ภาพกิจกรรม

สำนักงานอัยการจังหวัดแม่สอด นำโดยท่านพงศ์ธร คุณชะ อัยการจังหวัดแม่สอดพร้อมด้วยคณะข้าราชการ ฯ ร่วมพิธีอัญเชิญพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประดิษฐาน ณ ศาลามหาราช และพิธีทำบุญบำเพ็ญกุศลเพื่อเป็นสิริมงคลแก่หน่วย กองบังคับการหน่วยเฉพาะกิจราชมนู ณ กองบังคับการหน่วยเฉพาะกิจราชมนู อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ในวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๗

สำนักงานคดีศาลสูงภาค ๖ นำโดย นายวริช มุนินทร อธิบดีอัยการศาลสูงภาค ๖ พร้อมคณะอัยการศาลสูงภาค ๖ ตรวจราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ สำนักงานอัยการจังหวัดแม่สอด ในวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๗

——————————————————————————-

วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๗ นายเจมส์ แมคเคนซี เฟอร์กูสัน เจ้าหน้าที่ฝ่ายคุ้มครองสำนักงาน ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ (UNHCR) สำนักงานภาคสนาม อำเภอแม่สอด พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ ได้เข้าเยี่ยมคารวะ ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนสถานการณ์การคุ้มครองด้านการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของผู้หนีภัยการสู้รบในพื้นที่ศูนย์พักพิงชั่วคราว ในเขตจังหวัดตาก

——————————————————————————-

สำนักงานอัยการจังหวัดแม่สอด นำโดย นายกฏ อัตติลากุล อัยการจังหวัดผู้ช่วย พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมพิธีน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๗.๓๐ น. ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้าที่ว่าการอำเภอแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

——————————————————————————-

สำนักงานอัยการจังหวัดแม่สอด จัดกิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย ในวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา

นางสาวนารี ตัณฑเสถียร อัยการสูงสุด เป็นประธานพิธีเปิดอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดแม่สอด ในวันอังคารที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๖ โดยครูบาแก้ว กาวิโร เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยทีมู ประธานฝ่ายสงฆ์

สำนักงานอัยการจังหวัดแม่สอด
นำโดย ว่าที่ร้อยตรีหญิงศุภากร นิภาวงศ์ อัยการจังหวัดผู้ช่วย พร้อมคณะข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ในวันที่ ๒๘ กรกฏาคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมโรงเรียนสรรพวิทยาคม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศลในเวลา ๗.๓๐ น. และพิธีถวายเครื่องราชสักการะ และวางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคลในเวลา ๑๗.๓๐ น.

ในวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๖ นายสุรจิต พัฒนสาร ผู้ตรวจการอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมคณะ ประชุมชี้แจงข้อราชการและตรวจราชการ ณ สำนักงานอัยการจังหวัดแม่สอด

เกี่ยวกับสำนักงาน

สำนักงานอัยการจังหวัดแม่สอด

                  เปิดทำการเมื่อปี 2479 สมัยนายประพันธ์ ระเบง เป็นอัยการจังหวัดคนแรก โดยใช้สถานที่บนที่ว่าการอำเภอแม่สอด เป็นที่ทำการ จนปี พ.ศ.2519 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารใหม่ เป็นอาคารคอนกรีต2ชั้น ตั้งที่ ถนน อติโพธิ์ ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ติดกับศาลจังหวัดแม่สอด งบประมาณก่อสร้าง 400,000บาท ในสมัยนายประพันธ์ หรรษคุณาฒัย เป็นอัยการจังหวัด และเริ่มเปิดทำการแห่งใหม่นี้เมื่อปี พ.ศ.2522 ในสมัยนายไพโรจน์ สาคะริชานนท์ เป็นอัยการจังหวัดแปลงหมายเลขทะเบียนที่ กค. 173 เอกสารสิทธิ์ (นส.3) ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เนื้อที่ 4-0-84.6 (ไร่-งาน-วา)

               สำนักงานอัยการสูงสุด แต่เดิมเป็นกรมอัยการ สังกัดกระทรวงมหาดไทย เครื่องหมายราชการ และเครื่องหมายแสดงสังกัดจึงเป็นรูปตราราชสีห์ ต่อมาพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม พ.ศ.2534ได้บัญญัติให้สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี จึงได้มี การกำหนดเครื่องหมายราชการ และเครื่องหมายแสดงสังกัดขึ้นใหม่ สำหรับใช้เป็นเครื่องหมายราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด
และเป็นเครื่องหมายแสดงสังกัด ใช้กับเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายอัยการ ประกอบกับกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ได้บัญญัติให้นำกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน มาใช้บังคับ กับข้าราชการธุรการของสำนักงานอัยการสูงสุด และกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ได้บัญญัติให้เครื่องหมายแบบข้าราชการพลเรือน เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย เครื่องแบบข้าราชการ ฝ่ายพลเรือน และโดยที่กฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน ได้บัญญัติให้ การกำหนด เครื่องหมายแสดงสังกัด สำหรับใช้กับเครื่องแบบข้าราชการพลเรือน ต้องออกเป็นกฎสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี จึงออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการกำหนดภาพเครื่องหมาย ราชการ ตามบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช2482 (ฉบับที่129)ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่7เมษายน พ.ศ.2535เล่ม109ตอนที่40หน้า104-105และออกกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่79 (พ.ศ.2535)ออกตามความในพระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช2478ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่17เมษายน พ.ศ.2535เล่ม109 ตอนที่51หน้า4-5กำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักอัยการสูงสุด เป็นรูปตราพระมหาพิชัยมงกุฎ ประดิษฐานเหนือพระแว่น สุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ เครื่องหมายราชการ และเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักงานอัยการสูงสุด จึงเปลี่ยนจาก รูปตราราชสีห์เป็น รูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่น พระสุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ มีความหมายถึงอำนาจหน้าที่ในการเป็นทนายแผ่นดิน การใช้กฎหมายด้วยความรอบคอบ เป็นธรรม และเด็ดขาด มีชัยชนะเหนืออธรรม

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดมีดังนี้

          (มาตรา ๒๓) สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชากร เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครอง ป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
          (๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
          (๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
          (๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
          (๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
          (๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ
          (๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
          (๘) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
          (๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด
          ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ


อำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุดมีดังนี้

          (มาตรา ๒๗)  ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด
          (๒) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ
          (๓) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด
          ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้
          ให้อัยการสูงสุดโอยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการมีดังนี้

          มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำจานและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
          (๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือพนักงานอัยการ
          (๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของ สำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
          (๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้ กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
          (๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
          (๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
          (๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึด ทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
          (๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
          (๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
          (๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
          (๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
          ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
          พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไป ตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.


:: กฎหมายองค์กรอัยการตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. ๒๕๕๐

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)

บุคลากร

ข้าราชการอัยการ

นายพงศ์ธร คุณชะ
อัยการจังหวัดแม่สอด

นายธราสิทธิ์ วิชัยดิษฐ์
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

นายพัฒนา เอี่ยมสุภาษิต
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

ว่าที่ ร้อยตรีหญิง ศุภากร นิภาวงศ์
รองอัยการจังหวัดแม่สอด

นางสาวสราลี พุ่มพวง
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นายชยพล ยศใหญ่
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นายชัยวัฒน์ สุปรียสุนทร
อัยการประจำกอง

ข้าราชการธุรการ

นางสาวพิมพ์พร อนุรักษ์ชีวิน
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ

นางสาววริษา เขียวแดง
นักวิชาการเงินละบัญชีชำนาญการ

นางสาวพัชรินทร์ คำใจ
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นายชัยณรงค์ บัวแย้ม
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวรุ้งสินี ราชจริต
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวทริชา กถนานนท์
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวสุทัศณี คำใจ
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

นายวสันต์ สุกิน
นิติกรปฏิบัติการ

นายธีรเจต กันยารอง
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาววรณัน ยุทธปรีชานันท์
นิติกรปฏิบัติการ

นายฤทธิชัย ปานเพ็ง
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นางสาวจันทิรา วิญญา
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นายมนตรี เชาว์เลขา
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานฝ่ายสนับสนุนงานศาลสูงจังหวัดตาก (แม่สอด)

นายธรรมนูญ แสนยะ
นิติกรปฏิบัติการ

นายธีระพงค์ จุมพระนัด
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

พนักงานจ้างเหมาบริการ

นางขวัญดาว ไชยบุญเรือง
พนักงานรักษาความสะอาด

นางจารุณี หวันยอด
พนักงานรักษาความสะอาด

นางตุ่น เชียงเสนา
พนักงานรักษาความสะอาด

นางสมจิต สีจันทร์
พนักงานรักษาความสะอาด

นายบุญมี จินนะ
คนสวน

นายกิตติกร เสาเขียว
พนักงานขับรถยนต์

ทำเนียบผู้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัด
ประจำสำนักงานอัยการจังหวัดแม่สอด
ลำดับ ชื่อ-สกุลพ.ศ.ที่ดำรงตำแหน่ง
1.นายประพันธ์  ระเบง2479-2481
2.ขุนประยุทธ  กรณี2481-2482
3.นายประชุม  อนมาน2482-2484
4.นายอุทัย  จุฑาเทพ2484-2486
5.นายปาน  รวีวงศ์2486-2489
6.นายพิชัย  รชตนันท์2489-2490
7.นายผาด  เสมอพงษ์2490-2501
8.นายอิม  วงศ์แท่นทอง2501-2503
9.นายเพ็ชร  ดิษสุข2503-2507
10.นายกรี  ทีปกร2507-2510
11.นายเพ็ชร  เวสานันท์2510-2512
12.นายประเสริฐ  อาชวานนท์2513-2514
13.นายวิชัย  จันทรมณี2515-2516
14.นายกนก  ภูษาทอง2516-2517
15.นายอำนวย  ดิษฐานันท์2517-2519
16.นายประพันธ์  หรรษคุณาฒัย2519-2520
17.นายนิติ  เมฆสวรรค์2520-2522
18.นายไพโรจน์  สาคะริชานนท์2522-2523
19.นายสุข  ปริญญานุภาพ2523-2524
20.นายสุทัศน์  ม่วงศิริ2524-2525
21.นายพิบูล  สาครวาสี2525-2527
22.นายพยนต์  สายสุวรรณ2527-2528
23.นายจรัญ  ยิ้มสินสมบูรณ์2528-2529
24.นายตระกูล  วินิจฉัยภาค2529-2531
25.นายพรศักดิ์ เทพาพรสุวรรณ์2531-2534
26.นายธานี  สุเมธวานิชย์2534-2536
27.นายประศาสตร์  บุญญาธิการ2536-2537
28.นายจรุงเกียรติ  ภาษีผล2537-2538
29.นายเธียร  โอฬารกิจอนันต์2538-2539
30.นายปราโมทย์  ศรีเตียรเพ็ชร2539-2541
31.นายบำรุงชัย  แสนสุข2541-2542
32.นายกัมปนาท  นาคะเกศ2542-2543
33.นายสุเทพ  รักษ์ไตรรงค์2543-2544
34.นายวิรัช  บัวเผื่อน2544-2545
35.นายประสิทธิ์  ศิริภากรณ์2545-2546
36.นายวุฒิรัตน์  มีผดุง2546-2547
37.นายชิระ  อู่เจริญ2547-2548
38.นายพิษณุ  วิเชียรสรรค์2548-2548
39.นายสุพจน์  ศรีจักรโคตร2548-2549
40.นายมานพ  โลหิตานนท์2549-2550
41.นายบุญส่ง  เนตรปฐมพรกิจ2550-2551
42.นายวัชรากร  เปรมประเสริฐ2551-2552
43.นายประสาน  ผาณิตมาส2552-2554
44.นายวินัย  เงินแจ้ง2554-2555
45.นายพงษ์ศักดิ์  อิสริยะวิญญู2555-2556
46.นายสิทธิพร  บุญคุ้ม2556-2557
47.นายมานพ  สุวรรณเวก2557-2558
48.นายกฤษณะ  สุขสงวน2558-2559
49.นายนิรันดร์  นันตาลิต2559-2562
50.นายวรากรณ์  รุ่งจิรารัตน์2562-2563
51.นายธานินทร์  ประดิษฐ2563-2564
52.นายอมรฤทธิ์  ผ่องศรีสุข2564-2565
53. นายมาโนช  อินขำเครือ 2565-2567
54.นายพงศ์ธร คุณชะ2567- ปัจจุบัน

สถิติคดีสำนักงานอัยการจังหวัดแม่สอด

ประเภทคดีปี 2561
(วันที่ 1 ม.ค.61-31 ธ.ค.61)
ปี 2562
(วันที่ 1 ม.ค.62- 31 ธ.ค.62)
ปี 2563
(วันที่ 1 ม.ค.63-31 ธ.ค.63)
ปี 2564
(วันที่ 1 ม.ค.64-31 ธ.ค.64)
ปี 2565
(วันที่ 1 ม.ค.65-31 ธ.ค.65)
ปี 2566
(วันที่ 1 ม.ค.66-31 ธ.ค.66)
ส.1 คดีอาญาปรากฎตัวผู้ต้องหาที่ส่งตัวมา1,9441,4101,580  1,2151,4511,254
ส.1ฟ คดีฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด349400 2631517
ส.2คดีอาญาปรากฎตัวผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมา128 147104147137125
ส.2ก คดีอาญาปรากฎตัวผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมาเฉพาะคดีเปรียบเทียบ19,737 13,5137,574  2,98583950
ส.3 คดีอาญาไม่ปรากฎตัวผู้กระทำผิด25422817613011595
ส.4 คดีอาญาฟ้องความอาญา1,8521,3801,5181,1891,4351,207
ส.4 คดีอาญาฟ้องวาจา2,4582,2041,4283,8643,0062,224
ส.5 คดีอาญาแก้ต่าง1
ส.5ก คดีแพ่ง341733162217
ส.6 คดีชั้นศาลอุทธรณ์13675113116172194
ส.7 คดีชั้นศาลฎีกา1771081215
ส.12 คดีชันสูตรพลิกศพ ซึ่งความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานหรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน563214
ส.12ก คดีชันสูตรพลิกศพ กรณีความตายมิได้เป็นผลแห่งการกระทำความผิดอาญา11411920320
รวม26,92519,42812,8219,8437,200 5,206


สถิติคดีสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตาก (แม่สอด)

ประเภทคดีปี 2564
(วันที่ 1 ม.ค.64-31 ธ.ค.64)
ปี 2565
(วันที่ 1 ม.ค.65-31 ธ.ค.65)
ปี 2566
(วันที่ 1 ม.ค.66-31 ธ.ค.66)
ส.1 คดีอาญาปรากฎตัวผู้ต้องหาที่ส่งตัวมา725896
ส.1ฟ คดีฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
ส.2คดีอาญาปรากฎตัวผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมา113
ส.2ก คดีอาญาปรากฎตัวผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมาเฉพาะคดีเปรียบเทียบ
ส.3 คดีอาญาไม่ปรากฎตัวผู้กระทำผิด
ส.4 คดีอาญาฟ้องความอาญา635358
ส.4 คดีอาญาฟ้องวาจา
ส.5 คดีอาญาแก้ต่าง
ส.5ก คดีแพ่ง
ส.6 คดีชั้นศาลอุทธรณ์11
ส.7 คดีชั้นศาลฎีกา1
คดีมาตรการพิเศษ142111
รวม150134170

เอกสารเผยแพร่

ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง

ประกาศ เรื่อง ขายพัสดุชำรุด เสื่อมสภาพ ไม่จำเป็นต้องใช้ในราชการ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง โดยการเจรจาตกลงราคา

ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ประกวดราคาจ้างก่อสร้างโรงจอดรถ แบบจอด ๒ ฝั่ง (๑๒ ช่องจอด) สำนักงานอัยการจังหวัดแม่สอด ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิคส์ (e-bidding)

เรื่อง ประกวดราคาจ้างก่อสร้างโรงจอดรถ แบบจอด ๒ ฝั่ง (๑๒ ช่องจอด) ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิคส์ (e-bidding)

บทความจากอัยการ

บทความที่ ๑   สื่อลามกเด็ก…ที่พึงระวัง  

          โดยที่การครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็กเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กและส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพของเด็กประกอบกับความผิดเกี่ยวกับการค้าหรือทำให้แพร่หลาย ซึ่งวัตถุหรือสิ่งลามกไม่ได้แยกประเภทระหว่างสื่อลามกอนาจารผู้ใหญ่กับสื่อลามกอนาจารเด็กไว้ ทั้งที่ลักษณะความผิดมีความร้ายแรงต่างกัน ดังนั้นเพื่อให้เด็กได้รับการคุ้มครองและป้องกันจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศมากขึ้น จึงได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญากำหนดให้ความผิดเกี่ยวกับการค้าหรือให้แพร่หลายซึ่งวัตถุหรือสิ่งลามกที่เป็นสื่อลามกอนาจารเด็กเป็นความผิดที่ผู้กระทำต้องได้รับโทษหนักขึ้น รวมทั้งกำหนดให้การครอบครองและส่งต่อซึ่งสื่อลามกอนาจารเด็กเป็นความผิดซี่งปัจจุบันกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้วโดยมีสาระสำคัญที่น่าสนใจ ดังนี้ 

           มาตรา ๓ (๑๗) “สื่อลามกอนาจารเด็ก” หมายความว่า วัตถุหรือสิ่งที่แสดงให้รู้หรือเห็นถึงการกระทำทางเพศของเด็กหรือกับเด็กซึ่งมีอายุไม่เกินสิบแปดปี โดยรูป เรื่อง หรือลักษณะสามารถสื่อไปในทางลามกอนาจาร ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของเอกสาร ภาพเขียน การพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ การโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ หรือรูปแบบอื่นใด ในลักษณะทำนองเดียวกัน และให้หมายความถึงวุตถุหรือสิ่งต่างๆ ข้างต้นที่จัดเก็บในระบบคอมพิวเตอร์ หรือในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นที่สามารถแสดงผลให้เข้าใจความหมายได้ 

           มาตรา ๒๘๗/๑ ผู้ใดครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็กเพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางเพศ สำหรับตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

          ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งส่งต่อซึ่งสื่อลามกอนาจารเด็กแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

           มาตรา ๒๘๗/๒ ผู้ใด  

       (๑) เพื่อความประสงค์แห่งการค้า หรือโดยการค้า เพื่อการแจกจ่ายหรือเพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชน ทํา ผลิต มีไว้ นําเข้าหรือยังให้นําเข้าในราชอาณาจักร ส่งออกหรือยังให้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักรพาไปหรือยังให้พาไปหรือทําให้แพร่หลายโดยประการใดๆ ซึ่งสื่อลามกอนาจารเด็ก   

       (๒) ประกอบการค้า หรือมีส่วนหรือเข้าเกี่ยวข้องในการค้าเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็กจ่ายแจกหรือแสดงอวดแก่ประชาชนหรือให้เช่าสื่อลามกอนาจารเด็ก  

        (๓) เพื่อจะช่วยการทําให้แพร่หลาย หรือการค้าสื่อลามกอนาจารเด็กแล้ว โฆษณาหรือไขข่าว โดยประการใดๆ ว่ามีบุคคลกระทําการอันเป็นความผิดตามมาตรานี้ หรือโฆษณาหรือไขข่าวว่าสื่อลามกอนาจารเด็กดังกล่าวแล้วจะหาได้จากบุคคลใด หรือโดยวิธีใด ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท  

          จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจะต้องเป็นกรณีที่เกี่ยวข้องกับเด็กไม่ว่าจะเป็นเด็กชายหรือเด็กหญิงก็ตาม ซึ่งมีอายุไม่เกินสิบแปดปี ปัญหามีว่ามีบุคคลจะอ้างได้หรือไม่ว่าไม่รู้ว่าเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีหรือเข้าใจว่าเด็กอายุสิบแปดปีแล้วกฎหมายใช้หลักกรรมเป็นเครื่องบ่งชี้เจตนา คือ ดูจากการกระทำรวมทั้งพยานหลักฐานต่างๆที่เกี่ยวข้องเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าบุคคลมีเจตนาหรือรู้ว่าเด็กอายุเกินสิบแปดปี หรือไม่นั่นเอง และจะต้องมีลักษณะเป็นสื่อลามกอานาจารเด็ก ซึ่งมีความหมายกว้างขวางและครอบคลุมแทบทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นภาพเครื่องหมาย เสียง หรือรูปแบบอื่นใด และมีข้อที่ต้องพึงระวังในสังคมปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะเป็นโซเชียลมิเดีย หรือสังคมออนไลน์ในกรณีที่มีผู้อื่นส่งสื่อลามกอนาจารเด็กมาให้เรา ทางอินเตอร์เนต เช่น ไลน์ เฟสบุ๊ค เป็นต้น เพียงเท่านี้ตัวเราเองไม่มีความผิด แต่คนที่ส่งมาให้เราอาจมีความผิดฐานครอบครองสื่อลามกนาจารเด็กเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในทางเพศ ส่งต่อซึ่งสื่อลามกอานาจารเด็กแก่ผู้อื่น แต่หากต่อมาเราได้ทำการบันทึกสื่อลามกอนาจารเด็กไว้ในโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ของเรา ตัวเราเองอาจมีความผิดฐานครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็กเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในทางเพศ และหากมีการส่งต่อให้บุคคลอื่น ตัวเราเองอาจมีความผิดฐานส่งต่อซึ่งสื่อลามกอนาจารเด็กแก่ผู้อื่นอีกฐานหนึ่ง ซึ่งมีโทษทางกฎหมายทั้งจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น หากมีผู้ส่งสื่อลามกนาจารเด็กมาให้เราทางอินเตอร์เนตเราควร ลบออกไม่ทำการบันทึกไว้ เละต้องไม่ส่งต่อให้ผู้อื่น ทั้งนี้ เพื่อจะไม่เป็นการกระทำความผิดและต้องรับโทษตามกฎหมายดังกล่าว 

 บทความที่ ๒   เรื่องของเพศ…ที่ต้องเท่าเทียม  

          ปัจจุบันประเทศไทยของเรามีกฎหมายที่ใช้บังคับแล้วเกี่ยวกับเรื่องการเลือกปฎิบัติทางเพศ คือ พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศพ.ศ.๒๕๕๘ กฎหมายดังกล่าวบัญญัติขึ้นมาเพื่อเป็นมาตราการป้องกันการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศที่ชัดเจนเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนสากลตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีโดยมีลักษณะสำคัญดังนี้  

          การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศหมายความว่าการกระทำหรือไม่กระทำการใดอันเป็นการแบ่งแยก กีดกัน หรือจำกัดสิทธิประโยชน์ใดๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมโดยปราศจากความชอบธรรม เพราะเหตุที่บุคคลนั้นเป็นเพศชายหรือเพศหญิง หรือมีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด (ที่เราเรียกว่าเพศที่สาม) 

           การกำหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ ประกาศ มาตรการ โครงการ หรือวิธีปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชนหรือบุคคลใดในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศจะกระทำมิได้ แต่มีข้อยกเว้น คือ เพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถให้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัยหรือการปฏิบัติตามหลักทางศาสนา หรือความมั่นคงของประเทศ ส่วนบุคคลใดเห็นว่าตนได้รับหรือจะได้รับความเสียหาย จากการกระทำในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ และมิใช่เป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาลหรือที่ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเด็ดขาดแล้ว มีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ เพื่อวินิจฉัยว่ามีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศหรือไม่ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าว ให้เป็นที่สุดในกรณีที่คณะกรรมการดังกล่าววินิจฉัยว่า เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศให้มีอำนาจออกคำสั่งให้หน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชนหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ด้วยวิธีใดที่เห็นเหมาะสมเพื่อระงับและป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ให้การชดเชยและเยียวยาผู้เสียหายโดยวิธีการให้กระทำโดยให้ความช่วยเหลือประการหนึ่งประการใดหรือ ให้ความช่วยเหลือทางการเงิน สำหรับค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ ค่าสูญเสียโอกาสที่เป็นค่าเสียหายในเชิงพาณิชย์ซึ่งสามารถคำนวนเป็นเงินได้ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการรักษาพยาบาลรวมทั้งค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพทางกายและจิตใจ การชดเชยและเยียวยาในรูปแบบหรือลักษณะอื่น หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ผู้เสียหายยังสามารถขอรับการชดเชยและเยียวยาจากกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ หรือนำคดีไปฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดต่อศาล ที่มีเขตอำนาจอีกส่วนหนึ่ง ความเท่าเทียมระหว่างเพศชายหรือหญิง หรือเพศที่สาม ถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์หรือเป็นหลักสิทธิมนุษยชนสากล ดังเช่นเมื่อไม่นานมานี้ศาลสูงของประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีคำพิพากษาว่าบุคคลเพศเดียวกัน สามารถแต่งงานและจดทะบียนสมรสได้ตามกฎหมาย เป็นต้น ดังนั้นในประเทศไทยของเราปัจจุบันมีกฎหมายฉบับดังกล่าวใช้บังคับแล้ว หน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องไม่กำหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ ประกาศ มาตรการ โครงการ หรือวิธีปฏิบัติในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างประเทศ เนื่องจากขัดต่อหลักสิทธมนุษยชนสากล ขัดต่อหลักกฎหมายและอาจมีความผิดและรับโทษตามกฎหมายทั้งขั้นจำคุกหรือปรับปรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย  

           นอกจากนี้กฎหมายฉบับดังกล่าว ยังได้กำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีคณะกรรมการอีกสองคณะคือ คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ 

บทความที่ ๓  ความผิดเกี่ยวกับศพ  

          ศพของคนที่ตายไปแล้ว แม้โดยสภาพจะไม่มีความรู้สึกและไม่สามารถรับรู้ในสิ่งที่ถูกกระทำภายหลังการตายก็ตามแต่ในแง่มุมของกฎหมาย นั้น มีแนวความคิดว่า “กฎหมายที่ดีย่อมคุ้มครองมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย” กล่าวคือกฎหมายที่ดีต้องให้การรับรองคุ้มครองมนุษย์ขณะมีชีวิตและแม้ตอนตายกลายเป็นศพแล้วกฎหมายก็ยังต้องให้การรับรองคุ้มครอง แต่ความตายในทางการแพทย์มีหลักว่าต้องหยุดหายใจหรือชีพจรหยุดเต้นและประสาทก้านสมองหยุดทำงาน 

ในอดีตประมวลกฎหมายอาญามีบทบัญญัติในเรื่องเกี่ยวกับศพเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพยานหลักฐานในทางคดีอาญาเท่านั้น คือ  

         มาตรา ๑๘๔ ผู้ใดเพื่อจะช่วยผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษ หรือให้รับโทษน้อยลง ทำให้เสียหาย ทำลาย    ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งพยานหลักฐานในการกระทำความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  

        มาตรา ๑๙๙ ผู้ใดลอบฝัง ซ่อนเร้น ย้ายหรือทำลายศพหรือส่วนของศพเพื่อปิดบังการเกิด การตายหรือเหตุแห่งการตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  

จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่าพูดถึงเรื่องศพเฉพาะที่ไปเกี่ยวข้องกับพยานหลักฐานในทางคดีอาญาเท่านั้นไม่ครอบคลุมในด้านอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น การกระทำชำเราศพทำให้เกิดเป็นปัญหาข้อถกเถียงกันตามมาว่าศพเป็นทรัพย์ตามกฎหมายหรือไม่ การกระทำชำเราศพจะเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์หรือไม่ การลักลอบเอาศพ หรือส่วนหนึ่งของศพจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ อีกทั้งศพ     บางศพมีญาติ บางศพไม่มีญาติ หรือเป็นศพนิรนาม ปัจจุบันจึงได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา กำหนดความผิดเกี่ยวศพ ได้แก่การกระทำชำเราศพ การกระทำอนาจารแก่ศพ การกระทำให้ศพเสียหายและการดูหมิ่นเหยียดหยามศพอันเป็นการละเมิดต่อสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศและชื่อเสียง ดังมีรายละเอียด คือ  

          มาตรา ๓๖๖/๑ ผู้ใดกระทำชำเราศพ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามสิบปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 

          การกระทำชำเราตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า การกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของศพ หรือการใช้สิ่งอื่นสิ่งใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของศพ  

         มาตรา ๓๖๖/๒ ผู้ใดกระทำอนาจารแก่ศพ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

            มาตรา ๓๖๖/๓ ผู้ใดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ทำให้เสียหาย เคลื่อนย้าย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งศพ ส่วนของศพ อัฐิ หรือเถ้าของศพ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  

          มาตรา ๓๖๖/๔ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยามศพ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  

         ในความเห็นของผู้เขียนเห็นว่าแม้ศพของคนตาย จะเป็นศพที่มีญาติหรือศพไม่มีญาติ เป็นศพของคนที่มีชื่อหรือสามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นศพของผู้ใดหรือเป็นศพที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นผู้ใด (ศพนิรนาม) เป็นศพของคนไทยหรือเป็นศพของคนต่างชาติที่มาตายในประเทศไทยก็ตามย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น 

         ดังนั้น ในปัจจุบันตามที่ปรากฎเป็นข่าวทางสื่อสารมวลชนต่างๆ ว่ามีการลักลอบเอาศพ หรือส่วนหนึ่งของศพ เช่น กระโหลกศรีษะของศพไปทำพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ การกระทำชำเราศพ การดูหมิ่นเหยียดหยามศพ การถ่ายภาพศพในลักษณะอุจาดแล้วนำไปเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ การกระทำเกี่ยวข้องกับศพเพื่อเป็นการทำลายพยานหลักฐานในทางคดีอาญา ถือว่าเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมายและต้องรับโทษตามกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตุว่าจะเป็นความผิดฐานทำให้เสียหาย เคลื่อนย้าย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งศพ อัฐิ หรือเถ้าของศพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๖๖/๓ ได้นั้นจะต้องมีองค์ประกอบความผิดที่สำคัญคือต้องเป็นการกระทำโดยไม่มีเหตุอันสมควร ดังนั้น หากเป็นการกระทำอันมีเหตุอันสมควรก็ไม่เป็นความผิดซึ่งต้องเป็นกรณี ๆ ไปว่าเป็นการกระทำโดยมีเหตุอันสมควรหรือไม่มีกรณีที่ศึกษาที่เป็นตัวอย่างที่ดี คือกรณีการก่อการร้ายที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๘ สื่อสารมวลชนของประเทศฝรั่งเศสจะเสนอข่าวโดยมีถ่ายภาพศพของผู้ตายที่เป็นเหยื่อของการก่อการร้ายในสภาพที่มีการห่อถุงดำเรียบร้อยแล้ว ไม่มีลักษณะเป็นภาพอุจาดน่ากลัว ถือว่าเป็นการเคารพสิทธิของศพผู้ตายและทายาท ซึ่งสังคมไทยควรนำมาใช้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป

  บทความที่ ๔  สุราพาไป…อาจทำให้มีเหตุต้องรับผิดตามกฎหมาย

 (พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์)  

          ในห้วงเวลาไม่นานมานี้ มีข่าวเป็นประเด็นทางสังคมตามสื่อสารมวลชนต่างๆ กรณีมีดารานักร้องนักแสดงพิธีกรชื่อดังทั้งชายและหญิงและบุคคลที่มีชื่อเสียงทางสังคม ประมาณ ๓๐ คน  โพสต์ภาพตัวเองพร้อมกับภาพเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบางรายก็มีชื่อหรือเครื่องหมายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางยี่ห้ออยู่ในโพสต์ดังกล่าวผ่านสื่ออนไลน์ต่างๆ เช่น อินสตาแกรม (IG) เฟสบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ ที่มีผู้วิจารณ์ว่าอาจเข้าข่ายโฆษณาแฝงและอาจเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ ๒๕๕๑ ในบทความนี้จึงอยากนำเสนอสาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าว คือ พระราชบัญญติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ ๒๕๕๑ มาตรา ๓๒ วรรคแรก ซึ่งมีสาระสำคัญ ๓ ประการ คือ 

           ประการแรก  ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมาตรา ๓ ของกฎหมายดังกล่าว บัญญัติว่า “โฆษณา”หมายความว่า การกระทำไม่ว่าโดยวิธีใดๆ ให้ประชาชนเห็น ได้ยินหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ ในทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการสื่อสารการตลาด ซึ่ง “การสื่อสารการตลาด” หมายความว่า การกระทำกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการขายสินค้า บริการหรือภาพลักษณ์ การประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ข่าวสาร การส่งเสริมการขาย การแสดงสินค้า การจัดหรือสนับสนุน ให้มีการจัดกิจกรรมพิเศษ และการตลาดแบบตรง จากบทบัญญัติดังกล่าว จะเป็นความผิดฐานโฆษณา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้นั้น จะต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อประโยชน์ในทางการค้า หรือเพื่อการสื่อสารการตลาด  

          ประการที่สอง ห้ามมิให้ผู้ใดแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นอวดอ้างสรรพคุณ  

          ประการที่สาม ห้ามมิให้ผู้ใดชักจูงในให้ผู้อื่นดื่มแอลกอฮอล์โดยตรงหรือทางอ้อม  

         การฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา ๓๒ จะมีโทษตามาตรา ๓๔ ของกฎหมายฉบับดังกล่าว คือต้องระวางโทษคำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

     ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายฉบับดังกล่าว มาตรา ๓๔ ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่มีหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือให้ถ้อยคำหรือให้ส่งเอกสารหรือวัตถุใดมาเพื่อประกอบการพิจารณาและหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม กล่าวคือ ผู้ใดไม่ยอมมาให้ถ้อยคำหรือไม่ยอมให้ถ้อยคำโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือไม่ยอมมาให้ถ้อยคำหรือไม่ยอมส่งเอกสารหรือวัตถุอื่นใดมาเพื่อประกอบการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าว ย่อมมีโทษตามมาตรา ๔๔ วรรคสอง คือ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท  

         แต่อย่างไรก็ตาม มาตรา ๔๕ ของกฎหมายฉบับดังกล่าวบัญญัติว่า “บรรดาความรับผิดความพระราชบัญญัตินี้ให้คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีอำนาจเปรียบเทียบได้ และในการนี้ให้คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีอำนาจมอบหมายให้คณะอนุกรรมการพนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการเปรียบเทียบได้….ในการสอบสวน ถ้าพนักงานสอบสวนพบว่าบุคคลใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้และบุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องมายังคณะกรรมการการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือผู้ซึ่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มอบหมายให้มีอำนาจเปรียบเทียบภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่ผู้นั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบ….เมื่อผู้กระทำความผิดได้เสียค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้วให้ถือว่าคดีนั้นเลิกกันตามประมวลกฎหมายพิจารณาความอาญา”หมายความว่าหากมีการเปรียบเทียบที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว พนักงานสอบสวนก็ส่งสำนวนไปพนักงานอัยการเพื่อสั่งยุติการดำเนินคดี เนื่องจากสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามกฎหมาย โดยพนักงานอัยการไม่ต้องส่งคดีไปฟ้องต่อศาลแต่ศาลแต่อย่างใด จากกรณีเหตุการณ์ที่เป็นข่าวดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนมีความเห็นว่ามีดารานักร้องนักแสดงพิธีกรชื่อดังทั้งชายหญิงและบุคคลที่มีชื่อเสียงทางสังคมประมาณ ๗ คน ซึ่งมีชื่ออยู่ในแคมเปญของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางยี่ห้อ อาจเข้าข่ายความผิดฐานโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อประโยชน์ในทางการค้า หรือฐานโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อการสื่อสารการตลาด ส่วนคนอื่นที่เหลืออาจเข้าข่ายความผิดฐานชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มแอลกอฮอล์โดยตรงหรือโดยอ้อมทั้งนี้ ต้องอยู่ภายหลักกฎหมายทั่วไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙ วรรคแรก ซึ่งบัญญัติว่า “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา..”แต่เนื่องจากเจตนาเป็นเรื่องภายในจิตใจของแต่ละบุคคลซึ่งจิตมนุษย์นั้นยากแท้หยั่งถึง นักกฎหมายส่วนใหญ่ จึงใช้หลักกรรมหรือการกระทำเป็นเครื่องบ่งชี้เจตนา กล่าวคือยึดถือเอาการกระทำของแต่ละบุคคลในแต่ละคดีหรือแต่ละเรื่อง แต่ละเหตุการณ์เป็นตัวชี้วัดว่าบุคคลนั้นมีเจตนาในการกระทำความผิดในคดีอาญาหรือไม่ส่วนบริษัท ฯ ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หากมีพยานหลักฐานว่าเข้าไปมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องในการกระทำความผิด ก็อาจมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ ตัวการ หรือผู้สนับสนุน แล้วแต่ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่จะนำมาพิสูจน์ต่อไป นอกจากนี้ผู้เขียนเห็นว่ากฎหมายดังกล่าวย่อมมีผลบังคับกับทุกคนไม่ว่าท่านจะเป็นประชาชนคนธรรมดา เป็นดารานักร้องนักแสดงพิธีกรชื่อดังหรือเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงทางสังคม กฎหมายย่อมไม่มีการเลือกปฏิบัติ ส่วนกรณีที่จะอ้างว่าไม่รูว่ามีกฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติห้ามไว้ย่อมอ้างไม่ได้ เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๔ บัญญัติว่า “บุคคลจะแก้ตัวไม่ได้ว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้…” และกรณีที่มีการวิพากวิจารณ์ว่ากฎหมายดังกล่าวไม่มีความเหมาะสมเนื่องจากก้าวล่วงสิทธิส่วนบุคคลมากเกินไปนั้น ก็เป็นเรื่องที่จะต้องวิเคราะห์กันต่อไป แต่เมื่อกฎหมายยังไม่ยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงก็ย่อมมีผลบังคับใช้ต่อไป ดังนั้นเป็นอุทาหรณ์เตือนใจว่า การจะโพสต์ภาพหรือข้อความผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ ต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้เป็นการกระทำที่เป็นความผิดต่อกฎหมาย

มีปัญหาปรึกษา สำนักงานอัยการจังหวัดแม่สอด ตั้งอยู่ที่ ถนนอติโพธิ ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โทรศัพท์   ( ๐๕๕) ๕๓๓๔๔๙ (๐๕๕) ๕๓๓๗๐๓ ให้บริการฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล

นายนิรันดร์  นันตาลิต 
อัยการจังหวัดแม่สอด

สำนักงานอัยการจังหวัดแม่สอด
เลขที่ 35/13 ถนนประสาทวิถี ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 63110
โทรศัพท์ 055-533449, 055531078, 055531321, 055532639
E-mail : Msot@ago.go.th

ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทรมานและกระทำให้บุคคลสูญหาย โทร 096-8821173 ติดต่อได้ 24 ชั่วโมง

ข่าวประชาสัมพันธ์

ประกาศรับสมัครงาน

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินสมรรถนะ (ตำแหน่ง พนักงานรักษาความสะอาด)

ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการประเมินสมรรถนะบุคคล จ้างเหมาบริการ (ตำแหน่ง พนักงานรักษาความสะอาด)