ประวัติความเป็นมา
การดำเนินคดีอาญาในชั้นพิจารณาอุทธรณ์และฎีกา เป็นขั้นตอนสำคัญในการตรวจการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ และการตรวจสอบเพื่อถ่วงดุลคำพิพากษาทุกชั้นศาล เป็นสิ่งสำคัญที่พนักงานอัยการทุกท่านที่รับผิดชอบควรให้ระมัดระวัง การมีหน่วยงานศาลสูงในสำนักงานอัยการสูงสุด แต่ก่อนปี พ.ศ. 2527 (สำนักงานอัยการสูงสุด) ในขณะนั้นยังเป็นกรมอัยการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมอัยการ กระทรวงมหาดไทยมีหน่วยงานเป็นกอง มีจำนวนสามกอง คือ กองคดี กองที่ปรึกษา กองวิชาการ สำนักงานอัยการเขต ส่วนภูมิภาคมีที่ทำการอัยการจังหวัดและพระราชกฤษฎีกาไม่ได้ระบุอำนาจหน้าที่ของกองแต่ละกองมีอำนาจหน้าที่อย่างไร แต่อธิบดีกรมอัยการ (อัยการสูงสุด) ในครั้งนั้นได้อาศัยมาตรา 15 พระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 จัดแบ่งอำนาจหน้าที่ของแต่ละกอง โดยอำนาจหน้าที่การดำเนินคดีอาญาชั้นพิจารณาอุทธรณ์ อำนาจหน้าที่ การดำเนินคดีอาญาชั้นอุทธรณ์และฎีกา เป็นอำนาจของอัยการจังหวัดในส่วนภูมิภาค แต่ส่วนกลางเป็นอำนาจหัวหน้าพนักงานอัยการกอง (ปัจจุบันคืออัยการพิเศษฝ่าย สำนักงานอัยการพิเศษฝ่าย) การตรวจสอบการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการทั่วราชอาณาจักรเป็นอำนาจของกองวิชาการ
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2534 ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 47 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2534 ให้แยกกรมอัยการออกจากกระทรวงมหาดไทย เป็นสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง และต่อมาก็มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มารับรองฐานะพนักงานอัยการไม่ต้องอยู่ในบังคับบัญชา หรือกำกับดูแลของ ผู้ว่าราชการจังหวัดในกรณีพนักงานอัยการที่ไปรับราชการประจำในจังหวัดนั้นๆ และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 ได้บัญญัติโดยระบุให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นส่วนราชการไม่สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรีกระทรวง ทบวง แต่ให้อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี สำนักงานอัยการสูงสุด จึงได้พัฒนาสถาบันอัยการในรูปแบบกระทรวงและมีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ สำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ.๒๕๓๕ ได้กำหนดหน่วยราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดมีจำนวน ๒๓ หน่วยงาน แต่ละหน่วยงานพระราชกฤษฎีกาได้กำหนดอำนาจหน้าที่ไว้โดยเฉพาะและในพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2535 ได้บัญญัติให้มีหน่วยงานสำนักงานคดีศาลสูง หรือสำนักงานอัยการสูงสุดในชั้นอุทธรณ์และฎีกา จะสังเกตเห็นว่ากองอุทธรณ์ และกองฎีกา ได้ถูกยกเลิกหรือรวมเป็น สำนักงานคดีศาลสูง นั่นเอง และในปี พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้ให้รัฐมนตรียุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชาแทนนายกรัฐมนตรี
ในปี พ.ศ. 2537 ถึงปี 2550 สำนักงานอัยการสูงสุดได้ออกระเบียบการดำเนินคดีอาญาชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาถึง 6 ฉบับ เพื่อมารองรับวิธีการดำเนินคดีในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ฎีกาในสำนักงานคดีศาลสูง และสำนักงานคดีศาลสูงเขต
1. ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาชั้นอุทธรณ์ และฎีกาในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2537
2. ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาชั้นอุทธรณ์ และฎีกาในเขตท้องที่สำนักงานอัยการเขต พ.ศ. 2537
3. ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาชั้นอุทธรณ์ และฎีกา พ.ศ. 2545
4. ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาชั้นอุทธรณ์ และฎีกา พ.ศ. 2546
5. ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 โดยวางระเบียบไว้ในหมวดที่ 5 การดำเนินคดีชั้นศาลสูงตั้งแต่ข้อ 130 ถึงข้อ 153
6. ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2549
ปัจจุบันอำนาจบริหารการดำเนินคดีอาญาในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ฎีกานอกกรุงเทพมหานคร มีอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขตรับผิดชอบเช่นเดียวกับอธิบดีอัยการฝ่ายศาลสูงภายในเขตกรุงเทพมหานคร ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของ พนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2549 ในหมวด 5 การดำเนินคดีชั้นศาลสูงจึงไม่ได้แบ่งการดำเนินคดีในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ฎีกาในเขตกรุงเทพมหานครกับการดำเนินคดีในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ฎีกาในเขตท้องที่สำนักงานอัยการเขต แยกออกจากกันดังที่ระเบียบก่อน ๆ ได้แบ่งไว้โดยเฉพาะ
ในปี พ.ศ. 2540 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2540 ได้ตั้งหน่วยงานขึ้น ๒๕ หน่วย (สำนักงาน) หน่วยงานศาลสูงได้แบ่งเป็นสองส่วนดังนี้
1. สำนักงานคดีศาลสูง พระราชกฤษฎีกาได้กำหนดไว้ให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีอาญาทั้งปวงที่เกิดในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดในชั้นอุทธรณ์ และฎีกา หรือคดีที่ได้รับมอบหมาย
2. พระราชกฤษฎีกาได้บัญญัติไว้ในวงเล็บ 23 ข้อ ค. ว่าสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูงเขต มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานดำเนินคดีอาญาที่เกิดขึ้นในเขตท้องที่สำนักอัยการเขตตามที่กฎหมายกำหนด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดในชั้นอุทธรณ์และฎีกา ในปี พ.ศ. 2546 กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2546 ข้อ 2 (16) (17) ได้ตั้งสำนักงานคดีศาลสูงและสำนักงานคดีศาลสูงเขต
ภารกิจ
1. บทบาทและภารกิจ
การดำเนินคดีชั้นศาลสูง มีวัตถุประสงค์ในการกระจายอำนาจและการดำเนินคดี โดยให้อัยการศาลสูงมีเอกภาพในการตรวจสอบการปฏิบัติงานการดำเนินคดีของพนักงานอัยการประจำศาลชั้นต้นเช่นในกรณีที่พบข้อบกพร่องในการดำเนินคดีของพนักงานอัยการประจำศาลชั้นต้น ถ้าเป็นข้อบกพร่องที่เห็นสมควรแนะนำการปฏิบัติราชการ ให้อัยการศาลสูงเสนออัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูงหรืออัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูงภาค หากอัยการพิเศษฝ่ายเห็นควรยุติ ก็ให้เป็นอันยุติ แต่หากเห็นว่าเป็นข้อบกพร่องที่ควรแนะนำการปฏิบัติราชการ ก็ให้เสนอความเห็นตามลำดับชั้น จนถึงอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงหรืออธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงภาคเพื่อพิจารณา ถ้าอธิบดีเห็นว่าเป็นข้อบกพร่องเล็กน้อย ก็ให้แนะนำการปฏิบัติราชการ แต่หากถึงขนาดที่จะเกิดความเสียหายและไม่อาจแก้ไขได้ ให้รายงานสำนักงานอัยการสูงสุด การแนะนำการปฏิบัติราชการดังกล่าว ให้อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูง หรืออธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงภาค แจ้งอธิบดีอัยการหรืออธิบดีอัยการภาคผู้รับผิดชอบแล้วแต่กรณีเป็นผู้ดำเนินการ หากอธิบดีอัยการหรืออธิบดีอัยการภาคมีความเห็นเป็นอย่างอื่นให้รายงานสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อพิจารณา ตลอดจนมีศักยภาพในการคานและดุลการใช้ดุลพินิจของศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การควบคุมกำกับดูแลและประเมินผลของอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูง และอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงภาค เช่นในกรณีที่ศาลพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอ หรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง หรือศาลพิพากษาลงโทษจำเลยเกินกำหนดโทษตามกฎหมาย หรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งไม่ชอบด้วยประการใดให้พนักงานอัยการพิจารณาอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไป แล้วแต่กรณี ในการนี้อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงและอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงภาค มีอำนาจหน้าที่เสนอแนะนโยบายเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาชั้นอุทธรณ์และฎีกาของพนักงานอัยการต่อสำนักงานอัยการสูงสุด และมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายทั่วไปในการดำเนินคดีอาญาชั้นอุทธรณ์และฎีกา ตรวจสอบ กำกับดูแล และอำนวยการในงานคดีอาญาชั้นอุทธรณ์และฎีกาภายในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบ และเมื่อเห็นสมควรจะเรียกสำนวนคดีใดมาตรวจพิจารณาหรือดำเนินคดีเอง หรือจะมอบหมายให้อัยการศาลสูงคนใดดำเนินคดีก็ได้
การกำหนดนโยบายการดำเนินคดีดังกล่าว ให้เสนอสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อขอความเห็นชอบก่อนบังคับใช้
นอกจากนี้รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงและรองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงภาคมีอำนาจหน้าที่รองจากอธิบดีในการอำนวยการและประสานการปฏิบัติราชการ ควบคุม ตรวจสอบ ประเมินผลและรายงานผลการปฏิบัติราชการในคดีอาญาชั้นอุทธรณ์และฎีกาภายในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบให้เป็นไปตามนโยบาย ระเบียบ และคำสั่งของสำนักงานอัยการสูงสุด อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูง และอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงภาค ตามที่ได้รับมอบหมาย
อัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูงและอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูงภาคมีอำนาจหน้าที่อำนวยการ ให้คำปรึกษา ตรวจสอบและกำกับดูแลการปฏิบัติงานคดีอาญาชั้นอุทธรณ์และฎีกาภายในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบ และเมื่อเห็นสมควรจะเรียกสำนวนคดีใดมาตรวจพิจารณาหรือดำเนินคดีเอง หรือจะมอบหมายให้อัยการศาลสูงคนใดดำเนินคดีก็ได้ แต่ต้องรายงานให้อธิบดีทราบโดยเร็ว
2. ไม่ใช้บังคับกับคดีบางประเภท
อย่างไรก็ดีระเบียบนี้ไม่ใช้บังคับแก่คดีอาญา 6 กลุ่มต่อไปนี้
1) คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว
2) คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
3) คดีอาญาซึ่งพนักงานอัยการรับแก้ต่าง
4) คดีละเมิดอำนาจศาล
5) คดีที่ศาลสั่งปรับนายประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
6) คดีที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
อำนาจหน้าที่
1. อำนาจหน้าที่ของสำนักงานคดีศาลสูงภาค
การดำเนินคดีอาญาชั้นอุทธรณ์และฎีกาในเขตท้องที่สำนักงานอัยการภาค ให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคดีศาลสูงภาค โดยมีข้อยกเว้น คือ คดีอาญาทั้งปวงซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นในปริมณฑล ๕ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี
2. อำนาจหน้าที่ของอัยการศาลสูง
อัยการศาลสูงผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินคดีใด ให้มีอำนาจดำเนินคดีนั้น เป็นผู้ออกคำสั่งคดีนั้น เว้นแต่
1) กรณีมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
2) ในคดีดังต่อไปนี้ ถ้าอัยการศาลสูงจะมีคำสั่งไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา ไม่แก้อุทธรณ์ หรือไม่แก้ฎีกา อัยการศาลสูงจะต้องทำความเห็นเสนอสำนวนตามลำดับชั้นไปยังอธิบดีเพื่อพิจารณาสั่ง
(1) คดีสำคัญ
(2) คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษ แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องหรือพิพากษาแก้ให้ยกฟ้องจำเลยบางคนหรือบางข้อหา
(3) คดีที่อัยการสูงสุดชี้ขาดให้ฟ้องหรือให้อุทธรณ์
(4) คดีอื่นที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
เมื่ออธิบดีพิจารณาและมีคำสั่งประการใดให้ปฏิบัติตามนั้น
3) คดีที่อัยการสูงสุดชี้ขาดให้ฟ้องหรือให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ถ้าอัยการสูงสุด มิได้สั่งเป็นอย่างอื่น ก่อนมีคำสั่งไม่อุทธรณ์หรือไม่ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ให้รายงานอัยการสูงสุดทราบพร้อมด้วยเหตุผล เว้นแต่คดีจะครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หรือฎีกา หรือมีเหตุอย่างอื่นอันจำเป็น จะต้องรีบอุทธรณ์หรือฎีกา ก็ให้อุทธรณ์หรือฎีกาไปก่อน
สำหรับในต่างจังหวัด สำนักงานใดที่ยังไม่มีอัยการศาลสูงปฏิบัติหน้าที่ หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้อัยการจังหวัดแต่ละสำนักงานปฏิบัติหน้าที่แทน และให้นำระเบียบนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
อำนาจหน้าที่สำนักงานคดีศาลสูงภาค 4
สำนักงานคดีศาลสูงภาค 4 เป็นส่วนราชการส่วนหนึ่งของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2546 ซึ่งกำหนดให้มีสำนักงานคดีศาลสูงรับผิดชอบการดำเนินคดีอาญาทั้งปวงที่เกิดขึ้นในเขตท้องที่สำนักงานอัยการภาค ตามที่กฎหมายกำหนดเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดในชั้นอุทธรณ์และฎีกา ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดได้จัดตั้งสำนักงานคดีศาลสูงภาค ทั้ง 9 ภาค ตามคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ ๗๑/๒๕๔๖ เรื่องการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานอัยการสูงสุด (เพิ่มเติม) สั่ง ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2546 ดังนั้น จึงมีสำนักงานคดีศาลสูงภาคทั้ง ๙ ภาค คือ สำนักงานคดีศาลสูงภาค 1-9
สำนักงานคดีศาลสูงภาค 4 มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินคดีอาญาในชั้นอุทธรณ์และฎีกาในท้องที่สำนักงานอัยการภาค 4 มีอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงภาค 4 เป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบอำนวยการ ควบคุม ตรวจสอบ กำกับดูแล การปฏิบัติงานของอัยการศาลสูงในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โดยมีการแบ่งส่วนราชการภายในของสำนักงานออกเป็น
(ก) สำนักอำนวยการ มีอำนาจและหน้าที่
1. รับผิดชอบงานธุรการงาน งานสารบบคดี งานบริหารงานบุคคล งานเลขานุการนักบริหาร งานการเงินและบัญชี และงานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ พัสดุ และยานพาหนะของสำนักงานคดีศาลสูงภาค 4
2. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๑ ภาค ๔ และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง 2 ภาค 4 มีอัยการพิเศษฝ่ายเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ มีอำนาจและหน้าที่
1. รับผิดชอบงานสำนักงานคดีศาลสูงภาค ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
2. ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
สำนักงานคดีศาลสูงภาค 4 รับผิดชอบการดำเนินคดีอาญาชั้นศาลสูงในเขตท้องที่สำนักงานอัยการภาค 4 จำนวน 12 จังหวัด 18 สำนักงาน ดังนี้
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง 1 ภาค 4
1. สำนักงานอัยการจังหวัดนครพนม
2. สำนักงานอัยการจังหวัดบึงกาฬ
3. สำนักงานอัยการจังหวัดมุกดาหาร
4. สำนักงานอัยการจังหวัดสกลนคร
5. สำนักงานอัยการจังหวัดสว่างแดนดิน
6. สำนักงานอัยการจังหวัดหนองคาย
7. สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี
8. สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงอุดรธานี
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง 2 ภาค 4
1. สำนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่น
2. สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงขอนแก่น
3. สำนักงานอัยการจังหวัดพล
4. สำนักงานอัยการจังหวัดชุมแพ
5. สำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์
6. สำนักงานอัยการจังหวัดมหาสารคาม
7. สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพยัคฆภูมิพิสัย
8. สำนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ด
9. สำนักงานอัยการจังหวัดเลย
10. สำนักงานอัยการจังหวัดหนองบัวลำภู
ที่มา : อส 0039(อก4)/ว10 เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของอัยการพิเศษฝ่าย สำนักงานคดีศาลสูงภาค 4 ลว 4 เม.ย.66
วิสัยทัศน์
“เป็นองค์กรแห่งความยุติธรรมของสังคมเพื่อความมั่นคงของชาติและความผาสุกของประชาชน”
พันธกิจ
1. อำนวยความยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส พึ่งพิงได้บนพื้นฐานของความเสมอภาค
2. รักษาผลประโยชน์ของรัฐ เพื่อประโยชน์สาธารณะและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
3. รับรู้ ดูแล แก้ปัญหาในการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และเป็นที่พึ่งของประชาชนในด้านกฎหมาย
4. พัฒนาศักยภาพองค์กรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกบนฐานความเชี่ยวชาญ
ค่านิยมร่วม
“PUBLIC”
P : People First ประชาชนมาที่หนึ่ง
U : Uprightness เป็นที่พึ่งความยุติธรรม
B : Betterment คิดและทำเพื่อพัฒนา
L : Lawfulness รักษากฎหมายด้วยเหตุผล
I : Integrity ประพฤติตนซื่อสัตย์และโปร่งใส
C : Collaboration ร่วมมือร่วมใจสู่เป้าหมาย
โครงสร้างองค์กร

ที่มา : https://www.ago.go.th/aboutus/
ผู้บริหารสำนักงานอัยการสูงสุด

นายอำนาจ เจตน์เจริญรักษ์
อัยการสูงสุด
โทรศัพท์ 0 2142 1736
โทรสาร 0 2143 919

รองอัยการสูงสุด
โทรศัพท์ 0 2142 1560
โทรสาร 0 2143 9474

รองอัยการสูงสุด
โทรศัพท์ 0 2142 1756
โทรสาร 0 2143 9784

รองอัยการสูงสุด
โทรศัพท์ 0 2142 3216
โทรสาร 0 2143 9461

รองอัยการสูงสุด
โทรศัพท์ 0 2142 1768
โทรสาร 0 21439778

รองอัยการสูงสุด
โทรศัพท์ 0 2142 1568
โทรสาร 0 2143 9460

รองอัยการสูงสุด
โทรศัพท์ 0 2142 1580
โทรสาร 0 2143 9463

รองอัยการสูงสุด
โทรศัพท์ 0 2142 1584
โทรสาร 0 2143 9468

รองอัยการสูงสุด
โทรศัพท์ 0 2142 1763
โทรสาร 0 2143 9465

ผู้ตรวจการอัยการ
โทรศัพท์ 0 2142 1608
โทรสาร 0 2143 9473

ผู้ตรวจการอัยการ
โทรศัพท์ 0 2142 1602
โทรสาร 0 2143 9470

ผู้ตรวจการอัยการ
โทรศัพท์ 0 2142 1643
โทรสาร 0 2143 9789

ผู้ตรวจการอัยการ
โทรศัพท์ 0 2142 2170
โทรสาร 0 2143 9783

ผู้ตรวจการอัยการ
โทรศัพท์ 0 2142 1598
โทรสาร 0 2143 9469

ผู้ตรวจการอัยการ
โทรศัพท์ 0 2142 3180
โทรสาร 0 2143 9472

ผู้ตรวจการอัยการ
โทรศัพท์ 0 2142 3178
โทรสาร 0 21439466

ผู้ตรวจการอัยการ
โทรศัพท์ 0 2142 2040
โทรสาร 0 2143 7609

ผู้ตรวจการอัยการ
โทรศัพท์ 0 2142 3865
โทรสาร 0 2143 7609
ที่มา : https://www.ago.go.th/aboutus/



นายดิเรก อิ้งจะนิล
อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงภาค 4

นายธนา อุชาดี
รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงภาค 4

นายรัชดา จุฬารี
อัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง 2 ภาค 4

นายไพฑูรย์ ปินะถา
อัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง 1 ภาค 4
ข้าราชการธุรการ

นางสาวยุพิน ซองทอง
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

นางจิรารัตน์ ปิติโสภณพัฒน์
นิติกรชำนาญการพิเศษ

นายศิริศักดิ์ หารไชย
นิติกรชำนาญการ

นางนันทนาพร ติวเรือง
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นางวาสินี เพียจันทร์
นิติกรชำนาญการ

นายอภิวัฒน์ จิตวิลัย
นิติกรชำนาญการ

นางสาวสุพรรณี บุญสาลี
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นางสุภาษิตา ทองยศ
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นางสาวจันทนา เกลือสีโท
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวปนัดดา หล้ามณี
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวนิ่มนวล นาถาดทอง
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวพิมพ์พนิต วงศ์พรหม
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางพิลาวรรณ บุตรโคตร
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ลูกจ้างประจำ

นางสาวเกษราภรณ์ มะโรงรัตน์
พนักงานพิมพ์ ส.4
จ้างเหมาบริการ

นางสาวพนอจิตต์ หลานวงษ์
เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล

นางสิรินทร์ชญา ศิริสุทธิ์
เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล

นายชัยณรงค์ เบ้าเฮือง
พนักงานขับรถยนต์
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง 1 ภาค 4
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง 2 ภาค 4






การจัดทำรายงาน
การรายงานผลการปฏิบัติงาน
อัยการศาลสูงจะต้องรายงานผลการปฏิบัติงานตามลำดับชั้นต่ออธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงภาค แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ การรายงานผลคดีและการรายงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของอัยการศาลสูง โดยมีสาระสำคัญแต่ละประเภทรายงาน ดังนี้
1. การรายงานผลการปฏิบัติงานของอัยการศาลสูง
1.1 รายงานการที่ทำของพนักงานอัยการในชั้นอุทธรณ์-ฎีกา (ตามแบบ อ.ก.50 ก)
1.2 รายงานคดีที่มีคำสั่งไม่อุทธรณ์-ไม่ฎีกา (ตามแบบ อ.ก.56) ตามลำดับชั้นถึงอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงภาค
เฉพาะกรณีในต่างจังหวัด จะต้องสำเนารายงานผลการปฏิบัติงาน (อ.ก.50 ก) และบัญชีแสดงรายละเอียดคดีที่มีคำสั่งไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา (อ.ก.56) เสนออธิบดีอัยการภาคเพื่อทราบด้วยอีก 1 ชุด
อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูง อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงภาค หรือรองอธิบดีผู้รับมอบหมาย จะต้องเรียกสำนวนที่อัยการศาลสูงมีคำสั่งไม่อุทธรณ์-ไม่ฎีกา ไม่น้อยกว่าร้อยละสิบตามแบบบัญชี (อ.ก.56) มาตรวจสอบแล้วต้องเสนอผลการตรวจสอบต่อสำนักงานอัยการสูงสุด (ตามแบบ อ.ก.๕๖ ก) เพื่อพิจารณาภายในกำหนดระยะเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันได้รับรายงานจากอัยการศาลสูงในแต่ละเดือน
2. การรายงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของอัยการศาลสูง
2.1 รายงานบัญชีความอาญาอุทธรณ์ บัญชีความอาญาฎีกา (บ.6) (บัญชี 4-5) ตามลำดับชั้นต่ออธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงภาค รายงานเป็นรายเดือนทุกเดือน
2.2 รายงานผลการปฏิบัติงานประจำงวด รายงานเป็นรายไตรมาส ตามลำดับชั้นต่ออธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงภาค
2.3 รายงานผลคดีที่อัยการสูงสุดเป็นผู้ออกคำสั่งฟ้อง หรือชี้ขาดให้ฟ้องให้อุทธรณ์ หรือให้ฎีกา เป็นรายเรื่อง ตามลำดับชั้นผ่านอธิบดีถึงอัยการสูงสุดภายในกำหนด 30 วัน นับจากศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่ง โดยการรายงานจะต้องให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นที่ชี้ขาดด้วย โดยปกติแล้วก็จะสำเนาคำชี้ขาดของอัยการสูงสุดแนบท้ายรายงานผลคดีดังกล่าวด้วย
รายงานในกรณีนี้สำนักงานอัยการสูงสุดไม่ได้กำหนดแบบไว้โดยเฉพาะจึงใช้รูปแบบหนังสือราชการทั่วไป
สำหรับในต่างจังหวัด จะต้องสำเนารายงานผลคดีดังกล่าว เสนออธิบดีอัยการภาคเพื่อทราบอีกส่วนหนึ่งด้วย
2.4 รายงานคดีที่จะมีคำสั่งไม่อุทธรณ์หรือไม่ฎีกาในคดีที่อัยการสูงสุดชี้ขาดให้ฟ้อง หรือให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายก่อนมีคำสั่งไม่อุทธรณ์หรือไม่ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย
ก่อนที่จะมีคำสั่งไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกาในคดีดังกล่าว อัยการศาลสูงจะต้องรายงานให้อัยการสูงสุดทราบพร้อมเหตุผลเสียก่อนที่จะมีคำสั่งเช่นนั้น
2.5 รายงานผลคดีสำคัญในชั้นอุทธรณ์ ฎีกา
2.5.1 กรณีที่อัยการศาลสูงผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินคดีสำคัญ หากจะมีคำสั่งไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา ไม่แก้อุทธรณ์หรือไม่แก้ฎีกา จะต้องทำความเห็นเสนอสำนวนตามลำดับชั้นไปยังอธิบดีเพื่อพิจารณาสั่ง
2.5.2 คดีสำคัญทุกกรณีไม่ว่าจะมีคำสั่งประการใด อุทธรณ์ ไม่อุทธรณ์ ฎีกา หรือไม่ฎีกา จะต้องรายงานผลการดำเนินคดีดังกล่าวต่ออัยการสูงสุดทราบโดยผ่านอธิบดี แบบรายงานผลการดำเนินคดีสำคัญชั้นอุทธรณ์ ฎีกา ให้อนุโลมใช้ตามแบบที่กำหนดตามหนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ อส0018/ว97 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2535
2.6 รายงานผลคดีวิสามัญฆาตกรรมเป็นคดีที่อัยการสูงสุดสั่งฟ้อง
อัยการศาลสูงต้องรายงานผลคดีและคัดสำเนาคำพิพากษาทุกระยะส่งสำนักงานอัยการสูงสุด
2.7 รายงานคดีที่มีการถอนอุทธรณ์ ถอนฎีกา
อัยการศาลสูงจะต้องทำความเห็นเสนอสำนวนตามลำดับชั้นถึงอธิบดีเพื่อพิจารณาสั่ง ก่อนยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์ ถอนฎีกา ให้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน และเมื่อถอนอุทธรณ์ หรือถอนฎีกาแล้ว ให้รายงานสำนักงานอัยการสูงสุดทราบ
2.8 รายงานกรณีสำนวนคดีที่อัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูงใช้อำนาจเรียกสำนวนต่างๆ มาตรวจพิจารณาหรือดำเนินคดีเองจะต้องรายงานให้อธิบดีทราบโดยเร็ว
2.9 รายงานกรณีพบข้อบกพร่องการดำเนินคดีของอัยการศาลสูง
กรณีที่อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูง หรืออธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงภาค ตรวจพบข้อบกพร่องในการดำเนินคดีของอัยการศาลสูง อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูง หรืออธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงภาค จะต้องแนะนำการปฏิบัติราชการหรือว่ากล่าวตักเตือน แล้วรายงานให้สำนักงานอัยการสูงสุดทราบ หากเห็นควรดำเนินการทางวินัย ให้ทำความเห็นแล้วรายงานสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อพิจารณาต่อไป
ติดต่อหน่วยงาน
เลขที่ 4 ชั้น 3 ถนนกลางเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
สำนักอำนวยการ โทรศัพท์/โทรสาร 0-4324-3571
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง 1 ภาค 4, สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง 2 ภาค 4 โทรศัพท์/โทรสาร 0-4324-3571
E-mail : region4-appeal@ago.go.th