เกี่ยวกับสำนักงาน

พิธิเปิดสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๗

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิประชาชน (สคช.) จังหวัดพิจิตรจัดตั้งขึ้นตามคำสั่งกรมอัยการที่ ๑๗๔/๒๕๒๕ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๒๕ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน เพื่อลดปัญหาข้อขัดแย้งลดช่องว่างประชาชนผู้ยากไร้และกำหนดให้ตั้ง สำนักงานคุ้มครองสิทธิฯดังกล่าวขึ้น ณ สำนักงานอัยการสูงสุดกรุงเทพมหานคร และที่สำนักงานอัยการทั่วราชอาณาจักรสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วย เหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายการเผยแพร่ความรู้ทางด้านสิทธิมนุษยชนและความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนศึกษาวิจัยและพัฒนารูปแบบวิธีการและแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการดังกล่าวสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) มีฐานะเป็นกองในสังกัดราชการบริหารส่วนกลางของสำนักงานอัยการสูงสุด

             ต่อมาวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๖ คณะกรรมการอัยการได้ออกประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงานและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖ กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด โดยสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

            (ก) รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และผลประโยชน์ของประชาชน การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนภายในเขตท้องที่จังหวัดนั้นๆ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด

              (ข) รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มสิทธิและการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายด้านอรรถคดีแก่ประชาชนภายในเขตท้องที่จังหวัดนั้นๆ รวมถึงการดำเนินคดีทั้งปวงในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการสูงสุดเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายซึ่งอยู่ใน อำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัด ศาลจังหวัดสาขาหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นในศาลจังหวัดแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งว่าด้วยการนั้น

             (ค) รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านอรรถคดี การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย การเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ประชาชนภายใน เขตท้องที่จังหวัดนั้นๆ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด

             (ง) รับผิดชอบงานศูนย์กลางระบบฐานข้อมูลลูกหนี้ตามคำพิพากษาของหน่วยงานรัฐ และจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา งานสำรวจตรวจสอบข้อมูลทรัพย์สินและของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของหน่วยงานของรัฐและจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาและงานการบังคับคดี คดีแพ่ง คดีปกครอง และคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาตามที่ กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดภายในเขตท้องที่จังหวัดนั้นๆ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด

           (จ) รับผิดชอบการดำเนินคดีทั้งปวงอันเกี่ยวกับการบังคับคดี คดีแพ่ง คดีปกครอง และคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดภายในเขตท้องที่จังหวัดนั้นๆ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด

                 (ฉ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับ     มอบหมาย

               สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด ได้เริ่มให้บริการประชาชนและหน่วยราชการอื่นๆ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๗ พร้อมกันทั่วประเทศโดยสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดพิจิตรมีนายสมภพ ทิมฤกษ์ ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดพิจิตร  เป็นท่านแรก

อำนาจหน้าที่

               สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด มีอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ มีอำนาจและหน้าที่
               1.รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย การเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนภายในเขตท้องที่จังหวัดนั้นๆ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
               2.รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิลการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายด้านอรรถคดีแก่ประชาชนในเขตท้องที่จังหวัดนั้นๆ รวมถึงการดำเนินคดีทั้งปวงในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัด ศาลจังหวัดสาขา หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นในศาลจังหวัด แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งว่าด้วยการนั้น
               3.รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอรรถคดี การให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย การเผยแพร่ความรู้ทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ประชาชนภายในเขตท้องที่จังหวัดนั้นๆ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
               4.รับผิดชอบงานศูนย์กลางระบบฐานข้อมูลลูกหนี้ตามคำพิพากษาของหน่วยงานของรัฐและจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา งานสำรวจตรวจสอบข้อมูลทรัพย์สินและสถานะของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของหน่วยงานของรัฐและจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา และงานการบังคับคดีแพ่ง คดีปกครอง และคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดภายในเขตท้องที่จังหวัดนั้นๆ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
              5.รับผิดชอบการดำเนินคดีทั้งปวงอันเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง คดีปกครอง และคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดภายในเขตท้องที่จังหวัดนั้นๆตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
               6.ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย 

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

ขั้นตอนและระยะเวลาในการให้บริการ

1. กระบวนงานการให้ความช่วยเหลือและประนอมข้อพิพาท
2. การยื่นคำร้องตั้งผู้จัดการมรดก /ตั้งเป็นคนสาบสูญ /รับบุตรบุญธรรม /ตั้งผู้ปกครอง

ทำเนียบ
ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัด
สำนักงานอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย
และการบังคับคดี

ลำดับที่รายนามตั้งแต่ถึง
1.นายสมภพ  พิมฤกษ์1 เม.ย. 255731 มี.ค.2558
2.นายเรวัตร  สุขศิริ1 เม.ย. 255831 มี.ค.2559
3.นายนภดล  กิตติวชิระ1 เม.ย. 255931 มี.ค.2560
4.นายสมชาย เจียรสีดำรงค์กูล1 เม.ย. 256031 มี.ค. 2561
5.นายโอภาส สุทธิมโนรัตย์1 เม.ย. 256131 มี.ค. 2562
6.นายศักดิ์ชัย รังสิวรารักษ์1 เม.ย. 2562 31 มี.ค. 2563
7.นางสาวเบญจมาศ กรีอินทร์ทอง1 เม.ย. 256331 มี.ค. 2565
8.นายชัชวาลน์ ศรัอนุชาต1 เม.ย. 256531 มี.ค. 2566
9.นายอนันต์ คลังเพชร1 เม.ย. 256631 มี.ค. 2567
10.นายพงษ์พันธ์ ยอดจันทร์1 เม.ย. 2567ปัจจุบัน

สถิติงาน

สถิติคดีปี 2566

เอกสารเผยแพร่

1.เอกสารหลักฐานการจัดการมรดก    ดาวน์โหลด
2.เอกสารหลักฐานการตั้งมรดกดาวน์โหลด
3.เอกสารหลักฐานการรับบุตรบุญธรรมดาวน์โหลด
4.เอกสารหลักฐานให้ศาลสั่งเป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือได้ความสามารถดาวน์โหลด
5.หนังสือให้ความยินยอมการจัดการมรดกดาวน์โหลด
6.หนังสือรับรองการตายดาวน์โหลด

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดพิจิตร
152/34 ถนนบึงสีไฟ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 66000
โทร 056-611156 และ 056-611157 
E – mail : phichit-lawaid@ago.go.th