ข่าวประชาสัมพันธ์
เกี่ยวกับสำนักงาน
ประวัติสำนักงาน

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกำแพงเพชร เปิดทำการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2547 ในระยะเริ่มแรกยังไม่มีบุคลากรปฏิบัติงานอัยการสูงสุดได้มีคำสั่งให้ นายสกล ยิ้มพร อัยการพิเศษประจำกรมสำนักงานอัยการเขต 6 รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดกำแพงเพชร ในขณะนั้นให้รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกำแพงเพชร อีกหน้าที่หนึ่งโดยให้นายประสิทธิ์ พรหมณะ และนายสาเรศ ชาญเชี่ยว รองอัยการจังหวัดกำแพงเพชร ทั้ง 2 คน ช่วยราชการสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกำแพงเพชร อีกหน้าที่หนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2547 และให้ข้าราชการธุรการ/ลูกจ้าง ของสำนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชรทุกคนปฏิบัติหน้าที่สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกำแพงเพชรอีกหน้าที่หนึ่งจนกระทั่งวันที่ 4 เมษายน 2548 อัยการสูงสุด ได้มีคำสั่งแต่งตั้ง นายวิพล เทียนเสริมทรัพย์ ให้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัด คดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกำแพงเพชร เป็นคนแรก นายณรงค์ กู้เกียรตินันท์ อัยการจังหวัดประจำกรม สำนักงานอัยการจังหวัดพิจิตรช่วยราชการสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกำแพงเพชรและให้นายสาเรศ ชาญเชี่ยว รองอัยการจังหวัดกำแพงเพชรช่วยราชการสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกำแพงเพชรอีกหน้าที่หนึ่ง สำหรับการปฏิบัติงานด้านธุรการอัยการสูงสุดได้มีคำสั่งให้นางวิลาวัลย์ จันทร์คง เจ้าพนักงานธุรการ 5 สำนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชรรักษาการในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 6 สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2547 และอัยการสูงสุดได้มีคำสั่งให้นางสาวจันทร์เพ็ญ สนหอมเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล 2 ปฏิบัติราชการฝ่ายกิจการทั่วไปสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2548 รวมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านธุรการ จำนวน 2 คนตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป
อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด มีดังนี้
(มาตรา ๒๓) สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชากร เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครอง ป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
(๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
(๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
(๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
(๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
(๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ
(๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
(๘) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
(๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด
ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
อำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด มีดังนี้
(มาตรา ๒๗) ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด
(๒) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ
(๓) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด
ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้
ให้อัยการสูงสุดโอยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด
อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ มีดังนี้
มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำจานและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
(๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือพนักงานอัยการ
(๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของ สำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
(๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้ กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
(๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
(๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
(๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึด ทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
(๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
(๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
(๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
(๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไป ตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.
วิสัยทัศน์ (Vision)
“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”
พันธกิจ (Missions)
1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โครงสร้าง (Structure)

วัฒนธรรมองค์กร


บุคลากร
ทำเนียบข้าราชการอัยการที่ดำรงตำแหน่ง
ลำดับ | ชื่อ – นามสกุล | ปีที่ดำรงตำแหน่ง |
๑ | นายสกล ยิ้มพร | ๑ ธันวาคม ๒๕๔๗ – ๓ เมษายน ๒๕๔๘ |
๒ | นายวิพล เทียนเสริมทรัพย์ | ๔ เมษายน ๒๕๔๘ – ๓๐ เมษายน ๒๕๔๙ |
๓ | นายจำรัส พุกสุวรรณ | ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙ – ๑ เมษายน ๒๕๕๐ |
๔ | นายวัชรากร เปรมประเสริฐ | ๒ เมษายน ๒๕๕๐ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๑ |
๕ | ร.ต.ท.ปริญญา เฉลิมพันธ์ | ๑ เมษายน ๒๕๕๑ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ |
๖ | นางสาวอุไรรักษ์ เจียมอ่อน | ๑ เมษายน ๒๕๕๔ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๕ |
๗ | นายอุกฤษ จันทรวิสุทธิ์ | ๑ เมษายน ๒๕๕๕ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘ |
๘ | นายอำนาจ อารีจิตร | ๑ เมษายน ๒๕๕๘ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ |
๙ | เรือโทพลัฎฐ์ ทัพพัฒนะ | ๑ เมษายน ๒๕๕๙ – ๒ เมษายน ๒๕๖๐ |
๑๐ | นายบุญยัง จุมพล | ๓ เมษายน ๒๕๖๐ – ๑ เมษายน ๒๕๖๑ |
๑๑ | ร.ต.อ.ณรงค์ น้อยเลิศ | ๒ เมษายน ๒๕๖๑ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๒ |
๑๒ | นายบุญชัย เอกศรายุธ | ๑ เมษายน ๒๕๖๒ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓ |
๑๓ | นายเจษฎา รักวนิชย์ | ๑ เมษายน ๒๕๖๒ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔ |
๑๔ | นางสาวยุพา ศิริเลิศรุ่งเรือง | ๑ เมษายน ๒๕๖๔ – ปัจจุบัน |
ข้าราชการอัยการ

อัยการจังหวัดคดีเยาวชน
และครอบครัวจังหวัด

อัยการจังหวัดประจำสำนักงาน
อัยการสูงสุด

รองอัยการจังหวัด
ข้าราชการธุรการ

เจ้าพนักงานธุรการอาวุโส

เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นิติกรชำนาญการ
จ้างเหมาบริการ

เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล

พนักงานขับรถ

นักการภารโรง

นักการภารโรง

คนสวน

พนักงานรักษาความปลอดภัย

พนักงานรักษาความปลอดภัย
สถิติงาน
ประเภทคดี | พ.ศ. 2562 | พ.ศ. 2563 | พ.ศ. 2564 | พ.ศ. 2565 | พ.ศ.2566 |
ส.1 คดีความอาญาปรากฎตัวผู้ต้องหาที่ส่งตัวมา | 278 | 188 | 122 | 114 | 88 |
ส.1 คดีความอาญาปรากฎตัวผู้ต้องหาที่ส่งตัวมา (มาตรการพิเศษ) | 78 | 52 | 29 | 9 | 8 |
ส.1 คดีฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด | 39 | 39 | 22 | – | – |
ส.2 คดีสำนวนปรากฎตัวผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมา | 7 | 3 | 8 | 2 | 10 |
ส.2ก สารบบความอาญา ปรากฎผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมา (เฉพาะคดีเปรียบเทียบปรับ) | 79 | 21 | 12 | 15 | 7 |
ส.4 คดีอาญาฟ้องความอาญา | 201 | 137 | 92 | 96 | 78 |
ส.4 คดีอาญาฟ้องด้วยวาจา | – | 1 | – | – | – |
ส.6 คดีชั้นศาลอุทธรณ์ | – | – | – | – | – |
ส.คดีคุ้มครองสวัสดิภาพ | – | – | – | 4 | 2 |
ส.1 ความรุนแรงในครอบครัว (คร) | – | 3 | 1 | – | 2 |
ส.2 ความรุนแรงในครอบครัว (คร) | – | 2 | – | – | – |
รวม | 682 | 446 | 286 | 240 | 195 |
สถิติคดี ปี 2566 ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566
เอกสารเผยแพร่
ติดต่อหน่วยงาน
สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกำแพงเพชร
ถนนปิ่นดำริห์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000
โทรศัพท์ 055 716034
โทรสาร 055 716034
E:mail kpp-ju@ago.go.th
