


เกี่ยวกับสำนักงาน
สำนักงานคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดยโสธร เปิดทำการเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2549
เดิมจังหวัดยโสธรไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวการพิจารณาคดีสำหรับเด็กและเยาวชนและการพิจารณาคดีเกี่ยวกับครอบครัวต้องทำการพิจารณาพิพากษาในศาลจังหวัดยโสธรตลอดมา เด็กและเยาวชน ในจังหวัดยโสธร จึงไม่ได้รับประโยชน์จากการคุ้มครองสิทธิ ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวเท่าที่ควร ต่อมาได้มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวใน ศาลจังหวัดยโสธร เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2549 จึงทำให้เด็กและเยาวชนผู้กระทำความผิดในท้องที่จังหวัดต่าง ๆ ตามที่ พระราชกฤษฎีกา กำหนดวันเปิดทำการแผนคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดกระบี่ ศาลจังหวัดชัยนาท ศาลจังหวัดชุมพร ศาลจังหวัดตาก ศาลจังหวัดนครนายก ศาลจังหวัดพิจิตรศาลจังหวัดพระเยา ศาลจังหวัดพังงา ศาลจังหวัดปราจีนบุรี ศาลจังหวัดมหาสารคาม ศาลจังหวัดแม่ฮ่องสอน ศาลจังหวัดยโสธร และศาลจังหวัดระนอง พ.ศ. 2549 ดังกล่าวทั้งหมด รวมจังหวัดยโสธร ได้รับการค้มครองตามกฎหมาย ว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัววิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ครอบคลุมเพิ่มมากขึ้น
สำนักงานคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดยโสธร จึงได้ทำการจัดตั้ง วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันและรับผิดชอบในคดีที่เด็กและเยาวชนกระทำความผิดในเขตท้องที่ อำเภอต่างๆ ของจังหวัดยโสธร เป็นจำนวน 11 อำเภอ โดยสำนักงานตั้งอยู่ที่ ศาลากลางหลังเก่าชั้น 2 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร
ต่อมา สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดยโสธร ได้ขอใช้อาคารราชพัสดุ หลังลำดับที่ 140 บนที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ยส.43 (บางส่วน) เนื้อที่ประมาณ 0-0-37.38 ไร่ เพื่อใช้เป็นที่ตั้งทำการ ซึ่งตั้งอยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดยโสธร ถนนศาลากลาง 3 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัว จังหวัดยโสธร ได้ย้ายที่ทำการมา เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 จนถึงปัจจุบัน.

(มาตรา ๒๓) สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชาการ
เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการ
คุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมาย
แก่ประชาชน
(๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
(๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
(๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
(๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
(๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ
(๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
(๘) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
(๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด
ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
อำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด มีดังนี้
(มาตรา ๒๗) ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด
(๒) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ
(๓) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสุดของสำนักงานอัยการสูงสุด
ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้
ให้อัยการสูงสุดโอยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด
อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ มีดังนี้
มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
(๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือพนักงานอัยการ
(๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของ สำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
(๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้ กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
(๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
(๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็น
โจทก์ได้
(๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึด ทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาก ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
(๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
(๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
(๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
(๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตาม ระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.

วิสัยทัศน์ (Vision)
“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”
พันธกิจ (Missions)
1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โครงสร้าง (Structure)

วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร

นายศิกวัส บรรลุศาสตร์
อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดยโสธร

นายกานต์นุวัตร ผิวใส
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

นายธนาชัย ศรีวิรุฬห์ชัย
รองอัยการการจังหวัดฯ

นายปิยวัฒน์ ไกรโสภา
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

นางสาวมลัย โพธิทักษ์
นิติกรชำนาญการ

นางสาวโกสุม เสนาพรหม
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นายสุขสันต์ ศรีตะนิตย์
พนักงานขับรถยนต์

นางธัญญารัตน์ วิกล
พนักงานรักษาความสะอาด

สถิติงาน

เอกสารเผยแพร่
- สัญญากู้ยืมเงิน (ทั่วไป) ดาวน์โหลด
- สัญญากู้ยืมเงินทั่วไป (แบบมีหลักประกัน) ดาวน์โหลด
- สัญญาค้ำประกันเงินกู้ยืม ดาวน์โหลด
- หลักฐานการรับชำระหนี้เงินกู้ยืม ดาวน์โหลด
- สัญญาว่าจ้างทนายความ ดาวน์โหลด
- หนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินคดี ดาวน์โหลด
- สัญญาจะซื้อจะขาย ดาวน์โหลด
- สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ดาวน์โหลด
- สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ดาวน์โหลด
- สัญญาจ้างก่อสร้างบ้านพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ดาวน์โหลด
- สัญญาเช่าซื้อที่ดิน ดาวน์โหลด
- สัญญาเช่าซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ดาวน์โหลด
- สัญญาเช่าบ้าน ดาวน์โหลด
- หนังสือรับสภาพหนี้ ดาวน์โหลด
- หนังสือยินยอมให้คู่สมรสทำนิติกรรม ดาวน์โหลด
- หนังสือสัญญาหย่า ดาวน์โหลด
- หนังสือหย่าโดยความยินยอม ดาวน์โหลด
ติดต่อหน่วยงาน
สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดยโสธร
ถนนศาลากลาง 3 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร 35000
โทรศัพท์ 0 4571 4989 , โทรสาร 0 4571 4966
E-mail : yasothon-ju@ago.go.th
