

- รับทราบและสืบสานเจตนารมณ์ตามกรอบการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการสำนักงานอัยการสูงสุดประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗












สำนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัย ร่วมกิจกรรมพิธีรับรุ่งอรุณแห่งความสุข ณ อุโบสถวัดตะพังทอง และพิธีบวงสรวงบูรพกษัตริย์สุโขทัยทุกพระองค์ ณ บริเวณพระบรมราชานุเสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
สำนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัย ร่วมพิธีวางพานพุ่ม เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง 14 พฤศจิกายน 2566
สำนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัย ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายบังคม พระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันปิยมหาราช 23 ตุลาคม 2566
สำนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัย ร่วมพิธีสวดพระพุทธมนต์ทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2566
สำนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัย จัดกิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน (Thai National Flag Day) ประจำปี 2566 วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2566 ณ บริเวณหน้าอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัย
สำนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัย ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และวางพานพุ่มและพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2566
สำนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัย ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทาน และวางพวงมาลาถวายสักการะ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เนื่องในวันรพี ณ ศาลจังหวัดสุโขทัย
สำนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัย ร่วมกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม ๒๕๖๖ ณ หอ ประชุมศรีจุฬาลักษณ์โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม
พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2566
สำนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัย ร่วมกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2566 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี วันเสาร์ที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ อาคารวรรณกลาง มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย
สำนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัย ร่วมกิจกรรมวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วันอังคารที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๖ ณ อาคารวรรณกลาง มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย
สำนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัย ร่วมกิจกรรมงานวันจักรี วันพฤหัสบดีที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๖ ณ อาคารวรรณกลาง มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย
สำนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัย ร่วมกิจกรรมงานวันรัฐพิธี วันยุทธหัตถี วันพุธที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๖ ณ อาคารวรรณกลาง มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย
สำนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัย ร่วมกิจกรรมงานวันรัฐพิธี วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช วันอังคารที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๖ ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
เกี่ยวกับสำนักงาน

ในอดีตที่ผ่านมา สำนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัยมีชื่อเรียกว่า “ที่ทำการอัยการจังหวัดสุโขทัย” อาศัยอยู่ในอาคารของศาลากลางจังหวัดสุโขทัย (หลังเก่า) มีอัยการจังหวัดปฏิบัติหน้าที่คนแรกคือ นายเจริญ ภมรบุตร (พ.ศ.2475-2479) พนักงานอัยการและเสมียนพนักงานปฏิบัติงานอยู่ห้องเดียวกันตลอดมา ต่อมาในปี พ.ศ.2522 นายพัชรินทร์ พูลโพธิ์ทอง อัยการจังหวัด ได้ขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัดขอห้องทำงานเพิ่มอีก 1 ห้อง และได้แยกห้องปฏิบัติงานระหว่างพนักงานอัยการและเจ้าหน้าที่ธุรการ ต่อมาในปี พ.ศ.2527 นายนิคม บุญกล่อม ขณะดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดสุโขทัย ได้ของบประมาณในการก่อสร้างอาคารที่ทำการใหม่ไปยังกรมอัยการ โดยก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2527 และต่อมาในปี พ.ศ.2559 สำนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัย ได้ของบประมาณไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อก่อสร้างสำนักงานใหม่ โดยได้รับอนุมัติงบก่อสร้างอาคารสำนักงานขนาดสูง 3 ชั้น พร้อมบ้านพัก จำนวน 14 หลัง และสิ่งก่อสร้างประกอบรวมถึงครุภัณฑ์สำนักงาน และครุภัณฑ์บ้านพัก สถานที่ก่อสร้าง ณ บริเวณ ทุ่งทะเลหลวง ที่ราชพัสดุเลขที่ สท.924 ได้รับอนุมัติงบประมาณในปีพุทธศักราช 2559 ได้เริ่มก่อสร้างฐานราก ในปีพุทธศักราช 2560 ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และส่งมอบโครงการก่อสร้างฯ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 และเริ่มเปิดทำการตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา


อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด มีดังนี้
(มาตรา ๒๓) สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชากร เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครอง ป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
(๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
(๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
(๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
(๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
(๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ
(๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
(๘) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
(๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด
ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
อำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด มีดังนี้
(มาตรา ๒๗) ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด
(๒) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ
(๓) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด
ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้
ให้อัยการสูงสุดโอยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด
อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ มีดังนี้
มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำจานและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
(๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือพนักงานอัยการ
(๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของ สำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
(๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้ กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
(๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
(๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
(๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึด ทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
(๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
(๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
(๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
(๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไป ตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.
วิสัยทัศน์ (Vision)
“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”
พันธกิจ (Missions)
1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โครงสร้าง (Structure)

วัฒนธรรมองค์กร

นโยบายอัยการสูงสุด




บุคลากร
ลำดับ | ชื่อ | สกุล | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|---|
1 | นายเจริญ | ภมรบุตร | 2475 – 2479 |
2 | หลวงอรรถธรรมสุนธร | 2479 – 2488 | |
3 | นายศิริ | จารุนาคร | 2489 – 2490 |
4 | ร.ต.ต.ธำรง (สังวาลย์) | จารณศรี | 2490 – 2491 |
5 | นายสมนึก | ตั้งคณะสิงห์ | 2491 – 2495 |
6 | นายจิม | วงศ์แท่นทอง | 2495 – 2499 |
7 | นายโชติ | นาถเสวี | 2499 – 2502 |
8 | นายแปลก | อักษรกูล | 2502 – 2504 |
9 | นายอวบ | ศุภลักษณ์ | 2504 – 2505 |
10 | นายสง่า | ไชยพรรค | 2505 – 2511 |
11 | นายพิมล | จันทร์ศรีวงศ์ | 2511 – 2513 |
12 | นายเด่น | ภู่สุวรรณ | 2513 – 2515 |
13 | นายชุมแสง | ปิยปาณานนท์ | 2515 – 2518 |
14 | นายอรุณ | สังข์ศิละ | 2518 – 2521 |
15 | นายวิทยา | ปัตตพงศ์ | 2521 – 2522 |
16 | นายพัชรินทร์ | พูลโพธิ์ทอง | 2522 – 2525 |
17 | นายไกรสีห์ | พันธุใศโกมล | 2525 – 2526 |
18 | นายนิยม | บุญกล่อม | 2526 – 2527 |
19 | นายสิทธา | สลักคำ | 2527 – 2529 |
20 | นายอำไพ | โสมสิน | 2529 – 2531 |
21 | นายไพศาล | หิรัญสาลี | 2531 – 2533 |
22 | นายอำนวย | เปลี่ยนจิตรดี | 2533 – 2535 |
23 | นายบัณฑิต | ปรัชญชรินกร | 2535 – 2537 |
24 | นายอำนวย | สาสกุล | 2537 – 2538 |
25 | นายอำนวย | สุขเกษม | 2538 – 2539 |
26 | นายวันชาติ | สันติกุญชร | 2539 – 2541 |
27 | ร.ต.ประพันธ์ | อรรถกมล | 2541 – 2542 |
28 | นายบำรุงชัย | แสนสุข | 2542 – 2543 |
29 | นายกัมปนาท | นาคะเกศ | 2543 – 2544 |
30 | นายกรชาล | จินดายะพานิชย์ | 2544 – 2546 |
31 | นายเฉลิมพล | พลญาพิพัฒน์ | 2546 – 2547 |
32 | นายขวัญชัย | สกุลสรรเสริญ | 2547 – 2548 |
33 | นายสุวิช | ชูตระกูล | 4 เม.ย.2548 – 30 เม.ย.2549 |
34 | นายสมชาย | นรัตถรักษา | 1 พ.ค.2549 – 31 มี.ค.2550 |
35 | นายจำรัส | พุกสุวรรณ | 1 เม.ย.2550 – 21 ต.ค.2550 |
36 | นายวุฒิรัตน์ | มีผดุง | 31 ต.ค.2550 – 31 มี.ค.2551 |
37 | นายพิสุทธิ์ | จรูญโสภณศักดิ์ | 1 เม.ย.2551 – 31 มี.ค.2553 |
38 | นางวิจิตรา | อิศโร | 1 เม.ย.2553 – 31 มี.ค.2554 |
39 | นายชวลิต | บรรณเกียรติ | 1 เม.ย.2554 – 31 มี.ค.2555 |
40 | นายจรัญ | ศุภรตุลธร | 1 เม.ย.2555 – 31 มี.ค.2557 |
41 | ดร.สิทธิพร | บุญคุ้ม | 1 เม.ย.2557 – 31 มี.ค.2558 |
42 | นางสาวกัลยา | แก้วอ้น | 1 เม.ย.2558 – 31 มี.ค.2560 |
43 | นายอนันต์ | ทองแตง | 1 เม.ย.2560 – 31 มี.ค.2561 |
44 | นายชุติเดช | กอนวงษ์ | 1 เม.ย.2561 – 31 มี.ค.2563 |
45 | นายสัมพันธ์ | โภคบุตร | 1 เม.ย.2563 – 31 มี.ค.2564 |
46 | นายจตุพร | จันทปลิน | 1 เม.ย.2564 – 31 มี.ค.2565 |
47 | นายทวี | อยู่จันทร์ | 1 เม.ย.2565 – ปัจจุบัน |































สถิติคดี

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัย
https://goo.gl/maps/f84tZAaPtyakGHCP9
เลขที่ 219 หมู่ 5 ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย 64000
โทรศัพท์ 055-651708 โทรสาร 055-651709
E-mail : skthai@ago.go.th