เกี่ยวกับสำนักงาน
สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์ เดิมชื่อสำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดนครสวรรค์ (แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว) ได้เปิดทำการตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2537 ตั้งอยู่ ณ ชั้น 2 ของอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดนครสวรรค์ ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ต่อมา ปี 2546 ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2546 ได้เปลี่ยนแปลงชื่อเป็น สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์ และย้ายมาอยู่ที่ อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดนครสวรรค์ ถนนโกสีย์ใต้ ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
บทบาทของอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวในการอำนวยความยุติธรรมและคุ้มครองสิทธิแก่ประชาชน
อัยการ หมายถึง
(๑) องค์กรอัยการ ซึ่งได้แก่ สำนักงานอัยการสูงสุด และหน่วยงานในสังกัด
(๒) พนักงานอัยการ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๕, พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๕๓ และมีฐานะเป็นข้าราชการอัยการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.๒๕๕๓ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีอาญา คดีแพ่ง คดีปกครอง และคุ้มครองสิทธิของประชาชนตามที่กฎหมายกำหนด
อัยการคดีเยาวชนและครอบครัว
หมายถึง สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัว และพนักงานอัยการหรือข้าราชการอัยการ ผู้ซึ่งอัยการสูงสุดในฐานะของผู้บังคับบัญชาขององค์กรอัยการได้แต่งตั้งให้เป็นทนายแผ่นดินประจำศาลเยาวชนและครอบครัวในแต่ละศาล ตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๕๓ ตามมาตรา ๑๑ ประกอบพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๑๐๑
อำนาจหน้าที่ที่สำคัญของอัยการคดีเยาวชนและครอบครัว
๑) ดำเนินคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดและจะต้องฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัว ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
๏ การควบคุมกำกับการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานสอบสวนตามที่กฎหมายกำหนด
๏ การพิจารณาสั่งคดีอาญา
๏ การเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาเด็กหรือเยาวชนผู้กระทำผิดต่อศาลในนามของแผ่นดินหรือราชอาณาจักรไทย และมีอำนาจดำเนินคดีอาญาในความรับผิดชอบตลอดทั้งในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา
๏ การควบคุมกำกับการใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาของผู้อำนวยการสถานพินิจ
๒) ดำเนินคดีอาญาแก่บุคคลที่กระทำผิดในข้อหาที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้อำนาจพิจารณาพิพากษาอยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว เช่น
๏ ความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖
๏ ความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๐ (มาตรา ๘ วรรคสอง) เฉพาะกรณีเป็นความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัว เป็นกรรมเดียวกับความผิดตามกฎหมายอื่นที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัว เช่น ความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัวเป็นกรรมเดียวกับฐานทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๙๑
๓) ดำเนินคดีคุ้มครองสวัสดิภาพแทนผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว
๏ กรณีผู้ถูกกระทำความรุนแรงไม่อยู่ในสภาพหรือวิสัยที่จะร้องขอได้เอง เพื่อขอให้ศาลเยาวชนและครอบครัวออกคำสั่งกำหนดมาตรการ หรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวแก่ผู้ถูกกระทำฯ ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๑๗๒
๔) ยื่นคำร้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ ต่อศาลเยาวชนและครอบครัว
๏ เพื่อมีคำสั่งกำหนดมาตรการคุมประพฤติบุคคลซึ่งเป็นผู้ปกครองหรือญาติของเด็กกรณีมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าผู้ปกครองหรือญาติของเด็กจะกระทำทารุณกรรมแก่เด็กอีก ไม่ว่าจะได้มีการฟ้องคดีอาญานั้นแล้วหรือไม่ ตามมาตรา ๔๓
๏ เพื่อมีคำสั่งขยายเวลาการสืบเสาะและพินิจเพื่อหาวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กที่เหมาะสมระหว่างการส่งตัวเด็กไปยังสถานแรกรับ สถานพัฒนาและฟื้นฟู ตามมาตรา ๔๒
๕) ดำเนินคดีแพ่งเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ปพพ.) กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของอัยการ และมีลักษณะเป็นคดีครอบครัว อันอยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ เช่น
๏ การฟ้องคดีแทนเด็กที่ปฏิเสธความเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชาย
(ปพพ. มาตรา ๑๕๔๕)
๏ การฟ้องคดีแทนบุตรบุญธรรมเกี่ยวกับการขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
(ปพพ. มาตรา ๑๕๙๘/๓๕)
๏ การร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้มีการอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรม
(ปพพ. มาตรา ๑๕๙๘/๒๑,๑๕๙๘/๒๒, ๑๕๙๘/๒๓)
๏ การร้องขอให้ศาลถอนผู้ปกครอง (ปพพ. มาตรา ๑๕๙๘/๙)
๏ การร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ (ปพพ. มาตรา ๑๔๙๖)
๏ การร้องขอให้ศาลตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนเด็กในคดีฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตร ในกรณีไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือมีแต่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถทำหน้าที่ได้ (ปพพ. มาตรา ๑๕๕๖) ๏ ….ฯลฯ ….
การดำเนินการของพนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัว
เมื่อผู้อำนวยการสถานพินิจเห็นว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นอาจกลับตนเป็นคนดีโดยไม่ต้องและเด็กหรือเยาวชนและผู้เสียหายยินยอม ผู้อำนวยการสถานพินิจจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู โดยเชิญฝ่ายเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด ฝ่ายผู้เสียหายและนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์เข้าร่วมประชุม รวมทั้งพนักงานอัยการด้วยก็ได้ เพื่อจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู เสนอพนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวเห็นชอบด้วยกับแผนฯ นั้น ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๘๖ – มาตรา ๘๘ โดยเมื่อผู้อำนวยการสถานพินิจรายงานให้พนักงานอัยการทราบ กรณีมีการปฏิบัติการครบถ้วนตามแผนแล้ว หากพนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวเห็นชอบให้มีอำนาจสั่งไม่ฟ้องเด็กหรือเยาวชนนั้น
วิสัยทัศน์ (Vision)
“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”
พันธกิจ (Missions)
1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โครงสร้าง (Structure)

วัฒนธรรมองค์กร

คณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้วันที่ 13 ตุลาคม 2566 เป็นวันแห่งการเสด็จสวรรคตครบ 7 ปี หรือเรียกว่า “สัตตมวรรษ” เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยเป็นล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กำหนดชื่อวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ว่า “วันนวมินทรมหาราช” ตามที่รัฐบาลได้ขอพระราชทานพระมหากรุณา และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 รับทราบการกำหนดให้วันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็น “วันนวมินทรมหาราช”
วันที่ 13 ตุลาคม 2566 เวลา 07.30 น. ที่อาคารโดมอเนกประสงค์มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ นางสาวภัทรสิริ จุฑากรณ์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์พร้อมข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ร่วมกันทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล เวลาต่อมา ได้เข้าในพิธีฯรวางพวงมาลา และถวายความเคารพเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร









วันที่ 12 สิงหาคม 2566 เวลา 07.00 น. อาคารโดม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ นายศรันยวัฒน์ วังกานนท์ อัยการจังหวัดผู้ช่วย และข้าราชการสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์ และข้าราชการ ร่วมกันทำบุญตักบาตร ข้าวสารอาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์ 92 รูป เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวันเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2566 ถวายพระราชกุศล แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา 91 พรรษา 12 สิงหาคม 2566 ต่อมา เวลา 19.19 น. ที่อาคารโดม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จัดพิธีถวายราชสักการะและวางพานพุ่มและพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยนางสาวนริศรา กลิ่นผกา อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ประกอบพิธีถวายพานพุ่มเงิน พานพุ่มทอง เบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จากนั้นประธานและผู้เข้าร่วมพิธีกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล จุดเทียนถวายพระพรชัยมงคลเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมกับกล่าวถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ และขับร้องเพลง “สดุดีพระแม่ไทย” พร้อมร่วมเปล่งเสียง คำว่า “ทรงพระเจริญ” เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้



วันที่ 7 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ผู้ทรงได้รับการยกย่องให้เป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย” เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นนักนิติศาสตร์ และทรงวางระบบแบบแผน ศาลยุติธรรม รวมถึงทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยอันเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งแก่ประเทศชาติ
นางสาวภัทรสิริ จุฑากรณ์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์ นำคณะข้าราชการอัยการและข้าราชการสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์ ร่วมพิธีสงฆ์และพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะ “วันรพี” ประจำปี 2566 ณ ลานพระรูปพระองค์เจ้าพีพัฒนศักดิ์ฯ ณ ศาลแขวงนครสวรรค์




วันที่ 28 กรกฎาคม 2566 เวลา 19.19 น. ที่อาคารโดม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
จัดพิธีถวายราชสักการะและวางพานพุ่มและพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยนายอุกฤษ จันทรวิสุทธิ์ อัยการอาวุโส พร้อมข้าราชการและเจ้าที่ประจำสำนักงาน ประกอบพิธีถวายพานพุ่มเงิน พานพุ่มทอง เบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้นประธานและผู้เข้าร่วมพิธีกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล




ต่อมาประธานในพิธีฯ ได้จุดเทียนถวายพระพรชัยมงคลเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมกับกล่าวถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ และร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงสดุดีจอมราชา เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
วันนี้ (28 กรกฎาคม) 2566 เวลา 07.00 น. ณ อาคารโดม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
นางสาวภัทรสิริ จุฑากรณ์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์ นำคณะข้าราชการและเจ้าหน้าที่ภายในสำนักงาน ร่วมกันทำบุญตักบาตร ข้าวสารอาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์ 72 รูป เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 71 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำหรับกิจกรรมจัดขึ้นเพื่อถวายพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 71 พรรษา และให้ประชาชนได้แสดงออกถึงความจงรักภักดี ส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชน ได้น้อมนำหลักธรรมมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน มีความสามัคคี ปรองดอง ด้วยการทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาร่วมกัน




บุคลากร
นายเศกสรรค์ บางสมบุญ ตั้งแต่ 25 มี.ค 2531 ถึง 7 พ.ค 2532
นายถาวร เสนเนียม ตั้งแต่ 8 มิ.ย 2532 ถึง 30 พ.ค 2533
นายธานี สุเมธวานิชย์ ตั้งแต่ 1 พ.ค 2533 ถึง 12 พ.ค 2534
นายขัวญชัย ถวิลลาภ ตั้งแต่ 13 พ.ค 2534 ถึง 30 มี.ค 2535
นางนฤมล ริติชัยฤกษ์ ตั้งแต่ 1 เม.ย 2535 ถึง 30 เม.ย 2536
นายนพดล วรรณะกุล ตั้งแต่ 2 พ.ค 2536 ถึง 30 เม.ย 2537
นายพล ศักดิ์เดชยนต์ ตั้งแต่ 2 พ.ค 2537 ถึง 30 เม.ย 2538
นายเธียร โอฬารกิจอนันต์ ตั้งแต่ 1 พ.ค 2538 ถึง 30 ก.ย 2538
นายไพบูลย์ ประสานพันธ์ ตั้งแต่ 1 พ.ค 2539 ถึง 2 ต.ค 2539
นายสุรัตน์ ประยูรหงษ์ ตั้งแต่ 4 ต.ค 2539 ถึง 30 เม.ย 2541
นายณรงค์ ชโลปถัมภ์ ตั้งแต่ 1 พ.ค 2541 ถึง 30 เม.ย 2542
นายพินิจ ตันสถิรานันท์ ตั้งแต่ 3 พ.ค 2542 ถึง 30 เม.ย 2543
นายวิรัช บัวเผื่อน ตั้งแต่ 1 พ.ค 2543 ถึง 30 เม.ย 2544
นายสิงห์ชัย ทนินซ้อน ตั้งแต่ 1 พ.ค 2544 ถึง 6 พ.ค 2545
นายสากล ยิ้มพร ตั้งแต่ 7 พ.ค 2545 ถึง 27 เม.ย 2546
นายพันธ์โชติ บุญศิริ ตั้งแต่ 28 เม.ย 2546 ถึง 2 พ.ค 2547
นายอดุลย์ เฉตวงษ์ ตั้งแต่ 3 พ.ค 2547 ถึง 3 เม.ย 2548
นายสุเทพ ตันติรัศมี ตั้งแต่ 4 เม.ย 2548 ถึง 30 เม.ย 2549
นายวินัย ตันวิสุทธิ์ ตั้งแต่ 1 พ.ค 2549 ถึง 1 เม.ย 2550
นายฉกาจ ชะระภิญโญ ตั้งแต่ 2 เม.ย 2550 ถึง 31 มี.ค 2551
นางอัจฉราพร เศรษฐบุตร ตั้งแต่ 1 เม.ย 2551 ถึง 31 มี.ค 2554
นายณรงค์ชัย หลีสุขเสริฐ ตั้งแต่ 1 เม.ย 2554 ถึง 1 เม.ย 2555
นายกิจจา ปราณีสุข ตั้งแต่ 2 เม.ย 2555 ถึง 31 เม.ย 2557
นายอุดม ชินวงศ์ ตั้งแต่ 1 เม.ย 2557 ถึง 31 มี.ค.2558
นายรชต พนมวัน ตั้งแต่ 1 เม.ย.2558 ถึง 31 มี.ค.2559
น.ส.ทองมาก ใจแสน ตั้งแต่ 1 เม.ย.2559 ถึง 31 มีนาคม 2561
นายประพาส หนูเจริญ ตั้งแต่ 1 เม.ย.2561 ถึง 31 มีนาคม 2562
นายโอภาส สุทธิมโนรัตน์ ตั้งแต่ 1 เม.ย.2562 ถึง 31 มีนาคม 2563
นายณุวัฒน์ หรรษคุณาฒัย ตั้งแต่ 1 เม.ย.2563 ถึง 31 มีนาคม 2564
นายเพิ่มศักดิ์ กมลสุขสถิต ตั้งแต่ 1 เม.ย.2564 ถึง 31 มีนาคม 2565
นายวินัย คล้ายทอง ตั้งแต่ 1 เม.ย.2565 ถึง 31 มีนาคม 2566
นางสาวภัทรสิริ จุฑากรณ์ ตั้งแต่ 3 เม.ย.2566 ถึง ปัจจุบัน

นางสาวภัทรสิริ จุฑากรณ์
อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการภาค 6
รักษาการในตำแหน่ง อัยการจังหวัดดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์

นางสาวนริศรา กลิ่นผกา
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ผู้กลั่นกรอง

นายศรันยวัฒน์ วังกานนท์
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นายอุกฤษ จันทรวิสุทธิ์
อัยการอาวุโส

นางเฉลิมขวัญ ชื่นชม
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการ

นางสุรีรัตน์ เพิ่มพูล
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นางสาวธนิถา คงเพชรศักดิ์
นิติกรชำนาญการ

นายวัชระพันธ์ ขยันกิจ
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นายเรวัช สุริต
พนักงานขับรถยนต์

นางสาวจุรีรัตน์ นาแล
นักการภารโรง
สถิติคดี
สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์
ประเภทสำนวนคดี | ปี 2560 | ปี 2561 | ปี 2562 | ปี 2563 | ปี 2564 | ปี 2565 | ปี 2566 |
ส.1 | 236 | 261 | 202 | 118 | 139 | 110 | 74 |
ส.1 ฟ. | 4 | 8 | 10 | 12 | 4 | – | 4 |
ส.2 | 10 | 17 | 14 | 6 | 14 | 16 | 8 |
ส.2 ก. | 362 | 462 | 142 | 83 | – | 12 | – |
ส.4 | 261 | 227 | 150 | 98 | – | – | – |
ส.5 ก. | – | – | – | – | – | – | – |
ส.6 | – | 1 | – | – | – | – | – |
ส.7 | – | – | – | – | – | – | – |
ส.มาตรการพิเศษ | 73 | 65 | 41 | 97 | 30 | 15 |
หมายเหตุ ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2566
เอกสารเผยแพร่

ติดต่อหน่วยงาน
สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์
ถนนโกสีย์ใต้ ตำบลนครสวรรค์ อำเภอเมืองนครวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 60000
โทรศัพท์ 0-5622-4503 โทรสาร 0-5623-3414
Email: nsawan-ju@ago.go.th