ความโปร่งใสในการให้บริการประชาชนและหน่วยงานของรัฐ

ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี จังหวัดขอนแก่น
โทร 043-244971

ร่วมกิจกรรม งานวันรัฐพิธี “วันยุทธหัตถีสมเด็จพระนเรศวรมหาราช”

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2566 นายธีระพล แจ่มกระจ่าง อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการภาค 4 รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดขอนแก่น ข้าราชการอัยการและเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดขอนแก่นร่วมพิธี งานวันรัฐพิธี “วันยุทธหัตถีสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ณ สำนักงานอัยการภาค 4

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2565 เวลา 09.30 น. นายปริญเดช ศิริพาณิชย์ อธิบดีอัยการภาค 4 พร้อมด้วย นายธีระพล แจ่มกระจ่าง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดขอนแก่น ข้าราชการอัยการและเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดขอนแก่นร่วมพิธีเปิดการฝึกอบรมหลักสูตร “การประนอมข้อพิพาทระดับชุมชน” ณ ห้องศรีจันทร์บอลรูม โรงแรมเจริญธานีขอนแก่น

ประกาศผลการคัดเลือกทนายความอาสา / ทนายความอาวุโส

เกี่ยวกับสำนักงาน

สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน มีชื่อย่อว่า สคช.ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๒๕ ในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด ตามคำสั่งของกรมอัยการที่ ๑๗๔/๒๕๒๕ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๒๕ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ผลประโยชน์และให้ความช่วยเหลือประชาชน ทางด้านกฎหมาย ต่อมาเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๒๖ คณะรัฐมนตรีได้มีมติโอนโครงการให้ความช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนในชนบทเขตยากจน ซึ่งขณะนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักนโยบายและแผน มหาดไทย มาให้สำนักงานอัยการสูงสุดรับผิดชอบดำเนินงานสิบมา ในวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๒๗ คณะรัฐมนตรีได้มีมติโอนงานช่วยเหลือทางกฎหมายแก่เกษตรกร และผู้ยากจน ซึ่งขณะนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมาให้ สคช.สำนักงานอัยการสูงสุด รับผิดชอบดำเนินการ วิธีดำเนินการ ได้ดำเนินการตามแนวนโยบายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การพิจารณาพื้นที่เป้าหมายดำเนินงาน โดยนำเอาปัญหาที่แท้จริงของคนในท้องถิ่นที่แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคและแต่ละพื้นที่เป็นตัวกำหนดพื้นที่ปฏิบัติการ โดยสำนักงานอัยการ สูงสุดได้มีคำสั่งจัดตั้งสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนประจำจังหวัดขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศเป็นการให้บริการฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายยกเว้นค่าธรรมเนียมในชั้นศาลที่  ต้องเสียตามกฎหมาย

            ต่อมาวันที่  1  เมษายน  2557  สำนักงานอัยการสูงสุด ได้มีการประกาศคณะกรรมการอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2556 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2557 เป็นต้นไป กำหนดให้ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนจังหวัดขอนแก่น เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดขอนแก่น มีที่ตั้งอยู่ที่ อาคารสำนักงานอัยการภาค 4    สำนักงานอัยการภาค 4  ชั้น 2  ตำบลในเมือง  อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น   นับแต่นั้นเป็นต้นมาถึงปัจจุบัน

  •                 ๑. รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพและ
    ผลประประโยชน์ของประชาชน การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย การเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนภายในเขตท้องที่จังหวัดขอนแก่น เช่น ให้คำปรึกษาทางกฎหมายและกรณีได้รับความเดือดร้อนไม่ได้รับความเป็นธรรมทุกกรณี เป็นต้น
  •                 ๒. รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายด้านอรรถคดีแก่ประชาชนภายในเขตท้องที่จังหวัดขอนแก่น รวมถึงการดำเนินคดีทั้งปวงในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดขอนแก่น  ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น เช่น ยื่นคำร้องต่อศาลให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ขอตั้งผู้ปกครอง ขอรับบุตรบุญธรรม เป็นต้น
  •                 ๓. รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอรรถคดี การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย      การเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ประชาชนภายในเขตท้องที่จังหวัดขอนแก่น
  •                 ๔. รับผิดชอบงานศูนย์กลางระบบฐานข้อมูลลูกหนี้ตามคำพิพากษาของหน่วยงานของรัฐและจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา งานสำรวจตรวจสอบข้อมูลทรัพย์สินและสถานะของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของหน่วยงานของรัฐและจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์สินค่าปรับตามคำพิพากษาและงานการบังคับคดีแพ่ง คดีปกครอง และคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดภายในเขตท้องที่จังหวัดขอนแก่น
  •                 ๕. รับผิดชอบการดำเนินคดีทั้งปวงอันเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง  คดีปกครอง และคดีอาญา เฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สิน ใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดภายในเขตท้องที่จังหวัดขอนแก่น

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดขอนแก่น

อาคารสำนักงานอัยการภาค  4 (ชั้น 2) ถนนกลางเมือง  ต.ในเมือง  จ.ขอนแก่น  40000

โทร  0 4324 4971  โทรสาร  0 4324 4971

รับผิดชอบ  10  อำเภอ  คือ

                                                    1.  อำเภอเมืองขอนแก่น                       2.  อำเภอบ้านฝาง

                                                    3.  อำเภออุบลรัตน์                             4.  อำเภอมัญจาคีรี

                                                    5.  อำเภอเขาสวนกวาง                        6.  อำเภอพระยืน

                                                    7.  อำเภอกระนวน                              8.  อำเภอซำสูง

                                                    9.  อำเภอโคกโพธิ์ชัย                        10. อำเภอบ้านแฮด

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดขอนแก่น  (สาขาพล)

ถ.เจริญสุข  ต.เมืองพล  อ.พล  จ.ขอนแก่น  โทร 0 4341 4114  โทรสาร 0 4341 4114

รับผิดชอบ  8  อำเภอ  คือ

                                                    1.  อำเภอพล                                    2.  อำเภอบ้านไผ่

                                                    3.  อำเภอชนบท                                4.  อำเภอแวงน้อย

                                                    5.  อำเภอแวงใหญ่                              6.  อำเภอเปือยน้อย

                                                    7.  อำเภอหนองสองห้อง                       8.  อำเภอโนนศิลา

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดขอนแก่น  (สาขาชุมแพ)

255  หมู่ที่ 10  ต.ชุมแพ  อ.ชุมแพ  จ.ขอนแก่น  โทร  0 4341 3505  โทรสาร  0 4331 3505

รับผิดชอบ  7  อำเภอ  คือ

                                                    1.  อำเภอชุมแพ                                2.  อำเภอภูผาม่าน

                                                    3.  อำเภอภูเวียง                                4.  อำเภอสีชมพู

                                                    5.  อำเภอหนองเรือ                            6.  อำเภอหนองเรือ

                                                    7.  อำเภอเวียงเก่า

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร

ลำดับที่ชื่อ – สกุลดำรงตำแหน่ง
1.นายวิเชตร     แสนคำ1 เมษายน 2557 ถึง 31 มีนาคม 2558
2.นายวีระศักดิ์  มณีเนตร1 เมษายน  2558 ถึง 31 มีนาคม 2559
3.นายสุขสันต์  จันทรโรจน์1 เมษายน 2559  ถึง 31 มีนาคม 2560
4.นางปัญจพัฒน์  วรรณไพบูลย์1 เมษายน 2560  ถึง 31 มีนาคม 2561
5.นายสมพจน์  เหล่าเลิศฤทธิกุล1 เมษายน 2561  ถึง 31 มีนาคม 2562
6.นายรัชพล  คงศรียาตรา1 เมษายน 2562  ถึง 31 มีนาคม 2563
7.นายปิยสิษฐ์  อุ่นศิลป์1 เมษายน 2563  ถึง 31 มีนาคม 2564
8.นางสาวมณีวรรณ  ธรรมปรา1 เมษายน 2564   ถึง 31 มีนาคม 2565
9.นายธีระพล แจ่มกระจ่าง 1 เมษายน 2565  ถึง 31 มีนาคม 2566
10.นางสาวพรรณพร เจตน์ธนะพนต์1 เมษายน 2566 ถึง ปัจจุบัน

ข้าราชการอัยการ

นางสาวพรรณพร เจตน์ธนะพนต์
อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดขอนแก่น

นายศุภมร เยาวกรณ์
อัยการจังหวัด ประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

นางสาวศรัญญา บุญมี
รองอัยการจังหวัด

ข้าราชการธุรการ

นางสาวประภัสกรณ์ ดรลุนวัด
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

นายอาทิตย์ วงแก้ว
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวอุดมพร ละครพล
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นายเทอดพงษ์ ศรีเชียงสา
เจ้าพนักงานคดีปฏิบัติการ

นายณัฐพล ปิ่นน้ำ
นิติกรชำนาญการ

นายภูบดินทร์ วรชินา
นิติกรปฏิบัติการ

ลูกจ้างประจำ

นายสัญญา หนักแน่น
พนักงานขับรถยนต์

จ้างเหมาบริการ

นางสาวสุกัญญา เพชรนาค
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

นางสาววิมลธร ภูมิบ้านค้อ
เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล

นายสิริภพ สุภาพรม
นิติกร

ข้าราชการอัยการ

นางสาวพรรณพร เจตน์ธนะพนต์
อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดขอนแก่น

นายไชยา ภักดีวงศ์
อัยการจังหวัด ประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

นายมีโชค เฉิดอารีกิจ
รองอัยการจังหวัด

ข้าราชการธุรการ

นางสาวประภัสกรณ์ ดรลุนวัด
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

นางสาวเกวลี แถมมนตรี
นิติกรปฏิบัติการ

นายนนท์นที เทือกศรี
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

จ้างเหมาบริการ

นายคัมภีร์ หนองนา
พนักงานขับรถยนต์

ข้าราชการอัยการ

นางสาวพรรณพร เจตน์ธนะพนต์
อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดขอนแก่น

นางสาวชลิตา ลือสากลวาณิชกุล
อัยการจังหวัด ประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

นายปิยศักดิ์ บุญยกุลศรีรุ่ง
รองอัยการจังหวัด

ข้าราชการอัยการ

นางสาวประภัสกรณ์ ดรลุนวัด
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

นายพีรวัฒน์ ตันติยาสวัสดิกุล
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวปิยวรรณ ทรัพย์สุวรรณ
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

จ้างเหมาบริการ

นายจิตรกร กันหาเรียง
พนักงานขับรถยนต์

สถิติงาน

ที่ ประเภทคดี ปริมาณคดี
 พ.ศ.2562(เรื่อง) พ.ศ. 2563(เรื่อง) พ.ศ. 2564(เรื่อง) พ.ศ.2565 (เรื่อง) พ.ศ. 2566 (เรื่อง)
1. ปรึกษากฎหมาย 1,314 1,241 1,021 1,373
2. การจัดการมรดก 371 372 371 405
3. นิติกรรมสัญญา 317 128 176 65
4. การประนอมข้อพิพาท 122 126 81 123
5. คุ้มครองผู้บริโภค 2 5
6. ทนายความอาสา 2 9 13 15
7. การบังคับคดี 59 30 46 77
8. สำนวนรับจากหน่วยงานอื่น     5  

เอกสารเผยแพร่

ข้อกฎหมายน่ารู้ 

การกู้ยืมเงินคิดดอกเบี้ยเกินอัตรา            ข้อตกลงที่เกินอัตราดอกเบี้ยตกตามกฎหมายเป็นโมฆะ เจ้าหน้ีไม่อาจเรียกร้องให้คืนเงินดอกเบี้ยเกินอัตราได้ เจ้าหนี้ก็ย่อมไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยดังกล่าวด้วย ส่วนดอกเบี้ยที่เกินอัตราเรียกคืนฐานลาภมิควรไม่ได้ แต่นำไปหักต้นเงินได้ รายละเอียดตามคำพิพากษาฎีกาดังต่อไปนี้

ฎ.2131/2560โจทก์คิดดอกเบี้ยจากเงินที่ให้จำเลยกู้ยืมในอัตราร้อยละ 15.6 ต่อปี ดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ ถือไม่ได้ว่าจำเลยชำระหนี้โดยจงใจฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือเป็นการกระทำอันใดตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันตามกฎหมายที่ต้องชำระตามมาตรา 407 โจทก์ไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยก่อนผิดนัดและไม่อาจนำเงินที่จำเลยชำระไปหักออกจากดอกเบี้ย จึงต้องนำเงินไปชำระต้นเงินทั้งหมด

ฎ.5376/2560(ป)การที่จำเลยยอมชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดให้แก่ โจทก์ซึ่งตกเป็นโมฆะเป็นการชำระหนี้ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตามมาตรา 411 จำเลยหาอาจจะเรียกร้องให้คืนเงินดอกเบี้ยที่ชำระได้ไม่โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้เป็นฝ่ายเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราจากจำเลย เมื่อข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะแล้วและจำเลยไม่อาจเรียกร้องให้คืนเงินดอกเบี้ยได้ โจทก์ก็ย่อมไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยดังกล่าวด้วย ต้องนำดอกเบี้ยที่จำเลยชำระไปหักเงินด้นตามหนังสือสัญญากู้เงิน

ฎ.6237/2561โจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดมาจากบริษัท ส เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้เงินกู้ยืม 6,000,000 บาท ของจำเลย โดยจำเลยจะชำระหนี้คืนโจทก์โดยซื้อหรือนำบุคคลภายนอกมา ซื้อห้องชุดคืนจากโจทก์ในราคา 6,270,000 บาท ภายใน 6 เดือน โจทก์คิดดอกเบี้ยล่วงหน้าในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี เมื่อข้อตกลงที่จำเลยจะชำระค่าตอบแทนตลอดจนค่าเสียหายและดอกเบี้ยตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดซึ่งรวมกันแล้วเกินอัตราร้อยละ 15  ต่อปี ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยจึงเกินอัตรา ที่ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 654 กำหนดไว้ ดอกเบี้ย จำนวน 270,000 บาท จึงตกเป็นโมฆะ การที่จำเลยยอมชำระดอกเบี้ยเกินอัตราแก่โจทก์ตลอดมาจึงเป็นการฝ่าปีนข้อห้ามตามกฎหมายตามมาตรา 411 จำเลยหาอาจจะเรียกร้องให้คืนเงินดอกเบี้ยได้ไม่ แต่โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้เป็นฝ่ายเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราจากจำเลย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ย ดังกล่าวด้วย คงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่จำเลยผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ เมื่อนำเงินที่จำเลยชำระแก่โจทก์ไปหักชำระดอกเบี้ยผิดนัด

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก

  1. เอกสารของเจ้ามรดก (ผู้ตาย) 1.1 สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 3 ชุด
    1.2 สำเนามรณบัตร จำนวน 3 ชุด
    1.3 สำเนาใบสำคัญการสมรส จำนวน 3 ชุด
    1.4 สำเนาหนังสือรับรองการเปล่ียนชื่อ – สกุล (หากมี) จำนวน 3 ชุด
  2. เอกสารของผู้จะขอเป็นผู้จัดการมรดก 2.1 สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 3 ชุด
    2.2 สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 3 ชุด
    2.3 สำเนาใบสำคัญการสมรส (หากมี) จำนวน 3 ชุด
    2.4 สำเนาหนังสือรับรองการเปล่ียนชื่อ – สกุล (หากมี) จำนวน 3 ชุด
  3. เอกสารของทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกทุกคน (บิดา มารดา คู่สมรส บุตร ฯลฯ ของผู้ตาย) 3.1 สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 3 ชุด
    3.2 สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 3 ชุด
    3.3 สำเนาใบสำคัญการสมรส (หากมี) จำนวน 3 ชุด
    3.4 สำเนาหนังสือรับรองการเปล่ียนชื่อ – สกุล (หากมี) จำนวน 3 ชุด
    3.5 สำเนามรณบัตรของบิดา และ/หรือ มารดา ของเจ้ามรดก (กรณีเสียชีวิต) จำนวน 3 ชุด (หากไม่มี ต้องขอแบบรับรองการตายหรือหนังสือรับรองการตาย)
  4. บัญชีทรัพย์สิน เช่น โฉนดที่ดิน ทะเบียนรถ สมุดบัญชีธนาคาร ฯ จำนวน 3 ชุด
  5. เงินค่าธรรมเนียมศาล

หมายเหตุ : อาจมีการเพิ่มเติมหรือเปล่ียนแปลงเอกสารตามข้อเท็จจริงของผู้ร้อง แล้วแต่กรณี

เอกสารที่ใช้ในการขอตั้งผู้ปกครอง

  1. สำเนาทะเบียนบ้านของเด็ก ถ่ายเอกสารมา 3 ชุด
  2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ปกครอง ถ่ายเอกสารมา 3 ชุด
  3. สำเนาสูติบัตรของเด็ก ถ่ายเอกสารมา 3 ชุด
  4. สำเนามรณบัตรของมารดาเด็ก ถ่ายเอกสารมา 3 ชุด
  5. สำเนามรณบัตรของบิดาเด็ก ถ่ายเอกสารมาคนละ 3 ชุด
  6. สำเนาหลักฐานการสมรสทางศาสนาของบิดามารดาเด็ก ถ่ายเอกสารมา 3 ชุด
  7. เงินค่าธรรมเนียม

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องขอเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือน

ไร้ความสามารถ

  1. สำเนาทะเบียนบ้านผู้ร้อง (บิดา) ถ่ายเอกสารมา 3 ชุด
  2. สำเนาทะเบียนบ้านของคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ถ่ายเอกสารมา 3 ชุด
  3. สำเนาสูติบัตรของคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ถ่ายเอกสารมาคนละ 3 ชุด
  4. สำเนาทะเบียนทะเบียนสมรสของผู้ร้อง (บิดา) ถ่ายเอกสารมาคนละ 3 ชุด
  5. ใบรับรองแพทย์ ถ่ายเอกสารมาคนละ 3 ชุด
  6. บัตรประจำคนผู้พิการ ถ่ายเอกสารมาคนละ 3 ชุด
  7. สำเนาทะเบียนบ้านของมารดา ถ่ายเอกสารมาคนละ 3 ชุด
  8. หนังสือให้ความยินยอมจากทายาท
  9. เงินค่าธรรมเนียม

เอกสารประกอบการรับรองบุตร

  1. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ที่จะรับ ถ่ายเอกสารมา 3 ชุด
  2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เยาว์ ถ่ายเอกสารมา 3 ชุด
  3. หนังสือการสมรสของผู้ที่จะรับ ถ่ายเอกสารมาคนละ 3 ชุด
  4. สูติบัตรของเด็ก ถ่ายเอกสารมา 3 ชุด
  5. สำเนาทะเบียนบ้านของมารดาเด็ก ถ่ายเอกสารมาคนละ 3 ชุด
  6. เงินค่าธรรมเนียม

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องขอรับบุตรบุญธรรม

  1. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้จะรับบุตรบุญธรรม
  2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม
  3. สำเนาทะเบียนบ้านของบิดามารดาของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม
  4. สำเนาทะเบียนบ้านของสามีหรือภริยาผู้จะรับบุตรบุญธรรม
  5. สำเนาใบสำคัญการสมรสของผู้จะรับบุตรบุญธรรม
  6. สำเนาใบสำคัญการสมรสของบิดามารดาบุตรบุญธรรม
  7. สำเนาสูติบัตรผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม
  8. หนังสือให้ความยินยอมของบิดาผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม
  9. หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรสของผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม
  10. เงินค่าธรรมเนียม
    เอกสารทั้งหมดถ่ายมา 3 ชุด

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดขอนแก่น 
ตั้งอยู่ที่ : อาคารสำนักงานอัยการภาค 4 ชั้น 2
ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
โทร./โทรสาร 0-4324-4971 หรือ 092-9185657 สายด่วน : 1157
 Email : kk-lawaid@ago.go.th