ข่าวประชาสัมพันธ์

เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2567 เวลา 16.00 นาฬิกา นายเกียรติชัย จิตนิยม อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดยโสธร มอบหมายให้ นายสุรชัย ยิ่งยงวรชัย อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เข้าร่วมพิธีเจริญพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ วัดนาโป่ง ตำบลทรายมูล อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร

วันที่ 25 เมษายน 2567 เวลา 07.30 นาฬิกา นายเกียรติศักดิ์ จิตนิยม อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดยโสธร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมงานพิธีถวายราชสักการะเนื่องใน“วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” เพื่อร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ แห่งองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้ทรงกอบกู้อิสรภาพของไทย ณ หอประชุมจังหวัดยโสธร ศาลากลางจังหวัดยโสธร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร

วันที่ 6 เมษายน 2567 เวลา 07.30 นาฬิกา นายเกียรติศักดิ์ จิตนิยม อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดยโสธร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมงานพิธีถวายราชสักการะเนื่องใน“วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์” ณ หอประชุมจังหวัดยโสธร ศาลากลางจังหวัดยโสธร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดยโสธร นำโดย นายศิริชัย ด่านพัฒนามงคล อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดยโสธร จัดโครงการอบรมเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย หัวข้อ “ความรู้เบื้องต้นกฎหมายทั่วไป กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ การกระทำความผิดเกี่ยวกับผู้เยาว์ และสิทธิประชาชนเกี่ยวกับเอดส์”เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่เยาวชน และนักเรียน ให้มีความรู้เบื้องต้นทางกฎหมายเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ตลอดจนการปฏิบัติตนให้มีคุณธรรม จริยธรรม และระเบียบวินัยแก่เด็กและเยาวชน มีผู้เข้าร่วมโครงการอบรม  จำนวน 248 คน ณ โรงเรียนค้อวังวิทยาคม ตำบลค้อวัง อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร

วันที่ 14 มกราคม 2567 เวลา 08.00 นาฬิกา นายศิริชัย ด่านพัฒนามงคล อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดยโสธร นายราเชนทร์ วิทยาบำรุง รองอัยการจังหวัด พร้อมเจ้าหน้าที่ ร่วมโครงการกิจกรรม “ตลาดนัดแก้หนี้” Kick Off พร้อมกันทั่วประเทศ ภายใต้ความร่วมมือของกรมยโสธรในการจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบจังหวัดยโสธร เพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบแก่ประชาชน ตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย ณ หอประชุมศาลากลางจังหวัดยโสธร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร

วันที่ 5 มกราคม 2567 เวลา 08.00 นาฬิกา นายศิริชัย ด่านพัฒนามงคล อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดยโสธร พร้อมเจ้าหน้าที่ ร่วมโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ “เพิ่มรอยยิ้ม เติมความสุข ให้คนยโสธร” เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน แจกเอกสารเพื่อประชาสัมพันธ์ พันธกิจ และภารกิจของสำนักงานอัยการสูงสุด ณ วัดบ้านหัวคำ หมู่ที่ 4 ตำบลสำราญ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดยโสธร โดย นายศิริชัย ด่านพัฒนามงคล รักษาการในตำแหน่ง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนและการบังคับคดีจังหวัดยโสธร จัดโครงการฝึกอบรมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป “กฎหมายว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ การกระทำความผิดเกี่ยวกับผู้เยาว์ และสิทธิประชาชนเกี่ยวกับเอดส์” ให้แก่เยาวชน นักเรียน ในเขตท้องที่อำเภอกุดชุม ณ โรงเรียนกุดชุมวิทยาคม ตำบลกุดชุม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวนทั้งหมด 303 คน

วันที่ 20 ตุลาคม 2566 เวลา 08.00 นาฬิกา นายศิริชัย ด่านพัฒนามงคล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด รักษาการในตำแหน่ง อัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดยโสธร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ร่วมโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ “เพิ่มรอยยิ้ม เติมความสุข ให้คนยโสธร” เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน แจกเอกสารเพื่อประชาสัมพันธ์ พันธกิจ และภารกิจของสำนักงานอัยการสูงสุด ณ โรงเรียนบ้านกระจาย หมู่ที่ 3 ตำบลกระจาย อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร

วันที่ 13 ตุลาคม 2566 เวลา 07.30 นาฬิกา นายสมจิตร ศรีเจริญ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรและถวายพวงมาลา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันนวมิน ทรามหาราช 13 ตุลาคม 2566 ณ หอประชุมวิถีอีสาน ศาลากลางจังหวัดยโสธร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร

วันที่ 28 กันยายน 2566 เวลา 08.00 น. นายศิริชัย ด่านพัฒนามงคล อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดยโสธร พร้อมด้วยข้าราชการสำนักอัยการคุ้มครองสิทธิฯ ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน (Thai National Day) ประจำปี 2566 เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจของคนในชาติและเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย ณ หอประชุมวิถีอีสาน ศาลากลางจังหวัดยโสธร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร

เกี่ยวกับสำนักงาน

             ประวัติความเป็นมา

ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชาชน โดยเฉพาะที่มีฐานะยากจนหรือที่อยู่ในชนบทห่างไกล ถูกเอารัดเอาเปรียบในด้านเศรษฐกิจ ถูกแย่งที่ดินทำกิน การใช้อำนาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรมจนทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับราษฎร ฯลฯ มีมูลเหตุสำคัญมาจากความไม่รู้กฎหมายที่ควรรู้สำหรับประชาชน ทำให้คนส่วนหนึ่งมีการกระทำที่ละเมิดต่อกรอบกฎเกณฑ์ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ในขณะที่คนอีกส่วนหนึ่งไม่มีความรู้ที่จะใช้กฎหมายในการปกป้องหรือพิทักษ์สิทธิและประโยชน์ของตน เมื่อเกิดกรณีพิพาทขึ้น จึงกลายเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องทุ่มเทงบประมาณจำนวนไม่น้อยลงไปในแต่ละปีเพื่อจะบรรเทา ตลอดจนขจัดปัญหาดังกล่าวให้หมดสิ้นไป

                กระทรวงมหาดไทยได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานสร้างความเป็นธรรมด้านปัญหากฎหมายแก่ประชาชน โดยจัดให้มีการช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนที่ยากไร้และไม่สามารถจัดหาทนายความด้วยตนเอง ด้วยการจัดหาทนายความอาสาสมัครทำหน้าที่แก้คดีและให้คำแนะนำทางกฎหมายโดยไม่คิดมูลค่าตามเงื่อนไขที่กำหนด เพื่อให้สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ให้รัฐจัดหาทนายความให้แก่ผู้ยากไร้ โดยให้กรมอัยการ (ซึ่งในขณะนั้นสังกัดกระทรวงมหาดไทย) เป็นผู้รับผิดชอบ กอปรกับอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการมิใช่เพียงฟ้องความแทนแผ่นดินเท่านั้น หากแต่ยังมีหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของรัฐและประชาชนในด้านต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนดอีกด้วย เช่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดบทบาทอัยการให้มีหน้าที่คุ้มครองดูแลคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความความสามารถ คนสาบสูญ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง ตรวจสอบดูแลกิจการบางอย่างที่มีผลกระทบต่อสาธารณชน เช่น นิติบุคคล มูลนิธิ สมาคม ฯลฯ ทั้งยังมีอำนาจหน้าที่ฟ้องคดีและแก้ต่างคดีให้กับหน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา เนื่องจากการปฏิบัติการตามหน้าที่ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน ตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๔๙๘

                นอกจากนี้ ยังมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ๆ ซึ่งได้บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของอัยการ และเป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน เช่น อำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติล้มละลาย พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น

                จึงเป็นที่มาในการจัดตั้งสำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนขึ้น เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๒๕

                ต่อมาเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๒๖ คณะรัฐมนตรีได้มีมติโอนโครงการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนในชนบทเขตยากจน ซึ่งขณะนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักนโยบายและแผน มหาดไทย และแผนการจัดตั้งสำนักงานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ.๒๕๒๕ ที่ยังมีปัญหาในการปฏิบัติงาน มาให้กรมอัยการรับผิดชอบดำเนินงานสืบมา

                การปฏิบัติงานของสำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนได้ดำเนินการตามแนวนโยบายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาด้วยดีโดยลำดับได้รับการคัดเลือกและยกย่องให้เป็นหน่วยงานดีเด่นระดับชาติ สาขาพัฒนาสังคม พ.ศ.๒๕๒๙ จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาชนทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด

                ในปี พ.ศ.๒๕๓๑ ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมอัยการ กระทรวงมหาดไทยกำหนดให้สำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน เป็นส่วนราชการระดับกองตามกฎหมายของกรมอัยการ และเปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน

                ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๔ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้มีประกาศ ฉบับที่ ๔๗ และ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ แยกกรมอัยการออกจากกระทรวงมหาดไทยไปเป็นหน่วยงานไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวงใด โดยอยู่ภายใต้กำกับดูแลของนายกรัฐมนตรีโดยตรง และเปลี่ยนชื่อจาก “กรมอัยการ” เป็น “สำนักงานอัยการสูงสุด” และเปลี่ยนชื่อตำแหน่ง “อธิบดีกรมอัยการ” เป็น “อัยการสูงสุด” และมีปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายใน โดยการจัดรูปองค์กรเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ สำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ.๒๕๓๕ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ นอกจากการดำเนินคดีอาญา คดีแพ่ง ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายแล้ว ยังให้มีหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน รวมทั้งให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย เผยแพร่ความรู้ทางด้านสิทธิมนุษยชน และความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนโดยให้ “สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน”(สคช.) เป็นผู้รับผิดชอบ สำหรับในส่วนต่างจังหวัดได้กำหนดให้มี สคช.จังหวัด และ สคช.จังหวัดสาขา เป็นหน่วยดำเนินการในพื้นที่

                ในช่วง ปี พ.ศ.๒๕๔๓ มีการปฏิรูประบบราชการ ได้มีการจัดรูปโครงสร้างกระทรวงยุติธรรมใหม่ด้วย โดยให้สำนักงานอัยการสูงสุด อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ บัญญัติให้องค์กรอัยการเป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ โดยมาตรา ๒๕๕ กำหนดให้พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการและกฎหมายอื่น ดังนั้นจึงมีการตราพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๕๓ กำหนดอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด โดยในมาตรา ๒๓(๑) กำหนดให้มีอำนาจและหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมาย รวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน ทั้งนี้ ในการแบ่งส่วนราชการ การกำหนดอำนาจและหน้าที่ให้ทำเป็นประกาศคณะกรรมการอัยการ

                คณะกรรมการอัยการ มีประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ.๒๕๕๔ ให้สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย การเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนระหว่างประเทศ รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอรรถคดี การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ประชาชน ทั้งยังให้มีสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนภายในเขตพื้นที่สำนักงานอัยการภาค ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด

                ในต่างจังหวัด สำนักงานอัยการสูงสุดได้กำหนดให้มีสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนในทุกสำนักงานอัยการจังหวัดที่ตั้งอยู่ ณ ตัวจังหวัด ๗๖ แห่ง (สคช.จังหวัด) และสำนักงานอัยการจังหวัดที่ตั้งอยู่ ณ ตัวอำเภอ ๒๙ แห่ง (สคช.สาขา) ทั่วประเทศ รวม ๑๐๕ แห่ง เพื่อให้การบริการกิจกรรมงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนเป็นไปอย่างทั่วถึงทุกภูมิภาคของประเทศ

ต่อมาได้มีประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๑๐) กำหนดให้มี “สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด”(สคชจ.) เป็นหน่วยงานแยกต่างหากจากสำนักงานอัยการจังหวัด ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๗

(เรียบเรียงจากหนังสือ “๓๐ ปี กับภารกิจอัยการ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม”)

นโยบายอัยการสูงสุด

อำนาจหน้าที่

ภารกิจและหน้าที่ความรับผิดชอบของ สคชจ.ยโสธร

          สคชจ.ยโสธร ได้ดำเนินงานการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน โดยกำหนดกิจกรรมที่เป็นงานหลัก ได้แก่
            1. การคุ้มครองสิทธิทางศาลตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงาน อัยการ
            2. การให้คำปรึกษาปัญหาทางกฎหมาย ช่วยเหลือจัดทำนิติกรรมสัญญา และประนอมข้อพิพาท
            3. การช่วยเหลือทางอรรถคดีแก่ผู้ยากจนและไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยการจัดทนายความอาสาดำเนินการในชั้นศาล
           4. สนับสนุนการประนอมข้อพิพาทระดับท้องถิ่น โดยฝึกอบรมคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่นในการประนอมข้อพิพาท
            5. เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายต่าง ๆ แก่ประชาชน เช่น ออกหน่วยเคลื่อนที่ไปตามหมู่บ้านต่างๆ ร่วมกับจังหวัดเคลื่อนที่ ร่วมกับหน่วยงานอื่นในการออกเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย ฯลฯ
          6. ฝึกอบรมความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ เช่น นักเรียน นักศึกษา ทหาร
          7. การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอรรถคดี โดยให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ประชาชน
          นอกจากนี้ สคชจ.ยโสธร ยังมีภารกิจด้านการบังคับคดี โดยรับผิดชอบการดำเนินคดีเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง คดีปกครอง และคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดภายในเขตท้องที่จังหวัดยโสธร

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร

ทำเนียบอัยการ

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัด
คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดยโสธร

ลำดับที่     ชื่อ – นามสกุล                            ดำรงตำแหน่ง

1. นางอรประภา สาครวาสี

2. นายเกรียงศักดิ์ สินทวีเพิ่มพูน

3. นายสิริมงคล สุวรรณธาดา

4. นายกิตติคุณ จันทรสถาพร

5. นายจักรกฤษณ์ ศรีเมฆ

6. นายฤาชา วัฒนเนติกุล

7. นางสาวดรุณี แสงสง่าศรี

8. นายวิชาญ สวยสม

9. นายทวีสิทธิ์ ยอดอินทร์

10. นายศิริชัย ด่านพัฒนามงคล

11. นายเกียรติศักดิ์ จิตนิยม

1 เมษายน 2557 – 31 มีนาคม 2558

1 เมษายน 2558 – 31 มีนาคม 2559

1 เมษายน 2559 – 2 เมษายน 2560

3 เมษายน 2560 – 1 เมษายน 2561

2 เมษายน 2561 – 31 มีนาคม 2562

1 เมษายน 2562 – 31 มีนาคม 2563

1 เมษายน 2563 – 31 มีนาคม 2564

1 เมษายน 2564 – 31 มีนาคม 2565

1 เมษายน 2565 – 31 มีนาคม 2566

1 เมษายน 2566 – 31 มีนาคม 2567

1 เมษายน 2567 – ปัจจุบัน

นายเกียรติศักดิ์ จิตนิยม
อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย
และการบังคับคดีจังหวัดยโสธร

นายสุรชัย ยิ่งยงวรชัย
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
นายราเชนทร์ วิทยาบำรุง
รองอัยการจังหวัด

นางอุบล วงศ์สง่า
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

นางสาวนฤมล พันธ์ุศิริ
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นายเอกสิทธิ์ ทองน้อย
เจ้าพนักงานคดีปฏิบัติการ

นางสาวมยุรี สาสนาม
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวกมลชนก เอื้อทาน
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวสรินยา ทองสามัญ
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาววิชญาดา บุญวิเศษ
นิติกร

นายชินวัตร แสงใสแก้ว
พนักงานขับรถยนต์

นางอรดี ศรีธรรม
นักการภารโรง

นายไพทูลย์ แหล่งชอบกฤษณ์
ทนายความ
นายกรพิสิษฐ์ พลอาภาภิวัฒน์
ทนายความ
นายสมบูรณ์ มาแสวง
ทนายความ

สถิติคดี

เอกสารการจัดการมรดก

เอกสารที่ต้องนำมายื่นในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก (ทุกอย่างสำเนา 4 ชุด)

  1. สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประชาชนผู้ร้อง  (ผู้ที่จะขอเป็นผู้จัดการมรดก)
  2. สำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย (เจ้ามรดก)
  3. ใบมรณบัตรของเจ้ามรดกผู้ตาย
  4. ทะเบียนสมรสของเจ้ามรดกผู้ตาย (ถ้ามี)
  5. ใบมรณบัตรของบิดา  มารดาของเจ้ามรดกผู้ตาย (ถ้ามี)
  6.  ใบมรณบัตรของทายาทของเจ้ามรดกผู้ตาย (กรณีที่ทายาทอื่น ๆ ตาย)   (ถ้ามี)
  7. พินัยกรรมของเจ้ามรดกผู้ตาย (ถ้ามี)
  8. เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดก
  9. บัญชีเครือญาติ (เจ้าหน้าที่จะทำให้เมื่อเอกสารพร้อมยื่นคำร้อง)
  10.  หนังสือให้ความยินยอมในการร้องขอจัดการมรดก  (ต้องทำหนังสือยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของสำนักงานอัยการ ที่สำนักงานอัยการเท่านั้น)

         1. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด
        2. สำเนาบัตรประชาชน 1 ชุด

กรณีบุคคลใดเปลี่ยนชื่อ สกุล  (ต้องใช้ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ สกุลด้วย)
กรณีที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ของสำนักงานอัยการ สคชจ. ให้ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหรือเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นของรัฐรับรองหนังสือยินยอมให้แนบ…(1 ชุด)
1. สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าหน้าที่
2. สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าหน้าที่
3. สำเนาบัตรข้าราชการของเจ้าหน้าที่
หากมีข้อสงสัยให้ติดต่อสอบถามที่สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดยโสธร โทร.  0 4575 6763

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดยโสธร
ศาลากลางจังหวัดยโสธร (หลังใหม่) ชั้นที่ 1
ถนนแจ้งสนิท ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร 35000
โทร. 0 4575 6763
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดยโสธร
ให้บริการกฎหมายฟรี (ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล) ดังนี้
 
-บริการให้คำปรึกษาปัญหากฎหมายแก่ประชาชนจัดหาทนายความช่วยเหลือในทางอรรถคดีแก่ประชาชนผู้ยากจนและไม่ได้รับความเป็นธรรม ตลอดจนงานการประนอมข้อพิพาท
 
-ให้การคุ้มครองสิทธิทางศาลแก่ประชาชนตามที่กฎหมายให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ (เช่น การร้องขอตั้งเป็นผู้จัดการมรดก, ร้องขอตั้งผู้ปกครองเด็ก, ร้องขอต่อศาลให้เป็นคนสาบสูญ, ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรม, ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์, ร้องขอให้ศาลสั่งถอนอำนาจปกครอง, ร้องขอให้ศาลสั่งให้คนวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถ, ร้องขอให้ผู้ที่ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นคนสาบสูญ, ร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ)
 
– เผยแพร่ให้ความรู้ด้านกฎหมาย