พบเห็นเจ้าหน้าที่ประพฤติมิชอบ  หรือไม่ได้รับความสะดวกในการติดต่อราชการ  
ร้องเรียนได้ที่   :  อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการ บังคับคดีจังหวัดกาญจนบุรี

โทรศัพท์ ๐-๓๔๕๖-๔๑๗๔
                  :  อธิบดีอัยการภาค ๗
โทรศัพท์ ๐-๓๒๓๒-๗๑๒๑ ต่อ ๔๔๔
                  :  ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์  สำนักงานอัยการสูงสุด  สำนักงาน
คณะกรรมการอัยการ  
โทรศัพท์ ๐-๒๑๔๒-๑๘๓๐
Email : cmiss@ago.go.th



กิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย ณ บริเวณสำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี

วันที่ 28 กันยายน 2566

กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 71 พรรษา 28 กรกฎาคม 2566

วันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม 2566 เวลา 08.00 น. นางสาวภัทราภรณ์ พรมนุชาธิป อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วยบุคลากร เข้าร่วมงานพิธี “เฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล” กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ ประกอบด้วย พิธีถวายพระพรชัยมงคล การปล่อยพันธุ์ปลา การปลูกป่า การทอดผ้าป่าถวายเป็นพระราชกุศล การออกหน่วยให้บริการโครงการแว่นแก้ว พิธีมอบห้องเรียนสีเขียวและมอบชุดนักเรียน การอบรมศาสตร์พระราชา โคก หนอง นา โมเดล และการตกแต่งไฟประดับ (Light Up) ภายในพื้นที่เขื่อนวชิราลงกรณ โดยได้รับเกียรติจาก พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เป็นประธาน พร้อมหัวหน้าส่วนราชการเข้าร่วมในงานพิธี ณ เขื่อนวชิราลงกรณ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

พิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะเนื่องใน “วันคล้ายวันสวรรคต

ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม 2566 นางสาวภัทราภรณ์ พรมนุชาธิป อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วยบุคลากร เข้าร่วมงานพิธีถวายราชสักการะเนื่องใน “วันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี” โดยมี หัวหน้าส่วนราชการเข้าร่วมในงานพิธี ณ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกาญจนบุรี อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

พิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ “สมเด็จพระนารายณ์มหาราช “

วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม 2566 นางสาวอาริยา ถาวรประดิษฐ์ รองอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วยบุคลากร เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ “สมเด็จพระนารายณ์มหาราช” โดยมี หัวหน้าส่วนราชการเข้าร่วมในงานพิธี ณ ศาลา 60 พรรษามหาราช เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

งานพิธี “เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2566 “

วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2566 พ.ต.ท.อำนาจ สุจริตชัย อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วยบุคลากร เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และพิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่มและพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องใน “โอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี” โดยมี หัวหน้าส่วนราชการเข้าร่วมในงานพิธี ณ ศาลา 60 พรรษามหาราช เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

โครงการจังหวัดเคลื่อนที่ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน”

วันพุธที่ 26 เมษายน 2566 เวลา 08.30 น. นางสาวภัทราภรณ์ พรมนุชาธิป อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วยบุคลากร เข้าร่วมโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน” โดยมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ให้เกียรติเปิดงานโครงการดังกล่าว มีบูธส่วนราชการเคลื่อนที่ร่วมให้บริการ และมีประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก ณ ศูนย์ OTOP อ่างเก็บน้ำห้วยกระพร้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หมู่ที่ 7 ตำบลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี

งานพิธี “วันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช”

วันอังคารที่ 25 เมษายน 2566 เวลา 08.30 น. นางสาวภัทราภรณ์ พรมนุชาธิป อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วยบุคลากร เข้าร่วมงานพิธี “วันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” โดยมี หัวหน้าส่วนราชการเข้าร่วมในงานพิธี ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

งานพิธี “วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์”

วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน 2566 เวลา 08.30 น. นางสาวภัทราภรณ์ พรมนุชาธิป อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วยบุคลากร เข้าร่วมงานพิธี “วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์” โดยมี หัวหน้าส่วนราชการเข้าร่วมในงานพิธี ณ ศาลา 60 พรรษามหาราช อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

งานพิธี “วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า”

วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2566 เวลา 08.30 น. นางสาวอาริยา ถาวรประดิษฐ์ รองอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วยบุคลากร เข้าร่วมงานพิธี “วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า” โดยมี หัวหน้าส่วนราชการเข้าร่วมในงานพิธี ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี

ทั่วประเทศ เปิดให้บริการช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน

เพิ่มในวันหยุดราชการ (วันเสาร์) เวลา 08.30-16.30 น.

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิประชาชน (สคช.) จังหวัดกาญจนบุรีจัดตั้งขึ้นตามคำสั่งกรมอัยการที่๑๗๔/๒๕๒๕  ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๒๕ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนเพื่อลดปัญหาข้อขัดแย้ง  ลดช่องว่างระหว่างประชาชนผู้ยากไร้และกำหนดให้ตั้งสำนักงานคุ้มครองสิทธิฯดังกล่าวขึ้นณสำนักงานอัยการสูงสุดกรุงเทพมหานคร  และที่สำนักงานอัยการทั่วราชอาณาจักรสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายการเผยแพร่ความรู้ทางด้านสิทธิมนุษยชนและความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนศึกษาวิจัยและพัฒนารูปแบบวิธีการและแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการดังกล่าวสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.)  มีฐานะเป็นกองในสังกัดราชการบริหารส่วนกลางของสำนักงานอัยการสูงสุด

ต่อมาวันที่  ๑๙  ธันวาคม  ๒๕๕๖  คณะกรรมการอัยการได้ออกประกาศคณะกรรมการอัยการ  เรื่อง  การแบ่งหน่วยงาน  และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด  (ฉบับที่  ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖  กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดขึ้นทุกจังหวัด  โดยสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดมีอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ  มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

            (ก)  รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน  การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย  การเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนภายในเขตท้องที่จังหวัดนั้น  ๆ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด

            (ข)  รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายด้านอรรถคดีแก่ประชาชนภายในเขตท้องที่จังหวัดนั้น ๆ รวมถึงการดำเนินคดีทั้งปวงในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัด  ศาลจังหวัดสาขา  หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นในศาลจังหวัด  แล้วแต่กรณี  ทั้งนี้  ตามกฎหมาย  ระเบียบ  ข้อบังคับ  ประกาศ  และคำสั่งว่าด้วยการนั้น

            (ค)  รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอรรถคดี  การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย  การเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ประชาชนภายในเขตท้องที่จังหวัดนั้น ๆ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด

           (ง)  รับผิดชอบงานศูนย์กลางระบบฐานข้อมูลลูกหนี้ตามคำพิพากษาของหน่วยงานของรัฐและจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา  งานสำรวจตรวจสอบข้อมูลทรัพย์สินและสถานะของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของหน่วยงานของรัฐและจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาและงานการบังคับคดีแพ่ง  คดีปกครอง  และคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดภายในเขตท้องที่จังหวัดนั้น ๆ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด

            (จ)  รับผิดชอบการดำเนินคดีทั้งปวงอันเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง  คดีปกครอง  และคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดภายในเขตท้องที่จังหวัดนั้น ๆ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด

            (ฉ)  ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

            สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด  ได้เริ่มให้บริการประชาชนและหน่วยราชการอื่น ๆ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน  ๒๕๕๗  พร้อมกันทั่วประเทศ  โดยสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดกาญจนบุรี  มี นายจรินทร์  ตันชัชวาล  ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดกาญจนบุรี  เป็นท่านแรก

อำนาจและหน้าที่

องค์กรอัยการ
อัยการสูงสุด
พนักงานอัยการ
วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

นโยบายอัยการสูงสุด

นโยบาย

ผังกระบวนการทำงาน

บุคลากร

ทำเนียบผู้บริหารหน่วยงาน ของ สคชจ.กาญจนบุรี

ทำเนียบผู้บริหารหน่วยงาน
ดำรงตำแหน่ง  อจ.สคชจ.กาญจนบุรี

ชื่อ สกุลปีที่ดำรงตำแหน่ง
นายชาลีเสริมสัย2538-2539
นายสมโภชน์ลิ้มประยูร2539-2540
นายไพโรจน์คงฤทธิ์2540-2542
นายสุเมธรอยกุลเจริญ2542-2543
นายประยุทธป.สัตยารักษ์2543-2544
นายมนูญมุ่งพาลชล2544-2546
นายเฉลิมพลไตรหิรัญ2546-2548
นายกมลาสน์สุทธิธารณ์นฤภัย2548-2549
นายวิโรจน์บุปผากลิ่น2549-2550
น.ส.สุพัฒนาคงเจริญ2550-2551
นายอุดมวิทย์อริยสุนทร2551-2553
นายวิโรจน์ศรีดุษฎี2553-2554
นายปราโมชโศภิษฐนภา2554-2555
นายสุทธิสุขยิ่ง2555-2556
นายทนงตะภา2556-2557
นายจรินทร์ตันชัชวาล2557-2558
นายเฉลิมสุ่มประดิษฐ์2558-2559
นายอภิชนษ์รากบัว2560
นายนพพลกฤษณะเศรณี2560-2561
นายน้ำแท้มีบุญสล้าง2561-2562
นายชลัฏมัณฑนาพงศ์2562-2563
นายประยุทธ์ แก้วยอด2563 – 2564
นายอภินันท์เอกอนุพนธ์2564-2565
นายธวัชชัย ผ่องใส2565-2566
นางสาวภัทราภรณ์ พรมนุชาธิป2566- ปัจจุบัน

เอกสารดาวน์โหลด

สาระน่ารู้

สิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศไทยอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนชาวไทยไว้ในหมวดที่ ๓ มีสาระสำคัญ คือ

๑. การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้(มาตรา ๒๖)

๒. สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้โดยชัดแจ้ง โดยปริยายหรือโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมได้รับความคุ้มครองและผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมาย และการตีความกฎหมายทั้งปวง (มาตรา ๒๗)

๓. บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน (มาตรา ๒๘)

๔. การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้ (มาตรา ๒๙)

๕. บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน (มาตรา ๓๐)

*ทนง ตะภาอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี

๖. ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับคนทั่วไป (มาตรา ๓๑)

๗. สิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้แต่การลงโทษตามคำพิพากษาของศาลหรือตามที่กฎหมายบัญญัติ การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ การค้นตัวบุคคลหรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพ จะกระทำมิได้เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา ๓๒)

๘. เสรีภาพในเคหสถาน การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการตรวจค้นเคหสถานหรือในที่รโหฐาน จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา ๓๓)

๙. เสรีภาพของบุคคลในการเดินทางและเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในราชอาณาจักร (มาตรา ๓๔)

๑๐. สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ความเป็นอยู่ส่วนตัว (มาตรา ๓๕)

๑๑. เสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา ๓๖)

๑๒. เสรีภาพในการถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน (มาตรา ๓๗)

๑๓. สิทธิที่จะไม่ถูกเกณฑ์ไปเป็นแรงงาน (มาตรา ๓๘)

๑๔. สิทธิที่จะไม่ต้องรับโทษทางอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และในคดีอาญาต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดจนกว่าศาลจะพิพากษาให้ลงโทษ (มาตรา ๓๙)

๑๕. สิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้ (มาตรา ๔๐)

 คิดก่อนค้ำประกัน *

                มีประชาชนจำนวนไม่น้อยมาปรึกษาปัญหากฎหมายกับ สคช.กาญจนบุรี เกี่ยวกับการทำสัญญาค้ำประกัน   ไม่ว่าจะเป็นการค้ำประกันการเช่าซื้อรถ  การค้ำประกันการกู้ยืมเงิน  หรือการค้ำประกันการเข้าทำงาน   ซึ่งเมื่อลูกหนี้ผิดสัญญาผู้ค้ำประกันถูกเจ้าหนี้ฟ้องคดีและศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันบางรายถูกยึดทรัพย์สินออกขายทอดตลาดจนมีผู้ซื้อทรัพย์สินดังกล่าวไปแล้ว   จึงมาขอรับคำปรึกษาซึ่งเป็นการยากต่อการหาทางออกให้กับผู้ค้ำประกัน ส่วนใหญ่ผู้ค้ำประกันจะพูดกันว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือกฎหมายไม่เป็นธรรมบ้าง หรือไม่คิดว่าตนจะต้องรับผิดถึงขนาดนี้บ้าง

                ตัวอย่างที่เป็นอุทาหรณ์   เช่น  นายหนึ่งกับนายสองเป็นเพื่อนสนิทที่คบหากันมานาน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐  นายหนึ่งเช่าซื้อรถยนต์กระบะ ๑ คัน ราคา ๗๐๐,๐๐๐ บาทเศษ โดยวางเงินดาวน์ จำนวน ๑๕๐,๐๐๐  บาท  ที่เหลือผ่อนชำระเป็นรายเดือน จำนวน ๗๒ งวด ซึ่งฝ่ายผู้ให้เช่าซื้อกำหนดว่าจะต้องมีผู้ค้ำประกันอย่างน้อย ๒ คน นายหนึ่ง จึงขอให้นายสอง กับนายสาม ญาติของนายหนึ่ง เป็นผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อรถคันดังกล่าว เมื่อได้รับรถยนต์กระบะมาแล้ว นายหนึ่งไม่เคยชำระค่าเช่าซื้ออีก จนเวลาผ่านไป  ๑  ปี   ผู้ให้เช่าซื้อจึงติดตามยึดรถยนต์กลับคืน   โดยรถเสื่อมสภาพมาก ต่อมาผู้ให้เช่าซื้อฟ้องให้นายหนึ่ง นายสอง และนายสามชดใช้ค่าเสียหาย พร้อมดอกเบี้ยจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาทเศษ นายสองเข้าใจว่าตนเป็นเพียงผู้ค้ำประกันคงไม่ต้องรับผิดและไม่ไปศาลตามนัด ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดบ้านและที่ดินของนายสอง ซึ่งมีเพียงแปลงเดียวออกขายทอดตลาด

ก่อนที่ท่านจะเป็นผู้หนึ่งที่ตกอยู่ในภาวะเป็นผู้ที่ต้องสูญเสียทรัพย์สินไปโดยตนไม่ได้รับประโยชน์ และต้องเสียญาติมิตรที่เคยสนิทชอบพอ (ลูกหนี้ชั้นต้น) จึงควรรู้กฎหมายเกี่ยวกับการค้ำประกัน ก่อนทำสัญญาค้ำประกัน 

ลักษณะของสัญญาค้ำประกัน

                ค้ำประกันเป็นสัญญาซึ่งผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น ผู้ค้ำประกันจะต้องเป็นบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่ตัวลูกหนี้และสัญญาค้ำประกันจะเกิดขึ้นได้ต้องมีหนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ซึ่งเรียกว่าหนี้ประธานหรือหนี้ที่ค้ำประกัน หนี้ประธานต้องเป็นหนี้ที่สมบูรณ์ กล่าวคือหนี้ประธานไม่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมาย  ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และกรณีกฎหมายบัญญัติว่าหนี้ประธานต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด หนี้ประธานก็ต้องทำตามแบบจึงจะสมบูรณ์   เช่น   สัญญาซื้อขายที่ดินมีโฉนดต้องทำตามแบบคือทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  เป็นต้น  หนี้ประธานที่จะมีการค้ำประกันได้จะเกิดจากมูลหนี้ตามสัญญา หรือมูลละเมิดก็ได้สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญาค้ำประกันได้

* ทีมกฎหมาย สคชจ.กาญจนบุรี

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดกาญจนบุรี
ถนนเลียบแม่น้ำแม่กลอง  ตำบลปากแพรก  อำเภอเมืองกาญจนบุรี  
จังหวัดกาญจนบุรี  ๗๑๐๐๐
โทร. ๐๓๔-๕๖๔๑๗๔ โทรสาร. ๐๓๔-๕๖๔๑๗๔
Email: kburi-lawaid@ago.go.th
 Email: lawaid_57@hotmail.com
LINE official: tgogo123 Facebook: สคชจ.กาญจนบุรี