ข่าวประชาสัมพันธ์

สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงนครไทย ขอประกาศเจตนารมณ์ เรื่อง ไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ของสำนักงานอัยการสูงสุด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567

นายวิชญะ พรมเกตุ อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงนครไทย นำข้าราชการอัยการและธุรการ เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา เนื่องในวันจักรี ณ วัดหนองกะท้าว ต.หนองกะท้าว อ.นครไทย จ.พิษณุโลก

นายวิชิต ฤทธินันท์กิจ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมพิธีวางพวงมาลาเพื่อน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 23 ตุลาคม 2566

นายศิวานนท์ แนมใส อัยการประจำกอง นำข้าราชการอัยการ เข้าร่วมกิจกรรมวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2566 ณ หน้าที่ว่าการอำเภอนครไทย

พันตำรวจโทเดชาชัย ณ ลำปาง อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงนครไทย นำข้าราชการอัยการ ข้าราชการธุรการ และพนักงาน ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน 2566

นายศิวานนท์ แนมใส อัยการประจำกอง ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2566 ณ ที่ว่าการอำเภอนครไทย

นายวิชิต ฤทธินันท์กิจ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปีพุทธศักราช 2566 ณ หน้าที่ว่าการอำเภอนครไทย

พันตำรวจโทเดชาชัย ณ ลำปาง อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงนครไทย นำข้าราชการและเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานอัยการคดีศาลแขวงนครไทย ถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน

นายราเชนทร์ ศิริประดิษฐ์ พร้อมด้วยข้าราชการ และลูกจ้าง รวมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2566

นายราเชนทร์ ศิริประดิษฐ์ อัยการประจำกอง พร้อมด้วยข้าราชการ ร่วมกิจกรรมวันเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมศูนย์ประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นประจำอำเภอนครไทย

นายสราวุธ กนกฉันท์ อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงนครไทย พร้อมคณะ เข้าร่วมกิจกรรม “หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” ในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ2566 ณ โรงเรียนชุมชน 8 ราษฎร์อุทิศพิทยา หมู่ที่ 3 ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

พิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนา

นายสราวุธ กนกฉันท์ อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงนครไทย มอบหมายให้นายไพโรจน์ แสงธรรม อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด นำข้าราชการอัยการ ธุรการ เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนา เพื่อถวายพระพรชัยมงคล แต่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ วัดบ้านพร้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

5 ธันวาคม 2565

นายสราวุธ กนกฉันท์ อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงนครไทย
นำข้าราชการ เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมราถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2565
ณ ศูนย์ประสานแผนพัฒนาประจำอำเภอนครไทย

13 ตุลาคม 2565

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2565 นายสราวุธ กนกฉันท์ อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงนครไทย
นำข้าราชการ เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวาบพระราชกุศล และวางพวงมาลาถวายราชสักการะ
ณ ศูนย์ประสานแผนพัฒนาประจำอำเภอนครไทย

วันเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 นายสราวุธ กนกฉันท์ อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงนครไทย
นำข้าราชการ และพนักงาน ถวายสัตย์ปฏิญาณเป็นข้าราชการที่ดี และเข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีถวายพระพรชัยมงคล
ณ ศูนย์ประสานแผนพัฒนาประจำอำเภอนครไทย

สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงนครไทย นำโดยนายสราวุธ กนกฉันท์ อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงนครไทย พร้อมบุคลาการ ร่วมกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ณ รอบอาคารสำนักงานอัยการคดีศาลแขวงนครไทย ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2565 สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2565 นายสราวุธ กนกฉันท์ อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงนครไทย
นำข้าราชการ เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีถวายพระพรชัยมงคล
ณ ศูนย์ประสานแผนพัฒนาประจำอำเภอนครไทย

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงนครไทย

                 ด้วยมีพระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแขวงพิษณุโลก กับกำหนดเขตอำนาจและวันเปิดทำการของศาลแขวงนครไทย ในจังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. ๒๕๕­๘ ให้เปิดทำการศาลแขวงนครไทย ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป และตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๒ กำหนดให้ในท้องที่ที่ตั้งศาลจังหวัด ศาลแขวง หรือศาลเยาวชนและครอบครัว ยกเว้นในเขตกรุงเทพมหานคร ให้มีสำนักงานอัยการจังหวัดประจำศาลแต่ละศาล มีเขตพื้นที่ตามที่ ก.อ. ประกาศกำหนด จึงได้มีการจัดตั้งสำนักงานอัยการคดีศาลแขวงนครไทย

                สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงนครไทยเปิดทำการตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๘ มีเขตอำนาจภายใน ๒ อำเภอ ของจังหวัดพิษณุโลก ประกอบด้วย อำเภอชาติตระการ อำเภอนครไทย โดยอยู่ในเขตอำนาจ การสอบสวนของสถานีตำรวจภูธร ๔ แห่ง ได้แก่

  • ๑. สถานีตำรวจภูธรนครไทย
  • ๒.สถานีตำรวจภูธรชาติตระการ
  • ๓.สถานีตำรวจภูธรบ้านแยง
  • ๔.สถานีตำรวจภูธรนครชุม

 โดยในช่วงเปิดทำการช่วงแรกสำนักงานอัยการคดีศาลแขวงนครไทยได้รับโอนสำนวนคดียังไม่ได้ฟ้องศาล จากสำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก และรับสำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวนภายในเขตอำนาจเพื่อพิจารณาและดำเนินการต่อไป

บทบาทหน้าที่

๑.    อำนวยความยุติธรรม การดำเนินคดีอาญา

๒.    รักษาผลประโยชน์ของรัฐให้คำปรึกษาด้ายกฎหมายแก่ส่วนราชการ ตรวจร่างสัญญาเป็นทนายแก้ต่าง ว่าต่าง

๓.    คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน การยื่นคำร้องขอให้บุคคลเป็นบุคคลไร้สามารถ เสมือนไร้ความสามารถ คนสาบสูญ ผู้จัดการมรดก จัดหาทนายอาสา เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย

อำนาจหน้าที่ในคดีการดำเนินคดีอาญา

          ตาม พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๑๔(๒) ในคดีอาญามีอำนาจหน้าที่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และตามกฎหมายอันซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของ สำนักงาน อัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๘ บุคคลเหล่านี้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล

          ๑. พนักงานอัยการ

          ๒. ผู้เสียหาย

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๐-๑๔๗  อำนาจการพิจารณาคดีของพนักงานอัยการ

– สำนวนคดีที่ไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด

– สำนวนการสอบสวนที่รู้ตัวผู้กระทำผิด

                   – สั่งฟ้อง

                   – สั่งไม่ฟ้อง

กระบวนการยุติธรรม

          ระบบกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยได้มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว ดังจะเห็นได้ว่าจากข้อความที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกซึ่งมีความว่า “ไพร่ฟ้า ลูกเจ้าลูกขุนผิแลผิดแผกแสกว้างกันสวนดูแท้แล้ว จึงแล่งความแก่ข้าด้วยชื่อ    บ่เข้าผู้ลัก มักผู้ซ่อน เห็นข้าวท่านบ่ใคร่พินเห็นสินท่านบ่ใคร่เดือด” ซึ่งหมายความว่าราษฎรสามัญหรือขุนนางข้าราชการมียศศักดิ์ก็ตามพิพาทเป็นความกันท่านให้ไต่สวนดูให้แน่นอนแล้วตัดสินโดยซื่อไม่เข้ากับคนผิดและจะต้องไม่พิพากษาอรรคคดีโดยเห็นแก่สินจ้างรางวัลใดๆ ซึ่งในสมันสุโขทัยพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจชี้ขาดบังคับให้เป็นไปตามความยุติธรรม ทั้งนี้เป็นเพราะในสมัยสุโขทัยบ้านเมืองยังไม่มีผู้คนคับคั่งเหมือนทุกวันนี้และทั้งพระราชภารกิจของพระมหากษัตริย์ก็ยังมีไม่มากนัก การพิจารณาพิพากษาคดีจึงตกอยู่ที่พระมหากษัตริย์โดยตรง แต่ในสมัยปัจจุบันปรากฏว่าความเจริญของบ้านเมืองได้มีมากขึ้น ระบบกระบวนการยุติธรรมจึงได้กระจายไปสู่องค์กรต่างๆ ที่จะเข้ามาผดุงความยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ ทนายความ ผู้พิพากษาหรือราชทัณฑ์ แต่เรื่องที่จะนำมากล่าวในที่นี้จะขอนำอำนาจหน้าที่ของอัยการมากล่าวให้ทราบทั้งนี้เพราะเป็นองค์กรที่สำคัญของระบบกระบวนการยุติธรรมซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยจะทราบว่าอัยการ คือใคร มีอำนาจหน้าที่อย่างไร

อัยการคือใคร

         “อัยการ” หรือ “พนักงานอัยการ” เป็นข้าราชการ ซึ่งรับราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานอัยการสูงสุด มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินคดีตามกฎหมาย  ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ

คุณสมบัติของอัยการ

           บุคคลใดประสงค์จะรับราชการเป็นข้าราชการอัยการต้องไปสมัครคัดเลือกที่สำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดได้ประกาศให้มีการสมัครสอบคัดเลือกและต้องสอบคัดเลือกตามหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนดไว้

อำนาจหน้าที่ของอัยการ

          เมื่อกล่าวถึงอัยการประชาชนส่วนมากจะไม่ทราบถึงอำนาจหน้าที่ของอัยการอย่างถูกต้องแท้จริง ประชาชนส่วนมากมักจะทราบแต่เพียงว่าอัยการมีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาในคดีอาญาโดยมักจะพูดกันอยู่เสมอว่าอัยการมีหน้าที่เอาคนเข้าคุกซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเพราะไม่มีกฎหมายฉบับใดที่ให้อำนาจอัยการเอาคนเข้าคุก

          ที่ถูกต้องแล้วอัยการมีอำนาจหน้าที่อย่างไรจะเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

         ๑. อำนวยความยุติธรรมได้แก่ การบริหารงานยุติธรรมในส่วนของฝ่ายบริหารของรัฐเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน โดยพนักงานอัยการจะเป็นผู้พิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนที่พนักงานสอบสวนเสนอมาแล้ววินิจฉัยสั่งคดีตลอดทั้งดำเนินคดีอาญาทางศาลในฐานะทนายแผ่นดินตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นๆ ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ

๒. รักษาผลประโยชน์ของรัฐ ได้แก่การพิจารณาและให้คำปรึกษาในด้านกฎหมายแก่ส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ ตรวจร่างสัญญาตอบข้อหารือ ตลอดจนทั้งดำเนินคดีในศาลในฐานะทนายแผ่นดินแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา

๓. คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ได้แก่การคุ้มครองสิทธิและรักษาผลประโยชน์ของประชาชนที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจของพนักงานอัยการ เช่น ในคดีเพ่งให้พนักงานอัยการเข้าไปคุ้มครองสิทธิของบุคคลไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ คนสาบสูญ การร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก นอกจากนั้นยังดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางอรรถคดีแก่ประชาชนผู้ยากไร้โดยจัดหาทนายอาสาให้ ตลอดทั้งการเผยแพร่ความรู้ความกฎหมายแก่ประชาชนทั่วไป

อำนาจหน้าที่ของอัยการซึ่งกำหนดไว้ในกฎหมายที่สำคัญมีดังนี้

อำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

          อำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา     ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๓๓ มาตรา ๑๔ (๒) ซึ่งบัญญัติว่าในคดีอาญา มีอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ

          อำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีอาญา เป็นอำนาจหน้าที่ของอัยการอันถือได้ว่ามีส่วนร่วมในการป้องกันและปรามปราบอาชญากรรมอย่างหนึ่ง เพื่อก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคมและถือเป็นงานหลักของอัยการที่ได้มีการปฏิบัติกันมากที่สุดเป็นประจำวันซึ่งได้แก่การตรวจวินิจฉัยสำนวนการสอบสวน และการดำเนินคดีในศาลซึ่งอำนาจหน้าที่ของอัยการจะเริ่มต้นตั้งแต่ได้รับสำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวน โดยสำนวนดังกล่าวอัยการไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องมาก่อนเลย เป็นสำนวนที่พนักงานสอบสวนเป็นผู้ดำเนินการจัดทำขึ้นทั้งสำนวน กล่าวคือเมื่อมีการกระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้นหน้าที่เริ่มแรกเป็นของพนักงานสอบสวนที่จะต้องสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ ในคดีนั้นรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อให้รู้ตัวว่าใครเป็นผู้กระทำผิดและติดตามจับกุมผู้กระทำผิดพนักงานสอบสวนจะเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา แล้วทำความเห็นสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

          ถ้าเป็นสำนวนการสอบสวนที่ไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด อัยการมีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนงดการสอบสวนหรือให้สอบสวนต่อไปก็ได้

          ถ้าเป็นสำนวนการสอบสวนที่รู้ตัวว่าใครเป็นผู้กระทำผิด ไม่ว่าจะจับผู้ต้องหาได้หรือไม่ และพนักงานสอบสวนจะมีความเห็นสั่งฟ้องหรือไม่สั่งฟ้องก็ตามอัยการมีอำนาจหน้าที่จะสั่งสำนวนได้ดังนี้

         ก. ถ้าอัยการพิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงในสำนวนการสอบสวนยังไม่ชัดเจนพอก็มีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมหรือให้ส่งพยานมาพบอัยการเพื่อซักถามก็ได้

         ข. ถ้าอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนไม่หนักแน่นเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าผู้ต้องหาเป็นผู้กระทำความผิดหรือการกระทำของผู้ต้องหาไม่เป็นความผิดต่อกฎหมาย อัยการมีอำนาจที่จะสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ถ้ากรณีที่คดีขาด อายุความหรือผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาที่เป็นความผิดอันยอมความได้ อัยการมีอำนาจสั่งยุติการดำเนินคดี

         ค. ถ้าอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนรับฟังได้ว่าผู้ต้องหาเป็นผู้กระทำความผิดจริง อัยการมีอำนาจสั่งฟ้องผู้ต้องหา โดยทำคำฟ้องยื่นฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลซึ่งภายหลังจากถูกฟ้องต่อศาลแล้วผู้ต้องหาจะถูกเรียกว่าจำเลย ในกรณี ที่จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดหรือจำเลยให้การรับสารภาพแต่คดีดังกล่าวมีอัตราโทษตามกฎหมายให้จำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป อัยการมีหน้าที่จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยต่อไป เมื่อศาลพิจารณาและมีคำพิพากษาในคดีนั้นอย่างใดแล้ว อัยการไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาดังกล่าวก็มีอำนาจที่จะอุทธรณ์ หรือฎีกาได้ เว้นแต่จะเข้ากรณีกฎหมายห้ามอุทธรณ์หรือฎีกาก็ได้

         ง. ถ้าอัยการพิจารณาสำนวนการสอบสวนแล้วเห็นว่า คดีนั้นเป็นความผิดซึ่งสามารถทำการเปรียบเทียบปรับได้ เช่น ความผิดลหุโทษ อัยการมีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบปรับคดีนั้นหรือจะสั่งให้พนักงานสอบสวนอื่นที่มีอำนาจดำเนินการเปรียบเทียบให้ก็ได้

          นอกจากจะมีอำนาจในการวินิจฉัยสั่งสำนวนและดำเนินคดีในศาลดังกล่าวแล้วอัยการยังมีอำนาจหน้าที่อย่างอื่นอีก เช่น

  •           ๑. ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับผู้เสียหายในคดีอาญาที่ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว
  •           ๒. ยื่นคำร้องต่อศาลให้สั่งผู้เสียหายกระทำหรือเว้นกระทำการที่ผู้เสียหายจะกระทำให้คดีของอัยการเสียหายในกรณีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการ
  •           ๓. ยื่นฟ้องคดีที่ผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องคดีไว้แล้วไต่ได้ถอนฟ้องคดีนั้นเสีย เว้นแต่คดีซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว
  •           ๔. ฟ้องเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายในคดีอาญาที่ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่ เขาสูญเสียไป เนื่องจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชกทรัพย์ ฉ้อโกงทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ หรือรับของโจร โดยเมื่ออัยการยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลจะมีคำขอรวมไปกับคำฟ้องหรือจะยื่นคำร้อง ขอในระยะเวลาใดๆ ระหว่างคดีอยู่ในการพิจารณาของศาลชั้นต้น
  •          ๕. ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายขังผู้ต้องหา
  •          ๖. ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ปล่อยคนที่ถูกควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมายหรือถูกจำคุกผิดจาก   คำพิพากษาของศาล
  • ๗. คัดค้านการให้ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ต้องหาหรือถูกฟ้องในความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน ๑๐ ปี เมื่อศาลสอบถามในกรณีที่บุคคลใดผิดสัญญาประกันต่อศาล เมื่อศาลสั่งบังคับตามสัญญาประกันเป็นประการใดแล้ว อัยการมีอำนาจอุทธรณ์ฎีกาได้

ในกรณีที่อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา ถอนฟ้อง ถอนฟ้องอุทธรณ์ ถอนฟ้องฎีกาและคำสั่งนั้นไม่ใช่ของอัยการสูงสุดถ้าในกรุงเทพมหานคร ต้องส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมกับคำสั่งเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ          ถ้าในจังหวัดอื่นให้เสนอผู้ว่าราชการจังหวัด

แจ้งคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีให้ผู้ต้องหาและผู้ร้องทุกข์ทราบถ้าผู้ต้องหาถูกควบคุมหรือขังอยู่ให้ปล่อยตัวหรือขอให้ศาลปล่อยตัวแล้วแต่กรณี

ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ไต่สวนการชันสูตรพลิกศพในกรณีที่มีการตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงาน  ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่

ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเองและศาลยกฟ้องไป โดยโจทก์ไม่มาตามกำหนดนัดพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีนั้นอีกได้ เว้นแต่จะเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว (คดีความผิดอันยอมความได้)

อำนาจตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓

  •          ๑. อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
  •          ๒. ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
  •          ๓. ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
  •          ๔. ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
  •           ๕. ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
  •           ๖. ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
  •           ๗. ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
  •           ๘. ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
  •           ๙. อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
  •           ๑๐. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
  •           ๑๑. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด

         ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้

อำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้

  •           ๑. การร้องขอให้ศาลสั่งให้วิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถ และการร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ (ป.พ.พ. มาตรา ๒๘, ๓๑)
  •           ๒. การร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลซึ่งมีจิตฟั่นเฟือน หรือกายพิการฯ และไม่สามารถประกอบการงานของตนเอง เป็นคนเสมือน ไร้ความสามารถ และการร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งที่ได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและ     การร้องขอให้ศาล เพิกถอนคำสั่งที่ได้ สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ (ป.พ.พ. มาตรา ๓๒, ๓๖)
  •           ๓. การร้องขอให้ศาลสั่งการให้ทำพลางตามที่จำเป็น เพื่อจัดการทรัพย์สินของบุคคลที่ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ (ป.พ.พ. มาตรา ๔๘, ๕๙)
  •           ๔. การร้องขอให้ศาล สั่งตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไป จัดทำบัญชีทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ (ป.พ.พ. มาตรา ๕๐) หรือขอให้ศาลสั่งให้ ผู้จัดการทรัพย์สินหาประกัน หรือแจ้งรายการทรัพย์สิน หรือถอนผู้จัดการหรือผู้อื่นแทนต่อไป เมื่อมีเหตุอันควร (ป.พ.พ. มาตรา ๕๖)
  •           ๕. ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ที่ไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ ฯลฯ เป็นคนสาบสูญ (ป.พ.พ.มาตรา ๖๑) และร้องขอให้ศาลสั่งถอนคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ (ป.พ.พ. มาตรา ๖๓)
  •           ๖. ร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้จัดการชั่วคราว ในกรณีที่ผู้แทนของนิติบุคคลว่างลงและถ้าทิ้งตำแหน่งว่าง ไว้จะเกิดความเสียหาย (ป.พ.พ. มาตรา ๗๓)
  •           ๗. ร้องขอให้ศาล แต่งตั้งผู้แทนเฉพาะการ ในกรณีผู้จัดการนิติบุคคลมีประโยชน์ได้เสียหรือเป็นปฏิปักษ์กับนิติบุคคล (ป.พ.พ. มาตรา ๗๕)
  •           ๘. ดำเนินการในฐานะเป็นผู้จัดตั้งมูลนิธิต่อไปในกรณีที่ผู้ตั้งมูลนิธิตายเสียก่อนนายทะเบียนรับจดทะเบียนมูลนิธิ (ป.พ.พ. มาตรา ๑๑๗, ๑๑๘)
  •           ๙. ร้องขอให้ศาลสั่งถอดถอนกรรมการหรือคณะกรรมการมูลนิธิและแต่งตั้งคนใหม่แทนในกรณีที่กรรมการหรือคณะกรรมการจัดการผิดพลาดเสื่อมเสีย (ป.พ.พ. มาตรา ๑๒๙)
  •           ๑๐. ร้องขอให้ศาลสั่งเลิกมูลนิธิและแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี (ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๑)
  •           ๑๑. ร้องขอให้ศาลสั่งจัดการทรัพย์สินของมูลนิธิที่สิ้นสุดลงให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมีวัตถุประสงค์ใกล้ชิดกับวัตถุประสงค์เดิมของมูลนิธินั้น (ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๔)
  •           ๑๒. ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนบริษัทที่เลิกกันเพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลายโดยไม่มีผู้ชำระบัญชีตามข้อสัญญาหรือข้อบังคับของห้างหุ้นส่วนบริษัทนั้น (ป.พ.พ. มาตรา ๑๒๕๑)
  •           ๑๓. ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติของสมาคมที่ลงมติโดยฝ่าฝืนข้อบังคับหรือกฎหมาย (ป.พ.พ. มาตรา ๑๐๐)
  •           ๑๔. ขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีกรณีที่มีการเกิดสมาคมและไม่มีผู้ชำระบัญชี (ป.พ.พ. มาตรา ๑๐๖, ๑๒๕๑)
  •           ๑๕. ร้องขอให้ศาลตั้งผู้อื่นนอกจากสามีหรือภริยาเป็นผู้อภิบาลหรือผู้พิทักษ์กรณีที่มีเหตุสำคัญ(ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๖๓)
  •           ๑๖. ร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ (ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๙๖)
  •           ๑๗. ให้พนักงานอัยการดำเนินคดีแทนเด็กเมื่อศาลส่งคำร้องมาให้ในกรณีที่มีการฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร (ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๓๙)
  •           ๑๘. เด็กอาจร้องขอให้พนักงานอัยการยกคดีขึ้นว่ากล่าวปฏิเสธความเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๔๕)
  •           ๑๙. ร้องขอให้ศาลสั่งถอนอำนาจปกครอง (ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๘๒)
  •           ๒๐. ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครองและร้องขอให้พิสูจน์ว่าบุคคลที่ศาลตั้งให้เป็นผู้ปกครองเป็นผู้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๘๗ เพื่อให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ปกครองและมีคำสั่งเกี่ยวกับผู้ปกครองต่อไปตามที่เห็น สมควร (ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๘๘)
  •           ๒๑. ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ปกครองหาประกันอันสมควรในการจัดการทรัพย์สินหรือแถลงถึงความเป็นอยู่ของทรัพย์สินของผู้อยู่ในความปกครอง (ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๙๗)
  •           ๒๒. ร้องขอให้ศาลถอนผู้ปกครอง (ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๙๘/๘, ๑๕๙๘/๙)
  •           ๒๓. ต้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรมและเลิกรับบุตรบุญธรรม (ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๙๘/๒๑, ๑๕๙๘/๒๒)
  •           ๒๔. ฟ้องคดีแทนบุตรบุญธรรมเกี่ยวกับการขอเลิกรับบุตรบุญธรรม (ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๙๘/๓๕)
  •           ๒๕. ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ ในกรณีมีมรดกตกทอดแก่ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริต (ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๑๐)
  •          ๒๖. ร้องขอให้รัฐบาลให้อำนาจจัดตั้งมูลนิธิเมื่อพินัยกรรมกำหนดไว้ (ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๗๗)
  •          ๒๗. ร้องขอให้ศาลจัดสรรทรัพย์สินที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมให้จัดตั้งมูลนิธิให้แก่นิติบุคคลในเมื่อมูลนิธินั้นจัดตั้งขึ้นไม่ได้ตามวัตถุประสงค์ (ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๗๗)
  •          ๒๘. ร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกในกรณีที่เจ้ามรดกตายและทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไปหรืออยู่ นอกราชอาณาจักรหรือเป็นผู้เยาว์หรือผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถหรือไม่เต็มใจจะจัดการหรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกหรือในการจัดการหรือในการแบ่งปันทรัพย์มรดกหรือข้อกำหนดพินัยกรรมตั้งผู้จัดการมรดกไม่มีผลบังคับ (ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๑๓)
  •          ๒๙. เป็นโจทก์ฟ้องคดีที่กฎหมายห้ามมิให้ราษฎรฟ้อง เช่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา ๑๕๖๒ ห้ามมิให้ฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาแต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทร้องขอพนักงานอัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้
  •          ๓๐. ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้จัดการมรดกหาประกันอันสมควรในการจัดการทรัพย์สินของทายาท ตลอดจนการมอบคืนทรัพย์สินนั้น และแถลงถึงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์สินของทายาท (ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๓๐, ๑๕๗๙)
วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร

ลำดับที่ชื่อ- นาสกุลตั้งแต่ถึง
๑.นายอนันต์  ทองแตง๑ เม.ย. พ.ศ.๒๕๕๘๓๑ มี.ค. พ.ศ.๒๕๕๙
๒.นายทูนศักดิ์  ภิราญคำ๑ เม.ย. พ.ศ.๒๕๕๙๓๑ มี.ค. พ.ศ.๒๕๖๐
๓.นายนิทน  เกตุลุนสงค์๑ เม.ย. พ.ศ.๒๕๖๐๓๑ มี.ค. พ.ศ.๒๕๖๑
 ๔. นายประเสริฐ จรัญรัตนศรี๑ เม.ย. พ.ศ.๒๕๖๑๓๑ มี.ค. พ.ศ.๒๕๖๒
๕.นายสัมพันธ์ โภคบุตร๑ เม.ย. พ.ศ.๒๕๖๒๓๑ มี.ค. พ.ศ.๒๕๖๓
๖.นายอมรฤทธิ์ ผ่องศรีสุข๑ เม.ย. พ.ศ.๒๕๖๓๓๑ มี.ค. พ.ศ.๒๕๖๔
๗.   นายธเนศ ทองไทย    ๑ เม.ย. พ.ศ.๒๕๖๔  ๓๑ มี.ค. พ.ศ.๒๕๖๕
  ๘.  นายสราวุธ กนกฉันท์๑ เม.ย.พ.ศ.๒๕๖๕  ๓๑ มี.ค. พ.ศ.๒๕๖๖
๙.พันตำรวจโทเดชาชัย ณ ลำปาง๑ เม.ย. พ.ศ.๒๕๖๖๓๑ มี.ค. พ.ศ.๒๕๖๗
๑๐.นายวิชญะ พรมเกตุ๑ เม.ย. พ.ศ.๒๕๖๗ปัจจุบัน

สถิติคดี

ข้อมูลจำนวนปริมาณคดี

ลำดับประเภทสารบบคดีปริมาณคดีปี 2563 ปริมาณคดีปี 2564 ปริมาณคดีปี 2565ปริมาณคดีปี 2566
1ส.147 104 18248
2ส.221 19 5218
3ส.2ก63 63 5149
4ส.32 4 12
5ส.4 วาจา72 110 232149
6ส.4 (อาญา)41 106 17052
7ส.5 (แก้ต่าง) – –
8ส.6 – –
9ส.7 – –
10ส.12 – –
11ส.ฟื้นฟูฯ101 118 –
12คดีแพ่งจังหวัด1 2 81
13คดีแพ่งแขวง5 2 919
14แพ่ง (จัดการมรดก)60476670

เอกสารเผยแพร่

ประมวลกฎหมายยาเสพติดที่ต้องดำเนินคดีใน “ศาลแขวง” http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/A/073/T_0001.PDF

เอกสารที่ต้องนำมายื่นในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
1.  ทะเบียนบ้านของผู้ตาย
2.  ทะเบียนบ้านของผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
3.  ใบมรณบัตรของผู้ตาย
4.  ใบมรณบัตรของบิดามารดา  กรณีบิดามารดาของผู้ตาย  (เจ้ามรดก)  ถึงแก่ความตายก่อนแล้ว
5.  ทะเบียนสมรสของสามี  หรือ  ภรรยาของผู้ตาย
6.  ทะเบียนสมรส  และ / หรือ  ทะเบียนการหย่าของสามีภรรยาของผู้ตาย
7.  ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ   ชื่อสกุล  ของทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
8.  สูติบัตรของบุตรของผู้ตาย  กรณีบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ  หรือ  ไม่สามารถให้ความยินยอมได้
9.  บัตรประจำตัวข้าราชการ  บัตรประจำตัวประชาชน  ของผู้ร้องขอฯ
10. พินัยกรรมของผู้ตาย  (ถ้ามี)
11. หนังสือให้ความยินยอมในการร้องขอจัดการมรดก
12. บัญชีเครือญาติ

13. เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย  เช่น  โฉนดที่ดินและสัญญาจำนองทะเบียนรถจักรยานยนต์  ทะเบียนรถยนต์   อาวุธปืน   สมุดเงินฝากธนาคาร   ใบหุ้น    และอื่น  ๆ  เป็นต้น
14. บัตรประจำตัวข้าราชการ  หรือ  บัตรประจำตัวประชาชน  และ  ทะเบียนบ้านของผู้ให้ความยินยอมทุกคน

หมายเหตุ         จัดเตรียมสำเนาเอกสารทุกรายการพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง  จำนวน  4  ชุด

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงนครไทย
ที่ตั้ง ๔๐๔ หมู่ ๑๔ ตำบลเนินเพิ่ม
อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ๖๕๑๒๐
โทร.๐๕๕-๓๖๓๐๘๘ , โทรสาร.๐๕๕-๓๖๓๐๘๙
email: nakhonthai@ago.go.th