ข่าวประชาสัมพันธ์

ผู้ติดต่อ ผู้รับบริการ หรือประชาชนผู้เกี่ยวข้องสามารถร้องเรียนและแจ้งเบาะแสการทุจริตได้ที่สำนักงานคณะกรรมการอัยการ
สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ
แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐
หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๑๔๒ ๑๘๓๐ และ ๐ ๒๑๔๒ ๑๘๓๑ E-mail : cmiss@ago.go.th

๑. ความหมายของการปล่อยชั่วคราว
     การปล่อยชั่วคราว คือ การอนุญาตให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยพันจากการควบคุมของเจ้าพนักงานหรือศาล ตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อไม่ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกควบคุมหรือขังเป็นเวลานานเกินกว่าจำเป็นในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี เพราะหากไม่จำเป็นต้องควบคุมหรือขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ก็ควรที่จะปล่อยชั่วคราวไป ตามหลักการของรัฐธรรมนูญที่ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้

 ๒. การร้องขอให้ศาลปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว
     การร้องขอให้ศาลปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวแยกได้ดังนี้
     ๒.๑ การร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวระหว่างฝากขัง เมื่อผู้ต้องหาถูกพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการนำตัวมาขออนุญาตศาลฝากขังระหว่างที่การสอบสวนไม่เสร็จสิ้น ผู้ต้องหามีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวต่อศาล
     ๒.๒ การร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยถูกพนักงานอัยการฟ้องต่อศาลแล้ว จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องให้ปล่อยชั่วคราวต่อศาล
          ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ เมื่อศาลมีคำสั่งประทับฟ้องและหมายเรียกจำเลยให้มาแก้คดี จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวต่อศาล ทั้งนี้ จะยื่นคำร้องของให้ปล่อยชั่วคราวก่อนวันนัดหรือในวันนัดที่ระบุในหมายเรียกก็ได้
     ๒.๓ การร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา เมื่อจำเลยถูกกักขังหรือจำคุกโดยผลของคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค แล้วแต่กรณี จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวก่อนที่จะยื่นอุทธรณ์หรือยื่นฎีกา หรือจะยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวพร้อมกันกับยื่นอุทธรณ์หรือยื่นฎีกา หรือจะยื่นหลังจากยื่นอุทธรณ์หรือยื่นฎีกาแล้วก็ได้
     ๒.๔ การร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวบุคคลที่ถูกกักขังหรือจำคุกในกรณีอื่น เช่น ศาลออกหมายจับพยานที่จงใจไม่มาศาล หรือกรณีละเมิดอำนาจศาล หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ถูกจับโดยจงใจขัดขืนคำบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๓๐๐ เป็นต้น บุคคลเช่นว่านั้น มีสิทธิยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวได้

๓. ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว
     ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว ได้แก่
     ๓.๑ ผู้ต้องหาหรือจำเลย หรือบุคคลตามข้อ ๒.๔
     ๓.๒ ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับบุคคลตามข้อ ๓.๑ เช่น บุพการี ผู้สืบสันดาน มี ภริยา ญาติ พี่น้อง ผู้บังคับบัญชา นายจ้าง บุคคลที่เกี่ยวพันโดยการสมรส บุคคลที่ศาลเห็นว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเสมือนเป็นญาติพี่น้อง หรือมีความสัมพันธ์ในทางอื่นที่ศาลเห็นสมควรหรือนิติบุคคล เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด สำหรับกรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นกรรมการ ผู้แทน ตัวแทน หุ้นส่วนพนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลนั้น

๔. ประเภทของการปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว
     การที่ศาลอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว แบ่งได้เป็น ๓ ประเภท ได้แก่
     ๔.๑ การปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกัน
     ๔.๒ การปล่อยชั่วคราวโดยมีประกัน
     ๔.๓ การปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันและหลักประกัน

๕. เอกสารที่ต้องใช้ประกอบคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว
     เอกสารที่ใช้ประกอบคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว มีดังนี้
     ๕.๑ บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบัตรประจำตัวพนักงานรัฐวิสาหกิจของผู้ร้องขอประกัน อย่างใดอย่างหนึ่ง
     ๕.๒ ทะเบียนบ้านของผู้ขอประกัน
     ๕.๓ กรณีผู้ร้องขอประกันมีคู่สมรส จะต้องแสดงเอกสารเพิ่มเติม ได้แก่
          (๑) บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบัตรประจำตัวพนักงานรัฐวิสาหกิจ อย่างใดอย่างหนึ่ง และทะเบียนบ้านของคู่สมรส
          (๒) ใบสำคัญการสมรส
          (๓) หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรส
     ๕.๔ กรณีชื่อเจ้าของหลักทรัพย์ไม่ตรงกับที่ปรากฏในเอกสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต้องมีหนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลเดียวกัน หรือหลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือชื่สกุล
     ๕.๕ กรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นชาวต่างประเทศ หากมีหนังสือเดินทาง (Passport) ต้องนำมาแสดงด้วย
     ๕.๖ บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบัตรประจำตัวพนักงานรัฐวิสาหกิจของผู้ต้องหาหรือจำเลย อย่างใดอย่างหนึ่ง
     ๕.๗ ทะเบียนบ้านผู้ต้องหาหรือจำเลย

๖. หลักประกัน
     ๑. หลักประกันที่ใช้ในการขอให้ปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว ได้แก่
     ๑.๑ หลักทรัพย์อื่น เช่น
          (๑) ที่ดินมีโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ หรือ น.ส.๓ก) กรรมสิทธิ์ห้องชุด
          (๒) พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน บัตรหรือสลากออมทรัพย์ทวีสินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่ายและธนาคารผู้จ่ายได้รับรองตลอดไปแล้ว ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว หรือเช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย (แคชเชียร์เช็ค) หรือเช็คที่ธนาคารรับรองแล้ว
          (๓) เงินฝากธนาคาร
          (๔) หนังสือค้ำประกันหรือหนังสือรับรองของธนาคาร
          (๕) หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย
          (๖) บางศาลเคยพิจารณาอนุญาตให้ใช้สิ่งต่อไปนี้เป็นหลักทรัพย์
               ก. รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์
               ข. ที่ดินมีเอกสาร เช่น ภ.บ.ท.๕, ส.ค.๑, น.ส.๒ หรือ สปก.
               ค. บ้านพักอาศัย
               ง. ทรัพย์ที่ติดจำนองหรือมีภาระติดพัน
     ๑.๒ บุคคลเป็นประกันหรือหลักประกัน
          (๑) ส่วนราชการ กรณีข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการที่ต้องหาคดีอาญาตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการช่วยเหลือข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการที่ต้องหาคดีอาญา
          (๒) ผู้มีตำแหน่งข้าราชการ ข้าราชการบำนาญ สมาชิกรัฐสภา ผู้บริหารราชการส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น พนักงานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานของรัฐประเภทอื่นๆ ลูกจ้างของทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารพรรคการเมือง และทนายความ ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้มีความสัมพันธ์กับผู้ต้องหาหรือจำเลย เช่น เป็นผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามี ภริยา ญาติพี่น้อง ผู้บังคับบัญชา นายจ้าง บุคคลที่เกี่ยวพันโดยทางสมรส หรือบุคคลที่ศาลเห็นว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเสมือนเป็นญาติพี่น้องหรือมีความสัมพันธ์ในทางอื่นที่ศาลเห็นสมควร โดยสามารถทำสัญญาประกันได้ในวงเงินไม่เกิน ๑๐ เท่า ของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
          (๓) ผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์ เภสัชกร พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ทนายความ ผู้สอบบัญชี ครู ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการสื่อสารมวลชน หรือผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามที่ศาลเห็นสมควร เมื่อตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย อาจใช้ตนเองเป็นหลักประกันได้ ในกรณีความผิดที่ตนถูกกล่าวหาเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่หรือการปฏิบัติงานในการประกอบวิชาชีพ โดยสามารถทำสัญญาประกันได้ในวงเงินไม่เกิน ๑๕ เท่า ของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
          (๔) บางกรณีที่ความผิดไม่ร้ายแรง ศาลอาจพิจารณาอนุญาตให้บิดา มารดาเป็นผู้ร้องขอประกันบุตรได้ โดยไม่ต้องมีหลักประกัน
          (๕) นิติบุคคลในกรณีที่กรรมการ ผู้แทน ตัวแทน หุ้นส่วน พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลนั้นตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย

“วันปิยมหาราช”

ด้วยในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันปิยมหาราช อันเป็นวันอภิลักขิตสมัยวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๕ เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จังหวัดนครปฐมได้จัดพิธีวางพวงมาลาเพื่อถวายราชสักการะน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ศาลากลังจังหวัดนครปฐม


เมื่อวันที่  ๘ เมษายน ๒๕๖๔  ข้าราชการฝ่ายอัยการสำนักงานอัยการจังหวัดนครปฐม สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงนครปฐม สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครปฐม และสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครปฐม ร่วมสืบสานประเพณีไทย รดน้ำดำหัว ขอพรผู้ใหญ่ ในประเพณีวันสงกรานต์ ณ อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดนครปฐม


วันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

     สำนักงานอัยการจังหวัดนครปฐม ได้จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิรพัชร มหาวัชรราชธิดา เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระกรุณาธิคุณของข้าราชการฝ่ายอัยการ ในวันพุธที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๐๘.๔๕ น. และพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล


เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติสำนักงานอัยการคดีศาลแขวงนครปฐม

      สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงนครปฐม เป็นส่วนราชการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๒ ณ ศาลากลางจังหวัดนครปฐม พระราชวังสนามจันทร์ ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม  และเมื่อปีพ.ศ.๒๕๔๒  ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ ณ เลขที่ ๑  ถนนหน้าพระ  ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม  จังหวัดนครปฐม

อำนาจหน้าที่

                 สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงนครปฐม เป็นส่วนราชการส่วนภูมิภาคของสำนักงานอัยการสูงสุด โดยสำนักงานอัยการสูงสุดนั้น เป็นหน่วยงานอิสระประเภทองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๕ ซึ่งบัญญัติว่า “พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้และตามกฎหมายว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการและกฎหมายอื่น..” และมีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๔๙๘ มาตรา ๑๑ , ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นๆ ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือของพนักงานอัยการหรือว่าต่างแก้ต่างคดีแพ่งแทนหน่วยงานรัฐตามกฎหมายอื่นที่บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือของพนักงานอัยการ เพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์ของรัฐโดยมีพนักงานอัยการเป็นผู้ปฏิบัติงานประจำสำนักงานต่างๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดในส่วนภูมิภาคจะแบ่งการปกครองออกเป็น ๙ เขต แต่ละเขตอาจมีหลายจังหวัดโดยมีอธิบดีอัยการเขตเป็นผู้บังคับบัญชาและสำนักงานอัยการคดีศาลแขวงนครปฐมเป็นหน่วยงานหนึ่งที่สังกัดในส่วนราชการของสำนักงานอัยการเขต ๗ (ตั้งอยู่ที่จังหวัดราชบุรี)

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการคดีศาลแขวงนครปฐม

                สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงนครปฐมนั้น มีเขตอำนาจดำเนินคดีอาญาครอบคลุมทั้งจังหวัดนครปฐม มี ๗ อำเภอ และสถานีตำรวจที่มีเขตอำนาจสอบสวนในจังหวัดนครปฐมนั้นมีทั้งสิ้น ๑๒ สถานีประกอบด้วย
๑ . สถานีตำรวจภูธรเมืองนครปฐม
๒ . สถานีตำรวจภูธรโพรงมะเดื่อ
๓ . สถานีตำรวจภูธรสามควายเผือก
๔ . สถานีตำรวจภูธรกำแพงแสน
๕ . สถานีตำรวจภูธรกระตีบ
๖ . สถานีตำรวจภูธรดอนตูม
๗. สถานีตำรวจภูธรบางเลน
๘. สถานีตำรวจภูธรบางหลวง
๙. สถานีตำรวจภูธรนครชัยศรี
๑๐. สถานีตำรวจภูธรสามพราน
๑๑. สถานีตำรวจภูธรพุทธมณฑล
๑๒. สถานีตำรวจภูธรโพธิ์แก้ว
                   คดีที่พนักงานอัยการคดีศาลแขวงนครปฐมมีอำนาจดำเนินคดีได้นั้นต้องเป็นคดีที่ผู้ต้องหามีอายุ ๑๘ ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลแขวง ซึ่งตามพระธรรมมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๑๗ ประกอบมาตรา ๒๕ (๕) คดีที่ศาลแขวงซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอำนาจพิจารณาพิพากษา และมีอำนาจทำการไต่สวน หรือมีคำสั่งใดๆ ได้ มีหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑) คดีที่มีอัตราโทษให้จำคุกอย่างสูงไม่เกิน ๓ ปี
(๒) คดีที่มีโทษปรับไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท
(๓) คดีที่มีอัตราโทษให้จำคุกอย่างสูงไม่เกิน ๓ ปีและโทษปรับไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท
                   การดำเนินคดีอาญาในศาลแขวงของพนักงานอัยการนั้นนอกจากจะต้องพิจารณาและสั่ง คดีเหมือนคดีอาญาทั่ว ๆ ไปตามหลักเกณฑ์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาตั้งแต่มาตรา ๑๔๓ – ๑๔๗ และกฎหมายอื่นที่บัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ รวมทั้งระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๗ แล้ว ยังจะต้องพิจารณาและสั่งคดีฟ้องกรณีผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดข้อหาต่อพนักงานสอบสวนตามพระราช บัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๔๙๙ มาตรา ๗, ๘, ๙,๑๙,๒๐ อีกด้วย ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจากหลักเกณฑ์ในการดำเนินคดีอาญาทั่วไปเพราะเหตุว่าในกรณีที่ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาต่อพนักงานสอบสวนแล้วพนักงานอัยการจะต้องดำเนินการฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลภายใน ๔๘ ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับกุม ตามมาตรา ๗ ซึ่งบัญญัติว่า “ในการสอบสวนคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ เมื่อมีการจับตัวผู้ต้องหาแล้วให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องผู้ต้องหาได้ทันภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับกุม….” และมาตรา ๒๐ บัญญัติว่า “ ในคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ ถ้าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดข้อหาต่อพนักงานสอบสวน ให้นำตัวผู้ต้องหามายังพนักงานอัยการเพื่อฟ้องศาลโดยมิต้องทำการสอบสวน และให้ฟ้องด้วยวาจา……” เป็นต้น

วิสัยทัศน์ (Vision)

“เป็นองค์กรแห่งความยุติธรรมของสังคมเพื่อความมั่นคงของชาติและความผาสุกของประชาชน”

พันธกิจ (Missions)

1. อำนวยความยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส พึ่งพิงได้บนพื้นฐานของความเสมอภาค
2. รักษาผลประโยชน์ของรัฐ เพื่อประโยชน์สาธารณะและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
3. รับรู้ ดูแล แก้ปัญหาในการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และเป็นที่พึ่งของประชาชนในด้านกฎหมาย
4. พัฒนาศักยภาพองค์กรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกบนฐานความเชี่ยวชาญ

ค่านิยมร่วม “PUBLIC”

  • P : People First      ประชาชนมาที่หนึ่ง
  • U : Uprightness      เป็นที่พึ่งความยุติธรรม
  • B : Betterment      คิดและทำเพื่อพัฒนา
  • L : Lawfulness      รักษากฎหมายด้วยเหตุผล
  • I : Integrity      ประพฤติตนซื่อสัตย์และโปร่งใส
  • C : Collaboration      ร่วมมือร่วมใจสู่เป้าหมาย
โครงสร้าง (Structure)

บุคลากร

ข้าราชการอัยการ

(นายสุทน สุขเม่า)
อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงนครปฐม
 
(นายยุทธพงศ์ ปลั่งพงษ์พันธ์)
อัยการจังหวัด
ประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
(น.ส.ณัฐกานต์ เจริญนิเวศนุกูล)
รองอัยการจังหวัด
(น.ส.ณิชาภัทร อนุรักษ์โอฬาร)
รองอัยการจังหวัด
(นางสาวอรณัฐ น้อยพานิช)
อัยการจังหวัดผู้ช่วย
(นายกมลลักษณ์ คำเพ็ญ)
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

ข้าราชการธุรการ

(นางสาวมาริษา  ลิ้มมงคลชัยกุล)
ผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการ

ฝ่ายบริหารทั่วไป

(น.ส.อรพรรณ ไกรวิจิตร)
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
(น.ส.อภิสราณัฐ ตรีภุมมารักษ์)
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
(นายพิเชษฐ์ กลิ่นจันทร์)
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

ฝ่ายการคลังและพัสดุ

(นางสาวรวิสรา  ถมยา)
นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ

 ฝ่ายบริหารงานคดี

(นางลำเจียก เกษมวัฒนาโรจน์)
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
(นางสาวกชกร ปราดเปรียว)
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
(นางสาวธัญญาภัทร์ มั่งมี)
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

ฝ่ายนิติการ

(นายพีระพล ชุลีธรรม)
นิติกรชำนาญการ
(นายนิพนธ์ มีก่ำ)
นิติกรชำนาญการ
(นายประภัสสร์ จีรภัทร์)
นิติกรปฏิบัติการ
(นายเอกพจ ประจำเมือง)
นิติกรปฏิบัติการ

พนักงานราชการ

(นายสุรศักดิ์ คานทอง)
พนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์

จ้างเหมาบริการ

(นายอานนท์  กานตะดา)
พนักงานขับรถยนต์

ทำเนียบอัยการ

ทำเนียบผู้บริหารสำนักงานอัยการคดีศาลแขวงนครปฐม

  ลำดับที่                    รายนาม                ปีที่ดำรงตำแหน่ง          
      ๑.    ร.ท.พัฒนะ  ไชยเศรษฐ                ๔ พ.ค. ๒๕๓๒ – ๒ ต.ค. ๒๕๓๒
      ๒.นายถาวร  เสนเนียม   ๓ ต.ค. ๒๕๓๒ – ๓ พ.ค. ๒๕๓๓
      ๓.นายศิริศักดิ์  ติยะพรรณ   ๔ พ.ค. ๒๕๓๓ – ๙ ก.ค. ๒๕๓๓
      ๔.นายอดุลย์  ตระกูลดิษฐ์   ๑๐ ก.ค. ๒๕๓๓ – ๑ พ.ค. ๒๕๓๗
      ๕.นายประสิทธิ์  ปทุมารักษ์   ๒ พ.ค. ๒๕๓๗ – ๓๐ เม.ย. ๒๕๓๘
      ๖.นายยุทธศิลป์  เสนานาญ   ๑ พ.ค. ๒๕๓๘ – ๓๐ ก.ย. ๒๕๓๘
      ๗.นายปรีชา  ค้ำชู   ๑ ต.ค. ๒๕๓๘ – ๓๐ ก.ย. ๒๕๓๙
      ๘.นางสาวกัลยา  สินวิสูตร   ๑ ต.ค. ๒๕๓๙ – ๓๐ เม.ย. ๒๕๔๑
      ๙.นายสุวิทย์  อารยภิญโญ   ๑ พ.ค. ๒๕๔๑ – ๒ พ.ค. ๒๕๔๒
     ๑๐.ร้อยเอกฉัตรชัย  กันนิ่ม   ๓ พ.ค. ๒๕๔๒ – ๓๐ เม.ย. ๒๕๔๓
     ๑๑.นางลัดดาวัลย์  สินธุรักษ์   ๑ พ.ค. ๒๕๔๓ – ๓๐ เม.ย. ๒๕๔๔
     ๑๒.นายวีระชัย  ทรัพยวณิช   ๑ พ.ค. ๒๕๔๔ – ๖ พ.ค. ๒๕๔๕
     ๑๓.นายมนต์ชัย  บ่อทรัพย์   ๗ พ.ค. ๒๕๔๕ – ๒๗ เม.ย. ๒๕๔๖ 
     ๑๔.นายสมนึก  โอภาปัญญโชติ   ๒๘ เม.ย. ๒๕๔๖ – ๓ เม.ย. ๒๕๔๘
     ๑๕.ร.ต.อ.สัมฤทธิ์  อึ้งจะนิล   ๔ เม.ย. ๒๕๔๘ – ๓๐ เม.ย. ๒๕๔๙
     ๑๖.นางสาวจิตยิน  ติรณวัตถุภรณ์   ๑ พ.ค. ๒๕๔๙ – ๑ เม.ย. ๒๕๕๐
     ๑๗.นายสมใจ  โตศุกลวรรณ์   ๒ เม.ย. ๒๕๕๐ – ๓๑ มี.ค. ๒๕๕๑
     ๑๘.นายชัยชนะ  พันธุ์ภักดีดิสกุล   ๑ เม.ย. ๒๕๕๑ – ๓๑ มี.ค. ๒๕๕๓
     ๑๙.นางเยาวลักษณ์  นนทแก้ว   ๑ เม.ย. ๒๕๕๓ – ๓๑ มี.ค. ๒๕๕๔
     ๒๐.นางวราภรณ์  จันทนากูล   ๑ เม.ย. ๒๕๕๔ – ๑ เม.ย. ๒๕๕๕
     ๒๑.นางประภา  พัทยาอารยา   ๒ เม.ย. ๒๕๕๕ – ๓๑ มี.ค. ๒๕๕๖
     ๒๒.นายพินันพ์  ลักษณ์ศิริ   ๑ เม.ย. ๒๕๕๖ – ๓๑ มี.ค. ๒๕๕๗
     ๒๓.นายเลิศพงศ์  กลัดอ่ำ   ๑ เม.ย. ๒๕๕๗ – ๓๑ มี.ค. ๒๕๕๘
    ๒๔.นายวรวุฒิ  วัฒนอุตถานนท์   ๑ เม.ย. ๒๕๕๘ – ๓๑ มี.ค. ๒๕๕๙
    ๒๕.นายสุวีระ  ลูกรักษ์   ๑ เม.ย. ๒๕๕๙ – ๒ เม.ย. ๒๕๖๐
    ๒๖.เรือโท พลัฏฐ์  ทัพพ์พัฒนะ   ๓ เม.ย. ๒๕๖๐ – ๑ เม.ย. ๒๕๖๑
    ๒๗.นายพิสิฐพงศ์  ชัยยะ   ๒ เม.ย. ๒๕๖๑ – ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๒
    ๒๘.นายเชาวฤทธิ์  จันทร์สนาม   ๑ เม.ย. ๒๕๖๒ – ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๓
    ๒๙.นางสาวณัฐหทัย  ชีวรัฐอุทัยวงศ์   ๑ เม.ย. ๒๕๖๓ – ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๔
    ๓๐.นายณรงค์ฤทธิ์  จิตรารัชต์   ๑ เม.ย. ๒๕๖๔ – ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๖
    ๓๑.นายสุทน  สุขเม่า   ๑ เม.ย. ๒๕๖๖ – ปัจจุบัน

ผังกระบวนงาน

สถิติคดี

ประเภทสำนวนคดีปี พ.ศ. ๒๕๖๕(เรื่อง)ปี พ.ศ. ๒๕๖๖(เรื่อง)ปี พ.ศ. ๒๕๖๗(เรื่อง)ปี พ.ศ. ๒๕๖๘(เรื่อง)ปี พ.ศ. ๒๕๖๙(เรื่อง)
ส.๑ มีตัวผู้ต้องหา๔๕๗๓๗๑
ส.๑ ฟื้นฟู๓๕๑
ส.๒ ไม่มีตัวผู้ต้องหา๑๕๘๒๑๔
ส.๒ก เปรียบเทียบปรับ๑๒๗๑๕๑
ส.๓ งดการสอบสวน
ส.๔ ฟ้องวาจา๕,๘๔๑๔,๑๒๑
ส.๕ แก้ต่างคดีอาญา
ส.๕ก ว่าต่าง แก้ต่างคดีแพ่ง๑๓๑๕๙
ประเภทสำนวนคดี ปี พ.ศ. ๒๕๖๐(เรื่อง) ปี พ.ศ. ๒๕๖๑(เรื่อง) ปี พ.ศ. ๒๕๖๒(เรื่อง) ปี พ.ศ. ๒๕๖๓(เรื่อง) ปี พ.ศ. ๒๕๖๔(เรื่อง)
ส.๑ มีตัวผู้ต้องหา๕๔๑๖๐๓๕๒๒๕๓๒๔๓๓
ส.๑ ฟื้นฟู๑,๕๘๐๒,๔๘๐๒,๑๑๐๑,๖๙๒๘๗๘
ส.๒ ไม่มีตัวผู้ต้องหา๔๘๐๔๖๕๓๕๖๓๕๖๒๔๑
ส.๒ก เปรียบเทียบปรับ๕๙,๑๑๗๕๔,๔๖๘๒๙,๘๘๗๔,๖๔๕๓,๐๕๖
ส.๓ งดการสอบสวน๒๗๒๒๒๑๑๐๑๑
ส.๔ ฟ้องวาจา๒,๕๔๔๒,๘๐๕๒,๗๓๘๒,๒๘๘๒,๔๙๖
ส.๕ แก้ต่างคดีอาญา
ส.๕ก ว่าต่าง แก้ต่างคดีแพ่ง๒๖๔๔๗๗๘๔๘๑
ส.๖ อุทธรณ์๗๐๕๓๖๘๕๓๒๖
ส.๗ ฎีกา๑๐

ประเภทสำนวนคดีปี พ.ศ. ๒๕๕๕(เรื่อง)ปี พ.ศ. ๒๕๕๖(เรื่อง)ปี พ.ศ. ๒๕๕๗(เรื่อง)ปี พ.ศ. ๒๕๕๘(เรื่อง)ปี พ.ศ.๒๕๕๙(เรื่อง)
ส.๑ มีตัวผู้ต้องหา๗๗๒๑,๐๔๒๔๘๔๔๗๔๕๔๕
ส.๑ ฟื้นฟู๒,๕๖๐๓,๐๔๐๑,๐๗๗๑,๑๓๐๙๘๐
ส.๒ ไม่มีตัวผู้ต้องหา๓๖๕๕๘๓๔๐๕๔๕๘๔๒๕
ส.๒ก เปรียบเทียบปรับ๒๗,๐๙๙๔๙,๒๗๔๓๘,๒๓๗๔๑,๖๗๑๕๔,๖๑๙
ส.๓ งดการสอบสวน๖๐๗๙๓๕๔๓๓๑
ส.๔ ฟ้องวาจา๑,๙๕๕๒,๔๙๖๒,๖๕๓๓,๓๗๒๒,๙๓๐
ส.๕ แก้ต่างคดีอาญา
ส.๕ก ว่าต่าง แก้ต่างคดีแพ่ง๓๙๔๓๓๔๓๓๓๓
ส.๖ อุทธรณ์๑๑๖๑๐๑๘๙๗๒๑๐๖
ส.๗ ฎีกา

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงนครปฐม
เลขที่ ๑ ถนนหน้าพระ  ตำบลพระปฐมเจดีย์  
อำเภอเมืองนครปฐม   จังหวัดนครปฐม   ๗๓๐๐๐
เบอร์โทร   ๐ ๓๔๒๕ ๔๓๖๗  
โทรสาร   ๐ ๓๔๒๕ ๔๓๖๘
E-mail : nkpt-sum@ago.go.th

แผนที่สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงนครปฐม