณ อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดสุรินทร์ ถนนจิตรบำรุง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๗
ปัจจุบัน นางสาวอุษณีย์ ไพรสนต์
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคุ็มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน
รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุรินทร์
การดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ
การดำเนินคดีอาญาในศาลเยาวชนและครบครัวมีข้อแตกต่างจากการดำเนินคดีในศาลจังหวัดหรือศาลแขวงมากมายหลายประการ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
๑. บุคคลที่ต้องขึ้นศาลเยาวชนและครอบครัว คือ เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดกฎหมายต่างๆ
เด็ก หมายถึง บุคคลที่มีอายุเกิน ๗ ปี แต่ไม่เกิน ๑๔ ปี
เยาวชน หมายถึง บุคคลที่มีอายุ ๑๔ ปี แต่ไม่ถึง ๑๘ ปี
บุคคลใดที่กระทำความผิดต่อเด็กและเยาวชนตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ เช่น กระทำทารุณกรรมเด็กส่งเสริมหรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร (เที่ยวเตร่กลางคืน, แข่งรถซิ่ง, ร่วมวงดื่มสุรา, ให้เข้าในสถานบริการในยามค่ำคืน) ยินยอมให้เด็กเล่นการพนันหรือเข้าไปในสถานที่เล่นการพนัน จำหน่ายหรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก หรือยุยงส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาฝ่าฝืนระเบียบของสถานศึกษา ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท
๒. การดำเนินการหลังการจับกุมเด็กหรือเยาวชน พนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการตาม มาตรา ๕๐ กล่าวคือ
๒.๑ ถ้าคดีอาญานั้นเจ้าพนักงานมีอำนาจเปรียบเทียบปรับ ก็สามารถเปรียบเทียบปรับไปได้เลย คดีเป็นอันเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
๒.๒ ถ้าคดีอาญานั้นไม่สามารถเปรียบเทียบปรับได้พนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
๒.๒.๑ แจ้งการจับกุมหรือควบคุมไปยังผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอำนาจ
๒.๒.๒ แจ้งการจับกุมหรือควบคุมไปยังบิดา มารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอำนาจ
๒.๒.๓ พนักงานสอบสวนจะต้องถามปากคำเด็กหรือเยาวชนให้เสร็จภายในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่เด็กหรือเยาวชนนั้นมาถึงสถานที่ทำการของพนักงานสอบสวน
๒.๒.๔ เมื่อสอบปากคำแล้วพนักงานสอบสวนต้องส่งตัวเด็กหรือเยาวชนนั้นไปยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กหรือเยาวชน
๓. การดำเนินการหลังจากสถานพินิจได้รับตัวเด็กหรือเยาวชนไว้แล้วเป็นหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานพินิจที่จะต้อง ดำเนินการเกี่ยวกับตัวเด็กหรือเยาวชน ดังต่อไปนี้
๓.๑ ผู้อำนวยการสถานพินิจมีอำนาจควบคุมเด็กหรือ เยาวชนนั้นไว้ยังสถานพินิจหรือจะปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันหรือไม่มีประกันหรือมีประกันและหลักประกัน ถ้าจะปล่อยชั่วคราวผู้อำนวยการสถานพินิจสั่งได้เลย แต่ถ้าเห็นว่าไม่สมควรปล่อยชั่วคราวให้ส่งคำร้องไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวแล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาสั่งคำสั่งดังกล่าวให้เป็นที่สุด แต่ยื่นคำร้องขอใหม่ได้อีก ผู้อำนวยการสถานพินิจมีอำนาจสั่งงดการสืบเสาะแล้วทำรายงานการสืบเสาะส่งไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี ผู้อำนวยการสถานพินิจมีอำนาจสั่งงดการสืบเสาะข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงจำนวน ไม่เกิน ๓ ปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ พิจารณาอนุญาตให้ผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาซึ่งมีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดต่อศาลเยาวชนและครอบครัว พิจารณาแจ้งความเห็นสั่งไม่ฟ้องเด็กหรือเยาวชนไปยังพนักงานอัยการ ในกรณีที่เห็นว่าเด็กหรือเยาวชนอาจกลับตนเป็นคนดีได้โดยไม่ต้องฟ้อง
๔. กำหนดระยะเวลาฟ้องและระยะเวลาผัดฟ้องผู้ต้องหา
กรณีพนักงานสอบสวนอยู่ในเขตอำนาจศาล มีหลักดังนี้คือ
– โทษอย่างสูงจำคุกไม่เกิน ๖ เดือนหรือโทษปรับ ต้องฟ้องภายใน ๓๐ วันนับแต่วันจับกุม
– โทษอย่างสูงจำคุกเกิน ๖ เดือน แต่ไม่เกิน ๕ ปี ผัดฟ้องได้ไม่เกิน ๒ ครั้ง ๆ ละไม่เกิน ๑๕ วัน
– โทษอย่างสูงจำคุกเกิน ๕ ปีขึ้นไป ผัดฟ้องได้ไม่เกิน ๔ ครั้ง ๆ ละ ไม่เกิน ๑๕ วัน แต่ในการยื่นคำร้อง ผัดฟ้องครั้งที่ ๓ และ ๔ ศาลต้องไต่สวนคำร้องก่อนอนุญาต ถ้าฟ้องไม่ทันภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว กฎหมายห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด
อำนาจหน้าที่รับผิดชอบทั้งหมด ๓๔ สถานี
๑. สถานีตำรวจภูธรเมืองสุรินทร์ | ๒. สถานีตำรวจภูธรเขวาสินรินทร์ |
๓. สถานีตำรวจภูธรศีขรภูมิ | ๔. สถานีตำรวจภูธรท่าตูม |
๕. สถานีตำรวจภูธรรัตนบุรี | ๖. สถานีตำรวจภูธรโนนนารายณ์ |
๗. สถานีตำรวจภูธรปราสาท | ๘. สถานีตำรวจภูธรพนมดงรัก |
๙. สถานีตำรวจภูธรสังขะ | ๑๐. สถานีตำรวจภูธรศรีณรงค์ |
๑๑. สถานีตำรวจภูธรสนม | ๑๒. สถานีตำรวจภูธรสำโรงทาบ |
๑๓. สถานีตำรวจภูธรจอมพระ | ๑๔. สถานีตำรวจภูธรชุมพลบุรี |
๑๕. สถานีตำรวจภูธรกาบเชิง | ๑๖. สถานีตำรวจภูธรลำดวน |
๑๗. สถานีตำรวจภูธรบัวเชด | ๑๘. สถานีตำรวจภูธรเมืองที |
๑๙. สถานีตำรวจภูธรแนงมุด | ๒๐. สถานีตำรวจภูธรตากูก |
๒๑. สถานีตำรวจภูธรดม | ๒๒. สถานีตำรวจภูธรสะเดา |
๒๓. สถานีตำรวจภูธรทุ่งมน | ๒๔. สถานีตำรวจภูธรเทนมีย์ |
๒๕. สถานีตำรวจภูธรสวาย | ๒๖. สถานีตำรวจภูธรโชคนาสาม |
๒๗. สถานีตำรวจภูธรทมอ | ๒๘. สถานีตำรวจภูธรหนองจอก |
๒๙. สถานีตำรวจภูธรเมืองลีง | ๓๐. สถานีตำรวจภูธรเพี้ยราม |
๓๑. สถานีตำรวจภูธรดอนแรด | ๓๒. สถานีตำรวจภูธรเมืองบัว |
๓๓. สถานีตำรวจภูธรกระโพ | ๓๔. สถานีตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ |
วิสัยทัศน์ (Vision)
“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”
พันธกิจ (Missions)
1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โครงสร้าง (Structure)

วัฒนธรรมองค์กร


- ตัวอย่าง
- ประกาศสำนักวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานต่างประเทศ เรื่องทุน Chevening Scholarships 2017/2018
- ขอเชิญชวนข้าราชการฝ่ายอัยการ รับชมรายการ ถวายพระพร
- ขอเชิญร่วมวางพวงมาลาและร่วมบำเพ็ญกุศล “วันรพี”
- เวียนเสียชีวิตบิดาของนางสาวฑิตยารักษ์ โหมดม่วง นักจัดการงานทั่วไปปฎิบัติการ สำนักงานคดีแรงงานภาค 2

วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บุคลากร
ลำดับที่ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
1 | นายจีระศักดิ์ ปาลีคุปต์ | 1 เมษายน 2547 ถึง 3 เมษายน 2548 |
2 | นายพิทักษ์ บูรพาชีพ | 4 เมษายน 2548 ถึง 30 เมษายน 2549 |
3 | นายพินิจ ชุมแวงวาปี | 1 พฤษภาคม 2549 ถึง 1 เมษายน 2550 |
4 | นางสุธีรา พาหุสัจจะลักษณ์ | 2 เมษายน 2550 ถึง 31 มีนาคม 2551 |
5 | นางสาวกิจนา ตรีอนุรักษ์ | 1 เมษายน 2551 ถึง 31 มีนาคม 2552 |
6 | นายวัฒนา ชั้นบุญ | 1 เมษายน 2552 ถึง 31 มีนาคม 2553 |
7 | นายประเสริฐ กาญจนอุทัย | 1 เมษายน 2553 ถึง 31 มีนาคม 2554 |
8 | นายนุกูล บุญรอด | 1 เมษายน 2554 ถึง 31 มีนาคม 2555 |
9 | นายวิโรจน์ ศรีดุษฎี | 1 เมษายน 2555 ถึง 31 มีนาคม 2556 |
10 | นายปัญญา บูรพา | 1 เมษายาน 2556 ถึง 31 มีนาคม 2557 |
11 | นายสุวีระ ลูกรักษ์ | 1 เมษายน 2557 ถึง 31 มีนาคม 2558 |
12 | นางสาวรสริน หงษ์วิบูลผล | 1 เมษายน 2558 ถึง 31 มีนาคม 2559 |
13 | นายสุกรี เกษอมรวัฒนา | 1 เมษายน 2559 ถึง 2 เมษายน 2560 |
14 | นายปรีชา ปิ่นอำพล | 3 เมษายน 2560 ถึง 1 เมษายน 2561 |
15 | นางสาววณี เกษตรธรรม | 2 เมษายน 2561 ถึง 31 มีนาคม 2562 |
16 | นาวาอากาศโทปัญญา นิลแจ้ง | 1 เมษายน 2562 ถึง 31 มีนาคม 2563 |
17 | นายวิจิตร ศรีมะเรือง | 1 เมษายน 2563 ถึง 31 มีนาคม 2564 |
18 | นายสนชัย ประสพมั่น | 1 เมษายน 2564 ถึง 31 มีนาคม 2565 |
19 | นายชิติพัทธ์ คงมาก | 1 เมษายน 2565 ถึง 31 มีนาคม2566 |
20 | นางสาวอุษณีย์ ไพรสนต์ | 1 เมษายน 2566 ถึง ปัจจุบัน |









สถิติงาน
สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุรินทร์
เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ.2560 – 2564
ปี พ.ศ. /สำนวน | 2561 | 2562 | 2563 | 2564 | 2565 |
ส.1 | 469 | 455 | 427 | 366 | 341 |
ส.2 | 19 | 19 | 10 | 11 | 7 |
ส.2 ก | 19 | 13 | – | – | – |
ส.4 | 413 | 398 | 369 | 319 | 281 |
ส.4 วาจา | – | 1 | – | – | 1 |
ส.5 ก | – | – | – | – | – |
ส.6 | 4 | 1 | – | – | – |
ส.7 | – | 1 | – | – | – |
ส.1 ฟ. | 598 | 704 | 266 | 275 | 40 |
ส.1 ม. | – | 1 | – | – | – |
ส.1มพ. | 67 | 60 | 61 | 47 | 60 |
ส.1 คด. | – | – | – | – | – |
ส.1 ค.ร.ร | – | – | – | 6 | 5 |
รวม | 1590 | 1653 | 1136 | 1024 | 735 |
หมายเหตุ :
- ส.1 สารบบรับความอาญา ปรากฏผู้ต้องหาที่ส่งตัวมา
- ส.2 สารบบรับความอาญา ปรากฏผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมา
- ส.5 ก สารบบฟ้องความอาญาที่แก่ต่างแพ่ง
- บ.8 บัญชีประเด็น
- ส.6 สารบบอุทธรณ์
- ส.2 ก สารบบรับความอาญา ปรากฏผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมา (เฉพาะคดีเปรียบเทียบปรับ)
- ส.1 ฟ สารบบฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
- ค.ด. คดีคุ้มครองเด็ก
- ค.ร.ร. คดีคุ้มครองผู้ถูกระทำด้วยความรุนแรง
- ม.ย. คดีมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
- ส.7 สารบบฎีกา
- ส.4 วาจา สารบบฟ้องความอาญาด้วยวาจา
เอกสารเผยแพร่
- ตัวอย่าง
- กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับองค์กรอัยการ (ดาวน์โหลด)
- แบบฟอร์มกฎหมาย (ดาวน์โหลด)
ติดต่อหน่วยงาน
สถานที่ตั้งสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุรินทร์
ตั้งอยู่ชั้นที่ ๗ ณ อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดสุรินทร์
ถนนจิตรบำรุง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ๓๒๐๐๐
เบอร์โทรศัพท์ ๐๔๔-๗๑๓๙๓๔ เบอร์โทรสาร. ๐๔๔-๗๑๓๙๓๖