ข่าวประชาสัมพันธ์

สืบเนื่องจากสถานการณ์หมอกควันและฝุ่นละออง pm 2.5 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ มีค่าเกินมาตรฐานและมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้ประกาศจังหวัดเชียงใหม่ ลงวันที่ 6 เมษายน 2566 ให้หน่วยงานภาครัฐ พิจารณาเปิดห้องปลอดฝุ่่นให้บริการประชาชน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันและลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่มาใช้ บริการ

สคชจ. เชียงใหม่ ในฐานะหน่วยงานภาครัฐ สังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด ตระหนักถึงสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้ดำเนินการ จัดให้บริการประชาชนภายในอาคาร และจัดห้องปลอดฝุ่นให้บริการแก่ประชาชนกลุ่มเปราะบาง

สคชจ. เชียงใหม่

7 เมษายน 2566

สถานการณ์จุดความร้อน และความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ประชาชน ควรเตรียมพร้อมรับมือ
1.ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่อยู่กลางแจ้ง
2.หลีกเลี่ยงการออกนอกอาคาร
3.หยุดทำกิจกรรมกลางแจ้ง ถ้าจำเป็นควรลดเวลาให้สั้นที่สุดและสวมหน้ากากทุกครั้ง
4.ป้องกันโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ
5.เฝ้าระวังสุขภาพ หากมีอาการผิดปกติ เช่น หายใจลำบาก แน่นหน้าอก รีบพบแพทย์ทันที
กลุ่มที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คือ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว คือกลุ่มเสี่ยงที่ป่วยได้ง่าย ต้องหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายกลางแจ้งเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากฝุ่นพิษได้ง่ายกว่ากลุ่มอื่น ๆ
ดูแลรักษาสุขภาพด้วยนะคะ และทางเราร่วมส่งกำลังใจให้ เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงาน ตลอดจนอาสาดับไฟป่า ชาวบ้าน ที่คอยช่วยกัน ป้องกันและทำหน้าที่ในการดับไฟป่า

แนะนำโครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน สนใจลงทะเบียนผ่าน https://www.bot.or.th/covid19/doctordebt/content/Pages/retail_aboutdoctordebt.aspx

วันที่ 29 พย. 2566

ท่าน ร.ต.อ.หญิง ชญานิศ ภาชีรัตน์ อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ มอบหมายให้ นายพงศ์จักร สร้อยสุวรรณ รองอัยการจังหวัด พร้อมทีมงาน สคชจ.เชียงใหม่ ตรวจเยี่ยมศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิ ในพื้นที่อำเภอพร้าว และได้รับทราบข่าวจากสื่อหลายช่องทาง และจากผู้นำชุมชน ว่ามีเหตุระเบิด จากสารเคมีโพแตสเซี่ยม ที่ใช้กับลำไย ในพื้นที่อำเภอพร้าว มีบุคคลเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ จึงถือโอกาส เดินทางไปตรวจเยี่ยมที่เกิดเหตุ โดยการนำทางของนายธีรพงศ์ สมศักดิ์ ผู้ใหญ่บ้านไชยงาม หมู่ 9 เมื่อไปถึงพบบิดาและมารดาของผู้เสียชีวิต

สคชจ.เชียงใหม่ จึงได้มอบนำ้ดื่ม OAG และ ของที่ระลึกเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ และได้อธิบายสิทธิและขั้นตอนทางกฎหมายในการใช้สิทธิการตั้งผู้จัดการมรดกให้ญาติทราบ และประชาสัมพันธ์ช่องทางการติดต่อผ่านบัญชีแอพพลิเคชั่นไลน์ ผ่านขวดนำ้ OAG รวมทั้งมอบหนังสือและแผ่นพับเอกสารที่ต้องจัดเตรียมสำหรับคดีตั้งผู้จัดการมรดก

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566

ร้อยตำรวจเอกหญิงชญานิศ ภาชีรัตน์ อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ ได้นำทีม สคชจ.เชียงใหม่ และสาขาฮอด ปฎิบัติภารกิจบูรณาการร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ, ธกส. และฝ่ายปกครองอำเภอแม่แจ่ม โดยเข้ารับฟังปัญหาและช่วยแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้กับแรงงานและครอบครัวแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไ่ม่สงบในประเทศอิสราเอล ซึ่งในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม มีแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานที่ประเทศอิสราเอล จำนวน 35 ราย เดินทางกลับประเทศไทยแล้วรวม 21 ราย

มีปัญหาในด้านหนี้สิน และการว่างงาน ขาดรายได้

ทีมงาน สคชจ.เชียงใหม่ และ สคชจ. เชียงใหม่(สาขาฮอด) ได้สอบถามข้อมูลปัญหาทีละราย

และรับเรื่องราวคำร้องขอ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ตามความประสงค์ต่อไป และได้มอบของที่ระลึกในนามสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ

และมอบนำ้ดื่ม OAG ที่มีช่องทางในการติดต่ออัยการ ขอความช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ เปิดให้บริการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนในวันหยุดราชการ ในวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น. ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง ลดภาระค่าใช้จ่ายและการขาดรายได้หากต้องหยุดงานเพื่อใช้บริการในวันทำการปกติ

#สคชจเชียงใหม่

#อัยการช่วยได้

วันที่ 21 กันยายน 2566 เวลา 13.00 -16.00 น.

สคชจ.เชียงใหม่ และสาขาฝาง ร่วมกันนำรถตู้ mobile เคลื่อนที่ ออกบรรยายให้ความรู้ทางกฎหมายในหัวข้อ “กฎหมายคุ้มครองสิทธิเด็กเยาวชนและกฎหมายครอบครัว รวมทั้งกฎหมายเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรง กลการหลอกลวง ให้แก่ผู้นำชุมชน เยาวชน และประชาชน ณ ห้องประชุมบ้านใหม่สามัคคี (หย่อมบ้านคะฉิ่น) ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

ซึ่งเป็นหมู่บ้านชายแดนไทย- เมียนร์มา ซึ่งมีกลุมชาติพันธ์อาศัยอยู่ร่วมกันหลายชาติพันธ์ ( อาข่า คะฉิ่น และจีน) เพื่อสร้างภูมิความรู้และภูมิคุ้มกันการถูกเอาเปรียบทางกฎหมายและกลลวงของมิจฉาชีพ ทั้งเพื่อให้อยู่ร่วมกันในชุมชนต่างชาติพันธ์อย่างสงบสุข

# งานเผยแพร่กฎหมาย

# สคชจ. เชียงใหม่

# สคชจ. เชียงใหม่(สาขาฝาง)

วันที่ 20 กันยายน 2566 เวลา 14.00 – 15.00 น.

ท่านวัลลภา วสุวัต อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดเชียงใหม่ เดินทางเพื่อเข้าพบ นายเอนก คำจำรูญ ผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเชียงใหม่ จำกัด และประชาชนผู้ขอพระราชทานความช่วยเหลือ เพื่อหาแนวทางพิจารณาให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนผู้ขอพระราชทานความช่วยเหลือ

#อัยการช่วยได้

#สคชจเชียงใหม่

กิจกรรมเคลื่อนที่

วันที่ 19 กันยายน 2556 รตอ.หญิง ชญานิศ ภาชีรัตน์

อจ. สคชจ.เชียงใหม่ และทีมงาน สคชจ.เชียงใหม่ ได้นำรถตู้ mobile ที่ได้รับจัดสรรจากสำนักงานอัยการสูงสุด เข้าร่วมโครงการพบปะประชาชน&

ร่วมกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์นำ้

@ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่

ให้คำปรึกษากฎหมาย& แจกนำ้ดื่ม OAG ที่มีช่องทางการติดต่ออัยการช่วยได้อยู่ข้างขวด

# อจ.สคชจ.เชียงใหม่

# สคชจ. เชียงใหม่

วันที่ 15 กันยายน 2566 ท่าน ร.ต.อ.หญิง ชญานิศ ภาชีรัตน์ อจ.สคชจ.เชียงใหม่ มอบหมายให้ นางสาวสุพิชชา กิตติวัฒน์ เจ้าพนักงานคดีชำนาญการ นางสาวกันตพร ทำดี นิติกร และนายฐิติพงษ์ โยริยะ นำรถโมบายเคลื่อนที่ที่ได้รับจัดสรรจากสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อปฎิบัติภารกิจด้านการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน เข้าร่วมพิธีมอบสิ่งของพระราชทาน ตามโครงการสืบสานพระราชปณิธาน(คสป.) แก่ราษฎรจังหวัดเชียงราย ณ โรงเรียนบ้านเทอดไทย ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยมีนายนุรักษ์ มาประณีต องคมนตรี เป็นประธาน

สคชจ. เชียงใหม่

จัดรายการวิทยุเพื่อให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนทุกวันพฤหัสบดี เวลา 14.00-16.00 น..ทางคลื่น FM 103.75 MHz

ในวันที่ 14 กันยายน 2566 ท่าน ร.ต.อ.หญิง ชญานิศ ภาชีรัตน์ อจ.สคชจ.เชียงใหม่ มอบหมายให้ นายพงศ์จักร สร้อยสุวรรณ รองอัยการจังหวัด จัดรายการวิทยุกฎหมายเพื่อประชาชน โดยให้ความรู้พูดคุยกับประชาชนในหัวข้อ “ความผิดอาญาเกี่ยวกับศพ” มีประเด็นอธิบายเรื่องการชำเราศพ ทำอนาจารศพ การทำลายศพ และการดูหมิ่นเหยียดหยามศพ

# งานเผยแพร่กฎหมาย& ให้ความรู้แก่ประชาชน

# สคชจ.เชียงใหม่

เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566 เวลา 13.30 น. นายพงศ์จักร สร้อยสุวรรณ ผู้แทน สคชจ.เชียงใหม่ เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่ ณ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ พิจารณาอนุมัติการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม รวมจำนวน 45 ราย

วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2566 เวลา 08.30-16.00 น. สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดเชียงใหม่ (สาขาฮอด) โดยท่านธันยพร พึ่งพุ่มแก้ว รองอัยการจังหวัด ผู้แทนอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมคณะทำงาน นำรถตู้Mobileเคลื่อนที่ออกปฏิบัติภารกิจประชาสัมพันธ์เข้าร่วมโครงการสนับสนุนการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการกิจกรรมเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการในระดับพื้นที่แบบบูรณาการของจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กิจกรรมย่อย “ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ หัวหน้าส่วนราชการ และผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นพบปะประชาชน” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 5/2566 ในวันที่ 25 สิงหาคม 25666 ตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป ณ เทศบาลตำบลบ่อหลวง ตำบลบ่อหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ได้เผยแพร่เกี่ยวกับภารกิจของ สคช. และให้คำปรึกษากฎหมายแก่ประชาชนในท้องที่ ตำบลบ่อหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และได้ประชาสัมพันธ์การเปิดทำการในวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.

วันที่ 25 สิงหาคม 2566 ท่าน ร.ต.อ.หญิง ชญานิศ ภาชีรัตน์ อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมคณะ นางสาวสุพิชชา กิตติวัฒน์ เจ้าพนักงานคดีชำนาญการ ว่าที่ ร.ต.อภิชาติ ศิริปะกะ นิติกรปฏิบัติการ และนางสาวกันตพร ทำดี นิติกร ร่วมอภิปรายหัวข้อ กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการ การให้บริการประชาชน พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558 แนวทางประพฤติปฏิบัติตนในการเป็นข้าราชการที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย ไม่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการทุจริตและการมีผลประโยชน์ทับซ้อนในการทำงาน โดยให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรมหลักสูตร “การปฐมนิเทศข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด และพนักงานจ้างในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 รุ่นที่ 2” ณ โรงแรมเชียงใหม่ออคิด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

พร้อมเคลื่อนที่ออกไปบริการให้คำปรึกษากฎหมายแก่ประชาชนในทุกพื้นที่

📣” มี ปั ญ ห า ข้ อ ก ฎ ห ม า ย บ อ ก อั ย ก า ร “

# อัยการช่วยได้

# คลายทุกข์ของคุณ คือภารกิจของเรา

# บริการฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

#สคชจ.เชียงใหม่

15 สิงหาคม 2566

วันเสาร์ที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๗.๐๐ น. สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ โดย ท่าน ร.ต.อ.หญิง ชญานิศ ภาชีรัตน์ อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และพิธีทางศาสนามหามงคล ๕ ศาสนา เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ ห้องนิทรรศการ ๑ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ เฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

🧡🧡วันที่ 9 สิงหาคม 2566 🧡🧡

ท่าน ร.ต.อ.หญิง ชญานิศ ภาชีรัตน์ อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ สคชจ.เชียงใหม่(สาขาฝาง) นำโดยท่านพัชรายุธ พงษ์อมรพรหม อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และท่านพงศกร สุขชื่น รองอัยการจังหวัด พร้อมคณะ เข้าร่วมโครงการคลีนิคจิตสังคม ซึ่งเป็นการบูรณาการร่วมกับ ศาลแขวงเชียงดาว ศาลจังหวัดเชียงใหม่ และศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือประชาชนซึ่งเป็นภารกิจหนึ่งของงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ณ พื้นที่อำเภอเวียงแหง ซึ่งเป็นพื้นที่สีแดงและมีความยากลำบากในการเข้าถึง

– เยี่ยมโรงเรียนบ้านนามน และมอบของให้นักเรียน

– ประชุมร่วมกับ อบต.เปียงหลวง หัวข้อ สภาพบริบททั่วไปของตำบลเปียงหลวง ศึกษาดูงานโครงการร้อยใจรักษ์ในพื้นที่ตำบลเปียงหลวง

– เยี่ยมชุมชนบ้านห้วยไคร้ใหม่ จำนวน 5 ครอบครัว

#ฝนตกเกือบตลอดวัน

#ตากฝนลงพื้นที่

#หนทางไกลและคดเคี้ยว

#ไฟดับทั้งเมือง

#แต่ไม่เป็นอุปสรรคในการปฎิบัติภารกิจของพวกเรา

#สำนักงานอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่และสาขาฝาง

วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2566

ท่าน ร.ต.อ.หญิง ชญานิศ ภาชีรัตน์ อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ และท่านพงศ์จักร สร้อยสุวรรณ พนักงานอัยการ พร้อมคณะ ร่วมงานพิธีวันรพี ปี 2566 ณ ลานพระอนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ บริเวนหน้าอาคารศาลจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อน้อมรำลึกถึง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

ซึ่งวันที่ 7 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ผู้ทรงได้รับการยกย่องให้เป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย” เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นนักนิติศาสตร์ และทรงวางระบบแบบแผน ศาลยุติธรรม รวมถึงทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยอันเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งแก่ประเทศชาติ

วันที่ 6 กรกฎาคม 2566 ท่าน ร.ต.อ.หญิง ชญานิศ ภาชีรัตน์ อจ. สคชจ. เชียงใหม่ เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัด ครั้งที่ 9/2566 โดยในการประชุมครั้งนี้ มีเรื่องเข้าพิจารณาจำนวน 10 คำขอ ณ ห้องประชุมสำนักงานยุติธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานยุติธรรมจังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 6 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.00 – 16.00 น. ท่าน ร.ต.อ.หญิง ชญานิศ ภาชีรัตน์ อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ ท่านวัลลภา วสุวัต และท่านพงศ์จักร สร้อยสุวรรณ พนักงานอัยการ พร้อมคณะ ร่วมกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน จัดกิจกรรมฝึกอบรมบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป กฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกี่ยวกับ หนี้ นิติกรรมสัญญา ทรัพย์สิน ครอบครัว และมรดก, กฎหมายอาญา และกฎหมายที่เกี่ยวกับอาชญากรรมทางออนไลน์, ปัญหากฎหมายที่พบในชีวิตประจำวันของวัยรุ่น อาทิเช่น สื่อลามกอนาจารเด็ก บุหรี่ไฟฟ้า และวิธีป้องกันการตกเป็นเหยื่อของมิชฉาชีพ และเป็นผู้กระทำความผิด ให้แก่เยาวชนและนักเรียน จำนวน 200 คน ณ หอประชุม โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 28 มิถุนายน 2566 เวลา 15.30 น. รตอ.หญิง ชญานิศ ภาชีรัตน์ อจ.สคชจ.เชียงใหม่ เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติถวายพระพรชัยมงคล แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ณ พระวิหารหลวง วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 12 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 น. สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ โดยท่านร้อยตำรวจเอกหญิง ชญานิศ ภาชีรัตน์ อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดเชียงใหม่ นำคณะเจ้าหน้าที่ต้อนรับ และรับการตรวจราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ครั้งที่ 2 (ช่วงที่ 2) จากผู้ตรวจการอัยการ ท่านคมวิทย์ แดงไชยวัฒน์ ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารสำนักงานคดีปกครองเชียงใหม่

ร่วมกิจกรรมวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2566

“ ต้นพะยูง”

นำโดย รตอ. หญิง ชญานิศ ภาชีรัตน์

อจ.สคชจ.เชียงใหม่

31 พฤษภาคม 2566

# ทีมงาน สคชจ.เชียงใหม่

สคชจ. เชียงใหม่
นำโดย อจ.สคชจ.เชียงใหม่ดำเนินรายการวิทยุ “กฎหมายใกล้ตัว”
เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย ประจำเดือน เมษายน 2566 ในวันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2566 ช่วงเวลา 14.00–16.00 น. ทางคลื่นความถี่ 103.75 MHZ ณ ห้องส่งวิทยุกระจายเสียง ต.สันผีเสื้อ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

โดยในวันนี้ คุณลุงประกอบ ในฐานะประชาชน ที่มีประสบการณ์ในการเดินทางมาปรึกษาพนักงานอัยการ สคชจ. เชียงใหม่ เกี่ยวกับการขอให้ยื่นคำร้องต่อศาลตั้งคุณลุง เป็นผู้อนุบาล ภรรยา ซึ่งป่วยเป็นผู้ป่วยติดเตียงมาหลายปี ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

ได้ให้เกียรติ มาร่วมรายการ แลกเปลี่ยน และแชร์ประสบการณ์ เกี่ยวกับการมาติดต่อ ขอคำปรึกษา รวมทั้งความประทับใจที่ได้รับจากการบริการของเจ้าหน้าที่
ในการขอจัดตั้งผู้อนุบาล

สคชจ. เชียงใหม่

ทุกข์ของประชาชน คือ ภารกิจของเรา

บริการฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

20 เมษายน 2566

เนื่องในวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๖ นางวัลลภา วสุวัต อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดเชียงใหม่ ได้นำคณะข้าราชการธุรการ เข้าร่วมพิธีถวายราชสักการะ ถวายความเคารพและถวายพานพุ่มดอกไม้สดหน้าพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และร่วมกันยืนสงบนิ่งรับฟังคำกล่าวถวายพระพรชัยมงคลแด่พระองค์ท่านด้วยความจงรักภักดี

ท่านอภิชยา เตชะหงษา อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดเชียงใหม่ นำข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากร เข้าร่วมพิธีเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ท่านสุกัญญา เวศย์วรุตม์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุดอัยการจังหวัด สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิ จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินรายการวิทยุ “กฎหมายใกล้ตัว” เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย ช่วงเวลา 14.00–16.00 น. ทางคลื่นความถี่ 103.75 MHZ ณ ห้องส่งวิทยุกระจายเสียง ต.สันผีเสื้อ อ.เมือง จ.เชียงใหม

นายพงศ์จักร สร้อยสุวรรณ รองอัยการจังหวัด สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิ จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินรายการวิทยุ “กฎหมายใกล้ตัว” เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย ช่วงเวลา 14.00–16.00 น. ทางคลื่นความถี่ 103.75 MHZ ณ ห้องส่งวิทยุกระจายเสียง ต.สันผีเสื้อ อ.เมือง จ.เชียงใหม

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ นำโดยท่านอภิชยา เตชะหงษา อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดเชียงใหม่
ออกตรวจเยี่ยมศูนย์คุ้มครองสิทธิฯ ณ เทศบาลตำบลแสนไห อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๕

โครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการ นำโดยท่านอภิชยา เตชะหงษา อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดเชียงใหม่ ณ โรงเรียนพร้าววิทยาคม ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕

โครงการจัดอบรมไกล่เกลี่ยข้อพิพาท นำโดยท่านสุกัญญา เวศย์วรุตม์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมกับท่านพงศ์จักร สร้อยสุวรรณ รองอัยการจังหวัด ณ ที่ว่าการอำเภอหางดง ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕

“พูดไทยไม่ได้ ฟังไม่ออก บอกอัยการ”
อัยการคลายทุกข์ เติมสุขให้ประชาชนคนต่างชาติ
เมื่อโลกเราเข้าสู่ยุคการสื่อสารไร้ซึ่งพรมแดน การจัดการมรดกของคู่สมรสซึ่งเป็นชาวต่างชาติจึงไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป
วันนี้ท่านสุกัญญา เวศย์วรุตม์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด รับเรื่องช่วยเหลือให้คำปรึกษาแก่ชาวต่างชาติในการจัดการมรดกของคู่สมรส โดยสอบข้อเท็จจริงพร้อมแนะนำเรื่องการจัดเตรียมเอกสารเพื่อดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ต่อไป

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ นำโดยนายพงศ์จักร สร้อยสุวรรณ รองอัยการจังหวัด พร้อมด้วยข้าราชการสำนักงานคุ้มครองสิทธิฯจ.เชียงใหม่เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ ๙ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๕

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ โดยพนักงานอัยการ ให้ความช่วยเหลือคำปรึกษากฎหมายแก่ชาวต่างชาติ

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ นำคณะสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการจัดโครงการฝึกอบรม “หลักสูตรการฝีกอบรมอัยการผู้ช่วย” รุ่นที่ ๖๒ เข้าศึกษาดูงานให้รับคำปรึกษากฎหมายแก่ประชาชน ณ เทศบาลสันผีเสื้อ

กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕  นำโดยท่านอภิชยา เตชะหงษา อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00-16.30 น.

นำโดยท่านสุกัญญา  เวศย์วรุตม์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดเชียงใหม่ ออกตรวจเยี่ยมศูนย์คุ้มครองสิทธิฯ เทศบาลตำบลเชียงดาว จ.เชียงใหม่

โครงการฝึกอบรมความรู้ทางกฎหมายแก่บุคคลกลุ่มอาชีพต่างๆ ในหัวข้อ “การรู้ รับ ปรับตัว วิถีชีวิตในพื้นป่าบนความถูกต้อง สู่การลดภัยฝุ่น PM ๒.๕ ” โดย อัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายภาค ๕ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ หอประชุมอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่

วันพุธที่ 27 เมษายน 2565 เวลา 09.00-16.30 น.

นำโดยท่านอภิชยา เตชะหงษา อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดเชียงใหม่ ออกตรวจเยี่ยมศูนย์คุ้มครองสิทธิฯ เทศบาลตำบลเชียงดาว จ.เชียงใหม่

วันพุธ ที่ 15 กันยายน 2564 เวลา 08.30 – 12.00 น.

นำโดยท่านพงศ์จักร สร้อยสุวรรณ รองอัยการจังหวัด สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดเชียงใหม่
ออกตรวจเยี่ยมศูนย์คุ้มครองสิทธิฯ อบต.เวียงท่ากาน ณ..อบต.เวียงท่ากาน..จ.เชียงใหม่

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา

       “สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่” เดิมใช้ชื่อว่า “สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนจังหวัดเชียงใหม สำนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม” มีชื่อย่อว่า สคช.จังหวัดเชียงใหม่ เป็นส่วนราชการหนึ่งสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานอัยการภาค๕  เดิมอยู่ที่ตึกสรรพากร  ต่อมาคณะกรรมการอัยการได้มีประกาศ  เรื่อง การแบ่งหน่วยงานและการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ.๒๕๕๖ ลงวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๖  โดยประกาศ  ดังกล่าวกำหนดให้มีการจัดตั้ง”สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด”ขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศและให้มีอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีเป็นผูับังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการมีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนในเขตท้องที่จังหวัดอย่างกว้างขวาง ซึ่งประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๗ เป็นต้นไป

          สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันตั้งอยู่ภายในอาคารสำนักงานอัยการภาค๕  จังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

เบอร์โทรศัพท์/โทรสาร๐ ๕๓๑๑ ๒๕๖๔

อำนาจหน้าที่และภารกิจของ
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่

๑. ให้คำปรึกษาปัญหากฎหมาย
ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป โดย ไม่จำกัดฐานะ

๒. คุ้มครองสิทธิทางศาลแก่ประชาชนตามที่กฎหมายให้เป็นอำนาจหน้าที่
ของพนักงานอัยการ อาทิ

  • การยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
  • การยื่นคำร้องขอตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์
  • การขออนุญาตรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
  • การร้องขอให้เป็นคนสาบสูญ
  • การร้องขอให้เป็นคนไร้ความสามารถและตั้งผู้อนุบาล
  • การร้องขอให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและตั้งผู้พิทักษ์

ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปโดยไม่จำกัดฐานะ บริการฟรีผู้ร้องขอชำระเพียงค่าธรรมเนียมศาลเท่านั้น

๓. ช่วยเหลือทางอรรถคดีโดยจัดหาทนายความว่าต่างแก้ต่างประชาชน

  • กรณีเป็นผู้มีฐานะยากจนและไม่ได้รับความเป็นธรรม

๔. ให้ความช่วยเหลือในการทำนิติกรรมต่างๆสำหรับผู้มีฐานะยากจน

๕. บริการช่วยเหลือประนอมข้อพิพาทแก่ประชาชน

๖. เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายต่างๆ แก่ประชาชน

๗. ฝึกอบรมความรู้ทางกฎหมายแก่บุคคลกลุ่มต่างๆ

๘. สนับสนุนการประนอมข้อพิพาทและการระงับข้อพิพาททางแพ่งโดยอนุญาโตตุลาการในระดับท้องถิ่น

๙. รับผิดขอบงานศูนย์กลางระบบฐานข้อมูลลูกหนี้ตามคำพิพากษาของหน่วยงานของรัฐ และจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์สินใช้
ค่าปรับตามคำพิพากษา งานสำรวจตรวจสอบข้อมูลทรัพย์สินและสถานะของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของหน่วยงานของรัฐ
และจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา และงานการบังคับคดีแพ่ง คดีปกครอง และคดีอาญา เฉพาะใน
ส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
กำหนด

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร

ร้อยตำรวจเอกหญิง ชญานิศ ภาชีรัตน์
อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย
และการบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่

นางวัลลภา วสุวัต
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

นายพงศ์จักร สร้อยสุวรรณ
รองอัยการจังหวัด

นางสาวพัชรพรรณ แก้วเสมอ
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

นางสาวสุพิชชา กิตติวัฒน์
นิติกรชำนาญการ

ว่าที่ ร.ต.อภิชาติ ศิริปะกะ
นิติกรปฏิบัติการ

ณพชร ฉิมเล็ก
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวดาราพร นันต๊ะ
นักจัดการงานทั่วไปปฎิบัติการ

ว่าที่ ร.ต.พศิน แตบุญ
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นางสาวกันตพร ทำดีนิติกร

นางสาวจริยาภรณ์ ประเวทย์จิตต์
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

นายฐิติพงศ์ โยริยะ
พนักงานขับรถยนต์

นางสาวธนนันทน์ ศุภจรูญทรัพย์

นายประกฤษฎิ์ เชื้อชอบธรรม

นางสาวเบญจมาศ บุญธรรม

เอกสารเผยแพร่

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการจัดการมรดก (เอกสารทุกอย่างพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องจำนวน ๔ ชุด)

  1. ทะเบียนบ้านของผู้ตาย
  2. ทะเบียนของผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
  3. ใบมรณบัตรของผู้ตาย
  4. ใบมรณบัตรของบิดามารดา กรณีบิดามารดาของผู้ตาย (เจ้ามรดก) ถึงแก่ความตายก่อนแล้ว
  5. ทะเบียนสมรสของสามี หรือ ภรรยาของผู้ตาย
  6. ทะเบียนสมรส และ / หรือ ทะเบียนการหย่าของสามีภรรยาของผู้ตาย
  7. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล ของทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
  8. สูติบัตรของบุตรของผู้ตาย กรณีบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือ ไม่สามารถให้ความยินยอมได้
  9. บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือ บัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ร้องขอฯ
  10. พินัยกรรมของผู้ตาย (ถ้ามี)
  11. หนังสือให้ความยืนยอมในการร้องขอจัดการมรดก (มาทำที่สำนักงานอัยการ)
  12. บัญชีเครือญาติ
  13. เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย เช่น โฉนดที่ดินและสัญญาจำนอง ทะเบียนรถยนต์ ทะเบียนรถจักรยานยนต์ อาวุธปืน สมุดบัญชีธนาคาร ใบหุ้น และอื่นๆ เป็นต้น
  14. บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ให้ความยินยอมทุกคน

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการตั้งผู้ปกครอง (เอกสารทุกอย่างพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องจำนวน ๔ ชุด)

  • สำเนาทะเบียนบ้านผู้จะเป็นผู้ปกครอง
  • สำเนาทะเบียนบ้านผู้เยาว์ (ถ้ามี)
  • สูติบัตรผู้เยาว์ (ถ้ามี)
  • ทะเบียนสมรสของบิดามารดาผู้เยาว์ (ถ้ามี)
  • ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล (ถ้ามี)
  • ใบมรณบัตรของบิดามารดาผู้เยาว์ (กรณีบิดาหรือมารดาเสียชีวิต)
  • หลักฐานใบแจ้งความ (กรณีผู้เยาว์ถูกทอดทิ้ง)
  • หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร (กรณีบิดาไม่มาจดทะเบียน)
  • สำเนาทะเบียนบ้านของบิดามารดาผู้เยาว์ที่ระบุไว้ในสูติบัตร (ถ้ามี)
  • คัดที่อยู่บิดามารดาผู้เยาว์จากสำนักงานเขต หรืออำเภอ หรือสำนักทะเบียนกลาง (กรณีที่บิดามารดาทอดทิ้ง) และส่งหนังสือติดต่อประสาน เพื่อสอบถามเรื่องความยินยอมทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ
  • ใบทะเบียนสมรถผู้ร้อง (ถ้ามี)
  • หนังสือยินยอมของสามี/ภริยาที่จะเป็นผู้ปกครอง (กรณีเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย)

การร้องเป็นคนไร้ความสามารถ/คนเสมือนไร้ความสามารถ

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำร้องเป็นคนไร้ฯ/คนเสมือนไร้ความสามารถ

  • ทะเบียนบ้านของผู้ร้อง
  • ทะเบียนบ้านของผู้จะขอให้ศาลสั่งเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ/เสมือนไร้ความสามารถ
  • ทะเบียนสมรส (กรณีผู้ร้องกับผู้ป่วยเป็นสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย)
  • ใบสูติบัตร (กรณีผู้จะขอให้เป็นคนไร้ความสามารถ/เสมือนไร้ความสามารถเป็นบุตร)
  • ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี )
  • รายงานความเห็นของแพทย์ระบุชัดเจนว่าเป็นโรคอะไร ขณะนี้มีสภาพเป็นอย่างไรโดยละเอียด
  • รูปถ่ายผู้ป่วย
  • หนังสือให้ความยินยอมในการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ/เสมือนไร้ความสามารถและตั้งผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ (มาทำที่สำนักงานอัยการ)

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำร้องคนสาบสูญ

  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอความช่วยเหลือและผู้ที่จะขอให้ศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ (เขตอำนาจศาล)
  • บันทึกประจำตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้รับแจ้งว่า บุคคลนั้นได้หายไปจากภูมิลำเนาโดยไม่ทราบว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร
  • บัญชีรายชื่อผู้สูญหายจากกรณีธรณีพิบัติที่กระทรวงยุติธรรมประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  • เอกสารหลักฐานที่แสดงความเกี่ยวพันระหว่างผู้ร้องขอความช่วยเหลือกับผู้ที่จะของให้ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ เช่น ทะเบียนสมรส สูติบัตร เป็นต้น
  • หนังสือให้ความยินยอมในการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ (มาทำที่สำนักงานอัยการ)

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำร้องขอรับบุตรบุญธรรม (เอกสารทุกอย่างสำเนา 4  ชุด)

1. สำเนาทะเบียนบ้านของบุตรบุญธรรม (ถ้ามี)
2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับบุตรบุญธรรม
3. สูติบัตรของบุตรบุญธรรม
4. ใบทะเบียนสมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม (ถ้ามี)
5. หนังสือแสดงความยินยอมของคู่สมรสที่ให้ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรม (กรณีชอบด้วยกฎหมาย)
6. ใบมรณบัตรของบิดามารดาของบุตรบุญธรรม (กรณีถึงแก่กรรม)
7. หลักฐานใบแจ้งความกรณีบุตรบุญธรรมไม่มีหลักฐาน (ถูกทอดทิ้ง)
8. หลักฐานทางทะเบียนบ้านของบิดามารดาของบุตรบุญธรรม คัดที่อยู่บิดามารดาผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม
จากสำนักงานเขตทะเบียนกลาง
9. เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (เฉพาะที่เป็นประโยชน์กับคดี)
10. ใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ถ้ามี)

ติดต่อหน่วยงาน

“สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่”
ที่อยู่ อาคารสำนักงานอัยการภาค 5 ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก 
อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์/โทรสาร 0-53112-564  
E-mail : cm-lawaid@ago.go.th