ข่าวประชาสัมพันธ์


ประกาศเจตนารมณ์ สำนักงานอัยการสูงสุด

6 เมษายน 2567

วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์

วันพุธที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๖
สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลเพื่อถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ อาคารสำนักงานอัยการภาค ๗

วันอังคารที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๔
วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระมหาจักรีบรมราชวงศ์เวลา ๐๘.๓๐ นาฬิกา ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์รัชการที่ ๑ สวนสาธารณะจักรีอนุสรณ์สถาน (เชิงเขาแก่นจันทร์) อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี


เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา

               ในสมัยรัชกาลที่  1  ประเทศไทยยังปกครองแบบจตุสดมภ์  กรมเมืองหรือที่เรียกกันว่า “กรมพระนครบาล”  เป็นกรมหนึ่งในจตุสดมภ์    มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในกรุงเทพมหานคร   มีศาลในสังกัดเรียกว่า  “ศาลนครบาล”   กรมพระนครบาลได้จัดตั้งกองตระเวนขึ้น 2 กอง คือ กองตระเวนซ้ายและกองตระเวนขวา  มีพลตระเวนทำหน้าที่จับผู้ร้ายให้ผู้ใหญ่ในกรมชำระตัดสินความได้เอง  โดยยังไม่มีผู้พิพากษาตัดสินความได้อย่างในปัจจุบัน

                ในปี  พ.ศ.2417   มีการปรับปรุงกิจการตำรวจซึ่งเรียกว่า “พลตระเวน”  ในกรุงเทพมหานครออกเป็น 3 กอง พลตระเวนทั้งสามกองนี้  เมื่อจับผู้ร้ายได้ก็ชำระความเอง เรียกว่า “ศาลพลตระเวน”  สังกัดกรมพระนครบาล  หลังจากประกาศตั้งกระทรวงยุติธรรมแล้ว ในปี พ.ศ.2436 (ร.ศ.111)  ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้ง  “ศาลโปริสภา”  เป็นศาลกองตระเวนสำหรับกรุงเทพมหานคร  โดยยกเลิกศาลพลตระเวนเดิน  ศาลโปริสภาที่จัดตั้งขึ้นมีอำนาจชำระและตัดสินความอาญาลหุโทษเฆี่ยน (ทวน) 50 ทีลงมา  และโทษจำไม่ถึงคุก  จำที่ตะรางตั้งแต่ 6 เดือนลงมา  หรือปรับไม่เกิน 2 ชั่ง  (160  บาท)  ส่วนคดีแพ่งมีอำนาจชำระและตัดสินความทุนทรัพย์ไม่เกิน 2 ชั่ว (160 บาท)

                ในปี พ.ศ.2437 (ร.ศ.113)  มีประกาศตั้งศาลโปริสภาขึ้นในกรุงเทพมหานครเพิ่มอีก 3 ศาล รวมเป็น 4 ศาล  รวมเป็น  4  ศาล   คือ  ศาลโปริสภาเดิมเป็นศาลโปริสภาที่ 1  มีเขตอำนาจตามเขตอำนาจศาลแขวงพระนครใต้ในปัจจุบัน ศาลโปริสภาที่ 2 มีเขตอำนาจตามเขตอำนาจของศาลแขวงพระนครเหนือในปัจจุบัน  ศาลโปริสภาที่ 3 มีเขตอำนาจตามเขตอำนาจของศาลแขวงธนบุรีในปัจจุบัน  และศาลโปริสภาที่ 4 มีเขตอำนาจตามเขตอำนาจศาลจังหวัดตลิ่งชันในปัจจุบัน  นอกจากประกาศตั้งศาลโปริสภาเพิ่มแล้ว ตามประกาศดังกล่าวยังให้งดเว้นการลงโทษทวน  (เฆี่ยนตีด้วยลวดหนัง) เปลี่ยนเป็นโทษจำขังแทนเป็นครั้งแรก  ศาลโปริสภาที่ 1 และที่ 2  ตั้งอยู่ฝั่งพระนครมีปริมาณคดีมาก  ส่วนศาลโปริสภาที่ 3 ที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งธนบุรีมีปริมาณคดีน้อย  ในปี พ.ศ.2438  จึงประกาศยกเลิกศาลโปริสภาที่ 4 ศาลโปริสภาที่ 3 จึงมีเขตอำนาจในท้องที่ฝั่งธนบุรีทั้งหมด

                ในปลายสมัยรัชกาลที่  5      ได้จัดทำพระธรรมนูญศาลยุติธรรมเรียกว่า  “พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ร.ศ.127 (พ.ศ.2452)” แบ่งศาลออกเป็น ศาลในกรุงเทพมหานครและศาลหัวเมือง ศาลโปริสภาเป็นศาลในกรุงเทพมหานคร ศาลแขวงเป็นศาลในหัวเมือง  ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมฉบับนี้  บัญญัติชื่อศาลแขวงในหัวเมือง  ส่วนในกรุงเทพมหานครยังใช้คำว่าศาลโปริสภาอยู่ต่อไปจนถึง พ.ศ.2478  มีการประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม  พ.ศ.2478  ใช้คำว่าศาลแขวงทั้งในกรุงเทพมหานครและหัวเมือง ในปีเดียวกัน  มีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงสำหรับจังหวัดพระนครและธนบุรี  พ.ศ.2478  ให้ตั้งศษลแขวงพระนครใต้  ศาลแขวงพระนครเหนือ  และศาลแขวงธนบุรีขึ้น  แบ่งเขตอำนาจตามเขตอำนาจเดิมของศาลโปริสภาที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ตามลำดับ 

                หลังจากนั้นมีการจัดตั้งระหว่างปี  พ.ศ.2478 ถึงปี พ.ศ.2482 คือ ศาลแขวงมีนบุรี  แม่สะเรียง  หลังสวน  ตะกั่วป่า  กบินทร์บุรี และเบตง  ศาลแขวงเหล่านี้เปิดทำการรออยู่เพียงศาลละ 1 – 2 ปี ก็ได้รับการยกฐานะเป็นศาลจังหวัด  จนกระทั่งปี พ.ศ.2500  มีการตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 เปิดทำการศาลแขวงในหัวเมือง รวม 17 ศาล คือ ศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา  ลพบุรี  ชลบุรี  นครราชสีมา  สุรินทร์  อุบลราชธานี  อุดรธานี  ขอนแก่น  ลำปาง  เชียงใหม่  พิษณุโลก  นครสวรรค์  ราชบุรี  สุพรรณบุรี  นครศรีธรรมราช  สุราษฎร์ธานี  และสงขลา  ทุกศาลเปิดทำการพร้อมกัน 

               เดิมสำนักงานอัยการคดีศาลแขวงราชบุรีอาศัยอาคารศาลากลางจังหวัดราชบุรี     ตั้งอยู่ริมถนนสมบูรณ์กุล ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี  และเมื่อวันที่  12  ตุลาคม พ.ศ.2541  สำนักงานอัยการภาค 7 ได้ย้ายสำนักงานจากจังหวัดนครปฐมมาตั้ง  ณ จังหวัดราชบุรี  สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงราชบุรีจึงได้ย้ายสำนักงานจากศาลากลางราชบุรีมาอาศัยสำนักงานอัยการภาค 7 ตั้งอยู่เลขที่  48/1  ชั้น 1 ถนนสมบูรณ์กุล  ตำบลหน้าเมือง  อำเภอเมืองราชบุรี  จังหวัดราชบุรี   นับจนถึงปัจจุบันนี้

อำนาจหน้าที่

                 พนักงานอัยการคดีศาลแขวงราชบุรีมีอำนาจฟ้องผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดทางอาญาทุกประเภทที่มีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงราชบุรี  และมีอำนาจในการว่าต่างและแก้ต่างให้กับหน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  เทศบาล  หรือนิติบุคคลของรัฐ  ซึ่งมิใช่เป็นคดีพิพาทกับรัฐบาล ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงราชบุรี  ซึ่งได้แก่  คดีอาญาในฐานความผิดที่มีอัตราโทษตามกฎหมาย  จำคุกไม่เกิน 3 ปี  หรือปรับไม่เกิน 60,000  บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ  ทั้งนี้  ไม่ว่าจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา  หรือความผิดตามพระราชบัญญัติต่าง ๆ  ที่มีอัตราโทษดังกล่าว  และเมื่อฟ้องผู้ถูกกล่าวหาต่อศาลแล้ว  พนักงานอัยการมีหน้าที่ในการนำเสนอพยานหลักฐานต่าง ๆ ต่อศาล  เพื่อที่จะแสดงได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา

               ส่วนในคดีแพ่งเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน  300,000  บาท  ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐจะฟ้องร้องคดีต่อศาลหรือถูกบุคคลอื่นฟ้องร้องคดีต่อศาล  พนักงานอัยการมีหน้าที่ในการว่าต่างและแก้ต่างคดีให้กับหน่วยงานของรัฐ  ทั้งนี้  การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการล้วนเป็นไปเพื่อการอำนวยความยุติธรรมในทางอาญาและรักษาผลประโยชน์ของรัฐ  เพื่อการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพและรักษาความสงบสุขเรียบร้อยของสังคม

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร
นโยบาย

บุคลากร

ข้าราชการอัยการ
ข้าราชการธุรการ
จ้างเหมาบริการ
ทำเนียบอัยการจังหวัด
ลำดับรายนามปีพุทธศักราช
1นายพิพัฒน์   พัฒโนภาษ2518 – 2519
2นายบุญเที่ยง   ม้าไว2519 – 2520
3นายสนอง   แก่นแก้ว2521 – 2522
4นายวิบูลย์   กนกเวชยันต์2522 – 2523
5นายสนอง   สุวรรณฤทธิ์2523 – 2524
6นายบรม   ศรีสุข2524 – 2526
7นายประเสริฐ   นันตยุ2526 – 2527
8ร้อยโทปัญญา   มีชื่น2527 – 2528
9นายสมศักดิ์   วิริยรัตน์2528 – 2529
10นายสุนทร   ตันจันทรพงค์2529 – 2530
11นายสุธี ณ   พัทลุง2530
12นายประเวช   จันทรา2530
13นายสัญญา   ศรีจันทรา2531 – 2533
14นายสมพงษ์   สุวรรณภักดี2533 – 2534
15นายปรีชา   ไพทีกุล2534 – 2536
16นายสะอาด   บุญยโยธิน2536 – 2537
17นายอดุลย์   ตระกูลดิษฐ์2537 – 2538
18นางสาวจามจุรี   สิทธิวรรณรักษ์2538
19นายกิตติ   ทิศธรรม2538 – 2539
20นายภูติ   ศรีวัจนะพงษ์2539
21นายมนู   กาญจนะวงศ์2539
22นายวิชาญ   ธรรมสุจริต2541 – 2542
23นายสาวิตร   บุญประสิทธิ์2542 – 2543
24นายปิยนันท์   พันธุ์ชนะวานิช2543 – 2444
25นายชาญชัย   ปัทมาสน์2544 – 2545
26นายธนะชัย   ปัตตพงศ์2545 – 2546
27นายเฉลิมพันธ์ ประทีปถิ่นทอง2546 – 2547
28นายบุญธรรม   วิริยะประสิทธิ์2547 – 2548
29นายเอนก   มีทิพย์2548 – 2549
30นายชยันต์   ศุกระศร2549 – 2550
31นายสุรสิทธิ์   ม่วงศิริ2550 – 2551
32นางทิพวรรณ   เดชานีรนาท2551 – 2552
33นางพจนารถ   เหลืองประเสริฐ2552
34นายชินวัตร   เหมือนแก้วจินดา2552 (รักษาการในตำแหน่ง 1 ต.ค.52 – 6 เม.ย.53)
35นายไพรัช   เชื้อทองฮัว2553 (รักษาการในตำแหน่ง 7 เม.ย.53 – 30 ก.ย.53)
36นางพจนารถ   เหลืองประเสริฐ2553 – 2554
37นายศาทิต   สุจโต2554 – 2555
38นายวีระ   พูนวิทย์2555 – 2556
39นางสาวอุไรรักษ์   เจียมอ่อน2556 – 2558
40นางอรทัย   หวังวิวัฒนา2558 – 2559
41นายธนินท์  นพรัตน์2559 – 2561
42ร.ต.อ.พิริยะ   ณ บางช้าง1 เม.ย.2561 – 30 มี.ค.2562
43นางอลิสา  อภิบุณโยภาส1 เม.ย.2562 – 31 มี.ค.2563
44นางสาวอรุณศรี  ภูวพานิช1 เม.ย.2563 – 31 มี.ค.2564
45นางกรวิพา  จันทโรทัย1 เม.ย.2564 – 31 มี.ค. 2565
46 นายทศพร ทิตภิญโญ1 เม.ย. 2565 – 31 มี.ค. 2566
47นายสุภชัย อยู่พะเนียด1 เม.ย.2566 – 31 มี.ค.2567
48นายอภิรักษ์ ทิมวงศ์1 เม.ย.2567-ปัจจุบัน

สถิติคดี

ปี  ส.1ส.1 (ฟื้นฟู)ส.2ส.2กส.3ส.4ส.4 (วาจา)ส.5กส.6ส.7
25541,5893,28132038,608198811,47437
25558433,48026735,343216481,40843
25568133,51634512,325347211,61632
25576292,44026521,510245343,94111
25588041,72042014,933426025,40921302
25597871,72039018,834345793,9322427
25606791,88028923,814155743,87625244
25616963,10025213,54884974,25121 5611
25626873,2502456,51144404,49958781
25637382,0801796,01946584,080124502
25644729751293,28034092,69110730
25655787881282,79634496,16085363
25663851364,46513064,00473213

กระบวนงาน

การให้บริการประชาชน
หลักประกันการขอประกันตัวผู้ต้องหาในคดีอาญา
  •  ผู้มีสิทธิยื่นขอประกันตัวผู้ต้องหา ได้แก่ ตัวผู้ต้องหาหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง
  •  กรณีการใช้บุคคลเป็นหลักประกันในการปล่อยตัวชั่วคราว ไม่จำกัดเฉพาะข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และข้าราชการการเมืองเพียงเท่านั้น บุคคลอื่น ๆ ที่มีความน่าเชื่อถือสามารถใช้สิทธินี้ได้เช่นกัน
  •  การ้องขอประกันตัวไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าคำร้อง ค่าสัญญาประกัน ค่าเขียนหรือพิมพ์คำร้อง เขียนสัญญาหรือพิมพ์สัญญาประกัน รวมทั้งการพิจารณา การสั่งอนุญาตให้ประกันตัว
  • การเขียนหรือพิมพ์คำร้องขอประกันตัว และสัญญาประกันตัวให้เขียนหรือพิมพ์ตามตัวอย่างที่สำนักงานได้จัดทำไว้เป็นตัวอย่างให้ดู หากผู้ขอประกันเขียนหรือพิมพ์ไม่ได้ สำนักงานได้จัดให้มีผู้เขียนหรือพิมพ์ให้และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเขียนหรือพิมพ์แต่อย่างใด
  • เมื่อรับคำร้องขอประกันตัวแล้ว เจ้าหน้าที่ผู้รับคำร้องจะตรวจสอบความถูกต้องของคำร้องสัญญาประกัน และหลักประกัน พร้อมกับลงเวลาการรับคำร้องไว้ที่บนหัวกระดาษคำร้อง กรณีผู้ร้องขอประกันมากรายจะจัดบัตรคิวและให้บริการตามลำดับ
  • การพิจารณาคำขอประกันตัวปกติพนักงานอัยการจะอนุญาตให้ประกันตัวตามขอ ฉะนั้น อย่าหลงเชื่อคำแอบอ้างหรือการเรียกเงินเพื่อตอบแทนการอนุญาตให้ประกันตัวดังกล่าว
  • พนักงานอัยการจะพิจารณาสั่งคำร้องขอประกันตัวภายในระยะเวลา   20 นาที นับแต่รับคำร้อง เว้นแต่ในบางกรณีที่มีเหตุสมควรที่จะไม่อาจดำเนินการได้แล้วเสร็จตามเวลาดังกล่าวให้ขยายระยะเวลาเป็นไม่เกิน 30 นาที นับแต่รับคำร้อง โดยพนักงานอัยการหรือเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอประกันตัวทราบเหตุดังกล่าว
  • จะไม่มีข้ออ้างจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าผู้รับคำร้องไม่อยู่ ไม่มีเจ้าหน้าที่เขียนหรือพิมพ์คำร้อง รวมทั้งพนักงานอัยการผู้สั่งอนุญาตคำร้องไม่อยู่ เพราะเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่จะต้องจัดเจ้าหน้าที่ทดแทนไว้บริการประชาชนเสมอ
หลักประกัน
ข้อหาหลักประกันเงินสดหลักประกันอื่น ๆ
 ทำร้ายร่างกาย (ม.295) อย่างต่ำ  20,000  บาท อย่างต่ำ  40,000  บาท
 พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากเช็ค ไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนเงินตามเช็ค  –
 กระทำโดยประมาทให้ผู้อื่นอันตรายสาหัส (ม.300) อย่างต่ำ  30,000  บาท  อย่างต่ำ  60,000  บาท
 ทำให้เสียทรัพย์ (ม.358) อย่างต่ำ  10,000  บาท  ดูเงินที่ทำให้เสียทรัพย์เป็นหลัก อย่างต่ำ  20,000  บาท
 ลักทรัพย์ (ม.334) อย่างต่ำ  30,000  บาท อย่างต่ำ  60,000  บาท
 หมิ่นประมาท (ม.326) อย่างต่ำ  10,000  บาท อย่างต่ำ  20,000  บาท
 ชุลมุน (ม.299) อย่างต่ำ  20,000  บาท อย่างต่ำ  40,000  บาท
 ฉ้อโกง (ม.341) อย่างต่ำ  20,000  บาท ดูเงินฉ้อโกงเป็นหลัก อย่างต่ำ  40,000  บาท
 ยักยอก (ม.352) อย่างต่ำ  20,000  บาท ดูเงินที่ยักยอกเป็นหลัก อย่างต่ำ  40,000  บาท
 โกงเจ้าหนี้ (ม.349) อย่างต่ำ  10,000  บาท อย่างต่ำ  40,000  บาท 
 บุกรุก (ม.362) อย่างต่ำ  20,000  บาท อย่างต่ำ  40,000  บาท
 พ.ร.บ.ยาเสพติด (เสพ) อย่างต่ำ  10,000  บาท อย่างต่ำ  20,000  บาท 
 พ.ร.บ.รับราชการทหาร อย่างต่ำ  10,000  บาท อย่างต่ำ  20,000  บาท 
 พ.ร.บ.การพนัน อย่างต่ำ  10,000  บาท อย่างต่ำ  20,000  บาท
 พ.ร.บ.มาตราชั่งตวงวัด อย่างต่ำ  10,000  บาท อย่างต่ำ  20,000  บาท
 พ.ร.บ.ป่าไม้ อย่างต่ำ  10,000  บาท อย่างต่ำ  20,000  บาท
 พ.ร.บ.การประมง อย่างต่ำ  10,000  บาท อย่างต่ำ  20,000  บาท
 พ.ร.บ.จราจรทางบก อย่างต่ำ  10,000  บาท อย่างต่ำ  20,000  บาท
 พ.ร.บ.เรือไทยฯ อย่างต่ำ  10,000  บาท อย่างต่ำ  20,000  บาท
 ปลอมแปลงเอกสาร อย่างต่ำ  30,000  บาท อย่างต่ำ  60,000  บาท 

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงราชบุรี
48/1 ชั้น 1 ถนนสมบูรณ์กุล ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 70000
โทร. 0 3233 7808 – 9 E:mail : rburi-sum@ago.go.th

ผู้ดูแลเว็บไซต์
นางนางขนิษฐา รุ่งเรือง
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
E-mail : rburi-sum@ago.go.th