ข่าวประชาสัมพันธ์


สำนักงานคดีแรงงานภาค 7 ตรวจราชการประจำปี 2567


ผู้ตรวจการอัยการ ตรวจราชการประจำปี 2567


กิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ
และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2566


เนื่องใน วันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2566


เนื่องในวันนวมินทรมหาราช วันที่ 13 ตุลาคม 2566


กิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน ประจำปี 2566

ร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2566

ตรวจราชการ สำนักงานงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี ประจำปี 2566

งานทำบุญสำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี ประจำปี 2566

ร่วมลงนามถวายพระพร

ประชุมตรวจราชการประจำปี 2565

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ๒๕๖๕

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ๒๕๖๕

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ๒๕๖๕ ฉบับย่อ โดย ดร.ท่านติ

ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ๒๕๖๖

ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ๒๕๖๖

คำสั่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

คำสั่งหัวหน้าคณะทำงานเตรียมความพร้อมในการดำเนินการตามร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ ที่ 1/2565 ลงวันที่ 28 พ.ย. 2565

คำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ 1642-2565 ลงวันที่22 กันยายน 2565 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานเตรียมความพร้อมในการดำเนินการตามร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ

หนังสือเวียนแนวทางปฏิบัติว่าด้วยการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ๒๕๖๖

หนังสือเวียนแนวทางปฏิบัติว่าด้วยการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ๒๕๖๖

หนังสือแนวทางปฏิบัติสำนักงานการสอบสวนว่าด้วยการสอบสวนและงานธุรการเกี่ยวกับการสอบสวน พ.ศ. ๒๕๖๐

หนังสือแนวทางปฏิบัติสำนักงานการสอบสวนว่าด้วยการสอบสวนและงานธุรการเกี่ยวกับการสอบสวน พ.ศ. ๒๕๖๐

แนวทางพิจารณาการตรวจสอบ กรณีรับแจ้งการควบคุมตัวจากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบ (แบบ ปทส. ๑)

แบบพิจารณาและตรวจสอบ กรณีรับแจ้งการควบคุมตัวจากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบ (แบบ ปทส. ๑) (pdf)

แนวทางพิจารณาการตรวจสอบ กรณีรับแจ้งเหตุการทรมานฯ จากผู้พบเห็นหรือทราบเหตุ (แบบ ปทส. ๒)

แบบพิจารณาการตรวจสอบ กรณีรับแจ้งเหตุการทรมานฯ จากผู้พบเห็นหรือทราบเหตุ (แบบ ปทส. ๒) (pdf)

แนวทางพิจารณาการตรวจสอบ กรณีรับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษ (ปทส. ๓)

แบบพิจารณาการตรวจสอบ กรณีรับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษ (ปทส. ๓) (pdf)

แบบบันทึกคำร้องทุกข์/คำกล่าวโทษ (แบบ อ.ก.ส.๙)

แบบบันทึกคำร้องทุกข์/คำกล่าวโทษ (แบบ อ.ก.ส.๙)

เอกสารประกอบการสัมมนาฯ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖

presentation ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย สำนักงานการสอบสวน

presentation สารบบและแบบพิมพ์

ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายจังหวัดกาญจนบุรี
สำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี
ถนนแม่น้ำแม่กลอง  ตำบลปากแพรก  อำเภอเมืองกาญจนบุรี  จังหวัดกาญจนบุรี  71000
โทรศัพท์  0 3456 4337 – 40 ต่อ 101,102,207,208 (ในเวลาราชการ) ต่อ 214 (นอกเวลาราชการ)
โทรสาร  0 3456 4334
E-mail : ptd.kburi@ago.go.th

เกี่ยวกับสำนักงาน

 ประวัติสำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี

     สำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี เดิมตั้งอยู่ภายในศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อปี พ. ศ.2497 ต่อมาปี พ. ศ.2531 สำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรีได้ย้ายไปอาศัยตึกขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี ( ชั้น 2) ซึ่งมีบริเวณเชื่อมโยงกับศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี มีส่วนราชการอื่นตั้งอยู่รวมเป็นจำนวนมาก จึงทำให้สำนักงานคับแคบ ไม่สะดวกแก่การปฎิบัติราชการและบริการประชาชน ต่อมาสำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี ได้ทำเรื่องขออนุญาตใช้ที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ ตั้งแต่ปี พ. ศ.2539 เพื่อก่อสร้างสำนักงานพร้อมบ้านพักข้าราชการและธุรการ ของสำนักงานอัยการสูงสุด โดยนายสุชาติ ไตรประสิทธิ์ อัยการสูงสุด ได้ประสานงานกับกรมธนารักษ์ จนกระทั้งเมื่อเดือน มกราคม ปี พ. ศ.2542 สำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี ได้รับแจ้งจากกรมธนารักษ์ อนุญาตให้ใช้ที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน ส. กจ.105 ตำบลปากแพรก อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เนื้อที่ 13 – 0 –26 ไร่ จัดสร้างสำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมบ้านพักข้าราชการอัยการและข้าราชการธุรการ

     ในปี พ. ศ.2542 ปีเดียวกันนั้น สำนักงานอัยการสูงสุด ได้รับเงินจัดสรรตามโครงการเงินกู้มาตรการเพื่อการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ( โครงการมิยาซาวา) จำนวน 183,888,600 บาท เพื่อก่อสร้างอาคารจำนวน 4 แห่ง ที่จังหวัดศรีษะเกษ นครปฐม กาญจนบุรี และนราธิวาส โดยเป็นงบประมาณค่าก่อสร้างสำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมบ้านพักอีก 25 หลัง จำนวนเงิน 47,713,000 บาท

     อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี เป็นอาคารตึก 3 ชั้น ตามแบบแปลนของกรมโยธาธิการ ประกอบด้วยห้องปฎิบัติงานของข้าราชการอัยการและธุรการของสำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งเขต 7 ( จังหวัดกาญจนบุรี) สำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี ( แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว) และสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ( สคช.) จังหวัดกาญจนบุรี นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดกฎหมายสำหรับประชาชนเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งได้รวบรวมพระราชบัญญัติ ราชกิจจานุเบกษา และตำรากฎหมายต่างๆ เพื่อบริการแก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไป และยังมีห้องสอบสวนพยานและผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์อีกด้วย อาคารสำนักงานแห่งนี้จึงเหมาะสมแก่การปฎิบัติราชการและพร้อมที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้มาติดต่อราชการเป็นอย่างดี

     สำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรีอยู่ติดกับศาลจังหวัดกาญจนบุรี เปิดใช้ทำการในเดือน พฤศจิกายน พ. ศ.2543 จนถึงปัจจุบัน และเปิดเป็นทางการเดือนมิถุนายน พ. ศ.2544 โดยมี นายคนึง ฤาไชย ประธานคณะกรรมการอัยการ และนายสุชาติ ไตรประสิทธิ์ อัยการสูงสุด ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดสำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งขณะนั้น นายสาวิตร บุญประสิทธิ์ ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดกาญจนบุรี

พื้นที่ใช้ในการก่อสร้าง

ใช้เนื้อที่จำนวน : 13 – 2 – 41.8 ไร่
งบประมาณการก่อสร้าง จำนวนเงินทั้งสิ้น : 47,713,000.- บาท
โครงสร้างสำนักงาน : เป็นอาคารสูง 3 ชั้น หลังคาทรงไทย
บ้านพัก : บ้านพักข้าราชการอัยการ จำนวน 15 หลัง : บ้านพักข้าราชการธุรการ จำนวน 10 หลัง
สถานที่ตั้ง : ถนนเลียบแม่น้ำแม่กลอง ตำบลปากแพรก อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

อำนาจและหน้าที่

ตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓

        กำหนดให้องค์กรอัยการประกอบด้วย ก.อ. อัยการสูงสุด, และพนักงานอัยการอื่น โดยมีสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานธุรการ
 สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นส่วนราชการที่มีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่นและนิติบุคคล
โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้แทนนิติบุคคลและให้ข้าราชการฝ่ายอัยการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด  มีดังนี้

      ๑. ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน                                                                                               
      ๒. ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
      ๓. ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มี
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
     ๔. ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
     ๕. ดำเนินการตามที่รัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
     ๖.  ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ
     ๗. ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
     ๘. ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
     ๙. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด

       ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้ สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ

ตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๔ มีดังนี้

      ๑. อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
      ๒.ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
      ๓. ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโคตุลาการทั้งปวงกับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
     ๔. ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดีหรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
     ๕. ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นเป็นคู่กรณีและมิใช่กรณีที่พิพาทกับรัฐบาลหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
     ๖. ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
     ๗. ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา
ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
     ๘. ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
     ๙. อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
   ๑๐. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
   ๑๑. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่สำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด

    ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตาร ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใด ๆ
ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำโดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมก็ได้

    พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

สถิติคดี

สถิติคดีของสำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี
ระหว่างปี พ.ศ.2560 ถึงปัจจุบัน

ประเภทคดีพ.ศ.2560พ.ศ.2561พ.ศ.2562พ.ศ.2563พ.ศ.2564พ.ศ.2565
ส.16,6705,5485,7944,7174,1243,683
ส.4 ฟ้องวาจา1,6321,4731,4921,2431,7015,587
ส.2825575498318305234
ส.2 ก.25212,4208,7624594401,636
ส.3271194147997151
ส.5 ก.53461038211457
ส.6286343931
ส.7412250
ส.124223
ส.12 ก.25221021
คดีฟื้นฟูฯ8661,5351,6611,142786

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี
ถนนแม่น้ำแม่กลอง  ตำบลปากแพรก  อำเภอเมืองกาญจนบุรี  จังหวัดกาญจนบุรี  71000
โทรศัพท์  0 3456 4337 – 40
โทรสาร  0 3456 4334
E-mail : kburi@ago.go.th
เบอร์ต่อภายในสำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี

ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายจังหวัดกาญจนบุรี
สำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี
ถนนแม่น้ำแม่กลอง  ตำบลปากแพรก  อำเภอเมืองกาญจนบุรี  จังหวัดกาญจนบุรี  71000
โทรศัพท์  0 3456 4337 – 40 ต่อ 101 , 102 ,207 ,208 (ในเวลาราชการ) และ ต่อ 214 (นอกเวลาราชการ)
โทรสาร  0 3456 4334
E-mail : ptd.kburi@ago.go.th