https://www.ago.go.th/wp-content/uploads/slider/cache/3aaa0233ae13f7d76c1ec89c8212c41d/67-Gift-Ver05.png

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10.00 น. นายศรัณย์ ถิรพัฒน์ ผู้ตรวจการอัยการ และคณะ ตรวจราชการและนิเทศงานสำนักอัยการภายในอาคารสำนักงานอัยการภาค 7 ณ สำนักงานอัยการภาค 7 อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี  โดยมีนางจารุวัณณ์ จารุภูมิ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีปกครองเพชรบุรี และข้าราชการฝ่ายอัยการ ให้การต้อนรับ และลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานคดีปกครองเพชรบุรีพร้อมบ้านพัก

วันพุธที่ 4 มกราคม 2566 เวลา 08.00 น. นางจารุวัณณ์ จารุภูมิ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีปกครองเพชรบุรี และบุคลากรในสังกัด ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร จัดกิจกรรมปล่อยปลา และลงนามถวายพระพร เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ สำนักงานอัยการภาค 7 จังหวัดราชบุรี

วัน ศุกร์ ที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00 น. นางสาวนารี ตัณฑเสถียร อัยการสูงสุด และคณะ ตรวจเยี่ยมสำนักงานอัยการภายในอาคารสำนักงานอัยการภาค7 ณ สำนักงานอัยการภาค 7 อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยมีนายศาทิต สุจโต รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีปกครองเพชรบุรี และข้าราชการฝ่ายอัยการ ให้การต้อนรับ

วัน พุธ ที่ 2 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10.00 น. นางจารุวัณณ์ จารุภูมิ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีปกครองเพชรบุรี เข้าร่วมประชุมกับสำนักงานอัยการภาค 7 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการต้อนรับ ท่านนารี ตัณฑเสถียร อัยการสูงสุด และคณะ ในวัน ศุกร์ ที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมยกกระบัตรเมืองราชบุรี ชั้น 4 อาคารสำนักงานอัยการภาค 7

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม 2565 เวลา 9.30 น. นายไพรัช เชื้อทองฮัว พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากรในสำนักงานคดีปกครองเพชรบุรี ร่วมกับสำนักงานอัยการภาค 7 จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2565 เพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดีและสำนักในพระมหากรุณาธิคุณ โดยจัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล ถวายสัตย์ปฏิญาณ และลงนามถวายพระพร ณ ห้องประชุมยกกระบัตรเมืองราชบุรี ชั้น 4 สำนักงานอัยการภาค 7

วันพุธที่ 10 เมษายน 2567 นายวาที อากาศวิภาต อธิบดีอัยการ พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากรสำนักงานคดีปกครองเพชรบุรี จัดพิธีรดน้ำดำหัวและขอพรเนื่องในวันสงกรานต์ ประจำปี 2567 เพื่อความเป็นสิริมงคลและสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทย ณ ห้องประชุมยกกระบัตรเมืองราชบุรี ชั้น 4 อาคารสำนักงานอัยการภาค 7

วันที่ 3 เมษายน 2567 นายชัยรัตน์ กรรณิการ์ รองอธิบดีอัยการ และข้าราชการฝ่ายอัยการสำนักงานคดีปกครองเพชรบุรี ได้เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรร่วมกับสำนักงานอัยการภาค 7 เนื่องในโอกาสครบรอบ 131 ปี ของการสถาปนาองค์กรอัยการ “ที่พึ่งด้านกฎหมายของรัฐและประชาชน”ณ อาคารสำนักงานอัยการภาค 7

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม 2565 เวลา 9.30 น. นายไพรัช เชื้อทองฮัว พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากรในสำนักงานคดีปกครองเพชรบุรี ร่วมกับสำนักงานอัยการภาค 7 จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2565 เพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดีและสำนักในพระมหากรุณาธิคุณ โดยจัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล ถวายสัตย์ปฏิญาณ และลงนามถวายพระพร ณ ห้องประชุมยกกระบัตรเมืองราชบุรี ชั้น 4 สำนักงานอัยการภาค 7

กิจกรรมจิตอาสา “รู้รักสามัคคี รักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาคุณภาพชีวิต” ถวายพระราชกุศล

การประชุมคณะกรรมการตรวจการจ้างโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานคดีปกครองเพชรบุรี ครั้งที่ 4/2564

  • ประกาศสำนักงานคดีปกครองเพชรบุรี เรื่อง ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเพื่อจ้างเหมาบริการ “ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์”
  • ประกาศสำนักงานคดีปกครองเพชรบุรี เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อจ้างเหมาบริการ “ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์”

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติ สำนักงานคดีปกครองเพชรบุรี

สำนักงานอัยการสูงสุดได้มีคำสั่งที่ 2569/2557 เรื่อง เปิดทำการสำนักงานคดีปกครองเพชรบุรี และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองเพชรบุรี 1 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2557 โดยกำหนดให้เปิดทำการตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2558 เป็นต้นไป ให้สำนักงานคดีปกครองเพชรบุรี และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองเพชรบุรี 1 มีสถานที่ตั้งชั่วคราวอยู่ที่ห้องประชุมยกกระบัตรเมืองราชบุรี ชั้น 4 อาคารสำนักงานอัยการภาค 7 เลขที่ 48/1 ถนนสมบูรณ์กุล ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด มีดังนี้

          (มาตรา ๒๓) สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชากร เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 

          (๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน 
          (๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ 
          (๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
          (๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้ 
          (๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
          (๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้ารการฝ่ายอัยการ
          (๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
          (๘) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
          (๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด 
          ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ


อำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด มีดังนี้

          (มาตรา ๒๗)  ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด
          (๒) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ
          (๓) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสุดของสำนักงานอัยการสูงสุด 
          ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้
          ให้อัยการสูงสุดโอยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด 

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ มีดังนี้

          มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
          (๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
          (๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
          (๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนี่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
          (๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
          (๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
          (๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาก ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
          (๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
          (๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
          (๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
          (๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
          ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้ 
          พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.

ประกาศคณะกรรมการอัยการ
เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่14) พ.ศ. 2557
วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

คดีปกครอง
เงื่อนไข การฟ้องคดีปกครอง

          แม้ว่าการฟ้องคดีปกครองจะกระทำได้โดยง่าย แต่ศาลปกครองก็เป็นศาลระบบหนึ่ง เช่นเดียวกับศาลยุติธรรม กฎหมายจึงกำหนดเงื่อนไขบางประการเอาไว้ ทั้งนี้ เพื่อให้การฟ้องคดีเป็นระบบ และสามารถแก้ไขความเดือดร้อนของผู้ประสงค์จะฟ้องคดีได้อย่างแท้จริง เงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองที่สำคัญ ๆ มีดังนี้

          1.      ผู้มีสิทธิฟ้องคดีปกครอง

                   ผู้ฟ้องคดีปกครองจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตามกฎหมาย ซึ่งโดยปกติได้แก่ บุคคล บรรลุนิติภาวะ ที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ และได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องมาจากการกระทำ หรืองดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ หรือเป็นผู้ที่มีข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือเป็นผู้ที่มีข้อโต้แย้งอื่นใดที่กฎหมายกำหนด ให้ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เช่น การได้รับค่าเวนคืนที่ดินไม่เป็นธรรม เจ้าหน้าที่ไม่ออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารโดยไม่ชอบ การออกใบอนุญาตล่าช้า ทำให้ผู้รับใบอนุญาตเสียหายหรือขาดรายได้ เป็นต้น

          2.      การขอให้แก้ไขเยียวยา ความเดือดร้อนหรือเสียหายในเบื้องต้นก่อนฟ้องคดี

                   หากเรื่องที่จะนำมาฟ้องคดีปกครองนั้น มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการให้ต้องดำเนินการอย่างใด เพื่อแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายนั้นเสีย ผู้ฟ้องคดีก็จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนหรือวิธีการนั้นให้เสร็จสิ้นเสียก่อน จึงจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองได้ กล่าวคือ ในกรณีที่ได้รับคำสั่งทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวก่อนที่จะนำคดีมายื่นฟ้องต่อศาลปกครองนั้น ผู้ฟ้องคดี จะต้องยื่นอุทธรณ์หรือโต้แย้งตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายในเรื่องนั้น ๆ กำหนดไว้ เช่น การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย คำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร เป็นต้น หากกฎหมายในเรื่องนั้น ๆ มิได้บัญญัติ เรื่องการอุทธรณ์คำสั่งไว้ เช่น คำสั่งไม่อนุมัติให้ข้าราชการเบิกค่าเช่าบ้าน ผู้ฟ้องคดีจะต้องยื่นอุทธรณ์ตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายว่าด้วย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองกำหนดไว้ โดยยื่นอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งภายในสิบห้าวัน นับแต่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้นเว้นแต่กรณีเป็นคำสั่งของรัฐมนตรี หรือมติของคณะกรรมการต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม การฟ้องให้เพิกถอน กฎ การเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิด หรือสัญญาทางปกครอง ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องยื่นอุทธรณ์ก่อน สามารถยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ทันที เนื่องจากกฎหมายไม่ได้กำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายไว้โดยเฉพาะ

          3.      คำฟ้องและพยานหลักฐาน

                   คำฟ้องนั้นไม่มีแบบกำหนดไว้โดยเฉพาะ แต่ต้องทำเป็นหนังสือโดยใช้ถ้อยคำสุภาพ และต้องมีชื่อและที่อยู่ของผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดี ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ตามสมควรที่แสดงให้ศาลเป็นว่าหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่กระทำการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือมีข้อพิพาทอย่างไร เมื่อใด ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นอุทธรณ์หรือขอให้เจ้าหน้าที่แก้ไขเยียวยาตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว เมื่อใด ผลเป็นอย่างไร นอกจากนั้น ผู้ฟ้องคดีจะต้องระบุในคำขอด้วยว่าต้องการให้ศาลสั่งอย่างไร โดยคำขอจะต้องสอดคล้องกับเรื่องที่ฟ้องคดีและเป็นเรื่องที่ศาลมีอำนาจสั่งให้ได้ เช่น ขอให้ศาลสั่งให้เพิกถอนคำสั่งในกรณีที่ฟ้องว่าเจ้าหน้าที่ออกคำสั่งไม่ชอบ หรือสั่งให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ภายในเวลาที่กำหนด ในกรณีที่ฟ้องว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินควร เป็นต้น และผู้ฟ้องคดีจะต้องลงลายมือชื่อในคำฟ้อง พร้อมทั้งแนบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาด้วย (เช่นคำสั่งที่ทำให้ผู้ฟ้องคดีเดือดร้อนเสียหาย)

                    กรณีที่ผู้เดือดร้อนหรือเสียหาย หลายคนซึ่งแต่ละคนประสงค์จะฟ้องคดีด้วยเหตุเดียวกัน ผู้ฟ้องคดีทุกคนอาจยื่นคำฟ้องร่วมกันเป็นฉบับเดียวกันก็ได้ โดยลงลายมือชื่อผู้ฟ้องคดีทุกคนท้ายฟ้อง ในกรณีนี้ผู้ฟ้องคดีทุกคนจะมอบหมายให้ผู้ฟ้องคดีคนหนึ่งเป็นผู้แทนของผู้ฟ้องคดีทุกคนในการดำเนินคดีก็ได้ โดยระบุชื่อผู้แทนนั้นในคำฟ้องฉบับนั้น ไม่ต้องทำใบมอบอำนาจหรือใบมอบฉันทะแยกต่างหากแต่อย่างใด

          4.      ระยะเวลาในการฟ้องคดีปกครอง

                   การฟ้องคดีปกครองจะต้องกระทำภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีรู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือร้องขอให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดและไม่ได้รับหนังสือชี้แจง หรือได้รับแต่เป็นคำชี้แจงที่ไม่มีเหตุผล แต่ถ้าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองหรือการกระทำ ละเมิดทางปกครอง หรือความรับผิดอย่างอื่นต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รู้ หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี แต่ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้องคดี แต่ถ้าเป็นคดีที่เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ หรือสถานะของบุคคล ผู้ฟ้องคดีจะยื่นฟ้องเมื่อใดก็ได้ ในกรณีที่เป็นคำสั่ง ที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้ กฎหมายบังคับให้ผู้ออกคำสั่งต้องระบุอายุความ และวิธีการยื่นคำฟ้องไว้ในคำสั่งด้วย มิเช่นนั้นอายุความในการฟ้องคดีจะขยายเป็น 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีได้รับทราบคำสั่งนั้น คดีที่ยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนดอายุความ ถ้าเป็นคดีที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม หรือมีเหตุจำเป็นอื่น โดยศาลเห็นเองหรือคู่กรณีมีคำขอ ศาลจะรับไว้พิจารณาก็ได้

ประโยชน์จากการมีศาลปกครอง

             ประชาชนจะได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของหน่วยงาน/เจ้าหน้าที่ของรัฐหน่วยงานทางปกครอง/เจ้าหน้าที่ของรัฐจะทำงานโดยยึดหลัก ความชอบด้วยกฎหมาย โปร่งใส ตรวจสอบได้และมีประสิทธิภาพก่อให้เกิด “การบริหารราชการที่ดี” เป็นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศผลสุดท้ายจะสะท้อนกลับมาเป็นผลดีต่อประเทศชาติและประชาชน

ประโยชน์จากวิธีฟ้องคดีและวิธีพิจารณาคดี
  •                ฟ้องง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย
  •                มีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาในการดำเนินคดีผลสุดท้ายต่อสู้คดีได้อย่างเท่าเทียมกันกับหน่วยงาน/จนท.ของรัฐได้รับการตัดสินคดีจากผู้ที่มีความเป็นกลางและมีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ฟ้องคดี
  •                มีระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลการพิจารณาพิพากษาคดีการตัดสินคดียึดหลักประโยชน์ส่วนรวมและประโยชน์เอกชนควบคู่กันไป

เอกสารเผยแพร่

แนวทางการส่งเรื่องให้อัยการ

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานคดีปกครองเพชรบุรี อาคารสำนักงานอัยการภาค 7 ชั้น 4
48/1 ถ.สมบูรณ์กุล ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000
โทร : 032-327-129 ต่อ 431  
มือถือ : 084-656-1980
แฟกซ์ : 032-327-129 ต่อ 431