เกี่ยวกับสำนักงาน
ประวัติสำนักงานอัยการจังหวัดสวรรคโลก

สำนักงานอัยการจังหวัดสวรรคโลก ในอดีตมีชื่อเรียกว่า “ที่ทำการอัยการจังหวัดประจำศาลจังหวัดสวรรคโลก” มีที่ทำการอยู่ในอาคารหลังเดียวกับศาลากลางจังหวัดสวรรคโลกโดยตัวอาคารเป็นไม้เพียงชั้นเดียวหลังคามุงกระเบื้องยกพื้นสูงประมาณ ๑ เมตร ตั้งอยู่บนที่ดินจำนวน ๑ ไร่ ๑ งาน ๙๗ ตารางวา ในอาคารศาลากลางจังหวัดนี้มีส่วนราชการอื่นอีกหลายส่วนที่ร่วมปฏิบัติราชการในอาคารหลังเดียวกัน สถานที่ราชการอื่นที่ใกล้เคียงในสมัยนั้นมี ศาลจังหวัดสวรรคโลก และเรือนจำสวรรคโลกเท่านั้น มีพนักงานอัยการปฏิบัติหน้าที่เพียง ๒ นาย และมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่เสมียนพนักงานอีก ๓ นาย ตามข้อมูลและหลักฐานที่ตรวจพบใน พ.ศ.๒๔๖๕ นั้น มีอัยการจังหวัดปฏิบัติหน้าที่ชื่อ อำมาตย์ตรีหลวงประจนคดี ผู้ว่าราชการจังหวัดชื่อ อำมาตย์โทพระยานครพระราม เขตพื้นที่รับผิดชอบในสมัยนั้นมี ๒ อำเภอ (๑)อำเภอวังไม้ขอน (๒)อำเภอหาดเสี้ยว โดยนายอำเภอวังไม้ขอนชื่อ รองอำมาตย์โทขันพิณพลราษฎร์ และนายอำเภอหาดเสี้ยวชื่อ นายนิ่ม พูดที่ ที่ทำการอัยการจังหวัดประจำศาลจังหวัดสวรรคโลก อยู่ในอาคารหลังนี้เรื่อยมาอีกหลายสมัย จนถึงวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๒ จึงได้มีราชกิจจานุเบกษาให้ยุบเลิก จังหวัดสวรรคโลก เป็นอำเภอสวรรคโลก อยู่ในเขตรับผิดชอบและปกครองของจังหวัดสุโขทัย และให้ส่วนราชการอื่นไปรวมอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดสุโขทัย คงให้ที่ทำการอัยการจังหวัดประจำศาลจังหวัดสวรรคโลกแห่งเดียวเท่านั้น ยังคงปฏิบัติราชการอยู่ในศาลากลางจังหวัดสวรรคโลกจึงเป็นอันว่าอาคารศาลากลางจังหวัดสวรรคโลกทั้งหลังยกให้เป็นอาคารของที่ทำการอัยการประจำศาลจังหวัดสวรรคโลก นอกจากอาคารศาลากลางแล้วบ้านพักของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือจวนผู้ว่าฯ ให้เป็นบ้านพักของอัยการจังหวัดด้วยและได้ปฏิบัติหน้าที่ในอาคารหลังนี้เรื่อยมาจนอาคารได้เก่าชำรุดเสียหายลงไปมาก จึงได้จัดของบประมาณเพื่อสร้างอาคารหลังใหม่และก็ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จใช้ปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๙ โดยสร้างทับลงไปจุดเดียวและบริเวณเดียวกับอาคารหลังเก่าและใช้อาคารหลังนี้ปฏิบัติราชการเรื่อยมาจนถึงปลายปี ๒๕๔๐ จึงได้งบประมาณก่อสร้างอาคารหลังใหม่ซึ่งได้สร้างทับลงที่เดิมอีกและเริ่มใช้อาคารหลังนี้ตั้งแต่ต้นปี ๒๕๔๑ ซึ่งเป็นที่ทำการปัจจุบัน
เขตอำนาจรับผิดชอบของสำนักงานอัยการจังหวัดสวรรคโลก
๑.อำเภอสวรรคโลก (มีสถานีตำรวจ ๒ สถานี คือ สถานีตำรวจภูธรสวรรคโลกและสถานีตำรวจภูธรเมืองบางขลัง)
๒.อำเภอศรีสัชนาลัย (มีสถานีตำรวจอยู่ ๒ สถานี คือ สถานีตำรวจภูธรศรีสัชนาลัยและสถานีตำรวจภูธรบ้านแก่ง)
๓.อำเภอทุ่งเสลี่ยม
๔ .อำเภอศรีนคร
อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการมีดังนี้
มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำจานและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
(๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือพนักงานอัยการ
(๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของ สำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
(๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนี่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้ กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
(๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
(๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
(๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึด ทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาก ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
(๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
(๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
(๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
(๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไป ตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.
วิสัยทัศน์ (Vision)
“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”
พันธกิจ (Missions)
1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โครงสร้าง (Structure)

วัฒนธรรมองค์กร


บุคลากร
ชื่อ | สกุล | ตั้งแต่ | ถึง |
อำมาตย์ตรี หลวงประจนคดี | พ.ศ.2465 | พ.ศ.2468 | |
รองอำมาตย์โท สำราญ ศิริพันธ์ | พ.ศ.2468 | พ.ศ.2470 | |
รองอำมาตย์โท ขุนประโชติกรณี | พ.ศ.2470 | พ.ศ.2474 | |
รองอำมาตย์ เถียว | โพธิ์แก้ว | พ.ศ.2474 | พ.ศ.2477 |
นายสุดจิตร | พูลเกษ | พ.ศ.2477 | พ.ศ.2482 |
ร.ต.ต.สังวาลย์ หรือ ธำรง | จารนสรี | พ.ศ.2482 | พ.ศ.2489 |
นายจิตร์ | ศัลยพงษ์ | พ.ศ.2489 | พ.ศ.2491 |
นายยอด | ไตติลานนท์ | พ.ศ.2491 | พ.ศ.2492 |
นายสวัสดิ์ | สนิทพันธ์ | พ.ศ.2493 | พ.ศ.2502 |
นายสนัด | บัณฑิตย์ | พ.ศ.2502 | พ.ศ.2507 |
นายสง่า | ไชยพรรค | พ.ศ.2507 | พ.ศ.2508 |
นายมาตร | เจริญวัลย์ | พ.ศ.2508 | พ.ศ.2512 |
นายอุทัย | สิงหพัศ | พ.ศ.2512 | พ.ศ.2513 |
นายปลด | เจริญไวย | พ.ศ.2513 | พ.ศ.2516 |
นายอรุณ | แสงทอง | พ.ศ.2516 | พ.ศ.2520 |
นายสมยศ | เสนายอด | พ.ศ.2520 | พ.ศ.2521 |
นายสามารถ | สิทธิสาร | พ.ศ.2521 | พ.ศ.2522 |
นายกิตติ | ปิลันธนดิลก | พ.ศ.2522 | พ.ศ.2523 |
นายไกรสีห์ | พันธุมาศโกมล | พ.ศ.2523 | พ.ศ.2525 |
นายสิทธิศักดิ์ | สุวรรณปกร | พ.ศ.2525 | พ.ศ.2527 |
นายชูศักดิ์ | จันทนวิลัย | พ.ศ.2527 | พ.ศ.2528 |
นายอำไพ | โสมสิน | พ.ศ.2528 | พ.ศ.2529 |
นายเสริมเกียรติ | วรดิษฐ์ | พ.ศ.2529 | พ.ศ.2532 |
นายสมชาย | จันทร์ประเสริฐ | พ.ศ.2532 | พ.ศ.2534 |
นายบัณฑิต | ปรัชญชรินกร | พ.ศ.2534 | พ.ศ.2535 |
นายประนอม | มงคลพัฒนกุล | พ.ศ.2535 | พ.ศ.2536 |
นายอำนวย | สาสกุล | พ.ศ.2536 | พ.ศ.2537 |
นายอำนวย | สุขเกษม | พ.ศ.2537 | พ.ศ.2538 |
นายวันชาติ | สันติกุญชร | พ.ศ.2538 | พ.ศ.2539 |
นายสัญชัย | รัตนเลขา | พ.ศ.2539 | พ.ศ.2541 |
ร.อ.ธีรยุทธ | อุลิศ | พ.ศ.2541 | พ.ศ.2542 |
นายวิโรจน์ | อรุณโรจน์ | พ.ศ.2542 | พ.ศ.2543 |
นายสุนทร | สุรวัฒนาวงศ์ | พ.ศ.2543 | พ.ศ.2544 |
นายนิรันดร์ | วุฒิวัฒน์ | พ.ศ.2544 | พ.ศ.2545 |
นายเจน | สันติวาสะ | พ.ศ.2545 | พ.ศ.2546 |
นายขวัญชัย | สกุลสรรเสริญ | พ.ศ.2546 | พ.ศ.2546 |
นายขวัญชัย | สกุลสรรเสริญ | 1-ธ.ค.-46 | 2 พ.ค.2547 |
นายสมชาย | เก้านพรัตน์ | 3-พ.ค.-47 | 3-เม.ย.-48 |
นายประยูร | ปุญเขตต์ | 4-เม.ย.-48 | 30 เม.ย. 49 |
นายวิพล | เทียนเสริมทรัพย์ | 1 พ.ค. 49 | 1 เม.ย. 50 |
นายจิระประวัติ | แบบประเสริฐ | 2-เม.ย.-50 | 31-มี.ค.-51 |
นายชลัมพร | เพ็ชรรัตน์ | 1 เม.ย. 51 | 31-มี.ค.-52 |
นายนิทัศน์ | ธรรมโชติ | 1 เม.ย. 52 | 31-มี.ค.-53 |
นายวัฒนา | ชั้นบุญ | 1 เม.ย. 53 | 31-มี.ค.-54 |
นายสมชัย | รัตนวิเชียร | 1-เม.ย.-54 | 31-มี.ค.-56 |
นายสมชาย | คชไกร | 1 เม.ย. 56 | 31 มี.ค. 57 |
นายกิจจา | ปราณีนุช | 1-เม.ย.-57 | 31 มี.ค. 58 |
นางนิรมล | ธำรงราชนิติ | 1-เม.ย.-58 | 31-มี.ค.-59 |
ร.ต.อ.พิพัฒน์ | พหุลรัตน์พิทักษ์ | 1-เม.ย.-59 | 31-มี.ค.-60 |
นายวราวุฒิกรณ์ | ด้วงตุ่น | 3-เม.ย.-60 | 31-มี.ค.-61 |
นายวัชรินทร์ | สังสีแก้ว | 2-เม.ย.-61 | 31-มี.ค.-63 |
นายนิกร | หวังสุนทรชัย | 1-เม.ย.-63 | 31-มี.ค.-64 |
นางอรทัย | ลิ้มธนาคม | 1-เม.ย.-64 | 31-มี.ค.-65 |
นายประภาส | บุญเสรฐ | 1-เม.ย.-65 | 31 มี.ค. 66 |
นายบุญธรรม | สีแสง | 1 เม.ย. 66 | ปัจจุบัน |
ข้าราชการอัยการ





ข้าราชการธุรการ













จ้างเหมาบริการ




รปภ.



สถิติคดีของสำนักงานอัยการจังหวัดสวรรคโลก
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 – 30 พฤศจิกายน 2566
ลำดับ | ประเภทสำนวนคดี | ปี 2561 | ปี 2562 | ปี 2563 | ปี 2564 | ปี 2565 | ปี 2566 |
1 | ส.1 สำนวนปรากฏผู้ต้องหาที่ส่งตัวมา | 808 | 862 | 812 | 779 | 812 | 743 |
2 | ส.2 สำนวนปรากฏผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมา | 97 | 92 | 76 | 52 | 63 | 118 |
3 | ส.2 ก. สำนวนปรากฏผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมา (เฉพาะคดีเปรียบเทียบปรับ) | 2,657 | 1,914 | 1,020 | 1,815 | 215 | 144 |
4 | ส.3 สำนวนคดีอาญาความอาญาไม่ปรากฏผู้กระทำความผิด | 35 | 47 | 49 | 58 | 24 | 11 |
5 | ส.4 สารบบคดีอาญาที่ฟ้องศาล | 784 | 834 | 793 | 740 | 809 | 721 |
6 | ส.4 สารบบคดีอาญาที่ฟ้องด้วยวาจา | 424 | 508 | 197 | 432 | 768 | 427 |
7 | ส.1 ฟ สำนวนคดีฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด | 177 | 248 | 221 | 187 | 11 | – |
8 | ส.12 สารบบคดีชันสูตรพลิกศพ (ตายระหว่างควบคุม) | 1 | 2 | 1 | – | – | 1 |
9 | ส.12 ก. สำนวนคดีชันสูตรพลิกศพกรณีที่มีความตายมิได้เป็นผลแห่งการกระทำความผิดอาญา (ตายโดยผิดธรรมชาติ) | 56 | 64 | 65 | 30 | 11 | 8 |
เอกสารเผยแพร่
ติดต่อหน่วยงาน
