ข่าวประชาสัมพันธ์
ประกาศเจตนารมณ์ สำนักงานอัยการสูงสุด

เรื่อง กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรมขององค์กรอัยการ


6 เมษายน 2566
วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์




วันพุธที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๖
สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลเพื่อถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ อาคารสำนักงานอัยการภาค ๗
วันอังคารที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๔
วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระมหาจักรีบรมราชวงศ์เวลา ๐๘.๓๐ นาฬิกา ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์รัชการที่ ๑ สวนสาธารณะจักรีอนุสรณ์สถาน (เชิงเขาแก่นจันทร์) อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี

เกี่ยวกับสำนักงาน
ประวัติความเป็นมา
ในสมัยรัชกาลที่ 1 ประเทศไทยยังปกครองแบบจตุสดมภ์ กรมเมืองหรือที่เรียกกันว่า “กรมพระนครบาล” เป็นกรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในกรุงเทพมหานคร มีศาลในสังกัดเรียกว่า “ศาลนครบาล” กรมพระนครบาลได้จัดตั้งกองตระเวนขึ้น 2 กอง คือ กองตระเวนซ้ายและกองตระเวนขวา มีพลตระเวนทำหน้าที่จับผู้ร้ายให้ผู้ใหญ่ในกรมชำระตัดสินความได้เอง โดยยังไม่มีผู้พิพากษาตัดสินความได้อย่างในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ.2417 มีการปรับปรุงกิจการตำรวจซึ่งเรียกว่า “พลตระเวน” ในกรุงเทพมหานครออกเป็น 3 กอง พลตระเวนทั้งสามกองนี้ เมื่อจับผู้ร้ายได้ก็ชำระความเอง เรียกว่า “ศาลพลตระเวน” สังกัดกรมพระนครบาล หลังจากประกาศตั้งกระทรวงยุติธรรมแล้ว ในปี พ.ศ.2436 (ร.ศ.111) ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้ง “ศาลโปริสภา” เป็นศาลกองตระเวนสำหรับกรุงเทพมหานคร โดยยกเลิกศาลพลตระเวนเดิน ศาลโปริสภาที่จัดตั้งขึ้นมีอำนาจชำระและตัดสินความอาญาลหุโทษเฆี่ยน (ทวน) 50 ทีลงมา และโทษจำไม่ถึงคุก จำที่ตะรางตั้งแต่ 6 เดือนลงมา หรือปรับไม่เกิน 2 ชั่ง (160 บาท) ส่วนคดีแพ่งมีอำนาจชำระและตัดสินความทุนทรัพย์ไม่เกิน 2 ชั่ว (160 บาท)
ในปี พ.ศ.2437 (ร.ศ.113) มีประกาศตั้งศาลโปริสภาขึ้นในกรุงเทพมหานครเพิ่มอีก 3 ศาล รวมเป็น 4 ศาล รวมเป็น 4 ศาล คือ ศาลโปริสภาเดิมเป็นศาลโปริสภาที่ 1 มีเขตอำนาจตามเขตอำนาจศาลแขวงพระนครใต้ในปัจจุบัน ศาลโปริสภาที่ 2 มีเขตอำนาจตามเขตอำนาจของศาลแขวงพระนครเหนือในปัจจุบัน ศาลโปริสภาที่ 3 มีเขตอำนาจตามเขตอำนาจของศาลแขวงธนบุรีในปัจจุบัน และศาลโปริสภาที่ 4 มีเขตอำนาจตามเขตอำนาจศาลจังหวัดตลิ่งชันในปัจจุบัน นอกจากประกาศตั้งศาลโปริสภาเพิ่มแล้ว ตามประกาศดังกล่าวยังให้งดเว้นการลงโทษทวน (เฆี่ยนตีด้วยลวดหนัง) เปลี่ยนเป็นโทษจำขังแทนเป็นครั้งแรก ศาลโปริสภาที่ 1 และที่ 2 ตั้งอยู่ฝั่งพระนครมีปริมาณคดีมาก ส่วนศาลโปริสภาที่ 3 ที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งธนบุรีมีปริมาณคดีน้อย ในปี พ.ศ.2438 จึงประกาศยกเลิกศาลโปริสภาที่ 4 ศาลโปริสภาที่ 3 จึงมีเขตอำนาจในท้องที่ฝั่งธนบุรีทั้งหมด
ในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ได้จัดทำพระธรรมนูญศาลยุติธรรมเรียกว่า “พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ร.ศ.127 (พ.ศ.2452)” แบ่งศาลออกเป็น ศาลในกรุงเทพมหานครและศาลหัวเมือง ศาลโปริสภาเป็นศาลในกรุงเทพมหานคร ศาลแขวงเป็นศาลในหัวเมือง ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมฉบับนี้ บัญญัติชื่อศาลแขวงในหัวเมือง ส่วนในกรุงเทพมหานครยังใช้คำว่าศาลโปริสภาอยู่ต่อไปจนถึง พ.ศ.2478 มีการประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ.2478 ใช้คำว่าศาลแขวงทั้งในกรุงเทพมหานครและหัวเมือง ในปีเดียวกัน มีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงสำหรับจังหวัดพระนครและธนบุรี พ.ศ.2478 ให้ตั้งศษลแขวงพระนครใต้ ศาลแขวงพระนครเหนือ และศาลแขวงธนบุรีขึ้น แบ่งเขตอำนาจตามเขตอำนาจเดิมของศาลโปริสภาที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ตามลำดับ
หลังจากนั้นมีการจัดตั้งระหว่างปี พ.ศ.2478 ถึงปี พ.ศ.2482 คือ ศาลแขวงมีนบุรี แม่สะเรียง หลังสวน ตะกั่วป่า กบินทร์บุรี และเบตง ศาลแขวงเหล่านี้เปิดทำการรออยู่เพียงศาลละ 1 – 2 ปี ก็ได้รับการยกฐานะเป็นศาลจังหวัด จนกระทั่งปี พ.ศ.2500 มีการตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 เปิดทำการศาลแขวงในหัวเมือง รวม 17 ศาล คือ ศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชลบุรี นครราชสีมา สุรินทร์ อุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น ลำปาง เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ ราชบุรี สุพรรณบุรี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และสงขลา ทุกศาลเปิดทำการพร้อมกัน
เดิมสำนักงานอัยการคดีศาลแขวงราชบุรีอาศัยอาคารศาลากลางจังหวัดราชบุรี ตั้งอยู่ริมถนนสมบูรณ์กุล ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี และเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2541 สำนักงานอัยการภาค 7 ได้ย้ายสำนักงานจากจังหวัดนครปฐมมาตั้ง ณ จังหวัดราชบุรี สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงราชบุรีจึงได้ย้ายสำนักงานจากศาลากลางราชบุรีมาอาศัยสำนักงานอัยการภาค 7 ตั้งอยู่เลขที่ 48/1 ชั้น 1 ถนนสมบูรณ์กุล ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี นับจนถึงปัจจุบันนี้
อำนาจหน้าที่
พนักงานอัยการคดีศาลแขวงราชบุรีมีอำนาจฟ้องผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดทางอาญาทุกประเภทที่มีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงราชบุรี และมีอำนาจในการว่าต่างและแก้ต่างให้กับหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ เทศบาล หรือนิติบุคคลของรัฐ ซึ่งมิใช่เป็นคดีพิพาทกับรัฐบาล ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงราชบุรี ซึ่งได้แก่ คดีอาญาในฐานความผิดที่มีอัตราโทษตามกฎหมาย จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา หรือความผิดตามพระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่มีอัตราโทษดังกล่าว และเมื่อฟ้องผู้ถูกกล่าวหาต่อศาลแล้ว พนักงานอัยการมีหน้าที่ในการนำเสนอพยานหลักฐานต่าง ๆ ต่อศาล เพื่อที่จะแสดงได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา
ส่วนในคดีแพ่งเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 300,000 บาท ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐจะฟ้องร้องคดีต่อศาลหรือถูกบุคคลอื่นฟ้องร้องคดีต่อศาล พนักงานอัยการมีหน้าที่ในการว่าต่างและแก้ต่างคดีให้กับหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการล้วนเป็นไปเพื่อการอำนวยความยุติธรรมในทางอาญาและรักษาผลประโยชน์ของรัฐ เพื่อการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพและรักษาความสงบสุขเรียบร้อยของสังคม
วิสัยทัศน์ (Vision)
“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”
พันธกิจ (Missions)
1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โครงสร้าง (Structure)

วัฒนธรรมองค์กร


บุคลากร
ข้าราชการอัยการ

ข้าราชการธุรการ


จ้างเหมาบริการ

ทำเนียบอัยการจังหวัด
ลำดับ | รายนาม | ปีพุทธศักราช |
---|---|---|
1 | นายพิพัฒน์ พัฒโนภาษ | 2518 – 2519 |
2 | นายบุญเที่ยง ม้าไว | 2519 – 2520 |
3 | นายสนอง แก่นแก้ว | 2521 – 2522 |
4 | นายวิบูลย์ กนกเวชยันต์ | 2522 – 2523 |
5 | นายสนอง สุวรรณฤทธิ์ | 2523 – 2524 |
6 | นายบรม ศรีสุข | 2524 – 2526 |
7 | นายประเสริฐ นันตยุ | 2526 – 2527 |
8 | ร้อยโทปัญญา มีชื่น | 2527 – 2528 |
9 | นายสมศักดิ์ วิริยรัตน์ | 2528 – 2529 |
10 | นายสุนทร ตันจันทรพงค์ | 2529 – 2530 |
11 | นายสุธี ณ พัทลุง | 2530 |
12 | นายประเวช จันทรา | 2530 |
13 | นายสัญญา ศรีจันทรา | 2531 – 2533 |
14 | นายสมพงษ์ สุวรรณภักดี | 2533 – 2534 |
15 | นายปรีชา ไพทีกุล | 2534 – 2536 |
16 | นายสะอาด บุญยโยธิน | 2536 – 2537 |
17 | นายอดุลย์ ตระกูลดิษฐ์ | 2537 – 2538 |
18 | นางสาวจามจุรี สิทธิวรรณรักษ์ | 2538 |
19 | นายกิตติ ทิศธรรม | 2538 – 2539 |
20 | นายภูติ ศรีวัจนะพงษ์ | 2539 |
21 | นายมนู กาญจนะวงศ์ | 2539 |
22 | นายวิชาญ ธรรมสุจริต | 2541 – 2542 |
23 | นายสาวิตร บุญประสิทธิ์ | 2542 – 2543 |
24 | นายปิยนันท์ พันธุ์ชนะวานิช | 2543 – 2444 |
25 | นายชาญชัย ปัทมาสน์ | 2544 – 2545 |
26 | นายธนะชัย ปัตตพงศ์ | 2545 – 2546 |
27 | นายเฉลิมพันธ์ ประทีปถิ่นทอง | 2546 – 2547 |
28 | นายบุญธรรม วิริยะประสิทธิ์ | 2547 – 2548 |
29 | นายเอนก มีทิพย์ | 2548 – 2549 |
30 | นายชยันต์ ศุกระศร | 2549 – 2550 |
31 | นายสุรสิทธิ์ ม่วงศิริ | 2550 – 2551 |
32 | นางทิพวรรณ เดชานีรนาท | 2551 – 2552 |
33 | นางพจนารถ เหลืองประเสริฐ | 2552 |
34 | นายชินวัตร เหมือนแก้วจินดา | 2552 (รักษาการในตำแหน่ง 1 ต.ค.52 – 6 เม.ย.53) |
35 | นายไพรัช เชื้อทองฮัว | 2553 (รักษาการในตำแหน่ง 7 เม.ย.53 – 30 ก.ย.53) |
36 | นางพจนารถ เหลืองประเสริฐ | 2553 – 2554 |
37 | นายศาทิต สุจโต | 2554 – 2555 |
38 | นายวีระ พูนวิทย์ | 2555 – 2556 |
39 | นางสาวอุไรรักษ์ เจียมอ่อน | 2556 – 2558 |
40 | นางอรทัย หวังวิวัฒนา | 2558 – 2559 |
41 | นายธนินท์ นพรัตน์ | 2559 – 2561 |
42 | ร.ต.อ.พิริยะ ณ บางช้าง | 1 เม.ย.2561 – 30 มี.ค.2562 |
43 | นางอลิสา อภิบุณโยภาส | 1 เม.ย.2562 – 31 มี.ค.2563 |
44 | นางสาวอรุณศรี ภูวพานิช | 1 เม.ย.2563 – 31 มี.ค.2564 |
45 | นางกรวิพา จันทโรทัย | 1 เม.ย.2564 – 31 มี.ค. 2565 |
46 | นายทศพร ทิตภิญโญ | 1 เม.ย. 2565 – 31 มี.ค. 2566 |
47 | นายสุภชัย อยู่พะเนียด | 1 เม.ย.2566 – ปัจจุบัน |
สถิติคดี
ปี | ส.1 | ส.1 (ฟื้นฟู) | ส.2 | ส.2ก | ส.3 | ส.4 | ส.4 (วาจา) | ส.5ก | ส.6 | ส.7 |
2554 | 1,589 | 3,281 | 320 | 38,608 | 19 | 881 | 1,474 | 37 | – | – |
2555 | 843 | 3,480 | 267 | 35,343 | 21 | 648 | 1,408 | 43 | – | – |
2556 | 813 | 3,516 | 345 | 12,325 | 34 | 721 | 1,616 | 32 | – | – |
2557 | 629 | 2,440 | 265 | 21,510 | 24 | 534 | 3,941 | 11 | – | – |
2558 | 804 | 1,720 | 420 | 14,933 | 42 | 602 | 5,409 | 21 | 30 | 2 |
2559 | 787 | 1,720 | 390 | 18,834 | 34 | 579 | 3,932 | 24 | 27 | – |
2560 | 679 | 1,880 | 289 | 23,814 | 15 | 574 | 3,876 | 25 | 24 | 4 |
2561 | 696 | 3,100 | 252 | 13,548 | 8 | 497 | 4,251 | 21 | 56 | 11 |
2562 | 687 | 3,250 | 245 | 6,511 | 4 | 440 | 4,499 | 58 | 78 | 1 |
2563 | 738 | 2,080 | 179 | 6,019 | 4 | 658 | 4,080 | 124 | 50 | 2 |
2564 | 472 | 975 | 129 | 3,280 | 3 | 409 | 2,691 | 107 | 30 | – |
2565 | 578 | 788 | 128 | 2,796 | 3 | 449 | 6160 | 85 | 36 | 3 |
2566 |
กระบวนงาน
ติดต่อหน่วยงาน
สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงราชบุรี
48/1 ชั้น 1 ถนนสมบูรณ์กุล ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 70000
โทร. 0 3233 7808 – 9 E:mail : rburi-sum@ago.go.th

ผู้ดูแลเว็บไซต์
นางนางขนิษฐา รุ่งเรือง
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
E-mail : rburi-sum@ago.go.th