เปิดให้บริการในวันเสาร์แล้วทั่วประเทศ
ศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และสถาบันครอบครัวจังหวัดตากในเขตพื้นที่แม่สอด

เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก (สาขาแม่สอด) นำโดยนายสถาพร นิภาวงศ์ รองอัยการจังหวัด และพันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง อัยการจังหวัดผู้ช่วย ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน ในโครงการอบรมเยาวชน และประชาชนทั่วไป ให้มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ
โดยองค์การบริหารส่วนตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง อัยการจังหวัดผู้ช่วย ร่วมกับกิจกรรมประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประจำเดือนกันยายน ๒๕๖๖ ของที่ว่าการอำเภอที่ว่าการอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ บทบาทหน้าที่สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก (สาขาแม่สอด) ให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจ และเข้าถึงงานคุ้มครองสิทธิได้มากขึ้น ของโดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แก่ ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่ อำเภอท่าสางยาง จังหวัดตาก จำนวน ๒๓๕ คน
ระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม 2566 ถึง
11 กันยายน 2566 สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก (สาขาแม่สอด) นำโดยนายสถาพร นิภาวงศ์ รองอัยการจังหวัด และพันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง อัยการจังหวัดผู้ช่วย พร้อมคณะได้เข้าเยี่ยมศูนย์คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนระดับตำบล จำนวน 8 ศูนย์ ที่ได้ดำเนินการจัดตั้งไว้ โดยได้ให้คำแนะนำในการดำเนินงาน และประชาสัมพันธ์การให้บริการประชาชนในวันเสาร์ ทั้งนี้ รับการต้อนรับจากแต่ละหน่วยงานเป็นอย่างดียิ่ง
เกี่ยวกับสำนักงาน
ประวัติความเป็นมา

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก (สาขาแม่สอด)
สำนักงานอัยการจังหวัดแม่สอดเปิดทำการเมื่อปี ๒๔๗๙ สมัยนายประพันธ์ ระเบง เป็นอัยการจังหวัดคนแรกโดยใช้สถานที่บนที่ว่าการอำเภอแม่สอด เป็นที่ทำการ จนปี พ.ศ.๒๕๑๙ ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารใหม่ เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น ตั้งที่ ถนนอติโพธิ์ ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ติดกับศาลจังหวัดแม่สอด งบประมาณก่อสร้าง ๔๐๐,๐๐๐ บาท ในสมัยนายประพันธ์ หรรษคุณาฒัย เป็นอัยการจังหวัด และเริ่มเปิดทำการแห่งใหม่นี้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๒ ในสมัยนายไพโรจน์ สาคะริชานนท์ เป็นอัยการจังหวัดแปลงหมายเลขทะเบียนที่ กค. ๑๗๓ เอกสารสิทธิ์ (นส.๓) ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เนื้อที่ ๔-๐-๘๔.๖ (ไร่-งาน-วา)
ในวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๒๕ กรมอัยการ (ซึ่งในขณะนั้นสังกัดกระทรวงมหาดไทย) ได้จัดตั้งสำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน ขึ้น เพื่อให้การช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนที่ยากไร้และไม่สามารถจัดหาทนายความด้วยตนเอง ด้วยการจัดหาทนายความอาสาสมัครทำหน้าที่แก้คดีและให้คำแนะนำทางกฎหมายโดยไม่คิดมูลค่าตามเงื่อนไขที่กำหนด เพื่อให้สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ให้รัฐจัดหาทนายความให้แก่ผู้ยากไร้ รวมทั้งยังมีหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของรัฐและประชาชนในด้านต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดบทบาทอัยการให้มีหน้าที่คุ้มครองดูแลคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความความสามารถ คนสาบสูญ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง ตรวจสอบดูแลกิจการบางอย่างที่มีผลกระทบต่อสาธารณชน เช่น นิติบุคคล มูลนิธิ สมาคม ฯลฯ
ในปี พ.ศ.๒๕๓๑ ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมอัยการ กระทรวงมหาดไทยกำหนดให้สำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน เป็นส่วนราชการระดับกอง และเปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ”
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๔ ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.ฉบับที่ ๔๗ และ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ แยกกรมอัยการออกจากกระทรวงมหาดไทยไปเป็นหน่วยงานไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวงใด โดยอยู่ภายใต้กำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี เปลี่ยนชื่อจาก “กรมอัยการ” เป็น “สำนักงานอัยการสูงสุด” เปลี่ยนชื่อตำแหน่ง “อธิบดีกรมอัยการ” เป็น “อัยการสูงสุด” และมีปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายใน โดยให้ “สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ”(สคช.) เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน สำหรับในส่วนต่างจังหวัดได้กำหนดให้มีสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนในทุกสำนักงานอัยการจังหวัดที่ตั้งอยู่ ณ ตัวจังหวัด ๗๖ แห่ง (สคช.จังหวัด) และสำนักงานอัยการจังหวัดที่ตั้งอยู่ ณ ตัวอำเภอ ๒๙ แห่ง (สคช.สาขา) ทั่วประเทศ รวม ๑๐๕ แห่ง เพื่อให้การบริการกิจกรรมงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนเป็นไปอย่างทั่วถึงทุกภูมิภาคของประเทศ
ต่อมาได้มีประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๑๐) กำหนดให้มี “สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด และสาขา ”(สคช.จังหวัด/สาขา) เป็นหน่วยงานแยกต่างหากจากสำนักงานอัยการจังหวัด ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๗
(เรียบเรียงจากหนังสือ “๓๐ ปี กับภารกิจอัยการ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม”)
อำนาจหน้าที่
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก สาขาแม่สอด (สคช.แม่สอด)
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี (สคช.) เป็นส่วนราชการในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย การเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
สำหรับในต่างจังหวัด (ส่วนภูมิภาค) มีสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนจังหวัดทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร เรียกชื่อย่อๆว่า “สคช.จังหวัด” โดย สคช.จังหวัดเป็นส่วนราชการหนึ่งของสำนักงานอัยการจังหวัด
อำนาจหน้าที่ของ สคช.
สคช. ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน อันเป็นการบริการด้านความยุติธรรมที่รัฐจัดให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดค่าตอบแทนใดๆ ซึ่งมีกิจกรรมสำคัญ 7 ประการ
- การให้คำปรึกษากฎหมาย การช่วยเหลือในการทำนิติกรรมและการช่วยเหลือประนอมข้อพิพาท
- การคุ้มครองสิทธิทางศาลแก่ประชาชน เช่น
- ร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก
- ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ที่ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นคนสาบสูญ
- ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ และ ร้องขอให้ศาลถอนผู้ปกครอง
- ร้องขอให้ศาลสั่งถอนอำนาจปกครอง
- ร้องขอให้ศาลสั่งให้คนวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถ
- ร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลซึ่งมีจิตฟั่นเฟือน หรือกายพิการและไม่สามารถประกอบการงานของตนเองเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
- ร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ
- ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับบุตร บุญธรรม การเลิกรับบุตรบุญธรรม
- เป็นโจทก์ฟ้องคดีที่กฎหมายห้ามมิให้ราษฎรฟ้อง เช่น ห้ามบุตรฟ้องบุพการี
- การช่วยเหลือทางอรรถคดีโดยจัดหาทนายอาสาว่าต่างแก้ต่างให้แก่ประชาชนผู้ยากไร้
- การเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
- การฝึกอบรมความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนกลุ่มต่างๆ
- การฝึกอบรมความรู้ด้านการประนอมข้อพิพาทและระงับข้อพิพาท
- การจัดให้มีอาสาสมัครเพื่อสนับสนุนการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน
“ทั้งนี้…โดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ ยกเว้นค่าธรรมเนียมของศาล”
“มีปัญหาเรื่องกฎหมายอย่าลืมคิดถึง สคช. แม่สอด”
วิสัยทัศน์ (Vision)
“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”
พันธกิจ (Missions)
1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โครงสร้าง (Structure)

วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร
ข้าราชการอัยการ



ข้าราชการธุรการ


ทนายความอาสา

จ้างเหมาบริการ

ทำเนียบผู้บริหาร
นางสาวอภิรดี ตะเคียนนุช
ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๖ – ปัจจุบัน
นายอภิรักษ์ เตชะวงค์
ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๕ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖
นายประภาส บุญเสรฐ
ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕
นางสาวนิติกาญจน์ วงค์ครองศักดิ์
ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๓ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔
นายเกียรติศักดิ์ ศรีเจริญ
ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๒ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓
นายพิทักษ์ คำวชิรพิทักษ์
ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก
ตั้งแต่วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๑ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๒
นายจิรวิชย์ ไวเวหา
ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก
ตั้งแต่วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๐ – ๑ เมษายน ๒๕๖๑
นายจิระเดช ทัพพจิระเดช
ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๙ – ๒ เมษายน ๒๕๖๐
เรือโทพลัฎฐ์ ทัพพ์พัฒนะ
ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๘ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙
นายคมกฤช สุวัตถี
ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๗ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘
สถิติคดี
การจัดซื้อจัดจ้าง
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก(สาขาแม่สอด)
ถนนอติโพธิ์ ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 63110โทรศัพท์ : 055 533 703
E-mail : msot-lawaid@ago.go.thเวลาทำการ : 8.30 น. – 16.30 น.