ข่าวประชาสัมพันธ์

” มีแล้วแบ่งปัน ” จิตอาสาบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ให้กับโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น วันที่ 17 มิถุนายน 2564
เกี่ยวกับสำนักงาน
สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น ได้เปิดทำการเมื่อวันจันทร์ที่ ๙ มกราคม ๒๕๔๙ ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ๓)๒๕๔๘ และพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ในศาลจังหวัดกาฬสิน ศาลจังหวัดน่าน ศาลจังหวัดพัทลุง ศาลจังหวัดมุกดาหาร ศาลจังหวัดเลย ศาลจังหวัดสกลนคร ศาลจังหวัดสมุทรสงคราม ศาลจังหวัดหนองคาย ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ และศาลจังหวัดอุทัยธานี พ.ศ. ๒๕๔๘ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒ ตอน ๑๐๑ ก. ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ โดยตั้งอยู่บริเวณชั้น ๑ ของสำนักงานอัยการภาค ๔
บทบาทและหน้าที่ตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓
กำหนดให้องค์กรอัยการประกอบด้วย ก.อ., อัยการสูงสุด, และพนักงานอัยการอื่น โดยมีสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานธุรการ
สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นส่วนราชการที่มีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น และเป็นนิติบุคคล โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้แทนนิติบุคคล และให้ข้าราชการฝ่ายอัยการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด
อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด มีดังนี้
- (๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
- (๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
- (๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
- (๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
- (๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
- (๖ ) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ
- (๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
- (๔) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
- (๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๔ มีดังนี้
- (๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
- (๒) ในคตีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
- (๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือ ในกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
- (๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
- (๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (“) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นเป็นคู่กรณีและมิใช่กรณีที่พิพาทกับรัฐบาลหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
- (๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
- (๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกด่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
- (๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังดับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
- (๙)อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ.ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
- (๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
- (๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำโดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.
บทบาทและหน้าที่พนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น
- (๑) พิจารณารับผิดชอบการดำเนินคดีอาญาทั้งปวงเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนซึ่งอายุยังไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์ ที่กระทำความผิดทางอาญาหรือความผิดที่มีโทษทางอาญาในอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ ภายในเขตท้องที่ของสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่นปัจจุบันมีทั้งสิ้น ๒๖ อำเภอ
- (2) พิจารณารับผิดชอบการดำเนินคดีอาญากับบุคคลอายุเกิน ๑๔ ปี เฉพาะที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น เช่น ความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔’ , พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวพ.ศ. ๒๕๕๐
- (๓) รับผิดชอบงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของเด็กและเยาวชน รวมทั้ง วิจัยและพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น เป็นคณะกรรมการคุ้มครองเด็ก ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กพ.ศ. ๒๕๔๖
- (๔) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวซ้อง หรือ ที่ได้รับมอบหมาย
ชื่อ | เบอร์โทรศัพท์ | แฟกซ์ |
สภ.กระนวน | 0-4325-1346 | 0-4325-1491 |
สภ.ชนบท | 0-4328-6157 | 0-4328-6157 |
สภ.ชุมแพ | 0-4331-1111 | 0-4331-1002 |
สภ.ซำสูง | 0-4321-9080 | 0-4321-9080 |
สภ.น้ำพอง | 0-4343-4443-4 | 0-4343-4443 |
สภ.บ้านฝาง | 0-4326-9200 | 0-4326-9200 |
สภ.บ้านแฮด | 0-4321-8197-8 | 0-4321-8197 |
สภ.บ้านไผ่ | 0-4327-2713, 0-4327-2331, 0-43 | 0-4327-2351 |
สภ.พระยืน | 0-4326-6025 | 0-4326-6025 |
สภ.พล | 0-4341-4071 | 0-4341-4071 |
สภ.ภูผาม่าน | 0-4339-6081 | 0-4339-6081 |
สภ.ภูเวียง | 0-4329-1232-3 | 0-4329-1111 |
สภ.มัญจาคีรี | 0-4328-9136 | 0-4328-9540 |
สภ.สีชมพู | 0-4339-9080, 0-4339-9078 | 0-4339-9080 |
สภ.หนองนาคำ | 0-4321-6159 | 0-4321-6159 |
สภ.หนองสองห้อง | 0-4349-1129 | 0-4349-1129 |
สภ.หนองเรือ | 0-4329-4111 | 0-4329-4111 |
สภ.อุบลรัตน์ | 0-4344-6125 | 0-4344-6125 |
สภ.เขาสวนกวาง | 0-4344-9107 | 0-4344-9107 |
สภ.เปือยน้อย | 0-4349-4040 | 0-4349-4040 |
สภ.เมืองขอนแก่น | 0-4322-1162, 0-4322-6557, 0-43 | 0-4322-7288 |
สภ.แวงน้อย | 0-4349-9055 | 0-4349-6125 |
สภ.แวงใหญ่ | 0-4349-6043 | 0-4349-6318 |
สภ.โนนศิลา | 0-4328-1136 | 0-4328-1136 |
สภ.โคกโพธิ์ไชย | 0-4321-6159 | 0-4321-6159 |
สภ.เวียงเก่า | 0-4343-8452 | 0-4343-8452 |
วิสัยทัศน์ (Vision)
“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”
พันธกิจ (Missions)
1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โครงสร้าง (Structure)

วัฒนธรรมองค์กร


บุคลากร
ลำดับที่ | ชื่อ – สกุล | ระหว่างเดือน/ปี |
๑ | นางสมสุข มีวุฒิสม | ม.ค.๒๕๓๕ – พ.ค.๒๕๓๕ |
๒ | นางพวงเพชร ดำรงค์มงคลกุล | พ.ค ๒๕๓๕ – พ.ค.๒๕๓๖ |
๓ | นายวิชัย โกญจนาวรรณ | พ.ค.๒๕๓๖ – พ.ค.๒๕๓๗ |
๔ | นายสุทธิ ภู่เอี่ยม | พ.ค.๒๕๓๗ – พ.ย.๒๕๓๗ |
๕ | นายณัฐจักร ปัทมสังห์ ณ อยุธยา | พ.ย.๒๕๓๗ – พ.ค.๒๕๓๘ |
๖ | นายศิริศักดิ์ อัครปรีดี | พ.ค.๒๕๓๘ – พ.ย.๒๕๓๘ |
๗ | ร.ต.สุทิน สุขสุเดช (รักษาการแทน) | พ.ย ๒๕๓๘ – พ.ค.๒๕๓๙ |
๘ | นายกฤษฎา สืบพงษ์ | พ.ค.๒๕๓๙ – ก.พ.๒๕๔๑ |
๙ | นายกิตติ แก้วทับทิม (รักษาการแทน) | ก.พ.๒๕๔๑ – เม.ย.๒๕๔๑ |
๑๐ | นายวีระวัฒน์ เกรียงเกษม | พ.ค.๒๕๔๑ – เม.ย.๒๕๔๒ |
๑๑ | นายจักรชัย อินทรวนิช | พ.ค.๒๕๔๒ – เม.ย.๒๕๔๓ |
๑๒ | นายฐาปนา ใจกลม | พ.ค.๒๕๔๓ – เม.ย.๒๕๔๔ |
๑๓ | นายพยูง เณรพลาย | พ.ค.๒๕๔๔ – เม.ย.๒๕๔๕ |
๑๔ | นายสุหัส ช.สรพงษ์ | พ.ค.๒๕๔๕ – เม.ย.๒๕๔๖ |
๑๕ | นายสุพร วัฒนวงศ์วรรณ | เม.ย.๒๕๔๖ – พ.ค.๒๕๔๗ |
๑๖ | นายธำรงศักดิ์ หงษ์ขุนทด | พ.ค.๒๕๔๗ – เม.ย.๒๕๔๘ |
๑๗ | นายศิริพงษ์ เหลืองวงศ์ไพศาล | เม.ย.๒๕๔๘ – เม.ย.๒๕๔๙ |
๑๘ | นางกฤตยา เหลืองวงศ์ไพศาล | พ.ค.๒๕๔๙ – มี.ค.๒๕๕๐ |
๑๙ | นายเถกิงเกียรติ บุญมาศ | เม.ย.๒๕๕๐ – มี.ค.๒๕๕๑ |
๒๐ | นางยุพาภรณ์ เอกวัฒน์โชตกรู | เม.ย.๒๕๕๑ – มี.ค.๒๕๕๒ |
๒๑ | นายอรรถพร นาคเรือง | เม.ย.๒๕๕๒ – มี.ค.๒๕๕๔ |
๒๒ | นายสมชัย จันทรมัสการ | เม.ย.๒๕๕๔ – มี.ค.๒๕๕๕ |
๒๓ | นางสาวอรุณวรรณ แก้วจินดา | เม.ย.๒๕๕๕ – มี.ค.๒๕๕๖ |
๒๔ | ว่าที่ร้อยตรี อมร โฉมงาม | เม.ย.๒๕๕๖ – มี.ค.๒๕๕๗ |
๒๕ | นายปราโมช โศภิษฐนภา | เม.ย.๒๕๕๗ – มี.ค.๒๕๕๘ |
๒๖ | นายวิเชตร แสนคำ | เม.ย.๒๕๕๘ – มี.ค.๒๕๕๙ |
๒๗ | นายวีระศักดิ์ มณีเนตร | เม.ย.๒๕๕๙ – มี.ค. ๒๕๖๐ |
๒๘ | นายสุขสันต์ จันทรโรจน์ | เม.ย.๒๕๖๐ – มี.ค. ๒๕๖๑ |
๒๙ | นางปัญจพัฒน์ วรรณไพบูลย์ | เม.ย.๒๕๖๑ – มี.ค. ๒๕๖๒ |
๓๐ | นายสมพจน์ เหล่าเลิศฤทธิกุล | เม.ย.๒๔๖๒ – มี.ค. ๒๕๖๓ |
๓๑ | นายรัชพล คงศรียาตรา | เม.ย.๒๔๖๓ – มี.ค. ๒๕๖๔ |
๓๒ | นายราชันย์ เติมผล | เม.ย.๒๔๖๔ – มี.ค. ๒๕๖๕ |
๓๓ | นายสุวิท ทองชุมนุม | เม.ย.๒๔๖๕ – มี.ค. ๒๕๖๖ |
๓๔ | นางอุษณีย์ สิงห์ภูกัน | เม.ย.๒๔๖๖ – ปัจจุบัน |

นางอุษณีย์ สิงห์ภูกัน
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
สำนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่น
รักษาการในตำแหน่ง อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น

นายวิฑูรย์ เชื้ออำไพ
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

นายอภิศิษฏ์ ภู่ภัทรางค์
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นายสายัน จันทะรัง
อัยการอาวุโส

นางสาวนริศรา หาญเชิงชัย
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการ

นายปฐพี คำควร
นิติกรชำนาญการ

นางสาวลักษณ์ทิศา โภคินวัฒนบูลย์
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นายจักรพงษ์ จุลจันทนโพธิ์
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
จ้างเหมาบริการ

นายอดิศักดิ์ คมขำ
พนักงานขับรถยนต์
สถิติคดี
ประเภทคดี | ปี พ.ศ. 2563 | ปี พ.ศ. 2564 | ปี พ.ศ. 2565 |
ส.1 | 521 | 444 | 326 |
ส.1 ฟื้นฟู | 242 | 225 | 61 |
ส.2 | 8 | 9 | 20 |
ส.2 ก. | 2 | 17 | 8 |
ส.3 | – | – | – |
ส.4 | 492 | 411 | 324 |
ส.4 ฟ้องวาจา | – | – | – |
ส.5 | – | – | – |
ส.5 ก. | – | – | – |
ส.6 | 2 | 1 | – |
ส.7 | – | – | – |
ส.12 | – | – | – |
ส.12 ก. | – | – | – |
ส.คดีมาตราการพิเศษการดำเนินคดีอาญา | 87 | 69 | 74 |
ส.คุ้มครองสวัสดิภาพ | 5 | 17 | 29 |
ส.คดีความรุนแรงในครอบครัว | 2 | 7 | 12 |
รวม |
เอกสารเผยแพร่
ติดต่อหน่วยงาน
สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น
ที่ตั้ง : อาคารสำนักงานอัยการภาค 4 (ชั้น 1) ถนนกลางเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
โทร.043-331168