



เกี่ยวกับสำนักงาน

อำนาจและหน้าที่ตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓
กำหนดให้องค์กรอัยการประกอบด้วย ก.อ. อัยการสูงสุด, และพนักงานอัยการอื่น โดยมีสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานธุรการ
สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นส่วนราชการที่มีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น และนิติบุคคล โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้แทนนิติบุคคล และให้ข้าราชการฝ่ายอัยการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด
อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด มีดังนี้
๑. ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
๒. ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
๓. ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
๔. ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
๕. ดำเนินการตามที่รัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
๖. ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ
๗. ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
๘. ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
๙. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้ สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๔ มีดังนี้
๑. อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
๒.ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
๓. ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโคตุลาการทั้งปวงกับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
๔. ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดีหรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
๕. ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นเป็นคู่กรณีและมิใช่กรณีที่พิพาทกับรัฐบาลหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
๖. ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
๗. ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
๘. ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
๙. อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
๑๐. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
๑๑. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่สำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตาร ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำโดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.
วิสัยทัศน์ (Vision)
“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”
พันธกิจ (Missions)
1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โครงสร้าง (Structure)

ข้าราชการอัยการ

นางสาวกาญจนา อุปะละ
อัยการจังคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย
และการบังคับคดีจังหวัดเชียงราย
รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดเทิง

อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ปฏิบัติหน้าที่ผู้กลั่นกรองงาน

อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ปฏิบัติหน้าที่ผู้กลั่นกรองงาน

รองอัยการจังหวัด

รองอัยการจังหวัด

อัยการจังหวัดผู้ช่วย

อัยการจังหวัดผู้ช่วย
ข้าราชการธุรการและจ้างเหมาบริการ

นางเฉลิมพันธ์ แสงมะณี
ผู้อำนวยการสำนักงานอำนวยการ
สำนักงานอัยการจังหวัดเทิง

นิติกรชำนาญการพิเศษ

นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นิติกรปฏิบัติการ

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

พนักงานขับรถยนต์

พนักงานรักษาความปลอดภัย

พนักงานรักษาความปลอดภัย

พนักงานรักษาความปลอดภัย

คนสวน

พนักงานรักษาความสะอาด

พนักงานรักษาความสะอาด
ทำเนียบผู้บริหารสำนักงานอัยการจังหวัดเทิง
ลำดับ ที่ | ชื่อ – สกุล | ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ |
1 | นายภาวิด พยัคฆบุตร | 1 ตุลาคม 2545 – 30 เมษายน 2546 |
2 | นายบดินทร์ แสนสระดี | 1 พฤษภาคม 2546 – 30 เมษายน 2547 |
3 | นายสมศักดิ์ ศักดิ์พิบูลยจิตต์ | 1 พฤษภาคม 2547 – 30 เมษายน 2548 |
4 | นางธนานันท์ กาญจนนิรัติศัย | 4 พฤษภาคม 2548 – 30 เมษายน 2549 |
5 | นายวิทยา หวั่งประดิษฐ์ | 1 พฤษภาคม 2549 – 1 เมษายน 2550 |
6 | นายชลัมพร เพชรรัตน์ | 2 เมษายน 2550 – 31 มีนาคม 2551 |
7 | นายวีระพงศ์ หาญนำผลดี | 1 เมษายน 2551 – 30 มีนาคม 2554 |
8 | นายวีระศักดิ์ บุพพะเนติ | 1 เมษายน 2554 – 1 เมษายน 2555 |
9 | นายสุวรรชัย สิริจรรยาพงศ์ | 2 เมษายน 2555 – 31 มีนาคม 2557 |
10 | นายคมกริช ดุลยพิทักษ์ | 1 เมษายน 2557 – 31 มีนาคม 2558 |
11 | นายอภิชาต ถาใจ | 1 เมษายน 2558 – 31 มีนาคม 2560 |
12 | นายอนุสรณ์ วงศ์ใหญ่ | 1 เมษายน 2560 – 31 มีนาคม 2561 |
13 | นายไชยยศ สุขใส | 1 เมษายน 2561 – 31 มีนาคม 2562 |
14 | นายไพศาล ไชยวงษ์ | 1 เมษายน 2562 – 31 มีนาคม 2564 |
15 | นายอมรพันธุ์ กำพลวรรณ | 1 เมษายน 2564 – ปัจจุบัน |

หลักเกณฑ์ในการประกันตัวผู้ต้องหา
การขอประกันตัวผู้ต้องหาในคดีอาญา
1. ผู้มีสิทธิยื่นขอประกันตัวผู้ต้องหา ได้แก่ ต้วผู้ต้องหาหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง
2. กรณีการใช้บุคคลเป็นหลัก ประกันในการปล่อยตัวชั่วคราว ไม่จำกัดเฉพาะ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และข้าราชการการเมือง บุคคลอื่น ๆ ที่มีความน่าเชื่อถือ สามารถใช้สิทธินี้ได้เช่นกัน
3. การร้องขอประกันตัวไม่ตอ้งเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าคำร้องค่าสัญญาประกันค่าเขียนหรือพิมพ์คำร้อง เขียนสัญญาหรือ พิมพ์สัญญาประกัน รวมทั้งการพิจารณาการสั่งอนุญาตให้ประกันตัว
4. การเขียนหรือพิมพ์คำร้องขอประกันตัวและสัญญาประกันตัว ให้เขียนหรือพิมพ์ ตามตัวอย่างที่สำนักงานได้จัดทำไว้เป็นตัวอย่างให้ดู หากผู้ขอประกันเขียนหรือพิมพ์ไม่ได้สำนักงานได้จัดให้มีผู้เขียนหรือพิมพ์ให้และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเขียนหรือพิมพ์แต่อย่างใด
5. เมื่อรับคำร้องขอประกันตัวแล้ว เจ้าหน้าที่ผู้รับคำร้องจะตรวจสอบความถูกต้องของ คำร้อง สัญญาประกันและหลักประกัน
6. การพิจารณาคำขอประกันตัวปกติพนักงานอัยการจะอนุญาตให้ประกันตัวตามขอ ฉะนั้นอย่าหลงเชื่อคำแอบอ้าง การเรียกเงินเพื่อตอบแทนการอนุญาตให้ประกันตัวดังกล่าว
7. พนักงานอัยการจะพิจารณาสั่งคำร้องขอประกันตัวภายในระยะเวลา 20 นาทีและไม่เกิน 30 นาทีนับแต่รับคำร้อง
8. จะไม่มีข้ออ้างจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าผู้รับคำร้องไม่อยู่ไม่มีเจ้าหน้าที่เขียนหรือพิมพ์คำร้อง รวมทั้งพนกังานอยัการผู้สั่งอนุญาตคำร้องไม่อยู่ เพราะเป็นหน้าที่ของสำนักงานที่จะต้องจัดเจ้าหน้าที่ทดแทนไว้บริการประชาชนเสมอ

การประกันโดยมีประกันและหลักประกัน หมายถึง การประกันตัวผู้ต้องหา นอกจากมีสัญญาประกันแล้วยังจะต้องมีหลักประกันอีกด้วยทั้งนี้ ถ้าหากว่ามีการผิดสัญญาประกันแล้วพนักงานอัยการ จะได้ยึดหลักประกันนั้นมาใช้เป็นค่าปรับ
หลักประกันมี 4 ชนิด คือ
- เงินสด โดยใช้สมุดเงินฝากธนาคารประเภทประจำ – หนังสือรับรองยอดเงินฝากคงเหลือปัจจุบัน – ขอรับหนังสือที่สาขาธนาคารที่เปิดบัญชี
- สลากออมทรัพย์ ธกส. สลากออมสิน
- โฉนดที่ดิน น.ส.3, น.ส.3 ก. ต้องมีหนังสือรับรองการประเมินราคาที่ดิน
- บุคคลเป็นหลักประกัน โดยใช้หนังสือรับรองจากต้นสังกัด แสดงสถานะตำแหน่ง ระดับ อัตราเงินเดือน
หลักฐานการประกันตัวนำไปแสดงเพิ่มเติมเฉพาะกรณี
- กรณีของเจ้าของหลักทรัพย์มีคู่สมรส – หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรส – สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรข้าราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจ ของคู่สมรส
- กรณีเจ้าของหลักทรัพย์หย่าจากคู่สมรสแล้ว – สำเนาใบสำคัญการหย่า
- กรณีคู่สมรสเจ้าของหลักทรัพย์ถึงแก่กรรมแล้ว – สำเนามรณบัตร หรือทะเบียนบ้านประทับตราว่า “ตาย” หน้าชื่อคู่สมรส
- กรณีชื่อตัวหรือชื่อสกุล เจ้าของหลักทรัพย์ตามบัตรของทางราชการไม่ตรงกับ ที่ปรากฎในหลักทรัพย์ – หนังสือรับรองว่า เป็นบุคคลคนเดียวกันออก ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ที่เจ้าของหลักทรัพย์ ชื่อในทะเบียนบ้าน
- กรณีชื่อตัวหรือ ชื่อ สกุล เจ้าของหลักทรัพย์ตามบัตรของทางราชการไม่ตรงกับ ที่ปรากฏในหลักทรัพย์ เนื่องจากการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล – หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล
- กรณีชื่อ สกุล เจ้าของหลักทรัพย์ตามบัตรของทางราชการไม่ตรงกับที่ปรากฏในหลักทรัพย์เนื่องจากเปลี่ยนชื่อ สกุล เพราะทำการสมรสแล้ว – สำเนาใบสำคัญการสมรส
- กรณีเจ้าของหลักทรัพย์ต้องการมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำประกันแทน – ทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมสำเนา 1 ชุด – บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจของผู้รับมอบอำนาจขอหลักทรัพย์คืนได้ทันทีโดยแสดงหลักฐานคือ ใบรับหลักฐานที่เจ้าหน้าที่ออก ให้เมื่อครั้งที่ได้ยื่นประกัน – หนังสือมอบอำนาจพนักงานอัยการจะใช้ดุลยพินิจสั่งโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะอนุญาตใหประกันตัวหรือจะ ไม่อนุญาตก็ได้
การขอรับหลักทรัพย์คืน
สัญญาประกันจะสิ้นสุดลงเมื่อ พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องผู้ต้องหาเป็นจำเลยต่อศาลแล้ว หรือพนักงานอัยการได้มีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล นายประกันสมารถขอหลักทรัพย์คืนได้ทันทีโดยแสดงหลักฐาน คือ ใบรับหลักฐานที่เจ้าหน้าที่ออกให้เมื่อครั้งที่ได้ยื่นประกัน
หน้าที่ของนายประกัน
ในกรณีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งให้ประกันตัวผู้ต้องหา นายประกันมีหน้าที่ต้องส่งตัวตามกำหนดนัดของพนักงานอัยการทุกครั้ง
การผิดสัญญาประกัน
ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อพนักงานอัยการ พนักงานอัยการมีอำนาจสั่ง บังคับตามสัญญาประกัน
ที่ตั้งสำนักงานอัยการจังหวัดเทิง
เลขที่ 157 หมู่ 20 ตำบลเวียง อำเภอเทิง
ถนนพิศาล ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย 57160
ตั้งอยู่ด้านหลังศาลจังหวัดเทิง
โทรศัพท์ :0-5379-5627 โทรสาร : 0-5379-5628
E-mail :Thoeng@ago.go.th