ข่าวประชาสัมพันธ์
เกี่ยวกับสำนักงาน
ประวัติความเป็นมา
ของสำนักงานคดีปกครองพิษณุโลก
ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 276 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง
และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติให้มีและจัดตั้งศาลปกครอง ซึ่งในปัจจุบันศาลปกครองได้เปิดทำการแล้ว
ปรากฎว่ามีคดีปกครองจำนวนมากที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐมอบอำนาจให้พนักงานอัยการฟ้องคดีหรือดำเนินคดีปกครองแทน
กอปรกับระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยองค์คณะ
การจ่ายสำนวนการโอนคืน การปฏิบัติหน้าที่ของตุลาการในคดีปกครอง การคัดค้านตุลาการศาลปกครอง การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานคดีปกครอง และการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีปกครองแทน พ.ศ. 2544
ข้อ 20 กำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมอบอำนาจให้พนักงานอัยการ
ฟ้องคดีหรือดำเนินคดีปกครองแทนได้
ดังนั้น สำนักงานอัยการสูงสุดจึงได้จัดให้มีพนักงานอัยการ
ไว้ปฏิบัติราชการดำเนินคดีแทนหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวเป็นการเฉพาะ
โดยได้มีคำสั่งที่ 214/2544 แก้ไขเพิ่มเติมการจัดระเบียบบริหารราชการและแบ่งส่วนราชการภายใน
ของสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อจัดตั้งสำนักงานคดีปกครองให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีที่อยู่ใน
อำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองขึ้นแล้วโดยที่มีการจัดตั้งศาลปกครองชั้นต้นในกรุงเทพมหานครและในภูมิภาคตามความในมาตรา 7 และ มาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542ประกอบกับได้มีประกาศประธานศาลปกครองสูงสุด เรื่องสถานที่ตั้งและวันเปิดทำการของศาลปกครองพิษณุโลกโดยศาลมีเขตอำนาจรับผิดชอบ 8 จังหวัด คือ ่
จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร สุโขทัย ตาก เปิดทำการตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2545
โดยมีอธิบดีศาลปกครองพิษณุโลก เป็นผู้บังคับบัญชา และจะได้เปิดทำการศาลปกครองในภูมิภาค
ซึ่งเป็นศาลชั้นต้นอีกหลายแห่งดังนั้น เพื่อจัดให้มีพนักงานอัยการไว้ปฏิบัติราชการดำเนินคดีแทนหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในภูมิภาคเป็นการเฉพาะ จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมการจัดระเบียบบริหารราชการและแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อจัดตั้งสำนักงานคดีปกครองใน
ภูมิภาคให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองภูมิภาค
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.2498 และ
มาตรา 31 วรรคสาม มาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 จึงจัด
ระเบียบบริหารราชการและแบ่งส่วนราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดเพิ่มเติมขึ้นไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุดเพิ่มเติมจากคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ 423/2539 เรื่อง การจัดระเบียบบริหารราชการและแบ่งส่วนราชการ -คำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ 313/2540 เรื่องการจัดระเบียบบริหารราชการและการแบ่งส่วนราชการ (ฉบับที่ 2)
-คำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ 442/2540 เรื่องการจัดระเบียบบริหารราชการและการแบ่งส่วนราชการ (ฉบับที่ 3)
-คำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ 143/2542 เรื่องการจัดระเบียบบริหารราชการและการแบ่งส่วนราชการ (ฉบับที่ 4)
-คำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ 214/2544 เรื่องการจัดระเบียบบริหารราชการและการแบ่งส่วนราชการ (ฉบับที่ 5) ดังนี้
(1) สำนักงานคดีปกครองขอนแก่น
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองขอนแก่น 1-2
(2) สำนักงานคดีปกครองชุมพร
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองชุมพร 1-2
(3) สำนักงานคดีปกครองเชียงใหม่
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองเชียงใหม่ 1-2
(4) สำนักงานคดีปกครองนครราชสีมา (เปิดทำการเมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๔)
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองนครราชสีมา 1-2
(5) สำนักงานคดีปกครองนครศรีธรรมราช
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองนครศรีธรรมราช 1-2
(6) สำนักงานคดีปกครองบุรีรัมย์
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองบุรีรัมย์ 1-2
(7) สำนักงานคดีปกครองพิษณุโลก
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองพิษณุโลก 1-2
(8) สำนักงานคดีปกครองแพร่
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองแพร่ 1-2
(9) สำนักงานคดีปกครองยะลา
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองยะลา 1-2
(10) สำนักงานคดีปกครองระยอง
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองพิษณุโลก 1-2
(11) สำนักงานคดีปกครองลพบุรี
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองลพบุรี 1-2
(12) สำนักงานคดีปกครองสกลนคร
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองสกลนคร 1-2
(13) สำนักงานคดีปกครองสงขลา
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองสงขลา 1-2
(14) สำนักงานคดีปกครองสุพรรณบุรี
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองสุพรรณบุรี 1-2
(15) สำนักงานคดีปกครองอุดรธานี
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองอุดรธานี 1-2
(16) สำนักงานคดีปกครองอุบลราชธานี (เปิดทำการเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔)
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองอุบลราชธานี 1-2
ข้อ 2 ให้สำนักงานคดีปกครองตามข้อ 1. มีอำนาจหน้าที่
(ก) รับผิดชอบการดำเนินคดีทั้งปวงตามที่กฎหมายหรือระเบียบกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ข) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมายให้ส่วนราชการในสำนักงานคดีปกครองตามข้อ 1. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ฝ่ายกิจการทั่วไป มีอำนาจหน้าที่
1) รับผิดชอบงานธุรการ งานสารบบคดี งานบริหารงานบุคคล งานเลขานุการนักบริหารงานงบประมาณ งานการเงินและบัญชี งานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ พัสดุ และ ยานพาหนะของสำนักงาน
2) ปฏิบัติงานร่วมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(ข) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครอง มีอำนาจหน้าที่
1) รับผิดชอบงานสำนักงานคดีปกครองตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
2) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
โดยสำนักงานคดีปกครองพิษณุโลก ได้เปิดทำการวันแรกในวันที่ 3 ตุลาคม 2545
ตั้งอยู่ภายในอาคารสำนักงานอัยการภาค 6 ชั้น 2 ซอยราษฎร์ศรัทธาทำ ถนนพิษณุโลก-เต็งหนาม ต.หัวรอ อ.เมือง จ.พิษณุโลก
มีเขตอำนาจรับผิดชอบ 6 จังหวัด คือ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดตาก จังหวัดพิจิตร จังหวัดสุโขทัย และอุตรดิตถ์
อธิบดีคนแรก คือ นายชูเกียรติ ธรรมรักษ์ มีอัยการทั้งหมด 6 คน ข้าราชการธุรการ 3 คน
ปัจจุบัน มีอัยการทั้งหมด 7 คน ข้าราชการธุรการ 8 คน ลูกจ้างชั่วคราว 3 คน
อธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายสมชาย ชัยรัตน์
อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด มีดังนี้
(มาตรา ๒๓) สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชากร เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
(๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
(๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
(๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
(๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
(๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้ารการฝ่ายอัยการ
(๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
(๘) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
(๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด
ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
อำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด มีดังนี้
(มาตรา ๒๗) ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด
(๒) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ
(๓) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสุดของสำนักงานอัยการสูงสุด
ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้
ให้อัยการสูงสุดโอยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด
อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ มีดังนี้
มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำจานและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
(๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
(๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
(๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนี่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
(๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
(๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
(๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาก ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
(๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
(๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
(๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
(๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.
อำนาจหน้าที่ ของสำนักงานคดีปกครองพิษณุโลก
อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ
ก) รับผิดชอบการดำเนินคดีทั้งปวงตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองพิษณุโลก
ข) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับ
มอบหมายให้ ส่วนราชการในสำนักงานคดีปกครองพิษณุโลก มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ฝ่ายกิจการทั่วไป มีอำนาจหน้าที่
1.1 รับผิดชอบงานธุรการ งานสารบบคดี งานบริหารบุคคล งานเลขานุการนักบริหาร งานงบประมาณ งานการเงินและ
บัญชี และงานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ พัสดุ และยานพาหนะ ของสำนักงานคดีปกครองพิษณุโลก
1.2 ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
2. สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองพิษณุโลก 1-2 มีอำนาจหน้าที่
2.1 รับผิดชอบงานสำนักงานคดีปกครองพิษณุโลกตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
2.2 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
วิสัยทัศน์ (Vision)
“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”
พันธกิจ (Missions)
1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โครงสร้าง (Structure)

วัฒนธรรมองค์กร

วิสัยทัศน์ (Vision) ของสำนักงานคดีปกครองพิษณุโลก
สำนักงานคดีปกครองพิษณุโลก เป็นหน่วยงานที่มีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายและมีความเที่ยงธรรม เป็นที่เชื่อมั่นของหน่วยงานราชการ ข้าราชการ และประชาชน ที่ส่งเรื่องมาให้ดำเนินการ และรักษาผลประโยชน์ของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ
พันธกิจ (Mission) ของสำนักงานคดีปกครองพิษณุโลก
– เสริมสร้างการอำนวยความยุติธรรม การบังคับใช้กฎหมายในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนด้วยความเที่ยงธรรม
– ธำรงรักษาและพัฒนาระบบและกลไกในการรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
– พัฒนางานและเสริมสร้างบุคลากรในการสร้างศักยภาพการดำเนินคดีปกครอง โดยการเสริมสร้างให้บุคลากรได้เรียนรู้ในการดำเนินคดีปกครองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผลการปฏิบัติงานสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายของสำนักงาน
– เสริมสร้างให้บุคลากรพัฒนาศักยภาพของตนเองให้มีขีดสมรรถนะ มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานเพื่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางบริหารกิจการภาครัฐแนวใหม่ ให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของทางราชการ
– ส่งเสริมให้บุคลากรมีความตระหนักรู้ถึงคุณธรรมและจริยธรรม จรรยาบรรณของข้าราชการ ปฏิบัติตนเป็นข้าราชการที่ดี
ยุทธศาสตร์ ของสำนักงานคดีปกครองพิษณุโลก
– การดำเนินการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และการบังคับใช้กฎหมายในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
– การดำเนินการโดยมุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่หน่วยงานให้สาธารณชนได้รับทราบภารกิจของหน่วยงานให้ครอบคลุมโดยทั่วกัน
– การดำเนินการสนับสนุนให้พัฒนาบุคลากร ในการเพิ่มขีดสมรรถนะของบุคลากรทุกระดับชั้นให้มีโอกาสได้ฝึกอบรมและผ่านการฝึกปฏิบัติในทุกโอกาส เรียนรู้ทราบแนวทางการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองที่ผ่านมา
– การปฏิบัติงานตามนโยบายเชิงรุก และการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายของสำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
สำนักงานคดีปกครองพิษณุโลก
มีพื้นที่ในความรับผิดชอบในการดำเนินคดีปกครอง จำนวน ๖ จังหวัด ได้แก่
- ๑.พิษณุโลก
- ๒.สุโขทัย
- ๓.พิจิตร
- ๔.กำแพงเพชร
- ๕.ตาก
- ๖.อุตรดิตถ์
บุคลากร
ลำดับ | รายนาม | วาระดำรงตำแหน่ง |
1. | นายชูเกียรติ ธรรมรักษ์ | 11 พฤศจิกายน 2545 – 30 กันยายน 2546 |
2. | นายนิยม บุญกล่อม | 1 ตุลาคม 2546 – 30 กันยายน 2547 |
3. | นายจรัญ ยิ้มสินสมบูรณ์ | 1 ธันวาคม 2547 – 31 ตุลาคม 2548 |
4. | ร้อยโท อรรถชัย อาสิงสมานันท์ | 1 พฤศจิกายน 2548 – 15 ตุลาคม 2549 |
5. | นายวิทยา เหลืองโรจนกุล | 16 ตุลาคม 2549 – 31 ตุลาคม 2550 |
6. | นายนิพนธ์ วิชยาทร | 1 พฤศจิกายน 2550 – 30 กันยายน 2552 |
7. | นายพงศกร จันทรศัพท์ | 1 ตุลาคม 2552 – 30 กันยายน 2554 |
8. | นายสุรชัย อุดมวงศ์ | 1 ตุลาคม 2554 – 30 กันยายน 2556 |
9. | นายสมปอง ธานีรัตน์ | 1 ตุลาคม 2556 – 30 กันยายน 2558 |
10. | นางชนิญญา ชัยสุวรรณ | 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2560 |
11. | นายพรชัย เหลืองอารีพร | 1 ตุลาคม 2560 – 30 กันยายน 2561 |
12. | นายวาทิน ศรีตระกูล | 1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2562 |
13. | นายพิชัย ฉิมเอนก | 1 ตุลาคม 2562 – 30 กันยายน 2563 |
14. | นายณรงค์ อังคสิงห์ | 1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2564 |
15. | นายอนันต์ ธรรมรัตน์ | 1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565 |
16. | นายปราโมทย์ อ่อนละออ | 1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566 |
17. | นายสมชาย ชัยรัตน์ | 1 ตุลาคม 2566 – ปัจจุบัน |


นายสมชาย ชัยรัตน์
อธิบดีอัยการ สคป.พล.

นายสมชาติ กมลเทพไพฑูรย์
รองอธิบดี สคป.พล.

นายอนันต์ ทองแตง
อัยการพิเศษฝ่าย

นางสาวเบญจมาศ กรีอินทร์ทอง
อัยการผู้เชี่ยวชาญ

นายวิพล เทียนเสริมทรัพย์
อัยการอาวุโส

ร้อยโท ราเชนทร์ ทัพภวิมล
อัยการอาวุโส

อัยการอาวุโส

นางสาวสุชาดา เทียนทอง
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ
เจ้าพนักงานคดี

นายฉัตรชัย หล่อตระกูล
เจ้าพนักงานคดีชำนาญการพิเศษ

นายกุศล สุนันท์ชัย
เจ้าพนักงานคดีชำนาญการ

นางสาวไอรินลดา ปิ่นแก้ว
เจ้าพนักงานคดีปฏิบัติการ
นิติกร

นางกชพรรณ นุกุลเศวต
นิติกรชำนาญการพิเศษ

นางเสาวลักษณ์ จันทร์วิเศษ
นิติกรชำนาญการ

นายนพพล สุรนัคครินทร์
นิติกรชำนาญการ

นางสาววีณา ลี้สุวรรณ
นิติกรปฏิบัติการ
ธุรการ

นายรพีกาณฑ์ จิตกำเนิด
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นางสุภาวดี ทองหล่อ
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสกุลรัตน์ มหาเรือนขวัญ
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นางสาวปาธิชา พูลเพิ่ม
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นางสาวพิรุณยุพา ธาดาวัฒนกุล
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นายพิษณุ อ๊อดเอก
พนักงานขับรถยนต์

นางวิรัตน์ เมฆสุวรรณ
แม่บ้าน
สถิติงาน
สถิติคดีของสำนักงานคดีปกครองพิษณุโลก ปี 2545-2563
ปี พ.ศ. | ว่าต่าง | แก้ต่าง | รวมคดีทั้งหมด | หารือ |
---|---|---|---|---|
2545 | 7 | 6 | 13 | – |
2546 | 15 | 122 | 137 | – |
2547 | 8 | 89 | 97 | – |
2548 | 11 | 107 | 118 | – |
2549 | 18 | 121 | 139 | – |
2550 | 20 | 107 | 127 | – |
2551 | 13 | 114 | 127 | 3 |
2552 | 5 | 82 | 87 | – |
2553 | 17 | 484 | 501 | – |
2554 | 12 | 178 | 190 | 1 |
2555 | 16 | 139 | 155 | – |
2556 | 33 | 257 | 290 | 2 |
2557 | 34 | 177 | 211 | 1 |
2558 | 52 | 251 | 303 | – |
2559 | 74 | 149 | 223 | 1 |
2560 | 22 | 134 | 156 | 1 |
2561 | 33 | 155 | 188 | 1 |
2562 | 34 | 203 | 237 | – |
2563 | 33 | 216 | 249 | – |
2564 | 11 | 241 | 252 | – |
2565 | 21 | 198 | 219 | 2 |
2566 | 10 | 178 | 188 | – |
* ข้อมูล ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2566
เอกสารเผยแพร่
ติดต่อหน่วยงาน
สำนักงานคดีปกครองพิษณุโลก
อาคารสำนักงานอัยการภาค 6 ชั้น 2
ถนนพิษณุโลก-เต็งหนาม
ต.หัวรอ อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์, โทรสาร (งานคดี) 055 280646
โทรศัพท์, โทรสาร (งานอำนวยการ) 055 321073
E-mail : Pislok-admin@ago.go.th
