โครงการฝึกอบรมหลักสูตรประนอมและระงับข้อพิพาทในระดับชุมชน ประจำปี พ.ศ.2567

เมื่อวันที่ 22 ก.พ.67 >> สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดอุทัยธานี (สคชจ.อุทัยธานี) นำโดย นายปกรณ์ เทศทำนุ อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดอุทัยธานี และคณะเจ้าหน้าที่ จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรประนอมและระงับข้อพิพาทในระดับชุมชน ประจำปี พ.ศ.2567 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยคต ตำบลห้วยคต อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการประนอมข้อพิพาทกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายอาญาในความผิดอันยอมความได้ ให้แก่คณะกรรมการหมู่บ้านตำบลห้วยคต จำนวน 80 ราย เพื่อสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน และดำเนินการไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาทในระดับชุมชนต่อไป


วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา

เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567 >> นายปกรณ์ เทศทำนุ อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดอุทัยธานี พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่ ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระกุศล และพิธีถวายพระพร เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา 8 มกราคม 2567 ณ บริเวณวงเวียนห้าแยกวิทยุ จากนั้น ร่ร่วมพิธีถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ ณ สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดอุทัยธานี เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้


วันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2566 >> นายปกรณ์ เทศทำนุ อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดอุทัยธานี พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2566 โดยมีนายธีรพัฒน์ คัชมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี เป็นประธาน ณ บริเวณห้าแยกวิทยุ


กิจกรรมจิตอาสา เนื่องในวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาทบพิตร

เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2566>> นายปกรณ์ เทศทำนุ อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดอุทัยธานี พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่ ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา ทำความสะอาดทางเดินเลียบแม่น้ำสะแกกรัง และกำจัดวัชพืชในแม่น้ำสะแกกรัง เนื่องในวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และกิจกรรม kick off พ่นละอองน้ำลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยมี
นายธีรพัฒน์ คัชมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี เป็นประธาน ณ บริเวณลานสะแกกรัง

เรื่องประกาศ ณ วันที่
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาจัดจ้างทำตรายาง จำนวน 2 อัน โดยวิธีเฉพาะเจาะจง27/03/67
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาจ้างซ่อมรถยนต์ราชการ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง20/03/67
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาจัดซื้อวัสดุสำนักงาน จำนวน 10 รายการ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง20/03/67
ประกาศ เรื่อง การจำหน่ายพัสดุ เสื่อมสภาพ หรือไม่จำเป็นต้องใช้ในราชของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดอุทัยธานี20/03/67
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาจัดจ้างทำพานดอกไม้สด จำนวน 1 พาน โดยวิธีเฉพาะเจาะจง13/03/67
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาจัดซื้อวัสดุคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 รายการ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง02/02/67
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาจัดจ้างทำตรายาง จำนวน 3 อัน โดยวิธีเฉพาะเจาะจง26/10/66
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาจัดจ้างทำพวงมาลาดอกไม้สด จำนวน 1 พวง โดยวิธีเฉพาะเจาะจง11/10/66
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา การจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 256729/09/66
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาการจัดซื้อวัสดุงานบ้านงานครัว (กระดาษชำระ และสบู่เหลวล้างมือ) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง27/09/66
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาวัสดุงานบ้านงานครัว (น้ำดื่ม) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง27/09/66
ประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือกการจัดจ้างเหมาบริการงานต่างๆ ของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดอุทัยธานี ต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 256727/09/66
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาจัดซื้อวัสดุสำนักงาน จำนวน 1 รายการ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง20/09/66
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาจัดซื้อวัสดุงานบ้านงานครัว จำนวน 9 รายการ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง20/09/66

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติสำนักงาน

     เนื่องจากสภาพปัญหามากมายหลายสาเหตุด้วยกัน ที่มีส่วนทำให้เกิดความเดือนร้อนแก่ประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่มีฐานะยากจน หรือที่อยู่ในชนบทห่างไกล อาทิเช่น การถูกเอารัดเอาเปรียบในด้านเศรษฐกิจ ปัญหาการแย่งที่ดินทำกิน การกระทบกระทั่งกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับราษฎรในการใช้อำนาจรัฐอันไม่เป็นธรรม ฯลฯ สาเหตุต่าง ๆเหล่านี้ เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนที่ถูกกระทำ ต้องสูญเสียสิทธิเสรีภาพและทรัพย์สินไป ซึ่งผลที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือการแก้แค้น ประทุษร้ายต่อร่างกาย และชีวิตซึ่งกันและกัน การก่ออาชญากรรม ที่ทำให้สังคมอยู่กันอย่างหวาดผวา ไม่มีความผาสุก และเมื่อเกิดขึ้นมาก ๆ ก็จะมีผลกระทบ ต่อความมั่นคงของประเทศได้ ซึ่งภาวการณ์ดังกล่าว จากการศึกษาวิจัยก็ได้พบว่า มูลเหตุสำคัญประการหนึ่งก็คือ ความไม่รู้กฎหมาย ที่ทำให้คนส่วนหนึ่งมีการกระทำที่ละเมิด ต่อกฎเกณฑ์ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ในขณะที่คนอีกส่วนหนึ่งก็ไม่มีความรู้ ที่จะใช้กฎหมาย ในการปกป้องและพิทักษ์สิทธิหรือผลประโยชน์ของตน เมื่อเกิดกรณีพิพาทขึ้น ก็ทำให้รัฐต้องทุ่มเทงบประมาณจำนวนไม่น้อย ในแต่ละปีเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็ว
            อย่างไรก็ตาม การใช้มาตรการแก้ไขปัญหาสังคม โดยวิธีการปราบปรามแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ใช่วิถีทางที่ได้ผลอย่างแท้จริง วิธีการที่ดีที่ควรทำควบคู่กันไปก็คือ การส่งเสริมประชาชนให้มีความรู ้ ในสิทธิและหน้าที่ของตนตามกฎหมาย จะทำให้เกิดความสัมฤทธิ์ผล ในการลดปัญหาพิพาทขัดแย้งได้ในปริมาณที่มากกว่า ดังนั้น จากแนวความคิดดังกล่าว ได้นำมาสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง ในยุครัฐบาลของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งได้มีการจัดตั้งโครงการให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมายแก่ประชาชน ชนบทในเขตยากจนขึ้น อันเป็นโครงการหนึ่ง ในแผนงานบริการขั้นพื้นฐาน ของแผนพัฒนาชนบทยากจน แล้วบรรจุโครงการนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) โดยในชั้นแรกได้มอบหมาย ให้สำนักนโยบายและแผนมหาดไทย กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ปฏิบัติ
             สำนักนโยบายและแผนมหาดไทย ได้ดำเนินงานไปได้ระยะหนึ่ง ก็มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2526 เห็นชอบ ตามความเห็นของคณะกรรมการปฏิรูป ระบบราชการ และระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ให้โอนโครงการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ชนบทในเขตยากจน ให้สำนักงานอัยการสูงสุด (กรมอัยการในขณะนั้น) เป็นผู้ดำเนินการสืบต่อมา ก่อนหน้าที่จะได้รับโอนงานมานั้น กรมอัยการได้มีการดำเนินงานด้านการคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพ และ ผลประโยชน์ของประชาชนตามที่กฎหมาย กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของพนักงานอัยการอยู่แล้วโดย กรมอัยการได้มีคำสั่งที่ 174/2525 ลงวันที่ 15 กันยายน 2525 จัดตั้งสำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน (สคช.) ขึ้น โดยจัดตั้งเป็นหน่วยงานภายใน ซึ่งเมื่อสำนักนโยบายและแผนมหาดไทย ได้ส่งมอบงานตามโครงการให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมายแก่ ประชาชนให้กรมอัยการทั้งหมด ในวันที่ 1 มิถุนายน 2527 กรมอัยการก็ได้มอบหมายงานตามโครงการฯ ให้สำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนดำเนินงานมาตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา
             สำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และผลประโยชน์ของประชาชน ดำเนินงานให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมายแก่ประชาชนชนบทในเขตยากจน ปรากฏว่าเกิดผลดีมาเป็นลำดับ ดังนั้นเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2527 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้โอนงานช่วยเหลือทางกฎหมายแก่เกษตรกรและ ผู้ยากจน ที่สำนักงานปลัดสำนัก นายกรัฐมนตรีดำเนินการอยู่ มาให้สำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนดำเนินงาน ต่อไปด้วย ดังนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ . 2527 เป็นต้นมา สำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และผลประโยชน์ของประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด (กรมอัยการในขณะนั้น) จึงเป็นหน่วยงานเดียวของรัฐ ที่ปฏิบัติงานทางด้านคุ้มครองสิทธิ และ ช่วยเหลือทางกฎหมาย แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่องมาตราบจนปัจจุบัน   ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมอัยการ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2531 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 105 ตอนที่ 122 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2531 แบ่งส่วนราชการในกรมอัยการเพิ่มขึ้น คือ กองคดีเด็กและเยาวชน กองคดีภาษีอากร กองคดีศาลแขวง กองคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร และ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ได้กำหนดให้สำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนราชการระดับกอง ตามกฎหมายของกรมอัยการ และเปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน” ตามคำสั่งกรมอัยการที่ 199/2531 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2531
            สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และผลประโยชน์ของประชาชน ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือเมื่อมีกรณีอันสมควร เข้าคุ้มครองป้องกันสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ ของประชาชนในประการอื่น ที่กฎหมายให้มีอำนาจดำเนินการได้ ตลอดจนดำเนินงาน  ให้บริการช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย แก่ประชาชนผู้ยากไร้ และประชาชนในชนบท รวมทั้งดำเนินการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย ให้แก่ประชาชนทั่วไป ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น 3 กอง คือ”
1) กองคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
2) กองช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน
3) กองแผนและติดตามประเมินผล
            ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2531 เป็นต้นไป
ปัจจุบันนี้ ตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 29 กันยายน 2549
ข้อ 15 (24) กำหนดให้สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือ ทางกฎหมายแก่ประชาชน มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และผลประโยชน์ของประชาชน การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย การเผยแพร่ความรู้ทางด้านสิทธิมนุษยชน และความรู้ทางกฎหมาย แก่ประชาชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ การดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอรรถคดี การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย และการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ประชาชน ศึกษาวิจัย และพัฒนาระบบ รูปแบบ วิธีการ และแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการดังกล่าว

ผลการปฏิบัติงาน
            สคช. ได้รับการคัดเลือกและยกย่องให้เป็นหน่วยงานดีเด่นระดับชาติ สาขาพัฒนาสังคม พ.ศ. 2529 จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ในส่วนที่เกี่ยวกับประชาชนทั้งในกรุงเทพฯและในต่างจังหวัด ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2535 อนุมัติให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีกติกา ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (พ.ศ. 2509) และจากเหตุผลดังกล่าวได้มี การจัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนระดับชาติขึ้น โดนมีนายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน        ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้กำหนดให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นแกน กลางในการจัดตั้งองค์กรทางด้านสิทธิมนุษยชน

โครงสร้างของ สคช.
            สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิและให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมายแก่ประชาชนสังกัดอยู่ ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ดังนี้

ส่วนกลาง ประกอบด้วย
สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (ส่วนกลาง)
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายแผนช่วยเหลือทางกฎหมาย
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิ
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย 1 (รัชดาภิเษก)
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย 2 (หลักเมือง)
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย 3 (ธนบุรี)
สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย 4 (มีนบุรี)

ส่วนภูมิภาค
            เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ได้รับการบริการทางกฎหมาย จากพนักงานอัยการโดยเสมอภาค และทั่วถึงกัน สำนักงานอัยการสูงสุดจึงมีคำสั่ง ให้จัดตั้งสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคดี จังหวัด (สคชจ.) ขึ้น โดยมีหน้าที่สำคัญคือ เผยแพร่และฝึกอบรมความรู้ทางกฎหมาย และให้คำปรึกษาปัญหากฎหมายแก่ประชาชน จัดหาทนายความช่วยเหลือในทางอรรถคดี แก่ประชาชนผู้ยากจนและไม่ได้รับความเป็นธรรม ตลอดจนงานการประนอมข้อพิพาท งานคุ้มครองสิทธิทางศาลตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ เช่น การร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก ฯลฯ

สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ในส่วนภูมิภาคประกอบด้วย

–  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย ภาค 1- 9 จำนวน 9 แห่ง
–  สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด (สคชจ.) ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานอัยการจังหวัด จำนวน 76 แห่ง
–  สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด ประจำจังหวัดสาขา (สคชจ. สาขา) ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานอัยการจังหวัดประจำอำเภอ จำนวน 34 แห่ง


ภารกิจและหน้าที่

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดอุทัยธานีมีภาระกิจและหน้าที่ดังต่อไปนี้  
1. รับปรึกษาปัญหาข้อกฎหมาย    
2. ร้องขอจัดการมรดก
3.  ร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ
4. ร้องขอให้ศาลสั่งให้รับบุตรบุญธรรม
5.  ร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ
6.  ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครอง
7.  ร้องขอให้ศาลสั่งถอนอำนาจปกครอง
8.  จัดทนายความอาสาให้กับราษฎรผู้ยากจนในคดีแพ่ง
9.  ประนอมข้อพิพาทในทางแพ่งและอาญาในความผิดอันยอมความได้
10.  การเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน การบังคับคดีขอหน่วยงานของรัฐ

            เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเข้าถึงความรู้และสิทธิตามกฎหมาย สำนักงานได้มีการทำความตกลงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้บริการด้านการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน โดยจัดตั้งศูนย์ปรึกษากฎหมาย  7 ศูนย์ ดังนี้

            1. ศูนย์เทศบาลตำบลบ้านไร่ เบอร์โทรศัพท์ 0-5653-9107
2. ศูนย์องค์การบริหารส่วนตำบลประดู่ยืน เบอร์โทรศัพท์ 0-5698-9603  
3. ศูนย์เทศบาลตำบลทัพทัน เบอร์โทรศัพท์ 0-5654-0245
4. ศูนย์องค์การบริหารส่วนตำบลหลุมเข้า  เบอร์โทรศัพท์ 0-5650-3533  
5. ศูนย์เทศบาลตำบลหนองฉาง เบอร์โทรศัพท์ 0-5653-2333
6. ศูนย์องค์การบริหารส่วนตำบลสุขฤทัย  เบอร์โทรศัพท์ 0-5698-5560  
7. ศูนย์องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกลางดง  เบอร์โทรศัพท์ 0-5698-5560

วิสัยทัศน์ (Vision)

“เป็นองค์กรแห่งความยุติธรรมของสังคม เพื่อความมั่นคงของชาติ และความผาสุกของประชาชน”

พันธกิจ

  1. อำนวยความยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส พึ่งพิงได้บนพื้นฐานของความเสมอภาค
  2. รักษาผลประโยชน์ของรัฐ เพื่อประโยชน์สาธารณะและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
  3. รับรู้ ดูแล แก้ปัญหาในการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และเป็นที่พึ่งของประชาชนในด้านกฎหมาย
  4. พัฒนาศักยภาพองค์กรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกบนฐานความเชี่ยวชาญ

ค่านิยมร่วม “PUBLIC”

  • P : People First      ประชาชนมาที่หนึ่ง
  • U : Uprightness      เป็นที่พึ่งความยุติธรรม
  • B : Betterment      คิดและทำเพื่อพัฒนา
  • L : Lawfulness      รักษากฎหมายด้วยเหตุผล
  • I : Integrity      ประพฤติตนซื่อสัตย์และโปร่งใส
  • C : Collaboration      ร่วมมือร่วมใจสู่เป้าหมาย

โครงสร้าง (Structure)

ตำแหน่งสำคัญและการแบ่งส่วนงานภายใน

ข้าราชการอัยการ

นายปกรณ์ เทศทำนุ
อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย
และการบังคับคดีจังหวัดอุทัยธานี

นายวิทยา ศรีอุดม
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

พ.ต.ท.เอกพล บงกชมาศ
รองอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย
และการบังคับคดีจังหวัดอุทัยธานี

ข้าราชการธุรการ

นางสาวนันท์นภัส บุญนิล
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการ
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย
และการบังคับคดีจังหวัดอุทัยธานี

นายณัฐศักดิ์ ดิษประภัส
เจ้าพนักงานคดีชำนาญการ

นางพัชรี เจนทัน
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นางสาวสุภาภรณ์ สง่าชาติ
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นางสาวทิพวรรณ หิรัญ
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาววีรณัฏฐา ภูสีน้อยปริตร
นิติกรปฏิบัติการ

จ้างเหมาบริการ

นายอรรถพร พูลเผ่า
นิติกร

นายรังสรรค์ แม่นศร
พนักงานขับรถยนต์

นายบรรเลง เพ็งศรีรัตน์
ทนายความอาสาอาวุโส

นางกัลยกรณ์ สิทธิกรณ์
ทนายความอาสา

นางสาวกฤตยา บัวเผื่อน
ทนายความอาสา

เอกสารเผยแพร่ทางกฎหมาย

เอกสารที่ต้องนำมายื่นในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
1.  ทะเบียนบ้านของผู้ตาย
2.  ทะเบียนบ้านของผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
3.  ใบมรณบัตรของผู้ตาย
4.  ใบมรณบัตรของบิดามารดา  กรณีบิดามารดาของผู้ตาย  (เจ้ามรดก)  ถึงแก่ความตายก่อนแล้ว
5.  ทะเบียนสมรสของสามี  หรือ  ภรรยาของผู้ตาย
6.  ทะเบียนสมรส  และ / หรือ  ทะเบียนการหย่าของสามีภรรยาของผู้ตาย
7.  ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ   ชื่อสกุล  ของทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
8.  สูติบัตรของบุตรของผู้ตาย  กรณีบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ  หรือ  ไม่สามารถให้ความยินยอมได้
9.  บัตรประจำตัวข้าราชการ  บัตรประจำตัวประชาชน  ของผู้ร้องขอฯ
10. พินัยกรรมของผู้ตาย  (ถ้ามี)
11. หนังสือให้ความยินยอมในการร้องขอจัดการมรดก
12. บัญชีเครือญาติ13. เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย  เช่น  โฉนดที่ดินและสัญญาจำนองทะเบียนรถจักรยานยนต์  ทะเบียนรถยนต์   อาวุธปืน   สมุดเงินฝากธนาคาร   ใบหุ้น    และอื่น  ๆ  เป็นต้น
14. บัตรประจำตัวข้าราชการ  หรือ  บัตรประจำตัวประชาชน  และ  ทะเบียนบ้านของผู้ให้ความยินยอมทุกคน
หมายเหตุ         จัดเตรียมสำเนาเอกสารทุกรายการพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง  จำนวน  4  ชุด

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องขอตั้งผู้ปกครอง
1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรประจำตัวข้าราชการ ของผู้ร้องขอ 2. ทะเบียนบ้าน ของผู้ร้องขอ 3. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ – ชื่อสกุล ของผู้ร้องขอ (ถ้ามี) 4. ใบสำคัญการสมรส ของผู้ร้องขอ 5. บัตรประจำตัวประชาชน ของผู้เยาว์ 6. ทะเบียนบ้าน ของผู้เยาว์ 7. สูติบัตร ของผู้เยาว์ (ถ้ามี) 8. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ – ชื่อสกุล ของผู้ร้องขอ (ถ้ามี)
9. ใบสำคัญการสมรสบิดา – มารดา ของผู้เยาว์ (ถ้ามี)
10. ทะเบียนบ้านบิดา – มารดา ของผู้เยาว์ที่ได้ระบุไว้ในสูติบัตร (ถ้ามี)
11. ใบมรณบัตร ของบิดา – มารดา ของผู้เยาว์ (กรณีบิดาหรือมารดาเสียชีวิต) หากมรณบัตรสูญหายสามารถไปขอคัดหนังสือรับรองการตายได้ที่ว่าการอำเภอในพื้นที่
12. หลักฐานการขอคัดที่อยู่บิดา – มารดา ของผู้เยาว์จากเขต/ อำเภอ/ หรือทะเบียนกลาง
13. หลักฐานใบแจ้งความ (กรณีผู้เยาว์ถูกทอดทิ้ง)
14. หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร (กรณีบิดาไม่มาจดทะเบียนรับรองบุตร)
15. หนังสือให้ความยินยอมของสามี/ ภริยาที่จะเป็นผู้ปกครอง (กรณีเป็นสามี – ภรรยา โดยชอบด้วยกฎหมาย)
16. ค่าธรรมเนียมศาล จำนวน 255 บาท (สองร้อยห้าสิบห้าบาทถ้วน)

หมายเหตุ : จัดเตรียมสำเนาเอกสารตามข้อ 1-15 จำนวนอย่างละ 3 ชุด พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องด้วย

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องขอเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
1. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ ของผู้ร้อง
2. ทะเบียนบ้าน ของผู้ร้อง
3. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ – สกุล ของผู้ร้อง
4. บัตรประจำตัวคนพิการ ของคนไร้ความสามารถ
5. ทะเบียนบ้าน ของคนไร้ความสามารถ 6. ใบสำคัญการสมรส ของผู้ร้อง
7. ใบรับรองแพทย์ระบุชัดเจนว่าเป็นโรคอะไร และขณะนี้มีสภาพเป็นอย่างไร
8. สรุปผลการวินิจฉัยของแพทย์ 9. รูปถ่ายผู้ป่วย (ติดกระดาษ A4 หรือจะทำเป็นไฟล์ใน word (เวิร์ด) แล้วปริ้นต์ออกมาก็ได้) 10. ค่าธรรมเนียมทางศาล จำนวน 255 บาท (สองร้อยห้าสิบห้าบาทถ้วน)

หมายเหตุ : จัดเตรียมสำเนาเอกสารตามข้อ 1-9 จำนวนอย่างละ 3 ชุดพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องด้วย

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องขอรับบุตรบุญธรรม
1. สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้จะรับบุตรบุญธรรม    
2. สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม
3. สำเนาทะเบียนบ้าน ของบิดามารดาของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม    
4. สำเนาทะเบียนบ้าน ของสามีหรือภริยาผู้จะรับบุตรบุญธรรม  
5. สำเนาใบสำคัญการสมรส ของผู้จะรับบุตรบุญธรรม    
6. สำเนาใบสำคัญการสมรส ของบิดา มารดาบุตรบุญธรรม
7. สำเนาสูติบัตรผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม  
8. หนังสือให้ความยินยอม ของบิดาผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม
9. หนังสือให้ความยินยอม ของคู่สมรสของผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม
10. ค่าธรรมเนียมศาล จำนวน 255 บาท (สองร้อยห้าสิบห้าบาทถ้วน)

หมายเหตุ : จัดเตรียมสำเนาเอกสารตามข้อ 1-9 จำนวนอย่างละ 3 ชุด พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องด้วย

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องในการร้องขอใหเป็นคนสาบสูญ
1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรประจำตัวข้าราชการ ของผู้ร้องขอความช่วยเหลือ
2. ทะเบียนบ้าน ของผู้ร้องขอความช่วยเหลือ
3. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ – ชื่อสกุล ของผู้ร้องขอความช่วยเหลือ (ถ้ามี)
4. แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรของผู้ที่จะขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ
5. บันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าบุคคลนั้นได้หายไปจากภูมิลำเนาโดยไม่ทราบว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร
6. บัญชีรายชื่อผู้สูญหายจากธรณีพิบัติที่กระทรวงยุติกรรมประกาศในราชกิจจานุเบกษา
7. เอกสารหลักฐานที่แสดงถึงความเกี่ยวพันระหว่างผู้ร้องขอความช่วยเหลือ (ทายาท) กับผู้ที่จะขอให้ศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ เช่น ทะเบียนสมรส , สูติบัตร
8. ค่าธรรมเนียมศาล จำนวน 255 บาท (สองร้อยห้าสิบห้าบาทถ้วน)

หมายเหตุ : จัดเตรียมสำเนาเอกสารตามข้อ 1-6 จำนวนอย่างละ 3 ชุด พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องด้วย

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดอุทัยธานี
อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดอุทัยธานี  (ชั้น 2) ถนนวงศาโรจน์
 ตำบลอุทัยใหม่  อำเภอเมืองอุทัยธานี  จังหวัดอุทัยธานี  61000
เบอร์โทรศัพท์ 056-513038  ต่อ 205, 222
FAX: 056-513038  ต่อ 208
Email: uthai-lawaid@ago.go.th