************************************************************************************

พิธีบวงสรวงสมโภชศาลหลักเมืองนครบาลเพชรบูรณ์ ประจำปี 2567 ณ บริเวณศาลหลักเมืองนครบาลตำบลบุ่งน้ำเต้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 23 เมษายน 2567

************************************************************************************

กิจกรรม “131 ปี องค์กรอัยการ โดยสำนักงานอัยการในพื้นที่ภาค 6 พบประชาชน” วันพุธที่ 3 เมษายน 2567 ณ สำนักงานอัยการภาค 6 ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

************************************************************************************

ต้อนรับท่านอัยการจังหวัดหล่มสัก (ท่านพรศักดิ์ ศรีไพศาลนนท์) และไหว้สักการะศาลพระภูมิ-พ่อขุนผาเมือง-ศาลหลักเมืองบุ่งน้ำเต้า-ศาลเจ้าพ่อกกไทรหล่มสัก

************************************************************************************

พิธีสวดพระพุทธมนต์,ทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ เนื่องในวันนวมินทรมหาราช วันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม 2566 ณ ที่ว่าการอำเภอหล่มสัก

************************************************************************************

กิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน ประจำปี 2566 ณ สำนักงานอัยการจังหวัดหล่มสัก

………………………………………………………………………………………………………….

พิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2566 ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอหล่มสัก

************************************************************************************

พิธีทำบุญตักบาตรวายพระราชกุศล เนื่องในวันเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2566 ณ บริเวณถนนหน้าสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดเพชรบูรณ์ สาขาหล่มสัก

************************************************************************************

พิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2566 ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอหล่มสัก

************************************************************************************

พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2566 ณ บริเวณถนนหน้าสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดเพชรบูรณ์ สาขาหล่มสัก

************************************************************************************

พิธีถวายพระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน

วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ณ สำนักงานอัยการจังหวัดหล่มสัก

************************************************************************************

ร่วมทำบุญตักบาตร เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ในวันที่ 3 มิถุนายน 2566 ณ ที่ว่าการอำเภอหล่มสัก

************************************************************************************

วันพ่อขุนรามคำแหง ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 17 มกราคม 2566

************************************************************************************

ร่วมพิธีตักบาตรข้าวสาร-อาหารแห้ง และพิธีเชิญภัตาหารและ เครื่องไทยธรรมพระราชทาน ณ วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว ในวันที่ 15 มกราคม 2566

กิจกรรมการดำเนินงานของคณะทำงานในระดับจังหวัด เพื่อปฏิบัติงานสนับสนุนศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชนและสถานบันครอบครัวภาค ๖


กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง วันพุธที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๓ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ 


พิธีเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ ถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๓ วันศุกร์ ที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว ตำบลแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์


เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติสำนักงาน

            ตั้งอยู่ที่ ถนนวจี ตำบลหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๖๓
รวมระยะเวลาที่ตั้งขึ้นถึงปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๖๐) เป็นเวลา ๙๗ ปี มีหลวงเรืองเดชสาคร เป็นอัยการจังหวัดหล่มสักคนแรก ปัจจุบันมีนายจิระเดช ทัพพจิรเดช เป็นอัยการจังหวัดคนปัจจุบัน และเป็นอัยการจังหวัดหล่มสักคนที่ ๔๖ มารับตำแหน่งเมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๐

ที่อยู่ : สำนักงานอัยการจังหวัดหล่มสัก ถนนวจี ตำบลหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ 67110
โทรศัพท์ : 0 5670 1109
โทรสาร : 0 5670 2022
e- mail : lomsak@ago.go.th

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด มีดังนี้

          (มาตรา ๒๓) สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชากร เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครอง ป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
          (๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
          (๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
          (๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
          (๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
          (๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ
          (๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
          (๘) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
          (๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด
          ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ


อำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด มีดังนี้

          (มาตรา ๒๗)  ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด
          (๒) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ
          (๓) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด
          ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้
          ให้อัยการสูงสุดโอยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ มีดังนี้

          มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำจานและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
          (๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือพนักงานอัยการ
          (๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของ สำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
          (๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้ กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
          (๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
          (๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
          (๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึด ทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
          (๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
          (๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
          (๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
          (๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
          ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
          พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไป ตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.


:: กฎหมายองค์กรอัยการตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. ๒๕๕๐

ข้าราชการฝ่ายอัยการ  แบ่งออกเป็นสองประเภท  คือ
           1  ข้าราชการอัยการ   ได้แก่  ข้าราชการผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพนักงานอัยการตามกฎหมายว่าด้วย องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ
           2  ข้าราชการธุรการ  ได้แก่  ข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด (นอกจาก 1)

อำนาจหน้าที่พนักงานอัยการ
           (ก)  รับผิดชอบการดำเนินคดีทั้งปวงในอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุดภายในเขตท้องที่ของสำนักงานอัยการจังหวัดบึงกาฬ  ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดบึงกาฬ  หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นในศาลจังหวัดแก้วแต่กรณี  ทั้งนี้ตามกฎหมาย  ประกาศ  ระเบียบ  ข้อบังคับ  และคำสั่งว่าด้วยการนั้น
           (ข)  ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง  หรือที่ได้รับมอบหมาย

           พนักงานอัยการผู้รับผิดชอบคดีอาญาทั่วไป
            
อัยการสูงสุด ได้วางระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการไว้โดยจัดสรรอำนาจหน้าที่  ดังนี้
           การออกคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการผู้มีอำนาจ ดำเนินคดีนั้น  ส่วนการลงนามในคำฟ้อง  เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าพนักงานอัยการ  เว้นแต่กรณีจำเป็นและเร่งด่วน  ให้พนักงานอัยการผุ้มีอาวุโสถัดลงมามีอำนาจลงนามในคำฟ้อง
           หมายเหตุ  อัยการจังหวัดไม่อาจมอบหมายให้พนักงานอัยการชั้น 4 ปฏิบัติราชการแทนในการสั่งคดี (น.ว.ที่ อส(สฝอส.3)0015/ว256 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2548)


           อัยการชั้น 5 และอัยการชั้น 6  ผู้ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าพนักงานอัยการ
           เมื่อได้รับมอบหมายให้พิจารณาสำนวนคดีใดให้มีอำนาจดำเนินคดีนั้นได้เช่น เดียวกับหัวหน้าพนักงานอัยการ  และเมื่อสั่งคดีแล้วให้เสนอหัวหน้าพนักงานอัยการเพื่อทราบ  กรณีมีคำสั่งฟ้องให้เสนอความเห็นและคำสั่งพร้อมด้วยร่างคำฟ้องสำหรับกรณีมี คำสั่งให้รับแก้ต่างคดีอาญา  หากต้องยื่นคำให้การ  ให้เสนอร่างคำให้การด้วย
           การเสนอเพื่อทราบ  ให้เสนอก่อนยื่นคำฟ้องหรือคำให้การ  เมื่อหัวหน้าพนักงานอัยการมีความเห็นและคำสั่งประการใดให้ปฏิบัติตามนั้น
           กรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน  ไม่อาจเสนอเพื่อทราบก่อนยื่นคำฟ้องหรือคำให้การ  เช่น  คดีจะขาดอายุความฟ้องร้อง  หรือเหตุอื่นที่อาจทำให้เกิดความเสียฟาย  ให้เสนอเพื่อทราบภายหลังยื่นคำฟ้องหรือคำให้การโดยเร็ว

           อัยการชั้น 4  ผู้ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าพนักงานอัยการ
           เมื่อ ได้รับมอบหมายให้พิจารณาสำนวนคดีใด  ให้ตรวจพิจารณาสำนวนแล้วทำความเห็นเสนอหัวหน้าพนักงานอัยการพิจารณาสั่ง  เว้นแต่คดีนั้นมีอัตราโทษแต่ละฐานความผิดจำคุกอย่างสูงไม่ถึงสิบปี  และ/หรือมีโทษปรับไม่ถึงสองหมื่นบาท  ให้มีอำราจสั่งคดีนั้นได้เช่นเดียวกับหัวหน้าพนักงานอัยการ  แต่ต้องเสนอหัวหน้าพนักงานอัยการเพื่อทราบทันที

           อัยการชั้น 2  อัยการชั้น  3
           เมื่อได้รับมอบหมายให้พิจารณาสำนวนคดีใด  ให้ตรวจพิจารณาสำนวนแล้วทำความเห็นเสนอผู้กลั่นกรองงาน  เพื่อทำความเห็นเสนอหัวหน้าพนักงานอัยการพิจารณาสั่ง

สำนวนคดีปรากฎตัวผู้ต้องหาที่ส่งตัวมา  ถ้าเห็นควรสั่งฟ้องให้เสนอร่างคำฟ้องด้วย  สำนวนคดีดังต่อไปนี้  หากมิใช่คดีที่เห็นควรมีคำสั่งไม่ขอริบของกลาง  และคดีที่มีความสำคัญตามระเบียบของสำนักงานอัยการสูงสุด  ให้ผู้กลั่นหรองงานพิจารณาสั่งคดีโดยไม่ต้องเสนอความเห็นต่อหัวหน้าพนักงาน อัยการ  ได้แก่

           1.  สำนวนคดีฟ้องด้วยวาจา
           2.  สำนวนคดีปรากฏตัวผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมา
                2.1  คดีที่พนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้อง  ซึ่งพนักงานอัยการเจ้าของสำนวน  และผู้กลั่นกรองงานเห็นควรสั่งฟ้อง
                2.2  คดีที่พนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบ  ในกรณีเห็นว่าการเปรียบเทียบชอบ
           3.  สำนวนคดีไม่ปรากฏตัวผู้กระทำผิด  เฉพาะกรณีสั่งให้งดการสอบสวน
                กรณีที่จะมอบหมายให้มีผู้กลั่นกรองงานมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป  ให้หัวหน้าพนักงานอัยการมอบหมายพนักงานอัยการโดยคำนึงถึงลำดับอาวุโสและความ เหมาะสม  แล้วรายงานให้อธิบดีอัยการทราบ
                ในกรณีสั่งจ่ายสำนวน  ให้หัวหน้าพนักงานอัยการระบุชื่อผู้กลั่นกรองงานในการสั่งจ่ายสำนวนการสอบ สวนให้พนักงานอัยการด้วย

           อัยการชั้น 1
           ให้หัวหน้าพนักงานอัยการสั่งจ่ายสำนวนคดีที่เหมาะสมกับสถานภาพ  โดยระบุชื่อพนักงานอัยการผู้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้ร่วมตรวจสำนวนด้วย  ทั้งนี้  เมื่ออัยการชั้้น 1  ตรวจสำนวนแล้วให้ทำความเห็นเสนอพนักงานอัยการผู้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อ พิจารณาดำเนินการต่อไปตามอำนานหน้าที่

           พนักงานอัยการผู้รับผิดชอบที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ
           3.1  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 20  กำหนดให้อัยการสูงสุดเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาสั่งคดีในคดีความผิดซึ่งมิใช่โทษ ตามกฎหมายไทยได้กระทำลงนอกราชอาณาจักร
           3.2  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 143 วรรคสอง  กำหนดไว้ว่า  ในคดีฆาตกรรม ซึ่งผู้ตายถูกเจ้าหน้าที่ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ฆ่าตายหรือตาย ในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตาม หน้าที่  อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการณ์การแทนเท่านั้นมีอำนาจออกคำสั่งฟ้องหรือไม่ ฟ้อง
           3.3  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 หรือมาตรา 70  กำหนดให้อัยการสูงสุดดำเนินการฟ้องร้องผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
           3.4  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522  คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ออกคำสั่งที่ 1/2541 ลงวันที่ 20 มกราคม 2541 แต่ตั้งพนักงานอัยการเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเพื่อดำเนินคดีแพ่ง และคดีอาญาแก่ผู้กระทำการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคในศาล

สำนักอำนวยการ   มีอำนาจและหน้าที่
            
1.  รับผิดชอบงานด้านธุรการ  งานสารบบคดี  งานบริหารบุคคล  งานเลขานุการนักบริหาร  งานงบประมาณ  งานการเงินและบัญชี  และงานที่เกี่ยวข้องกับอาคารสถานที่  งานพัสดุ  และยานพาหนะของสำนักงานอัยการจังหวัดบึงกาฬ
           2.  ปฏิบัติงานร่วมกับ  หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง  หรือที่ได้รับมอบหมาย
           ในการดำเนินคดีอาญากับผู้ต้องหาหรือผู้ถูกกล่าวหาเกี่ยวกับคดีที่อยู่ใน อำนาจพิจารณาพิพากษาาของศาลแขวง  มีข้อสังเกตที่ควรทราบ  ดังนี้
           1.  เมื่อตำรวจจับผู้ต้องหาได้  พนักงานสอบสวนจะมีอำนาจควบคุมผู้ต้องหาได้ไม่เกิน 48 ชั่วโมง  และพนักงานสอบสวนจะต้องส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงาน อัยการเพื่อให้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแขวงให้ทันภายในกำหนดเวลา  48  ชั่วโมงนับแต่เวลาถูกจับ  ซึ่งจะไม่รวมเวลาเดินทางช่วงส่งตัวผู้ต้องหาให้พนักงานสอบสวนและพนักงาน อัยการ
           2.  เมื่อผู้ต้องหามาถึงพร้อมพนักงานสอบสวน  หากผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ  พนักงานสอบสวนไม่ต้องทำการสอบสวน  เพียงทำบันทึกคำให้การรับสารภาพของผู้ต้องหาในใบสีชมพู (ตามมาตรา 20)  บางกรณีพนักงานสอบสวนจะสอบสวนผู้ต้องหาหรือผู้กล่าวหาไว้เพื่อให้ทราบข้อ เท็จจริง  หรือเหตุการณ์ของการกระทำผิดของผู้ต้องหาไว้ด้วย  และจะส่งตัวผู้ต้องหามายังพนักงานอัยการเพื่อส่งตัวผู้ต้องหาฟ้องศาลได้ทัน ภายในกำหนดเวลา 48  ชั่วโมง  นับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ
           ในทางปฏิบัติจะเริ่มนับเวลา  48  ชั่วโมง  เมื่อผู้ต้องหาเริ่มถูกควบคุมเมื่อได้นำตัวผู้ต้องหามาส่งพนักงานสอบสวน
           3.  กรณีฟ้องวาจาในคดีที่ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน  แต่มาให้การปฏิเสธในชั้นศาล  กรณีเช่นนี้ศาลจะต้องส่งตัวจำเลยคืนพนักงานอัยการ  จากนั้นพนักงานอัยการต้องแจ้งให้พนักงานสอบสวนหรือตำรวจอื่นในท้องที่นั้นมา รับตัวจำเลยหรือผู้ต้องหาดังกล่าว   คืนกลับไปพร้อมสำนวนฟ้องวาจา  เพื่อให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนต่อไปตาม มาตรา 20
           4.  ถ้าผู้ต้องหาให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวน  และพนักงานสอบสวนไม่อาจสอบสวนให้เสร็จและส่งตัวผู้ต้องหาให้อัยการยื่นฟ้อง คดีได้ทันภายในเวลา  48  ชั่วโมง  พนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการ  ดังนี้
                4.1  ถ้าผู้ต้องหาหนีประกันตัวในชั้นสอบสวน  พนักงานสอบสวนจะต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลก่อนครบกำหนดเวลา  48  ชั่วโมง  (โดยไม่ต้องขอฝากขัง)
                4.2  ถ้าผู้ต้องหาไม่ได้ประกันตัวในชั้นพนักงานสอบสวน  พนักงานสอบสวนจะต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องและฝากขังผู้ต้องหาต่อศาลภายในกำหนด เวลา  48  ชั่วโมงเช่นกัน
           การยื่นคำร้องขอผัดฟ้องหรือขอผัดฟ้องและฝากขังดังกล่าวจะขอได้คราว (ครั้ง) ละไม่เกิน  6  วัน  รวมกันไม่เกิน  5  คราว (ครั้งป  ซึ่งรวมเวลาสูงสุด  5  ครั้ง  ไม่เกิน  30  วัน  กรณีนี้หากศาลอนุญาตให้ผัดฟ้องหรือผัดฟ้องและฝากขังเพียงคราว (ครั้ง) ละไม่ถึง  6  วัน  เช่น  อนุญาตเพียง  2  วัน  หรือ  4  วัน  ก็จะขอผัดฟ้องหรือผัดฟ้องฝากขังได้ไม่เกิน  5  คราว (ครั้ง)  เท่านั้น  จะยื่นคำร้องเป็นครั้งที่  6  หรือ  7  เพื่อรวมกันให้ครบ  30  วันไม่ได้
           เมื่อพนักงานอัยการได้รับสำนวนจากพนักงานสอบสวนในคดีที่มีการขอผัดฟ้องหรือ ผัดฟ้องฝากขังดังกล่าว  พนักงานอัยการจะต้องดูว่าครบกำหนดผัดฟ้อง  หรือผัดฟ้องฝากขังเมื่อใด  เผื่อจะได้ฟ้องคดีให้ทันกำหนดที่ขอผัดฟ้องหรือผัดฟ้องฝากขังดังกล่าว  แต่หากฟ้องคดีไม่ทันและยังเหลือเวลาขอผัดฟ้อง  หรือผัดฟ้องฝากขังได้อีก  อัยการก็จะต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องหรือผัดฟ้องฝากขังต่อศาลตามกำหนดเวลาที่ ยังเหลืออยู่  หากเป็นการยื่นคำร้องขอผัดฟ้องหรือผัดฟ้องฝากขัง  ครั้งที่ 4  และ  5  ศาลจะเรียกไต่สวนเกี่ยวกับการขอผัดฟ้องฝากขังดังกล่าวด้วย
           5.  กรณีไม่อาจยื่นฟ้องผู้ต้องหาได้ภายในกำหนดเวลาขอผัดฟ้องฝากขัง  พนักงานอัยการจะต้องขออนุญาตอัยการสูงสุดเพื่อฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล  มิฉะนั้นจะไม่มีอำนาจฟ้องคดีตาม มาตรา 9  ซึ่งมี  2  กรณี  คือ
                5.1  ตำรวจส่งตัวผู้ต้องหาและสำนวนการสอบสวนมายังอัยการภายหลังครบกำหนดขอผัดฟ้อง หรือผัดฟ้องฝากขัง  ซึ่งมีทั้งกรณีได้มีการขอผัดฟ้องมาฝากครรั้งที่  5  ครบแล้ว  หรือได้มีการขอผัดฟ้องฝากขังไว้บ้างแล้วแต่หลงลืมไม่ได้ขอผัดฟ้องหรือผัด ฟ้องฝากขังต่อ  และกรณีไม่ได้ขอผัดฟ้องฝากขังไว้เลย  ซึ่งมีได้หลายสาเหตุ  เช่น  หลงลืมหรือมีการตั้งข้อหาใหญ่แล้วสั่งไม่ฟ้อง  เป็นต้น
                5.2  กรณีส่งตัวผู้ต้องหามายังพนักงานอัยการภายในกำหนดขอผัดฟ้องฝากขัง  แต่ฟ้องคดีไม่ทันเนื่องจากต้องรอผลการสอบสวนเพิ่มเติมจากพนักงานสอบสวน  จนพ้นกำหนดผัดฟ้องหรือผัดฟ้องฝากครั้งครั้งสุดท้าย
           เมื่อเกิดกรณีดังกล่าวจะต้องขออนุญาตฟ้องจากอัยการสูงสุดก่อน
           6.  การขออนุญาตอัยการสูงสุดเพื่อฟ้องผู้ต้องหา  พนักงานอัยการจะต้องมีความเห็นและมีคำสั่งฟ้องคดีก่อนแล้วจึงส่งสำนวนไปขอ อนุญาตฟ้อง (หนังสือที่ อส (สฝอส.1)0015/ว190 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2542)
           7.  กรณีพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องบางข้อหา  จะต้องเสนอสำนวนให้ผู้มีอำนาจคือผู้ว่าราชการจังหวัด  ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  (รวมทั้งรองและผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ)  สั่งคดีหรืออัยการสูงสุดชี้ขาดให้เป็นที่ยุติก่อนแล้วจึงเสนอสำนวนเพื่อขอ อนุญาตอัยการสูงสุดเพื่อฟ้องผู้ต้องหา
           ในทางปฏิบัติกรณีที่อัยการสูงสุดเป็นผู้ชี้ขาดให้ฟ้องผู้ต้องหา  อัยการสูงสุดจะทำหนังสืออนุญาตฟ้องผู้ต้องหามาพร้อมกับความเห็นชี้ขาดเลย  แต่ถ้าไม่มีหนังสืออนุญาตจะต้องทำหนังสือขออนุญาตฟ้องจากอัยการสูงสุดก่อน
           8.  กรณีผู้ต้องหาไม่ได้ถูกจับและไม่ได้ถูกควบคุมตัว  แต่ถูกควบคุมขังหรือถูกจำคุกอยู่ในคดีอื่นไม่ต้องขออนุญาตฟ้องคดีจากอัยการ สูงสุด  แต่ต้องบรรยายข้อเท็จจริงดังกล่าวให้ปรากฏในคำฟ้อง
           9.  กรณีสั่งไม่ฟ้องคดีข้อหาใหญ่  (ศาลจังหวัด , ศาลอาญา)  และข้อหาเล็กเป็นคดีอยู่ในอำนาจของศาลแขวง  ซึ่งไม่ได้มีการขอผัดฟ้องฝากขังไว้  หรือล่วงเลยเวลาตามมาตรา  7  แล้วจะต้องขออนุญาตฟ้องผู้ต้องหาจากอัยการสูงสุดก่อน  มิฉะนั้นจะไม่มีอำนาจฟ้อง
           10.  คดีเดิมอยู่ในอำนาจของศาลแขวง  และได้มีการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว  หากต่อมาปรากฏว่าคดีเกินอำนาจศาลแขวง  พนักงานอัยการไม่ควรขอถอนฟ้อง  แต่ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องให้เป็นคดีที่เกินอำนาจศาลแขวง  เพื่อให้ศาลแขวงเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องและสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้ฟ้องคดีใหม่ ยังศาลที่มีอำนาจ  (หนังสือที่ มท 1002/635 ลงวันที่ 15 มกราคม 2535 และ ที่อส 0018/ว67 ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2536)
           11.  คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงต้องเป็นคดีที่มีโทษจำคุกไม่เกิน  3  ปี  ปรับไม่เกิน  60,000  บาท  ถ้าหากโทษจำคุกไม่เกิน  3  ปี  แต่โทษปรับเกิน  60,000  บาท  หรือคดีที่มีโทษปรับอย่างเดียวแต่โทษปรับสูงกว่า  60,000  บาท  ถือว่าเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแขวง
           12.  คดีที่ผู้ต้องหาเป็นนิติบุคคล  จะไม่มีการจับกุมได้แต่ใช้วิธีหมายเรียกผู้แทนมาสอบสวน  จึงไม่ต้องขอผัดฟ้องและไม่ต้องขออนุญาตอัยการสูงสุดเพื่อฟ้องผู้ต้องหาที่ เป็นนิติบุคคล (ฎีกาที่ 1319/2522  และหนังสือที่ อส(สฝอส.4)0015/ว136 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2543)  แต่ถ้ามีการดำเนินคดีกับกรรมการหรือผู้แทนในฐานะส่วนตัวด้วยจะต้องมีการขอ ผัดฟ้องหรือผัดฟ้องฝากขัง กรรมการหรือผู้แทนนั้นด้วยและหากพ้นกำหนดผัดฟ้องฝากขัง  ก็จะต้องขออนุญาตอัยการสูงสุดเพื่ออนุญาตให้ฟ้องกรรมการหรือผู้แทนดังกล่าว ก่อน
           13.  คดีไต่สวนชันสูตรพลิกศพไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงแล้ว  ตาม พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543  (หนังสือที่ อส (สฝนผ.)0018/ว158 ลงวันที่  8  สิงหาคม  2543)
           14.  คดีเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค  เอกสารตราสารสัญญากู้ยืม  เช่า  สัญญาเช่าซื้อ  แม้ไม่ติดอากรแสตมป์ก็ฟังได้ว่าเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง และบังคับได้ตามกฎหมายแล้วสามารถฟ้องร้องได้  เพราะตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118  ใช้เฉพาะคดีแพ่งเท่านั้นคดีอาญาไม่มีกฎหมายห้ามนำตราสารที่มิได้ปิดอากร แสตมป์รับฟังเป็นพยาน  (ตามนัยฎีกาที่ 1002/2544 และ 42/2545)
           15.  การบรรยายฟ้องคดีเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้ เช็ค  จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดคลุมทุกอนุมาตรตั้งแต่มาตรา 4 (1) ถึง (5)  ในการกระทำเกี่ยวกับเช็คฉบับเดียวกันไม่ได้เพราะจะเป็นฟ้องเคลือบคลุม  โดยต้องบรรยายคำฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดตามมาตรา 4 (1)  และบรรยายการกระทำอื่นให้ตรงกับข้อเท็จจริงว่าตรงกับอนุมาตราใดของมาตรา 4 เท่านั้นพอ  และก่อนขอนุญาตฟ้องคดีต่ออัยการสูงสุดจะต้องให้มีการแจ้งข้อหาให้ครบถ้วน ตามอนุมาตราที่สั่งฟ้องก่อน (หนังสือที่ อส(กท)0015/ว58 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2539)
           16.  ข้อควรระวังคดีที่มีโทษอยู่ในอำนาจของศาลแขวง  แต่อาจเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลอื่น  เช่น  ศาลเยาวชนและครอบครัว  ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ  เป็นต้น  เช่นคดีเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์  คดีตามประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา 271  ถึง  275  ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแขวง
           17.  ในการสั่งคดีที่มีผู้ต้องหาหลายคน  และหรือมีหลานฐานความผิด  ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลต่างศาลกันจะต้องปฏิบัติตามระเบียบกรมอัยการว่าด้วย การดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2528  ที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่ข้อ 25 ทวิ (ความเป็นเอกภาพในการสั่งคดี)  ตามหนังสือที่ อส (สฝปผ.) 0018/ว150 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2543)
           18.  ในคดีที่ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพและส่งตัวมาฟ้องคดีด้วยวาจาโดยไม่มีการสอบ สวนแต่ตามคำรับสารภาพของผู้ต้องหาไม่สามารถฟ้องผู้ต้องหาต่อศษลได้ไม่ว่าจะ ด้วยเหตุใดก็ตาม  เช่น  อ้างว่าจำเป็นบันดาลโทสะหรือขาดอายุความ  พนักงานอัยการจะสั่งสอบสวนเพิ่มเติม  สังไม่ฟ้องหรือสั่งยุติการดำเนินคดีในทันทีไม่ได้  กรณีเช่นนี้ต้องนำมาตรา  4 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499  ซึ่งแก้ไขโดยฉบับที่  3  พ.ศ.  2517  มาตรา  3  มาใช้บังคับโดยพนักงานอัยการต้องส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมบันทึกคำรับสารภาพคืน ให้พนักงานสอบสวนไปทำการสอบสวนจนเสร็จสิ้นก่อน  เมื่อพนักงานสอบสวนส่งสำนวนที่สอบสวนเสร็จมาให้พนักงานอัยการจึงจะมีคำสั่ง ต่อได้ (หนังสือที่ มท 1004/ว50 ลงวันที่ 28 กันยายน 2520 , หนังสือที่ มท 1004/ว5 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2523 และหนังสือที่ อส (สฝปผ.) 0018/ว169 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2544)

          สำนักงานอัยการสูงสุด  แต่เดิมเป็นกรมอัยการ สังกัดกระทรวงมหาดไทย เครื่องหมายราชการและเครื่องหมายแสดงสังกัดจึงเป็นรูปตราราชสีห์ ต่อมาพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม  พ.ศ.2534   ได้บัญญัติให้สำนักงานอัยการสูงสุด  เป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีกระทรวง หรือทบวง อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี   จึงได้มีการกำหนดเครื่องหมายราชการและเครื่องหมายแสดงสังกัดขึ้นใหม่  สำหรับใช้เป็นเครื่องหมายราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด และเป็นเครื่องหมายแสดงสังกัด ใช้กับเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายอัยการ  ประกอบกับกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ได้บัญญัติให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน มาใช้บังคับกับข้าราชการธุรการของสำนักงานอัยการสูงสุด  และกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ได้บัญญัติให้เครื่องหมายแบบข้าราชการพลเรือน เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน และโดยที่กฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน ได้บัญญัติให้ การกำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัด สำหรับใช้กับเครื่องแบบข้าราชการพลเรือน ต้องออกเป็นกฎสำนักนายกรัฐมนตรี 
          สำนักนายกรัฐมนตรี จึงออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการกำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 129) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 เล่ม 109 ตอนที่ 40 หน้า 104-105 และออกกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 79 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2535 เล่ม 109 ตอนที่ 51 หน้า 4-5 กำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักอัยการสูงสุด เป็นรูปตราพระมหาพิชัยมงกุฎ ประดิษฐานเหนือพระแว่น สุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ 
         เครื่องหมายราชการ  และเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักงานอัยการสูงสุด  จึงเปลี่ยนจากรูปตราราชสีห์เป็น รูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่น พระสุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ มีความหมายถึงอำนาจหน้าที่ในการเป็นทนายแผ่นดิน การใช้กฎหมายด้วยความรอบคอบ เป็นธรรม และเด็ดขาด มีชัยชนะเหนืออธรรม

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)

นายพรศักดิ์ ศรีไพศาลนนท์

อัยการจังหวัดหล่มสัก

นายวเชพล วงศ์พิพัฒน์โนภาส

อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

นายพัฒนศักดิ์ ทิพสีลาด

อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

นายเทอดทูน รัฐกาญจน์

รองอัยการจังหวัด

นายรณชัย กรันสูงเนิน

อัยการจังหวัดผู้ช่วย

พันตำรวจโทหญิง เจติยา แสงทน

อัยการจังหวัดผู้ช่วย

ร้อยตำรวจเอก กัลยรักษ์ สิทธิชัยบุญเรือง

อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นางสาวกันยกร จันทะคีรี

นายนรภัทร นาควิจิตร

อัยการจังหวัดผู้ช่วย

อัยการประจำกอง

นางชรินนา ยาวงค์

นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ รักษาการในตำแหน่ง

ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ สำนักงานอัยการจังหวัดหล่มสัก

นายวินัย ไชยสงค์

นิติกรชำนาญการ

นางสาวอุไรวรรณ นกมั่น

นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ

นางสาวรัชดาภรณ์ สุดตลอด

นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นายณัฐวรรธน์ ธีรพิชญ์พงษ์

นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวเพ็ญศิริ สีงาม

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวยุวลี บัวพัน

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวอรวรรณ พันธ์ใย

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวศุภนุช จันทร์ประเสริฐ

นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวราฑิกุล ชายคำ

นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวสุดาวรรณ คนมาก

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นางสาววัลภา ทองอ่ำ

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นางสาวกรพรรณ บรรหารไชย

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

จ้างเหมาบริการ

นายณัฐพล คำโฉม

พนักงานขับรถยนต์

นางกรรณิกา ชนะบดี

พนักงานทำความสะอาด

นางทุ่งสง สิงห์เส

พนักงานทำความสะอาด

นายสง่า สิงห์เส

พนักงานดูแลสวน

พนักงานรักษาความปลอดภัย

นายอภิชาติ  ชนะบดี

นายพร  หาญรักษ์

นายธนากร  จันคำนาภัทร

ทำเนียบผู้บริหาร

นายพรศักดิ์ ศรีไพศาลนนท์ อัยการจังหวัดหล่มสัก

นางสาววงจันทร์ เหลือเพชราภรณ์ อัยการจังหวัดหล่มสัก
ตั้งแต่ 1 เมษายน 2567 – ปัจจุบัน

ตั้งแต่ 1 เมษายน 2566 – 30 มีนาคม 2567
นายอภิรักษ์ ศรีคชา อัยการจังหวัดหล่มสักตั้งแต่ 1 เมษายน 2565 – 30 มีนาคม 2566
นายอมเรศ พรหมราช ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดหล่มสักตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 – 30 มีนาคม 2565
นายเกียรติศักดิ์  ศรีเจริญ         ดำรงตำแหน่ง  อัยการจังหวัดหล่มสักตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 – 30 มีนาคม 2564
นายธรรมนูญ  ศรีเอี่ยมตระกูล       ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดหล่มสักตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2562 – 31 มีนาคม 2563
นายจิระเดช ทัพพจิรเดช        ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดหล่มสักตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2560 – 31 มีนาคม 2562
นายสมภพ ทิมฤกษ์           ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดหล่มสักตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 – 31 มีนาคม 2560
นายสุริยา               สิทธิกรณ์       ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดหล่มสัก ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2557 – 31 พฤษภาคม 2558
นายวิศิษฐ์              ฉัตรศรีสุวรรณ      ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดหล่มสักตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2555 – 31 มีนาคม 2557 
นายถิระศักดิ์          ตระกูลอินทร์      ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดหล่มสัก ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 – 30 มีนาคม 2555 
นายประสิทธิ์          เอี่ยมพรพิภพชัย   ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดหล่มสัก ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2553 – 31 มีนาคม 2554 
นายประสิทธิ์          บัวรักษ์               ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดหล่มสักตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2551 – 31 มีนาคม 2553 
นายสุพจน์              ศรีจักรโคตร      ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดหล่มสัก ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2550 – 31 มีนาคม 2551 
นายสุรพงษ์            ทรงประโคน     ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดหล่มสักตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2549 – 1 เมษายน 2550 
นายธีระนนท์          ไหวดี               ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดหล่มสักตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2548 – 30 เมษายน 2549 
เรือโทนราชูวงศ์      โลกะกะลิน     ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดหล่มสักตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2547 – 3 เมษายน 2548 
นายพิชัย                ฉิมเอนก          ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดหล่มสักตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2546 – 2 พฤษภาคม 2547

บุคลากร

สถิติงาน

ประเภทคดีม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.รวม
ส.1
คดีอาญาปรากฏตัวผู้ต้องหา
ที่ส่งตัวมา
10511599319
ส.2
คดีอาญาปรากฏตัวผู้ต้องหาที่
ไม่ได้ส่งตัวมา
76313
ส.2 ก
คดีอาญาปรากฏตัวผู้ต้องหา
ที่ไม่ได้ส่งตัวมาเฉพาะคดี
เปรียบเทียบปรับ
124212336
ส.3
คดีอาญาไม่ปรากฏ
ตัวผู้กระทำความผิด
111
ส.4
คดีอาญาฟ้องด้วยวาจา
6129120
ส.5
คดีอาญาที่แก้ต่าง
ส.5 ก
คดีแพ่ง
ส.12
คดีชันสูตรพลิกศพ ซึ่งความตาย
เกิดขึ้นโดยกระทำของเจ้า
พนักงานหรือตายในระหว่าง
อยู่ในความควบคุมของ
เจ้าพนักงาน
11
ส.12 ก
คดีชันสูตรพลิกศพ
กรณีความตายมิได้เป็นผล
แห่งการกระทำความผิดอาญา
รวม297365
ประเภทคดีม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.รวม
ส.1
คดีอาญาปรากฏตัวผู้ต้องหา
ที่ส่งตัวมา
959483110137988882112113961051213
ส.2
คดีอาญาปรากฏตัวผู้ต้องหา
ที่ไม่ได้ส่งตัวมา
1212117914106581015119
ส.2 ก
คดีอาญาส.2 ก
คดีอาญาปรากฏตัวผู้ต้องหา
ที่ไม่ได้ส่งตัวมาเฉพาะคดี
เปรียบเทียบปรับ
17320238912890883
ส.3
คดีอาญาไม่ปรากฏ
ตัวผู้กระทำความผิด
1111312212
ส.4
คดีอาญาฟ้องด้วยวาจา
3311199810131585111127261
ส.5
คดีอาญาที่แก้ต่าง
11
ส.5
คดีแพ่ง
264412231732
ส.12
คดีชันสูตรพลิกศพ ซึ่งความตาย
เกิดขึ้นโดยกระทำของเจ้า
พนักงานหรือตายในระหว่าง
อยู่ในความควบคุมของ
เจ้าพนักงาน
31116
ส.12 ก
คดีชันสูตรพลิกศพ
กรณีความตายมิได้เป็นผล
แห่งการกระทำความผิดอาญา
รวม147125191423160126505982532251261482527
ประเภทคดีม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.รวม
ส.1
คดีอาญาปรากฏตัวผู้ต้องหา
ที่ส่งตัวมา
89124951101228283122125111135921290
ส.2
คดีอาญาปรากฏตัวผู้ต้องหา
ที่ไม่ได้ส่งตัวมา
22201910131311841546145
ส.2 ก
คดีอาญาปรากฏตัวผู้ต้องหา
ที่ไม่ได้ส่งตัวมาเฉพาะคดี
เปรียบเทียบปรับ
6324132321181113661233
ส.3
คดีอาญาไม่ปรากฏตัวผู้ต้องหา
32133113
ส.4
คดีอาญาฟ้องด้วยวาจา
361313431633376515152415325
ส.5
คดีอาญาที่แก้ต่าง
0
ส.5 ก
คดีแพ่ง
222219
ส.12
คดีชันสูตรพลิกศพ ซึ่งความตาย
เกิดขึ้นโดยกระทำของเจ้า
พนักงานหรือตายในระหว่าง
อยู่ในความควบคุมของ
เจ้าพนักงาน
11
ส.12 ก
คดีชันสูตรพลิกศพ
กรณีความตายมิได้เป็นผล
แห่งการกระทำความผิดอาญา
0
รวม
ประเภทคดีม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.รวม
ส.1
คดีอาญาปรากฏตัวผู้ต้องหา
ที่ส่งตัวมา
10277114131103131107831291201081551360
ส.2
คดีอาญาปรากฏตัวผู้ต้องหา
ที่ไม่ได้ส่งตัวมา
2045479710810512101
ส.2 ก
คดีอาญาปรากฏตัวผู้ต้องหา
ที่ไม่ได้ส่งตัวมาเฉพาะคดี
เปรียบเทียบปรับ
96102188363236550590172348413743159
ส.3
คดีอาญาไม่ปรากฏตัวผู้ต้องหา
5233342123
ส.4
คดีอาญาฟ้องด้วยวาจา
661719603231330181626290
ส.5
คดีอาญาที่แก้ต่าง
213
ส.5 ก
คดีแพ่ง
412121222
ส.12 ก
คดีชันสูตรพลิกศพ
กรณีความตายมิได้เป็นผล
แห่งการกระทำความผิดอาญา
11
ส.12
คดีชันสูตรพลิกศพ ซึ่งความตาย
เกิดขึ้นโดยกระทำของเจ้า
พนักงานหรือตายในระหว่าง
อยู่ในความควบคุมของ
เจ้าพนักงาน
11
รวม

ผังกระบวนงาน

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการจังหวัดหล่มสัก
ที่อยู่ : สำนักงานอัยการจังหวัดหล่มสัก ถนนวจี ตำบลหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ 67110
โทรศัพท์ : 0 5670 1109
โทรสาร : 0 5670 2022
E – mail : lomsak@ago.go.th