ประชาสัมพันธ์

ข่าวประชาสัมพันธ์


เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 เวลา 13.30 นาฬิกา  นายอนุสรณ์ พิชัยพลากร
อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงพิษณุโลก พร้อมคณะ
เข้าร่วมเปิดศูนย์ประสานงานอัยการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชนและสถาบันครอบครัวประจำตำบล
ศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิฯ องค์การบริหารส่วนตำบลดินทอง, ตำบลพันชาลี, ตำบลท่าหมื่นราม และตำบลแม่ระกา
ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลดินทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
เพื่อให้ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ถูกระทำความรุนแรงในครอบครัว

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00 นาฬิกา  นายอนุสรณ์ พิชัยพลากร
อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงพิษณุโลก พร้อมคณะ
เข้าร่วมเปิดศูนย์ประสานงานอัยการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชนและสถาบันครอบครัวประจำตำบล
ศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิฯ องค์การบริหารส่วนตำบลวังนกแอ่น
ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
เพื่อให้ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ถูกระทำความรุนแรงในครอบครัว

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 นาฬิกา  นายอนุสรณ์ พิชัยพลากร
อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงพิษณุโลก พร้อมคณะ
เข้าร่วมเปิดศูนย์ประสานงานอัยการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชนและสถาบันครอบครัวประจำตำบล
ศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิฯ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง
ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
เพื่อให้ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ถูกระทำความรุนแรงในครอบครัว

เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 นาฬิกา  นายอนุสรณ์ พิชัยพลากร
อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงพิษณุโลก พร้อมคณะ
เข้าร่วมเปิดศูนย์ประสานงานอัยการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชนและสถาบันครอบครัวประจำตำบล
ศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิฯ องค์การบริหารส่วนตำบลวังพิกุล
ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลวังพิกุล อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
เพื่อให้ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ถูกระทำความรุนแรงในครอบครัว

  นายอนุสรณ์ พิชัยพลากร อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงพิษณุโลก พร้อมคณะ
เข้าร่วมเปิดศูนย์ประสานงานอัยการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชนและสถาบันครอบครัวประจำตำบล
ณ ศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิฯ องค์การบริหารส่วนตำบลวัดโบสถ์
ศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิฯ องค์การบริหารส่วนตำบลบางระกำ
ศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิฯ องค์การบริหารส่วนตำบลดงชาติตระการ
และศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิฯ องค์การบริหารส่วนตำบลเนินเพิ่ม
เพื่อให้ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ถูกระทำความรุนแรงในครอบครัว

ภาพกิจกรรม

วัน เสาร์ ที่ 6 เมษายน 2567 นายภัทร์ ชวนานนท์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด นำข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก เข้าร่วม
กิจกรรมงานรัฐพิธี “วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์”
เวลา 06.30 – 09.30 น.
ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

วัน พุธ ที่ 3 เมษายน 2567 พันตำรวจโท เดชาชัย ณ ลำปาง นำข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก เข้าร่วม
กิจกรรม “131 ปี องค์กรอัยการที่พึ่งด้านกฎหมายของรัฐและประชาชน”
เนื่องในโอกาศครบรอบ 131 ปี ของการสถาปนาองค์กรอัยการ
เวลา 08.30 – 12.00 น.
ณ สำนักงานอัยการภาค 6
ตำบลหัวรอ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

วัน อังคาร ที่ 2 เมษายน 2567 นางสาวอุสากร ภู่วิทยพันธุ์ นำข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก เข้าร่วม
กิจกรรม “พิธีเจริญพระพุทธมนต์และพิธีตักบาตรถวายพระราชกุศล”
เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
เวลา 07.00 – 08.30 น.
ณ ศาลาประชาคม ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

วัน พฤหัสบดี ที่ 7 ธันวาคม 2566 ข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก ได้เข้าร่วม
กิจกรรม “พิธีเจริญพระพุทธมนต์ และทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล”
เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
เวลา 07.30 – 08.30 น.
ณ ศาลาประชาคม และบริเวณถนนด้านหน้าศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

วัน อังคาร ที่ 5 ธันวาคม 2566 ข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก ได้เข้าร่วม
กิจกรรม “พิธีเจริญพระพุทธมนต์ ทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะ”
เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ
เวลา 07.30 – 09.00 น.
ณ ศาลาประชาคม และลานเวทีกลาง ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

วัน เสาร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2566 ข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก ได้เข้าร่วม
กิจกรรม “พิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ และพิธีวางพวงมาลาถวายราชสัการะ”
เนื่องในวันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย
เวลา 07.30 – 09.00 น.
ณ ศาลาประชาคม และลานเวทีกลาง ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

วัน จันทร์ ที่ 23 ตุลาคม 2566 ข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก ได้เข้าร่วม
กิจกรรม “พิธีวางพวงมาลา”
เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 “วันปิยมหาราช”
เวลา 08.00 น.
ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้าศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

วัน ศุกร์ ที่ 13 ตุลาคม 2566 ข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก ได้เข้าร่วม
กิจกรรม “พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล พิธีวางพวงมาลา”
เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เวลา 06.00 – 09.00 น.
ณ ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

วัน พฤหัสบดี ที่ 28 กันยายน 2566 ข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก ได้เข้าร่วม
กิจกรรม “วันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day)”
เวลา 08.00 – 08.30 น.
ณ สำนักงานอัยการภาค 6 ตำบลหัวรอ
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

วัน อาทิตย์ ที่ 24 กันยายน 2566 ข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก ได้เข้าร่วม
กิจกรรม “พิธีถวายราชสดุดี วางพวงมาลาถวายราชสักการะพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนนี วันมหิดล”
เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันสวรรคต สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “พระบิดาแห่งการพแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขไทย”
เวลา 07.00 – 08.30 น.
ณ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โรงพยาบาลพุทธชินราช
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

วัน เสาร์ ที่ 12 สิงหาคม 2566 ข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก ได้เข้าร่วม
กิจกรรม “เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง”
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา 12 สิงหาคม 2566 ดังนี้
1. พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เวลา 07.00 – 09.00 น.
2. พิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เวลา 17.30 – 20.00 น.
ณ หอประชุมศรีวชิรโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

วัน พฤหัสบดี ที่ 10 สิงหาคม 2566 ข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก ได้เข้าร่วม
กิจกรรม “พิธีบวงสรวงและพิธีถวายเครื่องราชสักการะสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ”
เวลา 10.00 – 12.00 น.
ณ ค่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

วัน ศุกร์ ที่ 28 กรกฎาคม 2566 ข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก ได้เข้าร่วม
กิจกรรม “เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา 28 กรกฎาคม 2566
1. พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เวลา 06.30 – 08.00 น.
2. พิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงล เวลา 17.30 – 19.50 น.
ณ หอประชุมศรีวชิรโชต มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

วัน เสาร์ ที่ 3 มิถุนายน 2566 ข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก ได้เข้าร่วม
กิจกรรม “เฉลิมพระเกียรติ์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี”
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน 2566
1. พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เวลา 06.45 – 08.00 น.
2. พิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีถวายพระพรชัยมงล เวลา 17.30 – 19.50 น.
ณ ศูนย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง วังจันทน์ริเวอร์วิว
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

วัน อังคาร ที่ 30 พฤษภาคม 2566 ข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก ได้เข้าร่วม
กิจกรรม “จิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์พัฒนาปรับภูมิทัศน์เมืองพิษณุโลก”
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน 2566
เวลา 07.40 – 09.00 น.
ณ บริเวณพระราชวังจันทน์
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

วัน อังคาร ที่ 25 เมษายน 2566 ข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก ได้เข้าร่วม
การจัดงานรัฐพิธี “วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ประจำปี 2566
เวลา 07.00 – 09.00 น.
ณ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระราชวังจันทน์
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

วัน พฤหัสบดี ที่ 6 เมษายน 2566 ข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก ได้เข้าร่วม
การจัดงานรัฐพิธี “วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์” ประจำปี 2566
เวลา 07.00 – 09.00 น.
ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

วัน พุธ ที่ 5 เมษายน 2566 ข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก
นำทีมโดย อัยการจังหวัคดีศาลแขวงพิษณุโลก ได้เข้าร่วม
กิจกรรม “จิตอาสาพัฒนา ทำความสะอาดศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก”
เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2566
เวลา 15.00 – 16.30 น.
ณ ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก



เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา

            สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก เดิมเรียกว่า “สำนักงานอัยการประจำศาลแขวงพิษณุโลก” มีที่ทำการอยู่ภายในบริเวณศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก
ถนนวังจันทน์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เปิดทำการในปี พ.ศ.๒๕๑๘ โดยใช้บริเวณชั้น ๑ ของศาลากลางจังหวัดพิษณุโลกเป็นที่ทำการ
มีอัยการจังหวัดประจำศาลแขวงพิษณุโลกคนแรกคือ นายเฉลิม กองแก้ว แต่เนื่องจากบริเวณคับแคบ กรมอัยการจึงได้อนุมัติให้สร้างสำนักงานอัยการภาค ๖
ในบริเวณรั้วศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก เป็นอาคาร ๓ ชั้น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ กันยายน ปี พ.ศ.๒๕๒๘ สำนักงานอัยการประจำศาลแขวงพิษณุโลก ใช้บริเวณชั้น ๑
ของสำนักงานเป็นที่ทำการ และในปี พ.ศ.๒๕๔๐ สำนักงานอัยการภาค ๖ ได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ที่ตำบลหัวรอ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก อาคารสำนักงานหลังเก่า
ในบริเวณศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก จึงเป็นที่ทำการของสำนักงานอัยการจังหวัดพิษณุโลก โดยใช้ชั้น ๒ และชั้น ๓ เป็นที่ทำการ ส่วนสำนักงานอัยการประจำศาลแขวงพิษณุโลก
ใช้ชั้น ๑ เป็นที่ทำการตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นต้นมา และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อสำนักงานเป็น “สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก” จนปัจจุบัน

อำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ มีดังนี้

      มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
(๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือพนักงานอัยการ
(๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
(๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนี่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
(๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเองเมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
(๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
(๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
(๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
(๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
(๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
(๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
      ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
      พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตาม ระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.

:: กฎหมายองค์กรอัยการตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก มีดังนี้

การดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่ง
คดีอาญา
สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก มีอำนาจพิจารณาดำเนินคดีอาญา
เฉพาะในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก อย่างสูงไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ตามประมวลกฎหมายอาญา และกฎหมายอื่นที่มีโทษทางอาญา
คดีแพ่ง
สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก มีอำนาจพิจารณาดำเนินคดีแพ่ง
เฉพาะคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท โดยเป็นทนายว่าต่าง และหรือแก้ต่างในคดีที่หน่วยงานของรัฐ ทั้งส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจ องค์กรส่วนท้องถิ่น เป็นโจทก์หรือเป็นจำเลย ในกรณีมีข้อพิพาทกับเอกชน

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร

ข้าราชการอัยการ
ข้าราชการธุรการ และจ้างเหมาบริการ
ทำเนียบผู้บริหาร
ลำดับที่ ชื่อ- นาสกุลตั้งแต่ถึง
๑.นายเฉลิม กองแก้วพ.ศ. ๒๕๑๘พ.ศ.๒๕๒๐
๒.นายจิตติ เจริญฉ่ำพ.ศ.๒๕๒๑พ.ศ.๒๕๒๑
๓.นายประทีป ภูมินทร์ทองพ.ศ.๒๕๒๑พ.ศ.๒๕๒๒
๔.นายอุดมวิทย์ อิฐรัตน์พ.ศ.๒๕๒๒พ.ศ.๒๕๒๓
๕.นายสมบูรณ์ ศุภอักษรพ.ศ.๒๕๒๓พ.ศ.๒๕๒๔
๖.นายกอบเดช แบบประเสริฐพ.ศ.๒๕๒๔พ.ศ.๒๕๒๖
๗.นายศิลป ทังปริยานนทพ.ศ.๒๕๒๖พ.ศ.๒๕๒๗
๘.นายเกรียงศักดิ์ ประเสริฐภักดิ์พ.ศ.๒๕๒๗พ.ศ.๒๕๒๘
๙.นายถาวร พาณิชพันธ์พ.ศ.๒๕๒๘พ.ศ.๒๕๒๙
๑๐.นายไพศาล หิรัญสาลีพ.ศ.๒๕๒๙พ.ศ.๒๕๓๑
๑๑.นายวิชัย อันตสมบูรณ์พ.ศ.๒๕๓๑พ.ศ.๒๕๓๓
๑๒.นายนิสิต ระเบียบธรรมพ.ศ.๒๕๓๓พ.ศ.๒๕๓๕
๑๓.นายทัศนัย ปลอดเปลี่ยวพ.ศ.๒๕๓๕พ.ศ.๒๕๓๖
๑๔.นายพิชิต เจริญเกียรติกุลพ.ศ.๒๕๓๖พ.ศ.๒๕๓๗
๑๕.ร.ท.วิญญู วิญญกูลพ.ศ.๒๕๓๗พ.ศ.๒๕๓๘
๑๖.นายจรุงเกียรติ ภาษีผลพ.ศ.๒๕๓๘พ.ศ.๒๕๓๙
๑๗.น.ส.กมลกานต์ ศรีประไพพ.ศ.๒๕๓๙พ.ศ.๒๕๓๙
๑๘.นายสุเทพ สนชัยเลิศพ.ศ.๒๕๓๙พ.ศ.๒๕๔๑
๑๙.นายกัมปนาท นาคะเกศพ.ศ.๒๕๔๑พ.ศ.๒๕๔๒
๒๐.นายดิลก โรจนศิริพ.ศ.๒๕๔๒พ.ศ.๒๕๔๓
๒๑.นายประสพโชค วสิกชาติพ.ศ.๒๕๔๓พ.ศ.๒๕๔๔
๒๒.นายรุ่งโรจน์ ลิ้มวงษ์ทองพ.ศ.๒๕๔๔พ.ศ.๒๕๔๕
๒๓.นายณรงค์ เกษปรีชาสวัสดิ์พ.ศ.๒๕๔๕พ.ศ.๒๕๔๖
๒๔.นายบุญธรรม วิริยะประสิทธิ์พ.ศ.๒๕๔๖พ.ศ.๒๕๔๗
๒๕.นายวิทยา แดงประดับพ.ศ.๒๕๔๗พ.ศ.๒๕๔๘
๒๖.ร.ท.ราเชนทร์ ทัพภวิมลพ.ศ.๒๕๔๘พ.ศ.๒๕๔๙
๒๗.นายมนูญ วสันต์พ.ศ.๒๕๔๙พ.ศ.๒๕๕๐
๒๘.นายณรงค์ อังคสิงห์พ.ศ.๒๕๕๐พ.ศ.๒๕๕๑
๒๙.นายฉกาจ ชะระภิญโญพ.ศ.๒๕๕๑พ.ศ.๒๕๕๒
๓๐.นายสุภัทร์ ไพสินพ.ศ.๒๕๕๒พ.ศ.๒๕๕๓
๓๑.นายวริช มุนินทรพ.ศ.๒๕๕๓พ.ศ.๒๕๕๔
๓๒.นายจรัญ ศุภรตุลธรพ.ศ.๒๕๕๔พ.ศ.๒๕๕๕
๓๓.นายวิรัช พิพัฒสัตยานุวงศ์พ.ศ.๒๕๕๕ พ.ศ.๒๕๕๗
๓๔.นายสุธา เกียรติขจรฤทธิ์พ.ศ.๒๕๕๗พ.ศ.๒๕๕๘
๓๕.นายสมพงษ์ ตั้งศิริพ.ศ.๒๕๕๘พ.ศ.๒๕๕๙
๓๖.พ.ต.ท.ชน  อินพิทักษ์พ.ศ.๒๕๕๙ พ.ศ.๒๕๖๐ 
 ๓๗. นายทูนศักดิ์  ภิราญคำพ.ศ.๒๕๖๐ พ.ศ.๒๕๖๒
 ๓๘. นายสมพงษ์  ศรีธูปพ.ศ.๒๕๖๒ พ.ศ.๒๕๖๔
๓๙.  นายนารยะชน พวงจันทร์หอม พ.ศ.๒๕๖๔ พ.ศ.๒๕๖๕
๔๐ . นายอนุสรณ์ พิชัยพลากร พ.ศ.๒๕๖๕ พ.ศ.๒๕๖๗
๔๑ .พันตำรวจโท เดชาชัย ณ ลำปางพ.ศ.๒๕๖๗ถึงปัจจุบัน

สถิติคดี

ณ วันที่ 1 มกราคม 2567

ปี พ.ศ. ส.1 ส.4 วาจา ส.2  ส.3 ส.2ก ส.1 ฟื้นฟู ส.5ก (คดีแพ่ง)
25556481,28857548 65,952 64949
25566621,4364422164,5872,30440
25576581,3083442636,6921,76819
25585001,2014192911,70353530
25595871,1736036311,7736426
25604871,048320813,7406428
25614432,29323788,86836673
25625111,33125643,96967260
25635961,08926452,36179480
25645791,29331551,55551752
25657231,795470696137
25667451,551424459438

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  10284/2555
ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการจังหวัดพัทยา  โจทก์
พลทหาร พ.          จำเลย

            คำว่า “พราก” ในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรตาม ป.อ. มาตรา 317 หมายความว่า พาไปหรือแยกเด็กออกไปจากอำนาจปกครองดูแล โดยไม่จำกัดว่าจะกระทำด้วยวิธีใด ทำให้อำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือน โดยบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กไม่รู้เห็นยินยอมด้วย อันเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ทั้งนี้ไม่ว่าเด็กจะไปอยู่ที่ใด หากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลยังเอาใจใส่ เด็กย่อมอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลตลอดเวลา ดังนี้ การพรากเด็กไม่ว่าผู้พรากเด็กจะเป็นฝ่ายชักชวนโดยมีเจตนามุ่งหมายที่จะกระทำ ชำเราเด็กเพียงอย่างเดียวก็ย่อมเป็นความผิดทั้งสิ้น คดีนี้เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 อยู่บ้าน จำเลยโทรศัพท์ชักชวนผู้เสียหายที่ 1 ให้ไปหาที่บ้านจำเลย แล้วจำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 เข้าไปที่ห้องนอนของจำเลย และกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ดังนี้ อำนาจปกครองผู้เสียหายที่ 1 จึงยังคงอยู่ที่ผู้เสียหายที่ 2 การที่จำเลยชักชวนผู้เสียหายที่ 1 ไปที่บ้านของจำเลยแล้วกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือยินยอมจากผู้เสียหายที่ 2 ย่อมทำให้อำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 ที่มีต่อผู้เสียหายที่ 1 ถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนโดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่รู้เห็นยินยอมด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจาก ผู้ปกครองโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม

ป.พ.พ. มาตรา 1361
ป.วิ.พ. มาตรา 287
นาย ม.  โจทก์
นางสาว ส.  ผู้ร้อง
นาย ป.  จำเลย

            ป.พ.พ. มาตรา 1361 บัญญัติว่า “เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ จะจำหน่ายส่วนของตนหรือจำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันก็ได้ แต่ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันได้ ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน” แม้ผู้ร้องจะเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง 1 ใน 7 ส่วน แต่จากการไต่สวนข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของจ่าสิบเอก บ.จดทะเบียนใส่ชื่อของจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง เพียงคนเดียว และนำที่ดินดังกล่าวไปจำนองเพื่อประกันหนี้ไว้แก่โจทก์ ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องและบรรดาทายาทอื่นของจ่าสิบเอก บ.โต้แย้งคัดค้านแต่อย่างใด ทั้งผู้ร้องและพี่น้องคนอื่นซึ่งเป็นบุตรของจำเลยยังเคยเจรจากับโจทก์ว่าไม่ คิดจะโกงโจทก์ และภายหลังโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้ว ผู้ร้องยังมีส่วนเจรจากับโจทก์โดยขอให้โจทก์ยอมลดยอดหนี้ให้แก่จำเลย จนจำเลยและโจทก์ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และเมื่อมีการยึดที่ดินดังกล่าวออกขายทอดตลาด ผู้ร้องยังได้ไปดูแลการขายทอดตลาดแทนจำเลยอีกด้วย แสดงว่าตลอดระยะเวลาประมาณ 20 ปี นับแต่จำเลยนำที่ดินพิพาททั้งสองแปลงไปจำนองไว้แก่โจทก์ ผู้ร้องรู้มาโดยตลอด แต่ไม่เคยโต้แย้งหรือคัดค้าน แสดงว่าผู้ร้องมีเจตนาให้จำเลยแสดงตนเป็น เจ้าของที่ดินพิพาทแต่ผู้เดียวและยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพิพาทได้ การจำนองผูกพันผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงออกจากการขายทอดตลาด ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  8172/2555
ป.พ.พ. มาตรา 320
นางสาว บ.  โจทก์
บริษัท ท.    จำเลย

            ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ ระบุเนื้อที่ดินตามโฉนดแต่ละแปลง 16 ตารางวา และระบุราคาที่ดินตารางวาละ 150,000 บาท ทั้งยังระบุด้วยว่าหากว่ามีเนื้อที่ดินเพิ่มขึ้นหรือลดลง คู่สัญญาจะคิดราคาเพิ่มขึ้นหรือลดลงในราคาต่อหน่วยตามราคาที่ดิน จึงเป็นเรื่องที่จำเลยสามารถชำระหนี้ตามสัญญาในส่วนที่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ ในที่ดินได้ เมื่อครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพาณิชย์ตามสัญญาแล้ว จำเลยไม่ได้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาคือ ให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนที่ดินซึ่งจำเลยสามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ทั้งไม่เป็นการบังคับให้จำเลยรับชำระหนี้บางส่วนแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9945/2554
นาง ป. โจทก์
นาง บ. จำเลย
ป.วิ.พ. มาตรา 142(5), 246, 247
ป.พ.พ. มาตรา 349, 745

            แม้ หนี้ตามสัญญาจำนองและบันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่หนึ่งขาดอายุความแล้ว แต่เมื่อโจทก์จำเลยยังมีหนี้เดิมต่อกัน หนังสือสัญญากู้ยืมที่แปลงหนี้มาก็ย่อมมีมูลหนี้และทำให้หนี้เงินกู้เดิม ย่อมระงับไปโดยการแปลงหนี้ใหม่ ป.พ.พ. มาตรา 349 ส่วนประกันของหนี้เดิมอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้คือการจำนองย่อมโอนไปเป็น ประกันหนี้เงินกู้ยืมตามสัญญากู้ยืมเงินที่เป็นหนี้รายใหม่และยังไม่ขาดอา ยุความ จึงไม่นำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 745 มาใช้บังคับ

สำหรับ หมายเหตุด้านล่างตามสัญญากู้ยืมไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ตกลงด้วย โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละ 7.5 ต่อปี ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 247

โจทก์ ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 914,965.33 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 230,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากไม่ชำระหรือชำระไม่ครบถ้วน ให้ยึดทรัพย์จำนองและทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ แก่โจทก์จนครบ

จำเลย ให้การและฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องและบังคับโจทก์ให้ไปดำเนินการไถ่ถอนจำนอง ที่ดินโฉนดเลขที่ 15109 ตำบลดำเนินสะดวก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ให้จำเลย ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดราชบุรี ในจำนวนเงินค่าไถ่ถอนจำนวน 402,500 บาท หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ โดยจำเลยจะนำเงินจำนวน 402,500 บาท มาวางต่อศาลชั้นต้นก่อน

โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง

ศาล ชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองแก่โจทก์จำนวน 230,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 100,000 บาท นับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2532 และของต้นเงิน 130,000 บาท นับแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2533 จนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ดอกเบี้ยถึงวันฟ้องต้องไม่เกิน 684,965.33 บาท ตามที่โจทก์ขอ หากจำเลยไม่ชำระหรือชำระไม่ครบถ้วน ให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 15109 ตำบลดำเนินสะดวก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ คำขออื่นของโจทก์นอกจากนี้ให้ยก ให้ยกฟ้องแย้งของจำเลย ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองฝ่ายให้เป็นพับ

จำเลยอุทธรณ์

ศาล อุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 701,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 230,000 บาท นับตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2547 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ 14,557.50 บาท แก่จำเลยค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

จำเลยฎีกา

ศาล ฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังยุติ จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 100,000 บาท และจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 15109 ตำบลดำเนินสะดวก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เป็นประกันหนี้โดยให้ถือหนังสือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน และจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์และขอขึ้นเงินจำนองอีกจำนวน 130,000 บาท ตามสำเนาหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน และสำเนาบันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่หนึ่งท้ายฟ้อง ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงให้นำหนี้เงินกู้ยืมทั้งสองครั้งจำนวน 230,000 บาท มารวมกับดอกเบี้ยที่ค้างชำระเป็นเวลา 13 ปี 8 เดือน เป็นต้นเงินกู้ยืมฉบับใหม่จำนวน 899,796 บาท ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 และตกลงโอนสิทธิจำนองที่ให้ไว้เป็นประกันหนี้เดิมไปเป็นประกันหนี้ตาม หนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 จำนวนเงินกู้ยืมส่วนที่เกิน 230,000 บาท เป็นดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินที่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้

มี ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้หรือไม่เพียงใด จำเลยฎีกาว่า โจทก์นำสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 มาหลอกลวงข่มขู่ให้จำเลยลงลายมือชื่อ จำเลยลงลายมือชื่อโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ข้ออ้างดังกล่าวนี้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามมิให้ยกขึ้นอ้างในฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และจำเลยฎีกาต่อไปว่า การทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 เป็นการแปลงหนี้มาจากหนี้เงินกู้ยืมเดิม นับถึงวันแปลงหนี้ใหม่เป็นเวลาเกิน 10 ปี แล้ว โจทก์จึงบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างเกินกว่า 5 ปี ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 745 และเมื่อโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดดอกเบี้ยเป็นโมฆะ แต่จำเลยยอมรับผิดต่อโจทก์ในต้นเงิน 230,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย 5 ปี รวมเป็นเงิน 402,500 บาท โดยขอชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองจำนวนดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่า โจทก์กับจำเลยมีมูลหนี้เงินกู้ยืมต่อกันตามที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาจำนอง และบันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่หนึ่ง แม้หนี้ดังกล่าวขาดอายุความแล้ว แต่เมื่อโจทก์จำเลยยังมีหนี้เดิมต่อกันดังกล่าว หนังสือสัญญากู้ยืมที่แปลงหนี้มาก็ย่อมมีมูลหนี้ ดังนั้นโจทก์จำเลยจึงต้องผูกพันกันตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งเป็นหนี้ใหม่นั้น ส่วนหนี้เงินกู้ยืมเดิมตามหนังสือสัญญาจำนองและบันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่ หนึ่งตามเอกสารท้ายฟ้องย่อมระงับไปเมื่อมีการแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 สำหรับประกันของหนี้เดิมอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้คือจำนองในคดีนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงกันให้จำนองเป็นประกันหนี้รายใหม่ ด้วย สัญญาจำนองจึงโอนไปเป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมตามหนังสือสัญญากู้ยืมเอกสาร หมาย จ.1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 352 ดังนี้ เมื่อสัญญาจำนองเป็นการประกันหนี้เงินกู้ยืมตามหนังสือสัญญากู้ยืมเอกสาร หมาย จ.1 ซึ่งเป็นหนี้รายใหม่และยังไม่ขาดอายุความ จึงไม่อาจนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 745 มาใช้บังคับได้ ส่วนดอกเบี้ยตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 จำนวนเงินส่วนที่เกินจากต้นเงิน 230,000 บาท เป็นดอกเบี้ยที่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้นำมารวมเข้าเป็นต้นเงินกู้ยืม อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ แต่หนี้ต้นเงินจำนวน 230,000 บาท ยังคงสมบูรณ์หนังสือสัญญากู้ยืมเอกสารหมาย จ.1 ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ เพราะพึงสันนิษฐานโดยพฤติการณ์แห่งกรณีได้ว่าโจทก์จำเลยเจตนาให้ส่วนที่ไม่ เป็นโมฆะแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่ทำให้หนี้ที่เกิดขึ้นตามหนังสือสัญญากู้ยืมเอกสารหมาย จ.1 ยกเลิกเสียเพราะมูลแห่งหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 351 ดังที่จำเลยฎีกา โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 ในส่วนที่ชอบคือต้นเงิน 230,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันกู้ยืมตามหนังสือสัญญากู้ยืมเอกสารหมาย จ.1 ได้ แต่ตามหนังสือ สัญญากู้ยืมเอกสารหมาย จ.1 ไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้สำหรับหมายเหตุด้านล่างของเอกสารดังกล่าวที่ระบุ ว่าคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ตกลงด้วย โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้เพียงร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย จำเลยคงต้องรับผิดชำระเงินจำนวน 230,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 26 มีนาคม 2547 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5), 246, 247 ทั้งนี้แม้จำเลยจะให้การยอมรับจะชำระเงินไถ่ถอนจำนองเป็นเงิน 402,500 บาท แก่โจทก์ ซึ่งเกินจำนวนที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ก็บังคับให้ไม่ได้ และที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ต้องดำเนินการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินให้จำเลยในจำนวนเงิน 402,500 บาท ตามฟ้องแย้งนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์น้อยกว่าจำนวนที่จำเลย อ้าง ดังนั้น หากโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยแล้ว โจทก์ต้องจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินแก่จำเลยตามฟ้องแย้งฎีกาของจำเลย ฟังขึ้นบางส่วน

อนึ่ง คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาในส่วนฟ้องของโจทก์จำนวน 322,207.15 บาท ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 8,055 บาท และในส่วนฟ้องแย้งของจำเลยซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณ เป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามา 8,317 บาท ซึ่งเกินมา 62 บาท จึงต้องคืนส่วนที่เกินให้แก่จำเลย

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 230,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 26 มีนาคม 2547 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และเมื่อโจทก์ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนแล้ว ให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 15109 ตำบลดำเนินสะดวก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี แก่จำเลย มิฉะนั้น ให้ถือเอาคำพิพากษานี้แทนการแสดงเจตนาของโจทก์หากจำเลยไม่ชำระหรือชำระไม่ ครบถ้วน ให้ยึดที่ดินดังกล่าวออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เสียเกินจำนวน 62 บาท แก่จำเลย ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8061/2555
ป.วิ.พ. มาตรา 57(1)
นาย ป. โจทก์
นาง ว. ผู้ร้องสอด
นาย ม. จำเลย

            โจทก์ ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทและเรียกค่าเสียหาย จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดร้องเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม  แต่คำร้องของผู้ร้องสอดอ้างเพียงว่าผู้ร้องสอดครอบครองที่ดินบางส่วนโดย ความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทบางส่วนโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้ร้องสอดมิได้กล่าวอ้างว่า ผู้ร้องสอดมีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับจำเลยแต่อย่างใดที่จะถือว่า เป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ข้ออ้างของผู้ร้องสอดเป็นกรณีที่ผู้ร้องสอดตั้งข้อพิพาทโต้แย้งกรรมสิทธ์ใน ที่พิพาทกับโจทก์ทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ผู้ร้องสอดมีสิทธิในที่พิพาทอยู่เพียงใดคงมีอยู่อย่างนั้น หากศาลพิพากษาขับไล่จำเลยย่อมไม่มีผลกระทบถึงสิทธิของผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในมูลแห่งคดี จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้ามาเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือ บังคับตามสิทธิที่มีอยู่ คำร้องของผู้ร้องสอดไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ผู้ร้องสอดจึงไม่มีสิทธิร้องเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7791/2555
ป.วิ.อ. มาตรา 44/1, 44/2, 46, 195 วรรคสอง, 225
ป.อ. มาตรา 91, 277 วรรคสอง, 277 วรรคสาม, 279 วรรคสอง, 317 วรรคสาม
พนักงานอัยการจังหวัดกันทรลักษ์ โจทก์
เด็กหญิง ศ. โดยนางสาว อ. ผู้แทนโดยชอบธรรมกับพวก ผู้ร้อง นาย ช. จำเลย

            คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยมิได้มีการพรากผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ไปจากความปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อ การอนาจาร การพิพากษาคดีส่วนแพ่งของจำเลยต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษา ส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ว่าจำเลยไม่ได้พรากผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ไปจากผู้เสียหายที่ 2 และที่ 4 และที่ 6 จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามคำร้องของผู้ร้องที่ 2 ที่ 4 และที่ 6 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้พิพากษาให้ยกคำร้องของผู้ร้องที่ 2 ที่ 4 และที่ 6 จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความใดยกขึ้นในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสาม ประกอบมาตรา 225

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก
ถนนวังจันทน์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก
จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทรศัพท์: 0 5525 2124
โทรสาร: 0 5525 2124
email: pislok-sum@ago.go.th