ข่าวประชาสัมพันธ์

การร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ศาลที่จะยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกคือ ศาลที่แจ้งมรดกมีภูมิลำเนาในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตาย (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 จัตวา)
การร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
ศาลที่จะยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกคือ ศาลที่แจ้งมรดกมีภูมิลำเนาในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตาย (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 จัตวา)ผู้ที่มีอำนาจร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดก
1. ทายาท คือ ทายาทโดยธรรม ผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกและผู้รับพินัยกรรม
2. ผู้มีส่วนได้เสีย คือ ผู้ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอยู่ในกองมรดก เช่น ผู้ซึ่งอยู่กินฉันสามี ภรรยาจนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตาย มีทรัพย์สินซึ่งทำมาหาได้ร่วมกันระหว่าง
อยู่กินฉันสามีภรรยา
3. พนักงานอัยการ เช่น ทายาทเป็นผู้เยาว์ไม่มีญาติและผู้ปกครอง (พนักงานอัยการอาจร้องขอให้ผู้ปกครองผู้เยาว์ก่อนก็ได้)เอกสารที่จะต้องใช้ในการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
1. หลักฐานแสดงการเป็นทายาท เช่น ใบสำคัญการสมรส สูติบัติ สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ร้อง
2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตาย
3. ใบมรณะบัตร
4. บัญชีเครือญาติ
5. หลักฐานทางทะเบียนของทรัพย์มรดก เช่น โฉนดที่ดิน, น.ส.3, น.ส.3ก.,ส.ค. 1 คู่มือจดทะเบียนรถ สมุดเงินฝากธนาคาร ฯลฯ
6. หนังสือยินยอมของทายาท
7. พินัยกรรม (ถ้ามี)ข้อสังเกต สำหรับบัญชีเครือญาติ กรณีผู้มีสิทธิรับมรดกแทนที่ควรระบุผู้มีสิทธิรับมรดกแทนที่ในบัญชีเครือญาติด้วยการไต่สวนคำร้องขอจัดการมรดก ต้องได้ความในสาระสำคัญ คือ
1. ต้องไต่สวนให้ได้ความว่า ผู้ร้องเป็นทายาทกองมรดกหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
2. ต้องมีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก เช่น ผู้ร้องเคยไปติดต่อที่สำนักงานที่ดินเพื่อขอโอนทรัพย์มรดกแบ่งปันทายาท แต่เจ้าพนักงานที่ดินไม่ดำเนินการ
ให้ เคยไปขอเบิกเงินจากธนาคารซึ่งผู้ตายฝากไว้ เพื่อแบ่งปันให้แก่ทายาท แต่เจ้าหน้าที่ธนาคารไม่ยอมดำเนินการให้ ทายาทบางคนยังเป็นผู้เยาว์อยู่
3. ผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกต้องมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 คือ ต้องบรรลุนิติภาวะไม่เป็นบุคคล
วิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถหรือคนล้มละลาย
4. ถ้ามีข้อกำหนดตามพินัยกรรมให้ตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกไว้ ศาลต้องตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นผู้จัดการมรดก (มาตรา 1713 วรรคท้าย)

วันพุธที่ 10 เมษายน 2567 เวลา 10.30 น. สำนักงานคดีแรงงานภาค 7 จัดกิจกรรมสรงน้ำพระและรดน้ำขอพรคณะผู้บริหารเนื่องในเทศกาลสงกรานต์

วันพุธที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๗ นายศรุต รัฐรพี ผู้ตรวจอัยการ ได้มาตรวจราชการสำนักงานอัยการภายในจังหวัดกาญจนบุรี ณ อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีนางสาวกิจนา ตรีอนุรักษ์ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีแรงงานภาค ๗ และข้าราชการฝ่ายอัยการ ให้การต้อนรับ

วันที่ ๓ มกราคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ น. นางสาวกิจนา ตรีอนุรักษ์ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีแรงงานภาค ๗ และบุคลากรในสังกัด ร่วมประชุมเพื่อรับทราบการขับเคลื่อนประกาศเจตนารมณ์ เรื่อง ไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ของสำนักงานอัยการสูงสุด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗

วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๓๐ น. บุคลากร สำนักงานคดีแรงงานภาค 7 นำโดยนายสมเจตน์ ศรีสุพพัตพงษ์ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีแรงงานภาค 7 ได้ร่วมกัน ทำกิจกรรมปรับแต่งภูมิทัศน์บริเวณหลังอาคารพักอาศัยของข้าราชการอัยการ โดยตัดแต่งต้นกล้วยให้เป็นระเบียบ และสวยงาม

วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. นางสาวกิจนา ตรีอนุรักษ์ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีแรงงานภาค ๗ และบุคลากรในสังกัด ร่วมประชุมปรึกษาหารือผลการดำเนินงานตามนโยบายของสำนักงานอัยการสูงสุด ข้อสรุปปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งข้อมูลการดำเนินงานของสำนักงานคดีแรงงานภาค ๗ เพื่อนำเสนอผู้ตรวจการอัยการ(นายศรุต รัฐรพี) ในการตรวจราชการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ครั้งที่ ๑

สำนักงานคดีแรงงานภาค 7 ตรวจราชการประจำปี 2565

สำนักงานคดีแรงงานภาค 7 จัดกิจกรรมจิตอาสา ณ วัดเขาถ้ำแก้ว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี


เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา

          สำนักงานคดีแรงงานภาค 7 สำนักงานอัยการสูงสุด ได้จัดตั้งขึ้นตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ สำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ.2542 และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ สำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 และสำนักงานอัยการสูงสุดได้มีคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ 521/2549 เรื่องการดำเนินการตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2546 ให้เปิดส่วนราชการตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2549 เป็นต้นไป ประกอบพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2553 มาตรา 30,31 และประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง แบ่งหน่วยงานและการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ.2554 ข้อ 6 และข้อ 7 (38)


         อำนาจหน้าที่

สำนักงานคดีแรงงานภาค 7 มีภารกิจงานรักษาผลประโยชน์ของรัฐ ควบคุมดูแลรับผิดชอบโดยสำนักงานคดีแรงงานภาค 7 มีอธิบดีอัยการ เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ มีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
          1. รับผิดชอบการดำเนินคดีทั้งปวงตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานภาค ทั้งนี้ ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งว่าด้วยการนั้น
          2. รับผิดชอบการดำเนินคดีแพ่งทั้งปวงตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดซึ่งอยู่ภายในเขตท้องที่ของสำนักงานอัยการภาคทั้งนี้ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งของสำนักงานอัยการสูงสุด
          3. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

          สำหรับหน่วยงานราชการภายในสำนักงานคดีแรงงานภาค 7 มี 3 ฝ่าย ดังนี้
1. สำนักงานอำนวยการ รับผิดชอบงานธุรการ ฯลฯ
2. สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งภาค 7 รับผิดชอบงานดำเนินคดีแพ่ง ว่าต่าง แก้ต่างภายในภาค 7 รวม 8 จังหวัด ซึ่งอยู่ภายในเขตท้องที่ของสำนักงานอัยการภาค 7
3. สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแรงงานภาค 7 รับผิดชอบงานดำเนินคดีแรงงานว่าต่าง แก้ต่างภายในภาค 7 รวม 8 จังหวัด ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจพิจารณาของศาลแรงงานภาค 7


วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร

ข้าราชการอัยการ

นางสาวกิจนา ตรีอนุรักษ์
อธิบดีอัยการ
สำนักงานคดีแรงงานภาค ๗
นายสมเจตน์ ศรีสุพพัตพงษ์
รองอธิบดีอัยการ
สำนักงานคดีแรงงานภาค ๗

 สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแรงงานภาค ๗    

นายอภิชนษ์ รากบัว
อัยการพิเศษฝ่ายคดีแรงงานภาค ๗
นายทศพร ทิตภิญโญ อัยการผู้เชี่ยวชาญ
นางสาวนา แสร์สุวรรณ อัยการจังหวัด ประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
นางสาวอาริยา ถาวรประดิษฐ์ อัยการจังหวัด ประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่ง ภาค ๗ 

นายประดิษฐ์ ผดุงเกียรติวงศ์
อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่ง ภาค ๗ 
นางสาวณัฐหทัย ชีวรัฐอุทัยวงศ์
อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
นายสมมิตร สุทธิเชื้อชาติ
อัยการอาวุโส

ข้าราชการธุรการ

 นางกนกลักษณ์  ครูทอง
ผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการ
นางกวินนาถ มณีขำ
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
น.ส.ลาวัลย์ วงศ์วัชรมงคล
นิติกรชำนาญการ

นายวีระชัย ปิยะวรรณสุทธิ์
นิติกรชำนาญการ
นางสาวริสุศา เหมเปานพสร
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
นายอดิศักดิ์  พันพุก
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

ลูกจ้างประจำ

นางนฤมล เฮงฮู้
พนักงานพิมพ์

จ้างเหมาบริการ

 นายกฤษฎา  นงนุช
พนักงานขับรถยนต์

ทำเนียบผู้บริหาร

รายนามอธิบดีอัยการฝ่ายคดีแรงงานเขต 7

1. นายอุดร   พันธ์อุไร 16 ตุลาคม 2549 – 30 กันยายน 2550 
2. นางสาวนิภาพร  รุจนรงค์ 1 พฤศจิกายน 2550 – 31 มีนาคม 2551 
3. นายกมล  ธรรมเสรีกุล 1 เมษายน 2551 – 30 กันยายน 2552 
4. นางสาวเนื้อทิพย์  โกมลมาลย์ 1 ตุลาคม 2552 – 1 กันยายน 2554 

รายนามอธิบดีอัยการสำนักงานคดีแรงงานภาค 7

 1.นางสาวเนื้อทิพย์   โกมลมาลย์ 2 กันยายน 2554 – 30 กันยายน 2554 
 2.นางทรงรัตน์   เย็นอุรา 1 ตุลาคม 2554 – 13 ตุลาคม 2556 
 3. นางสมศรี   วัฒนไพศาล 14 ตุลาคม 2556 – 30 กันยายน 2558 
 4. นางสาวพนมพร  ไพเราะ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2561 
 5. นายธนะชัย  ปัตตพงศ์ 1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน  2562
 6.นายบุญธรรม  วิริยะประสิทธิ์ 1 ตุลาคม 2562 – 30 กันยายน 2563
 7.นายถวัลย์  อิ่มเอิบ 1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2564
8.นายพงศ์พิเชษฐ์ จันทรพรกิจ 1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2566
9.นางสาวกิจนา ตรีอนุรักษ์ 1 ตุลาคม 2566 – ปัจจุบัน

สถิติคดี

สถิติคดีแพ่งและคดีแรงงาน ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ – ปี พ.ศ. ๒๕๖๖

ปี คดีแพ่ง (เรื่อง) ทุนทรัพย์ (บาท)คดีแรงงาน (เรื่อง) ทุนทรัพย์ (บาท)
๒๕๕๙  ๑๕๓ ๗๘๗,๗๘๕,๙๓๒.๐๐๔๐ ๑๔,๕๗๒,๑๐๖.๐๗
๒๕๖๐๑๘๘๘๘๔,๖๘๗,๓๙๓.๑๗๖๑๑๑,๔๒๑,๐๖๑.๐๐
๒๕๖๑๒๑๔๑,๑๖๗,๓๙๘,๕๐๖.๔๔๓๘๕๒๔,๘๖๕,๐๕๗.๓๑
๒๕๖๒ ๒๘๒ ๑,๕๘๓,๑๙๘,๒๒๓.๘๘ ๔๓๑๐,๙๑๒,๙๖๑,๘๘
๒๕๖๓ ๓๔๕ ๑,๓๘๑,๐๒๑,๗๘๑.๔๗ ๑๐๕๒๕,๐๓๙,๔๑๖.๑๗
๒๕๖๔๓๐๖๗๙๐,๑๖๖,๒๐๔.๔๔๑๔๓๙,๐๒๔.๑๑๕.๒๕
๒๕๖๕๓๑๘๒,๑๕๘,๗๔๐,๕๘๘.๗๗๑๓๓๒๗,๕๑๗,๕๘๗.๕๕
๒๕๖๖๒๕๖๖๕๓,๗๘๓,๕๐๖.๔๙๙๒๓๖,๐๒๗,๓๕๒.๐๒

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานคดีแรงงานภาค 7
อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี  ชั้น 3 
ถนนแม่น้ำแม่กลอง  ตำบลปากแพรก 
อำเภอเมืองกาญจนบุรี  จังหวัดกาญจนบุรี  71000
โทรศัพท์/โทรสาร 034 – 564469
E-mail:kburi-labor@ago.go.th