ข่าวประชาสัมพันธ์

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์
 รับปรึกษากฎหมายฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย เปิดให้บริการวันจันทร์ – วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 น. – 16.30 น. และทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30   โทร 056 – 741274

ติดต่อทาง Facebook  สคช.เพชรบูรณ์

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์ รับนโยบายการบริหารงานของอัยการสูงสุด “PUBLIC TRUST”

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการปฎิบัติงานร่วมกันในการคุ้มครองสิทธิิและให้การช่วยเหลือทางกฎหมายเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว ระหว่างศูนย์พึ่งได้ OSCC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ กับศูนย์การคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และสถาบันครอบครัวจังหวัดเพชรบูรณ์ วันพุธที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ณ สำนักงานอัยการจังหวัดเพชรบูรณ์

โครงการฝึกอบรมหลักสูตรความรู้กฎหมายทั่วไป ณ ค่ายทหารพ่อขุนผาเมือง มณฑลทหารบกที่ ๓๖ ตำบลสะเดียง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ วันพฤหัสบดีที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗

วันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๗ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระกุศลและพิธีถวายพระพรเนื่องในโดอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตน์ราชกัญญา ณ วัดมหาธาตุ พระอารามหลวง จังหวัดพชรบูรณ์

วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๖ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๖ ณ ศาลากลางเพชรบูรณ์

ันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์ ออกเยี่ยมและให้กำลังใจแรงงานในจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่กลับมาจากประเทศอิสราเอล ในพื้นที่ ตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๓๐ น. นายกฤษณ์ คงเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมด้วย ตุลาการ อัยการ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ สมาคม ชมรม ร่วมประกอบพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ประจำปี ๒๕๖๖ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๖ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระองค์ ณ บริเวณหน้าบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ศูนย์ราชการจังหวัดเพชรบูรณ์

วันศุกร์ที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๖ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์เข้าร่วมกิจกรรม พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และพิธีวางพวงมาลา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันนวมินทรมหาราช

วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๖ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณเข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day)

วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๖ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์เข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวงเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๖

วันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๖๖ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์เข้าร่วมกิจกรรมวันรพี ประจำปี ๒๕๖๖ เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระบริมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์) พระบิดาแห่งกฎหมายไทย ณ ศาลจังหวัดเพชรบูรณ์

วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์เข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ในวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖

วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๖ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์ และบุคลากรในสำนักงานได้เข้าร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน ร่วมกับสำนักงานอัยการจังหวัดเพชรบูรณ์ เนื่องในวันเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖

วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์ จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรความรู้กฎหมายทั่วไป ณ หอประชุมโรงเรียนวิทยานุกูลนารี ตำบลสะเดียง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.

วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๖ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์ จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทระดับผู้นำชุมชน ของตำบลดงมูลเหล็ก ตำบลห้วยใหญ่ และตำบลบ้านโคก ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลดงมูลเหล็ก ตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมกิจกรรมกับสำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๓ มิถุนายน ๒๕๖๖ และกิจกรรมพิธีถวายราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดเพชรบูรณ์

วันที่ 3 พฤษภาคม 2566 เวลา 6.30 น. จัดพิธีการและกิจกรรมการจัดงานเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 100 ปี วันประสูติสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลววงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ พุทธอุทยานเพชรบุระ ตำบลสะเดียง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

วันที่ 6 เมษายน 2566 เวลา 09.00 น. ที่หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ นายกฤษณ์ คงเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานในพิธี “วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์” โดยมี ข้าราชการ ตุลาการ อัยการ ทหาร ตำรวจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกเหล่ากาชาด สมาคม ชมรม ประชาชนจิตอาสา ร่วมประกอบพิธีโดยพิธีเริ่มจากพิธีสงฆ์ เป็นประธานในพิธีได้วางพานพุ่ม จุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย กล่าวคำถวายอาศิรวาทราชสดุดี ต่อหน้าพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์บรมราชจักรีวงศ์

วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรณ์ ได้ออกหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้กับประชาชน ณ วัดธรรมรัตนาราม หมู่ ๓ ตำบลบ้านกล้วย อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์

วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรณ์ ได้ออกเผยแพร่ให้ความรู้ทางด้านกฎหมาย ณ โรงเรียนเพชรพิทยาคม ตำบลสะเดียง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ สำนักงานผู้ตรวจการอัยการ (นายสุรจิต พัฒนสาร) ได้ออกตรวจราชการ ณ สำนักงานอัยการจังหวัดเพชรบูรณ์ และสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเลือทางกฎหมายและการบังคับคดีคดีจังหวัดเพชรณ์

วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเลือทางกฎหมาย ภาค ๖ ออกตรวจราชการ ณ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรณ์ และได้เดินทาง ไปเยี่ยมศูนย์ช่วยเหลือและคุ้มครองสิทธิฯ ณ เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเลือทางกฎหมาย ภาค ๖ ออกตรวจราชการ ณ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรณ์

วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๖ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรณ์ได้ออกเยี่ยมศูนย์ช่วยเหลือและคุ้มครองสิทธิฯ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลสะเดียง ตำบลสะเดียง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๖ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรณ์ได้ออกเยี่ยมศูนย์ช่วยเหลือและคุ้มครองสิทธิฯ ณ เทศบาลท่าพล ตำบลท่าพล อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๖ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรณ์ได้ออกเยี่ยมศูนย์ช่วยเหลือและคุ้มครองสิทธิฯ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโตก ตำบลบ้านโตก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๖ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรณ์ได้ออกเยี่ยมศูนย์ช่วยเหลือและคุ้มครองสิทธิฯ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสะแก ตำบลห้วยสะแก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

สำนักงานคดีแรงงานภาค ๖ ได้ออกตรวจราชการ  สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์ ณ สำนักงานอัยการจังหวัดเพชรบูรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖ (ครั้งที่ ๑) ในวันจันทร์ที่ ๒๓  มกราคม  ๒๕๖๖  ณ  ห้องประชุมสำนักงานอัยการจังหวัดเพชรบูรณ์ 

วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๖ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์และ สาขาหล่มสักได้ร่วมกิจกรรมที่ องค์การบริหารส่วนตำบลเข็กน้อย โครงการ อบต.เข็กน้อย พบประชาชน โครงการจังหวัดเคลื่อนที่ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลเข็กน้อย

วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา 14.00 น สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ดำเนินการเปิดศูนย์คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ณ เทศบาลวังโป่ง อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ และออกเยี่ยมศูนย์ไปพร้อมกัน

วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๖ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ออกเผยแพร่โครงการอบรมความรู้ทั่วไปทางกฎหมายและกฎหมายการคุ้มครองสิทธิประชาชนเกี่ยวกับเอดส์ ณ โรงเรียนวังโป่งศึกษา ตำบลวังโป่ง อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมกิจกรรมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ และเจริญพระพุทธมนต์ ถวายพระพรชัยมงคลฯ ในวันอังคารที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๖ ณ พุทธอุทยานเพชบุระ ตำบลสะเดียง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมกิจกรรมกับสำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์ โครงการบรรพชาอุปสมบท ๙๙ รูป ถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ในวันจันทร์ที่ ๙ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๓๐ น. ณ วัดมหาธาตุพระอารามหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ และวัดที่เป็นศูนย์กลาง

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมกิจกรรมกับสำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์ โครงการบรรพชาอุปสมบท ๙๙ รูป ถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ระหว่างวันที่ ๙ -๒๓ มกราคม ๒๕๖๕

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมกิจกรรมทำบุญร่วมกับสำนักงานอัยการจังหวัดเพชรบูรณ์ วันที่ 28 ธันวาคม 2565 เวลา 09.00 น. ทำบุญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนาเพื่อถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมกิจกรรม วันที่ 25 ธันวาคม 2565 เวลา 18.00 น. ร่วมกิจกรรมกับ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานฝ่ายฆราวาสในพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนาเพื่อถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา โดยมีหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด (ศาล อัยการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน) ร่วมพิธี ณ ศาลาการเปรียญ วัดมหาธาตุ พระอารามหลวง

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมกิจกรรม วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม 2565 เวลา 18.00 น.  จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และเจริญจิตตภาวนา ถวายพระพรแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา โดยพระครูศรีพัชราทร เป็นประธานสงฆ์ พร้อมพระสงฆ์สามเณร มีนายชนก มากพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานฆราวาส พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมพิธี ณ พระอุโบสถ วัดมหาธาตุพระอารามหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ 

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมประกอบกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบามสมเด็จจพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ณ ศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์ร่วมประกอบกิจกรรมน้อมรำลึก ในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ ศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๕

วันที่ 15 กันยายน 2565 สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ออกเผยแพร่โครงการอบรมความรู้เกี่ยวกับศูนย์ประสานงานอัยการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และสถาบันครอบครัว ประจำตำบลในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ ตำบลสะเดียง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๕ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ ได้ออกเผยแพร่โครงการอบรมความรู้ทั่วไปทางกฎหมายและกฎหมายการคุ้มครองสิทธิประชาชนเกี่ยวกับเอดส์ ณ โรงเรียนชนแดนวิทยาคม ตำบลชนแดน อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์

กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕

กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2565

วันที่ 26 กรกฎาคม ๒๕๖๕ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์ร่วมกับสำนักงานอัยการจังหวัดเพชรบูรณ์และสำนักงานคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมประกอบกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2565

วันที่ 19 กรกฎาคม 2565 ท่านรองอธิบดีสมพงศ์ เย็นแก้ว เป็นประธานมอบป้ายเปิดศูนย์ประสานงานอัยการคุ้มครองสิทธิเด็กเยาวชน และสถาบันครอบครัว   ประจำตำบล ณ หอประชุมเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

กิจกรรมเปิดและมอบป้ายศูนย์ประสานงานอัยการคุ้มครองสิทธิเด็กเยาวชน และสถาบันครอบครัว   ประจำตำบล

ณ เทศบาลตำบล ท่าพล วันที่ 8 กรกฎาคม ๒๕๖๕

กิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ ประจำปี 2565

มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือนจังหวัดเพชรบูรณ์ อัยการพบประชาชน ณ หอประชุมประกายเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ วันที่ 18 มิถุนายน 2565

วันที่ 16 มิถุนายน ๒๕๖๕ งานแถลงข่าว โคงการ มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือนจังหวัดเพชรบูรณ์ ณ สำนักงานยุติธรมมจังหวัดเพชรบูรณ์


วันที่  ๑๒  มกราคม  ๒๕๖๕ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์ จัดโคงการฝึกอบรม  หลักสูตรกระบวนการไกล่เกลี่ยประนอม
และระงับข้อพิพาทระดับผู้นำชุมชน  ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ณ  เทศบาลตำบลท่าพล ระหว่างเวลา  ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐  น.


กิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลย เดชมหาราช บรมนาถบพิตร  วันชาติ  และวันพ่อแห่งชาติ  ๕  ธันวาคม   ๒๕๖๔  


เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์ ชื่อเดิม ชื่อว่า สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการจังหวัดเพชรบูรณ์ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ได้แยก เป็นสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์

อำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์การคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน

    ได้แก่ การคุ้มครองสิทธิและรักษาผลประโยชน์ของประชาชนที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจของพนักงานอัยการ เช่น ในคดีแพ่งให้พนักงานอัยการเข้าไปคุ้มครองสิทธิของบุคคลไร้ความสามารถคนสาบสูญการร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกนอกจากนั้นยังดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางอรรถคดีแก่ประชาชนผู้ยากไร้โดยจัดทนายอาสาให้ ตลอดทั้งการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนทั่ว

แนวทางการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย
    บุคคลที่มีสิทธิขอรับความช่วยเหลือ ได้แก่ บุคคลที่ถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของตนตามกฎหมายแพ่ง หรือผู้ที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล เพื่อขอความรับรอง คุ้มครองบังคับตามสิทธิของ ตนที่มีอยู่ หรือจะกระทำการ หรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ขออนุญาต หรือให้ศาลแสดงหรือรับรองสิทธิของตนเสียก่อน เช่น ขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก ขอให้ศาลตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ เป็นต้น  
คดีที่พนักงานอัยการให้ความช่วยเหลือได้
๑. ร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก
๒.ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับ บุตรบุญธรรม  การเลิกรับบุตรบุญธรรม
๓.ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ และร้องขอให้ศาลถอนผู้ปกครอง
๔.ร้องขอให้ศาลสั่งถอนอำนาจปกครอง
๕.ร้องขอให้ศาลสั่งให้คนวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถและการร้องขอให้ศาลเพิกถอน คำสั่งที่สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
๖. ร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลซึ่งมีจิตฟั่นเฟือน หรือกายพิการและไม่สามารถประกอบการ งานของตนเองเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและการร้องขอให้ศาล เพิกถอนคำสั่งที่   สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
๗.ร้องขอให้ศาลสั่งให้ทำพลางตามที่จำเป็น เพื่อจัดการทรัพย์สินของบุคคลที่ไปจาก   ภูมิลำเนาถิ่นที่อยู่
๘.ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ที่ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ เป็นคนสาปสูญ
๙. ร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ
๑๐.เป็นโจทก์ฟ้องคดีที่กฎหมายห้ามมิให้ราษฎรฟ้อง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๑๕๖๒ ห้ามมิให้ฟ้องผู้บุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา
   แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทร้องขอพนักงานอัยการ
๑๑.นิติกรรมสัญญา
๑๒.ไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทแก่ประชาชนทั่วไป

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

ตราสัญลักษณ์

สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน มีชื่อย่อว่า สคช. ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๒๕ ในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด ตามคำสั่งของกรมอัยการที่ ๑๗๔/๒๕๒๕ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๒๕

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ผลประโยชน์และให้ความช่วยเหลือประชาชน ทางด้านกฎหมาย ต่อมาเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๒๖ คณะรัฐมนตรีได้มีมติโอนโครงการให้ความช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนในชนบทเขตยากจน ซึ่งขณะนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักนโยบายและแผน มหาดไทย มาให้สำนักงานอัยการสูงสุดรับผิดชอบดำเนินงานสืบมา ในวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๒๗ คณะรัฐมนตรีได้มีมติโอนงานช่วยเหลือทางกฎหมายแก่เกษตรกร และผู้ยากจน ซึ่งขณะนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมาให้ สคช. สำนัก งานอัยการสูงสุด รับผิดชอบดำเนินการิธีดำเนินการ ได้ดำเนินการตามแนวนโยบายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การพิจารณาพื้นที่เป้าหมายดำเนินงาน โดยนำเอาปัญหาที่แท้จริงของคนในท้องถิ่นที่แตกต่างกันไปในแต่ ละภูมิภาคและแต่ละพื้นที่เป็นตัวกำหนดพื้นที่ปฏิบัติการ โดยสำนักงานอัยการสูงสุดได้มีคำสั่งจัดตั้งสำนัก งานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนประจำจังหวัดขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศ เป็นการ ให้บริการฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายยกเว้นค่าธรรมเนียมในชั้นศาลที่ต้องเสียตามกฎหมาย

ภาระกิจและหน้าที่

ภาระหน้าที่และการขอรับความช่วยเหลือ สคช.
          สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) เป็นส่วนราชการในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด  มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน  ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและความรูทางกฎหมายแก่ประชาชน  มีอธิบดีอัยการฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมายเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน
           ในกรุงเทพมหานคร (ส่วนกลาง)  มีหน่วยงานที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบที่เป็นสำนักงานอัยการพิเศษฝ่าย  5  ผ่าน  ได้แก่
           1.  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย
           2.  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิ
           3.  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย 1 (รัชดาภิเษก)
           4.  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย 2 (หลักเมือง)
           5.  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย 3 (ธนบุรี)
           นอกจากนั้นยังมีสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนประจำศาลจังหวัดมีนบุรีอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย 1 (รัชดาภิเษก) อีกดวย
           สำหรับในต่างจังหวัด (ส่วนภูมิภาค)  มีสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนจังหวัดทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร   เรียกชื่อย่อๆ ว่า “สคช. จังหวัด”  โดย  สคช. จังหวัด  เป็นส่วนราชการหนึ่งของสำนักงานอัยการจังหวัด

           หลักเกณฑ์และวิธีการที่ประชาชนจะช่วยเหลือการขอรับความชวยเหลือ          

1. บุคคลที่มีสิทธิขอรับความช่วยเหลือ ได้แก่ 
           บุคคลที่ถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของตนตามกฎหมายแพ่งหรือผู้ที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อขอรับความรับรองคุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิที่ตนเองมีอยู่หรือจะกระทำการหรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ขออนุญาต หรือให้ศาลแสดงหรือรับรองสิทธิของตนเสียก่อน  เช่น  ขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก ขอให้ศาลตั้งผู้ปกครอง ขอให้ศาล สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ เป็นต้น 
           2.คดีที่สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายจะให้ความช่วยเหลือได้ได้แก่ คดีที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ เช่น 
              2.1  ร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก 
              2.2  ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรมการเลิกรับ บุตรบุญธรรม 
              2.3  ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ และร้องขอให้ศาลถอนผู้ปกครอง 
              2.4  ร้องขอให้ศาลถอนอำนาจปกครอง 
              2.5  ร้องขอให้ศาลสั่งให้คนวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถและร้องขอต่อศาล เพื่อให้เพิกถอนคำสั่งที่สั่งให้เป็นคน
                     ไร้ความ สามารถดังกล่าว 
              2.6  ร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลซึ่งมีจิตฟั่นเฟือนหรือกายพิการและไม่สามารถ ประกอบการงานของตนเองได้เป็นคน
                     เสมือนไร้ความสามารถและร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งที่สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ 
              2.7  ร้องขอให้ศาลสั่งให้ทำไปพลางตามที่จำเป็นเพื่อจัดการทรัพย์สินของบุคคลที่ ไปจากภูมิลำเนาถิ่นที่อยู่ 
              2.8  ร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ 
              2.9  ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ที่ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นคนสาบสูญ 
              2.10เป็นโจทก์ฟ้องคดีที่กฎหมายห้ามมิให้ราษฎรฟ้อง เช่น ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและาณิชย์ มาตรา  ๑๕๖๒  ห้ามมิให้ ฟ้องผู้บุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา แต่เมื่อเมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทร้องขออัยการจะยกขึ้นว่ากล่าวก็ได้
           3.สถานที่ที่จะขอรับความช่วยเหลือ
           ผู้ร้องขอความช่วยเหลือจะขอรับความช่วยเหลือได้จากที่สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนในเขตท้องที่ที่มีภูมิลำเนาอยู่
           4.ขั้นตอนการขอรับความช่วยเหลือจากสำนักงานคุ้มครองและช่วยเหลือทางกฎหมาย
           ผู้ร้องขอความช่วยเหลือต้องไปแจ้งความประสงค์ต่อพนักงานอัยการ หรือนิติกรประจำสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน  ว่าจะขอรับความช่วยเหลือเกี่ยวกับเรื่องอะไร  เพื่อเขียนคำร้อง  และรวบรวมหลักฐานเอกสารต่างๆ  ตลอดจนสอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับเรื่องที่ผู้ร้องขอความช่วยเหลือนั้น  เพื่อตรวจสอบดูว่าเรื่องที่ผู้ร้องมาขอความช่วยเหลือนั้นเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ที่สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายฯ  หรือไม่  หากเห็นว่าเป็นเรื่องที่จะให้ความช่วยเหลือได้  ก็จะดำเนินการให้ความช่วยเหลือต่อไป

           5.ข้อปฏิบัติในการติดต่อขอรับความช่วยเหลือ       
–  ผู้รองขอความช่วยเหลือต้องติดต่อยื่นคำร้องขอด้วยตนเองห้ามมิให้ร้องแทนกัน  เว้นแต่กรณีจำเป็นหรือเป็นการเร่งด่วน
              –  แจ้งความประสงค์หรือเรื่องที่ขอรับความช่วยเหลือต่อผู้รับคำร้อง
              –  ผู้ร้องจะต้องแจ้งรายละเอียดข้อเท็จจริงตามความเป็นจริงให้นิติกร  หรือเจ้าหน้าที่บันทึกไว้
              –  สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน  จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามระเบียบ  และตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่เท่านั้น

           6.เอกสารที่จำเป็นในการติดต่อ
              –  บัตรประจำตัวประชาชน  หรือบัตรข้าราชการ
              –  สำเนาทะเบียนบ้าน
              –  เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเรื่องที่ขอความช่วยเหลือ  เช่น  ขอเป็นผู้จัดการมรดก  ต้องมีใบมรณบัตรของเจ้ามรดก  หลักฐานต่างๆ  ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของเจ้ามรดก  เช่น  โฉนดที่ดิน  หนังสือรับรองการทำประโยชน์ทะเบียนรถยนต์  สมุดเงินฝากในธนาคาร  ทะเบียนสมรสของเจ้ามรดก (ถ้ามี)  เป็นต้น

           7.ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
           ค่าฤชาธรรมเนียมตามกฎหมายและค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆ  ในการดำเนินคดี  เช่น  ค่าถ่ายเอกสาร  ค่าคัดสำเนาทะเบียนราษฎร์  เป็นต้น  ผู้ร้องขอความช่วยเหลือต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายเหล่านั้นเอง  แต่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าทนายความ

อำนาจหน้าที่ของ  สคช.

           ข้อ 17  เรื่องใด  หรือคดีใด  เมื่อหัวหน้าพนักงานอัยการ สคช. กลาง  พิจารณาแล้วเห็นว่าหากให้ สคช.จังหวัด  หรือ  สคช. สาขา  ดำนเนินการสอบข้อเท็จจริง  หรือดำเนินคดีหรือดำเนินการประการอื่นจะสะดวก  และรวดเร็วกว่าก็ให้ส่งเรื่อง  หรือคดีนั้นๆ  ให้สคช.จังหวัด  หรือ  สคช.สาขาดำเนินการได้  ในทางกลับกัน สคช.จังหวัด หรือสคช.สาขา  อาจส่งเรื่องหรือคดีใดไปให้ สคช.กลาง  สคช.จังหวัด  หรือ สคช.สาขา  อื่นดำเนินการก็ได้  หากเห็นว่าการดำเนินการจะสะดวกและรวดเร็วกว่า

           ข้อ 18  ให้ สคช.กลาง  สคช.จังหวัด  และสคช.สาขา  แต่ละแห่งมีอำนาจกำหนดวิธีการปฏิบัติเพื่อให้การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนเกิดการประสานงานที่ดี  มีความคล่องตัวสะดวกรวดเร็วเกื้อกูล  และสนับสนุนการปฏิบัติงานของทนายความอาสา  ตลอดจนเพื่อประโยชน์ในการดูแลติดตามประเมินผลโดยไม่ขัดต่อระเบียบนี้

เรื่องที่มิให้รับดำเนินการ

           ข้อ 19  คำขอความช่วยเหลือดังต่อไปนี้  ห้ามมิให้รับไว้ดำเนินการ
                     (1)  เรื่องที่รัฐมนตรี  คณะรัฐมนตรี  หรือนายกรัฐมนตรี  ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีมติ  หรือคำสั่งเด็ดขาดในเรื่องนั้นแล้ว
                     (2)  เรื่องที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานใดโดยเฉพาะเป็นผู้ช่วยเหลือ  และเรื่องอยู่ในระหว่างดำเนินการของหน่วยงานนั้นๆ
                     (3)  เรื่องอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย  หรือหัวหน้าพนักงานอัยการเคยได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่อาจให้ความช่วยเหลือได้  และได้สั่่งยุติการช่วยเหลือแล้ว  เว้นแต่  ในกรณีที่มีพยานหลักฐานใหม่อันจะทำให้ผลของการดำเนินการให้ความช่วยเหลือเปลี่ยนไป
                    (4)  เรื่องที่คุ่กรณีเคยประนีประนอมยอมความกันโดยชอบด้วยกำหมาย  เว้นแต่ผู้มีส่วนได้เสียขอให้แก้ไข  หรือคัดค้านการประนีประนอมยอมความเดิม  โดยมีหลักฐานหรือข้อเท็จจริงเพิ่มเติมที่ปรากฏชัดในภายหลัง  และการให้ความช่วยเหลือจะไม่เป็นการกระทบกระเทือนสิทธิ  หรือประโยชน์ของบุคคลภายนอก  ผู้ทำการ  โดยสุจริต  และเสียค่าตอบแทน
                     (5)  เรื่องคดีเกี่ยวกับคดี  ซึ่่งผู้ขอความช่วยเหลือได้เคยว่าจ้างทนายความ  หรือมีทนายความ  หรือมีหน่วยงานอื่นให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายอยู่แล้ว
                     (6)  เรื่องที่เป็นคดี  หรือข้อพิพาทอันเกี่ยวกับการดำเนินการ  หรือการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ  หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายหรือระเบียบแบบแผนกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน  หรือเจ้าหน้าที่นั้นๆ  เว้นแต่กรณีที่อัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย  หรือหัวหน้าพนักงานอัยการพิจารณาให้รับไว้ดำเนินการเป็นเรื่องๆ  ไป

การให้คำปรึกษาหารือ

           ข้อ 20  การให้คำปรึกษาหารือทางกฎหมาย  เป็นการให้บริการแก่ประชาชนโดยเสมอภาคกันโดยไม่คำนึงฐานะ  รายได้  และจะต้องให้คำปรึกษาไปในทางที่ถูกที่ควรตามทำนองคลองธรรม  ไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น  และไม่ฝ่าฝืน  หรือหลีกเลี่ยงกฎหมาย
           ก่อนให้คำปรึกษา  ผู้ให้คำปรึกษาต้องฟังข้อเท็จจริงให้ถ่องแท้เสียก่อนและให้ปรึกษาหารือกับหัวหน้าพนักงานาอัยการ  พนักงานอัยการ  หรือทนายความอาสาอาวุโส  ที่หัวหน้าพนักงานอัยการมอบหมาย  ทั้งนี้  เพื่อให้คำปรึกษานั้นไปด้วยความถูกต้องและยุติธรรม
           เมื่อผู้ให้คำปรึกษาไห้คำปรึกษาที่ถูกต้องตามวรรคสองแล้ว  ก็ให้คำปรึกษาแก่ผู้ขอความช่วยเหลือตามคำปรึกษานั้น  และให้บันทึกคำปรึกษานั้นไว้เป็นหลักฐานตามแบบที่กรมอัยการกำหนดดังกล่าวด้วย  และให้ผู้ขอความช่วยเหลือลงลายมือชื่อรับทราบ  แล้วให้เสนอต่อหัวหน้าพนักงานอัยการเพื่อทราบด้วย
           ข้อ  21  ในกรณีที่ผู้ให้คำปรึกษา  ทนายความอาวุโส  พนักงานอัยการ  หรือหัวหน้าพนักงานอัยการ  เห็นว่าเรื่องที่จะให้คำปรึกษานั้นเป็นเรื่องสำคัญ  หรือยุ่งยาก  จำเป็นต้องใช้เวลาพิจารณาข้อกฎหมายต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องไม่สามารถให้คำปรึกษาได้ทันที  ก็ให้ผู้ให้คำปรึกษาบันทึก  สรุปข้อเท็จจริง  และข้อกฎหมายพร้อมทำความเห็นเสนอหัวหน้าพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาสั่ง
           เมื่อหัวหน้าพนักงานอัยการมีความเห็นประการใดแล้ว  ให้ผู้ให้คำปรึกษาทำหนังสือนัดให้ผู้ขอความช่วยเหลือมารับทราบ  โดยให้ลงลายมือชื่อรับทราบไว้เป็นหลักฐานแล้วเสนอให้หัวหน้าพนักงานอัยการทราบด้วย

การจัดทำนิติกรรมและสัญญา

           ข้อ  22  การให้ความช่วยเหลือในการจัดทำนิติกรรม  หรือสัญญา  จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือเฉพาะประชาชนที่ยากจนเท่านั้น  โดยให้จัดทำไปตามประสงค์ของผู้ขอ  แต่ทั้งนี้ต้องไม่ฝ่าฝืนกฎหมาย  และไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
           ให้ผู้ร่างนิติกรรมสัญญาเสนอร่างดังกล่าวต่อหัวหน้าพนักงานอัยการ  เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนที่จะมอบให้ผู้ขอรับความช่วยเหลือนำไปใช้  และให้เก็บสำเนานิติกรรมสัญญาไว้อย่างน้อย  1  ชุด

การประนอมข้อพิพาท

           ข้อ  23  “ข้อพิพาท”  หมายถึง  ข้อพิพาทเกี่ยวกับความแพ่ง  หรือความอาญาซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้
           ข้อ  24  การให้ความช่วยเหลือในการประนอมข้อพิพาท  ให้กระทำโดยไม่คำนึงถึงฐานะ  รายได้  ของผู้ขอความช่วยเหลือเพื่อยุติข้อพิพาทอันจะมีผลให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม
           การประนอมข้อพิพาทให้กระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าคู่กรณี
           ข้อ  25  ในการประนอมข้อพิพาทให้ผู้ทำหน้าที่ประนอมข้อพิพาทคู่กรณีมาเพื่อสอบถามความประสงค์ว่าจะยินยอมให้พนักงานอัยการ  หรือทนายความอาสา  ทำการประนอมข้อพิพาทหรือไม่
           ในกรณีที่คู่กรณีไม่ยินยอมให้ทำการประนอมข้อพิพาท  ให้จดแจ้งเหตุผลนั้นไว้แล้วให้คู่กรณีลงลายมือชื่อรับทราบด้วย
           ข้อ  26  เมื่อคู่กรณียินยอมให้พนักงานอัยการ  หรือทนายความอาสาทำการประนอมข้อพิพาทก็ให้ผู้ทำการประนอมข้อพิพาทแจ้งสิทธิหน้าที่  และพันธะทางกฎหมาย  อันเป็นผลจากการประนอมข้อพิพาทให้คู่กรณีทราบโดยละเอียดแจ้งชัด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลของคดีอาญาในความผิดอันยอมความได้
           ข้อ  27  ในการประนอมข้อพิพาท  ให้ผู้ทำหน้าที่ประนอมข้อพิพาทเชิญคู่กรณีบุคคลที่เกี่่ยวข้องมาสอบข้อเท็จจริง  รวมทั้งตรวจสอบเอกสาร  วัตถุ  หรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องโดยความยินยอมของเจ้าของหรือผู้ครอบครอง
           ข้อ  28  เมื่อคู่กรณีตกลงกันได้  ก็ให้ผู้ทำหน้าที่ประนอมข้อพิพาทจัดทำร่างสัญญาประนีประนอมยอมความ  ความแพ่งหรือความอาญา  โดยให้คู่กรณีหรืออ่านให้ฟังจนเข้าใจข้อความที่ตกลงกันได้โดยตลอดแล้ว  ให้เสนอหัวหน้าพนักงานอัยการ  เพื่อพิจารณาตรวจร่างและเมื่อได้จัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่หัวหน้าพนักงานอัยการได้ตรวจร่างเสร็จแล้วก็ให้อ่านให้คู่กรณีทราบ  และให้คู่กรณีลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน  และให้ผู้ทำหน้าที่ประนอมข้อพิพาทลงลายมือชื่อในฐานะผู้ทำการประนอมข้อพิพาทไว้ด้วย
           สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว  ให้จัดำทำขึ้นให้เพียงพอต่อจำนวนคู่กรณีโดยมีข้อความถูกต้องตรงกันทุกฉบับ  แล้วมอบให้คู่กรณียึดถือไว้ฝ่ายละ 1 ฉบับ  และอีกฉบับหนึ่งให้เก็บไว้ที่ สคช. ที่ทำการประนอมข้อพิพาท  แล้วรายงานให้หัวหน้าพนักงานอัยการทราบด้วย
           ข้อ  29  ในกรณีที่ระเบียบนี้มิได้กำหนดไว้  ให้นำข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการปฏิบัติงานประนอมข้อพิพาทของคณะกรรมการหมู่บ้าน พ.ศ. 2530 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

การให้ความช่วยเหลือในทางอรรถคดี

           ข้อ  30  การให้ความช่วยเหลือในทางอรรถคดี  ให้พิจารณาให้ความช่วยเหลือในกรณีต่อไปนี้
                      (1)  ในทางคดีอาญาให้พิจารณารับว่าต่าง  แก้ต่างได้เฉพาะคดีที่เป็นความผิดอันยอมความได้และผู้เสียหายหรือผู้ขอความช่วยเหลือยังมิได้ร้องทุกข์  หรือมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามกฎหมายและถ้าผู้ขอความช่วยเหลือเป็นผู้ต้องหา  หรือจำเลยในคดีที่จะมาขอความช่วยเหลือจะต้องปรากฏว่า  ผู้ขอไม่เป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีที่พนักงานอัยการเป็นผู้สั่งคดี  หรือเป็นโจทก์  และต้องปรากฏว่าผู้ขอความช่วยเหลือเป็นผู้ยากจนประกอบกับมีหลักฐานเพียงพอว่าผู้ขอไม่ได้รับความเป็นธรรม  สมควรได้รับความช่วยเหลือ
                     (2)  ในทางคดีแพ่ง  และอื่นๆ  ให้พิจารณารับว่าต่าง  แก้ต่าง  ให้เฉพาะผู้ยากจนซึ่งได้รับความเดือดร้อน  หรือเสียหาย  เนื่องจากไม่ได้รับความเป็นธรรม  หรือเป็นคดีมีเหตุอันสมควรให้ความช่วยเหลือ
           ข้อ  31  การให้ความช่วยเหลือทางอรรถคดี  ถ้าเป็นเรื่องหรือคดีที่รับจากสำนักงานกลางช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี  ให้หัวหน้าพนักงานอัยการจ่ายสำนวนให้แก่  ทนายความอาสาอาวุโสดำเนินการ  โดยจะให้ทนายความอาสาร่วมดำเนินการด้วยก็ได้  กรณีอื่นๆ  ให้พิจารณาจ่ายสำนวนแก่ทนายความอาสาอาวุโส  หรือทนายความอาสาตามความเหมาะสม  และตามความยากง่ายของรูปคดี
           ข้อ  32  เมื่อได้รับสำนวนตาม ข้อ 31 ให้ทนายความอาสารีบดำเนินการให้เสร็จโดยเร็ว  เพื่อมิให้เกิดความเสียหายต่อคดี
           ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการได้เสร็จภายในวันสิ้นเดือนของเดือนที่ได้รับสำนวนหรือคดีที่อยู่ในระหว่างดำเนินการไม่ว่าขั้นตอนใด  ให้ทนายความอาสารายงานผลสำนวนระหว่างดำเนินการ  ภายในวันที่ 4 ของเดือนถัดไป  จนกว่าคดีจะเสร็จตามแบบที่ สคช. กลางกำหนด  ทั้งนี้ให้หัวหน้าพนักงานอัยการมอบหมายให้พนักงานอัยการ  นิติกร  หรือเจ้าหน้าที่คอยประสานงาน  และติดตามผลทุกระยะ
           ข้อ  33  ให้ทนายความอาสาพึงระมัดระวังมิให้คดีของผู้ขอความช่วยเหลือเกิดความเสื่อมเสียซึ่งสิทธิหรือประโยชน์  หรือเกิดความเสียหาย
           ข่อ  34  ทนายความอาสาผู้ดำเนินคดีจะต้องเสนอหนังสือแจ้งผลคดีต่อหัวหน้าพนักงานอัยการ  เพื่อลงนามแจ้งตัวความทราบโดยเร็ว  อย่างช้าไม่เกิน 10 วัน  นับตั้งแต่วันที่ศาลอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง  หากคดีใดคัดคำพิพากษาหรือคำสั่งยังไม่ได้  ให้แจ้งผลคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่าที่มีอยู่ไปให้ตัวความพิจารณาก่อน  โดยให้รายละเอียดเท่าที่จะทำได้
           ข้อ  35  กรณีที่ศาลชั้นต้น  หรือศาลอุทธรณ์พิพากษา  หรือสั่งให้คดีที่ทนายความอาสาว่าต่างชนะคดีเต็มตามฟ้อง  หรือเต็มตามคำร้องขอ  หรือกรณีคดีที่ทนายความอาศาแก้ต่างศาลชั้นต้น  หรือศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง  หรือยกคำร้องและรูปคดีไม่มีประเด็นที่จะอุทธรณ์  หรือฎีกาต่อไป  ให้หัวหน้าพนักงานอัยการออกคำสั่งไม่อุทธรณ์  หรือไม่ฎีกา  แล้วแจ้งผลคดีให้ตัวความทราบ
           คดีที่จะต้องให้ตัวความพิจารณาตกลงใจจะอุทธรณ์ หรือฎีกา  หรือไม่  ให้แจ้งผลคดีและฐานะคดีชั้นอุทธรณ์  หรือฎีกาไปยังตัวความ  เมื่อตัวความแจ้งความประสงค์มาแล้ว  ให้ทนายความอาสาผู้ดำเนินคดีเสนอความเห็นเพื่อให้หัวหน้้าพนักงานอัยการพิจารณาออกคำสั่งให้อุทธรณ์  หรือไม่อุทธรณ์  ฎีกา  หรือไม่ฎีกา  ตามความประสงค์ของตัวความต่อไป
           ข้อ  36  ให้หัวหน้าพนักงานอัยการ  หรือทนายความอาสา  แจ้งผลการดำเนินคดีให้ผู้ขอความช่วยเหลือทราบไปเป็นคราวๆ  ตามสมควร  โดยแจ้งเป็นหนังสือ  หรือให้ผู้ขอลงนามทราบไว้ในรายงานผลคดีก็ได้  และเมื่อคดีถึงที่สุดให้หัวหน้าพนักงานอัยการแจ้งผลคดีให้ผู้ขอความช่วยเหลือทราบโดยเร็ว
           ข้อ  37  ในการดำเนินคดี  หรือดำเนินการใดๆ  ทางศาล  ให้ผู้ขอความช่วยเหลือเป็นผู้รับผิดชอบค่าฤชาธรรมเนียมศาลทั้งสิ้น
           กรณีน่าเชื่อว่าผู้ขอไม่มีทรัพย์สินที่จะชำระค่าธรรมเนียมศาล  ให้ทนายความอาสายื่นคำร้องขอฟ้อง  หรือขอต่อสู้คดีอย่างคนอนาถา  หากศาลมีคำสั่งไม่อนุญาต  หรือมีคำสั่งยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมศาลให้บางส่วนและผู้ขอความช่วยเหลือร้องขอ  เมื่อหัวหน้าพนักงานอัยการเห็นว่าผู้ขอเป็นผู้ยากจนไม่มีทรัพย์สนพอที่จะชำระค่าธรรมเนียมได้  ก็ให้หัวหน้าพนักงานอัยการทำบันทึกต่ออัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย  เพื่อขอเบิกเงินช่วยเหลือจากทางราชการและหรือมูลนิธิให้ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ทุกข์ยาก  กรมอัยการ  ทั้งหมดหรือบางส่วนได้
           ข้อ  38  ในกรณีที่ผู้ขอความช่วยเหลือมีเงินพอชำระค่าฤชาธรรมเนียม  ให้ผู้ขอความช่วยเหลือนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมไปชำระที่ศาลด้วยตนเอง  เว้นแต่ในกรณีไม่สะดวกจะให้นิติกร  หรือเจ้าหน้าที่  ที่หัวหน้าพนักงานอัยการมอบหมาย  หรือทนายความอาสารับเงินค่าธรรมเนียมศาลดังกล่าวไปโดยออกใบรับไว้เป็นหลักฐาน  เพื่อดำเนินการต่อไป

บุคลากร

ข้าราชการอัยการ

นายศักดิ์สิทธิ์ สุทธศิริ
 อัยการจังหวัด
คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย
และการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์
นายทวีทรัพย์ สุรินทร์ประทีป
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
นายเกรียงไกร สุขเสถียร
รองอัยการจังหวัด

ข้าราชการธุรการ

นางเรณู ศรีดี
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการ สคชจ.เพชรบูรณ์
 นางสาวจิรัชญา  อินบัวทอง
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
นายเกริก  นพรัตน์
นิติกรปฎิบัติการ
นายสรวิศ เพื่อนฝูง
นิติกรปฏิบัติการ
นางจงชอบ   บุตรเบ้า
 เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

จ้างเหมาบริการ

    นางสาวปนิที    พรหมเมือง
  เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล 
 นายมนัส  พรหมเมือง
 พนักงานขับรถยนต์

ผังกระบวนการทำงานสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์
425 อำเภอเมือง  ตำบลในเมือง  จังหวัดเพชรบูรณ์  67000
– โทร 056 711470
– โทรสาร 056 741274
E – Mail  pchabun-lawaid@ago.go.th