ข่าวประชาสัมพันธ์

  สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดพิษณุโลก
ให้บริการตามอำนาจหน้าที่โดย
ไม่มีการเรียกรับเงินหรือผลประโยชน์อื่นใดทั้งสิ้น
ยกเว้น!!!ค่าธรรมเนียมที่ศาลเรียกเก็บ
หากพบเห็นหรือมีการเรียกเก็บเงินหรือผลประโยชน์อื่นใด
กรุณาแจ้ง  เบอร์ 055-321186 ,055-280-644 ,055-280-737



      

เกี่ยวกับสำนักงาน

          เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๒๕ กรมอัยการ (ซึ่งในขณะนั้นสังกัดกระทรวงมหาดไทย) ได้จัดตั้งสำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนขึ้น เพื่อให้การช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนที่ยากไร้และไม่สามารถจัดหาทนายความด้วยตนเอง ด้วยการจัดหาทนายความอาสาสมัครทำหน้าที่แก้คดีและให้คำแนะนำทางกฎหมายโดยไม่คิดมูลค่าตามเงื่อนไขที่กำหนด เพื่อให้สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ให้รัฐจัดหาทนายความให้แก่ผู้ยากไร้ รวมทั้งยังมีหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของรัฐและประชาชนในด้านต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดบทบาทอัยการให้มีหน้าที่คุ้มครองดูแลคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความความสามารถ คนสาบสูญ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง ตรวจสอบดูแลกิจการบางอย่างที่มีผลกระทบต่อสาธารณชน เช่น นิติบุคคล มูลนิธิ สมาคม ฯลฯ
          การปฏิบัติงานของสำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนได้ดำเนินการตามแนวนโยบายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาด้วยดีโดยลำดับ และได้รับการคัดเลือกและยกย่องให้เป็นหน่วยงานดีเด่นระดับชาติ สาขาพัฒนาสังคม พ.ศ.๒๕๒๙ จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาชนทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด
          ในปี พ.ศ.๒๕๓๑ ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมอัยการ กระทรวงมหาดไทยกำหนดให้สำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน เป็นส่วนราชการระดับกอง และเปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน”
          ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๔ ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.ฉบับที่ ๔๗ และ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ แยกกรมอัยการออกจากกระทรวงมหาดไทยไปเป็นหน่วยงานไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวงใด โดยอยู่ภายใต้กำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี เปลี่ยนชื่อจาก “กรมอัยการ” เป็น “สำนักงานอัยการสูงสุด” เปลี่ยนชื่อตำแหน่ง “อธิบดีกรมอัยการ” เป็น “อัยการสูงสุด” และมีปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายใน โดยให้ “สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน”(สคช.) เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน สำหรับในส่วนต่างจังหวัดได้กำหนดให้มีสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนในทุกสำนักงานอัยการจังหวัดที่ตั้งอยู่ ณ ตัวจังหวัด ๗๖ แห่ง (สคช.จังหวัด) และสำนักงานอัยการจังหวัดที่ตั้งอยู่ ณ ตัวอำเภอ ๒๙ แห่ง (สคช.สาขา) ทั่วประเทศ รวม ๑๐๕ แห่ง เพื่อให้การบริการกิจกรรมงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนเป็นไปอย่างทั่วถึงทุกภูมิภาคของประเทศ
          ต่อมาได้มีประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๑๐) กำหนดให้มี “สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด”(สคชจ.) เป็นหน่วยงานแยกต่างหากจากสำนักงานอัยการจังหวัด ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๗

(เรียบเรียงจากหนังสือ “๓๐ ปี กับภารกิจอัยการ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม”)

         พระราชบัญญํติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2553

๑. การคุ้มครองสิทธิทางศาลตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ เช่น การยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก การยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ การตั้งผู้ปกครอง การร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ/คนเสมือนไร้ความสามารถ การยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของบิดา/มารดาผู้เยาว์ในการรับบุตรบุญธรรม
         ๒. การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ได้แก่
(๑) การให้คำปรึกษาปัญหาทางกฎหมาย ช่วยเหลือจัดทำนิติกรรมสัญญา และประนอมข้อพิพาท
(๒) การช่วยเหลือทางอรรถคดีแก่ผู้ยากจนและไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยการจัดทนายความอาสาดำเนินการในชั้นศาล
(๓) สนับสนุนการประนอมข้อพิพาทระดับท้องถิ่น โดยฝึกอบรมผู้นำชุมชน/ผู้นำท้องถิ่น ในการประนอมข้อพิพาท
(๔) เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายต่าง ๆ แก่ประชาชน เช่น ออกหน่วยเคลื่อนที่ไปตามหมู่บ้านต่างๆ ร่วมกับจังหวัดเคลื่อนที่ ร่วมกับหน่วยงานอื่นในการออกเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย
(๕) ฝึกอบรมความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ เช่น เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา
(๖) การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอรรถคดี โดยให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ประชาชน
         ๓. การบังคับคดี โดยรับผิดชอบการดำเนินคดีเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง คดีปกครอง และคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดภายในเขตท้องที่จังหวัดพิษณุโลก

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)

“ยกระดับ ปรับเปลี่ยน วางรากฐาน สานต่ออนาคต”

ประกาศเจตนารมณ์ ไม่รับของขวัญ และของกำนัลทุกชนิด จากการปฏิบัติหน้าที่ No Gift Policy

บุคลากร
ข้าราชการอัยการ

นายดำเนิน บุญมาก
อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย
และการบังคับคดีจังหวัดพิษณุโลก

นายประยูร ปุญเขตต์
อัยการอาวุโส

นายจักรกฤษณ์ อินทร์สิงห์
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้กลั่นกรอง 1

นางสาวรัตติกาล จูฮุ้ง
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้กลั่นกรอง 2

นางสาวสุธิชา ม่วงผล รองอัยการจังหวัด

ข้าราชการธุรการ

นายนครินทร์ วุ่นพูลสมบัติ
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย
และการบังคับคดีจังหวัดพิษณุโลก

นายจินดา น้อยด้วง
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
นางคนึงนิตย์ แก้วตาล
นิติกรชำนาญการ
นางสาวขจีวรรณ ยงสวาสดิ์
เจ้าพนักงานคดีชำนาญการ

นายเอกวัฒน์ มีคง
นิติกรปฏิบัติการ
นางอนัญญา สีทาน้อย
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
นายชาญวิทย์ ทัพซ้าย
นิติกร ป.ป.ส.
นายเฉลิมพล เพ็งเพชร
ทนายความอาสา
นางสาวเพ็ญนภารัตน์ สุขตุ๊น ทนายความอาสา
นายพชร ไพรพฤกษ์
พนักงานขับรถ

ลำดับชื่อ – สกุลระยะเวลา
นายธีระชัย ไพรัชวรรณ๑ เมษายน ๒๕๕๗ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘
นางสิตางศุ์ ตั้งศิริ๑ เมษายน ๒๕๕๘ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙
นายนรเสฏฐ์ ประกอบไวทยกิจ๑ เมษายน ๒๕๕๙ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐
นายปรีดา  โมรินทร์๑ เมษายน ๒๕๖๐ –  ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑
นายสมพงษ์  ศรีธูป๑ เมษายน ๒๕๖๑ –  ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๒
นายรุ่งเรือง เถื่อนโต๑ เมษายน ๒๕๖๒ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓
นายนารยะชน พวงจันทร์หอม๑ เมษายน ๒๕๖๓ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔
นายอนุสรณ์ พิชัยพลากร๑ เมษายน ๒๕๖๔ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕
นายคงศักดิ์ มาตังครัตน์๑ เมษายน ๒๕๖๕ – ถึงปัจจุบัน

การคุ้มครองสิทธิทางศาล คือ การคุ้มครองสิทธิของประชาชนตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ เช่น การร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก ร้องขอตั้งผู้ปกครอง ร้องขอให้ศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ ฯลฯ

โดยปกติ พนักงานอัยการจะรับดำเนินการคุ้มครองสิทธิทางศาลให้ทุกเรื่องโดยไม่คำนึงถึงฐานะรายได้ของผู้ร้องขอ แต่ต้องไม่เป็นการฝ่าฝืนหรือหลีกเลี่ยงกฎหมาย ยึดหลักการให้บริการโดยรวดเร็วและเป็นธรรม

กระบวนการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก

1.ผู้ร้องขอ มาติดต่อด้วยตนเอง แจ้งว่า ขอให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ของผู้ตาย

2.เจ้าหน้าที่ สอบถาม เรื่องทายาทที่มีสิทธิรับมรดก แจ้งเรื่องเอกสารที่ต้องใช้ จำนวนเอกสารที่ต้องใช้

3.เมื่อผู้ร้อง ไปจัดเตรียม เรื่องเอกสาร และ พาทายาท ลงชื่อให้ความยินยอม เรียบร้อยแล้ว

4.หากเอกสาร ครบถ้วน และทายาท ลงชื่อ เรียบร้อยทุกคนแล้ว เจ้าหน้าที่ /นิติกร รับเอกสาร ครบถ้วน จะเสนอ พนักงานอัยการ เพื่อทำคำร้อง

5. เมื่อพนักงานอัยการ ทำคำร้องเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่ จะแจ้งเรื่องค่าธรรมเนียมศาลให้แก่ผู้ร้องขอ(ทางโทรศัพท์) เพื่อจ่ายค่าธรรมเนียมศาล

6.เจ้าหน้าที่ /นิติกร ไปยื่นคำร้องต่อศาล และศาลจะกำหนดวันนัด ขึ้นศาล

7.สำนักงานอัยการ แจ้งกำหนดนัดขึ้นศาลให้ท่าน และท่านต้องมีหน้าที่ไปศาล ตาม วัน เวลาที่กำหนด

8.เมื่อถึงวันนัด ท่านต้อง จัดเตรียม ต้นฉบับเอกสาร เพื่อให้ผู้พิพากษา ตรวจสอบความถูกต้องของต้นฉบับ

9.เมื่อผู้พิพากษา เห็นว่า เอกสารถูกต้องครบถ้วน และ ท่านมีคุณสมบัติ และเป็นทายาท ของเจ้ามรดก มีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกของคนตายได้ ผู้พิพากษาจะมีคำสั่งตั้งท่านเป็นผู้จัดการมรดก

10.ให้ท่านติดต่อขอคัดคำสั่งที่ ศาลจังหวัด(ศาลจังหวัดพิษณุโลก) เพื่อขอคัดคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก เพื่อนำไปติดต่อ กับเจ้าหน้าที่ เกี่ยวกับทรัพย์ ขอรับโอนมรดก ของผู้ตาย มาแบ่งปันแก่ทายาทต่อไป

กรณี ร้องขอเป็นผู้อนุบาล

เมื่อบุคคลเกิดมามีสภาพบุคคลตามกฎหมายแล้ว ต่อมามีเหตุบกพร่องทางสุขภาพวิกลจริต หรือเป็นบ้าขาดสติสัมปชัญญะ ไม่สามารถทำงานได้เช่นคนปกติ หากร้ายแรงถึงขนาดก็อาจส่งผลต่อความสามารถในการใช้สิทธิ หรือความสามารถในการทำนิติกรรมของบุคคลได้ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ควรได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมาย เพื่อเป็นการลดความได้เปรียบเสียเปรียบ เพราะเหตุที่เขาหย่อนหรือบกพร่องในความสามารถในการทำกิจกรรมในการทำงานต่าง ๆ หรือความสามารถในการทำนิติกรรม

ส่วนบุคคลที่มีความบกพร่องทางกาย หรือจิตใจ แต่ไม่ถึงขนาดวิกลจริต หรือบุคคลที่บกพร่องในความประพฤติ นอกจากผู้เยาว์และคนไร้ความสามารถแล้ว ยังมีบุคคลอีกจำพวกหนึ่งที่หย่อนความสามารถ คือ คนเสมือนไร้ความสามารถ เนื่องจากบุคคลบางคนมีเหตุบกพร่องบางอย่าง เช่น จิตฟั่นเฟือนหรือประพฤติสุรุ่ยสุร่าย เสพเพลเป็นอาจิณ ฯลฯ อาจถูกศาลมีคำสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสารถ ให้อยู่ภายใต้ความพิทักษ์ของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกค่าผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาล และตาม ประมวลกฎหมยแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 ถ้าคู่สมรสก็ดี ผู้บุพการีกล่าวคือ บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ทวดก็ดี ผู้สืบสันดาน กล่าวคือ ลูกหลาน เหลน ลื่อก็ดี ผู้ปกครองหรือผู้ทักษ์ก็ดี ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ก็ดีหรือพนักงานอัยการก็ดี ร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลบุคคลวิจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถ ศาลจะสั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถ

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องขอเป็นคนไร้/เสมือนไร้ความสามารถ

  1. สิ่งสำคัญที่สุด คือ ใบรับรองแพทย์ จากโรงพยาบาล ว่าบุคคลนั้น ไม่สามารถจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สิน ทำนิติกรรมด้วยตนเองไม่ได้
  2. สำเนาทะเบียนบ้านพร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้ร้อง ถ่ายเอกสาร 3 ชุด
  3. สำเนาทะเบียนบ้านพร้อมสำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรผู้พิการ ของผู้ป่วย ถ่ายเอกสาร 3 ชุด
  4. สำเนาสูติบัตรของผู้ป่วย (หากเป็นผู้เยาว์) ถ่ายเอกสาร 3 ชุด
  5. สำเนาใบสำคัญการสมรสพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของ (บิดา-มารดา) ถ่ายเอกสาร 3 ชุด
  6. ใบรับรองแพทย์ ถ่ายเอกสาร 3 ชุด.บัตรประจำคนผู้พิการ ถ่ายเอกสาร 3 ชุด (ถ้ามี)
  7. ภาพถ่ายของผู้ป่วย หลายอิริยาบถ เช่น กิน นอน การให้อาหารทางสายยาง จำนวน 3 ชุด
  8. สำเนาทะเบียนบ้าน (บิดา-มารดา) ถ่ายเอกสาร 3 ชุด
  9. หนังสือให้ความยินยอมของผู้มีส่วนได้เสีย (ทำที่สำนักงานอัยการ) ต้องมาลงชื่อที่สำนักงานอัยการ
  10. เงินค่าธรรมเนียมศาล (ค่าคำร้อง ,ค่านำหมาย(หากมี) ผู้ร้องเป็นผู้รับผิดชอบจ่าย และค่าธรรมเนียมนี้เป็นไปตามระเบียบของศาลที่เรียกเก็บ

***ในการดำเนินการพนักงานอัยการสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี บริการให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และค่าบริการใดๆ เพราะเป็นหน้าที่ของ พนักงานอัยการ ตามกฎหมาย ประชาชนที่มาขอรับบริการ คงเสียค่าธรรมเนียม ในชั้นศาล ตามที่ศาล กำหนดไว้เท่านั้น

ติดต่อหน่วยงาน
โอเพน แชท นี้ เหมือน ไลน์ แต่ข้อดี คือ หากท่านไม่ได้ต้องการติดต่อกับหน่วยงานท่านสามารถ ออกจากกลุ่มได้ ตลอดเวลา หากประสงค์จะสอบถาม จึงแสกนเข้าร่วมใหม่ได้

อาคารสำนักงานอัยการภาค 6 ชั้น 1
เลขที่ 381 ถนนราษฎร์ศรัทธาทำ ตำบลหัวรอ
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทรศัพท์ 055 246020 / 095 6296640 /line
โทรสาร 055246 020
E-mail pislok-lawaid@ago.go.th
Facebook https://www.facebook.com/sirichai.ngandee?fref=ts
หรือ สคชจ.พิษณุโลก สำนักงานอัยการสูงสุด

*เอกสารที่ต้องนำมา และถ่ายเอกสารอย่างละ 2 ฉบับ และนำตัวจริงมา แสดงให้ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ

1.ทะเบียนบ้าน,บัตรประชาชน,ใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล  ของผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดก หากผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดก เป็นคู่สมรสต้องมีใบสำคัญการสมรส หรือไปคัดข้อมูลทะเบียนครอบครัว
2.ทะเบียนบ้าน ที่ปั๊ม ตาย ของ คนตาย หากคัดชื่อออกจากทะเบียนบ้านแล้วให้ไปขอคัดข้อมูลทะเบียนราษฎร์ที่อำเภอ
3.มรณบัตรของคนตาย หากอ้างว่าผู้ตายโสด ต้องไปขอคัดทะเบียน คนโสด  (**ข้อมูลทะเบียนครอบครัว**) ที่อำเภอมาประกอบด้วย
4.ทายาท ของคนตาย คือ ลูก บิดามารดา คู่สมรสที่จดทะเบียนและต้องพาทายาท***ที่ยังมีชีวิตอยู่ พร้อมบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน เปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (หากมี) ทุกคน ต้องมาให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่
5.หากทายาท ตามข้อ 4 มีคนไหนตายไปแล้ว ต้องมีมรณบัตรหากไม่มีต้องไปขอคัดทะเบียนราษฎรคนตายที่อำเภอ หรือ ขอหนังสือรับรองการตายที่อำเภอหรือ**ที่เทศบาลแล้วแต่กรณี** โดยให้พาพยานไปให้ถ้อยคำ
อย่างน้อย 2 คน และพากำนันหรือผู้ใหญ่บ้านไปพบเพื่อให้ถ้อยคำ
6.หากทายาท***ที่ตายไปมีลูก ลูกทุกคน(พร้อม บัตรประชาชน+ทะเบียนบ้าน) มีสิทธิรับมรดกแทนที่ ต้องมาให้ความยินยอม  
7.หากอ้างว่าทายาท*** ที่ตาย โสด ต้องไปคัดทะเบียนคนโสดที่อำเภอมาประกอบ
8.หากมีทายาท** ที่หายไปโดยไม่รู้ไปไหนเป็นตายร้ายดีอย่างไร ต้องร้องขอให้ศาลสั่งเป็นคนสาบสูญก่อน จึงจะดำเนินการเรื่อง ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
9.หากมีการตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว ยังไม่ได้จัดการ ตายเสียก่อน ต้องมีคำสั่งศาลจัดการมรดกเดิม 
10.เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดก ของผู้ตายที่ไม่สามารถโอนเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ หรือไม่สามารถจัดการโอนให้แก่ทายาทได้  เช่น โฉนดที่ดิน ,สัญญาเช่าซื้อ+รายการจดทะเบียน
11.เอกสารทุกอย่างตัวจริง ต้องนำมาในวันขึ้นศาล

พนักงานอัยการสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี บริการให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และค่าบริการใดๆเพราะเป็นหน้าที่ของ พนักงานอัยการ ตามกฎหมาย ประชาชนที่มาขอรับบริการ คงเสียค่าธรรมเนียม ในชั้นศาล ตามที่ศาล กำหนดไว้เท่านั้น

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องขอเป็นคนไร้/เสมือนไร้ความสามารถ และถ่ายเอกสารอย่างละ 4 ฉบับ และนำตัวจริงมา แสดงให้ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ

1. สำเนาทะเบียนบ้านพร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้ร้อง
2. สำเนาทะเบียนบ้านพร้อมสำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรผู้พิการ ของผู้ป่วย    
3. สำเนาสูติบัตรของผู้ป่วย
4. สำเนาใบสำคัญการสมรสพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของ (บิดา-มารดา) กรณีเสียชีวิต ใช้สำเนามรณบัตร
5. ใบรับรองแพทย์
6.บัตรประจำคนผู้พิการ  (ถ้ามี)7. ภาพถ่ายของผู้ป่วย ล้างรูปโฟโต้ ขนาด 4 x 8 นิ้ว
8. สำเนาทะเบียนบ้าน (บิดา-มารดา)

***ในการดำเนินการพนักงานอัยการสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี บริการให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และค่าบริการใดๆเพราะเป็นหน้าที่ของ พนักงานอัยการ ตามกฎหมาย ประชาชนที่มาขอรับบริการ คงเสียค่าธรรมเนียม ในชั้นศาล ตามที่ศาล กำหนดไว้เท่านั้น

กรณีประสงค์ขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ถ้าบุตรบุญธรรม ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องได้รับความยินยอมของบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย คำว่า บิดามารดาชอบด้วยกฎหมาย คือ บิดามารดาของบุตรต้องจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย และหาก บิดามารดาของบุตรบุญธรรม ไม่จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย ผู้ที่จะต้องให้ความยินยอม คือ มารดาเพียงคนเดียว ในกรณีนี้ ให้ไปติดต่อที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แต่หากไม่มีบิดามารดาหรือแต่มารดา ไม่อาจให้ความยินยอมได้ เช่น บิดามารดา ถึงแ่ความตายไปก่อนแล้ว หรือ ไม่สามารถติดต่อมาให้ความยินยอมได้ ต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของบิดามารดา ในการประสงค์จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

ในการยื่นคำร้องขออนุญาตต่อศาลในการอนุญาตแทนการให้ความยินยอม ยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัซ ณ ภูมิลำเนาของผู้จะนับบุตรบุญธรรม โดย ผ่านทางทนายความ หรือ ติดต่อ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี

คำสั่งเกี่ยวกับคณะอนุกรรมการรับบุตรบุญธรรม

เอกสารที่ต้องใช้การขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม