ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวสารกิจกรรม




ขอเชิญรับชม/เข้าร่วมการเสวนา โครงการ “สิทธิมนุษยชนศึกษา สำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อการปฏิบัติงานและ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน”
เกี่ยวกับสำนักงาน
เนื่องด้วยเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2549 ศาลจังหวัดมุกดาหารครามแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้เปิดทำการตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ( ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2548 ลงวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.2548 มาตรา 7 ให้ดำเนินการเปิดทำการศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด หรือแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัด ให้มีเขตอำนาจครอบคลุมทุกจังหวัดภายในสามปี และตามพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ศาลจังหวัดน่าน ศาลจังหวัดพัทลุง ศาลจังหวัดมุกดาหาร ศาลจังหวัดเลย ศาลจังหวัดสกลนคร ศาลจังหวัดสมุทรสงคราม ศาลจังหวัดหนองคาย ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ ศาลจังหวัดอุทัยธานี พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2548 มาตรา 3 ให้เปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดมุกดาหารในวันดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากเพื่อให้ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน โดยให้เด็กและเยาวชนผู้ถูกดำเนินคดีได้รับประโยชน์จากการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
สำนักงานอัยการสูงสุดจึงได้จัดตั้งสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดมุกดาหารขึ้น โดยเปิดทำการเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2549 และมีคำสั่งให้พนักงานอัยการปฏิบัติและช่วยราชการสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดมุกดาหาร เพื่อเป็นทนายแผ่นดินประจำศาลจังหวัดมุกดาหารแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 โดยสำนักงานตั้งอยู่ที่ ถนนสองนางสถิตย์ ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร 49000
อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด
(มาตรา ๒๓) สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชาการ เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครอง ป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
(๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
(๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
(๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
(๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
(๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ
(๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
(๘) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
(๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด
ใน การตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
(มาตรา ๒๗) ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด
(๒) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ
(๓) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสุดของสำนักงานอัยการสูงสุด ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้ให้อัยการสูงสุด โอยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด
อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดมุกดาหาร
1. คดีอาญา
รับผิดชอบดำเนินคดีอาญาทั้งปวงในอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการภายในเขตท้องที่ของสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดมุกดาหารแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ซึ่งหมายถึง คดีอาญาที่กระทำโดยเด็ก (อายุไม่เกิน 14 ปี)หรือเยาวชน(อายุเกินกว่า 14 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี) ในท้องที่เขตจังหวัดมุกดาหาร
2. คดีแพ่ง
บังคับคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้
- 2.1 ฟ้องคดีแทนเด็กปฏิเสธความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของชาย (ป.พ.พ.มาตรา 1539,1545)
- 2.2 ร้องขอให้ศาลตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนเด็กในคดี ฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรในกรณีเด็กไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือมีแต่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถทำหน้าที่ได้ (ป.พ.พ.มาตรา1555,1556)
- 2.3 เป็นโจทก์ฟ้องคดีที่กฎหมายห้ามมิให้ราษฎรฟ้อง เช่น ฟ้องคดีผู้สืบสันดานในการฟ้องบุพการีทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา อันได้แก่ ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร (ป.พ.พ.มาตรา 1526,1565)
- 2.4 ร้องขอให้ศาลสั่งถอนอำนาจปกครอง (ป.พ.พ.มาตรา 1582)
- 2.5 ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครอง (ป.พ.พ.มาตรา 1585,1586) และร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ปกครองและมีคำสั่งเกี่ยวกับผู้ปกครองต่อไปตามที่เห็นสมควร เนื่องจากเป็นผู้ต้องห้ามมิให้เป็นผู้ปกครองตาม มาตรา 1587 (ป.พ.พ.มาตรา 1588)
- 2.6 ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ปกครองหาประกันอันสมควรในการจัดการทรัพย์สินหรือแถลงถึงความเป็นอยู่ของทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครอง (ป.พ.พ.มาตรา 1597,1598)
- 2.7 ร้องขอให้ศาลถอนผู้ปกครอง (ป.พ.พ.มาตรา 1598/8,1598/9)
- 2.8 ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรม (ป.พ.พ.มาตรา 98/21,1598/22,1598/23) และการเลิกรับบุตรบุญธรรม (ป.พ.พ.มาตรา 1598/31)
- 2.9 ฟ้องคดีแทนบุตรบุญธรรมเกี่ยวกับการขอเลิกรับบุตรบุญธรรม (ป.พ.พ.มาตรา 1598/35)
- 2.10 ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครอง,ผู้อนุบาล,หรือผู้พิทักษ์ ในกรณีที่มรดกตกทอดแก่ผู้เยาว์ หรือบุคคลวิกลจริต หรือผู้ไม่สามารถจัดการงานตนเองได้ และบุคคลนั้นยังไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ (ป.พ.พ.มาตรา 1610)
- 2.11 การร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความu3626 สามารถและเพิกถอนคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ(ป.พ.พ.มาตรา 28,31)2.12 การร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและเพิกถอน คำสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ (ป.พ.พ.มาตรา 28,32,33,36)
- 2.13 การร้องขอให้ศาลสั่งให้ทำไปพลางก่อนหรือตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ (ป.พ.พ.มาตรา48,49,57)
- 2.14 การร้องขอให้ศาลสั่งให้ตัวแทนหรือผู้รับมอบอำนาจทั่วไปจัดทำบัญชี ทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่นั้น(ป.พ.พ.มาตรา 50)
- 2.15 กรณีผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการร้องขอ หรือเมื่อศาลเห็นสมควรสั่งให้ผู้จัดการทรัพย์สินหาประกัน แถลงถึงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์สิน หรือถอดถอนผู้จัดการทรัพย์สิน และตั้งผู้อื่นเป็นผู้จัดการ(ป.พ.พ.มาตรา 56 (60 เดิม)
- 2.16 กรณีกฎหมายสันนิษฐานว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าเด็กนั้นไม่เป็นบุตร ตามมาตรา 1539
- 2.17 ผู้มีสิทธิได้รับมรดกร่วมกับเด็ก หรือผู้จะเสียสิทธิรับมรดก เพราะการเกิดของเด็กอาจฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร ในกรณีตามมาตรา 15442.18 บิดา มารดา จำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตร (ป.พ.พ.มาตรา1562,1564)
- 3. พนักงานอัยการมีหน้าที่ต้องคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน จึงต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบรวดเร็ว และโปร่งใสเพื่อให้เป็นที่เชื่อถือและศรัทธาแก่ประชาชน
- 4. การดำเนินคดีครอบครัว (คุ้มครองสิทธิ) ดังกล่าวในข้อ 2. พนักงานอัยการไม่ต้องยื่นใบแต่งทนายความ เพราะพนักงานอัยการเป็นตัวความเสียเอง ไม่เหมือนการดำเนินคดีแพ่งทั่วไปของพนักงานอัยการที่ต้องยื่นในแต่งทนาย (ตามนัยคำพิพากษาฎีกา 122/2512)
- 5. เมื่อพนักงานอัยการเป็นตัวความเสียเองในการดำเนินคดีครอบครัว พนักงานอัยการจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทนายความตามประมวลกฎหมายพิธีพิจารณาความแพ่ง (ตามนัยคำพิพากษาฎีกา 2046/2526)
- 6. การดำเนินคดีครอบครัว จะต้องมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายอื่นระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นอำนาจของพนักงานอัยการ พนักงานอัยการจึงจะมีอำนาจดำเนินคดีนั้นได้ ไม่เหมือนการดำเนินคดีแพ่งทั่วไป พนักงานอัยการมีอำนาจที่จะดำเนินคดี ให้แก่ทุกกระทรวง ทบวง กรม ได้ทุกประเภทไม่มีข้อจำกัด(ตามนัยคำพิพากษาฎีกา 3340/2525)
เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง
**การขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ**
เขตอำนาจศาลยื่นต่อศาลเยาวชนและครอบครัวที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจมีเอกสารที่ใช้ดังนี้
- 1. สำเนาทะเบียนบ้านผู้ร้อง
- 2. รายงานแพทย์ยืนยันว่าเป็นผู้วิกลจริตตามกฎหมาย (ในบางกรณีศาลจะให้แพทย์เบิกความยืนยันด้วย)
- 3. หลักฐานความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องกับผู้วิกลจริต
**การขอให้ศาลสั่งให้ถอนอำนาจปกครองและตั้งผู้ปกครอง**
เขตอำนาจศาล ยื่นต่อศาลเยาวชนและครอบครัวที่ผู้เยาว์หรือผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขต
อำนาจมีเอกสารที่ใช้ดังนี้
- 1. สำเนาทะเบียนบ้านผู้เยาว์หรือของผู้จะเป็นผู้ปกครอง
- 2. ใบสำคัญการสมรสของบิดามารดาผู้เยาว์
- 3. สูติบัตรผู้เยาว์
**การขอให้ศาลอนุญาตในการขอรับบุตรบุญธรรม**
เขตอำนาจศาล ยื่นต่อศาลเยาวชนและครอบครัวที่ผู้เยาว์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตมีเอกสารที่ใช้ดังนี้
- 1. สำเนาทะเบียนบ้านผู้เยาว์และผู้รับบุตรบุญธรรม
- 2. สูติบัตรผู้เยาว์
- 3. ใบสำคัญการสมรสของบิดามารผู้เยาว์ (ถ้ามี)
- 4. หนังสือของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมที่ให้ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรม
- 5. มรณบัตรของบิดามารดาผู้เยาว์ (ถ้ามี)
วิสัยทัศน์ (Vision)
“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”
พันธกิจ (Missions)
1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โครงสร้าง (Structure)

วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร


สถิติคดี

เอกสารเผยแพร่
ติดต่อหน่วยงาน
สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดมุกดาหาร
ที่ตั้ง สำนักงานอัยการจังหวัดชั้น 3
ถนนสองนางสถิตย์ ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร 49000
Telephone&Fax : 042-612315
E- mail: mukdahan-ju@ago.go.th
ชื่อผู้ดูแลเว็บไซต์ นางสาวพิศมัย ประบุญเรือง
โทรศัพท์ 089-5778118 & E-MaiL: Pis2523@hotmail.com