

เกี่ยวกับสำนักงาน
ประวัติสำนักงาน
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด มีชื่อย่อว่า สคช. เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด มีอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี เป็นหัวหน้าหน่วยงาน ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๗ ตามประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด(ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ.๒๕๕๖ ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๖ เดิมชื่อว่า สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๒๕ ปัจจุบันในส่วนภูมิภาคมีสำนักงาน สคช.ประจำจังหวัด ๗๕ แห่ง และมี สคช.จังหวัดสาขา จำนวน ๓๐ แห่ง
การให้บริการ
๑.งานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน
๒.งานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายด้านอรรถคดีแก่ประชาชน
๓.งานไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาท
๔.งานการบังคับคดีของหน่วยงานของรัฐ
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิประชาชน (สคช.) จังหวัดนครปฐมจัดตั้งขึ้นตามคำสั่งกรมอัยการที่๑๗๔/๒๕๒๕ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๒๕ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนเพื่อลดปัญหาข้อขัดแย้ง ลดช่องว่างระหว่างประชาชน ผู้ยากไร้และกำหนดให้ตั้งสำนักงานคุ้มครองสิทธิฯดังกล่าวขึ้น ณ สำนักงานอัยการสูงสุด กรุงเทพมหานคร และที่สำนักงานอัยการทั่วราชอาณาจักรสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายการเผยแพร่ความรู้ทางด้านสิทธิมนุษยชนและความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนศึกษาวิจัยและพัฒนารูปแบบวิธีการและแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการดังกล่าวสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) มีฐานะเป็นกองในสังกัดราชการบริหารส่วนกลางของสำนักงานอัยการสูงสุด
ต่อมาวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๖ คณะกรรมการอัยการได้ออกประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงานและการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖ กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดขึ้นทุกจังหวัด โดยสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดมีอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(ก) รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย การเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนภายในเขตท้องที่จังหวัดนั้น ๆ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
(ข) รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายด้านอรรถคดีแก่ประชาชนภายในเขตท้องที่จังหวัดนั้น ๆ รวมถึงการดำเนินคดีทั้งปวงในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัด ศาลจังหวัดสาขา หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นในศาลจังหวัดแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งว่าด้วยการนั้น
(ค) รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอรรถคดี การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย การเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ประชาชนภายในเขตท้องที่จังหวัดนั้น ๆ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
(ง) รับผิดชอบงานศูนย์กลางระบบฐานข้อมูลลูกหนี้ตามคำพิพากษาของหน่วยงานของรัฐและจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา งานสำรวจตรวจสอบข้อมูลทรัพย์สินและสถานะของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของหน่วยงานของรัฐและจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาและงานการบังคับคดีแพ่ง คดีปกครอง และคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดภายในเขตท้องที่จังหวัดนั้น ๆ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
(จ) รับผิดชอบการดำเนินคดีทั้งปวงอันเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง คดีปกครอง และคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดภายในเขตท้องที่จังหวัดนั้น ๆ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
(ฉ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดได้เริ่มให้บริการประชาชนและหน่วยราชการ อื่น ๆ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๗ พร้อมกันทั่วประเทศ โดยสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครปฐม มีนางสาวปรางรัตน์ แขกเพ็ง ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครปฐม
อำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
๑.การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก
๒.การร้องขอให้ศาลสั่งให้คนวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถ
๓.การร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ที่ไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นคนสาบสูญ
๔.การร้องขอให้ศาลตั้งผู้อื่นนอกจากสามีหรือภริยาเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์
๕.การร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ
๖.ยกคดีขึ้นว่ากล่าวปฏิเสธความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
๗.การร้องให้ศาลสั่งถอนอำนาจปกครอง
๘.การร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครองม
๙.การร้องขอให้ศาลถอนผู้ปกครอง
๑๐.การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้รับบุตรบุญธรรม
๑๑.เป็นโจทก์ฟ้องคดีที่กฎหมายห้ามมิให้ราษฎรฟ้อง(คดีอุทลุม) เช่น ห้ามมิให้ฟ้องบุพการี
๑๒.การร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชี กรณีที่มีการเลิกสมาคมและไม่มีผู้ชำระบัญชี
งานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครปฐมได้ประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้บริการด้านคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน โดยจัดตั้งศูนย์ปรึกษากฎหมาย ๗ ศูนย์ ดังนี้
๑.ศูนย์เทศบาลเมืองนครปฐม ต.นครปฐม อ.เมือง จ.นครปฐม (เปิด ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓)
๒.ศูนย์องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกระพังโหม อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม (เปิด ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓)
๓.ศูนย์เทศบาลตำบลสามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม (เปิด ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๔)
๔.ศูนย์เทศบาลเมืองไร่ขิง ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม (เปิด ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๔)
๕.ศูนย์องค์การบริหารส่วนตำบลบางระกำ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม (เปิด ๘ เมษายน ๒๕๕๔)
๖.ศูนย์เทศบาลตำบลห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม (เปิด ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๔)
๗.ศูนย์เทศบาลตำบลบางเลน อ.บางเลน จ.นครปฐม (เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕)
รวมทั้งให้การออกเผยแพร่และให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่ประชาชนทั่วไป และในสถานศึกษา ภายในเขตท้องที่จังหวัดนครปฐม
งานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายด้านอรรถคดีแก่ประชาชน
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครปฐม จัดทนายความอาสาให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายด้านอรรถคดีเฉพาะคดีแพ่งแก่ประชาชนที่ยากจนและไม่ได้รับความเป็นธรรม(กรณีประชาชนมีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน)
งานไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาท
วิถีทางที่สามารถแก้ไขความขัดแย้งหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นกับคู่กรณีผู้พิพาท แทนการนำคดีขึ้นสู่ศาลคือการใช้กระบวนการยุติข้อพิพาททางเลือก ด้วยวิธีการประนอมข้อพิพาทนอกศาล โดยใช้
๑.คณะกรรมการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทหมู่บ้าน
๒.คณะกรรมการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทตามกฎกระทรวงว่าด้วยการดำเนินการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่ง พ.ศ.๒๕๕๓ (ระดับอำเภอหรือจังหวัด)
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครปฐมช่วยไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทแก่คู่กรณีผู้พิพาททั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา และจัดอบรมให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่คณะกรรมการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททั้งในระดับหมู่บ้าน ระดับอำเภอ และจังหวัด
งานบังคับคดีของหน่วยงานของรัฐสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครปฐม รับผิดชอบ ดังนี้
๑.งานศูนย์กลางระบบฐานข้อมูลลูกหนี้ตามคำพิพากษาของหน่วยงานของรัฐและจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์ใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา
๒.งานสำรวจตรวจข้อมูลทรัพย์สินและสถานะของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของหน่วยงานของรัฐและจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา
๓.งานการบังคับคดีแพ่ง คดีปกครอง และคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
๔.การดำเนินคดีทั้งปวง อันเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง คดีปกครองและคดีอาญา เฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
วิสัยทัศน์ (Vision)
“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”
พันธกิจ (Missions)
1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โครงสร้าง (Structure)

วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร
บุคลากร
ข้าราชการอัยการ

นายสันติ เยือพร้อมพงศ์
อัยการจังหวัด

อัยการจังหวัดประจำ อส

รองอัยการจังหวัด
ข้าราชการธุรการ

นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ รักษาการในตำแหน่ง
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

นิติกรปฎิบัติการ

นิติกรปฎิบัติการ

เจ้าพนักงานคดีปฎิบัติการ

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
จ้างเหมาบริการ

นักการภารโรง

พนักงานขับรถ

นิติกร
ทำเนียบผู้บริหาร
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครปฐม
รายนามผู้ดำรงตำแหน่ง
๑.นางสาวปรางรัตน์ แขกเพ็ง ๑ เมษายน ๒๕๕๗ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘
๒.นายอำนาจ เนตยสุภา ๑ เมษายน ๒๕๕๘ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙
๓.นายภูชิชย์ พวกแก้ว ๑ เมษายน ๒๕๕๙ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๒
๔.นางจำเนียร คงถาวร ๑ เมษายน ๒๕๖๒ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔
๕.นางสาวมยุรี ไวกิจอเนก ๑ เมษายน ๒๕๖๔ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕
๖.นายอลงกรณ์ นาคประเสริฐ ๑ เมษายน ๒๕๖๕ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖
๗.นายสันติ เยือพร้อมพงศ์ ๑ เมษายน ๒๕๖๖ – ปัจจุบัน
กระบวนงาน
ขั้นตอนกระบวนการ
1.กระบวนการช่วยเหลือให้คำปรึกษา
-ประชาชน ยื่นคำร้องขอรับคำปรึกษา
-ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยพนักงานอัยการ หรือนิติกร หรือทนายอาสา
2.กระบวนการรวบรวมตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการยื่นคำร้องแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
-ผู้ร้อง ยื่นคำร้องขอรับความช่วยเหลือตั้งผู้จัดการมรดก
-สอบสวนผู้ร้อง ๑ ชั่วโมง รวมทั้งทายาทอื่นของผู้ตาย (เอกสารครบถ้วน)
-พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาล ภายใน ๗ วัน
-ส่งหนังสือแจ้งวันนัดไต่สวนให้ผู้ร้องทราบภายใน ๒ สัปดาห์
-ศาลนัดไต่สวนภายในเวลาประมาณ ๒ เดือน นับแต่วันยื่นคำร้อง (ศาลประกาศหนังสือพิมพ์และนัดวันตามเวลาของศาล)
-ตามคำร้องขอและผู้ร้องได้รับคำสั่งศาล (ภายในวันนั้นหรือวันที่ศาลนัดหากเป็นคำสั่งถึงที่สุดให้รออีก ๓๐ วันนับตั้งแต่วันได้รับคำสั่งของศาล)
3.กระบวนการดำเนินการยื่นคำร้องคนสาบสูญ
-ผู้ร้อง ยื่นคำร้องขอรับความช่วยเหลือและมีเอกสารหลักฐานครบถ้วน ใช้เวลา ๒ ชั่วโมง
-พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาล ภายใน ๗ วัน
-ส่งหนังสือแจ้งวันนัดไต่สวนให้ผู้ร้องทราบภายใน ๒ สัปดาห์
-ศาลนัดไต่สวนภายในเวลาประมาณ ๒ เดือน นับแต่วันยื่นคำร้อง (ศาลประกาศหนังสือพิมพ์และนัดวันตามเวลาของศาล)
-ตามคำร้องขอและผู้ร้องได้รับคำสั่งศาล (ภายในวันนั้นหรือวันที่ศาลนัด)
เอกสารเผยแพร่
ติดต่อหน่วยงาน
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครปฐม
อาคารเลขที่ 1 ชั้นที่ 1 ถนนหน้าพระ ตำบลพระปฐมเจดีย์
อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม รหัสไปรษณีย์ 73000
ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาจัดการมรดก และเรื่องอื่นๆ
เบอร์โทรศัพท์ 034-258-536 เบอร์โทรสาร 034-258-536
แผนที่ตั้ง (คลิ๊ก)
